แบตเตอรี่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Dec 2023 05:08:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Commy’ มองตลาด ‘อุปกรณ์เสริม’ โตสวนทางตลาดสมาร์ทโฟน เพราะของแพงต้องใช้นาน เลยต้องดูแลมากขึ้น https://positioningmag.com/1457304 Wed, 27 Dec 2023 03:27:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457304 หากพูดถึงตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกและไทย ต้องยอมรับว่าหดตัวมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่ถ้าเป็นตลาด อุปกรณ์เสริม ที่มีการประเมินว่าจะมีมูลค่าประมาณ ครึ่งหนึ่ง ของตลาดสมาร์ทโฟน อาจจะไม่ได้หดตัวตาม เพราะคนหันมาดูแลสมาร์ทโฟนตัวเองมากขึ้น เพื่อยืดอายุการใช้งานในช่วงเศรษฐกิจที่ไม่ดีแบบนี้

คนใช้มือถือนานขึ้น แบตฯ เลยขายดี

คอมมี่ (Commy) หนึ่งในแบรนด์ไทยที่อยู่ในตลาดมานานกว่า 30 ปีตั้งแต่ยุค โนเกีย ดังนั้นเชื่อว่าหลายคนน่าจะผ่านหูผ่านตากับคอมมี่มาบ้าง โดยปัจจุบันคอมมี่ได้ถูกส่งต่อมาถึงเจนสองอย่าง แพรว-อรปรียา มโนวิลาส รองประธานกรรมการ บริษัท คอมมี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดย อรปรียา มองว่า ด้วยสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ขณะที่ราคาสมาร์ทโฟนก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ ผู้บริโภคเปลี่ยนมือถือช้าลง จากอดีตอาจจะเปลี่ยนปีละเครื่อง แต่ปัจจุบัน เฉลี่ย 2 ปีขึ้นไป ทำให้ผู้บริโภคหันมาถนอมมือถือมากขึ้น และเลือกจะ เปลี่ยนแบตฯ เพื่อยืดอายุการใช้งาน

“ไม่มีการเก็บข้อมูลตลาดอุปกรณ์เสริมชัดเจน เพราะมันจะมีสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาเยอะ แต่เชื่อว่าตลาดในไทยเติบโต” อรปรียา กล่าว

แพรว-อรปรียา มโนวิลาส รองประธานกรรมการ บริษัท คอมมี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

แบตฯ โตสุด ฟิล์มไฮโดรเจลกำลังมา

สำหรับรายได้ของคอมมี่คาดว่าจะอยู่ที่ 200 ล้านบาท เติบโต 10% โดยปัจจุบันคอมมี่มีสินค้ากว่า 100 รายการ แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ 

    • แบตเตอรี่ ทั้งในกลุ่ม Power Bank และแบตเตอรี่สมาร์ทโฟน
    • ฟิล์มกันรอยในกลุ่มฟิล์มไฮโดรเจล 
    • หัวชาร์จละสายชาร์จสำหรับไอโฟน
    • หูฟัง, ลำโพงบลูทูธ
    • สุขภาพ เช่น เครื่องฟอกอากาศในรถ หน้ากาก N95 และเครื่องวัดหรือทำออกซิเจน 

โดย แบตเตอรี่ เป็นกลุ่มที่เติบโตสูงสุดถึง 250% ขณะที่ Power Bank ก็ถือเป็นสินค้าที่ยังขายได้ โดยเฉพาะหน้าเทศกาล เช่น ช่วงสิ้นปีหรือก่อนสงกรานต์ ส่วน ฟิล์มกันรอยในกลุ่มฟิล์มไฮโดรเจล ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วน หัวชาร์จมือถือ ก็ได้รับความนิยมสูงขึ้น เพราะหลายแบรนด์เลิกแถม และตอนนี้มอก. มีผลบังคับใช้ถึงกลุ่มหัวชาร์จมือถือแล้ว ทำให้ต่อไปก็ต้องขายเป็นขากลม Type-O ของประเทศไทย ใช้ขาแบนไม่ได้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้แบรนด์เล็ก ๆ จากต่างประเทศหายไป

“ฟิล์มกระจกต้องมีรุ่นเป๊ะ ยิ่งจอโค้งทำให้ปัญหาเยอะ เราเลยทำไฮโดรเจลเป็นหลัก ซึ่งผู้บริโภคแม้ยังติดภาพและชอบสัมผัสกระจก แต่พอปัญหาเยอะคนก็เริ่มเปลี่ยน ร้านเองก็ชอบมากกว่า เพราะฟิล์มกระจกสต็อกเหลือก็ต้องทำลายทิ้ง แต่ไฮโดรเจลสามารถคัสตอมไมซ์ได้ และราคาแทบจะพอ ๆ กัน” อรปรียา อธิบาย

เปิดหน้าร้านแรกย้ำความน่าเชื่อถือ

ล่าสุด คอมมี่ได้เปิด COMMY SHOP ออนกราวน์สโตร์แห่งแรก ณ เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ โดย อรปรียา มองว่า เพราะพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นแบบ O2O (Online to Offline) คือ สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และนำสินค้าไปรับบริการที่ร้านตัวแทนจำหน่าย เช่น สั่งซื้อแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนผ่านระบบออนไลน์และนำไปให้ที่ร้านค้าทำการเปลี่ยนให้ ดังนั้น คอมมี่จึงตัดสินใจเปิดออนกราวด์สโตร์ให้เป็น One stop service เพื่อจำหน่ายสินค้าและให้บริการอื่น ๆ เช่น เปลี่ยนแบตฯ, ติดฟิล์ม เป็นต้น

นอกจากนี้ในอนาคตคอมมี่มีแผนพัฒนา COMMY SHOP ให้เป็นสโตร์เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้า B2B ด้วยบริการด้านต่างๆ ที่ครบวงจร อย่างการเป็นสโตร์พื้นที่เก็บสินค้า เมื่อลูกค้าต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดก็สามารถมาสั่งซื้อได้ทันที รวมถึงร้านเล็ก ๆ จะไม่ต้องสต๊อกสินค้าเอง สามารถมารับที่สาขาของคอมมี่ได้เลย โดยปัจจุบันคอมมี่มีพาร์ตเนอร์ร้านตู้ทั่วไทยกว่า 4,000 ร้าน

“สาเหตุที่ลูกค้าไม่ซื้อของกับร้านตู้ แต่เลือกซื้อออนไลน์กับเราแล้วค่อยไปจ้างร้านติดก็เพราะความเชื่อถือของแบรนด์ ถ้าไปเปลี่ยนแบตฯ กับร้านเขาก็ไม่รู้ว่าร้านจะเอาแบตฯ อะไรมาให้ แต่ซื้อกับเราเขามั่นใจได้ และเราก็มีแนะนำร้านตัวแทนที่ให้ไปใช้บริการด้วย ทำให้ปีนี้ยอดขายออนไลน์เราโตถึง 20%” 

ปีหน้าตั้งเป้าโต 40%

สำหรับปีหน้า อรปรียา ตั้งเป้าจะเปิดออนกราวด์สโตร์เพิ่มอีกอย่างน้อย 5-10 สาขา โดยจะเน้นในกรุงเทพฯ​ และหัวเมืองต่างจังหวัด คาดว่าจะใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท และด้วยจำนวนช่องทางการจำหน่ายที่มากขึ้น คอมมี่ตั้งเป้า เติบโต 40%

“เราเชื่อว่าด้วยช่องทางที่มากขึ้นจะเป็นตัวบูสต์ยอดให้ได้ แต่เรื่องเศรษฐกิจค่อนข้างเป็นห่วง มันก็ส่งผลกันมาเรื่อย ๆ”

]]>
1457304
Tesla เสนอขอตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานในอินเดีย มองโอกาสเพิ่มเติมจากรถยนต์ไฟฟ้า https://positioningmag.com/1445162 Fri, 22 Sep 2023 09:44:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445162 บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่จากสหรัฐอเมริกาอย่าง Tesla ล่าสุดได้เสนอขอตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานในอินเดีย มองโอกาสเพิ่มเติมจากรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากปัญหากระแสไฟฟ้าที่ตกบ่อยในอินเดีย รวมถึงเรื่องของพลังงานสะอาด

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกียวข้องว่า Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ ได้เสนอที่จะสร้างโรงงานแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นแผนเพิ่มเติมจากการเสนอตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และบริษัทได้ขอสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลอินเดียด้วย

ในการประชุมล่าสุดที่กรุงนิวเดลี แหล่งข่าว Reuters รายหนึ่งได้กล่าวว่า Tesla เสนอให้สนับสนุนความสามารถในการจัดเก็บพลังงานของประเทศด้วย “Powerwall” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยระบบดังกล่าวสามารถเก็บพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์หรือจากโครงข่ายไฟฟ้าแบบปกติเพื่อใช้ในเวลากลางคืนหรือในช่วงที่ไฟฟ้าดับ

แผนการดังกล่าวของ Tesla นั้นเป็นส่วนหนึ่งในการขยายกิจการในอินเดียให้กว้างขวางขึ้น โดยคิดถึงสิ่งที่นอกเหนือจากรถยนต์ไฟฟ้า โดยแหล่งข่าวของ Reuters กล่าวเสริมว่าบริษัทจากสหรัฐอเมริการายนี้มีความกระตือรือร้นที่จะหาลูกค้าที่อยู่อาศัยและลูกค้าอุตสาหกรรมสำหรับระบบจัดเก็บแบตเตอรี่ Powerwall ของบริษัท

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของอินเดียยังต้องการให้ Tesla ลดต้นทุนการผลิต Powerwall ลงมา เนื่องจากปัจจุบันราคาที่ขายในสหรัฐอเมริกายังสูงถึง 5,500 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้เข้าถึงแก่ประชาชนชาวอินเดียยาก ขณะเดียวกันทางฝั่งผู้ผลิตจากสหรัฐฯ รายนี้ต้องการที่จะให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนในด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่บริษัทด้วย

ถึงแม้ว่าปัจจุบันอินเดียจะมีกระแสไฟฟ้าจ่ายไปยังเมืองต่างๆ แต่อินเดียยังประสบปัญหาไฟฟ้าตก หรือแม้แต่ความเสี่ยงที่ไฟฟ้าจะถูกตัดในเวลากลางคืน เนื่องจากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ยังไม่เพียงพอ ซึ่ง Tesla มองเห็นถึงโอกาสดังกล่าวในการทำตลาด รวมถึงประเด็นด้านพลังงานสะอาดที่อินเดียพยายามลดใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Tesla ได้เสนอที่จะตั้งโรงงานในประเทศอินเดีย และจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในราคา 24,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาแล้ว ก่อนที่จะมีการเสนอแผนการดังกล่าวเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดีแผนการในการสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน จะต้องได้รับการพิจารณาจากรัฐบาลอินเดียว่าจะไฟเขียวหรือไม่ นอกจากนี้ยังรวมถึงราคาของ Powerwall ที่มีราคาที่ยังสูง

]]>
1445162
นักวิเคราะห์ประเมิน โลกกำลังขาดแคลน ‘ลิเธียม’ ภายในปี 2025 เนื่องจากการเติบโตของ ‘รถอีวี’ https://positioningmag.com/1442785 Tue, 29 Aug 2023 11:26:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442785 ลิเธียม ถือเป็นโลหะสำคัญที่ใช้ในการผลิต แบตเตอรี่ ในขณะที่เทรนด์ทั่วโลกกำลังพุ่งไปที่การใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี ทำให้ความต้องการลิเธียมสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้นักวิเคราะห์ประเมินว่าในช่วงปี 2025-2030 โลกอาจจะขาดแคลนลิเธียม

BMI ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยของ Fitch Solutions เป็นหนึ่งในกลุ่มที่คาดการณ์การขาดดุลอุปทานลิเธียมภายในปี 2025 โดยคาดว่าการขาดดุลนั้นเกิดจากความต้องการลิเธียมของจีนที่สูงกว่าอุปทาน โดยเฉพาะความต้องการลิเธียมในรถอีวีของจีนจะเพิ่มเฉลี่ย 20.4% ในช่วงปี 2023-2032 

กลับกัน ลิเธียมของจีนจะเพิ่มขึ้นเพียง 6% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งแปลว่าจะสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มได้ไม่ถึง 1 ใน 3 ด้วยซ้ำ โดยปัจจุบันจีนถือเป็นผู้ผลิตลิเธียมรายใหญ่ อันดับสามของโลก ซึ่งลิเธียมถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 

ในปี 2021 โลกผลิตลิเธียมได้ 540,000 ตัน แต่ภายในปี 2032 ทาง World Economic Forum คาดการณ์ว่า ความต้องการลิเธียมทั่วโลกจะสูงถึงมากกว่า 3 ล้านตัน ขณะที่การคาดการณ์ของ S&P Global Commodity Insights ประเมินว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2023 อยู่ที่ 13.8 ล้านคัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคัน ภายในปี 2032

ด้าน Corinne Blanchard ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยลิเธียมและเทคโนโลยีสะอาดของ Deutsche Bank กล่าวว่า ภายในสิ้นปี 2025 การขาดดุลของลิเธียมจะอยู่ที่ 40,000-60,000 ตัน แต่การขาดดุลจะมากขึ้นเป็น 768,000 ตัน ภายในสิ้นปี 2032 แม้ว่าการเติบโตของลิเธียมจะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็จะยังช้ากว่าความต้องการ และสิ่งที่จะตามมาคือ ราคาลิเธียมที่พุ่งขึ้น หลังจากที่เคยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2022 โดยขึ้นถึง 12 เท่า เมื่อเทียบกับราคาของเดือนมกราคม 2021

ปัจจุบัน ตามข้อมูลของ Refinitiv เปิดเผยว่าทั่วโลกมีเหมืองลิเธียมเพียง 101 แห่ง แต่จากข้อมูลของ บริษัทวิจัยพลังงาน พบว่า มีโครงการลิเธียมหลายร้อยโครงการอยู่ระหว่างการสำรวจ แต่ความซับซ้อนในด้านธรณีวิทยาและกระบวนการขออนุญาตที่ใช้เวลานานยังคงเป็นความท้าทาย โดย Susan Zou รองประธาน Rystad Energy ประมาณการว่า เหมืองลิเธียมทั้งหมดจะเพิ่มขึ้น 30-40%

Source

]]>
1442785
Apple ประกาศจะใช้ “โคบอลต์รีไซเคิล 100%” ในแบตเตอรี่ภายในปี 2025 https://positioningmag.com/1427438 Mon, 17 Apr 2023 03:26:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427438 Apple ได้ประกาศการเร่งขยายการใช้วัสดุรีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงเป้าหมายใหม่ในปี 2025 ที่จะใช้โคบอลต์ที่รีไซเคิลได้ 100% ในแบตเตอรี่ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด รวมถึงวัสดุอื่น ๆ ที่รีไซเคิลได้ทั้งหมด อาทิ ดีบุกและทองรีไซเคิล 100%

Apple ได้เปิดเผยว่า ในปี 2022 บริษัทได้ขยายการใช้วัสดุรีไซเคิลหลักอย่างมีนัยสำคัญ และปัจจุบันแหล่งที่มาของอะลูมิเนียมกว่า 2 ใน 3 และเกือบ 3 ใน 4 ของแร่หายากทั้งหมด รวมถึงกว่า 95% ของทังสเตนทั้งหมดในผลิตภัณฑ์ Apple มาจากวัสดุรีไซเคิล 100%

โดยความก้าวหน้าดังกล่าวทำให้ Apple เข้าใกล้เป้าหมายที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุหมุนเวียนเท่านั้น และเดินหน้าเป้าหมายปี 2030 ของบริษัทในการทำให้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นมีคาร์บอนเป็นกลาง

“ความทะเยอทะยานของเราที่ต้องการใช้วัสดุรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ในผลิตภัณฑ์ของเรานั้นเป็นไปตามเป้าหมายในปี 2030 ของ Apple นั่นคือเป้าหมายของเราในการบรรลุผลิตภัณฑ์ที่เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2030 เรากำลังทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งสองอย่างเร่งด่วนและยกระดับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมทั้งหมดของเราในกระบวนการนี้” ลิซา แจคสัน รองประธานฝ่ายโครงการด้านสิ่งแวดล้อม นโยบาย และกิจกรรมทางสังคม กล่าว

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Apple ได้ขยายการใช้โคบอลต์ที่รีไซเคิลได้ 100% โดยในปี 2022 โคบอลต์ทั้งหมดราว 1 ใน 4 มาจากวัสดุรีไซเคิลเพิ่มขึ้นจาก 13% นอกจากนี้ การใช้ธาตุแรร์เอิร์ธที่ผ่านการรับรองแบบรีไซเคิล 100% ของบริษัทได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 45% ในปี 2021 เป็น 73% ในปี 2022

โดยภายในปี 2025 แบตเตอรี่ทั้งหมดที่ออกแบบโดย Apple จะผลิตด้วยโคบอลต์รีไซเคิล 100% และแม่เหล็กในอุปกรณ์ Apple ก็จะใช้แร่โลหะหายากรีไซเคิล 100% ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ Apple วางเป้าจะเลิกใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ของบริษัท การพัฒนาวัสดุทางเลือกที่ทำจากเยื่อไม้เพื่อใช้กับส่วนประกอบบรรจุภัณฑ์ เช่น ฟิล์มติดหน้าจอ วัสดุห่อหุ้ม และโฟมกันกระแทก ทำให้เป้าหมายอันสูงสุดของ Apple ยังคงเดินหน้าได้ตามแผน เพื่อจัดการกับพลาสติกที่คงเหลืออีก 4% ในฟุตพริ้นต์ของบรรจุภัณฑ์อีกด้วย

Source

]]>
1427438
GPSC บนเส้นทางผู้นำด้านแบตเตอรี่และโซลูชั่นจัดการพลังงานครบวงจร https://positioningmag.com/1346319 Fri, 20 Aug 2021 10:00:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346319


GPSC บนเส้นทางผู้นำด้านแบตเตอรี่และโซลูชั่นจัดการพลังงานครบวงจร เปิดโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน G-Cell ด้วยเทคโนโลยี SemiSolid แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถผลิตแบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงานและสามารถใช้กับ EV Car พร้อมเป้าหมายสู่การเป็นผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาค และมีระบบ Ecosystem ที่มีประสิทธิภาพ

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่าแนวโน้มในการใช้แบตเตอรี่จะเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าในอนาคต จากการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นการเปลี่ยนมาใช้ EV Car ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว และการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีพลังงานที่ว่านี้ แบตเตอรี่จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยการลดโลกร้อนได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

“เราเชื่อว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่สำคัญคือแบตเตอรี่ ที่จะเป็นจิ๊กซอร์ให้มีการใช้ EV Car เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายได้ จึงเป็นที่มาของการลงทุนและเปิดตัวโรงงานต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยี SemiSolid เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายวรวัฒน์ กล่าว

เทคโนโลยี SemiSolid จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพและสร้าง Ecosystem ให้กับอุตสาหกรรม EV เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้ประเทศไทย เป็นแหล่งผลิต EV Car และเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคได้ โดยสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ 30:30 เป้าหมายสำคัญคือต้องการใช้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิต EV Car การที่จะเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคได้จะต้องมี Ecosystem ที่พร้อมและมีประสิทธิภาพที่จะนำมาประกอบรถยนต์

ห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ หรือ Experience Center

นางรสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC กล่าวว่า

GPSC ได้สร้างห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ หรือ Experience Center ขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวแบตเตอรี่เพื่อให้ประชาชนที่สนใจ รวมทั้งเด็กและเยาวชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ และเป็นความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่ว่าสามารถนำมาใช้ในชีวิตได้อย่างไรบ้าง

ภายใน Experience Center ประกอบด้วย

Battery Story ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของแบตเตอรี่จากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ถูกพัฒนามาค่อนข้างมาก จนมาถึงยุค LIthuim-ion, Lithuim Sulphur และยุค Technology Solid

GPSC ได้นำเอาเทคโนโลยี SemiSolid ซึ่งเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เป็น Process Innovation ที่ได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นเทคโนโลยีของบริษัทสตาร์อัพ 24M Technologies, Inc. หรือ 24M จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย GPSC ได้รับลิขสิทธิ์และจัดจำหน่ายในประเทศและภูมิภาค โดยในเบื้องต้นจะผลิตแบตเตอรี่ป้อนให้กับ กลุ่ม ปตท. และพร้อมที่จะขยายกำลังการผลิตตามความต้องการของตลาดไปสู่ระดับการเชื่อมโยงการซื้อขายในภูมิภาค

“GPSC อยู่ระหว่างศึกษา เทคโนโลยีอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น Lithium Sulphur เมื่อ Product Innovation ทำได้สำเร็จ ก็สามารถนำมาใช้ใน Process นี้ได้ด้วย เราต้องการให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการคือมีขนาดเล็ก และ เบา” นางรสยากล่าว

เชื่อว่า SemiSolid ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ 24M จะทำให้กระบวนการผลิตสั้นลงและประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น และสามารถนำวัตถุดิบที่ไม่จำเป็นออกไป การออกแบบช่วยป้องกันการผสมกันของวัตถุ โดยแบ่งเป็น Unit ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกัน

ดังนั้นเทคโนโลยีที่นำมาใช้จะทำให้ G-Cell มีความปลอดภัย และน่าจะ Recycle ได้ง่ายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ในอนาคตที่กำลังมุ่งไปสู่โลกสีเขียวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

ส่วนของความน่าเชื่อถือ (Reliability) หรือการต่อเชื่อม Chain และการให้บริการกับทางกลุ่ม ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เป็นแบรนด์ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับกับลูกค้า

Casting & Converting

เป็นส่วนที่อธิบายกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ โดยเริ่มต้นจาก Foil Cutting เป็นลำดับแรก หลังจากนั้นทำการ Coating ตัวต่อตัว เพื่อลดการปนเปื้อน

ต่อมาเป็นขั้นตอน Combining & Sealing เพิ่มความปลอดภัยของ Unit Cell จากนั้นเป็นขั้นตอน Pouch Cell Assembly ทำ Stacking & Packing และการนำไปบ่มในห้อง Aging Room บ่มเพาะจนมีความมั่นใจว่าสินค้ามีความปลอดภัย โดยมี Robot ควบคุมดูแลภายในห้อง จากนั้น Stack และเก็บข้อมูลของแบตเตอรี่ และคอย Monitor

Line up process

ในส่วนนี้ จะเป็นการนำเสนอระบบกักเก็บพลังงาน หรือEnergy Storage System (ESS) ขนาดใหญ่ จะอยู่ในหมวดของ Large ESS หรือผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ G-Box (CI) และ G-BOX (CI MAX) สำหรับเชิงพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System) การใช้แบตเตอรี่ G-Cell ในรถสามล้อไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ 80 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เครื่องยนต์เงียบ ไม่มีมลภาวะ

“สำหรับการติดตั้งแท่นชาร์จแบตเตอรี่ เป็นความตั้งใจของ ปตท. ที่ต้องการให้มีการติดตั้งแท่นชาร์จทั่วประเทศ ทุกสถานีน้ำมันที่มีความเป็นไปได้ ตลอดจนจุดสำคัญต่างๆ เช่น บนคอนโดมีเนียม” นายวรวัฒน์กล่าว


]]>
1346319
เยอรมนี เตรียมใช้ไม้เเข็ง สั่งให้ “ปั๊มน้ำมัน” ทุกแห่ง ต้องติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า https://positioningmag.com/1282301 Fri, 05 Jun 2020 12:13:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282301 เยอรมนี รุกหนักเปลี่ยนทิศทางอุตฯ ยานยนต์ อัดเเพ็กเกจจูงใจประชาชน เตรียมกำหนดให้สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งในประเทศ ติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ 1.3 แสนล้านยูโร (ราว 4.65 ล้านล้านบาท)

โดยรัฐบาลตั้งเป้าจะกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ด้วยการช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่ 6,000 ยูโรต่อคัน (ราว 215,000 บาท) รวมถึงจะเพิ่มภาษีรถยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิลให้สูงกว่าภาษีรถยนต์พลังงานทางเลือก เช่นจะขึ้นภาษีรถ SUV คันใหญ่ที่ก่อมลภาวะ

ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลเยอรมนีครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังคู่เเข่งในวงการผู้ผลิตยานยนต์อย่าง “ฝรั่งเศส” ประกาศเเผนทุ่มเงินกว่า 8,000 ล้านยูโร (ราว 2.8 เเสนล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ตั้งเป้าเป็นเบอร์หนึ่ง ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของยุโรป โดยจะจูงใจประชาชนด้วยการมอบเงิน 7,000 ยูโร (ราว 2.4 เเสนบาท) ให้กับบุคคลทั่วไปที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนบริษัทที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไปใช้ในองค์กรจะได้รับเงินสนับสนุน 5,000 ยูโร (ราว 1.7 เเสนบาท) ต่อคัน

อ่านเพิ่มเติม : เปิดเเผน “ฝรั่งเศส” อัดงบฟื้นอุตฯยานยนต์ หวังพลิกวิกฤตสู่เบอร์ 1 รถยนต์ไฟฟ้าเเห่งยุโรป

เเต่การผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย…จากข้อมูลจากกรมขนส่งเยอรมนี ระบุว่า จากจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่จดทะเบียนในเดือนพฤษภาคมที่ 168,148 คัน มีเพียง 3.3% เท่านั้นที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า เเละตลอดทั้งปี 2019 มีรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ในประเทศเพียง 1.8% ขณะที่รถยนต์ดีเซลและเบนซินมีสัดส่วนถึง 32% และ 59.2% ตามลำดับ

Diego Biasi ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง Quercus Real Assets ให้ความเห็นกับ Reuters ว่า เหตุผลหลักกว่า 97% ของคนที่ไม่เลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า มาจากความกังวลที่มีต่อการชาร์จแบตเตอรี่ ดังนั้นการที่รัฐบาลกำหนดให้ทุกปั๊มน้ำมันมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นการคลายความกังวลของประชาชนได้ดี เพราะพวกเขาจะอุ่นใจขึ้นว่ามีปั๊มน้ำมันเปิดอยู่เสมอ

ข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานและน้ำของเยอรมนี (BDEW) ระบุว่า เพื่อให้ครอบคลุมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตตามเป้าหมาย ควรมีสถานีชาร์จอย่างน้อย 70,000 แห่ง และสถานีชาร์จเร็วอีก 7,000 เเห่ง โดยปัจจุบันมีสถานีชาร์จอยู่ 28,000 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่จำนวนสถานีบริการน้ำมันลดลงเหลือ 14,118 แห่งในปี 2020 จากจำนวน 40,640 แห่งในปี 1965

ทั้งนี้ เมื่อปีที่ผ่านมา Angela Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประกาศว่าจะมีสถานีชาร์จไฟฟ้า 1 ล้านแห่งทั่วประเทศให้ได้ภายในปี 2030

 

ที่มา : Reuters , electrek

]]>
1282301