แรงงานต่างชาติ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 10 Oct 2024 14:11:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น-ไต้หวัน แข่งกันเปย์หนัก! หวังดึงแรงงานต่างชาติฝีมือดีเข้าทำงานในประเทศ https://positioningmag.com/1493971 Thu, 10 Oct 2024 13:28:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1493971 เกาหลีใต้ ประกาศเสนอค่าจ้างที่สูงขึ้นกว่าญี่ปุ่นและไต้หวัน สําหรับแรงงานต่างชาติที่มีทักษะเพื่อดึงดูดแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศมากขึ้น โดยมุ่งหวังในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

รัฐบาลเกาหลีใต้จึงได้ขยายระบบใบอนุญาตการจ้างงานสําหรับแรงงานต่างชาติที่มีทักษะต่ำด้วย ซึ่งวงเงินรายปีเพิ่มขึ้นจาก 50,000 วอนในปี 2021 เป็น 165,000 วอนในปี 2024 โปรแกรมนี้รวมถึงคนงานในร้านอาหาร การบริการ และอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา นอกจากนั้นรัฐบาลฯวางแผนรับสมัครแรงงานป่าไม้เพิ่ม เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ชนบทและภูเขา โดยตั้งเป้าที่จะรับคนงานป่าไม้มากถึง 1,000 คนต่อปี 

นอกจากนั้นในอุตสาหกรรมการต่อเรือของเกาหลีใต้ต้องเผชิญกับการขาดแคลนแรงงานเช่นกัน โดยมีการประมาณการตัวเลขออกมาว่า ในปี 2023 อู่ต่อเรือมีการขาดดุลคนงาน 14,000 คน เนื่องจากหลายคนย้ายไปที่ภาคเซมิคอนดักเตอร์และยานยนต์ ทำให้เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกาหลีใต้ได้เปิดศูนย์ฝึกอบรมแห่งใหม่สําหรับอุตสาหกรรมการต่อเรือที่อินโดนีเซีย โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็ได้รับการสอนเกี่ยวกับทักษะการเชื่อม ความปลอดภัย ภาษาเกาหลี และการผ่อนคลายข้อจํากัดด้านวีซ่า เพื่อเตรียมความพร้อมให้แรงงานฯพร้อมสําหรับการทํางานให้กับผู้สร้างเรือของเกาหลีใต้ทันทีเมื่อมาถึง 

นายกรัฐมนตรี Han Duck-soo กล่าวว่า รัฐบาลฯคาดการณ์ว่า เกาหลีใต้จะมีประชากรเป็นชาวต่างชาติซึ่งคิดเป็น 5.7% ของประชากรในประเทศภายในปี 2042 และเน้นย้ำถึงความจําเป็นในการสร้างสมดุลระหว่างโอกาสในการทํางานสําหรับพลเมืองเกาหลี กับการจ้างแรงงานต่างชาติที่ยังต้องคิดอย่างถี่ถ้วน

ทั้งนี้มีรายงานว่า ประชากรของเกาหลีใต้จะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสามปี โดยสูงถึง 51.77 ล้านคนในปี 2023 แต่การเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของชาวต่างชาติ 10.4% รวมเป็น 1.93 ล้านคน ทำให้การไหลเข้าของแรงงานต่างชาติได้สร้างความท้าทายบางอย่าง อาทิ นอกจากนี้ อัตราการว่างงานของประเทศยังคงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนงานที่อายุน้อยกว่า สถานการณ์นี้ยังคงมีอยู่แม้จะขาดแคลนแรงงานในบางภาคส่วนก็ตาม

ที่มา : The Rio Times 

]]>
1493971
“ญี่ปุ่น” ขยายโควตารับ “แรงงานต่างชาติ” เพิ่มเป็น 820,000 คน แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน https://positioningmag.com/1465601 Fri, 08 Mar 2024 04:15:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465601 ประเทศ “ญี่ปุ่น” เตรียมเปิดรับ “แรงงานต่างชาติ” ที่มีทักษะเข้ามาทำงานเพิ่มเป็น 820,000 คนในรอบปีบัญชี 2024 แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในหลายอุตสาหกรรม

สำนักข่าว The Mainichi รายงานจากแหล่งข่าววงในรัฐบาลว่าจะมีการเปิดขยายโควตารับ “แรงงานต่างชาติ” ที่มีทักษะเข้ามาเพิ่มเป็น 820,000 คน โดยเป็นแรงงานที่จะเข้ามาตามโครงการเดิมที่เคยเปิดไว้ตั้งแต่ปี 2019 เป็นโควตาแรงงานทักษะที่จะได้รับวีซ่าทำงานยาวถึง 5 ปี

ตัวเลขโควตานี้จะยังมีการนำไปอภิปรายและอาจถูกคัดค้านจากพรรคฝ่ายค้าน แต่หากผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้วเชื่อว่าจะประกาศอย่างเป็นทางการได้ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคมนี้

วีซ่าแรงงานต่างชาตินี้แบ่งย่อยออกเป็นสองหมวดคือ “Category (i)” เป็นแรงงานทักษะเฉพาะที่จะได้รับอนุญาตให้ทำงาน 5 ปีในญี่ปุ่น ขณะที่ “Category (ii)” ซึ่งเป็นแรงงานทักษะพิเศษที่หาได้ยากและดีมานด์สูง จะได้รับวีซ่าเข้าประเทศรวมครอบครัวด้วยและให้พำนักในประเทศได้แบบไม่จำกัดระยะเวลา หมวด Category (ii) นี้เพิ่งจะขยายเพิ่มเมื่อเดือนเมษายน 2023 เพื่อจูงใจแรงงานที่ต้องการย้ายประเทศถาวร

ปัจจุบันมี 12 อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่ต้องการแรงงานทักษะจากต่างประเทศมาช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลน และปีนี้รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเพิ่มอุตสาหกรรมอีก 4 ประเภทที่สามารถรับแรงงานทักษะต่างชาติได้ ได้แก่ การขนส่งด้วยยานยนต์, การรถไฟ, การป่าไม้ และการแปรรูปไม้

ภาพจาก Shutterstock

ย้อนไปเมื่อปี 2019 โครงการให้วีซ่าแรงงานต่างชาตินี้กำหนดโควตาไว้ที่ 345,150 คน จนถึงเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023 ญี่ปุ่นมีการรับแรงงานตางชาติผ่านโครงการเข้ามาแล้ว 201,307 คน โดยจำนวนแรงงานเริ่มเพิ่มมากขึ้นหลังจากมีการเปิดประเทศในช่วงโควิด-19 คลี่คลายลง

นั่นทำให้โควตาใหม่ปี 2024 นับว่าเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวจากเมื่อ 5 ปีก่อน ตัวเลขนี้มาจากการประเมินของภาครัฐว่าญี่ปุ่นจะต้องการแรงงานเพิ่มสูง

แหล่งข่าวของ The Minichi ให้ข้อมูลว่าปี 2024 นี้คาดว่าจะมีแรงงานทักษะเข้าสู่อุตสาหกรรมภาคการผลิตอีก 173,300 คน ภาคการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม 139,000 คน ภาคก่อสร้าง 80,000 คน และภาคการเกษตร 78,000 คน

รวมถึงในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ 4 กลุ่มนั้นเชื่อว่าจะมีแรงงานในภาคขนส่งด้วยรถยนต์ เช่น คนขับรถบัส คนขับรถแท็กซี่ อีกประมาณ 24,500 คน และมีแรงงานมาทำงานการรถไฟ เช่น คนขับรถไฟ ผู้ควบคุมขบวนรถ วิศวกรรถไฟ และอื่นๆ อีกราว 3,800 คน

จำนวนแรงงานต่างชาติในญี่ปุ่นเมื่อเดือนตุลาคม 2023 นั้นมีจำนวนมากกว่า 2 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อย และกลายเป็นสถิตินิวไฮครั้งใหม่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11

จากการเพิ่มขึ้นของแรงงานต่างชาติในญี่ปุ่น ทำให้สังคมญี่ปุ่นคาดกันว่าจะต้องมีข้อบังคับจากรัฐให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ที่รับแรงงานต่างชาติมาทำงานจะต้องเป็นผู้สนับสนุนการฝึกอบรมภาษาญี่ปุ่น การศึกษา และสิ่งใดๆ ที่ช่วยให้แรงงานต่างชาติปรับตัวเข้ากับประเทศได้ด้วย รวมถึงมีข้อกังวลว่าเมื่อแรงงานต่างชาตินำคู่สมรสและลูกๆ เข้ามาพำนักอาศัยในประเทศด้วย อาจจะกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบหนึ่งในญี่ปุ่น

Source

]]>
1465601
เจาะขุมทรัพย์กำลังซื้อ “แรงงานเมียนมา” 6.8 ล้านคนในไทย ช่องว่างที่รอแบรนด์ทำการตลาด https://positioningmag.com/1448256 Tue, 17 Oct 2023 08:58:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448256
  • MI GROUP วิจัยกำลังซื้อ “แรงงานเมียนมา” อาศัยอยู่ในไทยถึง 6.8 ล้านคน คิดเป็น 10% ของประชากรไทย แต่ยังมีแบรนด์ไทยจำนวนน้อยมากที่ทำการตลาดเจาะกลุ่มนี้โดยตรง
  • ธุรกิจที่แข่งขันเพื่อคว้าตลาดกลุ่มนี้แล้วมีเพียง 2 กลุ่ม คือ “โทรคมนาคม” กับ “ธนาคาร” โอกาสที่เห็นชัดเพื่อเจาะตลาดแรงงานเมียนมาคือธุรกิจ “ทองคำ” เพราะคนเมียนมาส่วนใหญ่นิยมซื้อไว้เป็นสินทรัพย์
  • ชี้เป้าทำการตลาดด้วยการทลายกำแพง “ภาษา” และเข้าถึงผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะแรงงานเมียนมาเกือบทุกคนใช้ Facebook
  • กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI GROUP จัดทำรายงานวิจัยชุด “ผ่าขุมทรัพย์แรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย” สะท้อนภาพกำลังซื้อที่แบรนด์ไทยยังมองข้าม

    ภาพรวมของแรงงานเมียนมาในไทยมีประมาณ 6.8 ล้านคน (รวมกลุ่มที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายแล้ว) ซึ่งคิดเป็น 10% ของจำนวนประชากรไทย ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ และหากแบรนด์สามารถครองใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ ก็จะมีโอกาสการขายที่มากขึ้น

    ด้วยเหตุนี้ MI GROUP ผ่านสายธุรกิจ MI BRIDGE และ MI Learn Lab จึงวิจัยผู้บริโภคเมียนมาในไทย โดยศึกษาผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 50 คน และผ่านแบบสอบถามออนไลน์อีก 212 คน ศึกษาในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2566 และได้ข้อมูลอินไซต์ที่น่าสนใจ ดังนี้

    แรงงานเมียนมา
    ข้อมูลจาก: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว

    รู้จัก “แรงงานเมียนมา” ในไทย

    คนเมียนมาที่เข้ามาทำงานในไทย ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี และมี “ผู้ชาย” มากกว่าด้วยสัดส่วน 74% ส่วนแรงงาน “ผู้หญิง” มี 26%

    ภาคธุรกิจหรืออาชีพหลักที่คนเมียนมาเข้ามาทำงาน ได้แก่

    • โรงงานอุตสาหกรรม 39%
    • ก่อสร้าง 18%
    • พนักงานขาย 15%
    • เกษตรกร 11%
    • รับจ้างทั่วไป 9%

    แรงงานเมียนมา

    แรงขับสำคัญที่ทำให้คนเมียนมาเลือกมาทำงานในไทย 88% ตอบว่า เป็นเพราะปัญหาการเงินทางบ้าน เนื่องจากในเมียนมาจ่ายค่าแรงต่ำเพียง 1,000-5,000 บาทต่อเดือน หรือบางคนอาจไม่มีรายได้เลย

    เป้าหมายของคนเมียนมาในไทยส่วนใหญ่จึงเป็นการมาหาเงินเพื่อส่งกลับไปให้ครอบครัวได้มีชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือมาหาเงินทุนกลับบ้านไปเริ่มทำกิจการส่วนตัว

    ด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้มีคนเมียนมาถึง 49% ที่ตอบว่า ตนไม่มีกำหนดกลับบ้านเกิด จะอยู่ทำงานจนกว่าจะเก็บเงินได้ถึงเป้าหมาย แต่ถ้าเป็นไปได้ต้องการจะอยู่เพียง 3-5 ปี

     

    เน้นการ “ออมเงิน”

    คนเมียนมาส่วนใหญ่จะมีวิถีชีวิตที่เน้นการทำงานเป็นหลัก พวกเขาจะทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ และ ทำงานเฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อวัน (รับโอที) รายได้ที่ได้รับอยู่ที่ 10,000-15,000 บาทต่อเดือน สูงกว่าที่เคยได้ในเมียนมา 3-15 เท่า!

    แรงงานเมียนมา

    และเมื่อชีวิตมาเพื่อหาเงินกลับบ้าน คนเมียนมาจึง “ออมเงิน” สูงมาก โดยแบ่งสัดส่วนเฉลี่ย 44% ของรายได้เป็นเงินออม

    2 ใน 3 ของเงินออมนี้จะถูกส่งกลับบ้านให้ครอบครัว เหลือ 1 ใน 3 ของเงินออมที่เก็บไว้ใช้ส่วนตัวยามจำเป็น

    ส่วน 56% ที่ไว้ใช้จ่าย คนเมียนมามีค่าใช้จ่ายหลักเป็นเรื่องทั่วไป เช่น ค่าอาหาร ค่าของใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าที่พักอาศัย ค่าโทรศัพท์-อินเทอร์เน็ตมือถือ

     

    ซื้อสินค้าอะไรบ้าง

    เจาะลึกสินค้าในชีวิตประจำวันที่คนเมียนมาซื้อหา MI GROUP มีการแบ่งสิ่งที่คนเมียนมาต้องการออกเป็น 3 ช่วงตามสถานการณ์ชีวิต ได้แก่

    ช่วงที่ 1 “ตั้งหลัก” ระยะที่เพิ่งมาถึงประเทศไทย
    สิ่งที่ต้องการ ได้แก่
    – ซิมการ์ด
    – ที่อยู่อาศัย
    – ตำแหน่งงาน
    – ของใช้จำเป็น เช่น เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภคบริโภค

    ช่วงที่ 2 “ตั้งตัว” ระยะเริ่มทำงานและเริ่มมีรายได้
    สิ่งที่ต้องการ ได้แก่
    – บัญชีเงินฝาก
    – ใบอนุญาตทำงาน
    – โทรศัพท์มือถือ (ราคาที่เหมาะสม 4,000-13,000 บาท)
    – เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็น เช่น หม้อหุงข้าว พัดลม
    – เสื้อผ้าแฟชั่น
    – สกินแคร์ เครื่องสำอาง
    – ทองคำ** (ลงทุนสะสม 16,000-80,000 บาท)

    ช่วงที่ 3 “ตั้งใจ” ระยะเตรียมตัวกลับบ้านเมื่อเก็บเงินได้ตามเป้าหมาย
    สิ่งที่ต้องการ ได้แก่
    – บริการการโอนเงินกลับบ้านเกิด
    – ของใช้เพื่อเป็นของฝาก เช่น ยา อาหารเสริม เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าแฟชั่น

     

    รับสื่อทาง “อินเทอร์เน็ต” เป็นหลัก

    รู้จักพื้นฐานด้านรายได้และความต้องการแล้ว ในแง่ของวิถีชีวิตและการรับสื่อของคนเมียนมา MI GROUP พบว่า เนื่องด้วยการทำงานหนัก ทำให้คนเมียนมามีเวลาว่างน้อย ในวันทำงานจะว่างเพียง 2-3 ชั่วโมงต่อวัน (ช่วงก่อนเข้านอน) และวันหยุด 1 วันต่อสัปดาห์

    เมื่อมีเวลาน้อย กิจกรรมยามว่างจะมีเพียง 2 เรื่อง คือ เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือ กับ จับจ่ายซื้อของ

    พฤติกรรมบนอินเทอร์เน็ตก็เหมือนคนทั่วไปคือ ดูละคร ภาพยนตร์ รายการวาไรตี้ ติดตามข่าวสาร ติดต่อญาติ/เพื่อนฝูง

    โดยโซเชียลมีเดียที่คนเมียนมาใช้มากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ Facebook, YouTube, TikTok, Messenger, Line, Telegram

    โดยเฉพาะ “Facebook” เป็นช่องทางที่ 98% ของคนเมียนมาใช้งาน เพราะมีไว้ใช้ทั้งติดต่อญาติมิตร ดูคอนเทนต์บันเทิง ติดตามข่าวสารความรู้ และช้อปปิ้งออนไลน์ด้วย!

    การวิจัยนี้พบว่า 74% ของคนเมียนมาในไทยมีการ “ช้อปออนไลน์” โดยช่องทางที่ใช้ช้อปมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ Lazada, Facebook, Shopee, TikTok

    แม้ว่าจะมีคนเมียนมาในไทยเพียง 32% ที่มี Mobile Banking แต่ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะสามารถเลือกเก็บเงินปลายทางได้ หรือให้เพื่อน/นายจ้างที่มีแอปฯ ช่วยโอนเงินแทน

     

    โอกาสยังเปิดกว้าง – “ทองคำ” ควรจับตามอง

    ด้วยจำนวนประชากรและวิถีชีวิตเฉพาะตัว “วิชิต คุณคงคาพันธ์” Head of International Business Development, MI GROUP ให้ความเห็นว่า แบรนด์ไทยควรหันมามองตลาดที่มีถึง 6.8 ล้านคนนี้มากขึ้น

    “ตอนนี้แบรนด์ไทยยังมองว่าลูกค้าคนเมียนมาในไทยเป็นผลพลอยได้ เพราะว่าอย่างไรเขาก็ดูละครไทย รายการไทย ทำให้ไม่ค่อยมีการทำตลาดโดยตรง” วิชิตกล่าว

    มีเพียง 2 ธุรกิจที่เจาะตลาดนี้แล้วคือ “โทรคมนาคม” กับ “ธนาคาร” เพราะ “ซิมการ์ด” สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต กับ “บัญชีธนาคาร” คือสิ่งจำเป็นมากของแรงงานข้ามชาติ จึงมีการแย่งชิงลูกค้าอย่างเข้มข้น บางค่ายมือถือถึงกับมีคอลเซ็นเตอร์ภาษาเมียนมาไว้รองรับ!

    ส่วนธุรกิจที่วิชิตมองว่าควรจะเร่งเข้ามาจับตลาดคือ “ทองคำ / ร้านทอง” เพราะคนเมียนมาส่วนใหญ่นิยมซื้อทองมาก เนื่องจากเป็นสินทรัพย์มีมูลค่าสำหรับเก็บออม และยังเป็นเครื่องประดับได้ในตัว สามารถพกพาติดตัวง่าย เก็บซุกซ่อนง่าย แต่ขณะนี้ยังไม่มีแบรนด์ร้านทองหรือทองคำใดๆ ที่จับตลาดคนเมียนมาโดยเฉพาะเลย

     

    แปลงโฆษณาเป็น “ภาษาเมียนมา”

    วิชิตกล่าวต่อว่า จริงๆ แล้วการทำตลาดเพื่อคนเมียนมาโดยเฉพาะ จุดสำคัญคือการทลายกำแพงภาษา แปลงโฆษณาเป็น “ภาษาเมียนมา” ก็พอ ทำให้แบรนด์ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงแต่ได้ใจคนกลุ่มใหญ่

    เนื่องจากแรงงานเมียนมาในไทยส่วนใหญ่จะเริ่มฟังพูดภาษาไทยได้คล่องหลังอยู่อาศัยมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี คนที่อ่านเขียนภาษาไทยได้ส่วนใหญ่จะอยู่มาแล้วมากกว่า 7 ปีและต้องขวนขวายที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้กำแพงภาษาคือเรื่องสำคัญในการสื่อสารไปให้ถึงคนเมียนมา

    ส่วนช่องทางการสื่อสารก็ไม่ได้แตกต่างจากคนไทยมาก เพราะเสพสื่อประเภทเดียวกัน ใช้ช่องทาง Facebook ที่บูสต์โพสต์ถึงกลุ่มเป้าหมายได้เหมือนกัน

    ขอเพียงแบรนด์แสดงออกถึงความเข้าใจในชีวิตแรงงานเมียนมาที่เข้ามาเพื่อ “สู้ชีวิต” เป็นแบรนด์ที่ “เชื่อใจได้” ในการอยู่เคียงข้างการทำงานหนัก รวมถึงเป็นแบรนด์ราคาประหยัด “จับต้องได้ง่าย” ก็จะชนะใจคนเมียนมาได้ไม่ยาก

    ]]>
    1448256
    ‘ญี่ปุ่น’ ขึ้นแท่นประเทศที่ให้ “ค่าจ้าง-สวัสดิการ” แรงงานต่างชาติ “สูงสุดในเอเชีย” แตะ 13 ล้านบาท! https://positioningmag.com/1440097 Mon, 07 Aug 2023 08:04:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440097 ใครที่กำลังมองหางานในต่างประเทศอาจอยากไป ญี่ปุ่น เป็นพิเศษ เพราะจากการเก็บข้อมูลโดยบริษัท ECA International ที่เก็บข้อมูลจากบริษัทกว่า 340 แห่ง และสัมภาษณ์แรงงานนานาชาติกว่า 10,000 คน พบว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ ค่าแรงและสวัสดิการแรงงานต่างชาติสูงสุดในเอเชีย

    จากการสำรวจโดย บริษัท ECA International บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลระดับนานาชาติ ที่จะนำทั้งเงินเดือน ผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ที่พักหรือสาธารณูปโภค และภาษี มาคำนวณค่าตอบแทนแรงงานต่างชาติในแต่ละประเทศ พบว่า 5 ประเทศที่ให้ค่าจ้างแรงงานต่างประเทศสูงสุดในเอเชียประจำปี 2022 ได้แก่

    • ญี่ปุ่น: 370,183 ดอลลาร์
    • อินเดีย: 354,028 ดอลลาร์
    • จีน: 313,011 ดอลลาร์
    • ฮ่องกง: 278,020 ดอลลาร์
    • สาธารณรัฐเกาหลี: 275,727 ดอลลาร์

    เมื่อเทียบกับภารวมทั่วโลกพบว่า ญี่ปุ่น นั้นเป็นอันดับ 2 รองจาก สหราชอาณาจักร ที่ให้เงินเดือนและสวัสดิการแรงงานต่างชาติสูงที่สุดในโลก โดย 5 อันดับ ประเทศที่ให้ค่าจ้างแรงงานต่างประเทศสูงสุดของโลก ได้แก่

    • สหราชอาณาจักร: 441,608 ดอลลาร์
    • ญี่ปุ่น: 370,183 ดอลลาร์
    • อินเดีย: 354,028 ดอลลาร์
    • จีน: 313,011 ดอลลาร์
    • ฮ่องกง: 278,020 ดอลลาร์

    จากข้อมูลของ ECA International พบว่า ค่าตอบแทนโดยรวมในภูมิภาคเอเชียระหว่างปี 2021-2022 นั้นเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย +7% มีเพียงประเทศ ลาว จีน และฮ่องกง เท่านั้น ที่ได้รับเงินเดือนและสวัสดิการลดลง เมื่อวัดเป็นสกุลเงินท้องถิ่น ส่วนค่าตอบแทนของพนักงานต่างชาติในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางของญี่ปุ่นจะเฉลี่ยอยู่ที่ 370,183 ดอลลาร์ แต่ก็ถือว่าต่ำกว่าปีที่แล้ว 12% เนื่องจากเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลง 9%

    Lee Quane ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคเอเชียของ ECA International อธิบายว่า การขึ้นเงินเดือนในสกุลเงินท้องถิ่นอาจมีสาเหตุมาจากอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ในปี 2022 บางประเทศในภูมิภาคเอเชียประสบกับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างสูง ทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องเพิ่มเบี้ยเลี้ยง

    “บางบริษัทให้ค่าครองชีพแรงงานต่างชาติเพิ่มเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถจับจ่ายสินค้าต่าง ๆ ภายในประเทศได้ อย่าง สิงคโปร์ ที่เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้เงินเดือนและสวัสดิการของชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปี 2021” 

    Source

    ]]>
    1440097
    ‘ไต้หวัน’ ตั้งเป้าดึงแรงงานต่างชาติกว่า ‘4 แสนคน’ เข้าประเทศภายในปี 2573 หลังเจอปัญหาอัตราเกิดต่ำ https://positioningmag.com/1419136 Tue, 14 Feb 2023 03:16:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419136 ไต้หวัน ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจสำหรับตลาดแรงงานต่างชาติเนื่องจากปัจจุบัน ไต้หวันมีรายได้เฉลี่ยที่สูงกว่าเกาหลี เนื่อจากเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เศรษฐกิจไต้หวันจะเติบโตดี ในขณะที่ประชากรประมาณ 23.4 ล้านคน ก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากอัตราการเกิดที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้รัฐบาลพยายามจะดึงดูดแรงงานต่างชาติเข้ามามากขึ้น

    เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา ไต้หวัน ได้เปิดเผยว่า ต้องการดึงดูดแรงงานต่างชาติ 400,000 คนภายในปี 2573 โดยไต้หวันมองหาแรงงานสำหรับทำงานในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ บล็อกเชน การเงิน และพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยไต้หวันต้องการดึงดูดแรงงานที่มีทักษะในหลายระดับ ตั้งแต่ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับสูง, คนงานด้านเทคนิค รวมถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ 

    “การดึงดูดผู้มีความสามารถระดับสูงให้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมของไต้หวันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม”

    อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยถึงมาตรการดึงดูดว่าจะออกมาในลักษณะใด แต่เมื่อเดือนที่แล้วคณะรัฐมนตรีของไต้หวันได้ อนุมัติร่างแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมือง 52 ฉบับ เพื่อให้แรงงานต่างชาติสามารถพำนักอาศัยได้ง่ายขึ้น ที่ผ่านมา ไต้หวันค่อนข้าง เข้มงวดกับแรงงานต่างชาติเป็นพิเศษ ขณะที่เหล่านักกศึกษาต่างชาติก็หวังว่าจะทำงานในไต้หวันหลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในไต้หวัน

    ปัจจุบัน ไต้หวันมีชาวต่างชาติมากกว่า 5,300 คน ที่จัดอยู่ในประเภทผู้มีความสามารถระดับมืออาชีพมีคุณสมบัติภายใต้วีซ่า 3 ปีและโครงการใบอนุญาตทำงานแบบเปิดที่สร้างขึ้นในปี 2561

    หนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ไต้หวัน พยายามจะดึงดูดแรงงานต่างชาตินั้นมาจาก จำนวนประชากรของประเทศลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้แรงงานในประเทศจะเริ่มหดตัว โดยจำนวนประชากรโดยรวมของเกาะ ลดลง 110,674 คนในปีที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนการเกิดที่ต่ำเป็นประวัติการณ์และการเสียชีวิตมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

    ขณะที่วัยเจริญพันธุ์ของไต้หวันคาดว่าจะ ลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในโลกภายในปี 2578 ตามที่สภาพัฒนาแห่งชาติระบุเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ภายในปี 2588 ก็ตาม

    ไม่ใช่แค่ไต้หวันที่เจอปัญหาด้านแรงงาน แต่ยังมี ฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ซึ่งต่างก็ประสบปัญหาแรงงานในท้องถิ่นหดตัวเนื่องจากอัตราการเกิดต่ำ โดยฮ่องกงเองเพิ่งจะขยายเวลาการพำนักสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเป็น 2 ปี พร้อมเสนอวีซ่าใหม่ 2 ปีแก่ผู้ที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านเหรียญฮ่องกง (318,000 เหรียญสหรัฐ) ต่อปี

    “ฉันคิดว่าทุกคนกำลังแข่งขันเพื่อสิ่งเดียวกัน” อลิเซีย การ์เซีย-เฮอร์เรโร หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Natixis Corporate & Investment Banking ในฮ่องกง กล่าว

    ]]>
    1419136
    มองตลาดแรงงานไทย แข่งดุอัตรา 1 : 100 แถม ‘ต่างชาติทักษะสูง’ จ่อแย่งงาน https://positioningmag.com/1325506 Mon, 29 Mar 2021 15:08:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325506 ปกติแล้วอัตราการว่างงานไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1% แต่เพราะวิกฤต COVID-19 ทำให้อัตราว่างงานพุ่งสูงถึง 2% โดยภาพรวมตลาดประกาศงานในไทยช่วงเดือนมกราคมหายไป 35.6% ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคมหายไป 37.9% เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปี 2019 โดย ‘จ๊อบส์ ดีบี’ (JobsDB) ก็ได้ออกมาเปิดข้อมูลการประเมินแนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต COVID-19 ว่าจะฟื้นมากน้อยแค่ไหนไปดูกัน

    ไตรมาสแรกส่งสัญญาณบวก

    หลังจากที่ถูกพิษ COVID-19 ถล่มเศรษฐกิจซึ่งแน่นอนว่ากระทบกับภาพรวมการจ้างงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ในที่สุดก็เริ่มเห็นสัญญาณบวก โดย พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 สามารถเติบโต 24.65% เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดในเดือนธันวาคมที่การระบาดระลอก 2 ขณะที่ตลาดงานครึ่งปีแรกคาดว่าจะเติบโตได้ 5% ในกลางปี 2564 แต่จะกลับไปฟื้นตัวเท่ากับก่อนวิกฤตการณ์ COVID–19 อาจต้องรอถึงต้นปี 2565 หากไม่มีการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้น

    กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่
    • สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ (16.0%)
    • สายงานไอที (14.7%)
    • สายงานวิศวกรรม (9.8%)
    กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุด ได้แก่
    • สายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ (29.7%)
    • สายงานขนส่ง (24.7%)
    • สายงานการผลิต (20.8%)

    ด้านกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุด ได้แก่
    • กลุ่มธุรกิจประกันภัย (42.9%)
    • กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (41.9%)
    • กลุ่มธุรกิจการผลิต (37.7%)

    “กลุ่มงานขายและการผลิตแสดงให้เห็นถึงสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนสายงานไอทียังคงมีความต้องการสูงต่อเนื่อง ด้านสายงานขนส่งได้รับแรงผลักดันจากพฤติกรรมช้อปออนไลน์ ที่น่าห่วงคือ สายงานภาคท่องเที่ยว, โรงแรมยังติดลบ -20% เทียบไตรมาส 1 ปี 64 กับครึ่งปีหลังปี 63”

    ตลาดฟื้นแต่ยังแข่งสูง

    ในแต่ละเดือนพบว่ามีใบสมัครงานกว่า 1 ล้านใบต่อเดือน เติบโต 20% โดยอัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีอัตราส่วนที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มงานที่เงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยหางานมากขึ้นการแข่งขันยิ่งสูง

    คนไทยอยากออก ต่างชาติอยากเข้า

    จากแบบสำรวจ “ถอดรหัสลับ จับทิศทางความต้องการคนทำงานยุคใหม่” (Global Talent Survey) ฉบับที่ 1 ที่จ๊อบส์ ดีบีร่วมมือกับบริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) และ เดอะ เน็ตเวิร์ก (The Network) พบว่า กว่า 57% ของคนทำงานทั่วโลกยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัต่างประเทศ และ 50% ของคนไทยยินดีที่จะทำงานในต่างประเทศเช่นกัน โดยไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 35 จากประเทศทั่วโลกที่คนทำงานต่างชาติสนใจอยากเข้ามาทำงาน ขยับขึ้นมาจากอันดับ 43 และ 39 ในปี 2014 และ 2018

    จากปี 2018 ที่แรงงานต่างชาติที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาที่ใช้แรงงาน แต่ปี 2020 กลับเป็นชาวต่างชาติที่มีทักษะสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากเติบโตของบริษัทในประเทศที่ขยายมาสู่ประเทศไทย ซึ่งงานต่างชาติจะเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ งานข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนา งานที่พักโรงแรม และบริการด้านอาหาร งานวิทยาศาสตร์ การบริหารและการบริการ

    สำหรับแรงงานต่างชาติที่สนใจอยากมาทำงานในประเทศไทย ได้แก่ 1. สิงคโปร์ 2. มาเลเซีย 3. จีน 4. อินโดนีเซีย 5. รัสเซีย ส่วน 3 อันดับประเทศที่คนไทยอยากไปทำงานด้วยมากที่สุด ได้แก่ 1. ออสเตรเลีย 2. ญี่ปุ่น 3. สิงคโปร์

    นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมหันมาทำงานแบบ เวอร์ชวล (Virtual Talent Pool) มากขึ้นในทุกสายงาน โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพที่จะมาเป็นกุญแจสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มธุรกิจที่จะหาคนทำงานที่ตรงตามความต้องการจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน

    “ต่างชาติพร้อมที่จะเข้ามาเพราะบริษัทต่างชาติเริ่มขยายเข้ามาในไทย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศที่ต่างชาติชอบ ทั้งอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ขณะที่เด็กไทยรุ่นใหม่ก็พร้อมจะไปทำงานที่ต่างประเทศเพื่อความก้าวหน้า ต้องการเงินเดือนสูง แต่อนาคตก็มีโอกาสกลับมาทำงานในไทย”

    ทักษะใหม่ที่มาพร้อม COVID-19

    นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสายงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตการณ์ COVID-19 อาทิ นักพัฒนาเอไอ, ที่ปรึกษาด้านบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล, ผู้เชี่ยวชาญ Business Transformation รวมถึง Growth Officer

    เด็กจบใหม่ไม่ตรงสายงาน

    ปัญหาความต้องการจ้างงานที่ไม่สอดคล้องกับภาคการศึกษาที่ผลิตบุคลากรสู่ตลาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ โดยจะเห็นว่ากลุ่มไอทีสามารถผลิตออกมาได้น้อยกว่าความต้องการ ขณะที่กลุ่มของมาร์เก็ตติ้งหรือนิเทศศาสตร์กลับผลิตออกมาได้มากกว่าความต้องการ ขณะที่ปัจจุบัน ภายใน 1-2 ปีเท่านั้นที่เทรนด์การทำงานปรับเปลี่ยน เริ่มเห็นตำแหน่งงานใหม่ ๆ ขณะที่การเรียนมหาวิทยาลัยใช้เวลา 4 ปี ดังนั้นจะเห็นว่าปัญหานี้กำลังใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

    “ตลาดไทยมีความต้องการแรงงานทักษะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ 70% ของแรงงานอยู่ในกลุ่มทักษะปานกลาง-ต่ำ และไม่มีการเปลี่ยนเเปลงในระยะเวลาหลายสิบปี ขณะที่ต่างชาติก็พร้อมเข้ามาแย่งงานคนไทย นี่จึงเป็นอีกโจทย์ที่ต้องเร่งแก้ในตลาดแรงงานไทย”

    ]]>
    1325506