แห่กักตุน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 17 Mar 2020 08:16:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 5 เหตุผลทางจิตวิทยาที่ทำให้คนแห่กักตุนเสบียง โดยเฉพาะ “ทิชชู” https://positioningmag.com/1268528 Tue, 17 Mar 2020 07:34:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268528 หน้ากากอนามัยกับเจลล้างมือดูเป็นสินค้าที่สมเหตุสมผลหากจะเกิดการแห่ซื้อมากักตุน แต่ “ทิชชู” เป็นสินค้าที่ดูไม่มีเหตุผลเอาเสียเลยว่าทำไมคนอเมริกัน แคนาดา หรือออสเตรเลีย ต้องแห่ซื้อกันมากมายด้วย เพราะไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสแต่อย่างใด

ในเมืองไทยเริ่มเห็นภาพการแห่ซื้อเสบียงไว้ใช้ยามจำเป็นกันบ้างแล้ว หลังจากประเทศแถบตะวันตกเริ่มตื่นตระหนกไปก่อนหน้านี้ โดยสินค้าหนึ่งที่คนตะวันตกนิยมซื้อกันจนเกลี้ยงชั้นวางคือ “ทิชชู” โดยมีเหตุผลอย่างเป็นรูปธรรมว่าทำไมทิชชูถึงขายดี (กว่าบ้านเรา) คือ บ้านคนตะวันตกมักจะไม่มีที่ฉีดน้ำในห้องสุขา ทำให้ทิชชูคือสิ่งจำเป็นสำหรับเช็ดทำความสะอาด

ความต้องการทิชชูจำนวนมากทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในสหรัฐฯ และแคนาดามีนโยบายจำกัดจำนวนซื้อต่อคนต่อครั้ง เสมือนเป็นสินค้าจำเป็นแบบเดียวกับหน้ากากอนามัย ในออสเตรเลียมีบางห้างฯ ที่จัด รปภ.เดินเวรตรวจเช็กตามชั้นวางสินค้าด้วย

แต่ถึงจะจำเป็นต้องใช้ทำความสะอาดร่างกาย การซื้อทิชชูคนละมากๆ ระดับที่เก็บไว้ใช้ได้เป็นปีก็ดูไม่สมเหตุสมผล ทิชชูไม่ใช่สิ่งที่ป้องกันไวรัสได้และไม่ได้จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่ากับอาหาร แต่ทิชชูกลับเป็นสิ่งแรกที่เกลี้ยงเชลฟ์ (ถ้าไม่นับหน้ากากอนามัยกับเจลล้างมือ)

เพราะอะไรคนถึงแห่กันไปซื้อเสบียง โดยเฉพาะทิชชู เราไปฟังบทวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยากัน

 

เหตุผลข้อ 1 – คนมีแนวโน้มจะแห่ซื้อแบบสุดโต่ง เมื่อรับข้อมูลที่ขัดแย้งกัน

ประชาชนชาวอเมริกันแห่ซื้อสินค้ากักตุน เตรียมพร้อมรับมือการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ห้างสรรพสินค้า Costco สาขานิวเจอร์ซีย์ (Photo by Tayfun Coskun/Anadolu Agency via Getty Images)

สตีเว่น เทย์เลอร์ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “จิตวิทยาการระบาด” หนังสือที่พาย้อนกลับไปศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการตอบสนองการระบาดของโรค เทย์เลอร์มองว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดในอดีต การตอบสนองระดับโลกในกรณีไวรัส COVID-19 นับเป็นความตื่นตระหนกที่แพร่กระจายไปไกลมากกว่า

“ในแง่หนึ่ง การตอบสนองเหล่านี้ก็เข้าใจได้ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็มากผิดปกติ” เทย์เลอร์กล่าว “เราเตรียมตัวได้โดยไม่ต้องตื่นตระหนก”

ไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้คนตื่นตระหนกได้มากกว่าเพราะเป็นโรคใหม่ที่ไม่มีใครเคยรู้จัก เมื่อประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ขัดแย้งกัน เกี่ยวกับระดับความเสี่ยงของโรคและระดับการเตรียมพร้อมรับมือที่ควรจะทำ เมื่อไม่รู้จะเชื่อข้อมูลไหน พวกเขาจึงมีแนวโน้มซื้อเสบียงตุนไว้ก่อนแบบสุดโต่ง

“เมื่อประชาชนได้รับข่าวว่าโรคอันตรายกำลังมาเยือน แต่สิ่งเดียวที่ต้องทำคือการล้างมือ วิธีปฏิบัติที่ดูง่ายจนไม่น่าจะสมเหตุสมผลกับความอันตรายของโรค พวกเขาคิดว่าความอันตรายระดับพิเศษจำเป็นต้องมีแนวทางรับมือแบบพิเศษด้วย” เทย์เลอร์กล่าว

 

เหตุผลข้อ 2 – เป็นการตอบสนองเมื่อภาครัฐไม่ให้ทิศทางที่ชัดเจนในการรับมือ

บารุค ฟิชฮอฟฟ์ นักจิตวิทยาและศาสตราจารย์จากสถาบันการเมืองและกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลล่อน กล่าวว่า เนื่องจากหลายๆ ประเทศมีการล็อกดาวน์ กักกันประชาชนทั้งเมืองให้อยู่แต่ในบ้านแล้ว ทำให้คนในเมืองที่ยังไม่มีนโยบายนี้รู้สึกว่าต้องเตรียมตัวซื้อสินค้ากักตุนไว้เผื่อจะเกิดขึ้นในเมืองตัวเองบ้าง

“หากประชาชนไม่รู้สึกถึงคำมั่นสัญญาจากภาครัฐว่าทุกคนจะได้รับการดูแล พวกเขาจะถูกทิ้งให้คาดเดาเอาเองถึงความเป็นไปได้ว่าตนจะต้องการทิชชูเมื่อไหร่ และมักจะรู้สึกว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ มากกว่ารู้สึกว่าจะยังไม่เกิดขึ้น” ฟิชฮอฟฟ์กล่าว “ถ้าไม่มีคำมั่นสัญญาจากภาครัฐก็จะยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้พวกนั้นมากขึ้น”

 

เหตุผลข้อ 3 – การแห่ซื้อยิ่งทำให้เกิดการแห่ซื้อ

ภาพชั้นวางสินค้าที่ว่างเปล่ากับรถเข็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีสินค้าอยู่เต็ม ไหลท่วมในโซเชียลมีเดียและการรายงานข่าว เมื่อประชาชนเห็นภาพผู้ซื้อที่ตื่นตระหนก พวกเขาจะทึกทักเองว่าควรตื่นตระหนกและไปซื้อสินค้าบ้าง

“มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เรามองมนุษย์คนอื่นเพื่อหานัยว่าอะไรคือสิ่งที่ปลอดภัยและอะไรอันตราย” เทย์เลอร์กล่าว “และเมื่อคุณเห็นคนบางส่วนแห่ซื้อสินค้า นั่นอาจทำให้เกิดการระบาดของความกลัวขึ้น”

ภาพชั้นวางสินค้าว่างเปล่าอาจทำให้คนเชื่อว่า พวกเขาต้องรีบออกไปซื้อทิชชูในขณะที่ยังมีให้ซื้ออยู่ และเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เกิดการขาดแคลนขึ้นมาจริงๆ

เทย์เลอร์กล่าวว่า โซเชียลมีเดียเป็นผู้เล่นรายสำคัญในการแพร่ขยายความกลัวไวรัส COVID-19 ออกไป ข้อมูลผิดๆ ขยายวงกว้างได้ง่ายในแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างและใช้งานง่าย ช่วยทำให้เสียงแห่งความตื่นตระหนกยิ่งกึกก้อง

 

เหตุผลข้อ 4 – เป็นเรื่องธรรมชาติที่คนจะ “กันไว้ดีกว่าแก้”

ประชาชนไทยซื้อสินค้าเตรียมรับมือไวรัส COVID-19

ขณะที่ แฟรงก์ ฟาร์ลี่ย์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเทมเปิลและอดีตประธานสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน มองว่า การแห่ซื้อสินค้าเป็นพฤติกรรมปกติ เพราะขณะนี้หลายองค์กรด้านสาธารณสุขระดับโลกให้คำแนะนำแล้วว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยงควรจะกักตัวอยู่ในบ้าน และหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้อื่นหรือคนหมู่มาก ดังนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติที่คนจะเตรียมตัวป้องกันไว้ก่อน

“ไวรัส COVID-19 ทำให้เกิดภาวะทางจิตของ ‘ผู้เอาชีวิตรอด’ คนที่จะรอดคือต้องอยู่บ้านให้มากที่สุด ดังนั้นจะต้องเตรียมเสบียงของจำเป็น ซึ่งรวมถึงทิชชูด้วย เพราะถ้าไม่มีทิชชูจะใช้อะไรทดแทนได้ล่ะ?” ฟาร์ลี่ย์กล่าว

ฟิชฮอฟฟ์เสริมว่า อย่างไรคุณก็ต้องซื้อทิชชู ดังนั้นจะซื้อตอนนี้หรือซื้อทีหลัง ถ้าซื้อทีหลังอาจจะพบปัญหาคิวจ่ายเงินที่ยาวยิ่งกว่าและหาสินค้าได้ยากด้วย

ส่วนที่เป็นการซื้อ “ทิชชู” มากกว่าอาหารซึ่งจำเป็นกว่า ก็เพราะว่าเป็นสิ่งที่วันหนึ่งต้องใช้งานเหมือนกัน แต่อาหารนั้นเน่าเสีย ส่วนทิชชูจะเก็บไว้ก่อนก็ได้ ตุนไว้ไม่เสียหาย

 

เหตุผลข้อ 5 – ซื้อเพื่อให้รู้สึกว่ายัง “ควบคุม” ชีวิตได้

ฟิชฮอฟฟ์กล่าวว่า ผู้คนแห่ซื้อสินค้าเพราะความกลัว การเตรียมตัวแม้จะแค่ไปซื้อทิชชูมาเก็บไว้ก็ยังทำให้คนรู้สึกว่าได้ควบคุมอะไรบางอย่างในชีวิตแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์ที่ดูสิ้นหวัง

“ถ้าการทำเช่นนี้ทำให้คนรู้สึกว่าพวกเขาได้ทำทุกอย่างที่ทำได้แล้ว อาจจะทำให้คนสบายใจมากขึ้นพอที่จะไปคิดเกี่ยวกับเรื่องอื่นนอกจากไวรัสได้บ้าง”

Source

]]>
1268528
ซูเปอร์มาร์เก็ตในออสเตรเลีย เปิด “ช่วงพิเศษ” เฉพาะผู้สูงอายุ รับมือคนเเห่กักตุนสินค้า https://positioningmag.com/1268506 Mon, 16 Mar 2020 11:03:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268506 Woolworths ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของออสเตรเลีย ประกาศจะเปิดบริการ “ช่วงเวลาพิเศษ” ให้เฉพาะลูกค้าที่มีอายุมากกว่า 60 ปีเเละผู้พิการ เพื่อให้พวกเขาได้ซื้อสินค้าของใช้จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเเออัด ในยามที่ผู้คนกำลังแห่กักตุนสินค้า ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่สร้างความตื่นตระหนกให้ประชาชนในออสเตรเลีย

โดยทาง Woolworths ระบุว่า ซูเปอร์มาเก็ตทุกสาขาในเครือจะเปิดให้ผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถเข้าซื้อสินค้าได้ตั้งแต่ 07.00-08.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนเปิดร้านของทุกวัน มาตรการดังกล่าว ผู้ซื้อจะต้องแสดงบัตรประจำตัวหรือบัตรทุพพลภาพก่อนเข้าสู่ร้านค้า ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันพรุ่งนี้ (17 มี.ค. ตามเวลาท้องถิ่น) และจะดำเนินการต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีการทบทวนอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์นี้

“มาตรการชั่วคราวนี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีโอกาสซื้อของก่อนที่ร้านค้าของเราจะเปิดอย่างเป็นทางการ พวกเขาจะได้ซื้อของที่จำเป็นก่อนช่วงเวลาเเออัดที่ผู้คนเเห่กักตุนสินค้า”

ขณะเดียวกันร้านค้าปลีกในเครือ IGA ก็กำลังมีมาตรการช่วยเหลือผู้สูงอายุเเละผู้พิการเช่นเดียวกัน โดยสาขาในรัฐวิกตอเรีย เเจ้งว่าจะเริ่มเปิดบริการให้เฉพาะผู้ถือบัตรผู้สูงอายุและผู้พิการระหว่างเวลา 6.00-07.00 น.ของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และจะเปิดช่วงเวลาพิเศษให้ 1 ชั่วโมงในช่วงเช้าของวันเสาร์และวันอาทิตย์

ออสเตรเลียกำลังเผชิญกับการแห่กักตุนสินค้า ด้วยความตื่นตระหนกของประชาชนเหมือนในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้สินค้าจำเป็นหลายอย่างขายหมดเกลี้ยง แม้ทางการจะขอให้หยุดซื้อเพื่อกักตุนแล้วก็ตาม ซึ่งปรากฎการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพที่ไม่สามารถไปร้านค้าได้ทุกวัน หรือกลัวว่าไปแล้วร้านค้าจะมีผู้คนหนาแน่น

ที่มา : Woolworths to hold shopping hour for elderly amid coronavirus rush

]]>
1268506