โรคอ้วน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 30 Dec 2021 06:49:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โฆษณา McDonald’s ในประเทศรายได้ต่ำ เล็งเป้า “เยาวชน” มากกว่า ชูเรื่อง “สุขภาพ” น้อยกว่า https://positioningmag.com/1369200 Thu, 30 Dec 2021 04:46:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369200 ผลการศึกษา “โฆษณา” ของ McDonald’s ผ่านโซเชียลมีเดียเปรียบเทียบระหว่างประเทศรายได้สูง ปานกลาง และต่ำ พบว่าการโฆษณาของเชนฟาสต์ฟู้ดรายนี้เน้นเป้าหมาย “เยาวชน” มากกว่า และเน้นประเด็น “สุขภาพ” น้อยกว่า เมื่อยิงโฆษณาในประเทศรายได้ต่ำ

การศึกษาวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร BMJ Nutrition Prevention & Health Journal โดยผู้วิจัยส่วนใหญ่มาจากภาควิชาสุขอนามัยสาธารณะของ New York University พวกเขาทำการวิเคราะห์โฆษณาของ McDonald’s บนบัญชี Instagram ทางการของแบรนด์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งหมด 15 ประเทศ แบ่งตามระดับรายได้ทางเศรษฐกิจ ดังนี้

  • รายได้สูง : สหรัฐฯ, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, UAE, โปรตุเกส และปานามา
  • รายได้ปานกลางถึงกลางค่อนสูง : โรมาเนีย, เลบานอน, มาเลเซีย, บราซิล และแอฟริกาใต้
  • รายได้ปานกลางถึงต่ำ : อินโดนีเซีย, อียิปต์ และอินเดีย

การศึกษาโพสต์โฆษณาย้อนหลังไปในช่วงกันยายน-ธันวาคม ปี 2019 รวมระยะเวลา 4 เดือน และมีการสรุปผลวิเคราะห์เมื่อเดือนเมษายน 2020 รวมโพสต์การตลาดที่ถูกนำมาวิเคราะห์ 849 ชิ้น ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย มีดังนี้

  • McDonald’s โพสต์โฆษณาในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำมากกว่ากลุ่มประเทศรายได้สูงถึง 154%
  • มีการโพสต์โฆษณาในลักษณะ “เป็นมิตรกับเด็ก” มากกว่าในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ โดยสัดส่วน 22% ของโพสต์ทั้งหมดในประเทศรายได้ต่ำจะเป็นมิตรกับเด็ก เทียบกับกลุ่มประเทศรายได้สูงมีสัดส่วนเพียง 12% ที่เป็นมิตรกับเด็ก
  • โพสต์ในประเทศรายได้สูงมีประเด็นเกี่ยวกับอุปนิสัยเพื่อสุขภาพมากกว่า โดยคิดเป็นอัตราส่วน 5% ขณะที่โพสต์ในประเทศรายได้ต่ำจะมีประเด็นสุขภาพ 2.5% เท่านั้น
  • โพสต์ในประเทศรายได้สูงมีโฆษณาโปรโมชันราคาและการแจกสินค้าฟรีเพียง 14% แต่ประเทศรายได้ต่ำจะมีถึง 40%

“การตั้งเป้าหมายโฆษณาไปที่เยาวชน และใช้โปรโมชันราคาเป็นสำคัญ โฆษณาของ McDonald’s บนโซเชียลมีเดียอาจส่งผลให้ปัญหาสุขภาวะในประเทศที่มีความเปราะบางสูงสุดทั่วโลกยิ่งแย่ลงไปอีก” กลุ่มนักวิจัยกล่าว “ขณะที่โซเชียลมีเดียเติบโตขึ้น โฆษณาบนโซเชียลมีเดียของบริษัทฟาสต์ฟู้ดอาจจะมีผลโดยอ้อมต่อการเลือกรับประทานอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ”

กลุ่มนักวิจัยระบุว่า “ราคา” เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อ พบเห็นได้บ่อยในชุมชนที่มีรายได้ต่ำ เพราะราคามักจะเป็นกุญแจในการตัดสินใจ

แน่นอนว่าการศึกษานี้ นักวิจัยออกตัวด้วยว่าจำนวนประเทศที่นำมาใช้ศึกษาอาจจะน้อยเกินไปและไม่ได้เกลี่ยให้มีจำนวนเท่าๆ กัน รวมถึงไม่ได้ลงลึกถึงพฤติกรรมการซื้อที่เกิดขึ้นจริงหลังการโพสต์โฆษณาของ McDonald’s

อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักวิจัยก็ยังมองว่าการศึกษาเรื่องผลกระทบจากการโฆษณาต่อมื้ออาหารนั้นสำคัญ เพราะสังคมควรจะมีนโยบายกำกับการทำการตลาดของบริษัทอาหาร-เครื่องดื่ม โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากเป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับปัญหาสารอาหารไม่สมดุล โรคอ้วน และความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

Source

]]>
1369200
ระวัง! 8 โรคประจำตัว เสี่ยงอาการรุนแรงหากติด COVID-19 https://positioningmag.com/1313232 Thu, 07 Jan 2021 14:51:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313232 ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ทราบว่าอาการแสดงเกิดขึ้นได้หลากหลาย ผู้ป่วยบางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย ในขณะที่ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการหนักมากจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

โดยอาการรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้กับกลุ่มที่เสี่ยง เช่น เด็กเล็ก, คนท้อง, ผู้สูงอายุ กลุ่มความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว มาดูกันว่าคุณหรือคนในครอบครัวมีโรคประจำตัวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้หรือไม่ คำแนะนำโดย นพ.ประยุทธ อังกูรไกรวิชญ์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเวชธานี 

1. ความดันโลหิตสูง เนื่องจากเชื้อไวรัสจะส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้ถึง 9%

2. เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยทั่วไปแล้วการทำงานของหัวใจ และระบบไหวเวียนเลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าคนทั่วไป อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และมีภูมิคุ้มกันต่ำ หากติดเชื้อ COVID-19 จะยิ่งทำให้โรครุนแรงขึ้น เสี่ยงเกิดเยื่อบุหลอดเลือดอักเสบทั่วร่างกายจนทำให้การไหลเวียนเลือดบกพร่อง เซลล์ และเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน หัวใจทำงานหนักขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น หัวใจล้มเหลว ลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันในหลอดเลือดหัวใจ ปอดอักเสบรุนแรงและภาวะระบบการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน อีกทั้งยังทำให้ควบคุมโรคประจำตัวที่มีอยู่เดิมยากขึ้น เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวได้เช่นเดียวกัน

3. เบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อง่ายกว่าคนปกติ เพราะเชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงและร่างกายมีภูมิคุ้มกันน้อยลง อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานยังมีระดับเอนไซม์โปรตีน ACE2 receptors สูงขึ้น เมื่อรับเชื้อไวรัสเข้าไปแล้วจะทำให้ผนังหลอดเลือดบางลง เกิดภาวะปอดบวม มีน้ำคั่งในถุงลม เป็นเหตุให้การหายใจล้มเหลวได้ง่าย

4. ไตเรื้อรัง ผู้ป่วยฟอกไตและปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไป จึงเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงขึ้น ควรต้องดูแลตัวเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

5. หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ซิสติกไฟโบรซิส COVID-19 มีผลกระทบโดยตรงต่อปอด ซึ่งในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคปอดอยู่แล้วอาจทำให้โรคกำเริบหรือมีอาการปอดบวมได้ง่ายกว่าผู้ป่วยทั่วไป

6. ตับแข็ง ตับอักเสบเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยปลูกถ่ายตับที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน และผู้ป่วยมะเร็งตับที่กำลังรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เสี่ยงเกิดอาการรุนแรงได้เพราะยาที่ใช้รักษา COVID-19 อาจมีผลต่อการทำงานของตับ อาจทำให้โรคที่เป็นอยู่เดิมควบคุมได้ยากขึ้นหรือรุนแรงกว่าเดิม

7. ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง เอดส์ หรือแม้แต่คนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ จึงทำให้เสี่ยงอาการรุนแรง และยังอาจติดเชื้อนานกว่าผู้ป่วยทั่วไป

8. โรคอ้วน หากติดเชื้อ COVID-19 มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงคล้ายกับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคอ้วนชนิดรุนแรงหรือมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 – 40 ขึ้นไป การขยายตัวของปอดจะถูกจำกัด ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสที่ปอดหรืออาจเกิดอาการหายใจลำบากเฉียบพลันได้ หากมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงและต้องเข้ารักษาตัวในห้อง ICU อาจมีปัญหาในการใส่ท่อช่วยหายใจหรือการ X-Ray Computer ที่อาจจำกัดขนาดและน้ำหนักของผู้ป่วย

]]>
1313232