โอไมครอน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 19 Dec 2021 12:45:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 WHO เตือนประเทศร่ำรวย อย่า ‘กักตุนวัคซีน’ ฉีดกระตุ้นสู้โอมิครอน กระทบประเทศยากจน https://positioningmag.com/1366359 Fri, 10 Dec 2021 11:23:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366359 องค์การอนามัยโลก เตือนเหล่าประเทศร่ำรวย อย่า ‘กักตุนวัคซีนโควิด’ สำหรับฉีดกระตุ้นเพื่อสกัดสายพันธุ์โอมิครอน เพราะจะส่งผลไปยังประเทศยากจนที่ยังมีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ

ประเทศตะวันตกกำลังเริ่มออกมาตรการฉีดวัคซีน ‘เข็มกระตุ้น’ หรือ booster shots โดยมุ่งไปที่ประชนชนกลุ่มเสี่ยง
ทั้งผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ความน่ากังวลของโอมิครอนที่มีการเเพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้บางประเทศเริ่มขยายการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ยังประชากรกลุ่มอื่นๆ ด้วย

ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactivated Vaccine)

Kate O’Brien ผู้อำนวยการด้านวัคซีนของ WHO กล่าวว่า ในช่วงที่เรากำลังมุ่งหน้าไปสู่สถานการณ์ใดก็ตาม
ที่กำลังจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับโอมิครอน มีความเสี่ยงที่อุปทานของวัคซีนทั่วโลกจะกลับไปสู่ประเทศรายได้สูงที่กักตุนวัคซีนไว้อีกครั้ง ซึ่งนั้นจะไม่เป็นผลดีต่อการป้องกันโรคระบาด เว้นแต่ว่าจะมีการกระจายวัคซีนไปยังทุกประเทศจริงๆ

ปัจจุบันวัคซีนโควิดที่มีอยู่ ประสบผลสำเร็จในการช่วยชะลอการแพร่ระบาดของโควิดและลดจำนวนผู้ป่วยหนักลงได้
เเต่ในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำนั้น ยังคงเผชิญความเสี่ยงมากกว่าในสถานการณ์ที่มีเชื้อโควิดกลายพันธุ์
เเละปัญหาสำคัญของโครงการ COVAX คือวัคซีนจำนวนมากที่ได้รับบริจาคจากประเทศร่ำรวย มักจะมีอายุในการเก็บรักษาที่ค่อนข้างสั้น

ด้านไฟเซอร์และไบออนเทค ประกาศว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดสูตรของบริษัท 2 เข็ม จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโอมิครอนลดลง อย่างมีนัยสำคัญ แต่การฉีดวัคซีน ‘เข็ม ‘ จะเพิ่มภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น 25 เท่า

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1366359
‘โอมิครอน-เงินเฟ้อ’ ปัจจัยเสี่ยงฉุดการฟื้นตัว เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง https://positioningmag.com/1366051 Wed, 08 Dec 2021 13:32:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366051
‘โอมิครอน’ สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัว เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เงินเฟ้ออาจเร่งขึ้นแตะ 3% ในช่วงต้นปีหน้าชั่วคราว คาด กนง.คงดอกเบี้ยต่ำจนถึงสิ้นปี 65 ด้านเฟดอาจเร่งปรับลด QE ให้เสร็จก่อนกลางปีหน้า เพื่อปูทางปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง

วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เผยบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ว่า มีแนวโน้มฟื้นตัว ปัจจัยหนุนจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่บรรเทาลง การฉีดวัคซีนมีมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุม ประกอบกับผลเชิงบวกจากการเปิดประเทศ

โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งสิ้น 133,061 คน เร่งขึ้นจากเดือนตุลาคม ที่ 20,272 คน เเละความต่อเนื่องของมาตรการรัฐก็ยังช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศช่วงปลายปี

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงขึ้น หลังจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ ‘โอมิครอน’ เกิดขึ้นในประเทศทางแอฟริกา และเริ่มตรวจพบในหลายประเทศมากขึ้น รวมถึงไทย

ขณะที่ปัจจุบันยังต้องติดตามรายละเอียดที่ชัดเจน ถึงความรุนแรงของสายพันธุ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้าได้

(Photo: Shutterstock)

เงินเฟ้อไทย อาจเเตะ 3% ต้นปีหน้า 

ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ประเมินว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 2.71% YoY จาก 2.38% เดือนตุลาคม

สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ (+37.2%) ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหาร โดยเฉพาะผักสด (+12.7%) ซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจากช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการปรับขึ้นของราคาเครื่องประกอบอาหาร (+6.2%) เนื่องจากความต้องการและต้นทุนขนส่งที่ปรับเพิ่ม

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 0.29% เพิ่มขึ้นจาก 0.21% เดือนตุลาคม สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 1.15% และ 0.23% ตามลำดับ

“แม้อัตราเงินเฟ้อของไทยจะเร่งขึ้นในช่วงปลายปีนี้ และมีแนวโน้มอาจแตะระดับสูงใกล้ 3% ในช่วงไตรมาส 1/2565 เนื่องจากผลของฐานที่ต่ำและการส่งผ่านของต้นทุน แต่คาดว่าจะชะลอลงและกลับมาแตะระดับใกล้ขอบล่างของกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการที่ 1% ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565”

สอดคล้องกับทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงเอื้อให้ กนง.ยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางและเติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพ

โอมิครอน ปัจจัยเสี่ยง ฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 

สำหรับเศรษฐกิจโลก วิจัยกรุงศรีระบุว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจโลกเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้น แต่ไวรัสโอมิครอนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในระยะต่อไป

ในเดือนพฤศจิกายนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของโลกแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ที่ 54.8 โดยดัชนีของกลุ่มประเทศแกนหลัก เช่น ยูโรโซน ญี่ปุ่น ปรับดีขึ้นสู่ระดับ 55.8 และ 53.3 ตามลำดับ สะท้อนการขยายตัวต่อเนื่อง (ค่าดัชนี > 50) ของกิจกรรมในภาคการผลิตและภาคบริการ

โดยองค์ประกอบของดัชนี PMI ของโลกปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านผลผลิต ยอดสั่งซื้อใหม่ ยอดสั่งซื้อเพื่อการส่งออก และการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบทางด้านราคาบ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันที่พุ่งขึ้น

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ประเมินว่าภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจยาวนานกว่าที่คาดและถือเป็นความเสี่ยงสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศแกนหลักปรับนโยบายการเงินเร็วและแรงกว่าคาดการณ์เดิม จนสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ OECD ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของ GDP โลกในปีนี้ลงเล็กน้อยสู่ 5.6% จากเดิมคาด 5.7%

ส่วนในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.5% นอกจากนี้ OECD ยังระบุถึงความเสี่ยงจากไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนกว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งเตือนว่าไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าวสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและคาดว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุเตรียมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกจากปัญหาไวรัสสายพันธุ์ใหม่

วิจัยกรุงศรีประเมินว่า ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนถือเป็นปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทาง การขนส่ง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและอาจซ้ำเติมภาวะชะงักงันด้านอุปทาน

“ส่วนความกังวลด้านเงินเฟ้อแม้อาจเผชิญแรงกดดันจากข้อจำกัดด้านอุปทานและปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่ราคาพลังงานที่ปรับลดลงอาจช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในระยะต่อไป”

(Photo by Epics/Getty Images)

เฟดเร่งปรับลด QE

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง คาดเฟดอาจเร่งปรับลด QE ให้เสร็จก่อนกลางปีหน้าเพื่อปูทางปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง ในเดือนพฤศจิกายนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวดีขึ้นทั้งภาคการผลิตที่เพิ่มสู่ระดับ 61.1 สูงกว่าตลาดคาด และนอกภาคการผลิตซึ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดทำข้อมูลในปี 2540 ที่ 69.1

ด้านการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 5.34 แสนตำแหน่ง สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่อัตราการว่างงานแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ 4.2% ส่วนจำนวนผู้ยื่นขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 พฤศจิกายน ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือนที่ 1.95 ล้านคนตลาดแรงงานของสหรัฐฯ มีแนวโน้มทยอยปรับตัวดีขึ้น ล่าสุด อัตราการว่างงานแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การแพร่ระบาด

ขณะที่ ประธานเฟด ส่งสัญญาณเร่งการปรับลดแรงกระตุ้นทางการเงิน โดยกล่าวต่อสภาคองเกรสว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังประเมินว่าความเสี่ยงจากปัญหาไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนอาจเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อจากปัญหาการชะงักงันด้านอุปทานและการขาดแคลนแรงงานจากความวิตกกังวลต่อการระบาด จากปัจจัยดังกล่าวเฟดจึงเห็นควรว่าจะหารือเรื่องการยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตรให้เร็วขึ้นกว่าเดิมในการประชุมวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้

“วิจัยกรุงศรีประเมินว่า เฟดจะประกาศเร่งปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE ให้เสร็จสิ้นก่อนกลางปีหน้าเพื่อปูทางให้สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อย่างน้อย 25 bps ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565”

]]>
1366051
ซีอีโอ ‘ไฟเซอร์’ คาดจำนวนเคส ‘โอมิครอน’ จะเพิ่มจากหลักสิบเป็นหลักล้านในอีกไม่กี่สัปดาห์ https://positioningmag.com/1365810 Wed, 08 Dec 2021 05:37:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365810 ปัจจุบัน COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้ระบาดไปแล้วใน 54 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยที่พบผู้ป่วยติดเชื้อรายแรก โดยเป็นผู้ป่วยชาวอเมริกันเดินทางจากประเทศสเปน ซึ่งทาง อัลเบิร์ต บูร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ ได้ออกมาพูดถึงการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนว่าแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์ก่อน และจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มเป็นหลักล้านในไม่กี่สัปดาห์จากนี้

อัลเบิร์ต บูร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ มองว่า COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนมีโอกาสที่จะรุนแรงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ เพราะแพร่กระจายเร็วขึ้นและอาจนำไปสู่ การกลายพันธุ์ที่มากขึ้นในอนาคต และคาดว่าจำนวนเคสโอมิครอนที่ได้รับการยืนยันจะเพิ่มขึ้นจากหลายสิบเป็นล้านในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

“เราไม่คิดว่ามันเป็นข่าวดี เมื่อมันสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เพราะนั่นหมายความว่าจะมีผู้คนหลายพันล้านคนที่ติดเชื้อ และการกลายพันธุ์อื่นอาจเกิดขึ้น”

ด้าน ดร.แอนโธนี เฟาซี หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ของทำเนียบขาว กล่าวว่า รายงานในช่วงสุดสัปดาห์จากแอฟริกาใต้ระบุว่า โอมิครอนไม่รุนแรงเท่าที่กลัวในตอนแรก อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากตัวแปรนี้อย่างเต็มที่

โดยรายงานของสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้ที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์ ระบุว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในพริทอเรีย ซึ่งป่วยด้วยโรค COVID-19 ไม่ต้องการออกซิเจนเสริม นอกจากนี้รายงานยังตั้งข้อสังเกตว่าผู้ป่วยจำนวนมากเข้ารับการรักษาด้วยเหตุผลทางการแพทย์อื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม บูร์ลาเตือนว่า เป็นเรื่องยากที่จะสรุปผลจากการระบาดของการติดเชื้อในแอฟริกาใต้ในขณะนี้ เพราะมีชาวแอฟริกาใต้เพียง 5% เท่านั้นที่อายุเกิน 60 ปี และคนที่อายุน้อยกว่ามักติดเชื้อ COVID-19 น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมากในแอฟริกาใต้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงจากโควิด

ทั้งนี้ ไฟเซอร์สามารถพัฒนาวัคซีนที่สามารถต่อต้านสายพันธุ์โอมิครอนได้ภายในเดือนมีนาคม 2565 แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนใหม่หรือไม่ และอาจจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ในการพิจารณาว่า วัคซีนปัจจุบันให้การป้องกันที่เพียงพอต่อตัวแปรหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ไฟเซอร์มั่นใจว่ายาต้านไวรัส Paxlovid จะต่อสู้กับโอมิครอนและไวรัสอื่น ๆ ทุกชนิดที่โผล่ออกมา เพราะยาเม็ดยับยั้งเอนไซม์ที่ไวรัสจำเป็นต้องทำซ้ำหรือที่เรียกว่า โปรตีเอส เพราะมันเป็นเรื่องยากมากสำหรับไวรัสที่จะกลายพันธุ์โดยปราศจากเอนไซม์โปรตีเอส

“มันยากมากสำหรับไวรัสที่จะสร้างสายพันธุ์ที่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากโปรตีเอสนี้”

ทั้งนี้ บูร์ลาไม่ได้คาดหวังว่าจะสามารถกำจัดโควิดได้ทั้งหมดในเร็ว ๆ นี้ แต่เชื่อว่าสังคมจะเริ่มมองไวรัสเหมือนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากขึ้นได้รับการฉีดวัคซีนและการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นออกสู่ตลาด

Source

]]>
1365810
Goldman Sachs ลดคาดการณ์ ‘เศรษฐกิจสหรัฐฯ’ ปีหน้า จากความไม่เเน่นอนของโอมิครอน https://positioningmag.com/1365546 Mon, 06 Dec 2021 12:58:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365546 Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของสหรัฐฯ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 4.2% ในปีหน้า เหลือเป็นขยายตัว 3.8% จากความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของ
ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ ‘โอมิครอน’

Joseph Briggs นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ระบุว่า ตัวแปรสำคัญอย่าง โอมิครอน (Omicron)
อาจทำให้การเปิดเศรษฐกิจครั้งใหม่ของสหรัฐฯ ช้าลง แต่ “การใช้จ่ายด้านบริการจะลดลงเพียงเล็กน้อย”

ดังนั้นบริษัทจึงปรับคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2022 ลดลงมาอยู่ที่ 3.8% จากเดิม 4.2% ขณะที่ GDP ของสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้คาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.9% ลดลงที่เคยคาดไว้ที่ 3.3%

“ตอนนี้ยังมีคำถามมากมายที่ยังไม่ได้รับคำตอบ เราประเมินว่าโควิดสายพันธุ์โอมิครอนจะส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระดับปานกลาง”

เเม้โอมิครอนจะเป็นไวรัสที่แพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าเดิม เเต่เชื่อว่าวัคซีนที่สร้างภูมิคุ้มกันจะมีประสิทธิภาพลดลงไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์โรคระบาดยังน่ากังวลต่อเนื่อง อาจทำให้ปัญหาขาดแคลนซัพพลายรุนเเรงยิ่งขึ้นอีก เมื่อประเทศอื่น ๆ ทยอยยกระดับมาตรการคุมเข้มพรมเเดน เเต่การที่ประเทศคู่ค้า มีอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มมากขึ้นก็น่าจะไม่ทำให้ปัญหานี้ถึงขั้นวิกฤต

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (3 ธ.ค.) ที่ผ่านมาว่า IMF มีแนวโน้มที่จะปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงจากการระบาดของโอมิครอน

ล่าสุดโอมิครอนเเพร่ระบาดแล้ว 47 ประเทศรวมไทย โดยวันนี้ (6 ธ.ค.64 ) กระทรวงสาธารณสุข แถลงยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอน ‘รายแรกในไทย’ เเละได้เข้าสอบสวนโรคแล้ว ซึ่งสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในไทยขณะนี้ยังคงเป็นสายพันธุ์เดลตา พบมากถึง 99.87% ของเชื้อที่พบในประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นสายพันธุ์อัลฟาและเบตาที่จำกัดอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1365546
‘OPEC+’ ตัดสินใจเพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน แม้ ‘Omicron’ ระบาดอาจทำให้ความต้องการลดลงก็ตาม https://positioningmag.com/1365360 Fri, 03 Dec 2021 11:25:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365360 OPEC+ กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ตัดสินใจที่จะเพิ่มระดับการผลิตน้ำมันในเดือนมกราคม แม้ว่าทั่วโลกกำลังเผชิญกับ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ที่อาจทำให้ความต้องการใช้น้ำมัน โดยเฉพาะภาคการเดินทางลดลง

ก่อนหน้านี้พันธมิตร OPEC+ ที่นำโดยซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ได้ต่อต้านแรงกดดันที่นำโดยสหรัฐฯ ในการเพิ่มผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญเพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่หลายส่วนคาดว่า กลุ่ม OPEC+ จะลดกำลังการผลิตในเดือนมกราคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเกิดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ส่งประเทศต่าง ๆ ที่เร่งรีบเพื่อกำหนดขอบเขตการเดินทางใหม่และครุ่นคิดมาตรการอื่น ๆ ที่สามารถลดความต้องการน้ำมัน ซึ่งอาจส่งผลต่อราคา

แต่หลังจากการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เป็นเวลากว่าชั่วโมงเล็กน้อยในบ่ายวันพฤหัสบดี สมาชิก 13 คนขององค์กรกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ในกรุงเวียนนาและพันธมิตรทั้ง 10 ของพวกเขาตัดสินใจที่จะ เพิ่มกำลังการผลิตเล็กน้อยที่ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ทุกเดือนเหมือนที่ทำกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

การตัดสินใจดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันมาตรฐานทั้งสองสัญญา WTI และ Brent ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมที่ 62 ดอลลาร์และ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตามลำดับ จากนั้นพวกเขาฟื้นตัวมาเกือบ 67 ดอลลาร์และ 70 ดอลลาร์ ทั้งคู่เพิ่มขึ้นในวันนี้ แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับสูงสุดที่บันทึกไว้ในปลายเดือนตุลาคม

ทั้งนี้ การประชุมกลุ่ม OPEC+ มีขึ้นหนึ่งสัปดาห์หลังจากสหรัฐฯ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ตัดสินใจที่จะลดปริมาณสำรองทางยุทธศาสตร์เพื่อช่วยลดราคาน้ำมันดิบ หลังจากที่ราคาพุ่งสูงขึ้นซึ่งบั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งสหรัฐอเมริกายินดีกับการตัดสินใจของสมาชิก OPEC+ เพื่อเพิ่มผลผลิต

“เราเชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก” เจน ซาซากิ โฆษกทำเนียบขาว กล่าว

อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย บอกกับสำนักข่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าว “อธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าตลาดมีเสถียรภาพและความต้องการดังกล่าวกำลังฟื้นตัว” อย่างไรก็ตาม เขารับทราบว่ามี “ความไม่แน่นอนอยู่มาก” ที่เชื่อมโยงกับตัวแปร Omicron และกล่าวว่า “แน่นอนว่าเราจะติดตามสถานการณ์นี้ไปพร้อมกับประเทศอื่น ๆ เพื่อดูว่ามันส่งผลต่อการเดินทางอย่างไร”

Source

]]>
1365360
“ญี่ปุ่น” งดขายตั๋วเครื่องบินเข้าประเทศถึงสิ้นปี หลังพบผู้ติดเชื้อ “โอมิครอน” รายที่ 2 https://positioningmag.com/1364958 Wed, 01 Dec 2021 13:47:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364958 รัฐบาลญี่ปุ่นขอให้สายการบินระงับการขายตั๋วเที่ยวบินเข้าประเทศญี่ปุ่นจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม ชาวญี่ปุ่นที่ยังไม่มีตั๋วก็จะเดินทางเข้าประเทศไม่ได้ มาตรการนี้ใช้หลังจากพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” รายที่ 2

กระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่นออกประกาศเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ขอให้สายการบินระหว่างประเทศงดการจำหน่ายตั๋วเดินทางมายังญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 เดือนจนถึงปลายเดือนธันวาคม เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน”

สายการบินเจแปน แอร์ไลน์ (JAL) และออน นิปปอน แอร์เวยส์ (ANA) ได้ระงับจองตั๋วแล้ว โดยตั๋วที่จองแล้วก่อนหน้านี้จะไม่ได้รับผลกระทบ ไม่ถูกยกเลิกตั๋ว แต่จะไม่เปิดให้จองตั๋วใหม่ ส่วนสายการบินต่างชาติก็น่าจะต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น ที่จะจำกัดจำนวนผู้ที่เดินเข้าประเทศไม่เกินวันละ 3,500 คน

มาตรการนี้มีขึ้นหลังจาก ยืนยันพบผู้ติดเชื้อเชื้อโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” รายที่ 2 ในญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางมาจากเปรู

สายการบินต่าง ๆ ระบุว่า ชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศจะเดินทางกลับประเทศในช่วงส่งท้ายปีเก่า-ขึ้นปีใหม่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะห้ามชาวต่างชาติทั้งหมดเข้าญี่ปุ่นตั้งแต่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา แต่ชาวญี่ปุ่นและผู้ที่มีสิทธิ์พำนักในญี่ปุ่นยังเดินทางเข้ามาได้ แต่เมื่อให้ระงับการขายตั๋วใหม่ ก็หมายความว่าแม้แต่ชาวญี่ปุ่นที่ยังไม่มีตั๋วก็จะเดินทางกลับบ้านเกิดของตัวเองไม่ได้

ผู้เกี่ยวข้องในวงการการบินให้ความเห็นว่า มาตรการล่าสุดนี้เข้มงวดอย่างมาก และเตรียมจะหารือกับกระทรวงคมนาคม เพื่อขอให้ผ่อนปรนให้เฉพาะชาวญี่ปุ่นกลับเข้าประเทศได้

Source

]]>
1364958
ราคา ‘น้ำมัน’ ร่วงต่ำสุดในรอบ 2 เดือน เพราะโควิดพันธุ์ใหม่ระบาด อาจกระทบ ‘การเดินทาง’ https://positioningmag.com/1364279 Sun, 28 Nov 2021 12:29:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364279 ราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าสองเดือน เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้ โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเตือนว่าสายพันธุ์ดังกล่าวสามารถต้านวัคซีน ทำให้เกิดความกลัวว่าความต้องการเดินทางจะชะลอตัว สวนทางกับการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ราคาน้ำมันดิบลดลง 10.24 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 13.06% ทำให้ราคาอยู่ที่ 68.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ต่ำกว่าระดับ 70 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีความกังวลว่าการเดินทางจะลดลงและการล็อกดาวน์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้อาจกระทบกับอุปสงค์ ในขณะที่อุปทานกำลังจะเพิ่มขึ้น

“ดูเหมือนว่าการค้นพบตัวแปร COVID-19 ในแอฟริกาใต้ตอนใต้กำลังทำให้ตลาดทั่วโลกตื่นตระหนก เยอรมนีจำกัดการเดินทางจากหลายประเทศในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว สิ่งสุดท้ายที่กลุ่มน้ำมันต้องการก็คือ ภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวของการเดินทางทางอากาศ” จอห์น คิลดัฟฟ์ หุ้นส่วนของ Again Capital กล่าว

เมื่อวันอังคารที่ Biden Administration ประกาศแผนการที่จะปล่อยน้ำมัน 50 ล้านบาร์เรลจาก Strategic Petroleum Reserve การเคลื่อนไหวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระดับโลก โดยประเทศที่ใช้พลังงานมากในการระงับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของปี 2021 อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร จะออกเงินสำรองบางส่วนเช่นกัน

“การเทขายออกนี้ เกิดจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานล้นเกินจำนวนมากในช่วงต้นปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการปล่อยสำรองน้ำมันเชิงกลยุทธ์ในสหรัฐฯ และประเทศผู้บริโภครายใหญ่อื่น ๆ ที่กำลังจะมีขึ้น บวกกับปริมาณน้ำมันใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ทั้งนี้ โอเปกและพันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันมีกำหนดจะประชุมกันในวันที่ 2 ธันวาคม เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการผลิตในเดือนมกราคมและต่อ ๆ ไป กลุ่มบริษัทได้ค่อย ๆ ผ่อนปรนการลดกำลังการผลิตครั้งประวัติศาสตร์ตามที่ตกลงกันไว้ในเดือนเมษายน 2020 เนื่องจากไวรัส COVID-19 ทำให้อุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม กลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ OPEC+ ได้ส่งคืน 400,000 บาร์เรลต่อวันสู่ตลาดในแต่ละเดือน

กลุ่มบริษัทยังคงค่อย ๆ ลดกำลังการผลิตลง แม้จะมีการเรียกร้องจากทำเนียบขาวและหน่วยงานอื่น ๆ ให้เพิ่มกำลังการผลิตเนื่องจากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า West Texas Intermediate แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีในเดือนตุลาคม ขณะที่ Brent พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี

Source

]]>
1364279