ไม่ปล่อยคาร์บอน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 04 Mar 2022 10:21:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แก้โลกร้อน! NRF เตรียมตั้ง “โรงงานดักจับคาร์บอน” แก้ปัญหา “เผาทางการเกษตร” ภาคเหนือ https://positioningmag.com/1376403 Fri, 04 Mar 2022 09:39:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376403 NRF บริษัทด้านอาหาร วางวิสัยทัศน์บริษัทกู้วิกฤตสภาวะอากาศ เล็งธุรกิจใหม่ที่จะช่วยแก้ปัญหา “เผาทางการเกษตร” ตั้ง “โรงงานดักจับคาร์บอน” รับซื้อซังข้าวโพดผลิตเป็นไบโอคาร์บอนจำหน่าย คาดเริ่มต้นได้ภายในปี 2566 ทางภาคเหนือของไทย ด้านธุรกิจ plant-based ไทย NRPT บริษัทร่วมกับ ปตท. จะเริ่มเปิดร้านค้าปลีก “Alt Eatery” แห่งแรก

NRF เป็นบริษัทที่มีพื้นฐานจากการผลิตและส่งออกเครื่องปรุง-อาหาร ก่อนที่เมื่อ 2-3 ปีก่อน บริษัทได้ยกระดับตนเองว่าจะเป็น “ฟู้ดเทค” ระดับโลก พร้อมกับการบุกเข้าตลาด plant-based เนื้อทำจากพืช แตกไลน์ธุรกิจอาหารแนวใหม่

มาถึงปี 2565 “แดน ปฐมวาณิชย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) ประกาศเพิ่มวิสัยทัศน์ของบริษัทต้องการเป็น Global Clean Food Tech Company ใช้เทคโนโลยีช่วยกระบวนการผลิตอาหารให้สะอาดต่อโลก แก้ปัญหาภาวะโลกร้อน (Climate Change)

“แดน ปฐมวาณิชย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน)

แดนอธิบายว่า การแก้ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะนอกจากปัญหาทางตรงต่อสภาพอากาศซึ่งส่งผลกับทุกคนบนโลกแล้ว ในเชิงเศรษฐกิจประเทศ หากไทยไม่เร่งแก้ปัญหาลดการปล่อยคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจก อนาคตจะถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้รับซื้อสินค้า เช่น สหภาพยุโรป (EU) อาจตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าที่ผลิตในไทยสูงถึง 40% เพราะถือเป็นประเทศก่อมลพิษ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการพิจารณาลงทุนตั้งฐานผลิตในไทยของบริษัทประเทศอื่นด้วย

ที่ผ่านมาบริษัทมีความพยายามให้กระบวนการผลิตทั้งสายของบริษัทมีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เช่น ติดตั้งโซลาร์รูฟ เพื่อใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาด แต่การใช้พลังงานสะอาดยังไม่พอ เพราะเป็นเพียงกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน (Carbon Neutral) แต่ไม่สามารถลดคาร์บอนที่มีอยู่แล้วลงได้ (Carbon Negative)

แดนอธิบายโร้ดแมปการตั้งโรงงานดักจับคาร์บอน

เมื่อมองซัพพลายเชนการผลิตอาหารของไทย ต้นน้ำของอาหารมาจากการเกษตร และไทยมีปัญหาการ “เผาทางการเกษตร” อยู่ทุกปี ทำให้เกิดคาร์บอน ก่อมลพิษ ต้นเหตุของ PM2.5 โดยไทยมีการเผาทางการเกษตรเฉลี่ย 17 ล้านตันต่อปี (ทั้งนี้ แดนให้ข้อมูลด้วยว่า การเผาทางการเกษตรเกิดขึ้นทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาด้วย)

ดังนั้น NRF ต้องการจะหยุดวงจรนี้ตามวิสัยทัศน์บริษัท โดยจะตั้ง “โรงงานดักจับคาร์บอน” ขึ้นมาในประเทศไทย

 

“โรงงานดักจับคาร์บอน” ผลผลิตนำไปใช้ทำอะไร?

แดนกล่าวต่อว่า โรงงานดักจับคาร์บอน จะนำของเหลือทางการเกษตรไปผ่านกระบวนการและออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ 3 อย่าง คือ 1.ไบโอคาร์บอน 2.น้ำมันชีวภาพ และ 3.ไฟฟ้าชีวมวล

“ไบโอคาร์บอน” มีประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นวัตถุบำรุงดิน กลับคืนสู่ไร่นาของเกษตรกร เมื่อฝังลงในดินแล้วจะทำให้ดินอุ้มน้ำมากขึ้น 7-14% และลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวได้ 25% ส่วน “น้ำมันชีวภาพ” สามารถใช้ทดแทนยางมะตอยบนถนน และพัฒนาใช้ทดแทนน้ำมันเดินเรือได้

NRF คาร์บอน
NRF อธิบายผลประโยชน์จากไบโอคาร์บอนและน้ำมันชีวภาพ

แดนยอมรับว่าปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทางตรงจากการดักจับคาร์บอน ยังต้องอาศัยเวลาเพื่อทำการตลาดในไทย แต่สิ่งที่จะสามารถขายหรือนำไปใช้ได้เลย ได้แก่ “คาร์บอนเครดิต” ขายให้กับบริษัทที่ต้องการนำไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของบริษัทตนเอง และ “ไฟฟ้าชีวมวล” ที่ NRF มีแผนจะนำไปเชื่อมกับ “เหมืองขุดบิตคอยน์” แทนการใช้ไฟฟ้าปกติซึ่งไม่ใช่พลังงานสะอาด

 

เริ่มทางภาคเหนือ ภายในปี 2566

แผนการตั้งโรงงานดักจับคาร์บอน จะเริ่มในสหรัฐฯ ก่อน โดยใช้วิธีเข้าร่วมทุนกับบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน แดนระบุว่า ขณะนี้คาดว่าจะดีลร่วมลงทุนในโรงงานขนาดเล็ก กำลังผลิตรับได้ 50 ตันต่อวัน

ส่วนในไทย คาดว่าจะเริ่มทางภาคเหนือที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กันมาก และคาดว่าจะตั้งเป็นโรงงานลักษณะ Mobile Factory เพื่อให้เหมาะกับภูมิประเทศ การเคลื่อนย้ายโรงงานเข้าไปใกล้ไร่จะเหมาะกว่าการขนวัตถุดิบออกมา เบื้องต้นโรงงานเคลื่อนที่ได้นี้น่าจะมีขนาดราวตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต สามารถรับวัตถุดิบได้ 1 ตันต่อชั่วโมง และใช้เงินลงทุนราว 10 กว่าล้านบาทต่อตู้

“เรามีทีมลงพื้นที่คุยกับภาครัฐและเกษตรกรในพื้นที่ก่อนแล้ว ทราบว่าความกังวลของเกษตรกรคือมองว่าพวกเขาจะได้อะไร” แดนกล่าว

โมเดลธุรกิจตั้งต้นของ NRF น่าจะเป็นการจ้างเกษตรกรเพื่อนำซังข้าวโพดจากไร่ส่งโรงงาน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ ส่วนผลผลิตปลายทาง NRF จะหาทางบริหารจัดการต่ออีกครั้ง ในไทยมองว่าอาจจะยังไม่หวังกำไรในช่วงแรก ต้องการให้เป็นโมเดลเพื่อสังคมไปก่อน

 

plant-based ปีนี้เตรียมเปิดร้านค้าปลีกร่วม ปตท.

ด้านธุรกิจที่กำลังขยายตัวอย่าง plant-based ปีที่แล้ว NRF เริ่มเดินเครื่องโรงงานผลิตในอังกฤษแล้ว และมีการร่วมทุนกับ ปตท. ตั้ง บริษัท นิวทรา รีเจนเนอเรทีฟ จำกัด (NRPT) ขึ้น ซึ่งบริษัทนี้จะก่อตั้งโรงงาน plant-based ในไทยที่ จ.อยุธยา คาดเดินเครื่องได้ไตรมาส 2 ปี 2566 เฟสแรกกำลังผลิต 3,000 ตันต่อปี

แต่ก่อนที่โรงงานผลิตจะเดินเครื่อง NRPT จะเริ่มรุกตลาดค้าปลีก ด้วยการตั้งศูนย์รวม plant-based และอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ชื่อ “Alt Eatery” ขึ้นในซอยสุขุมวิท 51 ลักษณะเป็นทั้งร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต สามารถจัดอีเวนต์หรือคลาสทำอาหารได้

“มองระยะยาวต้องการให้ Alt Eatery ขยายเป็นเชนร้านค้า แต่ก็ต้องดูผลตอบรับสาขาแรกก่อน” แดนกล่าว

ตัวอย่างความร่วมมือปี 2564 บริษัทมีการส่ง plant-based ลาบทอดเข้าไปทดลองจำหน่ายผ่าน Texas Chicken ในเครือ ปตท.

นอกจากนี้ บริษัทจะผลิต plant-based ภายใต้เฮาส์แบรนด์ “Alt”  ส่งลงตลาดประเทศไทยด้วย จับกลุ่มทั้ง B2C และกลุ่ม B2B เข้าร้านอาหาร ฟู้ดเซอร์วิสต่างๆ

ขณะที่การตั้งโรงงาน plant-based อีกแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในแผนมาตั้งแต่ 2 ปีก่อน แดนระบุว่ามีการเจรจาเข้าซื้อโรงงานแห่งหนึ่ง แต่ชะลอออกไปก่อนเนื่องจากไม่มั่นใจผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน อาจต้องรอความชัดเจนของปัจจัยข้อนี้อีกสักพัก

ปัจจุบัน NRF ลงทุนในธุรกิจหลากหลาย ทั้งอาหาร-เครื่องปรุงรส (Ethnic Foods), plant-based, อาหารสัตว์เลี้ยง, กัญชง-กัญชา, บริษัทขายตรง, แบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในสหรัฐฯ หลายยี่ห้อ รวมถึงมี Corporate Venture Capital ลงทุนในสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหาร แต่ธุรกิจที่ยังเป็นหลักในพอร์ตขณะนี้คืออาหาร-เครื่องปรุงรส

รายได้ปี 2564 ของบริษัททำได้ที่ 2,100 ล้านบาท เติบโต 49% กำไรสุทธิ 221 ล้านบาท เติบโต 42% สำหรับปี 2565 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 50-70%

]]>
1376403
รู้จักเทคโนโลยี PLUG-IN HYBRID และความพิเศษของ MG HS PHEV https://positioningmag.com/1354384 Sat, 20 Nov 2021 04:00:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354384

จากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) พบว่า ระหว่างปี 2011-2020 นับได้ว่าเป็นช่วงที่ร้อนที่สุด โดยเฉพาะช่วงปี 2016-2020 และมีการคาดการณ์ว่าในอนาคตโลกยังคงจะร้อนขึ้นได้อีกอย่างน้อยปีละ 1 องศาเซลเซียส โดยทาง UN กำหนดเป้าหมายแรกในปี 2030 ตั้งเป้าหมายลดคาร์บอนทั่วโลก 45% และตั้งเป้าปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050

แน่นอนว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้โลกร้อน แต่หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ‘รถยนต์’ โดยรถยนต์แบบสันดาปเดิมนั้นปล่อยคาร์บอนเฉลี่ย 150-200 กรัมต่อกิโลเมตรที่รถวิ่ง แต่รถยนต์ไฟฟ้า 100% ไม่ปล่อยคาร์บอน ดังนั้น รถยนต์ไฟฟ้าเพียงหนึ่งคันจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 4.6 เมตริกตันในแต่ละปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้เพิ่ม 209 ต้น

ด้วยเหตุนี้ นานาประเทศที่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องมุ่งไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ด้วยการลดและงดใช้ยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่เป็นตัวการสำคัญของก๊าซเรือนกระจก ไปสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใช้พลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับไทยได้วางเป้าลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไว้ที่ 20% ภายในปี 2030 โดยได้ตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ขึ้นมาโดยเฉพาะ

รู้จักรถยนต์พลังงานทางเลือก 4 ประเภท

มีการคาดการณ์ว่าในปี 2020 ที่ผ่านมาทั่วโลกมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ากว่า 10 ล้านคัน แต่ภายในปี 2030 จะมีเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 140 ล้านคัน โดยที่ผ่านมาจะเห็นว่าทั้งค่ายรถยนต์ดั้งเดิม และค่ายสตาร์ทอัพ รวมไปถึงบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ก็หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นไปทำความเข้าใจกันก่อนว่ารถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 4 ประเภทมีอะไรบ้าง

  • ไฮบริด หรือ (HEV, Hybrid electric vehicle) รถยนต์ไฮบริด เป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบลูกผสม มีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไปและมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ มีความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่ายานยนต์ปกติ รวมทั้งยังสามารถนำพลังงานกลที่เหลือหรือไม่ใช้ประโยชน์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บในแบตเตอรี่ แต่ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้า
  • ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle) เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาต่อยอดมาจาก HEV ซึ่งมีการทำงานทั้ง 2 ระบบ (น้ำมันและไฟฟ้า) แต่เพิ่มระบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟขึ้นมา (plug-in) ทำให้สามารถอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอกและนำมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ และด้วยขนาดของมอเตอร์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่ารถยนต์ไฮบริด จึงทำให้ PHEV สามารถวิ่งแบบใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ได้ ซึ่งจะไม่ใช้น้ำมัน เครื่องยนต์ไม่ทำงาน และไม่ปล่อยมลพิษ
  • ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV, Battery Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อยไอเสียออกมาเลย เนื่องจากเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งมาจากการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว ไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศจากยานยนต์โดยตรง
  • เซลล์เชื้อเพลิง (FCEV, Fuel Cell Electric Vehicle) ไฟฟ้าที่มีเซลล์เชื้อเพลิง เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้พลังงานมาจากเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) โดยเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากภายนอก มีความจุพลังงานจำเพาะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ยังมีข้อจำกัดอย่างสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Station) มีน้อยมาก

ทำไม MG HS PHEV ถึงเหมาะกับคนไทย

แม้รถยนต์ไฟฟ้าจะมีข้อดีในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าบำรุงรักษาที่ถูกกว่ารถยนต์สันดาป ความเงียบ อัตราเร่งที่ดีกว่าเพราะไม่มีขั้นตอนการทดเกียร์ และที่สำคัญสุด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่คนไทยก็เริ่มให้ความสนใจในรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อย ๆ

แต่ถึงอย่างนั้น ‘ระยะการขับ’ และ ‘สถานีชาร์จ’ ที่ยังเป็น 2 ความกังวลที่ทำให้ผู้บริโภคไทย ‘ไม่มีความมั่นใจ’ ดังนั้น รถยนต์ไฟฟ้าแบบ ‘ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับใครที่อยากใช้รถยนต์ไฟฟ้าแต่ยังมีความกังวลเรื่องการชาร์จไฟฟ้า

ด้วยเทคโนโลยี Plug-in Hybrid ใน MG HS PHEV ที่มีความสามารถเลือกขับขี่แบบใช้ไฟฟ้า 100% ได้ด้วย EV Mode ด้วยพลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ 16.6 kWh. ในการขับเคลื่อน ให้พละกำลังสูงสุด 284 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 480 นิวตันเมตร

เมื่อชาร์จเต็มสามารถวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ได้ไกลสูงสุด 67 กม. ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยให้ไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่สร้างมลพิษ ไม่มีเสียงเครื่องยนต์รบกวน หรือหากต้องวิ่งทางไกลก็ไม่ต้องกังวลเรื่องสถานีชาร์จ เพราะเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานร่วมกันโดยอัตโนมัติ (Hybrid) เดินทางได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ MG HS PHEV สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้ง่าย ๆ ผ่าน MG Home Charger จาก 0%-100% ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. และปัจจุบันตู้ชาร์จสาธารณะแบบ AC ก็มีให้บริการในหลายๆ สถานที่ เช่น ห้าง คอนโด อาคารสำนักงาน

MG HS PHEV มีจำหน่ายแล้วกว่า 15 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี นอร์เวย์ สเปน สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และประเทศไทย

นอกจากนี้ MG HS PHEV ยังได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี หรือ Car of the Year 2021 ประเภท BEST HYBRID SUV UNDER 1,600 c.c. ที่จัดโดย บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และรางวัล สุดยอดนวัตกรรมสินค้าและบริการแห่งปี พ.ศ. 2564 (Product Innovation Awards 2021) ประเภท กลุ่มผลิตภัณฑ์รถยนต์พลังงานทางเลือกอีกด้วย

สำหรับราคาของ MG HS PHEV อยู่ที่ 1,359,000 บาท โดยรับประกันแบตเตอรี่ในระบบ PHEV แบบไม่จำกัดระยะทาง ตลอดระยะเวลา 8 ปี และการรับประกันคุณภาพรถยนต์นาน 4 ปี หรือ 120,000 กม. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์  MG CALL CENTRE โทร. 1267 หรือเว็บไซต์ www.mgcars.com

]]>
1354384