7-11 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 25 Jul 2021 14:03:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Family Mart ไต้หวันกำลังท้าชิง 7-11 https://positioningmag.com/1344058 Sun, 25 Jul 2021 13:56:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344058
ช่วงนี้กระแสการเมืองบ้านเราค่อนข้างรุนแรงนะครับ กระแสหนึ่งที่เป็นผลพวงจากความขัดแย้งทางการเมืองคือการแบนธุรกิจหรือสินค้าต่างๆ โดยหนึ่งในธุรกิจที่ตกเป็นเป้าของการแบนในรอบนี้คือ 7-11 ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมร้านค้าสะดวกซื้อของบ้านเรามาเป็นเวลาหลายสิบปี

แน่นอนว่าปัญหานี้ส่งผลในแง่ลบต่อ 7-11 ในขณะที่คู่แข่งอื่นๆ กำลังได้ประโยชน์โดยไม่คาดหมาย ที่ไต้หวันเองก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่คล้ายบ้านเราโดยมีจำนวนร้านสะดวกซื้อเป็นจำนวนมาก และมี 7-11 เป็นผู้นำตลาดมาอย่างยาวนาน แต่ในปีที่ผ่านมาถึงแม้ยอดขายยังน้อยกว่าแต่หากมองผลรวมของจำนวนลูกค้าและความถี่ในการเข้าซื้อแล้ว Family Mart ไต้หวันมีอัตราเติบโตที่สูงกว่า 7-11 แล้ว

Photo : Shutterstock

หากดูจากจำนวนสาขาแล้ว การแข่งขันของระหว่างยักษ์ใหญ่ 7-11 กับเบอร์สองอย่าง Family Mart ของไต้หวันดูจะมีความสูสีมากกว่า 7-11 กับเบอร์สอง Tesco Lotus Express ของไทยเรา  โดยที่ไต้หวันนั้น 7-11 มีจำนวนสาขาราว 5,400 สาขา ในขณะที่ Family Mart มีจำนวนอยู่ที่ 3,800 สาขา ซึ่งใกล้เคียงกันมากกว่าไทย โดย 7-11 ที่ไทยมีจำนวนสาขาอยู่ราว 12,000 สาขา ในขณะที่ Tesco Lotus Express มีอยู่ราว 2,200 สาขา

Family Mart ที่ไต้หวันได้พยายามสร้างความแตกต่างของธุรกิจตัวเองในหลายๆ แง่มุมด้วยกัน เพื่อเพิ่มเหตุผลว่าทำไมลูกค้าจึงควรใช้บริการของที่ร้านของตัวเองมากกว่าคู่แข่ง เช่น ระบบสมาชิก, ระบบการซื้อของออนไลน์ และสามารถรับได้ที่สาขาใกล้บ้าน หรือ ‘private label’ ซึ่งอาจจะคล้ายคลึงกับกลยุทธ์ที่ร้านค้าสะดวกซื้อที่บ้านเราใช้อยู่

แต่นอกเหนือจาก private label แล้ว Family Mart ที่ไต้หวันยังมีการออก Clean Label แบรนด์สินค้าที่ทำขึ้นมาเพื่อจับเทรนด์รักสุขภาพโดยเฉพาะ Clean Label เป็นกลุ่มสินค้าที่มีสารเคมีและวัตถุเจือปนในอาหารที่น้อยกว่าสินค้าปรกติซึ่งยังครอบคลุมไปถึงกลุ่มสินค้าจำพวกอาหารสดด้วย

Photo : Family.com.tw

โดยหากอ้างอิงจากข้อมูลของกันตาร์ สินค้ากลุ่ม Private Label และ Clean Label นี้ ช่วยให้ Family Mart เข้าถึงกลุ่มครัวเรือนไต้หวันเพิ่มจาก 21.1% ในปี 2019 เป็น 27.2% ในปีที่ผ่านมา หรือพูดในอีกมุมคือปัจจุบันราว 1 ใน 3 ของครัวเรือนไต้หวัน ได้มีการซื้อสินค้าจาก Family Mart แล้ว

อีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ Family Mart ไต้หวัน คือ การใช้ความเข้าใจในชุมชน โดยบริษัทเชื่อว่าแต่ละจุดของร้านค้าตัวเองนั้นมีความใกล้ชิดกับชุมชนนั้นๆ มากที่สุด แปลว่าผู้จัดการสาขานั้นๆ ก็ควรจะมีความเข้าใจในกลุ่มลูกค้าของตัวเองมากที่สุดเช่นกัน ทำให้บริษัทได้มีการสร้างไลน์กลุ่มของแต่ละสาขาตัวเองขึ้นมา

โดยปัจจุบันมีผู้จัดการร้านของ Family Mart ราว 3,000 คนที่บริหารจัดการไลน์กลุ่มของร้านตัวเอง ซึ่งผู้จัดการแต่ละสาขานั้นมีสิทธิ์ และอำนาจในการเลือกสินค้าสำหรับร้านของตัวเอง และสามารถสร้าง ‘ดีลกลุ่ม’ ที่คนในชุมชนสามารถรวมกันซื้อเพื่อให้ได้สินค้าที่ถูกลง และแน่นอนย่อมเป็นสินค้าที่คนในชุมชนต้องการเช่นกัน

Photo : Shutterstock

อ้างอิงจากข้อมูลของ Euroview ในปี 2019 7-11 มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 47% ในขณะที่ Family Mart อยู่ที่ 29% ถึงแม้ในมุมส่วนแบ่งการตลาด Family Mart จะยังตามหลังอยู่อย่างมีนัยสำคัญ แต่กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างผ่านสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการโฟกัสที่ความต้องการของผู้บริโภค และการจับเทรนด์ที่ถูกต้องก็ทำให้ Family Mart กลายเป็นแบรนด์ในกลุ่มค้าปลีกที่มีอัตราการเติบโตของผลรวมจำนวนและความถี่ของผู้บริโภคสูงที่สุดในปี 2020

น่าสนใจนะครับ ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ Family Mart จะสามารถเอาชนะ 7-11 ที่ไต้หวันได้หรือไม่ ที่แน่ๆในมุมมองของ 7-11 Family Mart คงเป็นคู่แข่งที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อย ส่วนที่บ้านเราเองถึงแม้กระแสการเมืองจะแรงแค่ไหน แต่ 7-11 ก็น่าจะเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมร้านสะดวกซื้อของประเทศเราไปอีกนาน

]]>
1344058
เปิดตำนาน “แซนวิชอบร้อนเซเว่น” จากแนวคิดขนมคอร์นด็อก สู่ยอดขาย 3,000 ล้าน https://positioningmag.com/1322706 Tue, 09 Mar 2021 17:05:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322706 รู้หรือไม่ว่า… แซนวิชอบร้อนที่ทานในเซเว่นอยู่ทุกวันนี้ มีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดขนม “คอร์นด็อก” โดย NSL Foods เป็นพาร์ตเนอร์กับทางเซเว่นมายาวนาน ได้พัฒนาสูตรจนกลายเป็นแซนวิชอบร้อน ตอนนี้มียอดขายเกือบ 3,000 ล้าน

เริ่มจาก “คอร์นด็อก” เป็นแซนวิชเค้กไส้กรอกสูตรแรก

ถ้าพูดถึงเซเว่นฯ จากจุดยืนในเรื่อง “อิ่มสะดวก” แน่นอนว่าหลายคนต้องนึกถึงอาหารพร้อมทานต่างๆ ที่ตอนนี้มีครอบจักรวาลทั้งอาหารตามสั่ง ขนมเค้ก ผลไม้ เบอร์เกอร์ ยันชุดสุกี้ชาบูก็ยังมี แต่หนึ่งไอเทมที่ขายดีที่สุดคงหนีไม่พ้น “แซนวิชอบร้อน” เพราะเป็นอาหารที่ทานง่าย มีหลายไส้ ทานได้ตลอดทั้งวัน เป็นอาหารเช้า หรืออาหารว่างก็ได้

เบื้องหลังของแซนวิชอบร้อนก็คือ “เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์” หรือ NSL ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป ทั้งเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว อาหารแช่แข็ง เป็นพาร์ตเนอร์กับทางเซเว่นฯ มายาวนาน เรียกว่าทำด้วยกันมาตั้งแต่สมัยข้าวกล่องแช่แข็ง จนเป็นแซนวิชอบร้อน

สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)
สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)

สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) เริ่มเล่าว่า

“จุดแรกเริ่มของบริษัทเลยเมื่อปี 2544-2545 ได้พัฒนาอาหารกล่องแช่แข็ง ตอนนั้นเข้าไปขายในซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ  เซ็นทรัล, โรบินสัน และเยาฮัน หลังจากนั้นทางเซเว่นฯ เริ่มมองเห็นว่าสินค้ากลุ่มนี้มีศักยภาพเติบโต เลยให้ทางบริษัทผลิตให้ เริ่มจากทดลองขาย 30 สาขา ขยายเป็น 300-1,000 สาขา เรื่อยๆ”

จากผลิตอาหารกล่องในตอนนั้น ในปี 2550 ก็เริ่มผลิตอาหารกล่องแช่แข็งแบรนด์ “อีซีโก” ร่วมกัน จากนั้นในปี 2552 ได้พัฒนาเป็นตัวแซนวิชอบร้อน

สมชายเล่าอีกว่า ก่อนหน้าที่จะเป็นแซนวิชอบร้อน ทางเซเว่นฯ ได้ทำแซนวิชไส้แฮมชีส ไส้หมูหยอง แต่เป็นรูปแบบให้พนักงานประกอบเองที่ร้าน ทาง NSL ส่งแค่ส่วนขนมปังแถวให้ จนเซเว่นฯ ต้องการให้พัฒนา “คอร์นด็อก” จำหน่ายที่ร้าน เป็นขนมที่มีแป้งเค้กสอดไส้ด้วยไส้กรอก ให้นึกถึงขนม “โป้งเหน่ง” ตามงานวัดต่างๆ มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเซเว่นฯ อาจจะต้องการท้าชน “จิฟฟี่” ที่มีเมนูนี้เป็นตัวชูโรง

ทางบริษัทใช้เวลาพัฒนาอยู่ 2 ปี เพราะพัฒนาค่อนข้างยาก เลยมองว่าที่ร้านมีเครื่องอบแซนวิชอยู่แล้ว เลยพัฒนาแซนวิชเป็นเนื้อเค้ก แล้วทำไส้กรอกเป็นไส้ เวลากินจะเหมือนคอร์ด็อก จึงเกิดเป็นสินค้าตัวแรกของตระกูลแซนวิชอบร้อนก็คือ “แซนวิชเค้กไส้กรอก” พนักงานที่ร้านก็ถูกใจกับสินค้าตัวนี้ เพราะฉีกซอง แล้วเข้าเครื่องได้เลย ไม่ต้องมาประกอบเองเหมือนก่อนหน้านี้

กลุ่มแซนวิชอบร้อนจะมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างสูง มีการปรับ เพิ่มไส้อยู่ตลอด โดยเมื่อปี 2555-2556 เป็นช่วงที่เริ่มลงตัว และเป็นช่วงพีคที่สุด หลังจากนั้นได้ใช้ชื่อแบรนด์ว่า Ezy Taste

ปัจจุบันกลุ่มแซนวิชอบร้อนมีไส้ใหม่ๆ ตลอด แต่จะมีการหมุนเวียนเฉลี่ย 20 รายการ อันไหนขายไม่ดีก็ปรับไส้ใหม่เรื่อยๆ โดย 5 ไส้ตัวท็อปที่ขายดีที่สุด ได้แก่ แฮมชีส, ไส้กรอกชีส, หมูหยองน้ำสลัด, ครัวซองต์แฮมชีส และครัวซองต์หมูหยองน้ำสลัด

ตอนนี้ NSL มีกำลังการผลิตสินค้าเบเกอรี่ทุกอย่าง รวมทั้ง OEM ให้เจ้าอื่น 1.25 ล้านชิ้น/วัน ถ้ากำลังการผลิตที่ส่งให้เซเว่นรวม 4.5 แสนชิ้น/วัน แบ่งเป็น แซนวิชอบร้อน 2 แสนชิ้น2/วัน และเบเกอรี่อื่นๆ เค้ก เอแคลร์ อีก 2.5 แสนชิ้น/วัน

น้ำท่วม 54 สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญ

แต่เดิม NSL เป็นบริษัทที่รับผลิตอาหาร และเบเกอรี่ทั่วไป ขายให้กับหลายเจ้า ไม่ได้ทำกับแค่ที่เซเว่นฯ แต่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของบริษัทก็คือเหตุการณ์ “น้ำท่วมปี 54” ทำให้น้ำท่วมโรงงานที่อมตะนคร ไม่สามารถผลิตสินค้าให้ลูกค้าได้

ทางเซเว่นฯ เลยชวนกันจับมือเป็นผู้ผลิตหลัก ไม่ขายให้รายอื่น ตอนนั้นแซนวิชอบร้อนกำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น จึงให้ทาง NSL ผลิตเอ็กคลูซีฟให้กับเซเว่นฯ เจ้าเดียว ไม่ผลิตให้ลูกค้ารายอื่น ทำให้ยอดขายเติบโตต่อเนื่อง เพราะรายได้จากเซเว่นฯ เติบโตขึ้นทุกปี

ไว้ใจเซเว่นฯ คู่ค้ามานาน

กลายเป็นประเด็นสำคัญในแวดวงการทำธุรกิจ เพราะหลายคนเคยเห็นข่าวคราวของเซเว่นฯ ในแง่ลบ ในเรื่องการลอกเลียนสูตรอาหารบ้าง หรือการนำไอเดียของคนอื่นมาพัฒนาต่อบ้าง

สำหรับ NSL ไม่กลัวในประเด็นนี้ เพราะมองว่าร่วมงานกับเซเว่นฯ มานานหลาย 10 ปี เข้าใจวัฒนธรรม รู้เป้าหมายอย่างดี มีการพัฒนาสินค้าเรื่อยๆ ไว้ใจซึ่งกันและกัน และมีการทำ MOU ร่วมกันตั้งแต่ปี 2557 ทาง NSL จะไม่ขายสินค้าที่อื่น และเซเว่นฯ ก็จะไม่เอาสินค้าไปให้ผู้ผลิตรายอื่นทำ มีการต่อสัญญาเรื่อยๆ ยาวไปถึงปี 2569

ทะยานสู่ 3,500 ล้าน

เมื่อปี 2562 NSL ได้เข้าซื้อกิจการจาก บริษัท ควอลิตี้ฟู้ด สเปเชียลตี้ จำกัด ขยายธุรกิจ “ฟู้ดเซอร์วิส” นำเข้าอาหารทะเล เนื้อสัตว์และผักแช่แข็ง มองเห็นโอกาสจากมูลค่าตลาดที่สูงถึง 20,000 ล้านบาท แต่ยังมีผู้เล่นรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย เริ่มแรกจะเน้นนำเข้าสินค้าอาหารแช่แข็ง ได้แก่ เนื้อสัตว์แช่แข็ง ปลาแซลมอน ปลาหิมะ เนื้อออสเตรเลีย หอยเชลล์

ส่วนในปีนี้มีการเพิ่มการลงทุนในส่วนของอาหารประเภท Ready to Cook และ Ready to Eat การผลิตสูตรซอสอาหารสำเร็จรูปเพื่อส่งให้กับเชนร้านอาหาร หรือโรงแรมต่างๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนเนื่องจากไม่ต้องมีหัวหน้าพ่อครัว

สำหรับรายได้ในปี 2563 สิ้นสุดไตรมาส 3 เดือนกันยายน 2563 บริษัทมีรายได้รวม 2,164.9 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนรายได้เป็นกลุ่มเบเกอรี่ และอาหารรองท้อง 94.5% ธุรกิจฟู้ดเซอร์วิสมีรายได้ 94.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปีก่อนหน้า เนื่องจากเพิ่งซื้อธุรกิจนี้เข้ามาในช่วงครึ่งหลังของปี 2562

ในปี 2564 ตั้งเป้ายอดขายให้เติบโต 16% มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,500 ล้านบาท และต้องมี 6,000 ล้านบาท ภายใน 6 ปี โดยที่สัดส่วนรายได้ใน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ที่เกิดจากธุรกิจอื่น (Non 7-Eleven) ต้องเพิ่มขึ้นมาในสัดส่วน 30% และอีก 70% เป็นธุรกิจร่วมกับร้านเซเว่นฯ จากปัจจุบันสัดส่วนรายได้จากร้านเซเว่นฯ ครองสัดส่วนรายได้กว่า 90%

ปัจจุบัน NSL มีสินค้าด้วยกัน 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. OEM (รับจ้างผลิต) แบ่งเป็น

  • แซนวิชอบร้อนต่างๆ แบรนด์ Ezy Taste
  • อาหารพร้อมทาน (Ready to Eat) พวกเบอร์เกอร์, ครัวซองต์, เบรดคัพ และโทสต์ แบรนด์ 7 Fresh
  • ขนมแช่เย็น ใช้แบรนด์ Ezy Sweet ได้แก่ โมจิ, ชูครีม, เค้ก, เอแคลร์, ช็อกโกแลตลาวา รวมไปถึงแซนวิชแช่เย็น และสลัดทูน่า

นอกจากนี้ยังได้ผลิตสินค้าให้อานตี้แอนส์, ขนมปังแซนวิชนมสดให้ท็อปส์ และทองม้วนแผ่นส่งให้ประเทศเกาหลี

2. ขนมทานเล่น ได้แก่ ปังไทย, พายกรอบ, ขนมปังกรอบ, ขนมพริก และสินค้าเพื่อสุขภาพ

3. ฟู้ดเซอร์วิส เนื้อสัวต์นำเข้า อาหารทะเล ผัก ผลไม้ เฟรนช์ฟรายส์ต่างๆ

]]>
1322706
เปิดศึก “สะดวกซื้อ เดลิเวอรี่” สงครามหาน่านน้ำใหม่ยุค New Normal บุกหาลูกค้าถึงบ้าน https://positioningmag.com/1283460 Sun, 14 Jun 2020 08:22:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283460 ร้านสะดวกซื้อก็ขอลงตลาดเดลิเวอรี่กับเขาบ้าง ทุกเจ้าในตลาดต่างมีช่องทางเดลิเวอรี่เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะจับมือกับพาร์ตเนอร์ หรือปั้นแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง รับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ยิ่งในยุค COVID-19 ที่หลายคนไม่ค่อยอยากออกจากบ้านเท่าไหร่

เซเว่นฯ ปั้นแอป/สั่งในไลน์

ช่องทางเดลิเวอรี่ไม่ได้มีแค่เพียงร้านอาหารอย่างเดียวเท่านั้น ค้าปลีกในกลุ่ม “ร้านสะดวกซื้อ” ก็เริ่มมีบริการเดลิเวอรี่ด้วย เพราะด้วยพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้าร้านสะดวกซื้อมักซื้อสินค้าไม่กี่ชิ้น ราคาต่อบิลไม่สูง และส่วนใหญ่ซื้อสาขาใกล้ๆ บ้าน บริการเดลิเวอรี่จึงเข้ามาตอบโจทย์ได้

แรกเริ่มเดิมที LINE MAN เรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกบริการแมสเซ็นเจอร์ที่เป็นบริการรับซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นรับซื้ออาหาร ส่งพัสดุ และฝากซื้อจากร้านสะดวกซื้อ แต่กลายเป้นว่าบริการแจ้งเกิดเป็น Food Delivery ซึ่งบริการฝากซื้อของจากร้านสะดวกซื้อของ LINE MAN จะมีค่าบริการเริ่มต้นที่ 55 บาท กิโลเมตรต่อไปบวกเพิ่ม 9 บาท ไม่นานมานี้ก็เพิ่มออก บริการรับซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ต รับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย

เมื่อพฤติกรรมทุกอย่างไปทางออนไลน์ ผู้เล่นในตลาดร้านสะดวกซื้อได้พัฒนาช่องทางเดลิเวอรี่เป็นของตัวเอง พี่ใหญ่อย่าง “เซเว่น อีเลฟเว่น” ได้ปั้นแอปพลิเคชัน 7-Eleven Delivery ได้เริ่มทดลองตั้งแต่ปี 2561 จำกัดพื้นที่ในการทดลองก่อน และได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รูปแบบของการสั่งสินค้าจะสั่งได้ทั้งผ่านแอปพลิเคชัน และ LINE Official Account มียอดสั่งซื้อขั้นต่ำ 100 บาท จะทำการส่งฟรี โดยพนักงานที่สาขาจะเป็นคนไปส่งเอง พบว่าในตอนนี้เซเว่นฯ แต่ละสาขาก็มี LINE ส่วนตัว เพื่อให้ลูกค้าสั่งสินค้าได้โดยตรง แล้วไปส่งสินค้าให้

เคอร์ฟิวกระทบยอดขาย

ยิ่งในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 แม้ว่าร้านสะดวกซื้อจะสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ แต่รายได้ก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้าเท่าไหร่นัก

เกรียงชัย บุญโพธิอภิชาติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL กล่าวยอมรับว่า

“การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้การเข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าในสาขาของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นลดลง แม้ผลการดำเนินงานช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 บริษัทมีรายได้รวม 145,856 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 5.2% ซึ่งปัจจัยหลักมาจากรายได้จากการขายและบริการของธุรกิจร้านสะดวกซื้อจากสาขาใหม่ที่เปิดในรอบปีที่ผ่านมา รวมทั้งรายได้ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)”

แต่มาตรการคุมเข้มต่างๆ ของภาครัฐ ทั้งการประกาศเคอร์ฟิว และมาตรการกระตุ้นให้ผู้คนหยุดอยู่กับบ้านเพื่อลดการแพร่ระบาด ส่งผลกระทบทางลบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้กำไรสุทธิรวม 5,645 ล้านบาท ลดลง 2.2% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อเติบโตในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย โดยธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการรวม 82,885 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพียง 2,112 ล้านบาท หรือ 2.6%

ยอดขายเฉลี่ยของร้านเดิมติดลบ 4% มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน 78,872 บาท ยอดซื้อต่อบิล 70 บาท จำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 1,122 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 1,187 คน

CP ALL จึงเดินหน้าทุ่มงบปรับกลยุทธ์ และเดินหน้าขยายสาขาเพื่อสกัดคู่แข่ง โดยเตรียมเม็ดเงิน 11,500-12,000 ล้านบาท เพื่อขยายร้าน 700 สาขา ตามเป้าหมายภายในปี 2564 จะมีสาขาทั้งหมด 13,000 สาขา จากปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศ 11,983 สาขา แบ่งเป็นสาขาในเขตกรุงเทพฯ 44% ต่างจังหวัด 56% และส่วนใหญ่เป็นร้านสแตนด์อะโลน 85% ที่เหลือเป็นร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.

แฟมิลี่มาร์ทจับมือแกร็บ

ทางด้านเบอร์ 2 ในตลาดอย่าง “แฟมิลี่มาร์ท” ของค่าย “กลุ่มเซ็นทรัล” ที่ล่าสุด บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ประกาศซื้อหุ้นในบริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด (CFM) ที่บริษัท Japan FamilyMart Co., Ltd. (JFM) ถือหุ้นที่เหลืออยู่ 49% กลายเป็นเจ้าของกิจการร้านแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทยเบ็ดเสร็จ 100% เป็นการเปิดศึกร้านสะดวกซื้ออย่างเต็มตัว

ในช่วงที่ผ่านมาแฟมิลี่มาร์ทมีความเคลื่อนไหวมากมายพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการตลาด ปรับโมเดลร้านค้า และเพิ่มบริการใหม่ๆ เพิ่มเมนูอาหารพร้อมรับประทาน นำสินค้าประเภทอาหารสดจากร้านค้าที่บริหารโดยเซ็นทรัลเรสตอรองส์ กรุ๊ปเข้ามาขาย เช่น ข้าวกล่องจากร้านเดอะเทอเรซ มิสเตอร์โดนัท เครื่องดื่มและกาแฟสด Arigato มีพื้นที่ Open Space สำหรับพบปะสังสรรค์หรือทำงานร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ตลอด 24 ชั่วโมง

มีเปิดโมเดลใหม่จากตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อง่ายต่อการขยายสาขา ตอบรับช่วง COVID-19 และเริ่มขยายสาขาในทำเลย่านธุรกิจ และอาคารสำนักงาน และเมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา แฟมิลี่มาร์ทงัดบริการสะดวกซัก 24 ชั่วโมงด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ และมีบริการตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine)

ในส่วนของบริการเดลิเวอรี่ แน่นอนว่าแฟลิมาร์ทได้ใช้อาณาจักรของกลุ่มเซ็นทรัลให้เป็นประโยชน์ เนื่องจากกลุ่มเซ็นรัลได้เข้าลงทุนใน “แกร็บ ประเทศไทย” ทำให้จับมือกับแกร็บในการให้บริการเดลิเวอรี่ ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าที่แฟมิลี่มาร์ทให้ส่งตรงถึงบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน GrabMart เพิ่มสิทธิประโยชน์จากบัตร The 1 ในเครือเซ็นทรัล และจัดโปรโมชั่นราคาสินค้าร่วมกับท็อปส์ซูเปอร์ในรูปแบบต่างๆ

ปัจจุบันแฟมิลี่มาร์ทมีสาขารวม 1,000 สาขา ซึ่งตามแผนระยะยาววางเป้าหมายขยายให้ได้ 3,000 สาขาทั่วประเทศ

LAWSON 108 ผนึกฟู้ด แพนด้า

สำหรับเบอร์ 3 ในตลาด LAWSON 108 (ลอว์สัน 108) จากค่าย “สหพัฒน์” โดย บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด ได้รุกตลาดเดลิเวอรี่ด้วยการจับมือกับแอปพลิเคชัน “ฟู้ดแพนด้า” โดยแบ่งการให้บริการเป็น 2 ส่วน คือจำหน่ายสินค้า ออริจินัล ลอว์สัน 108 พร้อมจัดเซตเมนูพิเศษบนแพลตฟอร์ม

และจำหน่ายสินค้าแบบร้านสะดวกซื้อออนไลน์ บน pandaMart โดยมีสินค้าเช่นเดียวกับหน้าร้าน และลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาเดียวกับหน้าร้าน

โดยบริการเดลิเวอรี่บนแอปพลิเคชัน foodpanda จะให้บริการในระยะทางไม่เกิน 3-5 กิโลเมตร และสำหรับบริการจำหน่ายสินค้า pandaMart จะเริ่มให้บริการพร้อมกัน 22 สาขา ในวันที่ 10 มิถุนายน และขยายเป็น 47 สาขาภายในปี 2563

]]>
1283460
เปิดรายได้ “เซเว่น อีเลฟเว่น” ปี 62 ทะลุ 571,110 ล้านบาท เตรียมขยาย 700 สาขาในปีนี้ https://positioningmag.com/1265557 Sun, 23 Feb 2020 15:04:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265557 ซีพี ออลล์เปิดผลประกอบการ “เซเว่น อีเลฟเว่น” ปี 2562 มีรายได้รวม 571,110 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2561 คิดเป็น 8.3% กำไรสุทธิ 22,343 ล้านบาท เติบโต 6.8%

เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ Chief Financial Officer บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

ผลการดำเนินงานปี 2562 ของบริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรขั้นต้นจากการขายและบริการเท่ากับ 124,838 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.9% จากปีก่อน จากการเติบโตของรายได้จากการขายของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจแม็คโคร และธุรกิจสนับสนุนอื่นๆ

เป็นผลจากกลยุทธ์การขยายสาขา และการนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม โดยมีมติให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2562 ให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 1.25 บาท กำหนดจ่ายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2563

สำหรับผลประกอบการที่เติบโตมาจากการพัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภค เช่น ร่วมกับสถาบันการเงิน 7 สถาบันให้บริการรับฝาก-ถอน (Banking Agent) ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และการให้บริการจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์ All Café

ในปีนี้มีการกำหนดเป้าเปิดสาขาเซเว่น อีเลฟเว่น 700 สาขาอีกด้วย

Source

]]>
1265557
เซเว่นฯ ผนึกโตโยต้าในญี่ปุ่น ผุดรถขายกับข้าวถึงหน้าบ้าน ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วย Fuel Cell Truck https://positioningmag.com/1265288 Fri, 21 Feb 2020 16:50:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265288 เซเว่น อีเลฟเว่นร้านสะดวกซื้อในประเทศญี่ปุ่น จับมือกับโตโยต้า ในการใช้รถบรรทุกแบบ Fuel Cell Truck ใช้พลังไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ขนส่งอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ 

ทางเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านสะดวกซื้อในประเทศญี่ปุ่น มีมากถึง 19,638 สาขาทั่วประเทศ ได้จับมือกับโตโยต้า ในการใช้รถบรรทุกแบบ Fuel Cell Truck ที่ใช้พลังไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ขนส่งอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอนาคต เพื่อต้อนรับสู่สังคม Low Carbon Society โดยลงนามในสัญญาไปแล้วเมื่อวันที่ 9 .. 2560 ที่ผ่านมา

ทางโตโยต้าได้นำเสนอรถบรรทุกฮีโน่ เอฟซี Hino FC = Fuel Cell พื้นฐานจาก Hino Dutro พร้อมระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน (FC Generators) ขนาด 600 ลิตร (3 ถัง) น้ำหนักรวม 7 กิโลกรัม และมอเตอร์ไฟฟ้า ให้แรงม้าสูงสุด 155 แรงม้า สามารถวิ่งได้ระยะทางมากถึง 200 กิโลเมตร ต่อการเติมหนึ่งครั้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

พร้อมใช้พลังงานจาก Power Supply ในการจ่ายกระแสไฟให้ระบบทำความเย็น และตู้แช่แข็งภายในรถ สำหรับขนส่งของสดและอาหาร พร้อมพัฒนาระบบแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ และสามารถใช้เป็นแบตเตอรี่ฉุกเฉินได้ กรณีเกิดภัยพิบัติ

จากแหล่งข่าวของ Nihon Keizai ได้รายงานว่า ทางเซเว่นฯ มุ่งดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดการสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมนำรถบรรทุกที่ใช้ระบบ Hybrid มาใช้งานในการขนส่งของบริษัทฯ มากขึ้น จากในปัจจุบันที่ 15% เป็น 20% ในปี 2020

จริงๆ แล้วโมเดลรถกับข้าวเคลื่อนที่ หรือคนไทยจะเรียกกันว่ารถพุ่มพวง กำลังเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น สอดรับกับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังเติบโตอย่างรุนแรงในญี่ปุ่น

Source

]]>
1265288
รู้จัก 6.11 Vending Machine Store ผู้ท้าชิงร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในราคาเริ่มต้น 6-11 บาท https://positioningmag.com/1263380 Wed, 05 Feb 2020 18:16:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263380 ตู้กดน้ำอัตโนมัติกำลังเติบโตอย่างดีในประเทศไทย พามารู้จัก 6.11 ตู้กดน้ำราคาประหยัดจากค่าย “สบาย เทคโนโลยี” งานนี้ขอท้าชิงกับร้านสะดวกซื้อ เปิดขนาบข้างแบบหายใจรดต้นคอ ปั้น 1,000 สาขาให้ได้ในปีนี้

ตู้กดอัตโนมัติตลาดเดือด!

ต้องบอกว่าในประเทศไทยมีร้านสะดวกซื้ออยู่เกือบทุกมุมถนน เพียงแค่เจ้าใหญ่อย่าง 7-11 ก็มีสาขาอยู่ทั่วประเทศกว่าหมื่นสาขาเข้าไปแล้ว อีกทั้งพฤติกรรมของคนไทยก็ชอบเข้าห้าง ซื้อของในร้านสะดวกซื้อ ทำให้ตลาดนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตลาดของ Vending Machine หรือตู้กดน้ำอัตโนมัติเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ซึ่งถ้าใครที่เคยไปเยือนประเทศญี่ปุ่นน่าจะคุ้นเคยกับตู้กดน้ำเป็นอย่างดี เพราะเป็นที่นิยมในญี่ปุ่นอย่างมาก เรียกว่าทุกตรอกซอกซอยจะต้องมีตู้กดน้ำ แม้แต่บนเขาก็ยังมี

ตลาดในประเทศญี่ปุ่นใหญ่มากเช่นกัน มีจำนวนตู้กดน้ำถึง 2.5 ล้านเครื่อง เทียบกับจำนวนประชากร 160 ล้านคน สำหรับในประเทศไทยที่ปัจจุบันตลาดนี้มีทั้งหมด 25,000 เครื่อง เทียบกับจำนวนประชากร 70 ล้านคน ถือว่ายังมีโอกาสในตลาดอีกมาก

ในตลาด 25,000 เครื่อง เบอร์ 1 เป็นของ “ซัน 108” มีจำนวน 12,000 เครื่อง จำหน่ายทั้งอาหาร เครื่องดื่ม มาม่าต่างๆ เบอร์ 2 เป็นของ “เวนดิ้ง พลัส” จากค่ายสบาย เทคโนโลยีจำนวน 4,000 เครื่อง ถ้ารวมแบรนด์อื่นๆ ทั้งหมดในตลาดมีนับ 20 แบรนด์เลยทีเดียว

Budget Vending Machine ราคาตั้งแต่ 6-11 บาท

ตลาดของตู้กดน้ำ หรือตู้กดอัตโนมัตินี้ ส่วนใหญ่จะมีทำเลอยู่ตามโรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า แต่จริงๆ แล้วตู้นี้ยังมีโอกาสมหาศาลในหลายพื้นที่ จึงเป็นที่มาของโมเดลใหม่ 6.11 Corner เป็น Vending Machine Store ที่เนรมิตร้านค้าให้มีแต่ตู้กดน้ำเพียวๆ จากปกติที่เราจะเห็นแค่ตู้กดน้ำอย่างเดียว แต่นี่คือตั้งเป็นร้านค้า

จริงๆ แล้วร้าน 6.11 แบรนด์ย่อยของเวนดิ้ง พลัส โดยที่วางจุดยืนเป็น Budget Vending Machine มีสินค้าหลักเป็นแบรนด์ 6.11 Select จำหน่ายในราคาถูกกว่าแบรนด์ทั่วไปในท้องตลาด มีทั้งกาแฟ น้ำดื่ม วิตามินซี เครื่องดื่มโยเกิร์ต เครื่องดื่มเกลือแร่ ชา เครื่องดื่มชูกำลัง และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีราคาส่วนใหญ่เริ่มต้นที่ 6-11 บาทเท่านั้น ในขณะที่ตู้อื่นๆ มีราคาเริ่มต้น 10-20 บาท

โดยที่ 6.11 เริ่มเปิดร้านแรกเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 ที่ย่านเพชรเกษม-บางบอน เป็นการเช่าห้องแถวแล้วตั้งตู้กด 2-3 เครื่อง เน้นโลเคชั่นในชุมชน หรือข้างๆ ร้านสะดวก

“ความหมายของชื่อร้าน 6.11 ก็คือสินค้าส่วนใหญ่มีราคาตั้งแต่ 6-11 บาทเท่านั้น เพราะตั้งใจให้ 6.11 เป็น Budget Vending Machine” ชูเกียรติ รุจนพรพจี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ได้เล่าถึงที่มาของชื่อก่อนเป็นอันดับแรก

จากนั้นก็เริ่มเล่าถึงคอนเซ็ปต์ของ 6.11 ที่ทำไมต้องเป็น Budget Vending Machine ได้มองเห็นโอกาสอะไรบ้าง

“แต่แรกเริ่มได้ตั้งตู้เวนดิ้ง พลัสในโรงงานอุตสาหกรรม ได้เก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่าคนไทยยุคนี้ยอมซื้อสินค้า Budget Brand หรือสินค้าที่มีราคาถูกกว่าแบรนด์ใหญ่มากถึง 30-40% แสดงว่าตลาดนี้มีโอกาส ในขณะที่คนซื้อที่แบรนด์ใหญ่ๆ 60-70%”

ชูเกียรติได้แชร์ข้อมูลเชิงลึกว่าอย่างสินค้าน้ำอัดลมในตู้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็น Original ที่มี 2 แบรนด์ใหญ่โค้ก และเป๊ปซี่ มีราคามาตรฐาน และแบรนด์ Budget ที่ราคาย่อมเยาลงมาหน่อย เอส และบิ๊กโคล่า พบว่ากดซื้อโค้ก และเป๊ปซี่ 65% และซื้อเอส กับบิ๊กโคล่า 35%

รวมถึงสินค้าเครื่องดื่มชูกำลัง ที่มีแบรนด์ใหญ่ๆ ทั้ง M150, คาราบาวแดง, กระทิงแดง แต่มีแบรนด์ Volt ของอาเจขายในราคา 8 บาท คนก็ซื้อแบรนด์นี้เยอะ

ซึ่ง 6.11 Select เห็นโอกาสว่าคนซื้อ Budget Brand มากถึง 30-40% เพราะด้วยเศรษฐกิจ และกำลังซื้อคนน้อยลง การมีแบรนด์ที่มีราคาคุ้มค่าน่าจะตอบโจทย์ได้ดี อีกทั้งยังได้พาร์ตเนอร์ที่ผลิตสินค้าให้เป็นเจ้าใหญ่ๆ ในตลาดทั้งสิ้น อย่างน้ำดื่มสยาม และมาลี

โดยที่ได้วางจุดยืนให้เว็นดิ้ง พลัสอยู่ในระดับกลาง มีจำหน่ายสินค้าทั่วไป ตั้งตู้ตามห้างสรรพสินค้า ส่วน 6.11 เป็น Budget Vending Machine ระดับแมส เน้นตั้งตู้ตามชุมชน

แตกไลน์สู่ขนม เครื่องสำอาง ไปจน “ถุงยางอนามัย”

ปัจจุบัน 6.11 จำหน่ายแต่สารพัดเครื่องดื่ม แต่ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าเตรียมแผนที่จะขยายไลน์สินค้าสู่ตลาดอื่นๆ ทั้งขนม เครื่องสำอาง สินค้า FMCG รวมไปถึงถุงยางอนามัยด้วย

“ในอนาคตมองถึงสินค้าอย่างขนม เครื่องสำอาง มาส์กหน้า สินค้า FMCG ต่างๆ สามารถทำเป็นตู้กดได้หมดเลย รวมถึงถุงยางอนามัยด้วย Pain Point ของสินค้ากลุม่นี้คือคนจะอายไม่กล้าซื้อในร้านสะดวกซื้อ เราเลยจับมือกับพาร์ตเนอร์ผู้ผลิตรายใหญ่ผลิตแบบ 2 แบบ รุ่น 0.05 ขายชิ้นละไม่เกิน 20 บาท และรุ่น 0.03 ขายชิ้นละ 35 บาท เจลหล่อลื่นก็ขายซองละ 20 บาท ตัวนี้จะออกช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ จะตั้งตู้ตามห้องน้ำปั๊ม โรงแรมม่านรูด และร้านสะดวกซื้อ”

ชูเกียรติบอกว่า ต่อไปตู้ Vending Machine อาจจะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ เพราะการที่สินค้าจะเข้าไปจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดจะต้องเสียค่าแรกเข้า ค่าเชล์ฟ ส่วนแบ่งรายได้ ถ้าสินค้าขายไม่ดีก็โดนตีกลับอีก แต่ถ้ามาจำหน่ายในตู้จะไม่เสียค่าใช้จ่ายเหล่านั้น

ขอเปิดขนาบข้างร้านสะดวกซื้อ

โมเดลของ 6.11 จะเป็นการเข้ามา Disrupt ร้านสะดวกซื้ออย่างแท้จริง หรือเป็นการดับเครื่องชนร้านสะดวกซื้อเลยก็ว่าได้ โดยที่โลเคชั่นส่วนใหญ่ที่จะไปนั้นจะต้องอยู่ในชุมชน และใกล้ร้านสะดวกซื้อ

“ตอนนี้เรามี 170 สาขา เน้นเปิดใกล้ๆ ร้านสะดวกซื้อ แต่ร้านสะดวกซื้อไม่ได้มีแค่แบรนด์เดียว ต่อไปอาจจะขยายไปได้ถึง 30,000 สาขาเลยก็ได้ ในช่วง 5,000 สาขาแรกจะไปกับร้านสะดวกซื้อ แต่ต่อไปจะจับโลเคชั่นที่ดักทางผู้บริโภคก่อนที่จะเข้าร้านสะดวกซื้อ”

ชูเกียรติบอกว่าจุดเด่นของตู้กดน้ำคือ สินค้าจะได้รับความเย็นมากกว่า รักษาความเย็นได้ตลอด ไม่ต้องต่อคิวจ่ายเงิน อีกทั้งตอนนี้ยังมีปัญหาเรื่องถุงพลาสติก เป็นโอกาสที่ดีของตู้กดน้ำ

ซึ่งต้องบอกว่าตอนนี้ 7-11 เองก็ลงมาจับตลาดนี้เช่นกัน จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีตู้ Vending Machine แต่ตั้งอยู่ในร้าน ตอนนี้ได้เช่าพื้นที่ในชุมชนเพื่อตั้งตู้โดยเฉพาะ เรียกว่ามาในโมเดลเดียวกัน

ปีนี้ต้องมี 1,000 สาขา

ปัจจุบันร้าน 6.11 มีทั้งหมด 170 สาขา เป็นโมเดลที่บริษัทลงทุนเองหมด เป็นการเช่าพื้นที่ตึกแถวในชุมชน เริ่มต้นที่ กทม. และปริมณฑล โดยที่ในสิ้นปีนี้ตั้งเป้ามีสาขาอย่างต่ำ 1,000 สาขา

“ผมอยากให้แบรนด์ 6.11 เป็นเสี่ยวมี่ประเทศไทย มีราคาไม่ต้องแพง แต่ต้องมีคุณภาพ และมองว่าจะขยายตู้กดให้ไปตามตรอกซอกซอยให้ได้ เป็นการสร้างแบรนด์ผ่านสินค้า ให้คนจดจำแบรนด์ให้ได้”

สินค้าที่ขายดีที่สุดได้แก่ เครื่องดื่มฮันนี่ลิ้นจี่, น้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว, วิตามินซี และเครื่องดื่มชูกำลัง ในอนาคตจะมีกาแฟ และรังนก

ชูเกียรติแอบกระซิบอีกว่า เร็วๆ นี้ที่ 6.11 Corner จะมีจำหน่าย “ซิม AIS” หลายคนคงทราบดีว่าช่วงหนึ่งที่ 7-11 มีปัญหาในการจำหน่ายซิม AIS อาจจะเป็นเพราะคู่แข่งของ TRUE หรืออะไรก็ตาม แต่ตอนนี้ 6.11 พร้อมมาตีกลับแล้ว

]]>
1263380
เอาจริง! เซเว่นฯ ทดลองงดให้ถุงพลาสติกก่อน 137 สาขา ดีเดย์ 25 พ.ย. นี้ https://positioningmag.com/1254567 Fri, 22 Nov 2019 17:22:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254567 หลังจากที่ได้ประกาศงดแจกถุงพลาสติกพร้อมกันในวันที่ 1 มกราคม 2563 ล่าสุดเซเว่น อีเลฟเว่นได้ทดลองงดแจกถุงพลาสติกใน 137 สาขา ก่อนที่จะงดแจกทุกสาขาในวันปีใหม่ เริ่ม 25 พ.ย. นี้

สุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าวว่า

“ซีพี ออลล์ ได้เริ่มประเดิมทดลองงดให้ถุงพลาสติก ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น จำนวน 137 สาขา เริ่มวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชน ก่อนงดให้ถุงพลาสติกทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2563 ที่จะถึงนี้”

โดยภายในร้านทั้ง137 สาขาจะกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ตามข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ระบุสินค้าผ่อนผันที่ยังสามารถใช้ถุงพลาสติกได้ อาทิ ของร้อน อาหารเปียก เนื้อสัตว์ และผลไม้

สำหรับร้านเซเว่น อีเลฟเว่น 137 สาขาที่ทดลอง จะมีสื่อประชาสัมพันธ์แจ้งให้ลูกค้าทราบพร้อมเชิญชวนลูกค้าพกถุงผ้าแทนถุงพลาสติก และหากท่านใดที่ไม่ได้นำถุงผ้ามาใส่สินค้า เซเว่น อีเลฟเว่น ก็ได้จัดเตรียมถุงผ้าคุณภาพดีจำหน่ายในราคาย่อมเยา

และสำหรับร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ที่ตั้งอยู่ตามเกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ก็มีจำหน่ายถุงกระดาษ เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมและช่วยกันขับเคลื่อนการลดและเลิกใช้ถุงพลาสติกนำไปสู่การสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เกิดแนวคิดท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

สำหรับโครงการ “รวมพลังคนไทย เลิกใช้ถุงพลาสติก” ซีพี ออลล์ ยังคงนำเงินที่ได้จากการลดใช้ถุงพลาสติก ไปสมทบทุนซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง

Source

]]>
1254567
“แสตมป์แห่งสยาม” เมื่อโปรโมชั่นแสตมป์ถูกตีตราโดยเซเว่น จ่าย 50 ได้คืน 1 บาท ไม่ใช่ประเด็นของคนคลั่งแสตมป์ https://positioningmag.com/1182156 Mon, 06 Aug 2018 23:00:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1182156 เซเว่นอีเลฟเว่น (เซเว่น) ไม่ใช่แบรนด์ค้าปลีกรายเดียวที่หยิบแสตมป์มาใช้เป็นโปรโมชั่นปั่นยอดขาย แต่มีร้านค้าปลีกอีกหลายรายที่หันมาทำตามกัน แม้กระทั่งยูนิลีเวอร์ก็ยังหยิบมุกนี้ไปเล่นเพื่อให้ลูกค้าสะสมยอดซื้อสะสมดาวแลกของแถม ในร้านติดดาว ร้านโชห่วยในสังกัด เพราะไหนๆ ก็ทำโปรโมชั่นแบรนด์สินค้ากับเซเว่นอยู่แล้ว หยิบออกมาทำเองบ้างก็น่าจะช่วยเพิ่มยอดขายและลอยัลตี้ได้เหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าเซเว่นเป็นเจ้าบุญทุ่มที่จับจองความเป็นเจ้าตลาดการทำโปรโมชั่นกับแสตมป์ไปแล้ว และกลายเป็นประเพณีประจำทุกปีที่จะต้องมีแคมเปญออกมาให้ผู้ซื้อนักล่าแสตมป์ตามสะสม ขณะที่คนไม่สนใจก็มีสองทางเลือก คือได้แสตมป์ไว้ใช้แทนเงินสดในครั้งต่อไป หรือไม่ก็เลือกทำบุญร่วมขันกับเซเว่นไปเสียเลย กับอีกทางเลือกที่ไม่ตั้งใจคือปล่อยให้แสตมป์หล่นหายเพราะขี้เกียจคอยเก็บ

เพราะฉะนั้นคนสองสามกลุ่มหลังนี้จึงไม่ใช่เป้าหมายหลักของแสตมป์เซเว่น เพราะกลยุทธ์หลักของแสตมป์เซเว่นนั้นโดยส่วนมากจะเลือกใช้คาแร็กเตอร์มุ้งมิ้งน่ารักที่กำลังดัง หรือดังมานานมีแฟนคลับจำนวนมากเพื่อนำมาล่อใจกลุ่มแฟนคลับให้ตามหาสะสมเพื่อใช้แลกของพรีเมียม ซึ่งจะทำออกมาพร้อมกันแลกเก็บไว้ใช้ ซึ่งตอนหลังเมื่อมีกระบวนการคอยเก็บสะสมแล้วแลกมาขายต่อคนที่ขี้เกียจสะสมแต่อยากได้ของ ก็เลยมีช่องทางหาสินค้าที่ชอบมาใช้ได้ง่ายขึ้น

สำหรับกลุ่มผู้ชื่นชอบเป็นแฟนตัวจริงของคาแร็กเตอร์ที่เลือกมาทำแสตมป์ บางกลุ่มก็เลือกที่จะสะสมด้วยตัวเอง

สิ่งหล่านี้คือความต้องการเบื้องต้นที่ถูกหยิบมาทำเป็นกลยุทธ์การตลาดที่เซเว่นจับมือกับพันธมิตรแบรนด์ต่างๆ ในร้าน คัดสินค้ามาทำโปรโมชั่นเพื่อให้ส่วนลดผ่านแสตมป์อีกทีเพราะเมื่อลูกค้าต้องการแสตมป์แล้วถ้าต้องการใช้สินค้าด้วยก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ต่อให้ไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อสินค้าบางอย่างถ้าแถมแสตมป์หนักๆ เพื่อยอดแสตมป์สะสมก็ทำให้สินค้านั้นสร้างยอดขายในช่วงสั้นๆ ขึ้นได้เร็วกว่าปกติเช่นกัน

ตัวกลางผู้สร้างแคมเปญแสตมป์อย่างเซเว่นก็เลยได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง เพราะไหนจะได้แรงดึงดูดผู้ซื้อให้จ่ายขั้นต่ำสูงขึ้นก็ได้เงินจากกระเป๋า แบรนด์มาร่วมทำโปรโมชั่นสร้างความคึกคักให้กับร้านไปพร้อมๆ กัน บางแบรนด์ถึงกับทำโฆษณาโปรโมชั่นกระตุ้นให้คนไปซื้อที่เซเว่นอีกด้วย เพราะรู้ดีว่าช่วงจังหวะที่เซเว่นทำแคมเปญแสตมป์คือช่วงที่แบรนด์สามารถทำยอดขายเพิ่มได้เช่นกัน

ย้อนรอยแสตมป์เซเว่น

ก่อนจะมาเป็นแสตมป์แห่งสยาม เซเว่นเริ่มนำมาใช้ครั้งแรกในปี 2542 แนวคิดเริ่มต้นก็คือการให้ส่วนลดกับลูกค้าที่ใช้บริการ แต่ก็ต้องการสร้างสีสัน ความสนุกมากกว่าการให้ส่วนลดธรรมดา จนถึงวันนี้ต้องยอมรับว่าไม่ว่าด้วยอะไรก็ตาม แสตมป์เซเว่นถือเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติมากกว่าแสตมป์หรือคะแนนสะสมของร้านค้าปลีกทั่วไป จากความถี่ที่มีลูกค้าเข้าร้านอย่างต่อเนื่อง ซื้อซ้ำ และมีสาขากระจายทั่วทุกแห่ง

ส่วนลดผ่านแสตมป์ยุคแรกเริ่มต้นจาก 30 บาท ได้แสตมป์ 1 ดวง จากนั้นปรับขึ้นเป็น 40 บาท และ 50 บาท ตามลำดับ ส่วนแสตมป์พิเศษมูลค่า 3 บาทและจำนวนแสตมป์ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นการทำโปรโมชั่นกับสินค้าแบรนด์ต่างๆ ในร้าน ซึ่งถือเป็นส่วนการใช้งบการตลาดของแต่ละแบรนด์สินค้าที่แถมแสตมป์ ก็ไม่ต่างจากสินค้าลดราคาตามห้างทั่วไปเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบมาให้ส่วนลดเพื่อใช้ในครั้งต่อไป ซึ่งถือว่าแยบยลกว่า

ปี 2555 เป็นปีแรกที่เริ่มขยับมูลค่าการซื้อขั้นต่ำเป็น 50 บาท เพื่อได้แสตมป์ 1 บาท 1 ดวง คำนวณแล้วเท่ากับให้ส่วนลดสำหรับนำไปซื้อสินค้าครั้งต่อไปเพียงแค่ 2% ซึ่งต่ำกว่าส่วนลดของบัตรสมาชิกหรือลอยัลตี้การ์ดของห้างค้าปลีกทุกประเภทที่มีอยู่ในเมืองไทย ซึ่งโดยทั่วไปจะให้ส่วนลดกับสมาชิกประมาณ 5% และ 10% ตามประเภทสมาชิก

ถ้าอยากได้สิทธิประโยชน์จากการสะสมแต้มใช้แทนเงินสดหรือแลกซื้อสินค้ามากขึ้น เซเว่นยังมีเซเว่นการ์ดให้ลูกค้าฝากเงินไว้ในระบบก่อนซื้อสินค้าได้อีก หรือใครสะดวกจะใช้ผ่าน TrueMoney Wallet ในเครือเดียวกันก็ได้ ส่วนแสตมป์ถ้าไม่ชอบเก็บเป็นดวงๆ ก็มีแอปเซเว่นอีเลฟเว่นให้สะสมผ่านแอปได้สมกับยุคดิจิทัล.

]]>
1182156
7-11 ญี่ปุ่นล้มแผนขายเบียร์สด หลังถูกคัดค้าน https://positioningmag.com/1179501 Thu, 19 Jul 2018 06:30:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1179501 ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในญี่ปุ่น ระงับแผนการจำหน่ายเบียร์สดภายในร้าน หลังมีเสียงวิจารณ์ว่าจะทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง ซึ่งเป็นกรณีแบบเดียวกับของประเทศไทยก่อนหน้านี้

ร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นในญี่ปุ่น มีกำหนดการจำหน่ายเบียร์สดในหลายสาขาในพื้นที่กรุงโตเกียวในวันที่ 17 กรกฎาคม แต่ภาพวิดีโอเครื่องจำหน่ายเบียร์สด ที่อยู่ใกล้แคชเชียร์ได้เผยแพร่ในโลกออนไลน์ของญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม นอกจากนี้ยังมีผู้ติดต่อไปยังสำนักงานใหญ่ของเซเว่น อีเลฟเว่นจำนวนมาก เพื่อสอบถามว่าสาขาใดที่จะมีเบียร์สดจำหน่ายบ้าง

ชุมชนออนไลน์ในญี่ปุ่นต่างวิจารณ์ว่า การจำหน่ายเบียร์สดในร้านสะดวกซื้อเช่นนี้ จะส่งเสริมให้มีการดื่มสุรามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนเช่นตอนนี้ กลุ่มผู้ปกครอง และองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคต่างคัดค้านเรื่องนี้

บริษัทเซเว่น อีเลฟเว่น เจแปน ได้ตัดสินใจระงับแผนนี้ และระบุในแถลงการณ์ว่าจะยกเลิกการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อจำหน่ายเบียร์สดภายในร้าน

ตามแผนเดิม ทางเซเว่น อีเลฟเว่นได้ร่วมมือกับ “คิริน” ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของญี่ปุ่นจำหน่ายเบียร์สดภายในร้าน โดยลูกค้าจะได้รับแก้ว และไปเติมเบียร์ได้ที่เครื่องอัตโนมัติ ราคาจำหน่ายตั้งไว้ที่ 100 เยนสำหรับแก้วเล็ก และ 190 เยนสำหรับแก้วใหญ่ แต่ไม่เป็นที่เปิดเผยว่าแก้วทั้ง 2 ขนาดมีปริมาณเท่าไหร่

บริษัทเซเว่น อีเลฟเว่น เจแปน ระบุว่า ทางบริษัทรับรู้ถึงความกังวลของผู้บริโภค และยังไม่มีแผนจะจำหน่ายเบียร์สดในร้านอีก.

Source

]]>
1179501
ชำแหละ “ซีพีแรม” อาวุธลับ “เซเว่นอีเลฟเว่น” https://positioningmag.com/1154002 Sat, 20 Jan 2018 04:59:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154002 เมื่อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” วาง Positioning  ของการเป็น “ร้านอิ่มสะดวก” รองรับผู้บริโภคที่หิวเมื่อไหร่ก็แวะไปได้ 24 ชั่วโมง “อาหาร” ถือเป็นสินค้าหลัก ที่ต้องตอบโจทย์จุดยืนดังกล่าว

นอกจากการบริษัทในเครือ “ซีพีเอฟ” เป็นซัพพลายเออร์ที่ผลิตสินค้าป้อนเซเว่นฯ อีกรายที่มีบทบาทไม่แพ้กันคือ “ซีพีแรม”  ไม่ว่า ไส้กรอกซีพี, อาหารพร้อมทาน EZYGO, เบเกอรี่ เลอแปง, เดลี่ไทย, เดลิกาเซีย,แซนวิชอบ และขนมจีบซาลาเปา(แบรนด์เจดดราก้อน) ล้วนมาจากบริษัทนี้ ซึ่งผลิตอาหารและเบเกอรี่ป้อนเซเว่นฯมากกว่า 50%

บริษัท ซีพีแรม จำกัด เป็นบริษัทลูกที่ซีพีอออล์ถือหุ้น 100%”  เพื่อผลิตอาหาร แช่แข็ง อาหารแช่เย็น และเบเกอรี่

“ก่อศักดิ์ ไชยรัศมี” ประธานกรรมการ บมจ.ซีพี ออลล์ ในงานครบรอบ 30 ปี ซีพีแรม ที่ย้ำความสำคัญของคลังอาหารเซเว่นอีเลฟเว่น และหากชำแหละโครงสร้างสินค้าจะพบว่าภายในร้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาหารประเภทต่างๆ ขนมปัง เบเกอรี่ ผลไม้สด ฯ สัดส่วนสูงถึง 70% อีก 30% คือสินค้าอุปโภคประเภทเครื่องใช้ส่วนบุคคล(เพอร์ซันนอลแคร์)

เมื่อก่อนสินค้าอาหารดังๆที่อยู่บนเชลฟ์ มักจะเป็น “แบรนด์เบอร์ 1” ในหมวด (Category) นั้นๆ เช่น เบเกอรี่ต้อง “ฟาร์มเฮ้าส์” แต่ปัจจุบันพื้นที่ถูกยึดโดย “เลอแปง” จากซีพีแรมเรียบร้อย หมวดอาหารแช่แข็ง อาหารพร้อมทานแน่นอนว่ามีตู้แช่ของซีพีแรมตั้งหราในร้าน 1-2 ตู้

สายการผลิตของ ซีพีแรม  จึงเริ่มตั้งแต่ ผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง แล้วแตกไลน์สู่เบเกอรี่ รุกตลาดติ่มซำ และผลิตอาหารสำเร็จรูป เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องสินค้าให้กับเซเว่นฯ

เป้าหมายต่อไปของซีพีแรม ในปี 2561-2565  ต้องการ ขยายธุรกิจอาหาร “เชิงรุก” มากขึ้น ด้วยการใช้งบลงทุน 4,000 ล้านบาท สร้างโรงงานใหม่ 5 แห่ง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ลำพูน และขยายในพื้นที่โรงงานเดิมที่ชลบุรี ปทุมธานี และขอนแก่น เพื่อเพิ่มกำลังผลิตอาหารแช่แข็ง แช่เย็น และเบเกอรี่ เพิ่มขึ้น 50-70%  ป้อนให้กับเซเว่นฯ ที่ขยายสาขาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รองรักยอดขายอาหารก็เติบโตถึง 15%

กำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น ยังถูกโฟกัสไปที่อาหารพร้อมทานหมวด “ข้าว” มากขึ้นด้วย เพราะการเติบโตสูงกว่า 15% 

ปัจจุบันเซเว่นฯ มีร้านให้บริการกว่า 10,000 สาขา ตู้แช่ที่พ่วงไว้ในร้านมีมากถึง 6,000 สาขา เพื่อต้องการตอบสนองการกินอยู่ของผู้บริโภคให้ได้ 7 มื้อต่อวัน  เรียกว่าสูงกว่าการบริโภคมื้อปกติ 2 เท่าตัว(ปกติคือทานเช้า กลางวัน เย็น) และเมื่อดูรายงานของเซเว่นฯ ระบุว่าปี 2559 มีคนเข้ามาใช้บริการทั่วประเทศมากถึง 11.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 มีลูกค้าใช้บริการ10.9 ล้านคน หากขายให้คนกินได้หลายมื้อ ยอดขายยิ่งโตมโหฬาร

 สินค้าอาหารทุกหมวดเป็นโอกาสสร้างการเติบโตให้บริษัท เพราะไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคคนไทยเปลี่ยน การอาศัยอยู่ในเมืองสูงขึ้นเรื่อยๆ คนชนบทย้ายเข้าเมือง คนอยู่คอนโด ทำให้การบริโภคอาหารต้องการความสะดวกสบายในการหาซื้อ เช่น ผ่านเซเว่นฯ ด้วยการอุ่นร้อน

“ปัจจัยดังกล่าวยังทำให้ซีพีแรมใช้งบ 1% ของยอดขายหรือราว 150-200 ล้านบาท พัฒนาสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ หนุนกลยุทธ์ในการสร้างความหลากหลายสินค้า เพิ่มทางเลือกในการบริโภค ไม่ให้จำเจ รวมถึงการพัฒนาอาหารรองรับยุคอนาคต ในหมวดอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำหรับผู้สูงวัย อาหารสำหรับคนไข้ที่ดูแลสุขภาพเฉพาะทาง” วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี แรม กล่าว

นอกจากเพิ่มกำลังผลิตอาหาร อีกเกมธุรกิจที่เห็นการเปลี่ยนแปลงคือ ห่วงโซ่การผลิต หรือ “ซัพพลายเชน” ตั้งแต่การเลือกทำเล “ยุทธศาสตร์” เพื่อตั้งโรงงาน บริษัทโฟกัส “ภูมิภาค” มากขึ้น โรงงานเป็น “ชนาดย่อม” เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าไปอยู่ในพื้นที่ชุมชน การกระชับพื้นเพราะต้องการประชิดตลาดและผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ลดระยะขนส่งสินค้าให้สั้นลงเหลือ 2-3 ชั่วโมง จากเดิมส่งสินค้าไปถึงสาขาเซเว่นฯไกลสุดใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง

และเพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพ บริษัทยังเตรียมนำดิจิทัลมาใช้ในระบบงาน จะเห็นการใช้งาน E-Logistic ในปีนี้ด้วย

“เราจะสร้างโรงงานย่อกระจายไปยังภูมิภาคเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถส่งสินค้าตั้งแต่อออกจากเตาไปถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายภายใน 3 ชั่วโมง เมื่อก่อนที่เราผลิตอาหารแช่เย็นหรือชิลด์ฟู้ด ส่งสินค้าไปยังตลาดที่ไกลสุดใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง หากเราทำระยะเวลาส่งให้สั้นลง ลูกค้าจะมีตัวเลือกมากขึ้น ถ้าส่งสินค้าไกล เราส่งสินค้าหลายประเภทไม่ได้ เพราะอาหารมีเชลฟ์ไลฟ์สั้นยาวต่างกัน ทำให้เราขาดโอกาสทางการตลาด แต่เมื่อมีโรงงานใกล้ตลาดก็เพิ่มโอกาสให้บริษัทเติบโต”

ส่วนการขยายช่องทางจำหน่าย นอกจากเข้าร้านเซเว่นฯแล้ว ปีนี้จะเพิ่มตู้หยอดเหรียญ(Vending Machine) ครัวเคลื่อนที่(Food Van) ซีพีแรมแคทเทอริ่ง และการขายอาหารในรูปแบบอีคอมเมิร์ซมากขึ้นด้วย ทั้งหมดเพื่อตอบไลฟ์ไสตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น

เพื่อให้การทำตลาดครบเครื่อง บริษัทยังวางกลยุทธ์ 3 S ขับเคลื่อนธุรกิจ ได้แก่

1. Food Safety 

หรือความปลอดภัยอาหาร นับเป็นความสำคัญสูงสุดและ “ชี้เป็นชี้ตาย” ให้กับธุรกิจได้เลยทีเดียว แต่ปลอดภัยอยางเดียวไม่ได้ “ความอร่อย” ที่ทางบริษัทรังสรรค์จะต้องเหมือน “แม่ปรุงให้กิน” ด้วย

ก่อนหน้านี้ ซีพีแรม เคยตั้งธงไว้จะเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก ฟังดูแล้วมีพลังและท้าทายไม่น้อย แต่กลับถูกโยนคำถามจากกูรูธุรกิจว่า “ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์อะไรจากเป้าหมายดังกล่าว” และดู “ไม่มีคุณค่าอะไรเลยด้วยซ้ำ” นั่นจึงทำให้บริษัทฉุกคิดและหันกลับมาพลิกมุมคิดให้แบรนด์ใหม่ด้วยการยกความปลอดภัยและอร่อยเป็นที่ตั้ง

2. Food Security 

ความมั่นคงด้านอาหาร ในโลกอาจมีประชากร 7,600 ล้านคน ส่วนไทยมี 69 ล้านคน หรือติดอันดับ 20 ของโลก ในปี 2560 บริษัทมีการผลิตอาหาร 130 ล้านกิโลกรัม เลี้ยงประชากรโลกได้ถึง 5 แสนคน กินได้ 3 มื้อตลอดทั้งปี การสร้างโรงงานยังตอบโจทย์ความมั่นคงอาหารและเพิ่มโอกาสทางการตลาดด้วย ที่สำคัญวัตถุดิบที่ได้ยังมาจากเครือซีพีด้วย เช่น ไข่นับร้อยล้านฟองต่อปี ไก่ ข้าวสารกว่าสิบล้านกิโลกรัมต่อปี เป็นต้น

3. Food Sustainability 

ความยั่งยืนด้านอาหาร ด้วยการบริหารจัดการธุรกิจทั้งห่วงโซ่ตั้งแต่การใช้ดินเพาะปลูกพืชผัก การขนส่ง การใช้พลังงาน เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ปัจจุบันซีพีแรม มีสินค้า 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ อาหารแช่แข็งและอาหารแช่เย็นพร้อมรับประทาน มีสัดส่วนรายได้ 60% และเบเกอรี่สัดส่วน 40% นอกจากผลิตสินค้าป้อนเซเว่นอีเลฟเว่นแล้ว ยังป้อนแม็คโครด้วย ซึ่งการวางยุทธศาสตร์ 5 ปีข้างหน้า บริษัทหวังจะโต15% ต่อเนื่อง จากปีนี้คาดว่าจะทำรายได้มากกว่า 16,000 ล้านบาท มีกำไรสุทธิกว่า 569 ล้านบาท.

]]>
1154002