BEC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 01 Oct 2019 06:52:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยุติ 2 ช่องทีวีดิจิทัล! “ช่อง 3” เดินหน้าชิงบัลลังก์รายการข่าว ปรับผังเฟสแรกประกาศยึดเรตติ้งเบอร์ 1 ยกแผงทั้งสถานี https://positioningmag.com/1248094 Mon, 30 Sep 2019 12:26:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248094 หลังเที่ยงคืนวันนี้ (30 ..) ช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ถึงคิวยุติออกอากาศ จากการคืนใบอนุญาตกับ กสทช. ประกาศพร้อมกลับมาโฟกัสคอนเทนต์ช่อง 3” ประเดิมปรับผังรายการข่าวใหม่ กับเป้าหมายเรตติ้งเบอร์ 1” ทั้งสถานี  

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังยุติออกอากาศทีวีดิจิทัล 2 ช่อง จะกลับมามุ่งบริหารรายการบนช่อง 3 หรือ ช่อง 33 เพียงช่องเดียวให้แข็งแกร่ง โดยเฟสแรกได้ปรับโฉม “รายการข่าว” ทุกรายการ เดือนต.ค.นี้เริ่มที่ 3 รายการ คือ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ เรื่องเด่นเย็นนี้ และ ข่าว 3 มิติ และจะปรับโฉมครบทุกรายการข่าวที่มีจำนวน 11 รายการในไตรมาส 4 ปีนี้

อริยะ พนมยงค์

นอกจากนี้มีอีก 2 รายการกลุ่มข่าวจากช่อง 28 คือ โหนกระแส และ ข่าวนอกลู่ ย้ายมาออกอากาศที่ช่อง 3 ส่วนรายการประเภทอื่นๆ กลุ่มวาไรตี้และละคร จะปรับผังช่วงต้นปี 2563

ปัจจุบันเรตติ้งรายการข่าวช่อง 3 “ส่วนใหญ่” เป็นที่หนึ่งเกือบทุกรายการ อาทิ เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง เที่ยงวันทันเหตุการณ์ เรื่องเด่นเย็นนี้ เป็นต้น เป้าหมายหลังจากปรับโฉมรายการข่าวใหม่ในปีนี้ คือการผลักดันให้ช่อง 3 เป็นผู้นำเรตติ้งรายการข่าวทั้งสถานีในทุกช่วงเวลา โดยเฉลี่ยเรตติ้งจะต้องอยู่ระดับ 1.5 – 2

“น่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ไตรมาส กับเป้าหมายการขึ้นมาครองเรตติ้งข่าวเบอร์ 1 ทั้งสถานี ทั้งการนำเสนอบนจอทีวีและบนออนไลน์ ปัจจุบันเพจข่าวช่อง 3 ทุกรายการ บน Facebook มีผู้ติดตามกว่า 14 ล้านคนแล้ว”

ชูจุดขายทัพผู้ประกาศ 50 คน

การปรับโฉมรายการข่าวใหม่ วาง Positioning ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้ชม “ช่อง 3” ด้วยแนวคิด “ข่าวจริง ทันเหตุการณ์ พึ่งพาได้” ซึ่งก็มาจากการเป็น “สื่อหลัก” ที่ต้องทำหน้าที่นำเสนอข่าวจริงที่มีความน่าเชื่อถือ มีทีมงานลงพื้นที่รายงานข่าวในสถานการณ์สำคัญ และเป็นสื่อที่พึ่งพาได้

กลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์ข่าว โฟกัสข่าว 3 ประเภทที่อยู่ในความสนใจของฐานผู้ชม “ช่อง 3” คือ ข่าวสังคม อาชญากรรม และข่าวบันเทิง ซึ่งมีฐานผู้ชมมากที่สุด

“จุดแข็งของข่าวช่อง 3 คือการมีผู้ประกาศที่เป็นที่รู้จักถึง 50 คน นอกจากเป็นผู้ประกาศข่าว จะทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคมและผู้ชมเมื่อเกิดเหตุการณ์เดือดร้อน”

ดันรายได้ข่าวสัดส่วน 10%

ที่ผ่านมา ช่อง 3 ถือเป็นผู้ครองบัลลังก์รายการข่าว รายได้จากรายการข่าวเคยขึ้นไปสูงสุดที่สัดส่วน 10% ของรายได้ ปัจจุบันลดลงมาเป็นตัวเลขหลักเดียว จากคู่แข่งขันที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายการปรับโฉมรายการข่าวครั้งนี้ ก็เพื่อผลักดันรายได้จากรายการข่าวให้กลับไปมีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 10% เหมือนเดิม เป้าหมายแรกต้องทำเรตติ้งให้ขยับขึ้นก่อน จากนั้นจึงเป็นโอกาสของการปรับขึ้นราคาโฆษณา

ปัจจุบันรายได้หลักของช่อง 3 มาจากรายการละคร 80% ที่เหลือเป็นวาไรตี้ และข่าว นอกจากผลักดันรายการข่าวให้มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว จะหาโอกาสสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เช่น ออนไลน์ การขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ต่างประเทศ ให้มีสัดส่วน 10% ของรายได้ในอนาคต

สำหรับสถานการณ์การแข่งขันธุรกิจทีวีดิจิทัลหลังจาก 7 ช่องคืนใบอนุญาต ยุติออกอากาศ มองว่าการแข่งขันยังคงเหมือนเดิม โดยอยู่ที่ 10 อันดับเรตติ้งแรก ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะแข่งขันช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณาทีวี.

]]>
1248094
2 ช่องสุดท้ายบีอีซี “ลาจอ” กสทช. สรุป 5 ปี “ทีวีดิจิทัล” ปิดฉาก 9 ช่อง “เลิกจ้าง” กระทบคนสื่อ-ครอบครัวเกือบ 15,000 คน https://positioningmag.com/1247989 Mon, 30 Sep 2019 00:59:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247989 ปิดฉากลาจอทีวีดิจิทัลคืนใบอนุญาตตามมาตรา 44 กันครบทั้ง 7 ช่องหลังเที่ยงคืนวันนี้ (30 ..) “2 ช่องอำลาส่งท้าย เป็นคิวของกลุ่มบีอีซีช่อง 3 Family” และช่อง 3 SD” หากย้อนกลับไปนับตั้งแต่เริ่มต้นทีวีดิจิทัลปี 2557 มีผู้ประกอบการพ่ายสมรภูมิทีวีดิจิทัลรวม 9 ช่อง จาก 24 ช่องที่เปิดประมูลและเกือบทั้งหมด ขาดทุน

เส้นทาง “ทีวีดิจิทัล” กว่า 5 ปี นับจากเริ่มออกอากาศครั้งแรกในเดือน เม.ย. 2557 มาถึงวันที่รัฐdddเปิดทาง “คืนใบอนุญาต” ก่อนจบอายุใบอนุญาต 15 ปี ในปี 2572 ถึงวันนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” หนัก และนั่นเป็นสาเหตุให้ 7 ช่อง ที่ประกอบไปด้วย สปริงนิวส์ 19, สปริง 26, ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี, MCOT Family 14, ช่อง 3 Family และช่อง 3 SD ขอคืนใบอนุญาต ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44 เพื่อรับเงินชดเชย จากการใช้ใบอนุญาตไม่ครบตามอายุ

ก่อนหน้าในปี 2558 เพียง 1 ปี ในยุคทีวีดิจิทัล 2 ช่อง “ไทยทีวีและโลก้า” ของ พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ได้บอกคืนใบอนุญาตเป็นรายแรก ปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้อง กสทช. ที่ศาลปกครอง สรุปช่วง 5 ปีแรก มีทีวีดิจิทัลปิดตัวรวม 9 ช่อง

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

ช่องเยอะ-เทคโนโลยีดิสรัปชั่น

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์ “ทีวีดิจิทัล” ก็ต้องยอมรับว่ามีช่องที่เปิดประมูล “จำนวนมาก” เพราะเพิ่มขึ้นจากยุคแอนะล็อก 6 เท่าตัว ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาทีวีไม่ได้เพิ่มขึ้น

สิ่งสำคัญที่หลายอุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากทีวีดิจิทัล คือ “เทคโนโลยี ดิสรัปชั่น” ทำให้มีดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่ๆ มาเป็นตัวเลือกเสพสื่อและคอนเทนต์ เห็นได้จากแนวโน้มการใช้งานดาต้าในฝั่งโทรคมนาคมที่เพิ่มขึ้นทุกปี

พบว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% นับตั้งแต่ปี 2557 ที่เริ่มต้นออกอากาศทีวีดิจิทัล ตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถืออยู่ที่ 53.7 ล้านราย ปี 2562 อยู่ที่ 75.9 ล้านราย เช่นเดียวกับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต หรือดาต้าผ่านมือถือ จากปี 2557 อยู่ที่ 4.9 แสน terabyte ปี 2561 เพิ่มเป็น 5.8 ล้าน terabyte หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่า

บริการผ่านออนไลน์ที่เติบโตสูงคือ OTT (Over The Top) ทั้งโซเชียล มีเดีย, วิดีโอ สตรีมมิ่ง, Massaging ปี 2561 Facebook มี 61 ล้านบัญชี ใช้งาน 655 ล้านครั้งต่อเดือน, YouTube 60 ล้านบัญชี ใช้งาน 409 ล้านครั้งต่อเดือน และ Line 55 ล้านบัญชี ใช้งาน 126 ล้านครั้งต่อเดือน

“ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสื่อเป็นเรื่องของเทคโนโลยีดิสรัปชั่น การเกิดขึ้นของ 3G 4G และปีหน้าจะมี 5G วันนี้ทั้งเฟซบุ๊กไลฟ์ ยูทูบไลฟ์ ดูได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลา และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของสื่อทีวี หากสื่อไม่มีการปรับตัว อนาคตข้างหน้าจะอยู่ยาก”

“เลิกจ้าง” กระทบเกือบ 1.5 หมื่นคน

สถานการณ์ทีวีดิจิทัลตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งการแข่งขันจากจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบจากเทคโนโลยีดิสรัปชั่น จะเห็นได้ว่าการเติบโตของสื่ออยู่ในฝั่ง “ออนไลน์” เป็นหลัก สะท้อนจากเม็ดเงินโฆษณาสื่อออนไลน์เติบโตทุกปี ปี 2562 คาดการณ์กันที่มูลค่า 20,000 ล้านบาท ส่วนโฆษณาทีวีดิจิทัลปีนี้ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ประเมินมูลค่าอยู่ที่ 64,680 ล้านบาท ติดลบ 2%

นับตั้งแต่ทีวีดิจิทัลเริ่มต้นในปี 2557 เม็ดเงินโฆษณาก็ไม่ได้เติบโตจากยุคแอนะล็อก เพียงแต่เม็ดเงินก้อนเดิม ย้ายจากช่องฟรีทีวีเดิมไปยังทีวีดิจิทัลช่องใหม่ และมีส่วนที่ไหลไปยังสื่อออนไลน์ด้วยเช่นกัน ขณะที่ทีวีดิจิทัลเป็นสื่อที่ลงทุนสูง เมื่อรายได้ไม่คุ้มต้นทุน ตลอดช่วง 5 ปีนี้ จึงเห็นหลายช่องทยอย “ลดต้นทุน” ด้วยการ “เลิกจ้าง” พนักงานมาต่อเนื่อง และสุดท้ายมาจบลงที่การคืนใบอนุญาตของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล

จากการรวบรวมตัวเลขของสำนักงาน กสทช. ฐากร บอกว่า ทีวีดิจิทัลส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” นับตั้งแต่ 2 ช่อง “ไทยทีวีและโลก้า” ปิดตัวในปี 2558 และมีการเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด พบว่าแต่ละสถานีจะมีพนักงาน ช่องละ 200 คน มีพนักงานประจำราว 30 – 40% ที่เหลือเป็นการจ้างผลิตหรือเอาท์ซอร์ส

การปิดตัวของทีวีดิจิทัล 9 ช่อง ทั้ง “ไทยทีวีและโลก้า” และ 7 ช่องคืนใบอนุญาต มีพนักงาน “ทางตรง” ที่เป็นพนักงานประจำและส่วนที่เอาต์ซอร์ส ทั้งผู้ผลิตรายการอิสระ ธุรกิจตัดต่อ ผู้ผลิตโฆษณา ได้รับผลกระทบจากการ “เลิกจ้าง” จำนวน 3,472 คน อีกทั้งยังมีผลกระทบทางอ้อม” จากครอบครัวคนที่ถูกเลิกจ้างอีก จำนวน 11,458 คน รวมผู้ที่ได้รับผลกระทบ 14,930 คน

โดยทั้ง 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต กสทช.จ่ายเงินชดเชยให้จำนวน 2,933 ล้านบาท ในจำนวนผู้ประกอบการนำไปจ่ายเป็นเงินเยียวยาเลิกจ้างพนักงานตามกฎหมายแรงงานและบวกเพิ่มให้ รวม 1,400 ล้านบาท แต่ก็บพบว่ากลุ่มที่เป็นลูกจ้างเอาต์ซอร์ส ได้รับผลกระทบเพราะไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน เมื่อมีการยกเลิกประกอบกิจการจึงไม่ได้รับสิทธิการจ่ายเงินค่าเลิกจ้าง ซึ่งมีการส่งเรื่องร้องเรียนมาที่ กสทช.จำนวนมาก

“วันที่ 30 ก.ย. นี้ หลังเที่ยงคืน ทีวีดิจิทัล 2 ช่องสุดท้าย คือ ช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD จะยุติออกอากาศ ครบทั้ง 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต หลังจากนี้จะเหลือทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 15 ช่อง และทีวีบริการสาธารณะอีก 4 ช่อง ที่ต้องขอให้ทุกช่องโชคดีในการทำทีวีดิจิทัลต่อไป”

2 ช่องกลุ่มบีอีซี “ลาจอ”

วันนี้ (30 ก.ย.) หลังเที่ยง เป็นคิวของทีวีดิจิทัล 2 ช่องของกลุ่มบีอีซี หรือช่อง 3 ที่จะยุติออกอากาศ คือช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD

สำหรับ ช่อง 3 Family ประมูลมาด้วยมูลค่า 666 ล้านบาท ในกลุ่มเด็ก เยาวชนและครอบครัว ออกอากาศหมายเลข 13 ช่วงแรกเน้นซื้อรายการลิขสิทธิ์มาออกอากาศ ทั้งซีรีส์ต่างประเทศ การ์ตูนเด็ก และละครรีรันช่อง 3 จากนั้นเริ่มผลิตรายการข่าว วาไรตี้ รายการการแข่งขันกีฬาถ่ายทอดสด และปล่อยเช่าเวลา แต่ด้วยการแข่งขันสูงและข้อจำกัดการลงโฆษณาของรายการเด็ก ทำให้รายได้โฆษณา แต่ละปีอยู่หลักร้อยล้านบาทเท่านั้น ตลอดช่วง 5 ปีทำรายได้รวม 636 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.083 ในปี 2558 และต่ำสุด 0.012 ปี 2557

ส่วนช่อง 3 SD ประเภทช่องวาไรตี้ SD หมายเลข 28 ประมูลมาด้วยมูลค่า 2,275 ล้านบาท ช่วงเริ่มต้นใช้คอนเทนต์รีรันจากช่อง 3 หลังจากนั้นเติมรายการข่าวและวาไรตี้ เข้ามาในผัง แต่รายการที่ทำเรตติ้งได้ดี คือ ละครรีรัน ช่อง 3 ทำให้เรตติ้งขึ้นมาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็น ตลอด 5 ปี ทำรายได้รวม 1,930 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.279 ในปี 2560 และต่ำสุด 0.011 ปี 2557


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1247989
“ช่อง 3” ส่ง “หมอยาฯ-บุพเพสันนิวาส” ขึ้น Netflix ดันละครไทยเจาะตลาดเอเชีย https://positioningmag.com/1247176 Sun, 22 Sep 2019 02:59:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247176 เดินหน้ากลยุทธ์หารายได้ใหม่อย่างจริงจัง กับการ “ขายลิขสิทธิ์” คอนเทนต์ ช่อง 3 โดยเฉพาะละคร ที่ถือเป็นนโยบายหลักในการเข้ามานำทัพ บีอีซี เวิลด์ ของ “บี๋ อริยะ พนมยงค์”  

การทำตลาดลิขสิทธิ์คอนเทนต์ ช่อง 3 ร่วมมือกับพันธมิตร “เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย” ให้สิทธินำละครช่อง 3 กว่า 130 เรื่องในปัจจุบัน รวมทั้งที่สร้างใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ไปขายลิขสิทธิ์ทั่วโลก (ยกเว้น จีน อินโดจีน สหรัฐอเมริกา และ Global Platforms)

ตลาดหลักๆ อยู่ในเอเชีย ล่าสุดถือเป็นก้าวแรกของวงการละครไทย ที่เจเคเอ็นสามารถขายลิขสิทธิ์ละครช่อง 3 เบื้องต้น 8 เรื่อง ให้กับสถานี TVA PLUS และ SMILE PLUS จากเกาหลี ซึ่งจะนำละคร ไปออกอากาศทางเคเบิลทีวีครอบคลุมทั่วประเทศเกาหลี

ประเดิม 2 เรื่องลง Netflix

ล่าสุดช่อง 3 ขายลิขสิทธิ์ ละคร 2 เรื่อง “ทองเอก หมอยาท่าโฉลง” และ “บุพเพสันนิวาส” เพื่อให้บริการสตรีมมิ่งบน Netflix ที่มีสมาชิกกว่า 151 ล้านคนใน 190 ประเทศ โดยละคร “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” สตรีมมิ่งเรื่องแรกในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา และตามมาด้วย “บุพเพสันนิวาส” ในวันจันทร์ที่ 7 ต.ค. 2562 พร้อมกับการแปลหลายภาษาของเอเชีย

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือกับ Netflix ครั้งนี้ ถือเป็นการเผยแพร่ละคร ช่อง 3 และศิลปะวัฒนธรรมไทย ไปสู่ตลาดเอเชีย ซึ่ง “บุพเพสันนิวาส” และ “ทองเอก หมอยาท่าโฉลง” เป็นละครที่มีกระแสตอบรับดีมาก ทั้งการรับชมสดผ่านโทรทัศน์ ที่มีเรตติ้งสูงสุดถึง 18.6 และ 8.5 นอกจากนี้ยังมียอดวิวบนออนไลน์ที่สูงถึง 1.8 พันล้านวิว (นับตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2561) สำหรับบุพเพสันนิวาส และ 265 ล้านวิว นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 สำหรับ ทองเอกหมอยาท่าโฉลง

การออกอากาศละครทั้ง 2 เรื่องทางช่อง 3 ทำให้เกิดกระแสฟีเวอร์ไปทั่วประเทศ ทั้งการแต่งกายชุดไทย ยาสมุนไพรไทย อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว และขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของไทย เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะถูกพูดถึงอีกครั้งในหลายประเทศของเอเชีย จากความร่วมมือกับ Netflix ในครั้งนี้   

]]>
1247176
แม่เหล็กใหม่! Facebook Watch ดึง “เวิร์คพอยท์-ช่อง 3-ONE 31-วู้ดดี้” สร้างโซเชียลวิดีโอไทย https://positioningmag.com/1247017 Thu, 19 Sep 2019 23:07:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247017 คนไทยเสพคอนเทนต์วิดีโอสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งก็สอดคล้องกับสถิติของ Facebook Watch ที่พบว่าบริการวิดีโอบนเฟซบุ๊กในประเทศไทยโดดเด่นระดับแนวหน้าในภูมิภาค ภารกิจหลังจากนี้ คือการสร้างวิดีโอที่ดึงดูดผู้ชมและการเปิดทางให้ผู้สร้างวิดีโอทำรายได้ 

พาเรช ราชวัต ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์วิดีโอ ซึ่งดูแลการพัฒนาบริการ Facebook Watch ระดับโลก  กล่าวว่าภารกิจหลักที่ Facebook Watch จะทำในไทยช่วงปีนี้ถึงปีหน้า คือการเติมเต็ม อีโคซิสเต็ม โดยจะเน้นสร้างประสบการณ์รับชมวิดีโอบน Facebook Watch ขณะเดียวกันก็จะเน้นให้ ผู้สร้าง มีช่องทางสร้างรายได้เป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งให้ผู้สร้างต้องการสร้างวิดีโอเนื้อหาดีเพื่อตอบโจทย์ผู้ชมต่อเนื่อง

คนไทยนิยมดูวิดีโอบน Facebook Watch มาก ถือเป็นประเทศที่โดนเด่นระดับแนวหน้าในภูมิภาค ในช่วง 1 ปีที่เปิดให้บริการ Facebook Watch มีผู้ชม 720 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวนนี้ 140 ล้านคนชมนานกว่า 1 นาทีพาเรชระบุ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลการชมวิดีโอเฉพาะประเทศไทย

ในจำนวน 140 ล้านคนนี้ สถิติการชม Facebook Watch คิดเป็นตัวเลขเฉลี่ยมากกว่า 26 นาทีต่อวันต่อคนสถิตินี้ถือว่าน่าสนใจเพราะแสดงให้เห็นว่าผู้คนตั้งใจรับชมจริงจัง

สิ่งที่ทำให้ Facebook Watch แตกต่างจากบริการวิดีโออื่นคือการชมวิดีโอบน Facebook Watch ไม่ใช่การชมแบบชมแล้วจบไป (passive) แต่เป็นการชมที่ทำให้เกิดการแชร์ประสบการณ์ร่วม การเชื่อมต่อผู้ใช้เข้าด้วยกัน ทั้งหมดนี้ Facebook Watch ทำได้ด้วยการเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง การเสริมประสบการณ์ด้วยการเปิดฟีเจอร์ให้ผู้ใช้ชมวิดีโอร่วมกัน (Co-watching) เมื่อชมเป็นกลุ่มก็นำไปสู่การโต้ตอบหรือ Interactivity ซึ่งปฏิสัมพันธ์ ความเห็น การกดไลค์ หรือการแชร์จะนำไปสู่การสร้างชุมชนหรือ community ทำให้เกิดกลุ่มคนที่ชื่นชอบในเนื้อหาประเภทเดียวกัน

เมื่อมีการดูวิดีโอร่วมกัน เราพบว่าผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับเนื้อหาได้มากขึ้น 8 เท่าเมื่อเทียบกับการดูคนเดียว เป็นอีกจุดต่างจากแพลตฟอร์มอื่น

ดันอีโคซิสเต็มเกิดในไทย

แมทธิว เฮนนิก หัวหน้าฝ่ายการวางแผนกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ ระบุว่าวันนี้ Facebook Watch พยายามสร้าง 2 อีโคซิสเต็มให้เกิดขึ้นคือการพัฒนาระบบโฆษณา และการลงทุนด้านเนื้อหาของ Facebook Watch เอง โดยส่วนโฆษณา Facebook Watch เริ่มเปิดให้ผู้สร้างวิดีโอใส่โฆษณาคั่นในวิดีโอ (Ad break) ใน 40 ประเทศรวมไทย สถิติล่าสุดคือ Ad break ถูกนำมาปรับใช้ในเพจมากขึ้นกว่า 3 เท่าตัวจากปีที่แล้ว

ตัวอย่าง เพจ Doi (ดอยแม่สลอง สื่อสังคมออนไลน์) ถือเป็นครีเอเตอร์คนไทยที่ใช้ Ad break แล้วประสบความสำเร็จ จากช่วงแรกที่มีทีมงาน 2 – 3 คน ตอนนี้ขยายเป็น 14 – 15 คน ในระบบมีบรรยายซับไตเติลหลายภาษา ทำให้มีการเปิดชมทั่วอาเซียน

สำหรับการลงทุนเนื้อหา Facebook Watch แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือการลงทุนระดับโลก การสร้างเนื้อหาที่ผลิตเองเพื่อเผยแพร่บน Facebook Watch และการร่วมมือกับผู้ผลิตกลุ่มครีเอเตอร์ดิจิทัล

จับมือ 5 แม่เหล็กคอนเทนท์ไทย

ความคืบหน้าล่าสุดของ Facebook Watch ในไทยคือการประกาศจับมือกับ 5 แม่เหล็กในวงการคอนเทนต์ไทย ได้แก่ 1. เวิร์คพอยท์ นำเนื้อหาพรีเมียมจากรายการฮิตอย่าง The Rapper, The Mask Singer, I Can See Your Voice ไปสู่ผู้ใช้ทั่วโลก 2. บีอีซี หรือช่อง 3 ที่จะนำคลิปวิดีโอละครฮิต เบื้องหลังการถ่ายทำ และเนื้อหาฉบับเต็มก่อนการตัดต่อมาฉายบน Facebook Watch 3. เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนต์ ที่จะเน้นรายการตลกและรายการเกมโชว์ 4. วู้ดดี้ ที่ยังไม่เผยรูปแบบรายการ และ 5. ช่อง ONE 31 ช่องละครฮิตจากแกรมมี่ที่เพิ่งเซ็นสัญญาเป็นรายล่าสุด

เพราะคนไทยชอบความบันเทิง หลายคนอยากรู้ตอนต่อไป เมื่อมีความอยากรู้อยากชมจึงสร้างการสนทนาบนโซเชียลได้มากขึ้น

สำหรับรายการวู้ดดี้เวิร์ล จะเป็นรายการนวัตกรรมประเภทใหม่ที่อาจจะชวนผู้สร้างรายอื่นให้มาร่วมกันจนเกิดเป็นคอนเทนต์แบบใหม่ ทำให้เกิดการรับชมร่วมกัน กลายเป็นคอนเทนต์ที่เติบโตได้ด้วยตัวเอง และต่อไปจะมีละครจาก One 31 ซึ่งมีเพจที่สมาชิกสูงถึง 3 แสนคน และเริ่มเปิดให้สมาชิกเลือกตอนจบของละครตามกระแสในโซเชียลแล้ว

เปิดครีเอเตอร์หารายได้โฆษณา

นอกจากผู้สร้างเนื้อหาที่เป็นบริษัทรายใหญ่ นโยบายการช่วยเหลือ ครีเอเตอร์รายเล็ก จะทำผ่านการให้บริการเครื่องมือ ซึ่งครีเอเตอร์สามารถรับโฆษณาคั่นหรือ Ad break ในวิดีโอเพื่อสร้างรายได้ทันทีที่ผู้ติดตามในเพจมีมากกว่า 10,000 คน และต้องมียอดการรับชม 1 นาทีให้กับวิดีโอที่มีความยาวอย่างน้อย 3 นาทีถึง 30,000 ครั้งในช่วง 60 วัน

วิดีโอที่ประสบความสำเร็จบน Facebook Watch จะมีความยาวเท่าใดก็ได้ แต่ถ้าอยากหารายได้คือ 3 นาทีเป็นอย่างต่ำ จุดที่เน้นคือคุณภาพ การเป็นวิดีโอต้นฉบับ และการทำให้ผู้ชมอยากกลับมาดูซ้ำอีก

สิ่งที่ครีเอเตอร์ต้องใส่ใจคือการหาวิธีดึงผู้ชมให้กลับมาชมอีกจนเป็นนิสัย และมีส่วนร่วมกับเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง ขณะที่ทีม Facebook Watch ก็จะพัฒนาระบบที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์รับชม เช่น การไม่ใส่ Ad break จนรำคาญ ผู้ผลิตสามารถเลือกได้ว่าจะใส่โฆษณาคั่นจำนวนเท่าใด และจะมีอัลกอริธึมให้การใส่โฆษณาคั่นทำได้อย่างเหมาะสม.

Source

]]>
1247017
เร่งสร้างรายได้! ช่อง 3 ขายลิขสิทธิ์ละครไทยลงจอเคเบิล-ไอพีทีวี “เกาหลี” ครั้งแรก ลุยต่อ “จีน-อาเซียน” https://positioningmag.com/1245081 Tue, 03 Sep 2019 23:07:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1245081 การ “ขายลิขสิทธิ์” คอนเทนต์ช่อง 3 ที่เก็บสะสมไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะละคร เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หาแหล่งรายได้ใหม่ที่ “บี๋ อริยะ พนมยงค์” ประกาศไว้ในการบริหาร บีอีซี เวิลด์ ให้กลับมากำไรอีกครั้ง   

นับเป็นก้าวแรกในประวัติศาสตร์วงการละคร ที่ละครของประเทศไทย จาก “ช่อง 3” จะได้มีโอกาสออกอากาศบนสถานีโทรทัศน์ของเกาหลี ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตรายการบันเทิงส่งออกระดับโลก ที่ผ่านมาประเทศเกาหลีจึงไม่มีความจำเป็น ต้องนำเข้ารายการโทรทัศน์ของต่างประเทศ ที่ผ่านมาก็มีเพียงซีรีส์ของประเทศจีนไม่กี่เรื่องที่ได้มีโอกาสฉายที่เกาหลีและไทย ถือเป็นประเทศที่ 2 ของเอเชีย ที่สามารถเข้าไปทำตลาดในเกาหลี

โดย TRA Media (ประเทศเกาหลี) ได้ทำข้อตกลงกับ บมจ. เจเคเอ็น โกลบอลมีเดีย (ประเทศไทย) ตัวแทนขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ช่อง 3 เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ละครจากช่อง 3 เบื้องต้น 8 เรื่อง เพื่อนำไปออกอากาศบนสถานี TVA PLUS และ SMILE PLUS ซึ่งออกอากาศครอบคลุมทั่วประเทศเกาหลี

ทั้ง 2 สถานีทีวีเป็นช่องเคเบิลทีวีของประเทศเกาหลีที่ออกอากาศทั่วประเทศ มีเรตติ้งอยู่ที่อันดับต้นๆ จากทั้งหมด 252 ช่อง ของทั้งประเทศ

โดย SMILE PLUS เป็นช่องที่มีทั้งเคเบิลทีวีและไอพีทีวี มียอดสมาชิกกว่า 14.6 ล้านครัวเรือน ส่วน TVA PLUS เป็นเคเบิลทีวีที่มียอดสมาชิกกว่า 12.1 ล้านครัวเรือน โดยก่อนหน้านี้ มีเพียงซีรีส์จากประเทศจีนเพียงประเทศเดียวที่ได้ออกอากาศฉายบน TVA PLUS และ SMILE PLUS อย่างเช่นเรื่อง Hero of Sui and Tang Dynasty (ศึกจอมราชัน), Secret History of Empress เป็นต้น และต่อไปละครของช่อง 3 ก็จะเป็นซีรีส์ต่างประเทศชุดใหม่ที่จะไปออกอากาศบนช่องทีวีเกาหลี

ละครของช่อง 3 ทั้ง 8 เรื่องที่ได้ทำข้อตกลงในการซื้อไว้แล้วได้แก่ บุพเพสันนิวาส, คลื่นชีวิต, นาคี, ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง, รากนครา, ลิขิตรัก (The Crown Princess), บ่วงบรรจถรณ์ และ คมแฝก โดยจะเริ่มออกอากาศในสถานีทีวีเกาหลีภายในปีนี้

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.บีอีซี เวิล์ด กล่าวว่า จากการขายลิขสิทธิ์ละครช่อง 3 ให้ กับ 2 สถานีทีวีเกาหลี ทำให้ละครช่อง 3 เป็นละครจากประเทศไทยเรื่องแรกที่ได้ออกอากาศในประเทศเกาหลี ซึ่งจะทำให้คนเกาหลีที่ชมละครมีโอกาสรู้จักประเทศไทยมากขึ้น ช่อง 3 ยังมีแผนงานขยายตลาดละครในต่างประเทศต่อไปอีก

ขณะนี้ละครของช่อง 3 ได้จำหน่ายไปยังต่างประเทศหลายประเทศ อาทิ ประเทศจีน ฟิลิปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น และกำลังจะบรรลุข้อตกลงในอีกหลายๆ ประเทศ

ปัจจุบันช่อง 3 มีคอนเทนต์ละครเก่ากว่า 100 เรื่อง และมีละครใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น คอนเทนต์ที่ทำตลาดขายลิขสิทธิ์ในต่างประเทศน่าจะอยู่ที่ราว 200 เรื่อง.

]]>
1245081
ลือสนั่น ช่อง 3 คว้า “อริยะ พนมยงค์” จาก LINE ขึ้นแท่น President กลุ่ม BEC https://positioningmag.com/1212194 Mon, 04 Feb 2019 23:07:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1212194 บีอีซี เวิลด์ เจ้าของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ที่บริหารโดยตระกูล “มาลีนนท์” ถึงคราวเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อมีข่าวลือหนาหูว่า ได้มีการทาบทาม “อริยะ พนมยงค์” ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย มารับตำแหน่งใหญ่ตำแหน่งใหม่ President กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้

มีรายงานว่า โครงสร้างใหม่ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ จะเพิ่มตำหน่ง President ขึ้นมาอีกตำแหน่ง เพื่อเข้ามารับผิดชอบงานด้าน operation ทั้งหมดแทน CEO ที่รับตำแหน่งโดย ประชุม มาลีนนท์ ซึ่งได้มีการทาบทามผู้บริหารในวงการหลากหลายราย จนในที่สุดสรุปได้ที่ “อริยะ พนมยงค์” เนื่องจากกลุ่มช่อง 3 ต้องการผู้บริหารมืออาชีพ ที่เข้ามาช่วยฟื้นธุรกิจทีวี ที่กำลังโดนพิษ Disruptive Technology ที่เกิดบริการ OTT (Over The Top) การรับชมคอนเทนต์ทางแอปพลิคชั่น ออนไลน์ และแสวงหารายได้ใหม่ๆ มาเสริม

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

“อริยะ พนมยงค์” นับเป็นหนึ่งในผู้บริหารรุ่นใหม่ High Profile คนหนึ่งของวงการมีเดียและโทรคมนาคม จากหนุ่มนักเรียนนอก เริ่มต้นทำงานในประเทศไทยเมื่อปี 2544 ในกลุ่มทรู กับธุรกิจมือถือ Orange ในยุคบุกเบิก และเข้ามารับผิดชอบงานด้าน Convergence ของกลุ่มทรู ที่มีบริการหลากหลายในกลุ่มโทรคมนาคมและมีเดีย ยาวนานถึง 11 ปี จนในปี 2554 ขยับไปทำงานที่ Google ประเทศไทย ในตำแหน่ง Country Head ทำงานอยู่ 4 ปี ก้าวสู่ตำแหน่งใหม่ กรรมการผู้จัดการ คนแรกของ LINE ประเทศไทย ตั้งแต่ ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน

ไลน์มีผู้ใช้บริการ Line Chat ทั่วประเทศไทยกว่า 44 ล้านคน และมีการเติบโตสูงในธุรกิจ OTT ไลน์ทีวี มียอดดาวน์โหลดคอนเทนต์ทีวีมากกว่า 20 ล้านดาวน์โหลด มีรายได้หลักจากทั้งการขายสติกเกอร์ไลน์ และการจับมือร่วมกับทีวีดิจิทัลหลายช่อง ในการนำละคร และรายการไปรีรันบนไลน์ทีวี

“มีการคาดการณ์กันว่า คุณบี๋-อริยะ จะเข้ามารับหน้าที่หลักในการช่วยกลุ่มช่อง 3 เรื่องการหารายได้ใหม่ของวงการทีวี ด้านการตลาด และการหาพาร์ตเนอร์ใหม่ๆ เพื่อขยายธุรกิจคอนเทนต์ให้เติบโตมากขึ้น แต่จะมารับตำแหน่งเมื่อไรนั้น ต้องรอ Confirm อย่างเป็นทางการก่อน” แหล่งข่าววงการมีเดียกล่าว

ช่อง 3 เตรียมปรับโครงสร้าง

ทางด้านช่อง 3 เอง ได้เตรียมปรับโครงสร้าง รับผู้บริหารใหม่เข้ามา โดยจะต้องมีความเชี่ยวชาญ รู้ทั้งเรื่องการตลาด มีเดีย การสร้าง Network  เพื่อมาช่วยช่อง 3  ที่กำลังต้องรับมือกับการแข่งขันจากทั้งช่องทีวีด้วยกัน และหาโอกาสใหม่ๆ จากการมาของเทคโนโลยี  ทำให้สื่อออนไลน์มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ

หุ้น บีอีซี เด้งขึ้นรับข่าวผู้บริหารใหม่

ราคาหุ้นของ บีอีซี เวิลด์ เริ่มบวกมาตั้งแต่วันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา จากราคา 5.30 บาท ค่อยๆ ขึ้นมาจนปิดตลาดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ อยู่ที่ราคา 6.25 บาท โดยเริ่มขึ้นตั้งแต่มีข่าวลือในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าจะมีการประกาศผู้บริหารมืออาชีพคนใหม่

ทั้งนี้พี่น้องและลูกหลานในตระกูลมาลีนนท์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบีอีซี เวิลด์ รวมกันจำนวน 40.37%

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กลุ่มช่อง 3 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในค่อนข้างมาก ตั้งแต่ ประชุม มาลีนนท์ น้องชายคนเล็กของตระกูล “มาลีนนท์” เข้ามารับตำแหน่ง CEO ตั้งแต่ 21 มีนาคม 2560 พร้อมกับแต่งตั้งมืออาชีพจากภายนอกเข้ามาบริหารงาน เพื่อต้องการไอเดียใหม่ มาช่วยกอบกู้สถานการณ์ของช่อง 3 ที่ต้องเผชิญกับคู่แข่งทีวีดิจิทัล และออนไลน์ ที่เข้ามาแย่งชิง

ผู้บริหารดังกล่าว นำโดย “สมประสงค์ บุญยะชัย” ที่มาจากกลุ่มเอไอเอส ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ที่สุดของไทย แต่ดูเหมือนว่าผลประกอบการของกลุ่มช่อง 3 ลดลงอย่างหนักในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จนผู้บริหารระดับสูงหลายๆ คนทยอยจากไป

เริ่มจาก เดือนกุมภาพันธ์ 2560 สมประสงค์ ลาออกจากตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการบริการ เพื่อเป็นบอร์ดเพียงอย่างเดียว ตามมาด้วยการลาออก และการทยอยหลุดจากตำแหน่งของบรรดาผู้บริหารในทีมของสมประสงค์ ตั้งแต่

  • อาภัทรา ศฤงคารินกุล ลาออกจากตำแหน่ง Chief Technology and New Media Officer เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561
  • ภัทรศักดิ์ อุตตมะโยธิน ลาออกจากตำแหน่ง Chief HR Officer เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561
  • ธงชัย ชั้นเสวิกุล ลาออกจากตำแหน่ง Chief Creative Officer เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561
  • อรนา ตั๋นเจริญ ลาออกจากตำแหน่ง Chief Research Officer เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561
  • วรุณเทพ วัชราภรณ์ พ้นจากตำแหน่ง Chief Marketing Officer เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 และได้ลาออกจากบริษัทอย่างเป็นทางการเมื่อ 31 มกราคม 2562

ทำให้ขณะนี้ตำแหน่งผู้บริหารในกรุ๊ป C Level จากทั้งหมด 13 คนลดลงเหลือเพียง 8 คน ได้แก่ ประชุม มาลีนนท์ Chief Executive Officer, อัมพร มาลีนนท์ Cheif Operating Officer, พิริยดิส ชูพึ่งอาสน์ Chief Financial Officer, รณพงศ์ คำนวณทิพย์ Chief Commercial Officer, ชาคริต ดิเรกวัฒนชัย Chief Coporate Affair Officer, นพดล เขมะโยธิน Chief Investment Officer, น้ำทิพย์ พรหมเชื้อ Chief Strategy Planning Officer และ สมรักษ์ ณรงค์วิชัย Chief Production Officer

โดยผลประกอบการไตรมาส 3/ 2561 พบว่า บีอีซี เวิลด์มีรายได้จากค่าโฆษณา 2,255.8 ล้านบาท ลดลง 11.2% จากช่วงเดียวกันของปี 2560 และลดลง 6% จากไตรมาส 2/2561 โดยบริษัทมีรายได้รวม 2,672.5 ล้านบาท แต่เนื่องจากบริษัทสามารถลดต้นทุนได้มาก จึงทำให้บริษัทกลับมาทำกำไรได้ 78.3 ล้านบาท หลังจากที่ต้องขาดทุนต่อเนื่องติดต่อกันมาตั้งแต่ไตรมาส 4/2560

สำหรับผลประกอบการของทั้งปี 2561 นั้น ยังไม่มีการแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างเป็นทางการ แต่มีการคาดการณ์ว่าจะขาดทุนเป็นปีแรก หลังจากที่ปี 2560 มีกำไรทั้งปีอยู่ที่ 61 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2559 มีกำไรอยู่ที่ 1,218 ล้านบาท.

]]>
1212194
ตระกูล “มาลีนนท์” เขย่าอีกรอบ “ประวิทย์” ขายหุ้นช่อง 3 3 สาวพี่น้อง “รัตนา-นิภา-อัมพร” คุมเบ็ดเสร็จ https://positioningmag.com/1160581 Thu, 08 Mar 2018 09:59:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160581 เปลี่ยนแปลงอีกครั้งแล้ว ตระกูล ”มาลีนนท์” ผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC ซึ่งเป็นผู้บริหารทีวีดิจิทัล 3 ช่อง ทั้งช่อง 3HD, ช่อง 3SD และช่อง 3Family 

ล่าสุด ได้ปรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นในครอบครัว โดยกลุ่ม ”ประวิทย์ มาลีนนท์” ตัดสินใจขายหุ้นในส่วนของลูกชาย วรวรรธน์ มาลีนนท์ ออกไปแล้ว

หลังจากประกาศถอนตัว เมื่อครั้งมีบทบาทสำคัญในการบริหารช่อง 3 มาอย่างยาวนาน เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2559 แล้วส่งไม้ต่อให้น้องชายคนเล็ก “ประชุม มาลีนนท์” เข้ามาบริหารแทนตั้งแต่ 21 มีนาคม 2560

 แม้ “ประวิทย์” จะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจในกลุ่มทั้งหมด หลังประกาศถอย แต่เป็นที่รู้กันว่าคนในองค์กร ทั้งผู้บริหาร ผู้ผลิตและดารานักแสดง ต่างยังให้ความนับถือในฐานะ “นาย” ผู้สร้างอาณาจักร ทั้งเป็นผู้สนับสนุนการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “นาคี” และงานละครดัง ๆ นับไม่ถ้วน

กลุ่ม “ประวิทย์” ขายหุ้นช่อง 3 เหลือเพียง 4.41%

รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับรายงานการขายหุ้นของ BEC โดยนายวรวรรธน์ มาลีนนท์ ลูกชายประวิทย์ มาลีนนท์ จำนวน 29.393 ล้านหุ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มของประวิทย์เหลือหุ้นอยู่ใน BEC ทั้งหมดเพียง 4.41 % เท่านั้น จากเดิมถืออยู่ 5.88% เท่ากับพี่น้องคนอื่น ๆ

จากข้อมูลที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อ 25 สิงหาคม 2560 กลุ่มนายประวิทย์ถือหุ้นผ่านลูกสาวและลูกชายทั้ง 4 คน ได้แก่ อรอุมา วรวรรธน์ วิลิภา และชฎิล ในสัดส่วนคนละ 1.47% รวมเป็น 5.88% แต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 ได้แจ้งการขายหุ้นในส่วนของลูกชาย (วรวรรธน์) เรียบร้อยแล้ว

แม้การเทขายหุ้นออกไปในสัดส่วนที่ไม่มากมายอะไร แต่ก็สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายในครอบครัวอีกครั้ง

พี่น้อง 3 สาว กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุด  

ดังนั้น กลุ่มที่ถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นคือ พี่น้องท้องเดียวกันและเป็นผู้หญิงทั้งหมด ประกอบด้วย รัตนา, นิภา และอัมพร โดยทำการแจ้ง ก.ล.ต.ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 โดยบุคคลทั้งสามได้เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มคนละ 11.538 ล้านหุ้น

เท่ากับว่า บทบาทของสามสาวพี่น้อง “มาลีนนท์” จะมีมากขึ้น

ย้อนดูตัวเลขสัดส่วนหุ้นที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อ 27 สิงหาคม 2560 “รัตนา” 8.41 % “นิภา” และ “อัมพร” ถือหุ้น 5.88% เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงซื้อขายหุ้น (28 กุมภาพันธ์ 2561) จึงส่งผลให้ “รัตนา” ถือหุ้นเพิ่มเป็น 8.98% ส่วนสองคนหลังถือเพิ่มเป็นคนละ 6.46%

หากรวมจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ของ 3 พี่น้องจะเป็นจำนวน 21.9% จากเดิม 20.17%

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ชี้ว่า “การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นชัดว่า อำนาจการบริหารทั้งหมดของบริษัทในขณะนี้ได้อยู่ในมือของ 3 สาวพี่น้องตระกูลมาลีนนท์เรียบร้อยสมบูรณ์”

ปัจจุบัน “อัมพร” นั่งในตำแหน่ง COO ดูแลการผลิตที่เป็น “หัวใจ” หลักของช่อง

ขณะที่ “รัตนา“ ดูแลด้านการเงิน แต่เพิ่งลาออกจากตำแหน่ง CFO และนั่งเป็นบอร์ดบริษัทเพียงตำแหน่งเดียว

ตระกูล “มาลีนนท์” ถือหุ้นรวม 44.56%

กล่าวถึงครอบครัวมาลีนนท์ มีสมาชิกทั้งหมด 8 คน เป็นชาย 4 คน ได้แก่ ประสาร, ประวิทย์, ประชา และประชุม ส่วนผู้หญิง 4 คนคือ รัตนา, นิภา, อัมพร และรัชนี นิพัทธกุศล ทั้ง 8 คนรวมรุ่นลูก ถือหุ้นทั้งหมด 44.56% (ข้อมูล ณ วันที่ 7 มีนาคม 2561)

ซึ่งกลุ่ม “ประสาร” ถือหุ้น 5.90%, กลุ่ม “ประชา” 2.52% , กลุ่ม “ประวิทย์” 4.41%,  กลุ่มของ “ประชุม” 3.95%, กลุ่มของ “รัชนี“ 5.88%, รัตนา 8.98% ส่วนนิภาและอัมพร ถือเพิ่มเป็นคนละ 6.46%

เป็นที่รับรู้กันว่า ตระกูลมาลีนนท์ ในบรรดาลูกชายลูกสาวทั้งหมด ได้รับการจัดสรรหุ้นจาก “วิชัย” ผู้เป็นพ่อในสัดส่วนเท่า ๆ กัน และทุกคนมีสิทธิมีเสียงโหวตได้เท่ากันหมด

ช่วงที่ “ประวิทย์” รับหน้าที่บริหารธุรกิจในเครือทั้งหมด เขาสั่งสมบารมีไว้มาก ด้วยบุคลิกที่อ่อนน้อม ใจดี เข้าหาได้ง่าย ทำให้เขาผูกใจคนไว้มาก โดยเฉพาะพวกดารา ผู้จัด ต่างเคารพนับถือ ในฐานะ “นาย” ตัวจริง

ช่วงนั้นช่อง 3 รุ่งเรืองและร่ำรวยมาก ติดอันดับตระกูลเศรษฐีรวยหุ้นของเมืองไทย บรรดาพี่น้องแฮปปี้อยู่กันอย่างสงบสุข

แต่วันเวลาไม่เหมือนเดิม ทุกสิ่งเริ่มเปลี่ยน โดยเปลี่ยนมือผู้บริหารในตระกูลเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 “ประสาร” เข้ามารับตำแหน่งแทน “ประวิทย์” ที่ลาออกจากเก้าอี้ “กรรมการผู้จัดการ” ด้วยเหตุผลเรื่องสุขภาพ แต่เขายังคงมีอำนาจและบารมีอยู่เบื้องหลัง พร้อมช่วยเหลืองานอยู่บ้าง

“ประสาร” เป็นพี่ชายคนโตที่พี่น้องทุกคนรัก เป็นพี่ใหญ่ที่ช่วยแก้ปัญหาความบาดหมางในกลุ่มพี่น้องด้วยกัน เพราะทุกคนเกรงใจ แม้จะเจอสถานการณ์การแข่งขันดุเดือดของทีวีดิจิทัล

แต่ที่สุด “ประสาร” ก็จากไปด้วยโรคมะเร็งเมื่อเดือนตุลาคม 2559 ทิ้งความโศกเศร้า พร้อมข่าวลือที่ปะทุขึ้นในเรื่องความขัดแย้งของคนภายในครอบครัว

โดยมีเรื่องราวของ “ผลประโยชน์” เข้ามาเกี่ยวข้อง และถึงขั้นลือหนักว่า “ผู้บริหารบางคนมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทที่รับผลิตงานให้กับช่องด้วย”

ทำให้ต้องจัดทัพใหม่ของคนในตระกูลอีกครั้ง แล้ว “ประชุม” น้องเล็กก็ขึ้นกุมบังเหียนแทน โดยได้รับการสนับสนุนจากบรรดาพี่น้องผู้หญิงทั้งหมด พร้อม ๆ กับการลาออกจากทุกตำแหน่งรวมถึงในบอร์ดของ “ประวิทย์” เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2559

ขณะเดียวกัน “ประชุม” เดินหน้าจัดทีมผู้บริหารใหม่ โดยดึง “สมประสงค์ บุญยะชัย” อดีตซีอีโอของอินทัช เข้ามาเป็นกรรมการ BEC ตั้งแต่ 18 มกราคม 2560 และรับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารเมื่อ 27 เมษายน 2560

การมาของ “สมประสงค์” มาพร้อมกับการจัดทัพโครงสร้างผู้บริหารใหม่อีกครั้ง โดยวางระดับบริหาร Chief Executive มากกว่า 10 คน

แต่เมื่อประกาศผลประกอบการของกลุ่ม BEC ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรากฏว่า ผลการดำเนินงานปี 2560 มีรายได้รวม 11,035 ล้านบาท แต่มีกำไรเพียง 61 ล้านบาท รายได้รวมลดลง 10% จากปี 2559 ที่เคยได้ 12,265.8 ล้านบาท แต่กำไรลดลงถึง 95% เป็นตัวเลขรายได้และกำไรน้อยที่สุดตั้งแต่มีทีวีดิจิทัล

พร้อมแจ้งอีกว่า “สมประสงค์” ขอลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร เนื่องจากมีภาระหน้าที่ด้านอื่น ๆ ไม่สามารถมีเวลาให้กับบริษัทได้เต็มที่ แต่ยังคงเป็นกรรมการบริษัทต่อไป มีผลวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันมีข่าวทาบทาม “วรรณี รัตนพล” ประธานบริหาร ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทย เข้ามานั่งตำแหน่งแทน แต่ยังรอการตัดสินใจอยู่

“จุฬางกูร” ดอดถือหุ้น 5.02% 

ที่น่าสนใจ เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2561 มีการแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยว่า “ทวีฉัตร จุฬางกูร” ได้เข้ามาซื้อหุ้นอีก 0.42% รวมกับของเดิมที่มีอยู่ เท่ากับมีหุ้นใน BEC ทั้งหมด 5.02%

ทวีฉัตร จุฬางกูร เป็นทายาทหมื่นล้าน “ซัมมิทกรุ๊ป” เป็นบุตรชายของ “สรรเสริญ จุฬางกูร” เป็นหลานชายของ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีเซียนหุ้นรายใหญ่คนหนึ่ง รวมถึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นกแอร์

ช่อง 3 ในวันนี้จึงเป็นที่ถูกจับตา เหมือนละครโรงใหญ่ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว โดยมีตัวละครเป็นผู้ขับเคลื่อน.

]]>
1160581