Bearhouse – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 29 Jun 2022 03:37:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 BEARHOUSE ชาไข่มุก 100 ล้าน ผุดไซรัป “ชูการ์ฟรี” รายแรก เตรียมเข้าตลาดใน 5 ปี https://positioningmag.com/1387646 Thu, 02 Jun 2022 15:09:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387646 แม้ตลาดชานมไข่มุกในไทยจะแข่งขันกันดุเดือด แต่ก็ไม่วายจะมีแบรนด์ใหม่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีโอกาส และช่องว่างในตลาดเสมอ BEARHOUSE แบรนด์ชานมไข่มุกจาก 2 ยูทูบเบอร์ชื่อดังที่ผันตัวมาทำธุรกิจส่วนตัวที่สร้างแบรนด์ได้ 3 ปี กางแผนพาบริษัทเข้าตลาดฯ ภายใน 5 ปีข้างหน้าให้ได้ ผุดไซรัปสูตร “ชูการ์ฟรี” ตอบรับเทรนด์ดูแลสุขภาพ

อุดเพนพอยท์ ดื่มชาไข่มุกแล้วรู้สึกผิด

ใครที่เป็นสาย YouTube ต้องคุ้นเคยกับช่อง Bearhug กันมาบ้าง ปัจจุบันมีผู้ติดตาม 3.77 ล้านราย ก่อตั้งโดย ซารต์-ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช และกานต์-อรรถกร รัตนารมย์ แต่ด้วยความที่ทั้งคู่เป็นสายท่องเที่ยว สายกิน ชื่อชอบชานมไข่มุกเป็นชีวิตจิตใจ จึงเริ่มต้นสนใจทำธุรกิจชานมไข่มุกเป็นของตัวเอง

แรกเริ่มได้ติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์จากประเทศไต้หวัน แต่สุดท้ายดีลไม่ประสบความสำเร็จ จึงตัดสินใจสร้างแบรนด์ขึ้นมาเอง ในปี 2562 ได้เปิดตัวแบรนด์ BEARHOUSE สาขาแรกที่สยามสแควร์ ใช้ชื่อบริษัท 21 ซันแพสชั่น จำกัด ในการบริหาร มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท

ในช่วงที่เปิดตัวต้องยอมรับว่า BEARHOUSE ค่อนข้างได้รับความสนใจเยอะ ที่ร้านมีคนต่อคิวอย่างเนืองแน่น อย่างแรกคือได้ฐานแฟนคลับ คนที่รู้จักชารต์กับกานต์จาก Bearhug เป็นทุนเดิม แต่อีกประการหนึ่งก็คือ ในตอนนั้นคนไทยคลั่งชานมไข่มุกอย่างมาก แบรนด์ไหนเปิดตัวใหม่ก็พ้รอมที่จะพุ่งตัวไปลอง

ซึ่ง BEARHOUSE ได้ใช้จุดเด่นด้วยการใช้ “ไข่มุกโมจิ” สีขาว ที่จะแตกต่างจากท้องตลาดที่เป็นไข่มุกสีดำ หรือสีทอง เป็นอะไรที่แปลกใหม่ ทำให้หลายคนอยากลองมากขึ้น

กานต์เริ่มเล่าว่า “ย้อนกลับไป 3 ปีก่อนที่เริ่มสร้างแบรนด์ ใช้เวลาพัฒนาแบรนด์ไม่นานมาก จะใช้เวลาเยอะไปกับการเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการไปไต้หวัน ดูตลาดต่างๆ มากกว่า ที่เลือกใช้ไข่มุกโมจิ เพราะส่วนตัวพบ Pain Point ของไข่มุกปกติ ทานเรื่อยๆ แล้วฟันผุเพราะน้ำตาลเยอะ จึงอยากทำไข่มุกที่ไม่ใส่สารกันบูด ไม่ใส่น้ำตาลเยอะ เอาข้าวไทยมาผสม ทำให้ได้เนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากไข่มุกอื่นๆ”

แต่ต้องยอมรับว่าชานมไข่มุกย่อมมาคู่กับ “ความอ้วน” เพราะส่วนผสมมีทั้งน้ำตาล แป้ง ครีมเทียม ทำให้หลายคนกังวลในเรื่องสุขภาพ และรูปร่าง โดยเฉพาะสาวๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก พอทานแล้วจะรู้สึกผิดขึ้นมาทันที จะเห็นได้ว่าหลายแบรนด์พยายามทำสูตร หรือเมนูใหม่เพื่อลดน้ำตาลกันมากขึ้น

BEARHOUSE จึงพัฒนา “ไซรัป ชูการ์ฟรี” หรือน้ำเชื่อมแบบไม่มีน้ำตาล ใช้สารให้ความหวานอื่นๆ แทน ทำให้มีแคลอรี 0% อธิบายง่ายๆ คือตัวน้ำเชื่อมจะให้แคลอรี 0% แต่ถ้าใส่ในเครื่องดื่มก็ยังมีแคลอรีจากส่วนผสมอื่นๆ อยู่นะ ถือว่าเป็นการเปิดตลาดชูการ์ฟรีเต็มตัว

ทั้งกานต์ และชารต์ ร่วมกันเล่าว่า พอคนที่ทานชานมไข่มุกจะมีความรู้สึกผิดเสมอ เลยอยากได้สูตรอะไรที่รู้สึกผิดน้อยลง แต่ยังต้องการความอร่อย ไม่ได้ถึงขนาดอยากกินอาหารคลีน เลยพัฒนาสูตรไซรัปชูการ์ฟรี ทำให้รู้สึกผิดน้อยลง ทำให้ต้องรื้อสูตรทั้งร้านใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับไซรัปตัวนี้

bearhouse

ใช้เวลาพัฒนา 6 เดือน ความยากคือ ส่วนใหญ่สารชูการ์ฟรีจะมีรสชาติเฝื่อนๆ ติดลิ้น จึงใช้เวลานานในการทดลอง ทีม R&D ได้สั่งสารให้ความหวานทดแทนมาลองทั้งหมด มาลองปรุงกับเมนูต่างๆ สุดท้ายมาจบที่ “หล่อฮังก๊วย” พบว่ารสชาติดี เข้ากับได้กับทุกเมนู อีกทั้งยังไม่กระตุ้นเบาหวาน แต่ต้นทุนก็สูงกว่าสารอื่นๆ

นอกจากนี้ยังได้เปิดตัว “เมนูปั่น” 2 เมนูใหม่ “ชานมปั่น Sugar Free syrup” และ “ชาดำยูซุปั่น Sugar Free syrup” โดยใช้ไซรัปใหม่เป็นหลัก ได้ลงทุนเครื่องปั่น เปลี่ยนน้ำแข็ง รื้อสูตรใหม่ให้เข้ากับไซรัปตัวนี้ หวังตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น

ไซรัป ชูการ์ฟรีจะเป็นทางเลือกแก่ลูกค้า หากสั่งเมนูใดๆ แล้วต้องการไซรัปตัวนี้จะเพิ่มเงิน 10 บาท มีการตั้งเป้าว่าลูกค้าในสัดส่วน 20-30% จะเลือกไซรัป ชูการ์ฟรี

ชาไข่มุก 100 ล้าน รายได้แซง YouTuber

BEARHOUSE ได้ขึ้นแท่นเป็นแบรนด์ชานมไข่มุก 100 ล้านบาท ทำให้กานต์ และซารต์ก็พ่วงตำแหน่ง “อายุน้อยร้อยล้าน” เต็มตัวด้วยเช่นกัน เพราะทั้งคู่อายุ 30 และ 29 ปี

โดยในปี 2562 มียอดขาย 17 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 82 ล้านบาท ในปี 2563 ส่วนปี 2564 มีรายได้ 117 ล้านบาท มีกำไรเฉลี่ยปีละ 15% โดยในปี 2565 คาดการณ์มีรายได้ 180 ล้านบาท 

bearhouse

ทำให้ในตอนนี้รายได้จากการขายชาไข่มุกแซงหน้ารายได้จากการเป็น YouTuber ได้แล้ว ปัจจุบันช่อง Bearhug มีรายได้เฉลี่ย 13-14 ล้านบาท เคยมีรายได้สูงสุดอยู่ที่ 30 ล้านบาท แม้รายได้จะต่างกันมหาศาล แต่ทั้งคู่ก็ยังยืนยันว่าจะทำคอนเทนต์ใน YouTube ต่อ

ซารต์ บอกว่า “ทุกวันนี้อยู่ในช่วงปรับตัว วางแผนทุกอย่างใหม่ มีช่วงหนึ่งที่ไม่ได้ลงคลิปเลย ไม่ได้โฟกัสเต็มที่ ตอนนี้ต้องมาจัดเวลาใหม่ เพราะสื่อก็ยังมีความสำคัญ ตอนนี้ให้เวลาธุรกิจ 80% ช่อง Bearhug 20% ต้องกลับมาให้ความสำคัญของ YouTube มากขึ้น เรามองว่ามันเป็นความสุข เป็นวิตามินให้รู้สึกดีต่อร่างกาย แต่ก็ต้องพัฒนาการเป็นผู้บริหาร ทำธุรกิจให้มั่นคงคู่กันไป”

ถ้าถามว่าในอนาคตจะมีธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ ชารต์บอกว่า ตอนนี้มีความลงตัวแล้วธุรกิจชานมไข่มุก เยลลี่ และช่อง YouTube อยากทำให้กระบวนการหลังบ้านแน่นก่อน ยังไม่คิดถึงธุรกิจใหม่

ปัจจุบันสาขาสยามสแควร์เป็นสาขาที่ขายดีที่สุด เมนูยอดนิยมก็คือ ชานมไข่มุก ลูกค้าส่วนใหญ่ทานความหวานระดับ 50% มียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 150-170 บาท/บิล

อยากเข้าตลาดใน 5 ปี ระดมทุนไปต่างประเทศ

ปัจจุบัน BEARHOUSE มีสาขาทั้งหมด12 สาขา เพิ่งเปิดสาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วานเป็นสาขาล่าสุด ในปีนี้เตรียมขยายเพิ่มเป็น 20 สาขา จะกระจายออกนอกตัวเมืองมากขึ้น เช่น โซนราชพฤกษ์ และสายไหม ส่วนในช่วงไตรมาส 4 จะเริ่มบุกต่างจังหวัดแห่งแรก คาดว่าใช้งบลงทุนทั้งหมด 40 ล้านบาท เฉลี่ยลงทุนสาขาละ 2.5-4.5 ล้านบาท ใช้ขนาดพื้นที่สาขาละไม่ต่ำกว่า 50 ตารางเมตร

bearhouse

ส่วนแผนระยะยาวในอีก 4-5 ปี ทั้งคู่อยากพาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อระดมทุนและบุกตลาดต่างประเทศ ในตอนนี้จึงเป็นช่วงวางระบบต่างๆ ให้พร้อม มีเมนูหลากหลาย เปิดเซ็กเมนต์ใหม่ๆ

“คาดว่าจะเข้าตลาดฯ ในอีก 4-5 ปี แต่ตอนนั้นระบบหลังบ้านต้องแน่น อยากได้เงินลงทุนเพื่อไปเปิดตลาดต่างประเทศ มองไว้ทั้งที่เอเชีย และยุโรป ตอนนี้อยู่ในช่วงวางไทม์ไลน์ต่างๆ ต้องมีออดิท ค่อยๆ ทำระบบ เริ่มโฟกัสที่ระบบบัญชีก่อน มองว่าถ้าจะเข้าตลาดฯ รายได้ตอนนั้นต้องเกิน 500 ล้านบาท”

bearhouse

สำหรับความยากในการทำธุรกิจของทั้งคู่ในตอนนี้ มีทั้งเรื่องระบบภายใน และการพัฒนาสินค้าต่างๆ มีบทเรียนต่างๆ จากการทำ “ชานมกระป๋อง” ทำให้ขาดประสบการณ์ด้านการวางแผนสต็อก แต่ก็เป็นข้อผิดพลาดที่เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ประกอบกับการหาบุคลากรที่เก่ง และเข้ากับองค์กรได้ ให้อยู่ด้วยกันไปนานๆ ก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน

ส่วนความท้าทายคือ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าไม่เบื่อ และเลือกแบรนด์ต่อไปในทุกๆ วัน ต้องมีเมนูใหม่ๆ โดยที่ทำให้น้องๆ หน้าร้านทำงานไม่โอเวอร์โหลดด้วย ต้องดีไซน์ให้ชงอร่อย แต่ต้องไม่ใช้พลังงานเยอะเกินไป ถือว่าท้าทายในการทำโอเปอเรชั่น

bearhouse

ส่วนประเด็นที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ แบรนด์ชานมไข่มุกหลายเจ้าได้ถูก “ปลาใหญ่” เทกโอเวอร์ไปมากมาย ทั้ง KAMU KAMU และ Brown ต่างอยู่ภายใต้ชายคาของเครือยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น เพราะเป็นธุรกิจดาวรุ่ง แต่ละเจ้าต้องเสริมพอร์ตตัวเองให้สมบูรณ์

ทั้งคู่ได้ให้ความเห็นว่า ถ้าแบรนด์ใหญ่ติดต่อมา และสามารถทำให้แบรนด์เราเติบโตขึ้นจริงก็ยอมรับได้ เพราะอยากให้แบรนด์เติบโตไปต่างประเทศ แต่ถ้าเป็นการเข้ามาเทกโอเวอร์ แล้วทั้งคู่ต้อง Exit คงไม่เกิดขึ้น เพราะอยากบริหารอยู่

อ่านเพิ่มเติม

]]>
1387646
กว่าจะดัง!! บน YouTube ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ถอดสูตร(ไม่)ลับ ปั้นคอนเทนต์โดนใจสไตล์ “Bearhug” https://positioningmag.com/1242789 Sun, 18 Aug 2019 02:55:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242789 ใช่ว่าทุกความสำเร็จจะโรยไปด้วยกลีบกุหลาบ… กว่าจะมีวันนี้ของช่อง Bearhug พวกเขาต้องใช้ความพยายามและผ่านอะไรมาบ้าง รวมถึงการเลือกใช้ YouTube เป็นเส้นทางในการค้นหาตัวเองของ “กานต์-อรรถกร รัตนารมย์” และเพื่อนๆ ส่งต่อแรงบันดาลใจสู่คนอื่นๆ และด้วย passion ที่มุ่งมั่นนี้เองทำให้เขาเติบโตและเป็นที่รู้จักจนมีคนติดตามเกือบ 3 ล้านคนจากทุกวัย ทั้งไทยและต่างชาติ 

เริ่มรู้จ้กและใช้แพลตฟอร์ม YouTube 

กานต์ เล่าว่าเริ่มรู้จัก YouTube และเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2014 ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษาปี 3 ได้เริ่มลองทำวิดีโอลง YouTube เองแล้วจากนั้นพอทำมาเรื่อยๆ แล้วรู้สึกว่าชอบมาก จากนั้นจึงยึดเป็นงานหลัก เมื่อช่องยูทูบเริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากนั้น 2 ปี ต่อมา ซารต์ ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช (ช่อง Sunbeary Channel) เข้ามาช่วยจึงกลายมาเป็นทีมเดียวกันในที่สุด โดยใช้ชื่อช่อง Kan Atthakorn โดยขณะนั้น ซารต์ เองก็ทำงานหลายอย่างด้วยเช่น เป็นเซลล์ขายไอติม ทำบัญชี รวมทั้งขายประกัน

กว่าจะมาเป็น Bearhug 

เรียกได้ว่า กานต์ ต้องใช้เวลาค้นหาความฝันตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะก่อนหน้านั้นก็เคยทำช่อง The Nerd Creator เขาบอกว่ารู้สึกมีความสุขมากๆ ที่ได้บรรยาย ได้สอน ได้วิเคราะห์อะไรบางอย่างแล้วมาแชร์ให้คนอื่นฟัง “มันเป็นสิ่งที่ทำได้ทุกเวลา ทุกนาทีอยู่แล้ว เลยแฮปปี้มากๆ ที่ได้ทำแชนแนลนั้นขึ้นมา

แต่ปัจจุบันเลิกไปแล้ว เพราะมองว่าการสอนคนอื่น ทำให้ได้เจอลูกศิษย์ คนอื่นก็นับเป็นอาจารย์ แต่ความรู้สึกยังมองว่าตัวเองเด็กไป ที่จะแบกรับความคาดหวังของคนที่มาเข้ามาดูในแชนแนล จึงเก็บความฝันนี้ไว้ทำในวันที่รู้สึกว่าไม่ต้องการอะไรแล้ว คือทำเพื่อการกุศลแบบ 100% ดีกว่า

สำหรับช่อง Bearhug ที่เกิดจากการรวมตัวของ “กานต์และซารต์” พร้อมด้วยทีมงานในปี 2018 เนื้อหามีความหลากหลาย ทั้งการท่องเที่ยว เรื่อง Unseen ต่างๆ แน่นอนว่าต้องพาไปกินของอร่อยๆ

คลิปวิดีโอที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน และการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของทีมงาน ทำให้ Bearhug กลายเป็นช่องยูทูบอันดับต้นๆ มีผู้ติดตามกว่า 3 ล้านคน (ส.ค. 2562)

Bearhug กับการค้นหาตัวเอง 

Bearhug คือ สิ่งที่ กานต์ กำลังค้นหาตัวเอง คอนเทนต์ที่ทำขึ้น เป็นการไหลไปตามที่หัวใจอยากพาไป “ผมมองว่าบางที การที่เราไหลไปตามหัวใจไปเรื่อยๆ มันอาจจะส่งผลต่อคนดูให้รับรู้และได้แรงบันดาลใจจากพวกเราด้วยก็ได้” เพราะมันคือความเป็นธรรมชาติ ซึ่งก็น่าจะเป็นสิ่งที่รายการทีวีส่วนใหญ่ไม่มี คลิปวิดีโอที่ทำออกมา หากกานต์ รู้สึกว่ามันปรุงแต่งดูแล้วมันไม่เป็นธรรมชาติ เขาจะลบมันออกทันที

“เราออกเดินทางมากขึ้น เพราะยิ่งออกเดินทาง ยิ่งพบปะผู้คน ทำให้เรายิ่งค้นพบตัวเองมากขึ้น อนาคตเราอาจจะหยุดทำช่องนี้แล้วตั้งช่องใหม่ขึ้นมาอีกก็ได้”

ด้วยความคิดเช่นนี้ จึงมักถูกถามเสมอว่า ไม่เสียดายยอดซับเหรอ? กานต์ ยอมรับตรงๆ ว่า แรกๆ ก็เสียดาย แต่อาจจะเสียดายมากกว่าถ้าไม่ได้ทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำแล้วแก่เสียก่อน

พวกเรามองว่า ถ้าตัดปัจจัยเรื่องเงินทองออก การเปิดช่องใหม่จะทำให้เราไม่หลงตัวเอง และได้ผู้ติดตามในกลุ่มที่ช่องนั้นนำเสนอจริงๆ เราเลยไม่กลัวที่จะเริ่มใหม่ในสักวันหนึ่ง

แรงบันดาลใจในการนำเสนอช่อง Bearhug

ต้องบอกว่าจุดเริ่มต้นของ Bearhug มาจากการดูรายการทีวีญี่ปุ่น แล้วรู้สึกว่าเป็นรายการในประเทศที่ช่วยสร้างค่านิยม สร้างเศรษฐกิจได้จริง เห็นได้ว่าคนไทยชื่นชอบอาหารญี่ปุ่นกันมาก ซึ่งก็มาจากการรับสื่อจากญี่ปุ่นนั่นเอง ไม่ต่างจากช่วงหนึ่งที่คนไทยนิยมรับสื่อจากฝรั่งมากๆ ก็หันมากินเบอร์เกอร์ ไก่ทอดตามฝรั่ง

เมื่อ ซารต์ ซึ่งเป็นหัวเรือหลักของช่อง ก็มี passion ด้านการตามล่าหาอาหารอร่อยด้วยสกิลที่สูงมากๆ ทุกอย่างก็พร้อมแล้ว “ทำไมเราไม่ทำสื่อเกี่ยวกับอาหารดีๆ สนุกๆ” จะได้มีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในประเทศไทยด้วย แม้บางคลิป Bearhug ไปกินอาหารกันที่ต่างประเทศก็จริง แต่คนดูแล้วรู้สึกหิว เขาก็ต้องออกไปหาของกินในประเทศอยู่ดี  

“เชื่อว่าวันนี้ผู้ชมน่าจะจดจำ Bearhug ได้ว่าเป็นอะไรที่เกี่ยวกับอาหาร เมื่อนึกถึงช่องอาหาร ต้องมีชื่อเราแน่ๆ เพราะกลุ่มคนดูมีอยู่ทั่วประเทศ ทุุกเพศ ทุกวัย และยังมีแฟนผู้ชมจากต่างประเทศอีกด้วย”  

เสน่ห์อะไรของ Bearhug ที่ทำให้แฟนคลับติดตาม 

จุดเด่นของช่อง Bearhug เป็นเรื่องการตัดต่อ “เราใส่ใจกับการตัดต่อ พอสมควร ช่วงที่ช่องปล่อยคลิปครบ 140 คลิป ต้องบอกว่าดราฟที่แก้กันหลังบ้านมีทั้งหมดกว่า 600 คลิป นั่นหมายความว่า ใน 1 คลิปมีการตัดต่อ แก้ไข เพิ่มเติม คลิปละ 4.28 ดราฟ ไม่ใช่ว่าทีมตัดไม่ดี แต่มีรายละเอียดเยอะมากและต้องเลือกว่าส่วนไหนควรตัดออกหรือควรเพิ่มเติม 

เสน่ห์ของช่อง Bearhug เนื้อหามันไม่ได้ย่ำอยู่กับที่ แต่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามความคิดที่โตขึ้น และโลกกว้างที่พบเจอ สไตล์ของ Bearhug ต่อให้ไปกินก๋วยเตี๋ยวร้านเดิมกับปีที่แล้ว แต่วิธีการเล่าเรื่องก็ไม่เหมือนเดิมจากวิธีมองโลกที่เปลี่ยนไปของทีมงาน 

ปัจจุบันมี YouTube Creator เกิดขึ้นเยอะมาก วิธีคิดคอนเทนต์ในแต่ละคลิปของ Bearhug จึงต้องแตกต่างจากช่องอื่นๆ กานต์จะบอกกับตัวเองอยู่เสมอว่า “ห้ามตัวเองดูคนอื่น” 

โอกาสของ YouTube Creator

ในฐานะ YouTube Creator ยุคแรกๆ ถือว่าได้โอกาสมากมาย ทั้งเงินทอง ชื่อเสียง ตามแบบฉบับของทุกคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก แต่สำหรับ กานต์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การเปิดโอกาสให้ได้ทำงานร่วมกับ ซารต์”

“ต้องบอกว่า ซารต์ เป็นคนที่ลากผมไปในที่ที่ผมไม่อยากไป ไปเจอกับผู้คนมากมาย แล้วเราก็ได้พัฒนาตัวเองอย่างรวดเร็ว”

ด้วยนิสัยแบบ Aggressive Extrovert ของ “ซารต์” (คือเป็นคนที่กระตือรือร้นในการเดินทางท่องเที่ยว ชอบพบปะผู้คนใหม่ๆ และรักษาความสัมพันธ์กับคนได้เก่ง) เรียกว่าตรงข้ามกับ กานต์ ที่ออกแนว Introvert ถ้าอยู่คนเดียว คืออยู่หน้าคอมพ์ทั้งวัน หรือไม่ก็เข้าป่า  

เห็นความเปลี่ยนแปลง YouTube Creator อย่างไร

วันที่เริ่มต้นในปี 2014 หากบอกใครๆ ว่าเป็น YouTube Creator ณ วันนั้นเหมือนเป็นตัวประหลาด ทุกคนสงสัยว่าทำไม? อาชีพอะไร? ทำมาหากินยังไง? แต่มันก็เป็นเรื่องปกติที่จะไม่มีคนเข้าใจ เพราะ ณ วันที่เริ่มทำวันแรก กานต์ ก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย แค่สงสัยว่าทำไมฝรั่งเขามีกัน แล้วทำไมคนไทยไม่มี แค่นั้นเอง จึงเป็นสิ่งท้าทายให้ลองทำดูบ้าง เพราะอยากรู้ว่าจะเป็นอย่างไร

มาถึงวันนี้ กลายเป็นว่าอาชีพ YoutTbe Creator เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ใฝ่ฝันอยากจะเป็น ในสหรัฐฯ เด็กๆ บอกว่าอยากเป็น YouTuber มากกว่านักบินอวกาศไปเสียแล้ว  

วันนี้งบโฆษณาก็มาทางออนไลน์มากขึ้น สินค้าและแบรนด์ต่างๆ เองก็อยากมาลองลงทุนในวิดีโอคอนเทนต์ด้วยเหมือนกัน ปัจจุบันมีลูกค้าหลายรายที่ bearhug ประเดิมทำโฆษณาออนไลน์ให้ และก็ติดใจมาใช้บริการเรื่อยๆ จึงมองว่า YouTube เป็นช่องทางของคนมีไอเดียเจ๋งๆ และสามารถทำเป็นอาชีพได้แบบสบายๆ แถมได้ทำอะไรที่่ถนัดและชื่นชอบไปในเวลาเดียวกัน 

YouTube Creator ที่ดีมีคุณภาพต้องเป็นแบบไหน 

สำหรับ กานต์ บอกว่าชอบดู YouTube Creator ที่ให้คุณค่าบางอย่างกับคนดู ไม่ว่าจะเป็นความบันเทิง ความรู้ หรือได้นำความรักของตัวเองมาเป็นคอนเทนต์ ที่สร้างแรงบันดาลใจได้ ส่วนมากคอนเทนต์ที่เป็นแบบนี้จะยั่งยืน มาถึงวันนี้ Creator หน้าใหม่ เชื่อว่าหลายคนคงรู้อยู่แล้วว่าต้องทำคอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง รู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่เหนือสิ่งอื่นใดที่ยากที่สุดในชีวิตของ Bearhug คือการที่ต้องรู้ว่า “เราควรจะไม่ทำอะไรบ้าง” ต่างหาก

รายได้หลักของ Bearhug มาจากไหนบ้าง

ช่องทางการหารายได้ของ Bearhug มาจากยอดวิวและสปอนเซอร์ แต่ช่วงหลังรายได้จากสปอนเซอร์น้อยลง เพราะ Bearhug ไม่ใช่ทีมที่เกิดมาเพื่อทำโฆษณาตั้งแต่แรก ทำให้ความยืดหยุ่นในการรับงานจึงน้อยกว่าคนอื่นๆ  

บันไดอีกขั้นกับธุรกิจ “ชานมไข่มุก”

จากจุดเริ่มต้นเส้นทาง YouTube Creator วันนี้ Bearhug ได้ก้าวสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ “ชานมไข่มุก” Bear House กานต์ เล่าว่าเกิดจากจุดที่สมองมันเรียกร้องตลอดเวลาว่าให้ทำได้แล้ว เป็นความรู้สึกเหมือนมีฟ้าร้องในใจตลอดเวลาทั้งๆ ที่ชีวิตก็ดีอยู่แล้ว แต่เชื่อว่า บางที ตัวตนข้างในก็พยายามบีบให้ได้ทำบางสิ่งที่จะพาไปสู่ขั้นบันไดต่อไปของชีวิตเหมือนกัน

“ซารต์ เป็นหัวเรือหลักการเปิดธุรกิจร้านชานมไข่มุก Bear House เพราะฝันอยากทำร้านของหวาน แต่เราเริ่มต้นจากชานมไข่มุก เพราะกินทุกวัน และหลงใหลมันมากๆ ตอนไปเที่ยวไต้หวัน”

ตอนแรกเริ่มจากการติดต่อซื้อแฟรนไชส์ชานมไข่มุกที่ไต้หวัน แต่คุยไปคุยมาแล้วรู้สึกว่ามีข้อกำหนดเยอะมาก จึงลงมือทำกันเองน่าจะดีกว่า เพราะเป็นคนที่ชอบทำอะไร ที่กำหนดชีวิตตัวเองได้และสร้างความยั่งยืนได้

แนวคิด คือการเริ่มต้นทำไข่มุกสไตล์คนไทยขึ้นมาเอง เริ่มตั้งแต่การศึกษาวิธีทำไข่มุก เข้าครัว พัฒนาสูตรเอง ลองผิดลองถูก จนได้ “ไข่มุกสูตรพิเศษที่คิดค้นเอง เรียกว่า ไข่มุกโมจิ” เริ่มเปิดสาขาแรกย่านสยามสแควร์ ริมถนนอังรีดูนังต์  

รายได้จากชานมไข่มุก ไม่ใช่สิ่งที่ผลักพวกเราให้วิ่งต่อ แต่เป็นอะไรก็ไม่รู้ข้างในตัวเรานี่แหละ รู้ตัวอีกทีก็ตกหลุมรักไปซะแล้ว ความรู้สึกเหมือนเริ่มเป็น YouTube Creator ใหม่ๆ

แม้จะเป็นเจ้าของธุรกิจแต่ยังแบ่งเวลาทำหน้าที่ YouTube Creator ต่อไป เพราะความผูกพันตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ Bearhug คือชีวิตของ “กานต์กับซารต์” ไปแล้ว.

]]>
1242789
“Bearhug” จาก YouTuber ผู้ติดตาม 2.8 ล้าน สู่เจ้าของ “ร้านชาไข่มุก Bearhouse” กับเป้าหมายรายได้ 15 ล้านบาทในปี 2019 และภายใน 2 ปีต้องมี 5 สาขา https://positioningmag.com/1234709 Fri, 14 Jun 2019 12:59:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1234709 จับอาชีพ YouTuber มา 3 ปี จนมีผู้ติดตามกว่า 2.8 ล้าน Subscription สำหรับช่อง “Bearhug” ซึ่งทำคอนเทนต์เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ การท่องเที่ยวและอาหาร หลังจากตะเวนกินมาแล้วทั้งในและต่างประเทศ หนึ่งในเมนูที่ซารต์ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช” ชื่นชอบมากที่สุดคือชานมไข่มุกที่ประเทศไต้หวัน

หลังจากได้กินแล้วเลยมีความคิดว่าทำไมต้องทำชาไข่มุกไต้หวันในไทย ให้คนไทยมาต่อคิว ทำไมไม่ทำของไทยให้คนต่างชาติมาต่อคิวบ้างจึงปรึกษากับกานต์อรรถกร รัตนารมย์และด้วยนิสัยที่อยากทำอะไรต้องทำเลย ไม่อยากรออีกแล้วจึงลุกขึ้นมาทำ ณ ตอนนั้นเลย โดยเริ่มต้นเมื่อราว 1 ปีก่อน

ตอนแรกคิดจะนำแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาก่อน ทั้งคู่จึงเดินทางไปทั้งไปตามที่ต่างๆ ทั้งไต้หวันซึ่งเป็นดินแดนต้นตำหรับของชาไข่มุก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ พร้อมกับภีรภัทร แจ้งยอดสุขที่ปรึกษาการตลาดซึ่งมีประสบการณ์ทั้งยูนิลีเวอร์ ธนาคารกสิกรไทย และปัจจุบันทำงานอยู่ที่เถ้าแก่น้อย เดินทางไปพร้อมกัน

สิ่งที่พบคือนอกจากจะต้องจ่ายเงินค่าแฟรนไชส์หลัก 10 ล้านบาทหากจะนำเข้ามา การเป็นแฟรนไชส์ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้เลย ด้วยตามลักษณะของคนไทย การทำต้นฉบับมา 100% อาจจะไม่ถูกปากจึงต้องปรับกันบ้างอีกทั้งหากต้องการทำเมนูใหม่ๆ ต้องขอบริษัทแม่ก่อนซึ่งบ้างครั้งอาจจะไม่ทันรายอื่นๆ

ในที่สุดจึงลุกขึ้นมาทำเองเมื่อ 6 เดือนก่อนจึงบินไปเรียนการทำไข่มุกที่เชียงใหม่ กับชาวไต้หวันที่มีสูตรการทำไข่มุกของตัวเองอยู่แล้ว หลังจากนั้นจึงนำมาปรับสูตรด้วยตัวเอง ซึ่งกานต์พูดติดตลกว่าถึงทำอาหารไม่เก่ง แต่ชิมเก่งมาก ลองผิดลองถูกมาพักใหญ่จึงออกมาเป็นไข่มุกโมจิ

โดยไข่มุกสูตรเฉพาะที่คิดค้นและทำเองมีแป้งข้าวไทยเป็นส่วนประกอบ มีความหนึบหนับ มีกลิ่นโมจิ มีความไม่กลมและมีขนาดพิเศษ 7mm (เล็กกว่าปกติ) ส่วนสูตรชาก็คิดขึ้นเองทั้งหมด พยายามใช้วัตถุดิบในเมืองไทยเป็นหลัก ยกเว้นบางอย่าง เช่น ชาเขียวที่นำมาจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ถึงตลาดชาไข่มุกค่อนข้างแข่งกันรุนแรง แต่ตลาดมูลค่าราว 2,500 ล้านบาท ยังมีโอกาสเติบโต เพราะเมื่อเทียบกับตลาดร้านกาแฟ 17,000 ล้านบาท เล็กกว่าถึง 7 เท่า ซึ่งชาไข่มุกมีโอกาสพัฒนาไปแมสเหมือนกับกาแฟได้ ที่สำคัญเมนูนี้ไม่จำเป็นต้อง Educate ตลาดแล้ว ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดี

ทั้งคู่ใช้ชื่อร้านแรกว่า Bearhouse” จับตลาดกลาง – บน ซึ่งเป็นเซ็กเมนต์เดียวกับแบรนด์เช่น KOI Thé ซึ่งแม้ตลาดนี้จะมีคู่แข่งมาก หากแต่ละรายก็มีจุดเด่นที่ไม่เหมือนกัน อย่างร้านที่ทำก็เด่นเรื่องไข่มุกทำเอง โดยขายราคาเริ่มต้นรวมไข่มุก 75 บาทไปจนถึงหลักร้อยต้นๆ

เบื้องต้นได้มีการตั้งบริษัทชื่อบริษัท 21 ซันแพสชั่น จำกัด ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ถือหุ้น 50:50 โดยซารต์อยู่ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ และ กานต์เป็นผู้จัดการทั่วไป ใช้งบลงทุนกว่า 8 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าครึ่งถูกไปกับเครื่องจักรสำหรับทำไข่มุก โดยสร้างครัวกลางที่เขตประเวศมีกำลังผลิต 70 – 80 กิโลกรัมต่อวัน

ส่วนที่สองการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีทีม 3 คนและสุดท้ายการทำร้านสาขาแรกที่สยามสแควร์ ริมถนนอังรีตูนังต์ ซึ่งเป็นย่านไข่แดงของชาไข่มุก เหตุที่เลือกปักหมุดที่นี่เพราะเป็นย่านที่มีวัยรุ่น นักศึกษา และวัยเริ่มทำงาน หรือกลุ่มเฟิร์สจ๊อบเบอร์อยู่มาก ซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลักของชาไข่มุก

ตัวร้านได้เริ่ม Soft Opening ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน ปัจจุบีนมียอดขาย 700 – 800 แก้วต่อวัน ซึ่งที่ผ่านมาพบมีการต่อคิวอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากกระแสของแฟนคลับที่ติดตามจำนวนมากอยู่แล้ว แต่ทั้งคู่ก็ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า

การทำร้านชาไข่มุกไม่ได้ทำมาขายให้แฟนคลับอย่างเดียว ถ้าจะทำอย่างนั้นจริงคงเอารูปตัวเองไปทำเป็นโลโก้ของร้านแล้ว แต่ที่ออกมาทำร้านเพราะอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองจริงๆ เป็นแผนที่วางไว้อยู่แล้ว สำหรับ YouTuber จะทำต่อไป แม้ตอนนี้เวลา 70% จะถูกทุ่มให้กับดูแลร้าน ต่อไปจะปรับให้เท่ากัน

วันนี้ (14 มิถุนายน) เป็นเปิดตัวอย่างเป็นทางการ หลังจากนี้ตั้งเป้ายอดขายวันละ 1,000 แก้วคาดปี 2019 มียอดขายรวม 15 ล้านบาท ภายใน 2 ปีตั้งเป้าขยายสาขาในรูปแบบ Full Scale ทั้งหมด 5 สาขา ทั้งสาขาศูนย์การค้าและสแตนอโลน

แม้ตอนนี้มีผู้สนใจติดต่อขอเป็นแฟรนไชส์จำนวนมาก แต่ยังไม่พร้อมเพราะต้องปรับปรุงอีกหลายจุด เช่น การทำชาไข่มุกให้เร็วขึ้น ทุกวันนี้ยังต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ กับร้านอีกมาก ซึ่งหากอยู่ตัวจึงจะเริ่มขยับตัวต่อไป อีกทั้งยังคิดไกลขนาดบุกไปเปิดในต่างประเทศและส่งออกไข่มุกเป็นวัตถุดิบด้วย

ไม่ใช่แค่นั้นยังได้วางแผนต่อยอดไปยังเมนูอื่นๆ ที่อยู่ในเซ็นเมนต์ของหวานเหมือนกัน เร็วๆ นี้เตรียมวางขายไอศกรีมมีทั้งหมด 4 รสชาติ ราคา 79 บาท แม้จะขยายเมนูมากขึ้นแต่ทุกร้านจะใช้ชื่อ “Bearhouse” เหมือนกัน

อย่างไรก็ตามการลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของธุรกิจในวัย 26 และ 27 ปี ถือเป็นความท้าทายอยู่ไม่น้อย แต่กานต์ก็เปรียบว่า การทำร้านเหมือนกับการเรียนปริญญาโท และปริญญาเอกแต่ไม่มีใบปริญญา ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตัวตนเอง

กลายเป็นว่าการทำร้านกลับจุดไฟให้กับการทำ YouTuber ด้วย เพราะยิ่งทำให้อยากออกไปเจอผู้คนต่างๆ นำแนวคิดกลับมาปรับปรุงร้านของตัวเอง

รูป : Bearhouse

]]>
1234709