Deloitte – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 14 Jun 2024 09:09:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Work-Life Balance” สำคัญต่อใจพนักงาน “Gen Y – Gen Z” มากที่สุดในการเลือกงาน ข้อมูลวิจัยจาก “ดีลอยท์” https://positioningmag.com/1478243 Fri, 14 Jun 2024 08:44:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478243
  • “ดีลอยท์” สำรวจตลาดแรงงานกลุ่ม “Gen Y – Gen Z” ในไทย พบว่าความกังวลสูงสุดของพนักงานยุคนี้คือเรื่อง “ค่าครองชีพ”
  • ปัจจัยสำคัญสูงสุดของทั้งสองเจนในการเลือกงานคือเรื่อง “Work-Life Balance” ส่วนปัจจัยที่ผลักดันให้ลาออกสูงสุดคือเกิดภาวะ “Burn Out”
  • “ดีลอยท์” จัดทำสำรวจ Global 2024 Gen Z and Millennial Survey ต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 เพื่อสำรวจมุมมองเชิงลึกของคนทำงานในสองรุ่นนี้ การสำรวจประกอบด้วยหลายหัวข้อ โดยในบทความนี้จะหยิบไฮไลต์เฉพาะเรื่องสภาพจิตใจและความกังวล รวมถึงเรื่องปัจจัยในการเลือกสถานที่ทำงานมานำเสนอ

    การสำรวจครั้งล่าสุดประจำปี 2567 นี้ดีลอยท์มีการสำรวจทั้งหมด 22,841 คน จาก 44 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลเจาะลึกเฉพาะใน “ประเทศไทย” ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 301 คน แบ่งเป็น Gen Z จำนวน 201 คน และ Gen Y จำนวน 100 คน

    (หมายเหตุ: การสำรวจปี 2567 กลุ่มคน Gen Y หมายถึงคนวัย 30-41 ปี และคน Gen Z หมายถึงคนวัย 19-29 ปี)

    ดีลอยท์
    ดร. โชดก ปัญญาวรานันท์ ผู้จัดการฝ่าย Clients & Market ดีลอยท์ ประเทศไทย และ มานิตา ลิ่มสกุล ผู้จัดการอาวุโส ฝ่าย Human Capital ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง

    จุดร่วมคนสองวัยกังวลเรื่อง “ค่าครองชีพ”

    ด้านสุขภาพจิตและความกังวลหลักนั้น ดีลอยท์สำรวจพบว่าคนไทยทั้งสองเจนเนอเรชันมีจุดร่วมเดียวกันคือกังวลเรื่อง “ค่าครองชีพ” และสอดคล้องกับความกังวลของคนทั้งโลก

    อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างคือ Gen Z กังวลเรื่อง “การว่างงาน” มากกว่า Gen Y ด้วยข่าวการปลดพนักงานที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ Gen Z ซึ่งเป็นวัยที่เพิ่งเริ่มทำงานไม่นาน ประสบการณ์น้อย จึงกังวลว่าตนจะถูกเลย์ออฟก่อนในบริษัท ในทางกลับกัน Gen Y จะกังวลเรื่อง “เสถียรภาพทางการเมืองและสงคราม” มากกว่า เพราะมองภาพกว้างว่าปัจจัยนี้อาจมีผลกระทบต่อผลประกอบการบริษัท

    3 อันดับเรื่องที่ “Gen Z” กังวลมากที่สุด

    อันดับ 1 ค่าครองชีพ (37%)

    อันดับ 2 การว่างงาน (36%)

    อันดับ 3 ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง (21%)

    3 อันดับเรื่องที่ “Gen Y” กังวลมากที่สุด

    อันดับ 1 ค่าครองชีพ (37%)

    อันดับ 2 ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง (26%)

    อันดับ 3 เสถียรภาพทางการเมืองและสงคราม (24%)

    ในแง่ “สุขภาพจิต” ของคนทั้งสองเจนนั้น 42% ของ Gen Z และ 60% ของ Gen Y รู้สึกว่าสภาพจิตใจโดยรวมสบายดี ถือว่าเป็นภาพที่ดีกว่าการสำรวจปีก่อน มีความเครียดน้อยลงทั้งสองรุ่น

     

    “Work-Life Balance” สำคัญสูงสุดในการเลือกงาน

    การสำรวจในแง่มุมของการทำงานและสถานที่ทำงาน ดีลอยท์พบว่าคนไทยทั้งสองเจนเนอเรชันมีแนวคิดสำคัญร่วมกันคือ ต้องการทั้งเรื่องสมดุลชีวิตกับการงาน หรือ “Work-Life Balance” และต้องการให้งานสร้าง “โอกาสการพัฒนาตนเอง” ได้ทำงานที่มีความหมายด้วย โดยมีรายละเอียดแต่ละหัวข้อ ดังนี้

    3 เหตุผลหลักในการ “เลือกงาน” ของคนไทย

    อันดับ 1 Work-Life Balance (Gen Z 33% / Gen Y 37%)

    อันดับ 2 โอกาสการพัฒนาและเรียนรู้ทักษะจากงาน (Gen Z 30% / Gen Y 34%)

    อันดับ 3 รู้สึกว่างานให้ความหมายกับชีวิต (Gen Z 28% / Gen Y 27%)

    3 เหตุผลหลักที่ทำให้ “ลาออก” ครั้งล่าสุด

    อันดับ 1 Burn Out หมดไฟในการทำงาน (Gen Z 29% / Gen Y 14%)

    อันดับ 2 รู้สึกไม่ได้พัฒนาเรียนรู้ทักษะจากงาน (Gen Z 25% / Gen Y 29%)

    อันดับ 3 ไม่มีโอกาสเติบโตในองค์กร (Gen Z 23% / Gen Y 15%)

    3 สาเหตุที่ทำให้ “เครียด” จากการทำงาน

    อันดับ 1 ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างาน (Gen Z 59% / Gen Y 54%)

    อันดับ 2 ชั่วโมงการทำงานยาวนานเกินไป (Gen Z 51% / Gen Y 68%)

    อันดับ 3 รู้สึกว่าการตัดสินใจในที่ทำงานไม่ยุติธรรมและไม่เท่าเทียมกัน (Gen Z 50% / Gen Y 47%)

    ทั้งนี้ เมื่อถามถึงมุมมองความคิดว่าองค์กรควรจะทำอย่างไรให้ Work-Life Balance ของพนักงานดีขึ้น มีข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ เช่น บริษัทควรจะกระจายภาระงานให้มีคนช่วยกันทำมากขึ้น และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้พนักงานใช้วันลาพักร้อนให้หมด

     

    “เข้าออฟฟิศ” มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

    อีกประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวกับ Work-Life Balance คือเรื่อง “สถานที่ทำงาน” หลังโควิด-19 ทำให้ประเด็นเรื่องสถานที่ทำงานเป็นที่ถกเถียงกันว่าพนักงานควรจะเข้าออฟฟิศทั้งหมด ทำงานแบบไฮบริดเข้าบ้างไม่เข้าบ้าง หรือให้ทำงานออนไลน์ทั้งหมด

    จากการสำรวจล่าสุด พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ถูกเรียกตัวเข้าออฟฟิศแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • เข้าออฟฟิศทุกวัน
      Gen Z 43% / Gen Y 53%
    • ระบบไฮบริด เข้าออฟฟิศบางวัน
      Gen Z 48% / Gen Y 41%
    • ทำงานออนไลน์ทุกวัน
      Gen Z 10% / Gen Y 6%

    งานสำรวจครั้งนี้ยังพบด้วยว่า คนไทย Gen Z มองว่าการ “เข้าออฟฟิศ” มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

    ข้อดีจากการเข้าออฟฟิศ เช่น ความร่วมมือในการทำงานและความรู้สึกสนิทสนมกับคนที่ทำงานดีขึ้น ทำให้แบบแผนในการทำงานแต่ละวันเป็นระบบดีกว่า รู้สึกมีส่วนร่วมกับองค์กรและเพื่อนที่ทำงานมากกว่า

    แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน เช่น บริหารเวลาได้แย่ลงเพราะต้องฝ่ารถติด เพิ่มค่าใช้จ่ายการเดินทาง เกิดความเครียดในการแบ่งเวลา

    ดังนั้น องค์กรอาจจะต้องปรับสมดุลเรื่องการเข้าออฟฟิศว่าส่วนผสมใดที่จะลงตัวสำหรับคน Gen Z และ Gen Y ไทย เพื่อดึงดูดให้ทาเลนต์ต้องการมาทำงานกับองค์กรมากขึ้น เพราะทั้งสองเจนเนอเรชันนี้กลายเป็นแรงงานหลักในองค์กรไปแล้ว ทำให้การทำความเข้าใจความต้องการของพวกเขาคือเรื่องสำคัญยิ่ง

    (*สนใจอ่านรายงาน Global 2024 Gen Z and Millennial Survey ฉบับเต็มคลิกที่นี่)

     

    อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

    ]]>
    1478243
    ดีลอยท์ชี้ ไทย ติด 1 ใน 5 ชาติเอเชีย แหล่งผลิตของโลกแทนที่จีน https://positioningmag.com/1091271 Wed, 11 May 2016 09:12:56 +0000 http://positioningmag.com/?p=1091271 จากรายงาน ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตทั่วโลกปี 2559 (2016 Global  Manufacturing Competitiveness Index : GMCI) ซึ่งจัดทำโดย กลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม ของดีลอยท์ โกลบอล ( Deloitte Global Consumer & Industrial Products Industry group)  และคณะกรรมการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐ (US Council on Competitiveness) ระบุว่า กลุ่ม MITI-V (Mighty 5) หรือ 5 ชาติเอเชีย ประกอบด้วย มาเลเซีย(M), อินเดีย(I), ไทย(T), อินโดนีเซีย(I) และเวียดนาม (V) มีแนวโน้มจะผงาดขึ้นมาติดกลุ่ม 15 อันดับของประเทศที่ความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตของโลกภายในปี 2563  และน่าจะขึ้นมาแทนที่จีนได้ พิจารณาจากแรงงานต้นทุนต่ำ ความสามารถคล่องตัวด้านการผลิต โครงสร้างด้านประชากรศาสตร์ รวมถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

    ทั้งนี้การคาดการณ์ข้างต้น ได้มาจากการวิเคราะห์เชิงลึกจากการสำรวจประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ผู้นำระดับสูงของบริษัทในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกกว่า 500 ราย และจากการรวบรวมข้อมูล ในรายงาน ปี 2553 และปี 2556 อ้างความเห็นของผู้บริหารจากประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตในปัจจุบันและอนาคต 40 อันดับแรก และยังได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในเรื่องความสามารถแข่งขันด้านการผลิตทั่วโลกในอันดับต้นๆอีกด้วย (ตามตารางจัดอันดับ)

    สุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ ดีลอยท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ถึงแม้อันดับความสามารถในการแข่งขันของ 4 ประเทศ MITI-V ยกเว้นเวียดนาม โดยรวมระหว่างปี 2556 และ 2559 จะลดลง แต่เมื่อมองภาพรวมกลุ่มประเทศ MITI-V อาจเห็นประเทศเหล่านี้เป็นทางเลือกดึงดูดใจในแง่การเติบโตของตลาดและเศรษฐกิจรวมถึงการขยายตัวของฐานผู้บริโภค

    “กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทยและเวียดนาม ยังคงดึงดูดความสนใจของผู้ผลิตทั่วโลก ที่มองหาทางเลือกอื่นนอกจากจีน โดยสามารถใช้ประโยชน์ จากแรงงานที่มีทักษะ และความสามารถในการผลิตของแรงงานมีมากขึ้น รวมถึงต้นทุนแรงงานการผลิตที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับจีน”

    รวมทั้งความได้เปรียบอื่นๆที่กลุ่มประเทศ MITI-V มีให้ผู้ผลิตทั่วโลกนั้น รวมถึงแรงจูงใจทางภาษีมีมากมาย ทั้งระยะการปลอดภาษี 3 -10 ปี การยกเว้นภาษี หรือลดภาษีนำเข้า และการลดภาษีสินทรัพย์ประเภททุน และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเกี่ยวข้องกับการส่งออก

    ส่วนในระดับโลกคาดว่าสหรัฐจะขึ้นเป็นประเทศมีขีดความสามารถแข่งขันทางการผลิตมากที่สุด ในอีก 5 ปีข้างหน้า  โดยจีนซึ่งปัจจุบันอยู่อันดับหนึ่งจะหล่นลงมาอยู่อันดับ 2

    สุภศักดิ์ กล่าวว่า คำว่า “เมดอินยูเอสเอ” กำลังจะหวนกลับมา ตรงข้ามกับมุมมองที่ว่า การผลิตในสหรัฐลดลงตลอดเวลา การผลิตในอนาคตจะต้องมีเทคโนโลยีก้าวหน้า มีการเจริญเติบโตโดยใช้นวัตกรรมในการผลิต การผลิตจะเน้นความยั่งยืน ความอัจฉริยะและความปลอดภัย ซึ่งคาดว่าสหรัฐจะเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนโฉมของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต

    สิงคโปร์เป็นประเทศที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งผลิตต้นทุนค่อนข้างสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังคงติดกลุ่มประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในภูมิภาคในอนาคต ด้วยเพราะแรงงานที่มีการศึกษาสูง บรรยากาศการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับการลงทุน แรงจูงใจให้ทำวิจัยและพัฒนามีมากมาย สาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง และมีธรรมาภิบาลที่ดี เส้นทางของภาคการผลิตของสิงคโปร์จะได้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนในบุคคลากรมีความสามารถและนวัตกรรม

    Manufacturing

    1Manufacturing

    ]]>
    1091271