Energy – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 24 Oct 2023 11:57:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 IEA เผยความต้องการพลังงานฟอสซิลทำจุดสูงสุดในปี 2030 ชี้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว การเข้ามาของ EV คือจุดเปลี่ยนสำคัญ https://positioningmag.com/1449038 Tue, 24 Oct 2023 07:47:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449038 องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ได้เปิดเผยรายงานว่าความต้องการพลังงานฟอสซิลจะมีจุดสูงสุดในปี 2030 โดยจุดเปลี่ยนสำคัญของการใช้พลังงานของโลกคือการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงเศรษฐกิจจีนที่เติบโตลดลงลงหลังจากนี้

รายงานจาก IEA มองว่าความต้องการ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินถึงจุดสูงสุดภายในปี 2030 นี้ โดยจุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงเวลาหลังจากนี้คือเทรนด์การใช้พลังงานสะอาด นำโดยการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกันก็รวมถึงการใช้พลังงานจากฟอสซิลลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจจีนเติบโตลดลง

Fatih Birol กรรมการบริหารของ IEA กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสู่พลังงานสะอาดกำลังเกิดขึ้นทั่วโลกและไม่มีใครหยุดยั้งได้ ไม่ใช่คำถามว่า ‘ถ้า’ แต่เป็นเรื่องของ ‘เร็วแค่ไหน’ และเขายังกล่าวเสริมว่า รัฐบาล บริษัท และนักลงทุนจำเป็นต้องอยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสะอาด แทนที่จะขัดขวางการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ในรายงานชี้ว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นั้นผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าระบบไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาทั้งหมดในปัจจุบัน หรือแม้แต่สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดทั่วโลกกำลังจะแตะระดับ 50% การลงทุนในโครงการฟาร์มกังหันลมทั่วโลกมูลค่ามากกว่ามูลค่าการลงทุนโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินและก๊าซธรรมชาติมากถึง 3 เท่าแล้ว

โดยรายงานดังกล่าวยังชี้ว่าปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังจากนี้ ซึ่งมาจากนโยบายสนับสนุนต่างๆ ตัวอย่างที่ยกมาคือ IEA คาดว่า 50% ของการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ในสหรัฐฯ จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าในปี  2030 เหตุผลส่วนหนึ่งนั้นมาจากกฎหมายลดเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ทำให้คนใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นด้วย

ไม่ใช่แค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนก็เพิ่มสูงมากขึ้น โดยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสัดส่วนมากกว่า 50% ของโลกอยู่ที่ประเทศจีน

ขณะเดียวกันก็ยังรวมถึงปัจจัยที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง ส่งผลทำให้ความต้องการพลังงานจากฟอสซิลลดลงด้วย ซึ่งจีนถือเป็นประเทศที่มีความต้องการใช้น้ำมันมากถึง 2 ใน 3 ของความต้องการน้ำมันทั่วโลก

มุมมองดังกล่าวของ IEA ขัดแย้งกับมุมมองของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งเห็นว่าความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นเวลานานหลังจากปี 2030 และเรียกร้องให้มีการลงทุนเป็นมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในรายงานของ IEA ยังกล่าวอีกว่าในขณะที่สิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงสูงเกินไปที่จะบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสอีกด้วย ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวจะกระทบต่อสภาวะภูมิอากาศของโลกหลังจากนี้

]]>
1449038
Tesla เตรียมสร้างโรงงานในประเทศจีนเพิ่ม เพื่อผลิตแบตเตอรี่ Megapack โดยเฉพาะ https://positioningmag.com/1426898 Sun, 09 Apr 2023 11:53:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426898 ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla ล่าสุดได้เตรียมขยายโรงงานในประเทศจีนเพิ่ม เพื่อที่จะผลิตแบตเตอรี่ Megapack เพื่อสำหรับกักเก็บพลังงานไว้ขายให้กับบริษัทด้านสาธารณูปโภคต่างๆ ทั่วโลก คาดว่าโรงงานใหม่ในจีนนี้จะผลิตชุดแบตเตอรี่ดังกล่าวได้ถึง 10,000 ชุดต่อปี

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงจากสำนักข่าว Xinhua ของจีนว่า Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเตรียมที่จะสร้างโรงงานในประเทศจีนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ Megapack โดยเฉพาะ ซึ่งสื่อในประเทศจีนรายงานเรื่องดังกล่าวหลังจากมีการเซ็นสัญญาเป็นที่เรียบร้อย

โรงงานใหม่สำหรับแบตเตอรี่ Megapack นี้จะทำให้ราคาของชุดแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ดังกล่าวมีราคาลดลง เนื่องจาก Supply Chain ในการผลิตแบตเตอรี่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในประเทศ ซึ่งทำให้ Tesla อาศัยความได้เปรียบดังกล่าว เนื่องจากบริษัทมีโรงงานผลิตอยู่ในประเทศจีนอยู่แล้ว

ปัจจุบันโรงงานผลิต แบตเตอรี่ Megapack นั้นอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกำลังการผลิตราวๆ 10,000 ชุดต่อปี

สำหรับแบตเตอรี่ Megapack นั้นในแต่ละชุดสามารถเก็บไฟฟ้าได้ถึง 3 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง (MWh) ซึ่งแบตเตอรี่ ออกแบบมาเพื่อใช้งานสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีปัญหาแรงดันไฟฟ้าตกบ่อย หรือต้องการไว้เก็บพลังงานไฟฟ้าจากลมหรือแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในช่วงสภาวะอากาศไม่เป็นใจได้ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกันเพิ่มได้ ถ้าหากต้องการที่จะเก็บพลังงานเพิ่ม

รายได้ของ Tesla ในปัจจุบันยังมาจากยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหลัก อย่างไรก็ดี Elon Musk หัวเรือใหญ่ของบริษัทได้กล่าวว่าบริษัทเตรียมที่จะเพิ่มรายได้ในส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ หรือแม้แต่การขายแบตเตอรี่ Megapack ให้กับบริษัทด้านสาธารณูปโภคต่างๆ

ในรายงานผลประกอบการปี 2022 ที่ผ่านมารายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานแสงอาทิตย์และการเก็บกักพลังงานโดยการขาย แบตเตอรี่ Megapack นี้คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 5% เมื่อเทียบกับรายได้รวมของบริษัท ทำให้ CEO รายดังกล่าวต้องการที่จะขยายในธุรกิจนี้เพิ่มเติม

คาดว่าโรงงานดังกล่าวนี้จะเริ่มก่อสร้างในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ และเริ่มผลิตแบตเตอรี่ Megapack ได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 เป็นต้นไป คาดว่าจะผลิตได้ราวๆ 10,000 ชุดต่อปีไว้สำหรับจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วโลก

]]>
1426898
ญี่ปุ่นเปลี่ยนแผนมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง หลังเชื้อเพลิงราคาสูง ลดปัญหาโลกร้อน https://positioningmag.com/1413706 Fri, 23 Dec 2022 06:30:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413706 รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเปลี่ยนแผนด้านพลังงานอีกครั้ง โดยยืดอายุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ออกไปอีกหลายสิบปี เพื่อที่จะทำให้ประเทศสามารถมีความมั่นคงด้านพลังงาน ท่ามกลางราคาพลังงานสูงขึ้นรวมถึงสภาวะขาดแคลน นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

แผนการของรัฐบาลญี่ปุ่นก็คือเตรียมที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ปลดประจำการแล้ว นำกลับมาใช้งานอีกครั้ง นอกจากนี้ยังเตรียมที่จะยืดอายุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปอีก 60 ปี และพัฒนาเตาปฏิกรณ์รุ่นต่อไปเพื่อทดแทนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นเก่า

คำแถลงของรัฐบาลญี่ปุ่นได้กล่าวถึง บทบาทสำคัญของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฐานะแหล่งพลังงานที่ปราศจากก๊าซเรือนกระจก และยังทำให้ญี่ปุ่นบรรลุเสถียรภาพด้านพลังงาน รวมถึงความเป็นกลางทางคาร์บอน (Net Zero) ภายในปี 2050 ไม่เพียงเท่านี้ญี่ปุ่นยังให้คำมั่นว่าจะใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาบริษัทผลิตไฟฟ้าในญี่ปุ่นได้ยื่นขอเปิดเตาปฏิกรณ์ 27 เครื่อง 17 รายผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยแล้ว และมีเพียง 10 รายเท่านั้นที่กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ

ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยมากกว่า 30 ปี

ขณะที่สัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ปัจจุบันอยู่ที่ 7% ซึ่งรัฐบาลวางเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนให้ได้ 20 ถึง 22% ภายในปี 2030 ซึ่งจะทำให้ญี่ปุ่นต้องกลับมาเปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ได้ 27 โรงหลังจากนี้

ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นนั้นเตรียมที่จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2030 หลังจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2011 และเกิดแรงต่อต้านจากประชาชนจากผลกระทบดังกล่าว จึงทำให้รัฐบาลเตรียมปลดระวางโรงไฟฟ้าเหล่านี้

ความไม่แน่นอนด้านพลังงานหลังจากการบุกยูเครนโดยรัสเซียได้สร้างผลกระทบเหล่านี้ต่อญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นอีกประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานจำนวนมหาศาล และราคาพลังงานที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้นได้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในประเทศอย่างมาก จนทำให้รัฐบาลต้องเปลี่ยนแผนดังกล่าวอีกรอบ

ที่มา – NPR, ABC

]]>
1413706
รายงานจาก IEA เผย โลกใช้ถ่านหินปริมาณเยอะสุดเท่าที่เคยมีมา ผลจากรัสเซียบุกยูเครน https://positioningmag.com/1412742 Fri, 16 Dec 2022 10:27:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412742 องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ได้เปิดเผยว่าในปี 2022 โลกได้ใช้ปริมาณถ่านหินทำสถิติมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา จากการที่รัสเซียได้บุกยูเครนส่งผลทำให้ราคาพลังงาน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติมีราคาสูง ส่งผลทำให้หลายประเทศหันกลับมาใช้แหล่งพลังงานราคาถูกอย่างถ่านหินอีกครั้ง

รายงานของ IEA ได้คาดว่าปริมาณการใช้ถ่านหินในปีนี้จะเกิน 8,000 ล้านตัน เติบโต 1.2% จากปี 2021 ไม่เพียงเท่านี้รายงานดังกล่าวยังชี้ว่าประเทศผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ 3 ประเทศอย่างจีน อินเดีย อินโดนีเซีย นั้นมีปริมาณการผลิตทำสถิติใหม่ด้วย

นอกจากนี้สถิติในปี 2022 นั้นได้ทำลายสถิติการใช้ปริมาณถ่านหินซึ่งเคยสูงสุดในปี 2013 ด้วย

สาเหตุที่ทำให้ปริมาณการใช้ถ่านหินที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่นั้นมาจากปัญหาราคาพลังงานที่ได้รับผลกระทบจากรัสเซียได้บุกยูเครน ส่งผลทำให้ราคาพลังงานนั้นสูงขึ้นเนื่องจากหลายประเทศในยุโรปได้ทำการคว่ำบาตรรัสเซีย และไม่ซื้อพลังงานจากรัสเซียโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ ส่งผลทำให้ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้หลายประเทศกลับมาใช้ถ่านหินเป็นพลังงานแทน

โดยประเทศที่ใช้พลังงานถ่านหินเพิ่มมากขึ้นคืออินเดียเพิ่มขึ้น 7% สหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 6% อย่างไรก็ดีการใช้พลังงานถ่านหินในจีนกลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแค่ 0.4% เท่านั้น

Keisuke Sadamori ผู้อำนวยการด้านพลังงานและความมั่นคงของ IEA ได้กล่าวว่า โลกกำลังใกล้จุดสูงสุดที่มีการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล พลังงานถ่านหินจะเป็นพลังงานอย่างแรกที่จะมีการใช้งานลดลง (เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงกว่าพลังงานอื่น) อย่างไรก็ดีโลกยังไม่ถึงจุดที่มีการใช้ถ่านหินลดลงแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดีแม้ว่าราคาถ่านหินจะเพิ่มสูงขึ้นจากปริมาณความต้องการ แต่ในรายงานดังกล่าวยังชี้ว่าบริษัททั้งหลายที่เป็นเจ้าของเหมืองถ่านหินนั้นแทบไม่ได้มีการลงทุนเพิ่มแต่อย่างใด โดย IEA คาดว่าปริมาณการใช้ถ่านหินจะเริ่มลดลงในปี 2025

]]>
1412742
ภัยแล้งใหญ่ในจีนกำลังกระทบต่อ Supply Chain หลังหลายโรงงานต้องหยุดผลิตสินค้า https://positioningmag.com/1397380 Wed, 24 Aug 2022 08:36:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397380 ปัญหาภัยแล้งใหญ่ในประเทศจีนซึ่งเป็นผลจากคลื่นความร้อนกำลังส่งผลทำให้อุตสาหกรรมผลิตสินค้าต่างๆ หยุดชะงักลงจากปัญหาพลังงานขาดแคลน อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์มองว่าผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวจะไม่หนักหนาเท่ากับในปี 2021 ที่ผ่านมา

สื่อในประเทศจีนอย่าง China Daily ได้รายงานข่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาว่าคลื่นความร้อนในประเทศจีนหลายมณฑลไม่ว่าจะเป็น มณฑลชานซี มณฑลหูหนาน มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางสี นั้นจะทำให้เมืองเหล่านี้มีอุณภูมิสูงถึง 39 องศาเซลเซียส ขณะที่มณฑลฉงชิ่ง มณฑลฟูเจี้ยน มณฑลสีฉวน อุณภูมิสูงสุดนั้นอาจถึง 40 องศาเซลเซียสในช่วงไม่กี่วันข้างหน้านี้

โดยสื่อจีนได้รายงานว่าคลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมจีนในตอนนี้ถือว่าเป็นคลื่นความร้อนที่รุนแรงสุดในรอบ 60 ปีในจีน นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของจีนในปี 1961 เป็นต้นมา

ขณะเดียวกันด้วยคลื่นความร้อนในประเทศจีนยังทำให้เกิดปัญหาตามมานั่นก็คือภัยแล้งครั้งใหญ่ของประเทศจีน โดย สื่อจีนอีกรายอย่าง Global Times รายงานว่ามณฑลเสฉวน ซึ่งต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนนั้นเกิดปัญหาน้ำในเขื่อนมีปริมาณลดลงจากภัยแล้ง แต่ความต้องการในการใช้ไฟฟ้าของจีนกลับสูงเนื่องจากผลของคลื่นความร้อน ส่งผลทำให้พลังงานไฟฟ้าไม่พอกับความต้องการ จนทำให้จีนต้องเร่งนำเข้าถ่านหินเพิ่มเติมด้วย เพื่อที่จะเร่งผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอ

ข้อมูลจาก BloombergNEF นั้น ในปี 2020 สัดส่วนของเขื่อนในประเทศจีนได้ผลิตไฟฟ้าคิดเป็น 18% ของกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด

ปัญหาขาดแคลนพลังงานของจีนยังสร้างปัญหาต่อเนื่อง หลายเมืองต้องปันส่วนไฟฟ้าให้กับเมืองใหญ่ หรือแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญๆ เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ เป็นต้น ขณะเดียวกันในเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ ก็มีมาตรการประหยัดพลังงานออกมา ไม่ว่าจะเป็นการปิดไฟประดับตามตึกสูง งดใช้ลิฟต์บางตัว การปิดแอร์ เป็นต้น

ผลของไฟฟ้าที่ขาดแคลนในประเทศจีนทำให้ผู้ผลิตสินค้าหลายรายเริ่มวิตกกังวลไม่น้อย โดยบริษัทอย่าง Tesla ได้เตือนว่าปัญหาด้านพลังงานอาจทำให้โรงงานในเซี่ยงไฮ้มีกำลังการผลิตที่ลดลง ขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นอย่าง Toyota รวมถึง CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่ให้กับรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ กลับต้องปิดโรงงานเนื่องจากปัญหาพลังงานขาดแคลน

หรือแม้แต่ Tongwei บริษัทผลิตซิลิคอนสำหรับเอาไว้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์นั้นก็ได้รับผลกระทบแล้ว โดยบริษัทกล่าวว่าไม่สามารถหาวัตถุดิบได้ เนื่องจากสภาวะตลาดที่ตึงตัว

ก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ของประเทศจีนลงมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มองว่า GDP ของจีนจะต่ำกว่า 4% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่วางไว้ 5.5%

อย่างไรก็ดี David Fishman ผู้บริหารระดับอาวุโสของ Lantau Group ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงานที่มีสำนักงานในฮ่องกง ได้กล่าวกับ New York Times ว่าปัญหาการขาดแคลนพลังงานของประเทศจีนในรอบนี้นั้นถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับในช่วงเดือนกันยายนของปี 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว

สำหรับภาพความแห้งแล้งครั้งใหญ่ในประเทศจีนรวมถึงผลกระทบในด้านความเป็นอยู่สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ BBC และ The Guardian

ที่มา – CNN, Bloomberg, New York Times

]]>
1397380
จีนนำเข้าถ่านหินจากรัสเซียสูงสุดในรอบ 5 ปี ชี้ราคาถูกกว่าประเทศอื่น https://positioningmag.com/1397038 Mon, 22 Aug 2022 05:25:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397038 จีนได้รายงานตัวเลขนำเข้าถ่านหินในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้นเพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับปี 2021 ที่ผ่านมา หลังรัสเซียโดนคว่ำบาตรจากหลายประเทศจากการบุกยูเครน นอกจากนี้ปริมาณการนำถ่านหินจากรัสเซียยังถือว่ามีปริมาณสูงสุดในรอบ 5 ปีอีกด้วย

CNN รายงานว่าสำนักงานศุลกากรของจีนได้รายงานตัวเลขการนำเข้าถ่านหินของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งจีนนำเข้าถ่านหินจากรัสเซียเป็นจำนวน 7.42 ล้านตัน สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา ซึ่งปี 2017 นั้นจีนได้นำเข้าถ่านหินจากรัสเซียเป็นจำนวน 6.12 ตัน

ก่อนหน้านี้ทวีปยุโรปหลายประเทศได้แบนการนำเข้าสินค้าพลังงานจากรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หลังจากรัสเซียได้ประกาศบุกยูเครน นอกจากนี้วันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมาสหภาพยุโรปเตรียมบังคับมาตรการห้ามนำเข้าถ่านหินจากรัสเซีย

ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ถ่านหินที่ให้ความร้อน 5,500 กิโลแคลอรีจากรัสเซียมีราคาเพียงแค่ 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันเท่านั้น ถ้าหากเทียบกับถ่านหินที่มาจากออสเตรเลียซึ่งให้ความร้อนเท่ากันนั้นมีราคาสูงถึง 210 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

ด้วยราคาที่ถูกกว่ารวมถึงระยะที่ใกล้กว่าก็อาจทำให้ผู้ประกอบการจีนนำเข้าถ่านหินจากรัสเซียมากขึ้น เนื่องจากจีนไม่ได้นำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลียเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างประเทศ

นอกจากนี้จีนเองยังได้นำเข้าถ่านหินจากอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่ยังต่ำกว่าปี 2021 ถึง 40% โดยถ่านหินที่ให้ความร้อน 3,800 กิโลแคลอรีจากอินโดนีเซียมีราคาเพียงแค่ 78 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันเท่านั้น ถูกกว่าถ่านหินชนิดเดียวกันที่มีแหล่งผลิตในประเทศจีนที่มีราคาถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

]]>
1397038
ค่ายสิ่งประดิษฐ์ ปตท. เติมเต็มทักษะเยาวชน ครู เพื่อนวัตกรรมสร้างอนาคต https://positioningmag.com/57246 Mon, 23 Sep 2013 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=57246

ทุกวินาทีที่ผ่านไป โลกของเรากำลังก้าวไปสู่อนาคตที่ท้าทายยิ่งขึ้น ด้วยความจำกัดของทรัพยากรที่ลดลงทุกวัน การค้นหาแนวคิดใหม่ การสร้างสรรค์นวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างสิ่งทดแทนและสิ่งใหม่ที่ดีกว่า จึงเป็น “เครื่องมือ” สำคัญที่ปกป้องความเป็นอยู่ของโลกให้ยังคงความสมดุล สร้างการเติบโตทางธุรกิจและพัฒนาทุกมิติของชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ก้าวไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

ด้วยเหตุนี้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ด้านพลังงาน โครงการสิ่งประดิษฐ์ ปตท. ประจำปี 2556 หรือ PTT YOUTH CAMP 2013 ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา (ปวช. ปวส. ปวท.) หรือเทียบเท่าได้ส่งผลงานเข้าแข่งขันในหัวข้อหลักคือ “นวัตกรรม สร้างอนาคต: INNOVATION CREATES THE NEXT” และนำผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 30 ทีมสุดท้ายมาเข้าค่ายสิ่งประดิษฐ์ ปตท. ร่วมกัน เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่ออนาคต ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 6 – 8 กันยายน

โดยวันแรกในค่ายจะมุ่งเน้นการวิเคราะห์หาจุดที่ต้องปรับปรุงในแต่ละผลงานด้วย กิจกรรมเข้าคลินิก คิดแก้ปัญหา ผ่านกระบวนการถาม-ตอบระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันเพื่อเพิ่มเติมมุมมองในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ พร้อมชี้แนะปัญหาโดยวิทยากร พร้อมเรียนรู้ Fish Bone Diagram เครื่องมือที่ช่วยให้เห็นปัญหาของแต่ละผลงานได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถค้นหา วิธีในการแก้ปัญหาผลงานของตัวเองได้อย่างตรงจุด สำหรับวันที่สองนักเรียนนักศึกษาจะได้เรียนรู้เรื่องการฝึกคิดอย่างมีเหตุมีผล การทำงานเป็นทีม และการรู้จักแก้ปัญหาจากทรัพยากรที่มีอยู่ จากนั้นต่อด้วยกิจกรรมที่จะพัฒนาทักษะการนำเสนอผลงานให้น่าสนใจ ตรงประเด็น และเต็มประสิทธิภาพ ในวันสุดท้ายผู้เข้าร่วมค่ายได้นำเสนอผลงานของตนต่อหน้าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากกรรมการไปปรับใช้ในการพัฒนาโครงงานสิ่งประดิษฐ์ต่อไป

ที่สำคัญคือภายในค่ายครั้งนี้ กลุ่ม ปตท.ได้จัด “กระบวนการเรียนครู” คู่ขนานไปกับการเรียนรู้ของเยาวชน โดยเพิ่มทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ การตั้งคำถาม และกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อพัฒนา “ครู” ให้กลายเป็น “โค้ช” ที่จะเป็นกำลังสำคัญพัฒนาโครงงานสิ่งประดิษฐ์ของทีมต่อไป

ผู้ช่วยผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ดร.อธิคม บางวิวัฒน์ กล่าวถึงผลงานในปีนี้ว่า “ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกรอบทั้ง 30 ทีมในปีนี้มีการเตรียมตัวและคิดมาอย่างดี หลายกลุ่มมีแนวทางสามารถนำไปพัฒนาได้ โดยจุดที่ควรพัฒนาสำหรับเด็กอาชีวศึกษาที่เก่งเรื่องการลงมือปฏิบัติ คือเรื่องการนำทฤษฎีมาอธิบายเพิ่มเติมในผลงานให้ชัดเจน ในส่วนของมัธยมปลายจะเก่งเรื่องทฤษฎี และเด็กมัธยมต้นจะเด่นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งทั้ง 2 ระดับนี้ ควรเพิ่มทักษะด้านการปฏิบัติในลำดับต่อไป” นอกจากนี้ยังได้ฝากข้อคิดไว้อีกว่า “ให้เรามองรอบๆ ตัวเองมีปัญหาอะไรบ้างที่เราสามารถนำความรู้มาช่วยพัฒนาแก้ปัญหาชุมชนได้บ้าง ซึ่งงานที่ทำอาจจะนำของเก่าที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงให้ดีขึ้นแค่นี้ก็มีประโยชน์มากพอแล้ว”

“หนุ่ย” นายธวัฒชัย บุญรักษา นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จ.สกลนคร เล่าว่านอกจากคำถาม และคำแนะนำของวิทยากรที่มีประโยชน์ ในการนำไปพัฒนาต่อยอดผลงานได้แล้ว “เกมจับให้ได้ถ้าแน่จริง และเกมดี เด่น เด็ดเป็นกิจกรรมที่ชอบมากๆ เพราะช่วยฝึกให้ผมรู้จักคิดวิเคราะห์ และนำเสนอเพื่อเพิ่มมูลค่าของสิ่งประดิษฐ์ตัวเอง เพราะถ้าสิ่งประดิษฐ์เราดีแต่เรานำเสนอไม่ดี คนอื่นก็จะไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงจากสิ่งประดิษฐ์ของเรา” และอีกสิ่งหนึ่งที่หนุ่ยประทับใจก็คือมิตรภาพของเพื่อนต่างสถาบันและการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมมากมายของเพื่อนต่างท้องถิ่นอีกด้วย

ด้านอาจารย์วีรโชติ ทับพยุง โรงเรียนนครนายกวิทยาคม จ.นครนายก กล่าวถึงกระบวนการครูที่เสริมกระบวนการคิด และทักษะที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผลงานของทีมว่า “การที่ได้ รศ. ไพโรจน์ คีรีรัตน์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาเป็นวิทยากรเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มอาจารย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการสอนวิทยาศาสตร์ที่ต้องมีกระบวนการที่เป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุผล ที่สำคัญต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเข้าไปด้วยเพื่อให้ได้เด็กที่เก่งและดี ผมจะนำสิ่งที่ได้จากวันนี้กลับไปสอนนักเรียนในรุ่นนี้และรุ่นต่อ ๆ ไป”

จากการได้ร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ร่วมกัน ตั้งแต่ก่อนเข้าค่ายจนกระทั่งการเข้าค่ายสิ้นสุดลง หลังจากนี้คือการเริ่มต้นอีกครั้งที่ผู้เข้าร่วมค่ายทุกคน จะต้องช่วยกันทำความฝัน จากสิ่งที่เป็นเพียงภาพร่างในกระดาษให้ขึ้นมาเป็นความจริง ไม่ว่าระหว่างทางของการทำงานนั้นจะเจออุปสรรค ปัญหามากมายเพียงใดก็ตาม แต่เราเชื่อว่าทุกคนจะผ่านเข้ามาสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 400,000 บาทได้อย่างแน่นอน

]]>
57246
อนาคตที่ท้าทายด้านพลังงานของไทย…ยังเป็นประเด็นที่ต้องเตรียมรับมือ https://positioningmag.com/57135 Mon, 02 Sep 2013 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=57135

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ความต้องการใช้พลังงานของไทย อยู่ที่ปริมาณ 37,962 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 8.7 แสนล้านบาท โดยน้ำมันสำเร็จรูปเป็นพลังงานที่มีสัดส่วนความต้องการใช้สูงที่สุด รองลงมาคือ พลังงานไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน/ลิกไนต์ ตามลำดับ

ทั้งนี้ ความต้องการใช้พลังงานที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ไทยจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ปริมาณการนำเข้าพลังงานของไทยอยู่ที่ 1.15 ล้านบาร์เรล/วัน (เทียบเท่าน้ำมันดิบ) ปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเภทพลังงาน พบว่า พลังงานที่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบไปด้วย ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ก๊าซธรรมชาติ (NG) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบางประเภท ซึ่งรวมถึงก๊าซ LPG หรือก๊าซหุงต้ม ในขณะที่ น้ำมันดิบ มีการนำเข้าลดลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ทั้งเอทานอลและไบโอดีเซล สอดคล้องกับนโยบายการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

จากสถิติข้างต้น สะท้อนได้ว่า ไทยพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศเป็นสัดส่วนสูง เพราะพลังงานที่ไทยผลิตได้นั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้และจำเป็นต้องมีการนำเข้า ขณะที่ ราคาพลังงานที่ต่ำกว่าความเป็นจริง อาจมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยในอนาคต

ทั้งนี้ ผลจากความต้องการใช้พลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ทรัพยากรด้านพลังงานของไทยถูกใช้จนร่อยหลอลงเรื่อยๆ (ข้อมูลกระทรวงพลังงาน บ่งชี้ว่าไทยมีน้ำมันดิบสำรองเหลือใช้อีกประมาณ 4-16 ปี ด้านก๊าซธรรมชาติอีกราว 10-28 ปี) นั้น ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าพลังงานในประเภทต่างๆ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ประเภทพลังงาน แนวโน้มการนำเข้าพลังงานในอนาคต
น้ำมันดิบ ไทยนำเข้าน้ำมันมากกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณความต้องการใช้ หรือประมาณกว่า 8 แสนบาร์เรล/วัน ประกอบกับภาครัฐมีแผนการเพิ่มสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์จาก 36 วันเป็น 90 วัน ทำให้ต้องเพิ่มสำรองน้ำมันจากประมาณ 23 ล้านบาร์เรลในปัจจุบัน เป็นประมาณ 58 ล้านบาร์เรล
ก๊าซธรรมชาติ ตามแผนในระยะสั้น (ปี 2555-2563) จะมีการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศจากสัญญาฯ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจากแหล่งก๊าซธรรมชาติเดิมที่ขยายอายุสัมปทาน รวมทั้งจัดหาจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศเมียนมาร์ และตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป จะจัดหาจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศอินโดนีเซีย
ก๊าซหุงต้ม (LPG) คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการนำเข้า 10.4 ล้านตัน ในปี 2573 ในกรณีที่ไม่สามารถหาแหล่งก๊าซอื่นๆ มาทดแทนแหล่งก๊าซที่กำลังหมดไปได้
ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) คาดการณ์ว่าไทยจะมีความต้องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 23.2 ล้านตันในปี 2573 มาทดแทนก๊าซธรรมชาติในประเทศที่กำลังหมดลงอย่างรวดเร็ว เพื่อป้อนให้กับภาคการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมและภาคขนส่ง
ไฟฟ้า การรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศประมาณ 2,405 เมกะวัตต์ในปี 2555 อาจเพิ่มขึ้นเป็น 8,631 เมกะวัตต์ในปี 2573 รวมทั้งการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
ที่มา: มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2555-2573 (PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3)รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศในอนาคต ซึ่งจะเป็นประเด็นท้าทายต่อทั้งความมั่นคงด้านพลังงาน เม็ดเงินที่ใช้จากการอุดหนุนราคาพลังงาน รวมทั้งการสูญเสียเงินตราต่างประเทศจำนวนมากเพื่อนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อันในที่สุดอาจจะเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจผ่านความเป็นไปได้ของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การบริหารจัดการด้านพลังงานในระยะต่อไป จึงต้องใช้หลายๆ มาตรการประกอบกัน ทั้งการสำรวจหาแหล่งพลังงานในประเทศเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มปริมาณพลังงานสำรองในประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องส่งเสริมและผลักดันให้ภาคส่วนต่างๆ มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนซึ่งสามารถหาวัตถุดิบผลิตได้ในประเทศ โดยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการดำเนินการ

]]>
57135
ดีเอชแอล เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนในเอเชียแปซิฟิก วางนโยบายสร้างศูนย์กระจายสินค้า “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน https://positioningmag.com/56998 Mon, 05 Aug 2013 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=56998

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส (DHL Express) ผู้นำระดับโลกในธุรกิจขนส่งด่วนระหว่างประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน โดยผลลัพธ์ที่ได้มีค่าเฉลี่ยชี้ชัดเป็นอัตราตัวเลขที่ดีขึ้นถึง 7.4% (แม้ปริมาณการใช้พลังงานจะเพิ่มมากขึ้นก็ตาม) สำหรับประเทศที่ทำผลงานได้ดีที่สุด ได้แก่ ประเทศไทย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และบังกลาเทศ ซึ่งโดยรวมแล้ว ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล (Deutsche Post DHL) บริษัทแม่ของดีเอชแอล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนได้ถึง16% นับตั้งแต่เปิดตัวโครงการ GoGreen ในปี 2551 นับว่าเป็นผลลัพธ์ที่เกินความคาดหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนให้ได้ 30% ภายในปี 2563 2

เจอร์รี่ ชู (Jerry Hsu) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “บริการจากดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เป็นที่ต้องการมากขึ้นในเอเชียแปซิฟิก ในปีที่ผ่านมามีปริมาณการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนตัวเลขสองหลัก แต่โดยรวมเรายังสามารถบริหารจัดการคาร์บอนให้ลดลงได้ถึง 7.4% เมื่อเทียบปีต่อปี แม้เราจะเปิดศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมหลายแห่งเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า เช่น ศูนย์กระจายสินค้าของเอเชียเหนือในเซี่ยงไฮ้ แต่ปฏิบัติการภาคพื้นของเราก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นและอาคารต่างๆ ของเราก็ประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม เราจึงสามารถลดการปล่อยคาร์บอนโดยรวมได้เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราอุทิศตนให้กับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน”

การปรับปรุงยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงการนำยานพาหนะใหม่ที่ประหยัดพลังงานมากกว่าเดิมมาใช้ในการขนส่งทางบก ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนในภูมิภาค ยานพาหนะกว่า 500 คันในเอเชียแปซิฟิกถูกแทนที่ด้วยยานพาหนะใหม่ที่มีระบบทันสมัยอย่างจีพีเอสและเทเลเมติกส์ ซึ่งจะช่วยเฝ้าสังเกต ประเมิน วิเคราะห์ และปรับปรุงพฤติกรรมการจัดการคาร์บอนของพนักงานขับรถ นอกจากนี้ ดีเอชแอลยังเดินหน้าปรับเส้นทางขนส่งที่เหมาะสมที่สุดและใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด ยานพาหนะเกือบทั้งหมดของดีเอชแอลได้มาตรฐานมลพิษไอเสีย Euro IV และ V ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่าเป็นขีดจำกัดสูงสุดที่ยอมรับได้สำหรับการปล่อยไอเสียจากยานพาหนะใหม่ที่ใช้ในงานซึ่งจำหน่ายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

ประเทศไทยทำผลงานได้ดีเยี่ยมโดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนได้ถึง 36.2% (เมื่อเทียบปีต่อปี) ตามมาด้วยประเทศออสเตรเลียที่ 22.7% ในประเทศไทยนั้น ยานพาหนะของดีเอชแอลที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซซีเอ็นจี (CNG) 100% ส่วนในประเทศออสเตรเลีย ยานพาหนะเก่าถูกแทนที่ด้วยยานพาหนะรุ่นใหม่ที่ประหยัดพลังงานกว่าเดิมและได้มาตรฐาน Euro V นอกจากนี้การปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้าภาคพื้นดินซึ่งมีผลทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดีเอชแอลบรรลุเป้าหมายการจัดการคาร์บอน ปัจจุบันศูนย์กระจายสินค้าของดีเอชแอลทั้งหมดในประเทศออสเตรเลียได้รับมาตรฐาน ISO 14001 (ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม) และเจ้าหน้าที่ของดีเอชแอลก็มีส่วนร่วมในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ โดยมีการทำกิจกรรมต่างๆทั้งที่เกี่ยวกับการประหยัดพลังงงาน การลดใช้กระดาษ และการรีไซเคิลขยะ

สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ทำผลงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอน ประกอบด้วย ญี่ปุ่น (18.6%) สิงคโปร์ (17.9%) และบังกลาเทศ (12.4%) ขณะเดียวกันศูนย์กระจายสินค้าในเอเชียกลางของดีเอชแอลก็ครองตำแหน่งศูนย์กระจายสินค้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนได้สูงที่สุด 11.4%

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เอเชียแปซิฟิก เริ่มประเมินการปล่อยคาร์บอนจากการใช้พลังงานในอสังหาริมทรัพย์และยานพาหนะทางบกของบริษัท เพื่อวัดระดับและยกระดับการจัดการคาร์บอนผ่านโครงการลดการปล่อยคาร์บอนเป็นจำนวนหลายโครงการ สำหรับโครงการนี้เปิดตัวครั้งแรกโดยดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ในปี 2551 และปัจจุบันครอบคลุมศูนย์กระจายสินค้ากว่า 1,000 แห่ง ใน 27 ตลาดทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

หมายเหตุ:
1. รวมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนพื้นดินตามที่ระบุใน Greenhouse Gas (GHG) Protocol Scope 1 & 2 แต่ไม่รวมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการบิน
2. ลดการปล่อยคาร์บอนจากการดำเนินงานด้านต่างๆ ของกลุ่มบริษัทดีเอชแอลและของผู้รับจ้างขนส่งอีกทอดหนึ่ง (transportation subcontractor) เมื่อเทียบกับระดับของปี 2550

]]>
56998
ปตท. ให้ สามมิตร กรีนพาวเวอร์ ใช้เทคโนโลยี PTT DIESEL CNG ทางเลือกใหม่ในการหยัดพลังงาน https://positioningmag.com/56932 Sat, 27 Jul 2013 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=56932

บรรลุข้อตกลงนำเทคโนโลยีชุดอุปกรณ์ PTT DIESEL CNG ประกอบในรถกระบะดีเซลพร้อมออกสู่ตลาด เน้นประหยัดก๊าซมากยิ่งขึ้น วิ่งได้ไกลกว่า สมรรถนะสูงเท่าดีเซล

วันที่ 25 กรกฎาคม 2556 เวลา 14.00 น. ที่ อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานใน “พิธีลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยีชุดอุปกรณ์ PTT DIESEL CNG และ บันทึกความเข้าใจในโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี PTT DIESEL CNG สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กรุ่นใหม่” ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย นายวิจิตร แตงน้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. และ บริษัท สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จำกัด โดย นายสุรยุทธ์ โพธิ์ศิริสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จำกัด

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ความร่วมมือกันของทั้งสองบริษัทนี้สอดคล้องตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ปี พ.ศ. 2554 – 2573 (20 ปี) ของ กระทรวงพลังงานที่มีเป้าหมายลดระดับการใช้พลังงานต่อผลผลิตลงร้อยละ 25 ในปี 2573 เมื่อเทียบกับปี 2553 โดยใช้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติด้วยการมุ่งเน้นเพิ่มการพึ่งพาตนเอง และโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงประมาณ 130 ล้านตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานได้ถึง 707,700 บาทต่อปี นอกจากนั้นยังได้ส่งเสริม ในภาคการผลิต การใช้ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกไปควบคู่กันด้วย โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี ซึ่งจะทำให้ประชาชนและประเทศได้รับประโยชน์สูงสุด โดยประชาชนสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและพลังงานได้อย่างมาก ในขณะที่ประเทศสามารถลดการนำเข้าพลังงาน ทำให้ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประเทศมีความมั่นคงทางด้านพลังงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ

นายวิจิตร แตงน้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. เปิดเผยว่า ปตท. และ สามมิตร กรีนพาวเวอร์ ได้ร่วมกันนำเทคโนโลยีใหม่ของ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ในการใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับน้ำมันดีเซลแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กหรือรถยนต์กระบะดีเซล โดยใช้ชื่อว่า “เทคโนโลยีชุดอุปกรณ์ PTT DIESEL CNG” มาพัฒนาขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปลายปี 2555 ซึ่งล่าสุดประสบผลสำเร็จในการนำเทคโนโลยีชุดอุปกรณ์ PTT DIESEL CNG สู่สายการผลิตชิ้นส่วน นำไปประกอบติดตั้งในรถยนต์กระบะดีเซลพร้อมออกสู่ตลาด

ทั้งนี้ ชุดอุปกรณ์ PTT DIESEL CNG จะช่วยให้รถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับน้ำมันดีเซลมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสมรรถนะสูงเทียบเท่าเครื่องยนต์ดีเซล นอกจากนี้ยังสามารถทดแทนการใช้น้ำมันได้ถึง 70% ในการใช้งานนอกเมืองและจะลดความสิ้นเปลืองในการใช้ก๊าซธรรมชาติลงได้ครึ่งหนึ่ง เมื่อนำไปใช้ทดแทนรถยนต์กระบะเบนซินที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งยังวิ่งได้ระยะทางไกลกว่า ต่อการเติมก๊าซธรรมชาติแต่ละครั้ง นอกจากนั้น PTT DIESEL CNG ยังเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดยนักวิจัย ปตท. นับเป็นนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

นายสุรยุทธ์ โพธิ์ศิริสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า การลงนามสัญญาร่วมกับ ปตท. ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานของ ปตท. ไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นทางเลือกใหม่ที่คุ้มค่าสำหรับผู้บริโภค โดย สามมิตร กรีนพาวเวอร์ เข้ามามีส่วนร่วมกับ ปตท. ในการพัฒนาเทคโนโลยีชุดอุปกรณ์ PTT DIESEL CNG โดยนำไปติดตั้งในรถกระบะก้านกล้วยของบริษัทฯ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานจริง ก่อนขยายผลในเชิงพาณิชย์ จากการทดสอบล่าสุดกับรถจำนวน 9 คัน ในเส้นทางจาก อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถึงดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง 856 กม. ด้วยอัตราความเร็ว 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง บรรทุกน้ำหนักขนาด 1 ตัน พบว่าผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจและหลังจากทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยี PTT DIESEL CNG จนมีความมั่นใจแล้ว วันนี้ ปตท. และ สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จึงมีความพร้อมในการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่นี้ให้กับผู้บริโภค ซึ่ง PTT DIESEL CNG นี้จะเป็นก้าวแห่งความสำเร็จในการคิดค้นเทคโนโลยีด้านพลังงานและยังเป็นทางเลือกใหม่ที่ประหยัดพลังงานและคุ้มค่าสำหรับผู้บริโภคด้วย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. โทร. 0 – 2537 – 3000 ต่อ 8155

]]>
56932