F&N – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 01 Oct 2024 11:27:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ไทยเบฟ” เปิดงบลงทุน 18,000 ล้านบาทปี 2568 พร้อมวิสัยทัศน์ “PASSION 2030” ผู้นำ F&B แห่งอาเซียน https://positioningmag.com/1492388 Tue, 01 Oct 2024 11:24:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1492388
  • เปิดงบลงทุน 18,000 ล้านบาทของ “ไทยเบฟ” ปี 2568 ไฮไลต์โครงการ “AgriValley” ฟาร์มโคนม  20,000 ตัวในมาเลเซีย โรงงานผลิตนม ชาเขียว และเบียร์ในกัมพูชา รวมถึงการขยายกลุ่มร้านอาหารอีก 69 สาขา
  • เจาะวิสัยทัศน์ “PASSION 2030” รักษาตำแหน่งบริษัทผู้นำในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแห่งอาเซียน
  • “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำทีมผู้บริหารเปิดแถลงข่าวแผนธุรกิจการลงทุนในปี 2568

    โดย “ประภากร ทองเทพไพโรจน์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้บริหารสูงสุดปฏิบัติการต่างประเทศ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจสุรา และผู้บริหารสูงสุดการเงินและบัญชีกลุ่ม เปิดเผยว่า ไทยเบฟมีการวางงบการลงทุนในปี 2568 ไว้ที่ 18,000 ล้านบาท

    มีไฮไลต์สำคัญในงบการลงทุนก้อนนี้คือ โครงการ “AgriValley” ซึ่งได้มาจากการแลกหุ้นนำธุรกิจเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (F&N) เข้ามาอยู่ในพอร์ตของไทยเบฟ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการ “ฟาร์มโคนม” ในมาเลเซีย ซึ่งจะมีการเลี้ยงโคนมถึง 20,000 ตัว บนพื้นที่ 2,726 เฮกตาร์ (ประมาณกว่า 17,000 ไร่) คาดจะผลิตน้ำนมได้ 200 ล้านลิตรต่อปี

    “โครงการนี้เกิดจากรัฐบาลมาเลเซียต้องการจะสร้างความมั่นคงทางอาหารของตนเอง เพราะเห็นตั้งแต่ช่วงโควิด-19 แล้วว่าถ้าไม่มีเรื่องนี้อาจจะเป็นปัญหาต่อประเทศได้ ทางบริษัท F&N ที่มาเลย์ก็มีการทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาล ทำให้เรารู้ว่าเขาต้องการวางกลยุทธ์ของประเทศในแบบนี้ จึงมีการสร้างโครงการนี้ขึ้น และตัวเราเองก็มองยาวว่าเราสามารถสร้างมาเลเซียเป็น ‘Hub of Halal’ ได้เลย คือสามารถส่งสินค้าฮาลาลจากมาเลย์ไปประเทศที่รับประทานอาหารฮาลาลอื่นๆ ได้อีก” ฐาปนกล่าว

    ไทยเบฟ

    ประภากรกล่าวต่อว่า อีกไฮไลต์หนึ่งในการลงทุนปีหน้าคือการก่อสร้างโรงงานใน “กัมพูชา” ต่อเนื่อง โดยจะใช้งบประมาณอีก 2,500 ล้านบาท สร้างโรงงานครบวงจรที่ผลิตสินค้า 3 ประเภท ได้แก่ “นมข้นหวาน” ตราทีพอท, “ชาเขียว” โออิชิ และ “เบียร์” ช้าง โดยเฉพาะสายการผลิตเบียร์นี้คาดว่าจะมีกำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 50 ล้านลิตรเมื่อเปิดดำเนินการ คาดเริ่มเดินเครื่องผลิตได้ต้นปี 2569

    ด้าน “โสภณ ราชรักษา” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและสมรรถนะองค์กร ผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจอาหารประเทศไทย และผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจโลจิสติกส์ เปิดเผยว่างบลงทุนปีหน้าของกลุ่มอาหารจะอยู่ที่ 1,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบรวมทั้งการเปิดร้านอาหารสาขาใหม่และรีโนเวตสาขาเดิม

    โดยการเปิดสาขาใหม่จะเปิดรวมทั้งหมด 69 สาขา แบ่งเป็นร้านเคเอฟซี (KFC) ทั้งหมด 45 สาขา ส่วนที่เหลือ 24 สาขาจะเป็นแบรนด์อื่นๆ ในเครือ ซึ่งหลังจากเปิดครบทั้งหมดตามเป้าแล้ว จะทำให้สิ้นปี 2568 ไทยเบฟจะมีร้านอาหารรวม 888 สาขา

     

    “PASSION 2030” ของ “ไทยเบฟ”

    บนเวทีวันนี้ (1 ตุลาคม 2567) เจ้าสัว “ฐาปน” ยังแสดงวิสัยทัศน์ใหม่ไทยเบฟ “PASSION 2030” หรืออีก 6 ปีข้างหน้า เป้าหมายคือต้องการจะยึดตำแหน่งผู้นำในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแห่งอาเซียนไว้ให้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

    ฐาปนฉายภาพว่า วิธีการไปสู่เป้าหมายจะแบ่งออกเป็น 2 แกนหลักคือ “Reach Competitively” และ “Digital for Growth”

    ไทยเบฟ

    แกนกลยุทธ์ Reach Competitively หมายถึงการสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขันและบริการเพื่อตอบสนองลูกค้า เช่น การเข้าถึงทุกพื้นที่ ไปให้ถึงลูกค้าทุกคน ไม่ใช่แค่ในไทยแต่ไปทั่วอาเซียน

    “ลูกค้าวันนี้ให้เวลาแค่ 30 วินาทีในการรอคอยการบริการที่ประทับใจกับตัวเขา ราคาต้องดี สินค้าต้องดี ทุกอย่างครบ” ฐาปนกล่าว

    ส่วนแกนกลยุทธ์ Digital for Growth คือ การนำระบบดิจิทัลมาใช้ในทุกส่วนทุกขั้นตอนขององค์กร เช่น การ upskill บุคลากรให้สามารถใช้งานดิจิทัลในการทำงานได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว การนำดาต้าที่เก็บมามาใช้ในการทำงานและตัดสินใจทางการบริหารได้จริง

    ในประเด็นนี้ “โฆษิต สุขสิงห์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้บริหารสูงสุดปฏิบัติการประเทศไทย ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานดิจิทัลและเทคโนโลยี กล่าวเสริมด้วยว่า การนำดิจิทัลมาใช้จะรวมถึงพันธมิตรธุรกิจของไทยเบฟด้วย จากจุดขายของบริษัทในไทยที่มีถึง 8 แสนจุด ในเวียดนามอีก 8-9 แสนจุด จะมีการนำดิจิทัลมาเพื่อใช้เชื่อมโยงเข้าด้วยกันทั้งหมด โดยมีการใช้ Deep Tech จากสตาร์ทอัพมาเสริมแกร่งให้กับองค์กร

    ฐาปนกล่าวปิดท้ายว่า ด้วยความมุ่งมั่นที่จะ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” ตามพันธกิจขององค์กร ไทยเบฟจะต่อยอดความสำเร็จจากแผน PASSION 2025 ด้วยการเดินหน้าขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนสู่ PASSION 2030 ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานของกลุ่มเพื่อมุ่งสู่การสู่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงห้าปีข้างหน้า

    ]]>
    1492388
    F&N แจงเหตุควง Maxim’s ซื้อ “สตาร์บัคส์” ในไทยหวังแตกไลน์ขยายพอร์ตจาก ”นม” สู่ร้านกาแฟพรีเมียม https://positioningmag.com/1231465 Fri, 24 May 2019 15:23:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231465 แม้จะได้ชื่อว่าเป็นบริษัทในเครือของไทยเบฟเวอเรจ แต่ บริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ลิมิเต็ด (“F&N”) ขอชี้แจงว่า ดีลการซื้อหุ้นของสตาร์บัคส์ในไทยนั้น เป็นของ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น รีเทล คอนเน็คชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ เข้าร่วมกับ Maxim’s Caterers Limited (“Maxim’s”) ตั้งกิจการร่วมค้าชื่อ บริษัท คอฟฟี่ คอนเซ็ปต์ (ประเทศไทย) จำกัด (“CCT”) เพื่อเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด (“สตาร์บัคส์ประเทศไทย”) หาใช่เป็นการลงทุนของไทยเบฟฯ โดยตรง

    นับเป็นกลยุทธ์ล่าสุดของ F&N ในการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจในประเทศไทย ที่ F&N ได้ทำธุรกิจมากว่า 20 ปี

    การเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวจะเพิ่มตราสินค้าชื่อดังให้แก่พอร์ตโฟลิโอของ F&N ซึ่ง F&N ในประเทศไทยมีรายได้ประมาณ 15,000 ล้านบาทในปี 2561

    F&N ทำตลาดในประเทศไทยมานาน ทั้งกลุ่มสินค้านมกระป๋อง โดยมี ทีพอท ตราหมี และคาร์เนชั่น เป็นตราสินค้ากลุ่มนมข้นหวาน นมสเตอริไลส์ และนมข้นจืดที่ผู้บริโภคชื่นชอบ F&N ยังคงมุ่งหน้าขยายสินค้ากลุ่มไอศกรีมและนมในประเทศไทยด้วยการออกสินค้าใหม่จาก แมกโนเลีย ในปี 2561

    โก๊ะ โป๊ะ เตียง (Mr. Koh Poh Tiong) กรรมการบริษัทและประธานกรรมการบริหาร ให้ความเห็นว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 3 ตลาดหลักของ F&N ซึ่งการซื้อหุ้นในครั้งนี้ตอกย้ำการขยายธุรกิจในไทย

    นอกจากนี้ ตลาดค้าปลีกกาแฟระดับพรีเมียมในประเทศไทยยังมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว สตาร์บัคส์มีสาขา 372 แห่งทั่วประเทศ และกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมองว่ายังมีโอกาสที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต 

    ส่วนการจับมือเป็นพันธมิตรกับ Maxim’s นั้นเนื่องจากประวัติการทำธุรกิจที่ดีกับสตาร์บัคส์มาอย่างยาวนาน เชื่อว่าจะสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภคในร้านสตาร์บัคส์ต่อไป

    สำหรับ Maxim’s เป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับสตาร์บัคส์ คอฟฟี่ คอมพานี ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ มาอย่างยาวนาน และเป็นผู้ดำเนินงานและพัฒนาร้านค้าปลีกกาแฟสตาร์บัคส์ในฐานะบริษัทที่ได้รับสิทธิให้ใช้เครื่องหมายการค้าสตาร์บัคส์มาตั้งแต่ปี 2543 โดยในปัจจุบัน Maxim’s ประกอบกิจการร้านสตาร์บัคส์ในฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ เวียดนาม และกัมพูชา.

    ]]>
    1231465