GrabTaxi – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 30 Oct 2019 17:16:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เตรียมเรียก Grab ผ่าน Booking.com ในสิ้นปีนี้ ยุทธการจองที่พักคู่การเดินทาง  https://positioningmag.com/1251635 Wed, 30 Oct 2019 08:38:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251635 Booking.com ประกาศร่วมมือกับ Grab ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเดินทางเรียก Grab ผ่านแอป Booking.com ได้ เริ่มให้บริการในอาเซียนเป็นที่แรก ในไทยใช้ได้สิ้นปี 

การจับมือกันครั้งนี้ เรียกว่าเป็นการร่วมมือทางกลยุทธ์ครั้งใหญ่ระหว่าง Booking Holdings กับ Grab โดย Booking Holdings เป็นผู้ลงทุนใน Grab และ Grab ได้เสนอบริการที่พักโดยตรงผ่านแอปพลิเคชัน (ร่วมมือกับ Agoda และ Booking.com)

มีเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรให้ครอบคลุมทุกสิ่งเกี่ยวกับการเดินทางของ Booking.com ด้วยการเชื่อมโยงทุกจุดในทริปไว้ด้วยกัน หมายความว่า Booking.com ตั้งใจที่จะมอบตัวช่วยเดียวให้ผู้เดินทางสามารถ จอง จ่าย และจัดการทุกด้านของทริปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นที่พัก การเดินทาง ไปจนถึงประสบการณ์และสิ่งที่น่าสนใจ

เริ่มต้นการใช้งานที่ 8 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เป็นการบุกตลาดการท่องเที่ยว สำหรับคนที่เดินทางต่างประเทศสามารถเรียกใช้บริการได้ เป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากใช้บริการรถโดยสารท้องถิ่น

โดยที่ผู้ใช้แอปพลิเคชัน Booking.com จะสามารถเข้าถึงบริการ Grab ในสิงคโปร์ได้ตั้งแต่วันนี้ ส่วนในอินโดนีเซียและไทยจะเปิดให้บริการในสิ้นปี และสำหรับกัมพูชา มาเลเซีย เมียนมา เวียดนาม และฟิลิปปินส์จะเริ่มบริการในต้นปี 2563

อีกทั้งความร่วมมือกันครั้งนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนฐานลูกค้าซึ่งกันและกัน และจับกลุ่มนักเดินทาง เนื่องจากทุกปีมีผู้เดินทางมาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 130 ล้านคน การร่วมมือระหว่าง Booking.com และ Grab จะมอบตัวช่วยที่ผู้เดินทางต้องการ เพื่อการเดินทางแบบไร้รอยต่อในแบบฉบับคนท้องถิ่นได้ และยังชำระแบบไม่ต้องใช้เงินสดผ่านแอปพลิเคชันในสกุลเงินของผู้ใช้ได้ด้วย

]]>
1251635
Booking ควัก 200 ล้านเหรียญ ลงทุน Grab เชื่อมแพลตฟอร์ม ขยายฐานลูกค้าจองโรงแรม – เรียกรถ คาดเติบโตเพิ่ม 3 เท่าตัวในปี 68 https://positioningmag.com/1194965 Tue, 30 Oct 2018 06:03:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1194965 เครือบุคกิ้ง โฮลดิงส์ ธุรกิจจองที่พักออนไลน์และอีคอมเมิร์ซด้านการท่องเที่ยว และบริษัทแกร็บ โฮลดิงส์ (แกร็บ) แพลตฟอร์มเรียกรถโดยสารออนไลน์ ประกาศความร่วมมือทางธุรกิจร่วมกัน

โดยแบรนด์ในเครือบุคกิ้งโฮลดิงส์ จะสามารถนำเสนอบริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นแก่ลูกค้าแอปพลิเคชั่นในเครือ ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีจากแกร็บ ขณะที่ลูกค้าแกร็บจะสามารถจองที่พักได้ทั่วโลกผ่าน Booking.com และ agoda.com

ยิ่งไปกว่านั้น บุคกิ้ง โฮลดิงส์ยังนำเงินมาลงทุนในแกร็บ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6,400 ล้านบาท เพราะมองว่าแกร็บคือผู้นำแพลตฟอร์ม O2O (Online-to-Offline) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา แกร็บได้รับเงินระดมทุนจากรอบปัจจุบันกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะระดมทุนได้ทั้งหมดกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในสิ้นปีนี้

ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ทั้งสองกลุ่มธุรกิจจองที่พักทางออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและแพลตฟอร์ม O2O (Online-to-Offline) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะช่วยให้เดินทางง่ายขึ้นสำหรับนักเดินทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก

ทอดด์ เฮนริค รองประธานอาวุโสและผู้อำนวยการแผนกพัฒนาองค์กร เครือบุคกิ้ง โฮลดิงส์ กล่าวว่า “แกร็บขยายธุรกิจได้รวดเร็วไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในระยะเวลาเพียง 2 ถึง 3 ปีเท่านั้น การได้เป็นพันธมิตรร่วมกับแกร็บเพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางผ่านเทคโนโลยีที่ดียิ่งกว่าเดิม”

ความร่วมมือระหว่างแกร็บและเครือบุคกิ้ง โฮลดิงส์จะช่วยให้ผู้ใช้แกร็บสามารถจองบริการด้านท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชั่นแกร็บได้เป็นครั้งแรก พร้อมจ่ายเงินได้ผ่าน ‘แกร็บเพย์’ (GrabPay) กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์

ความร่วมมือครั้งนี้ยังจะทำให้บริการของ Grab ครอบคลุมทั้งบริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่น บริการส่งอาหาร สินค้า และพัสดุ และการจ่ายเงินระบบดิจิทัล ทั่วภูมิภาค ซึ่งแกร็บมีให้บริการใน 235 เมืองใน 8 ประเทศ

หมิง หม่า ประธานบริษัทแกร็บ กล่าวว่า แอปพลิเคชั่นแกร็บ และตลาดบริการท่องเที่ยวออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัวในปี พ.ศ. 2568[1] และยังเล็งเห็นความเชื่อมโยงอีกหลายปัจจัยในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการคมนาคมที่จะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อย่างมหาศาล

“การที่บุคกิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทท่องเที่ยวชั้นนำของโลก ตัดสินใจลงทุนในแกร็บถือเป็นอีกหนึ่งเสียงของความเชื่อมั่นในศักยภาพของเราในการพัฒนาธุรกิจไปยังแพลตฟอร์ม O2O อื่นๆ และขยายการบริการให้ครอบคลุมทั้ง 235 เมืองที่เราดำเนินธุรกิจอยู่”

ปัจจุบัน บุคกิ้ง โฮลดิงส์ ให้บริการจองที่พักออนไลน์ และบริการด้านการท่องเที่ยว ในกว่า 220 ประเทศ ภายใต้แบรนด์หลักหกแบรนด์ ได้แก่ Booking.com, KAYAK, priceline,agoda.com, Rentalcars.com และ OpenTable

 

 

 

[1]https://www.blog.google/around-the-globe/google-asia/sea-internet-economy/

]]>
1194965
Grab เจรจาเพิ่มทุน 1 พันล้านเหรียญ ลุยอาเซียน https://positioningmag.com/1186212 Tue, 04 Sep 2018 09:14:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1186212 สื่อชี้ “แกร็บ” (Grab) ลุยเจรจาเพิ่มทุนอีก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นก้าวที่ต่อเนื่องจากเมื่อเดือนเมษายน Grab ได้ระดมทุนเพิ่มขึ้น 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อขยายสู่ตลาดใหญ่สุดหินอย่างอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของคู่แข่งสำคัญ “โกเจ็ก” (Go-Jek)

จากเมษายน เท่ากับ Grab ทิ้งเวลาเพียงประมาณ 5 เดือนเท่านั้นหลังจากได้รับเงินทุนจำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในรอบการระดมทุน Series H จุดนี้สำนักข่าวไฟแนนซ์เอเชีย (FinanceAsia) รายงานว่าความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่บริการร่วมเดินทางแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ยังอยู่ในขั้นการเจรจา

แม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุป แต่ข่าวนี้สะท้อนถึงโอกาสที่ Grab จะระดมทุนครั้งใหญ่อีกรอบ ซึ่งจะเป็นการอัดฉีดให้บริษัทสามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในตลาดอาเซียน จุดนี้มีการอ้างคำให้สัมภาษณ์ของหมิง หม่า (Ming Maa) ประธาน Grab ที่ยอมรับว่าการเพิ่มทุนอีก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเกิดขึ้นเพื่อผลักดันให้ Grab ขยายตัวทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับช่วงเมษายนที่ผ่านมา Grab ได้รับเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐจากกลุ่มทุนหลากหลาย ทั้ง OppenheimerFunds, Ping An Capital, Macquarie Capital, Lightspeed Venture Partners, Mirae Asset-Naver Asia Growth Fund, Cinda Sino-Rock Investment Management, All-Stars Investment และ Vulcan Capital โดยเงินทุนส่วนใหญ่ถูกเตรียมไว้เพื่อการเพิ่มเขี้ยวเล็บให้ Grab บุกตลาดอินโดนีเซียได้ ซึ่งจะต้องต่อกรโดยตรงกับ Go-Jek

ถัดมาอีก 2 เดือน Grab ประกาศความร่วมมือกับโตโยต้า (Toyota) เพื่อเสริมสร้างและขยายความร่วมมือเรื่องการนำรถยนต์ต่ออินเทอร์เน็ตหรือ connected car มากระตุ้นให้มีการนำโซลูชั่นด้านการสื่อสารเคลื่อนที่ไปใช้บนท้องถนนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดีลดังกล่าว Grab ระบุว่าจะทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มบริการเคลื่อนที่ของ Toyota หรือ Toyota Mobility Service Platform (MSPF) ซึ่งจะรวมบริการด้านการเงิน งานประกันภัย และระบบคาดการณ์การบำรุงรักษา (predictive maintenance) ทั้งหมดจะช่วยให้ผู้ขับขี่บนแพลตฟอร์ม Grab มีประสบการณ์ที่ดีขึ้น

ความเคลื่อนไหวเหล่านี้สะท้อนการขยายตัวที่ชัดเจนของ Grab บริการดาวรุ่งที่เพิ่งแจ้งเกิดเมื่อปี 2012 หลังจากที่เริ่มสร้างชื่อในกลุ่มบริการ O2O หรือ Online to Offline ที่เน้นให้ชาวออนไลน์สามารถเข้าถึงอาหารหรือบริการจากร้านออฟไลน์ Grab จึงขยายธุรกิจให้คลุมบริการจัดส่งพัสดุ, บริการการชำระเงินผ่านมือถือ และบริการทางการเงิน โดยปัจจุบัน Grab มีบริการในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม พม่า และกัมพูชา.

Source

]]>
1186212
9 ข้อ กับอนาคต “แกร็บ” หลังรวมอูเบอร์ เดลีไลฟ์แอป เตรียมขยับสู่ธุรกิจ “นาโน ไฟแนนซ์” https://positioningmag.com/1169366 Thu, 10 May 2018 00:08:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169366 ครบ 1 เดือนพอดี นับตั้งแต่ 9 เม.. 61 ที่ลูกค้าอูเบอร์ต้องย้ายมาใช้บริการแกร็บเต็มตัว แกร็บมีประเด็นร้อนให้ติดตามหลายเรื่อง โดยเฉพาะรูปแบบบริษัทหลังการควบรวมอูเบอร์ รวมถึงแนวทางให้บริการนับจากนี้

1. แกร็บต้องการเป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับทุกวัน

วิสัยทัศน์นี้ของแกร็บเกิดขึ้นเพราะการสำรวจครั้งล่าสุด ที่แกร็บพบว่าทุกวันนี้ชาวดิจิทัลต้องการแอปพลิเคชั่นเดียว โดยในวันหนึ่ง คนส่วนใหญ่อยากเปิดแค่ 1 แอปพลิเคชั่นที่จะมีทุกบริการในนั้น แกร็บจึงวางเป้าหมายใหญ่ว่าจะเป็นเดลีไลฟ์แอป ซะเลย

การจะเป็นแอปสำหรับทุกวันได้ ต้องทำให้แกร็บเป็นแอปที่ตอบโจทย์ออฟไลน์ได้หมด 

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บ แท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุ

ก่อนนี้แกร็บ เป็นแอปพลิเคชั่นเรียกรถแท็กซี่ หรือ เรียกรวมว่า ระบบร่วมเดินทาง หรือ Ridesharing  แต่หลังจากรวมกิจการอูเบอร์ เข้ามา รวมเอาฐานลูกค้า และบริการต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ก็ทำให้มองไกลกว่าเดิม ด้วยการวางเป้าหมายเป็นแอปเดียวที่เชื่อมการใช้จ่าย การเดินทาง และบริการหลายอย่างเข้าด้วยกัน ที่ผ่านมา แกร็บอาจมีพันธมิตรหลักคือคนขับแต่จากนี้ แกร็บจะหาพันธมิตรที่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี และร้านอาหารให้มากขึ้น ซึ่งวันนี้แกร็บมีพันธมิตรทั้งภูมิภาคกว่า 6 ล้านรายแล้ว

ธรินทร์ อธิบายว่า วันนี้แกร็บได้เพิ่มขอบเขตบริการจากการรับส่งผู้โดยสารมาให้บริการส่งของ บริการส่งอาหาร กระทั่งเมื่อปีที่แล้ว แกร็บออกระบบคะแนน ให้ผู้โดยสารนำคะแนนไปแลกบริการและสินค้ากับพันธมิตรได้ ล่าสุดคือ 2-3 เดือนที่ผ่านมา แกร็บเริ่มประสานงานเพื่อให้บริการสินเชื่อรายย่อยแก่ผู้ขับ และที่สิงคโปร์มีให้บริการเช่าจักรยานแล้ว

แกร็บเชื่อว่าด้วยธุรกิจที่มีหลายขา บริษัทจะรวมทุกอย่างส่งให้ผู้บริโภค นี่คือวิสัยทัศน์ที่เรามีในอนาคต

2. สัดส่วนธุรกิจแกร็บจะเปลี่ยนแปลงชัดเจน

ผู้บริหารแกร็บเชื่อว่า จากธุรกิจเดินทางขนส่งด้วยรถ 4 ล้อและ 2 ล้อที่เป็นธุรกิจหลักของแกร็บ ในอนาคตธุรกิจส่งอาหารอย่างแกร็บฟู้ด น่าจะเปลี่ยนขึ้นมาครองสัดส่วนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลักของแกร็บก็จะยังมีขนาดเม็ดเงินหมุนเวียนสูงมากขึ้นต่อไป เพราะกลุ่มเดินทางขนส่ง 2 ล้อจะขยายตัวมากกว่านี้ ผลจากวินมอเตอร์ไซค์สามารถทำเที่ยววิ่ง หรือทำรอบได้มากขึ้นต่อวัน

3. แกร็บฟู้ดคือ 1 ในบริการหัวหอก

บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นอย่างแกร็บฟู้ดนั้นเพิ่งเริ่มให้บริการ 3-4 เดือน แต่ได้รับผลตอบรับ จากการที่ช่วงแรกเปิดให้บริการในรัศมี 5 กิโลเมตรนอกจากผู้สั่งสามารถติดตามได้ตลอดว่าอาหารอยู่ที่ไหน สามารถพิมพ์แชตสั่งอาหารได้โดยไม่ต้องโทร

ที่สำคัญคือ ให้บริการฟรีในช่วง 4 เดือนแรกเพื่อสร้างฐานลูกค้า

ปัจจุบันแกร็บฟู้ดมีพันธมิตรเกิน 4,000 ร้าน ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา ออเดอร์สั่งอาหารเติบโต 440% โดยออเดอร์เหล่านี้เกิดจากการที่เปิดแอปแกร็บแล้วพบเมนูสั่งอาหารได้ทุกเวลา

ผู้บริหารแกร็บยืนยันว่า แกร็บฟู้ดได้รับอานิสงส์เล็กน้อยเท่านั้นจากการควบรวมอูเบอร์อีทส์ เนื่องจากบริการส่งอาหารของอูเบอร์มีพันธมิตรร้านค้าประมาณ 1,000 ร้าน ในขณะที่แกร็บมีประมาณ 2,000-3,000 ราย ซึ่งเมื่อมารวมกัน แกร็บต้องทำสัญญากับแต่ละร้านใหม่อีกครั้ง

ถามว่าเราพร้อมจะแข่งขันไหม เราส่งฟรีมา 4 เดือนจนคู่แข่งรายอื่นยกเลิกบริการฟรีไปหมดแล้วโดยบอกว่าลูกค้าแกร็บฟู้ดจะเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับรับประทานที่ร้าน ซึ่งหลังจากวันที่ 1 มิถุนายน จะมีค่าบริการส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท

ธรินทร์ ย้ำว่า ความสำเร็จนี้คือผลจากการเป็นวันสต็อปเซอร์วิสแอปโดยอีก 2 สัปดาห์ ผู้ใช้แกร็บทุกคนจะเห็นเมนูแกร็บฟู้ดในสมาร์ทโฟนของตัวเอง โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปใดเพิ่มเติม

4. ปรับโครงสร้างองค์กรรับมือ 3 บริการหลัก

แกร็บลงมือปรับโครงสร้างองค์กรรองรับ 3 บริการ คือ 1. บริการเดินทางขนส่ง (ทั้งมอเตอร์ไซค์และรถยนต์) 2. บริการส่งของ (ทั้งอาหารและสิ่งของ) 3. บริการชำระเงิน

แกร็บบอกว่าจะต้องทำให้ได้ 3 อย่าง คือต้องปลอดภัย ต้องเป็นบริการที่เข้าถึงได้ทุกคน และต้องเป็นประโยชน์กับชุมชน และช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ขับดีขึ้น มีการสอนภาษาอังกฤษ และในอนาคตยังไปถึงการให้เงินกู้แก่คนขับด้วย

5. เดินหน้าเข้าเตรียมเปิด “นาโน ไฟแนนซ์”

การให้เงินกู้กับคนขับถือเป็นสเต็ปแรก ธรินทร์บอกว่าหนึ่งในสิ่งที่แกร็บต้องการทำมากที่สุด คือวันนี้คนขับมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ไม่มีหลักฐานเงินเดือนทำให้ธนาคารปฏิเสธ แต่แกร็บจะมีข้อมูลการขับ มีข้อมูลรายได้ แกร็บจึงกำลังเตรียมเปิดบริการเงินกู้ให้กับผู้ขับของแกร็บ โดยที่ไม่ต้องส่งหลักฐานเพิ่มเติม

เป้าหมายต่อไป คือ บริการทางการเงิน แกร็บเดินหน้าขอใบอนุญาตจากแบงก์ชาติ เพื่อให้บริการอีวอลเล็ต อาจต้องใช้เวลา 3-4 เดือน ทำให้การขยายผลระบบแกร็บเพย์ (Grab pay) ไม่เกิน 1 ปีน่าจะให้บริการทางการเงินได้ในรูปแบบนาโนไฟแนนซ์

6. ยืนยันค่าบริการไม่เปลี่ยนแปลง

หลังควบรวมอูเบอร์ อัตราค่าบริการรถโดยสารของแกร็บถูกระบุว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะตัวคูณช่วงรถติด ที่จะลดลงจนแทบจะไม่มี 

เป็นเพราะคนขับรถกับแกร็บมากขึ้น ลูกค้าจะเรียกรถได้ง่ายขึ้นด้วย แต่ต้องยอมรับว่าเรายังต้องมีตัวคูณช่วงฝนตก เพื่อให้ราคาค่าโดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งจะจูงใจผู้ขับให้อยากรถขับรับส่งผู้โดยสารในช่วงฝนตกรถติด

ในมุมจำนวนรถ การควบรวมรถของอูเบอร์เข้ามาทำให้จำนวนผู้ขับแกร็บเพิ่มขึ้นราว 10% แต่ตัวเลขผู้โดยสารที่เรียกรถ แกร็บปฏิเสธไม่เปิดเผย 

แท็กซี่ไทยวันนี้ 9 หมื่นคัน คาดว่าอย่างน้อย 20% ขับแกร็บ

กรณีการปรับโครงสร้างบริษัท แกร็บไม่เปิดเผยชัดเจนว่าจะยุบรวมพนักงานอูเบอร์ไทยหรือให้ออก โดยบอกเพียงว่าไม่มีผู้บริหารแกร็บใดลาออก และที่แกร็บทำคือการพยายามหาทางออกที่เหมาะสม 

เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่เลือกได้ว่าจะอยู่หรือไป พร้อมบอกว่า แกร็บใช้เวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาคุยรายคน แต่ไม่เปิดเผยจำนวนพนักงานอูเบอร์ไทยรวม

สำหรับตัวธรินทร์เอง ก่อนจะมาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บประเทศไทย ผู้บริหารรายนี้มาจากลาซาด้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในช่วงที่ลาซาด้าทำโครงการร่วมกับอาลีบาบา โดยธรินทร์ร่วมงานกับแกร็บมานาน 4 เดือนเท่านั้น

ที่สำคัญ ผู้บริหารแกร็บเชื่อว่าดีลแกร็บซื้ออูเบอร์ในอาเซียนนั้นไม่ทำให้เกิดการผูกขาด เนื่องจากวันนี้คนไทยยังมีตัวเลือกหลากหลาย สามารถเรียกมอเตอร์ไซค์ได้ หรือเดินทางรถไฟฟ้าได้ 

แกร็บยืนยันว่าจะไม่มีการตัดธุรกิจใดออก และตั้งเป้าขยายให้บริการแกร็บคลุม 20 จังหวัดทั่วไทยในปีนี้ จากปัจจุบันที่ขยายไปแล้ว 16-17 จังหวัดใหญ่ทั่วไทย

7. ยอดใช้แกร็บไม่ได้เกิดเพราะโปรโมชั่น

พฤติกรรมลูกค้าแกร็บในวันนี้ ธรินทร์ระบุว่าน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้แกร็บที่เรียกใช้บริการเพราะโปรโมชั่น โดยบอกว่าลูกค้าที่คลิกซื้อสินค้าออนไลน์ยังอาจรอให้มีโปรโมชั่นก่อน แต่การเดินทางนั้นต้องเดินทางวันนี้ ตอนนี้ ทำให้ยอดใช้งานแกร็บไม่ได้เกิดเพราะโปรโมชั่น

8 ปัญหายังไม่ถูกกฎหมาย

สำหรับกรณีที่ แกร็บ ยังคงมีปัญหาเรื่อง กฎหมาย ใช้รถส่วนบุคคลมารับจ้างล่าสุด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร หรือ กอ. รมน. กรุงเทพฯ จะเอาจริงในการจัดระเบียบแกร็บ กำชับให้แกร็บทำตามกฎหมายด้วยการใช้เฉพาะรถป้ายเหลืองเท่านั้น

ประเด็นนี้ ธรินทร์เผยว่าแกร็บได้พยายามประสานเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด พร้อมกับย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยต้องค่อยเป็นค่อยไป และควรคำนึงถึงผลได้ผลเสีย 

เราคุยมา 3 ปีแล้ว ต้องตระหนักเรื่องหนึ่งว่าเราก็มีภาระรับผิดชอบกับกลุ่มผู้โดยสารและคนขับ มีคนขับหลายคนที่สร้างตัวมากับเรา ถ้าวันหนึ่งเขาขาดเราไปก็จะเดือดร้อน เราหวังว่าจะมีทางคุยที่เหมาะสม

แม้หน่วยงานราชการไทยตั้งธงว่ารถที่ให้บริการรับส่งต้องเป็นป้ายเหลือง แต่ผู้บริหารแกร็บมั่นใจว่าจะมีทางออกที่เหมาะกับทุกฝ่าย โดยบอกว่าในหลายประเทศรอบข้าง แกร็บสามารถให้บริการอย่างถูกกฎหมาย และเมื่อบวกกับวิสัยทัศน์รัฐบาลไทย ทั้งเรื่องไทยแลนด์ 4.0 เรื่องค่าครองชีพ หรือเรื่องสังคมไร้เงินสด ทั้งหมดแกร็บตอบโจทย์ได้ดี

แกร็บยินดีจดทะเบียน หรือให้ข้อมูลตามที่หน่วยงานรัฐต้องการ ผมเชื่อว่าวันนี้ คนขับแกร็บทุกคนไม่มีปัญหาในการจดทะเบียน

9. ตอบโจทย์ขนส่ง 4.0

แกร็บมองว่าวันนี้ระบบขนส่งมวลชนของไทยยังไม่ 4.0 ยังไม่มีระบบมารองรับ ธรินทร์จึงคิดว่าไทยสามารถใช้ระบบแกร็บมาตอบโจทย์นี้ได้ ขณะเดียวกันแกร็บจะทำให้เกิดสังคมไร้เงินสดได้จริงด้วย ส่งให้สังคมไทยเปลี่ยนไปสู่สังคมนวัตกรรมได้.

]]>
1169366
7 สถิติ Grab ปักหลักขยายฐานอาเซียน https://positioningmag.com/1169081 Tue, 08 May 2018 10:15:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169081 1169081 10 เรื่องต้องรู้ หลัง Uber รวม Grab https://positioningmag.com/1165200 Mon, 09 Apr 2018 05:25:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165200 1165200 “Alibaba” เตรียมเข้าลงทุน Grab https://positioningmag.com/1165042 Fri, 06 Apr 2018 05:43:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165042 หลังจากแกร็บ (Grab) ประกาศซื้ออูเบอร์ (Uber) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานล่าสุดระบุว่า Grab มีแนวโน้มถูกติดอาวุธด้วยการอัดฉีดเงินทุนจากอาลีบาบา (Alibaba) ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจีนที่สื่อระบุว่ากำลังเตรียมการลงทุนในบริษัทรถร่วมเดินทางรายใหญ่ของอาเซียน

รายงานจากสำนักข่าวเทกครันช์ (TechCrunch) ระบุว่า Alibaba กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการลงทุนใน Grab โดยยืนยันว่ามีแหล่งข่าว 2 แหล่งที่ฟันธงเรื่องเจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซจีนเปิดการเจรจาแล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเม็ดเงินลงทุนจะมีมูลค่าเท่าใด หรือเป็นการซื้อหุ้น Grab ที่มูลค่าเท่าใด โดยมูลค่าประเมิน Grab ล่าสุดจากนักลงทุนอยู่ที่ระดับ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.87 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องระยะเวลาการลงทุนที่ Alibaba จะเทให้ Grab โดยอาจต้องรอผลการตรวจสอบของทางการสิงคโปร์ ที่ออกแถลงการณ์ตรวจสอบข้อตกลงระหว่าง Grab และ Uber เนื่องจากการควบรวมกิจการ 2 แอปพลิเคชั่นร่วมเดินทางยักษ์ใหญ่อาจละเมิดกฎหมาย ส่งให้ประเทศอื่นเร่งตรวจสอบในทิศทางเดียวกัน

เบื้องต้น Grab ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้ เช่นเดียวกับโฆษก Alibaba ที่กล่าวว่าบริษัทจะไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวลือ

อย่างไรก็ตาม TechCrunch ระบุว่าการลงทุนของ Alibaba จะดำเนินการผ่านซอฟต์แบงก์ (SoftBank) ซึ่งถูกวิเคราะห์ว่าเป็นตัวละครสำคัญในการทำข้อตกลงซื้อกิจการระหว่าง Grab และ Uber ที่ผ่านมา Alibaba และ Grab เคยเจรจาลงทุนกันมาก่อนในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา แต่ข้อตกลงไม่เกิดขึ้น โดยในเวลานั้น Alibaba หันไปลงทุนในบริษัทดาวรุ่งอีคอมเมิร์ซอินโดนีเซียอย่างโทโกพีเดีย (Tokopedia) แทน

เหตุที่ทำให้การลงทุนใน Tokopedia เกิดขึ้นก่อน คือการลงทุนใน Tokopedia มีความสำคัญมากกว่า เพราะคู่แข่งร่วมชาติของ Alibaba อย่างเทนเซ็นต์ (Tencent) กำลังเจรจาเพื่อลงทุนก้อนใหญ่ในอินโดนีเซีย ดังนั้น Alibaba จึงต้องกระโดดร่วมขบวนในศึกแดนอิเหนาให้ทัน เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ถูกจัดว่ามีระบบเศรษญกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 4 ของโลก

อีกปัจจัยสำคัญคือ Alibaba และ SoftBank นั้นเป็นพันธมิตรกันมายาวนาน ซึ่ง SoftBank ก็เป็นผู้สนับสนุน Tokopedia และ Grab เช่นกัน ดังนั้นการลงทุนของ Alibaba ใน Grab จึงมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดขึ้นเพราะอิทธิพลของ SoftBank

อิทธิพลของ SoftBank นั้นเคยเป็นประเด็นในช่วงก่อนหน้านี้ โดยรายงานของ TechCrunch ชี้ว่าอิทธิพลของ SoftBank ทำให้ Alibaba สามารถลงทุนใน Tokopedia ได้ก่อน Tencent แม้ว่าผู้ร่วมก่อตั้งของ Tokopedia จะเลือกข้าง Tencent มากกว่า เนื่องจาก Alibaba มีภาพความเป็นเจ้าของลาซาด้า (Lazada) คู่แข่งของ Tokopedia แต่ดีลทั้งหมดก็ผ่านได้ ทำให้ Alibaba ชนะและนำเงินลงทุนจำนวน 1.1 พันล้านเหรียญเทลงใน Tokopedia ช่วงสิงหาคมที่ผ่านมา

การลงทุนของ Alibaba นั้นดำเนินการในนามบริษัทแอนท์ไฟแนนเชียล (Ant Financial) ซึ่งปูพรมลงทุนในธุรกิจหลายแห่งทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการควบกิจการกับสถาบันการเงินชื่อดังมันนี่แกรม (MoneyGram) ที่ล้มเหลวไป ยังมีการเป็นพันธมิตรในแอปพลิเคชั่นแกร็บเพย์ (Grab Pay) ที่วางเป้าหมายว่าจะขึ้นเป็นผู้ให้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในภูมิภาคนี้ ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มอิทธิพลของ Alibaba และ Ant Financial ได้อีกแน่นอน

การลงทุนเหล่านี้เกิดขึ้นบนการสำรวจที่พบว่าอาเซียนจะเป็นแผ่นดินทองของธุรกิจออนไลน์ โดยรายงานที่มีกูเกิล (Google) ร่วมศึกษาด้วยช่วงปีที่แล้ว ประเมินว่าเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะขยายตัวเป็น 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 จาก 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017 ซึ่งขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า บริษัทจีนกำลังพยายามคว้าโอกาสทองนี้ไว้ ไม่ใช่บริษัทจากสหรัฐฯอย่างที่เคยเป็นในยุคก่อน.

source

]]>
1165042
แกร็บ รับมือศึกใหญ่ “ไลน์แท็กซี่” จับมือการบินไทย “นั่งแกร็บ ได้ไมล์” รอยัล ออคิด พลัส ดึงลูกค้าให้อยู่นานๆ https://positioningmag.com/1164581 Tue, 03 Apr 2018 14:20:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164581 ถึงแม้การควบรวมกิจการระหว่าง แกร็บ (Grab) และอูเบอร์ (Uber) จะทำให้คู่แข่งในตลาดลดลงไปอีกราย ยังได้ฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นมาทันทีโดยมีไลน์เพย์มารองรับเรื่องการชำระเงิน

แต่ธุรกิจนี้กำลังมีคู่แข่งรายสำคัญไลน์ แท็กซี่เปิดเกมด้วยการให้ส่วนลดพิเศษ 120 บาท สำหรับผู้ใช้ทั้งเก่าและใหม่ ในอัตราเริ่มต้น 20 บาท เพื่อหวังให้เกิดการทดลองใช้ 

จุดแข็งสำคัญของไลน์ คือ ฐานลูกค้า 42 ล้านคนในมือ และบริการไลน์แท็กซี่ยังต่อยอดมาจากไลน์แมนซึ่งคนคุ้นเคยดีแล้ว

นอกจากนี้ ไลน์ยังใช้วิธีจับมือครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่เขตกรุงเทพฯ เพื่อให้บริการนี้ถูกกฎหมาย โดยเปิดให้ทดลองใช้มาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

ทางด้านแกร็บ จึงต้องผูกลูกค้าในระบบให้อยู่หมัด กระตุ้นให้ใช้บริการต่อเนื่อง ด้วยการจับมือกับการบินไทย ให้ผู้โดยสารสามารถสะสมคะแนน เพื่อแลกไมล์ รอยัล ออคิด พลัส เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 เมษายนเป็นต้นไป

การสะสมจะทำได้ 2 ทางจากโปรแกรมสะสมและแลกคะแนนแกร็บรีวอร์ดส และโปรแกรมสะสมไมล์ รอยัล ออร์คิด พลัส

โดยผู้โดยสารสามารถแลกคะแนนเดินทางจากแกร็บรีวอร์ดสเป็นรอยัล ออร์คิด พลัส ไมล์ ส่วนสมาชิกบัตรรอยัล ออร์คิด พลัส สามารถเปลี่ยนไมล์สะสมเป็นรหัสโปรโมชั่นของแกร็บได้เช่นกัน

กติกาในการสะสม ผู้โดยสารสามารถแลกคะแนนสะสมแกร็บรีวอร์ดส เป็นรอยัล ออร์คิด พลัส ไมล์ ได้ เริ่มต้นที่ 16 บาท ในการชำระค่าเดินทาง จะได้คะแนนสะสม 1 ไมล์ของรอยัล ออร์คิด พลัส โดยต้องเลือกชำระเงินผ่านแกร็บเพย์

นอกจากนี้ ค่าโดยสารของบริการจัสท์แกร็บ สะสมได้เช่นกัน 20 บาท ต่อ 1 รอยัล ออร์คิด พลัส ไมล์

สมาชิกบัตรรอยัล ออร์คิด พลัส สามารถเลือกเปลี่ยนไมล์สะสมเป็นรหัสโปรโมชั่นของแกร็บได้โดยใช้ไมล์สะสม 2,500 ไมล์ ต่อรหัสโปรโมชั่น 300 บาท

ใครที่ใช้บัตรเคดิต แกร็บร่วมมือกับ บัตรเอสซีบี มาย ทราเวล เคทีซี และยูโอบีพรีวิไมลส์ ให้มาลงทะเบียนกับแกร็บเพย์บนแอปพลิเคชั่นแกร็บ เพื่อสะสมไมล์ รอยัล ออร์คิด พลัส ได้ ลงทะเบียนกับแกร็บเพย์เป็นครั้งแรก จะได้รับคะแนนแกร็บรีวอร์ด 1,800 คะแนน

ทั้งแกร็บและรอยัล ออร์คิด พลัส ร่วมกันจัดโปรโมชั่นลุ้นบัตรโดยสาร การบินไทยไปกลับ ในชั้นประหยัด จำนวน 2 ที่นั่ง

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด บอกด้วยว่าการเป็นพันธมิตรกับการบินไทยในครั้งนี้เพื่อต้องการตอกย้ำว่า แกร็บเป็นบริษัทเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นรายเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีโปรแกรมการสะสมคะแนนสำหรับลูกค้า

ในปัจจุบัน แกร็บ ทำธุรกิจใน 8 ประเทศ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา วางจุดยืนเป็นแพลตฟอร์ม O2O (Online to Offline) ในชีวิตประจำวันของลูกค้า.

]]>
1164581
Grab สิงคโปร์ ให้คำมั่นไม่ขึ้นราคาหลังควบรวมกิจการ Uber https://positioningmag.com/1164291 Mon, 02 Apr 2018 05:20:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164291 จากกรณีที่มีข้อวิตกกังวลที่มีต่อการควบรวมกิจการระหว่าง แกร็บ (Grab) และอูเบอร์ (Uber) จนหน่วยงานดูแลเรื่องการแข่งขันทางการค้าของประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้เตรียมตรวจสอบดีลดังกล่าว ว่าเข้าข่ายผูกขาดทางการค้าหรือไม่นั้น

อ่าน >> ไม่ฉลุย ! ดีล Grab ซื้อ Uber สิงคโปร์-มาเลเซีย ลุยสอบหวั่นผูกขาด

โดยคณะกรรมการการขนส่งสาธารณะทางบกของประเทศมาเลเซีย (SPAD) เตรียมตั้งกระบวนการตรวจสอบดีลแกร็บ (Grab) ถึงดีลดังกล่าว รวมทั้งคณะกรรมการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้ามาเลเซีย (MyCC) ได้เตรียมพิจารณาว่าดีลนี้ผิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้าหรือไม่

เช่นเดียวกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์ หรือ Competition Commission of Singapore (CCS) ได้ตรวจสอบข้อตกลง และเสนอมาตรการชั่วคราวที่จะต้องกำหนดให้ Uber และ Grab ตรึงราคาไว้เช่นเดิม

ล่าสุด แกร็บ ได้ส่งหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าว ลงนามโดย ลิม เคล เจย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ สิงคโปร์

ต่อข้อกังวลของสาธารณชนนั้น แกร็บ ยังคงยืนยันไม่เพิ่มค่าโดยสารขั้นต่ำ และคงระบบการคิดราคาเช่นเดิมไว้ ทั้งหมดนี้ เป็นข้อตกลงที่เราจะมอบให้แก่ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์ (CCS: Competition Commission of Singapore) และสาธารณชน

โดยแกร็บ พร้อมทำงานร่วมกับ CCS, กรมการขนส่งสิงคโปร์ (LTA: Land Transportation Authority) และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงออกข้อปฏิบัติเพื่อให้ความมั่นใจแก่ CCS ตลอดจนผู้โดยสาร และผู้ขับขี่ของเรา

ในเรื่องการยื่นเรื่องต่อ CSS นั้น แกร็บขอชี้แจงให้ทราบว่า บริษัทฯ ได้ทำการประเมินและวิเคราะห์ร่วมกับที่ปรึกษาต่างๆ ก่อนทำการควบรวมธุรกิจ และเราได้มีการติดต่อประสานงานกับทาง CCS มาโดยตลอดและจะยังคงทำเช่นนั้น

นอกจากนี้ แม้ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับทางกฏหมาย แต่แกร็บก็ได้ทำการแจ้งทาง CCS ล่วงหน้าว่าจะมีการยื่นเรื่องไม่เกินในวันที่ 16 เมษายน 2561 เพื่อทำงานร่วมกันในขั้นตอนต่างๆ

จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอโปรดพิจารณาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของสาธารณชน.

]]>
1164291
ไม่ฉลุย ! ดีล Grab ซื้อ Uber สิงคโปร์-มาเลเซีย ลุยสอบหวั่นผูกขาด https://positioningmag.com/1164184 Sun, 01 Apr 2018 12:14:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164184 ถึงแม้จะมีการประกาศความสำเร็จของดีล Grab ซื้อกิจการ Uber ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปหมาดๆ แต่ก็ยังมีอุปสรรครออยู่ โดยเฉพาะการควบรวมกิจการส่งผลให้เกิดการผูกขาดกิจการ

คณะกรรมการการขนส่งสาธารณะทางบกของประเทศมาเลเซีย (SPAD) เตรียมตั้งกระบวนการตรวจสอบดีลแกร็บ (Grab) ถึงดีลดังกล่าว รวมทั้งคณะกรรมการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้ามาเลเซีย (MyCC) ที่ตื่นตัวเพื่อตรวจสอบดีลนี้อย่างจริงจัง

หลังจากเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ออกมาประกาศกับสื่อแล้วว่า ดีลนี้อาจผิดกฎหมาย เนื่องจากเป็นการควบรวมกิจการที่อาจทำให้อุตสาหกรรมไม่เกิดการแข่งขันเท่าที่ควร ส่งผลเสียต่อผู้บริโภคในประเทศ

โดย คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์ หรือ Competition Commission of Singapore (CCS) ออกแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม ว่า CCS ได้เริ่มการตรวจสอบข้อตกลง และเสนอมาตรการชั่วคราวที่จะต้องกำหนดให้ Uber และ Grab ตรึงราคาก่อนดีลไว้

ล่าสุด คณะกรรมการการแข่งขันของมาเลเซีย หรือ Malaysia Competition Commission (MyCC) ก็ออกแถลงการณ์ลักษณะเดียวกัน เพื่อตรวจสอบว่า ดีลนี้ผิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้าหรือไม่ ด้านโฆษก Grab ไทยระบุว่า หลังวันที่ 8 เมษายน คนไทยที่มีแอปพลิเคชัน Uber ในเครื่องจะยังสามารถใช้งานแอปพลิเคชันได้อยู่เมื่อเดินทางในประเทศนอก

กลุ่มอาเซียน แต่การเดินทางในไทยจะไม่มีรถให้บริการ โดยผู้ที่ต้องการใช้บริการรถร่วมเดินทาง จะต้องดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชัน Grab และใช้บริการ Grab แทน

นอกจากประเด็นผิดกฎหมาย ดีลของ Uber-Grab ยังมีข่าวแง่ลบเรื่องการสื่อสารในองค์กรที่มีช่องโหว่ของ Uber ทำให้พนักงานสับสนเรื่องนโยบายปรับโครงสร้างองค์กร จนมีข่าวรั่วว่า พนักงาน Uber ในสิงคโปร์ ได้รับคำสั่งให้เก็บของออกจากสำนักงานภายใน 2 ชั่วโมง ขณะเดียวกัน ก็มีข่าวจากพันธมิตรของ Uber ที่ไม่แน่ใจในนโยบายหลังจากดีล.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000032093

]]>
1164184