Honor – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 23 Nov 2023 04:23:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Honor’ อดีตแบรนด์ลูกของ ‘หัวเว่ย’ เล็งออก IPO เพื่อเดินหน้ารุกตลาด ‘สมาร์ทโฟนไฮเอนด์’ https://positioningmag.com/1453031 Thu, 23 Nov 2023 03:36:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453031 จากอดีต Honor (ออเนอร์) เคยเป็นแบรนด์ลูกของ Huawei (หัวเว่ย) ที่แยกออกมาเพื่อจับตลาดสมาร์ทโฟนกลุ่มล่าง-กลาง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทิศทางของ Honor คือจับตลาดไฮเอนด์ โดยล่าสุด บริษัทได้ประกาศว่ามีแผนจะ IPO เพื่อนำเงินทุนมาต่อยอด

Honor ได้เปิดเผยว่า บริษัทกำลังวางแผนที่จะออก IPO สู่สาธารณะ โดย Honor จะยังคงเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างการถือหุ้น ดึงดูดเงินทุนที่หลากหลาย และเข้าสู่ตลาดทุนผ่านการเสนอขายหุ้น IPO หรือการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก อย่างไรก็ตาม Honor ไม่ได้เปิดเผยว่าจะเข้าจดทะเบียนในประเทศใด

การเคลื่อนไหวเพื่อระดมทุนในตลาดสาธารณะตอกย้ำถึงการผลักดันเชิงรุกของ Honor ในตลาดสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะในเซ็กเมนต์ไฮเอนด์ ซึ่งอาจจะสร้างความท้าทายร้ายแรงให้กับ Apple และ Samsung ที่โฟกัสในตลาด ไฮเอนด์เหมือนกัน โดยในปีนี้ Honor ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนจอพับรุ่นใหม่ ได้แก่ Honor Magic V2 สมาร์ทโฟนจอพับที่บางที่สุด

ทั้งนี้ Honor ได้ถูก หัวเว่ย ขายในปี 2020 ให้กับกลุ่มผู้ซื้อซึ่งมีรัฐบาลเซินเจิ้นรวมอยู่ด้วย เนื่องจากถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร ทำให้ธุรกิจสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยต้องหยุดชะงักลง ดังนั้น หัวเว่ยเลยต้องจำใจขาย Honor เพื่อรักษาแบรนด์และปล่อยให้แบรนด์ดำเนินธุรกิจต่อไปได้

โดยตอนที่ Honor อยู่ภายใต้ร่มเงาของหัวเว่ย แบรนด์ได้ถูกวางตัวในการจับตลาดกลาง-ล่าง ขณะที่หัวเว่ยจะจับเซ็กเมนต์กลาง-บน แต่หลังจากที่แยกออกมา Honor ก็ประกาศว่าจะโฟกัสที่ตลาดกลาง-บน เหมือนกับที่หัวเว่ยเคยทำ ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมา Honor ถือเป็นแบรนด์เดียวที่สามารเติบโตได้ในตลาดจีน อย่างไรก็ตาม หากพูดถึง Honor ในตลาดโลกอาจยังไม่แข็งแรงเท่ากับในจีน

‘Honor’ คืนชีพในรอบ 4 ปี! กับภารกิจ ‘วัดรอยเท้าหัวเว่ย’ ไม่เล่นตลาดล่าง เน้นจับกลุ่ม ‘พรีเมียม’

Source

]]>
1453031
มองตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ ขาลง เซกเมนต์ ‘พรีเมียม’ คือ โอกาสเดียวสร้างการเติบโต https://positioningmag.com/1438507 Fri, 21 Jul 2023 06:06:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438507 ภาพรวมตลาด สมาร์ทโฟน ทั่วโลกหดตัวติดต่อกัน 6 ไตรมาสนับตั้งแต่ปี 2022 และสำหรับตลาดเมืองไทยก็ไม่ต่างกัน แต่จะมีปัจจัยบวกปัจจัยลบอะไร และทิศทางการแข่งขันของแต่ละแบรนด์จะเป็นอย่างไร ไปดูกัน

ค่ายมือถือเหลือ 2 รายเริ่มส่งผล

นับตั้งแต่ที่ True และ Dtac ควบรวมกันในช่วงเดือนมีนาคมจะเห็นว่า ราคาแพ็กเกจ ของทุกค่ายมีการ ปรับขึ้น โดย AIS มีการปรับราคาแพ็กเริ่มต้นจากปีก่อนมาเป็น 399 บาท จากเดิมเริ่มต้น 349 บาท ส่วนแพ็ก 499 – 599 บาทมีการลดนาทีโทรลง 50 นาที ส่วนแพ็กเกจ Unlimited ราคาเริ่มต้นยังเท่าเดิมที่ 1,199 บาท แต่มีการปรับรูปแบบการโทร จากโทรฟรีในเครือข่าย กลายเป็นคิดไปในนาทีโทรรวมแทน

True มีการ ตัดแพ็กเกจเริ่มต้น 299 บาทออก โดยจะเริ่มต้นที่ 399 บาท ส่วนแพ็กเกจ Unlimited จะอยู่ที่ 1,199 บาท โดยสิ่งที่ถูกปรับลดก็คือ จำนวนการโทรตั้งแต่ 50 – 100 นาที ส่วน Dtac ก็ปรับราคาเริ่มต้นจาก 349 บาท เป็น 399 บาท และแพ็ก Unlimited จากเริ่มต้น 1,099 บาท เป็น 1,199 บาท เท่ากับค่ายอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการปรับเพิ่ม / ลดนาทีโทรให้เทียบเท่ากับ True อย่างไรก็ตาม แม้แต่ละค่ายจะมีการปรับราคา แต่ทุกค่ายก็พยายาม ชดเชย ด้วยสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้น โดยเฉพาะฝั่งของ คอนเทนต์

ในมุมมองของผู้บริโภค การที่ค่ายมือถือพร้อมใจกับปรับราคาอาจดูไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญกับตลาดสมาร์ทโฟน แต่ ชานนท์ จิรายุกุล ประธานกรรมการอาวุโสฝ่ายบริหารออปโป้แห่งประเทศไทย มองว่า เพราะฝั่งโอเปอเรเตอร์ที่เหลือ 2 ค่าย ทำให้ลดการ subsidize ส่วนลดค่าเครื่องก็ลดลง ค่าบริการรายเดือนกลับเพิ่มขึ้น มันก็มีผลเป็นโดมิโน ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ ดังนั้น ภาพตลาดสมาร์ทโฟนจากนี้คงยังไม่ฟื้น เพราะยังไม่เห็นปัจจัยบวก

พรีเมียม โอกาสเดียวที่ยังเติบโต

จากข้อมูลของ IDC เปิดเผยว่า สภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนไทยช่วง Q1/2023 หดตัวลง 25.7% โดยมียอดจัดส่งทั้งหมดราว 3.45 ล้านเครื่อง ที่น่าสนใจคือ ยอดจัดส่งของ สมาร์ทโฟนกลุ่มเริ่มต้น (Entry-level) ที่มีราคาไม่สูงมาก มียอดลดลงมากที่สุด โดยลดลงเหลือ 51% ของตลาด เทียบกับในไตรมาสก่อน (Q4/2022) อยู่ที่ 60% และไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว (Q1/2022) ที่ 59%

กลับกัน สมาร์ทโฟนในกลุ่มพรีเมียม (ราคามากกว่า 27,000 บาท) มียอดจัดส่งเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นมาเป็น 19% เทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 11% ดังนั้น จะเห็นว่าจากเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจที่ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เพียงแค่โอเปอเรเตอร์ขึ้นราคาก็ทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย

ต่างจากกลุ่มพรีเมียมที่ยังเติบโตได้ เพราะปัญหาเศรษฐกิจไม่กระทบคนมีเงิน ทำให้ผู้บริโภคในกลุ่มนี้สามารถ เปลี่ยนมือถือบ่อยกว่า และมีแนวโน้มจะ ซื้อในราคาที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าในกลุ่มนี้มีการ แข่งขันราคาน้อย กว่ากลุ่มล่าง ดังนั้น แบรนด์มือถือก็คิดแล้วว่าจะไปหั่นราคาแข่งกันในตลาดเริ่มต้นทำไม มาจับพรีเมียมดีกว่าเพราะผู้บริโภคยอมจ่าย

ภาพจากเว็บไซต์ PhoneArena

กล้องซูม + จอพับ ฟีเจอร์ชิงชัยกลุ่มพรีเมียม

แม้จะไม่มีตัวเลขชัดเจนในกลุ่มพรีเมียมว่าแบรนด์ไหนมีส่วนแบ่งมากที่สุด แต่เชื่อว่าหลายคนน่าจะเดาได้ว่าต้องเป็น iPhone ของ Apple ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้เล่นเบอร์ 3 ในตลาดไทยมีส่วนแบ่งตลาดราว 19.4% โดยใน Q1/2023 iPhone มียอดจัดส่ง 668,400 เครื่อง เติบโตถึง +34.9% และถือเป็น แบรนด์เดียวที่ยังเติบโต

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในสมาร์ทโฟนกลุ่มพรีเมียม ผู้บริโภคมีลอยัลตี้สูง ดังนั้น การที่แบรนด์ใหม่ ๆ จะแทรกตัวเข้ามาได้ต้องมี ฟังก์ชันหรือประสิทธิภาพ ที่ดึงดูดมากพอ ซึ่งจะเห็นว่า ซัมซุง (Samsung) ที่ถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ iPhone ก็มีฟังก์ชันเด่น ๆ ที่สามารถใช้มัดใจผู้บริโภคได้ อาทิ Galaxy S23 Ultra ที่มีจุดเด่นที่ กล้องเทพ ที่มี Telephoto ซูม 3 เท่า ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล ที่ถูกใจผู้ใช้สายคอนเสิร์ต ที่เอาไว้ซูมถ่ายศิลปินได้แม้จะอยู่ไกล หรือ Galaxy Z Flip / Fold สมาร์ทโฟนจอพับ ที่จับกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน

ที่ตามมาติด ๆ ก็คือ ออปโป้ (Oppo) เบอร์ 2 ของตลาดสมาร์ทโฟนไทย โดยแบรนด์ก็ชัดเจนว่าต้องการจะ เจาะกลุ่มพรีเมียม โดยต้องการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก เลขหลักเดียวเป็น 2 หลัก โดยหลังจากที่ปล่อยให้ซัมซุงนำร่องสมาร์ทโฟนจอพับไปแล้ว ทางออปโป้จึงค่อยส่ง Find N2 Flip มาทำตลาดตาม นอกจากนี้ ออปโป้เพิ่งเปิดตัวเรือธงรุ่นล่าสุดไปเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็คือ Find X6 Pro แต่ยังไม่เข้าทำตลาดไทย โดยทางออปโป้ให้ข้อมูลว่าจะทำเข้ามาแน่ แต่รอเวลา เพราะไม่อยากให้แข่งกับ Find N2 Flip

หรือแม้แต่แบรนด์ที่ไม่ได้ทำตลาดในไทยมานานถึง 4 ปีอย่าง ออเนอร์ (Honor) ที่เปรียบเสมือนตัวแทนความยิ่งใหญ่ของ หัวเว่ย (Hauwei) ที่เคยแข็งแรงในตลาดแฟลกชิปเมืองไทย ด้วยจุดเด่นที่หลายคนน่าจะจำได้ก็คือ กล้องไลก้า ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ ออเนอร์ก็ประกาศชัดว่าจะจับกลุ่มพรีเมียมเหมือนกับที่หัวเว่ยเคยทำ โดยส่ง Honor Magic5 Pro 5G มาทำตลาด นอกจากนี้ จะมีแบรนด์อื่น ๆ ที่จับผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม เช่น สมาร์ทโฟนเกมมิ่ง ที่เน้นราคาและดีไซน์จับลูกค้าเกมมิ่งกระเป๋าหนัก ไม่ว่าจะเป็น ASUS ROG Phone 7 Ultimate

ตลาดจะยังไม่กลับไปพีค

โอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็ม วิชั่น ผู้จัดงาน Thailand Mobile Expo มองว่า ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อตลาดสมาร์ทโฟนไทยและทั่วโลก แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ สมาร์ทโฟนในปัจจุบันใกล้จะถึง จุดสูงสุดของเทคโนโลยี แต่ละแบรนด์มีเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นกล้อง สเปก ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ จูงใจผู้บริโภคได้ยากกว่าเดิม โดยภายในงาน Thailand Mobile Expo ในช่วงพีคที่ตลาดสมาร์ทโฟนกำลังมาแรง เคยมีเงินสะพัดกว่า 3,000 ล้านบาท และมีผู้เข้าชมงานกว่า 7 แสนคน แต่ปัจจุบันมีเงินสะพัดเพียง 1,200 ล้านบาท มีผู้ชมราว 4 แสนคน เท่านั้น

เช่นเดียวกันกับ ชานนท์ จิรายุกุล ที่มองว่า ตลาดจะไม่กลับไปพีคเหมือนในอดีตเนื่องจากยังไม่มีนวัตกรรมที่เจ๋งพอเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างนวัตกรรม จอพับ ก็เป็นเพียง ตัวเลือกหนึ่งของผู้บริโภคเท่านั้น

“ผมว่าทุกแบรนด์พยายามหาพยายามทำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาดึงดูดผู้บริโภค แต่เชื่อว่ามีไม่เกิน 3 แบรนด์ที่จะมีนวัตกรรมเปลี่ยนโลกได้ และมันมีเรื่องของราคาต้นทุน และตลาดที่ยังไม่มา หรือมาเร็วไป ซึ่งมันอาจทำให้มันคอมเมอร์เชียลไม่ได้ การมาเร็วเกินไปก็อาจพับเสื่อกลับด้านได้” ชานนท์ ทิ้งท้าย

]]>
1438507
‘Honor’ คืนชีพในรอบ 4 ปี! กับภารกิจ ‘วัดรอยเท้าหัวเว่ย’ ไม่เล่นตลาดล่าง เน้นจับกลุ่ม ‘พรีเมียม’ https://positioningmag.com/1430874 Thu, 18 May 2023 12:00:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430874 หากใครจำได้เมื่อช่วง 5-6 ปีก่อน แบรนด์ ออเนอร์ (Honor) แบรนด์ลูกของ หัวเว่ย (Huawei) ก็ได้เข้ามาทำตลาดในไทย แต่หลังจากที่แบรนด์พ่อต้องสะดุดเพราะถูกสหรัฐฯ แบนไป ออเนอร์ก็หยุดการทำตลาดในไทยไปด้วย 4 ปีผ่านไป Honor กลับมาอีกครั้ง โดยมี ซินเน็ค (ประเทศไทย) หรือ Synnex เป็นผู้ปลุกปั้น

ย้อนรอย Honor

ย้อนไปช่วง 5-6 ปีก่อน ช่วงที่ตลาดสมาร์ทโฟนในไทยกำลังเฟื่องฟู มีการแข่งขันที่ดุเดือด Huawei ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์จีนที่แข็งแกร่งมากแบรนด์หนึ่ง โดยเฉพาะในตลาดไฮเอนด์ที่สามารถงัดข้อกับทั้ง Samsung และ Apple ได้ ด้วย Position ที่จับตลาดกลาง-บนเป็นหลัก แบรนด์ Honor จึงถูกส่งมาในตลาดในฐานะ Fighting Brand เพื่อจับตลาด ล่าง-กลาง และเน้นทำตลาดออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งมีแบรนด์อย่าง เสียวหมี่ (Xiaomi) ที่กำลังมาแรงในตอนนั้น

แต่หลังจากที่ Huawei ถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำในข้อหา เป็นภัยความมั่นคง เมื่อช่วงปี 2019 ทำให้บริษัทสัญชาติอเมริกันไม่สามารถทำธุรกิจกับ Huawei ได้ ส่งผลให้สมาร์ทโฟนของ Hauwei ไม่สามารถใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ นอกจากนี้ การนำเข้า ชิปเซตสแนปดรากอน มาใช้ก็ไม่สามารถทำได้ จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลกระทบอย่างมากต่อแบรนด์ในตลาดโลก แม้ว่าที่ผ่านมาบริษัทจะออกระบบปฏิบัติการของตัวเองมาทดแทน แต่ก็ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคได้

เพื่อไม่ให้ปัญหากระทบไปถึง Honor บริษัทจึงตัดสินใจยุติการทำตลาดของแบรนด์ไป ก่อนที่ในปี 2020 จะขายให้กับบริษัท Digital China บริษัทพันธมิตรซึ่งทำธุรกิจจัดจำหน่ายมือถือ ร่วมกับบริษัทนักลงทุนอีกหลายรายซึ่งมีหน่วยงานรัฐในเมืองเซินเจิ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในมูลค่า 1 แสนล้านหยวน เพื่อให้แบรนด์ Honer ยังสามารถทำตลาดต่อไปได้

ที่น่าสนใจคือ Huawei ไม่ได้ขาย Honor ทิ้งอย่างเดียว แต่ยังได้สอดไส้ R&D ของ Huawei กว่า 8,000 คน ไปยัง Honor เพื่อให้ยังสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้ ดังนั้น เทคโนโลยีในช่วงแรกของ Honor จึงมีความใกล้เคียงกับ Huawei ก่อนที่ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง

รูปจาก : Honor Thailand

จากแบรนด์ลูก สู่การเทียบชั้นแบรนด์พ่อ

หลังจากที่ Honer ไม่ได้เป็นแบรนด์ลูกของ Huawei อีกต่อไป Position ของแบรนด์ก็เปลี่ยนไป โดยวางตัวเองเป็น แบรนด์ใหญ่ อีกหนึ่งแบรนด์ในตลาด ดังนั้น จากที่เคยทำตลาดล่าง-กลาง ปัจจุบัน Honer ก็หันมาโฟกัสที่ตลาด กลาง-บน เหมือนกับที่ Hauwei เคยเป็น

จากแนวทางดังกล่าว ส่งผลให้ Honer สามารถขึ้นเป็น ที่ 2 ในตลาดสมาร์ทโฟนจีน โดยในปี 2022 แบรนด์ Honer เป็นแบรนด์เดียวที่ยอดขายไม่ตกลง แม้ตลาดรวมจะ หดตัว 13.2% ก็ตาม (อ้างอิงข้อมูลจาก IDC) ขณะที่ในตลาดโลก Honer ก็ขึ้นเป็น อันดับ 6

สำหรับตลาดไทย การกลับมาทำอีกครั้งในรอบ 4 ปี โดยได้ SYNNEX เป็นตัวแทนจำหน่ายและบริการหลังการขาย ซึ่ง สุธิดา มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซินเน็ค (ประเทศไทย) ย้ำว่า แนวทางการทำตลาดของ Honer จะเหมือนกับที่จีน คือ เน้นที่ตลาดกลาง-บนเช่นเดียวกัน

ตลาดขาลง แต่มั่นใจโฟกัสถูกจุด

ในปีที่ผ่านมา ตลาดสมาร์ทโฟนมียอดขายราว 1.2 ล้านเครื่อง/เดือน แต่ในปีนี้คาดว่ายอดขายจะลดเหลือราว 9 แสนถึง 1 ล้านเครื่อง/เดือน โดยอาจกลับมาฟื้นในช่วงครึ่งปีหลัง แม้ตลาดจะดูเหมือนหดตัว แต่กลุ่มที่หดตัวมากที่สุดคือ กลุ่มล่าง (ต่ำกว่า 4,500-10,000 บาท) คิดเป็นสัดส่วนราว 55% ขณะที่ กลุ่มกลาง (10,000-20,000 บาท) มีสัดส่วน 20% และ กลุ่มบน (20,000 บาทขึ้นไป) ที่มีสัดส่วน 25% ตลาดค่อนข้างทรงตัว และพฤติกรรมผู้บริโภคมีแต่จะซื้อในราคาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันด้านราคาก็ดุเดือดน้อยกว่ากลุ่มล่าง

“แม้สัดส่วนด้านจำนวนจะน้อย แต่กลุ่มกลางบนคิดเป็น 70% ของมูลค่าตลาดสมาร์ทโฟน ซึ่งเรามั่นใจว่าการที่จับตลาดกลาง-บน ถือว่ามาถูกทาง เพราะตลาดค่อนข้างทรงตัว ผู้บริโภคเปลี่ยนมือถือบ่อยกว่า และมีแนวโน้มจะซื้อในราคาที่สูงขึ้น ทำให้การแข่งขันด้านราคาไม่รุนแรงเหมือนกลุ่มล่าง”

ดัมพ์ราคาเรียกเเขก

แม้จะเริ่มทำตลาดในไทยตั้งเเต่ปี 2022 แต่ Honor จะเริ่มทำตลาดอย่างจริงจังในปี 2023 นี้ โดยจะเริ่มจากการเปิดตัวสมาร์ทโฟนเรือธง Honor Magic5 Pro 5G โดยมีราคาเริ่มต้น 29,990 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดโลกที่จะอยู่ราว 34,000-35,000 บาท เนื่องจากต้องการทำให้แบรนด์ Honor กลับเป็นที่สนใจในตลาดอีกครั้ง

นอกจากนี้ ซินเน็คยังทุ่มงบประมาณกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 35 ล้านบาท เพื่อทำการตลาดเฉพาะสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าว โดยบริษัทตั้งเป้าว่า Honor Magic5 Pro 5G ต้องมียอดขายมากกว่า Honor Magic4 Pro 5G ไม่ต่ำกว่า 5 เท่า

“ต้องยอมรับว่า การกลับมาครั้งนี้เหมือนกับเป็นแบรนด์น้องใหม่ เพราะส่วนใหญ่คนที่ยังติดตาม Honor จะเป็นกลุ่มแฟนคลับ Honor และ Huawei มากกว่า ดังนั้น การสร้างการรับรู้จึงสำคัญ

มั่นใจขึ้น Top3 ใน 3 ปี

ภายในปีนี้ Honor ตั้งเป้าจะขยายหน้าร้านจาก 5 สาขา เป็น 15 สาขา รวมถึงตั้งเป้าขยายจุดการขายเป็น 4,000 จุด จากเดิม 2,300 จุด ภายในปีนี้ นอกจากนี้ จะขยายไลน์อัพสินค้าทั้งส่วนของสมาร์ทโฟนที่จะมีครบทุกเซ็กเมนต์ รวมถึงแก็ดเจ็ตอื่น ๆ อาทิ หูฟัง, สมาร์ทวอชท์ เป็นต้น โดยหลังจากที่แบรนด์มีไลน์อัพสินค้ามากขึ้น ก็จะเริ่มทำตลาดมากขึ้นตาม

อย่างไรก็ตาม สุทธิดา ยอมรับว่า การจะเจาะตลาดกลุ่มกลาง-บนนั้นไม่ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มระดับราคา 30,000 บาทขึ้นไปผู้บริโภคมีรอยัลตี้สูง แต่เชื่อว่ามีกลุ่มที่สนใจเลือกซื้อสมาร์ทโฟนเพราะต้องการฟังก์ชันหรือประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ภายใน 3 ปี Honor มั่นใจว่าจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็น Top3 ในตลาดสมาร์ทโฟนในไทย แม้ปัจจุบันแบรนด์จะมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1-2% ก็ตาม แต่ในกลุ่มกลาง-บน Honor มีส่วนแบ่งตลาดที่ 5-7%

]]>
1430874
ยังสู้! ‘Honor’ อดีตแบรนด์ลูก ‘Huawei’ เข็น ‘มือถือจอพับ’ ลุยตลาดโลกชน Samsung https://positioningmag.com/1398803 Sat, 03 Sep 2022 21:52:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398803 หลังจากที่ ‘สหรัฐฯ’ แบน ‘Huawei’ และทำให้หลายประเทศเลือกที่จะแบนตามไปด้วย ทำให้บริษัทจำต้องขายแบรนด์ลูกอย่าง ‘Honor’ ที่เน้นไปในกลุ่มสมาร์ทโฟนราคาประหยัดทำตลาดในเวทีโลกได้ต่อไป ซึ่งล่าสุดแบรนด์ก็เริ่มหันมาจับตลาดไฮเอนด์ โดยเตรียมส่ง สมาร์ทโฟนจอพับ ลงสู่ตลาดโลก

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Honor ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนระดับกลางรุ่น Honor 70 ในยุโรป พร้อมเปิดเผยว่าเตรียม เปิดตัวสมาร์ทโฟนจอพับ ครั้งแรกในตลาดต่างประเทศนอกเหนือจากจีน อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่ได้ประกาศจะวางจำหน่ายในภูมิภาคนี้และตลาดต่างประเทศอื่น ๆ ด้วยในอนาคต

ปัจจุบัน Honor กำลังเผชิญกับการต่อสู้ที่ยากลำบากนอกประเทศจีน โดยบริษัทมีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนโลก ไม่ถึง 1% ขณะที่ผู้นำในตลาดสมาร์ทโฟนจอพับในปัจจุบันยังเป็น Samsung และนอกเหนือจากมือถือจอพับได้ที่กำลังจะเปิดตัว แบรนด์ยังระบุว่าจะให้ความสำคัญกับตลาดสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมนอกประเทศจีนอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามีคู่แข่งสำคัญอย่าง Apple นอกจากนี้ คู่แข่งร่วมชาติอย่าง Xiaomi , Oppo และ Realme ก็เริ่มเจาะกลุ่มไฮเอนด์มากขึ้นเช่นกัน

“คู่แข่งร่วมชาติของ Honor ได้ทำตลาดอย่างจริงจังในตลาดยุโรปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น Honor จะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงอย่างไม่น่าเชื่อนอกประเทศจีน”

James Manning Smith นักวิเคราะห์อาวุโสของ CCS Insight มองว่า ในขณะที่เศรษฐกิจโลกถดถอย ตลาดสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากลูกค้ามีกำลังซื้อสูง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ Samsung และ Apple โดยจากรายงานของ Counterpoint Research ระบุว่า ยอกจัดส่งสมาร์ทโฟนที่ราคามากกว่า 1,000 ดอลลาร์ หรือ 36,000 บาท เติบโตขึ้น 94% ในช่วงไตรมาส 2 โดยส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ Apple และ Samsung

“หนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ Honor ในปีนี้คือการพยายามใช้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ โดยพยายามเอาชนะยอดขายจากแบรนด์ระดับพรีเมียมที่มีชื่อเสียง”

ในช่วงปลายปี 2020 บริษัท Huawei ได้ขายแบรนด์ Honor ให้กับกลุ่มผู้ซื้อชาวจีน เพื่อเอาตัวรอดจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ในช่วงปี 2019 และ 2020 ซึ่งผลกระทบจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ทำให้ Huawei ไม่สามารถใช้งาน Google และการเข้าถึงชิป

]]>
1398803
ส่อง ‘สมาร์ทวอทช์’ ที่มีฟีเจอร์วัด ‘ออกซิเจนในเลือด’ ตั้งแต่หลักพันยันหลักหมื่น https://positioningmag.com/1329751 Wed, 28 Apr 2021 12:25:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329751 ช่วงนี้หลายคนคงมีคำถามในใจคล้าย ๆ กันก็คือ “ติด COVID-19 หรือยัง”  แม้จะไม่มีอาการอะไรก็ตามทีเถอะ ดังนั้น หลายคนเลยอยากจะวัดค่า ‘ออกซิเจนในเลือด’ หรือ ‘SpO2’ ให้สบายใจว่า ‘ยังไม่ติด’ ทำให้ตอนนี้คนเลยให้ความสนใจกับ ‘สมาร์ทวอทช์’ ‘สมาร์ทแบนด์’ หรืออะไรก็ตามที่ใช้วัดได้ ดังนั้น เราไปดูกันว่ามี สมาร์ทวอทช์, สมาร์ทแบนด์รุ่นไหน หรือมือถือรุ่นไหนที่สามารถใช้วัดได้บ้าง ไปดูกัน

Apple Watch 6

สำหรับ Apple Watch 6 นั้นสามารถแสดงข้อมูลสุขภาพเชิงลึกทั้ง อัตราการเต้นของหัวใจ, วัดคุณภาพการนอน และไม่ได้มีแค่ฟีเจอร์วัดค่าออกซิเจนในเลือด แต่ยังตรวจวัด ECG คลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อีกด้วย แถมยังมี GPS ในตัว โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 13,400 บาท ใครที่เป็นสาวก Apple ก็จัดได้เลย

Samsung Galaxy Watch3

Samsung Galaxy Watch3 ราคาเริ่มต้นที่ 14,900 บาท โดยมาพร้อมฟีเจอร์วัดความดันโลหิต, ตรวจวัด ECG คลื่นไฟฟ้าหัวใจ, วัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือด, วัดอัตราเต้นหัวใจ, วัดคุณภาพการนอนหลับ, ตรวจวัดความเครียด และมีโหมดออกกำลังกาย

Huawei Watch Fit / Huawei Watch GT Series

สำหรับค่าย Huawei มี 2 ซีรีส์ที่มีฟีเจอร์วัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือด ได้แก่ Huawei Watch Fit ราคา 2,999 บาท และ Huawei Watch GT2e ราคา 4,290 บาท, Huawei Watch GT 2 ราคา 5,499 บาท, Huawei Watch GT 2 Pro ราคา 8,990 บาท โดยทั้ง 4 รุ่นมีฟีเจอร์พื้นฐานมาให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นการวัดอัตราเต้นหัวใจ, วัดคุณภาพการนอนหลับ และวัดการเผาผลาญกิโลแคลอรี

Huawei Watch Fit (บน) / Huawei Watch GT Series (ล่าง)

Xiaomi Mi Watch

แน่นอนว่าคงไม่มีชื่อของ Xiaomi ไม่ได้ เพราะผลิตแทบทุกอย่างเท่าที่คนจะนึกออก ซึ่งเจ้า Xiao Mi Watch ก็มีฟีเจอร์วัดค่า SpO2 หรือออกซิเจนในเลือดเช่นกันในราคา 3,490 บาท ส่วนฟีเจอร์อื่น ๆ ก็มีครบทั้งวัดอัตราเต้นหัวใจ, วัดคุณภาพการนอน และตรวจวัดความเครียด

Realme Watch S Series

สำหรับ Realme แบรนด์ลูกของ ‘Oppo’ ก็ได้ออก Realme Watch Series ที่สามารถวัดค่า SpO2 ได้ โดยมี Realme Watch S ราคา 3,499 บาท และ S Pro ราคา 4,999 บาท โดยมีฟีเจอร์วัดอัตราเต้นหัวใจ, วัดคุณภาพการนอน และตรวจจับความเครียด

Fitbit Sense

สำหรับ Fitbit ก็ถือเป็นแบรนด์สมาร์ทวอทช์ที่เน้นด้านสุขภาพ โดยมีหลายรุ่นเลยทีเดียวที่สามารถวัดผลระดับออกซิเจนในเลือด พร้อมแจ้งข้อมูลจากกราฟแสดงผลผ่านแอปพลิเคชันฟิต อาทิ Charge 3, Ionic, Versa, Versa Lite, Versa 2 และล่าสุด Fitbit Sense ที่สามารถวัด ECG คลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ด้วย โดย Fitbit Sense ราคาอยู่ที่ 10,990 บาท

Garmin

เช่นเดียวกับการ์มินที่เป็นแบรนด์ที่เน้นด้านสุขภาพ ทำให้มีสินค้าหลายรุ่นที่สามารถวัดผลระดับออกซิเจนในเลือดได้ อย่าง vívosmart 4, vívoactive 4/4S, Legacy Hero/Saga, Venu, Venu Sq, vívomove 3 series เป็นต้น

Garmin vívomove 3 series

Amazfit Bip U / Amazfit GT Series

สมาร์ทวอทช์ของแบรนด์ลูก Xiaomi โดยมีให้เลือก 3 รุ่น ได้แก่ Amazfit Bip U ราคา 1,690 บาท, Amazfit GTS2 ราคา 5,590 บาท และ Amazfit GTR2 ราคา 6,299 บาท โดยนอกจากจะวัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือดได้ยังตรวจจับความเครียด และการเผาผลาญได้ด้วย

Amazfit Bip U (ขวา) / Amazfit GT Series (ซ้าย)

Huawei Band 6 / Honor Band 5 / OPPO Band

สำหรับคนงบน้อยลองมาดูฝั่งของ ‘สมาร์ทแบนด์’ ของ ‘หัวเว่ย’ และแบรนด์ลูกอย่าง ‘ออเนอร์’ กันดู โดยมี Huawei Band 6 และ Honor Band 5 ที่มีฟีเจอร์วัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือด ส่วนฟีเจอร์พื้นฐานก็มีให้ครบทั้งวัดคุณภาพการนอนหลับ, วัดความเครียด และอัตราการเต้นของหัวใจ โดย Huawei Band 6 ราคา 2,990 บาท ส่วน Honor Band 5 ราคา 1,190 บาท

อีกแบรนด์ที่น่าสนใจก็คือ OPPO Band โดยสามารถตรวจจับความเครียด, การเผาผลาญกิโลแคลอรี, อัตราเต้นหัวใจ และวัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือดในราคาเพียง 1,199 บาทเท่านั้น

Oppo Band (ขวา), Honor Band 5 (กลาง), Huawei Band 6 (ซ้าย)

Samsung Galaxy S และ Note ก็ใช้วัดได้

สำหรับใครที่ใช้งาน Galaxy S5 ไปจนถึง S10+ หรือใครที่ใช้ Galaxy Note 4 ไปจนถึง Note 9 จะสามารถใช้ฟีเจอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือด และ Heart Rate โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อไอเทมอื่น ๆ เพิ่มเลย เนื่องจากสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวของซัมซุงจะมาพร้อม ‘เซ็นเซอร์’ ตรงกล้องหลังบริเวณเดียวกับไฟ LED ซึ่งใครที่ใช้มือถือรุ่นดังกล่าวแล้วอยากวัดระดับออกซิเจนในเลือดก็สามารถทำตามนี้ได้เลย

1.เปิดแอปพลิเคชัน Samsung Health

2.หาเมนู Blood oxygen (SpO2) สำหรับวัดระดับออกซิเจนในเลือด

3.เมื่อเข้าไปที่เมนู Blood oxygen แล้วให้กด Measure เพื่อเริ่มการวัด โดยให้นำนิ้วชี้ไปวางไปที่เซ็นเซอร์ด้านตัวเครื่องเพื่อเริ่มการวัด

ทั้งนี้ ระดับออกซิเจนในเลือดสภาวะปกติจะอยู่ที่ 95 – 100% อย่างไรก็ตาม หากเกิดรู้สึกไม่สบายแนะนำว่าควรหาหมอน่าจะดีที่สุด

]]>
1329751
‘หัวเว่ย’ อาจถูก ‘เสียวหมี่’ แซงขึ้นเบอร์ 2 ของโลก หากไม่มี ‘ออเนอร์’ https://positioningmag.com/1306536 Wed, 18 Nov 2020 06:37:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306536 จากจุดเริ่มต้นในปี 2019 ที่ ‘หัวเว่ย (Huawei)’ ได้ถูก ‘สหรัฐอเมริกา’ ติด Entity list ทำให้สมาร์ทโฟนของหัวเว่ยไม่สามารถใช้งาน Google และระบบปฏิบัติการ Android ได้ โดยอ้างว่ามีความกังวลเรื่องความมั่นคง แม้หัวเว่ยปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ตาม จนมาในปี 2020 ก็ได้แบนไม่ให้เข้าถึง ‘ชิป’ ที่จำเป็นต่อการผลิตสมาร์ทโฟนอีก และดูเหมือนว่าหัวเว่ยเองจะเริ่มทนพิษบาดแผลไม่ไหวจนต้องตัดใจขาย ‘ออเนอร์ (Honor)’ แบรนด์ลูกที่เน้นทำตลาดในกลุ่มสมาร์ทโฟนราคาประหยัดทิ้ง

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ออกแถลงการณ์ว่าได้ ‘ขาย’ แบรนด์ ‘ออเนอร์’ ให้กับกลุ่มตัวแทนจำหน่ายและดีลเลอร์จำนวนกว่า 30 ราย โดยหัวเว่ยจะไม่ถือหุ้นในออเนอร์อีกต่อไป และกลุ่มผู้ซื้อจะทำการจัดตั้งบริษัทแห่งใหม่ชื่อว่า Shenzhen Zhixin New Information Technology อย่างไรก็ตาม หัวเว่ยไม่ได้เปิดเผยถึงมูลค่าการซื้อขาย แต่มีการประเมินว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.52 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.5 แสนล้านบาท

Nicole Peng นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยตลาด Canalys กล่าวว่า เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผู้บริหารของหัวเว่ยได้กล่าวในการประชุมว่า บริษัทอยู่ใน “สถานการณ์ที่ยากลำบาก” และ “การอยู่รอดคือเป้าหมาย” และเมื่อหัวเว่ยมีทรัพยากรที่จำกัด ดังนั้น การขายออเนอร์เพื่อลดใช้ทรัพยากรเพื่อมุ่งเน้นไปที่สมาร์ทโฟนเรือธงของหัวเว่ยเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก

การอยู่รอดหมายความว่าพวกเขาต้องแน่ใจว่ามีส่วนประกอบเพียงพอที่จะมีความต่อเนื่องทางธุรกิจเป็นระยะเวลานานขึ้น และการขายออเนอร์จะทำให้หน่วยสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยได้มีพื้นที่หายใจ อย่างน้อยตอนนี้ก็สามารถเก็บรักษาทรัยากรไว้สำหรับรุ่นเรือธงได้”

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่อหัวเว่ยจะคลี่คลายลงเมื่อ Joe Biden เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีที่คนใหม่ แต่ไม่มีการรับประกันว่าฝ่ายบริหารของ Biden จะยกเลิกข้อจำกัดของหัวเว่ยหรือไม่

อนาคตและแนวโน้มของหัวเว่ยยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ดังนั้นพวกเขาจึงต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขามี และสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขามีคือ สมาร์ทโฟนรุ่นระดับไฮเอนด์” Wil Wong นักวิเคราะห์จากบริษัท วิจัยตลาด IDC กล่าว

โทรศัพท์รุ่นเรือธงของหัวเว่ย เช่น P Series และ Mate Series มีราคาขายได้สูงกว่า 4,500 หยวน (20,700 บาท) และ 6,400 หยวน (29,000 บาท) ตามลำดับ ขณะที่ออเนอร์ที่จับตลาดกลางมีราคาถูกกว่ามาก โดย 10X Series ล่าสุดเริ่มต้นที่ประมาณ 2,100 หยวน (9,600 บาท) และรุ่น Play ที่จับตลาดระดับล่างขายเพียง 1,200 หยวน (5,500 บาท)

“การให้ความสำคัญกับรุ่นเรือธงจะช่วยให้หัวเว่ยรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ระดับไฮเอนด์ และยังสร้างรายได้เพิ่มขึ้นด้วย” Wong กล่าว

อย่างไรก็ตาม การสูญเสียออเนอร์จะติดอันดับในตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกของหัวเว่ยได้รับผลกระทบในทางลบ จากที่เมื่อต้นปีหัวเว่ยเคยขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดสมาร์ทโฟนโลกในช่วงสั้น ๆ แซงหน้า ‘ซัมซุง (Samsung)’ ที่มียอดขายตกลงในช่วง COVID-19 โดยความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากแบรนด์ออเนอร์ เนื่องจากในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาแบรนด์ราคาประหยัดมีสัดส่วนระหว่าง 25% – 29% ของการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั้งหมดของหัวเว่ย ซึ่งออเนอร์คิดเป็น 20% – 40% ของยอดขายทั้งหมดของหัวเว่ย

Photo : Shutterstock

อย่างในไตรมาสที่สองของปีนี้ที่หัวเว่ยขึ้นเป็นเบอร์ 1 แบรนด์ออเนอร์สามารถทำรายได้มากกว่า 1 ใน 4 ของยอดขายสมาร์ทโฟนทั้งหมดของหัวเว่ย ดังนั้น หากไม่มียอดจากออเนอร์ที่ขายได้ประมาณ 15 ล้านเครื่อง หัวเว่ยจะไม่ได้ขึ้นแท่นเป็นผู้นำ ซึ่งปัจจุบัน ซัมซุงครองตำแหน่งเบอร์ 1 ในไตรมาสสามของตลาดสมาร์ทโฟนโลก ตามมาด้วยหัวเว่ย และ ‘เสียวหมี่ (Xiaomi)’ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีสมาร์ทโฟนออเนอร์ มีความเป็นไปได้ที่หัวเว่ยจะหล่นไปเป็นอันดับ 3 ตามหลังเสียวหมี่

Source

]]>
1306536
เมื่อสมาร์ทโฟนถึงทางตัน ‘HONOR’ ปรับโฟกัสลุยตลาด ‘IoT’ เต็มสูบ https://positioningmag.com/1256631 Wed, 11 Dec 2019 14:46:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256631 เมื่อสมาร์ทโฟนมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ฟีเจอร์ระดับเรือธงก็ถูกนำมาใช้ในสมาร์ทโฟนระดับกลาง ส่งผลให้ระยะการใช้งานยาวนานขึ้นเป็น 18-24 เดือน จากเดิมเฉลี่ย 12 เดือนเปลี่ยน ดังนั้นภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนไทยจึงอยู่ในจุดอิ่มตัว ไม่เติบโต ดังนั้น ‘ออเนอร์’ แบรนด์ลูกของ ‘หัวเว่ย’ จึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่

‘ไซมอน ซู’ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเวียดนาม ออเนอร์ กล่าวว่า ออเนอร์จากนี้จะไม่โฟกัสที่สมาร์ทโฟนอย่างเดียว แต่จะเน้นที่ตลาด ‘IoT’ โดยใช้กลยุทธ์  ‘1+8+N’ ซึ่ง 1 = สมาร์ทโฟน เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับ 8 = IoT และ N คือ  Network หรือเครือข่ายต่าง ๆ

“จากนี้เราจะไม่โฟกัสแต่สมาร์ทโฟน แต่จะเข้าไปในตลาด IoT เพื่อสร้างการเติบโต โดยเราทำตลาดได้ 2 เดือน เริ่มจาก wearable ได้แก่ Honor Band 5 ซึ่งคาดว่าในไทยมีการใช้ประมาณ 1 ล้านชิ้น”

อย่างไรก็ตามเราอาจประเมินไม่ได้ว่าปีหน้าตลาดสมาร์ทโฟนจะแข่งขันหนักเหมือนเดิม หรือจะหันมาแข่งขันที่ตลาด IoT เพราะแบรนด์สมาร์ทโฟนหลายแบรนด์เริ่มเข้ามาทำตลาดในปีนี้ แต่กลยุทธ์ของออเนอร์จะทยอยนำเข้ามาทีละชนิด โดยมีจุดแข็งคือ ความยูนีค และต้องหาพาร์ทเนอร์ที่ใช่ ซึ่งปัจจุบันมองว่าตลาดออฟไลน์ของไทยครอบคลุมพื้นที่แล้ว ขณะที่ตลาด “อีคอมเมิร์ซ” เป็นตลาดที่ยังเต็มไปด้วยโอกาส เพราะยังมีการเติบโต ดังนั้นเราจะเข้าไปทำตลาดแบบเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

“ภาพรวมทั่วโลกเราเป็นเบอร์ 1 ที่มียอดขายสมาร์ทโฟนในช่วงราคา 200-600 ดอลลาร์ (6,000-18,000 บาท) ขณะที่ไทยเรามีลาซาด้าที่เป็นพาร์ทเนอร์ที่แข็งแรง”

ล่าสุด ออเนอร์เปิดตัวสมาร์ทโฟนและ IoT โดยทำโปรโมชั่นร่วมกับ Lazada ได้แก่ Honor 9X ราคา 7,990 บาท ส่วน Honor Watch Magic ราคา 4,990 บาท ส่วน Honor Band 5 ราคา 1,099 บาท โดยมีการทำโปรโมชันพิเศษร่วมกับทางลาซาด้าในการทำ Flash Sale ในวันที่ 12 ธันวาคม หรือ 12.12 Honor 9X เหลือ 6,990 บาท Watch Magic เหลือ 2,990 บาท และ Band 5 ราคา 649 บาท

#Honor #ออเนอร์ #IoT #Lazada #SmartPhone #Ecommerce

]]>
1256631
ผ่าเกม “Huawei” หวังพา “Honor” Fighting Brand ติด Top 4 ตลาดสมาร์ทโฟนโลก https://positioningmag.com/1224139 Tue, 09 Apr 2019 13:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1224139 พฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันเหเข้าสู่โลกออนไลน์กันมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดสมาร์ทโฟนโลกเป็นหนึ่งในสังเวียนที่กำลังแข่งกันอย่างดุเดือดเลือดพล่าน ชนิดไม่มีใครยอมใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่ปรับสำคัญอย่างแบรนด์จีนและแบรนด์เกาหลีที่ผลักกันรุกผลัดกันรับ หวังแย่งชิงเป็นที่ 1

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2012 Huawei ซึ่งในเวลานั้น ยังไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนในเวลานี้ ได้ประกาศเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ทั้ง 7 ข้อ เพื่อนำพาให้ Huawei ขึ้นมาเทียบชั้นกับยักษ์ใหญ่ในวงการ ได้แก่ 1.เปลี่ยนจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าไม่ตราแบรนด์สินค้า (ODM non-branded operator) สู่ผู้รับจ้างผลิตสินค้าแบรนด์อิสระ หรือ OEM (Original Equipment Manufacturer)

2.ยกระดับมาตราฐานเครื่องเทอร์มินัลจากระดับล่างถึงระดับกลาง สู่ระดับสมาร์ทอัจฉริยะ, 3.ยุติการจำหน่ายโทรศัพท์ฟีเจอร์โฟนระดับล่างที่มียอดขายสูงแต่ให้ผลกำไรต่ำ, 4.รวมการทำงานของหน่วยประมวลผล HiSilicon เข้ากับชิป Balong, 5.พัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซ, 6.ออกแบบการใช้งานระบบปฏิบัติการ Emotion UI และ 7.ก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตอันดับต้นในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์โลก

ที่มาของรูป : Huawei Technologies Thailand

เวลาผ่านไป 7 ปี แผนที่ริชาร์ด หยูกรรมการบริหารและซีอีโอ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ตั้งไว้ ต่างเป็นไปตามความต้องการ เพราะธุรกิจผู้บริโภคของ Huawei นำรายได้ของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นมากถึง 48.4% ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าธุรกิจเครือข่ายโทรคมนาคมของ Huawei

โดยในปีที่ผ่านมาธุรกิจผู้บริโภคสามารถทำยอดขายได้ถึง 348.9 พันล้านหยวน คิดเป็นอัตราที่สูงขึ้นถึง 45.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ด้วยเหตุดังกล่าวจึงส่งผลให้ธุรกิจผู้บริโภค พุ่งทะยานเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่บริษัทมากที่สุด

เมื่อเป้าหมายเก่าทำได้แล้วแม่ทัพของ Huawei จึงได้ออกมาประกาศเกมรบใหม่ผ่าน Sina Weibo โดยกำหนดเป้าหมายในการบริหาร โดยต้องการให้ Huawei ขึ้นแท่นครองตำแหน่งผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดในโลก

รูปจาก : Huawei Mobile

พร้อมกันนี้ยังต้องการให้ “Honor” ซึ่งเป็น Fighting Brand ที่เน้นจับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น ก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 2 ของประเทศจีน และอันดับ 4 ของโลก ผ่านกลยุทธ์แบรนด์คู่ หรือ Dual-Brand Strategy โดย Huawei จะให้การสนับสนุน Honor ในการพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์และเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี ช่องทางการจัดจำหน่ายและกลยุทธ์ค้าปลีก

ริชาร์ด หยู กล่าวว่าหัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ได้เดินทางมาถึงบทใหม่ โดยทั้ง Huawei และ Honor จะก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดของโลกในปีนี้

ดูเหมือนว่าเป้าหมายที่วางไว้อาจจะอยู่ไม่ไกลมากนัก เพราะข้อมูลของ IDC ระบุว่าในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2018 ตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกมียอดส่งออกลดลงมากถึง 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน แต่ Honor อยู่ในทิศที่สวนทางมียอดขายที่พุ่งสูงขึ้นคิดเป็น 27.1%

นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มยอดขายในต่างประเทศได้มากกว่า 170% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อีกทั้งยังสามารถทำยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ในปี 2018 ซึ่งมีอัตราการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นถึง 29.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน

รูปจาก : Honor Thailand

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ Honor วางแผนเปิดตัวตัวเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้ง 3D TOF เทคโนโลยีของกล้องที่ช่วยเพิ่มมิติให้รูปภาพและวืดีโอ จับการเคลื่อนไหว, All-View Display การฝังกล้องหน้าลงในหน้าจอ และ 5G โดยวางแผนที่จะเปิดตัวโทรศัพท์มือถือ 5G เครื่องแรกในปีนี้

ก่อนหน้านี้จอร์จ เจ้าประธานบริษัท ออเนอร์ กล่าวในงาน Mobile World Congress 2019 ว่า

“Honor กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง และจะไม่มีอะไรหยุดยั้งเราได้ เพราะถึงแม้ก้าวข้างหน้านั้นจะยากลำบากแค่ไหน แต่ผู้ที่แข็งแกร่งนั้นก็จะยังคงพยายามก้าวต่อไป

]]>
1224139