KBANK – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 05 Aug 2024 05:16:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KBank ESG Highlight กับการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1485029 Mon, 05 Aug 2024 03:22:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485029 ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรที่วางใจได้ สร้างคุณค่า และส่งมอบความยั่งยืนให้กับทุกคน ด้วยการดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน โดยดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม พร้อมให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรมบนหลักธรรมาภิบาลที่ดีและบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักการแนวคิด ESG ที่ธนาคารนำมาผนวกเข้ากับทุกการดำเนินงาน

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ธนาคารจึงไม่หยุดที่จะพัฒนาการทำงาน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานทั้งในระดับประเทศและสากล เกิดเป็นผลการดำเนินงานดังนี้

Environmental – มุ่งมั่นสู่การเป็น Net Zero และสนับสนุนให้ทุกคนสามารถปรับตัวสู่สังคมไร้คาร์บอนและอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ

  • สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ลดได้ 74% จากปีฐาน (ปี 2563) และมีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต ส่งผลให้ได้รับการรับรองความเป็นกลางทางคาร์บอนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) มาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง (2561-2566)
  • สนับสนุนสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งจะมียอดสะสมเป็น 94,670 ล้านบาท (2565-มิถุนายน 2567) และมียอดสะสมเป็น 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2567 นี้
  • วางแผนกลยุทธ์ลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด
  • พัฒนา Climate Solutions อย่างครบวงจรในทุกมิติที่มากกว่าการเงิน ทั้งเรื่องความรู้ด้าน ESG เพื่อธุรกิจ ให้คำปรึกษาเชิงเทคนิค และการจับคู่ธุรกิจกลุ่ม ESG บูรณาการศักยภาพทั้งโซลูชัน องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของภาคธุรกิจไปสู่โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อใน Carbon Ecosystem ในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต
  • ผนึกกำลังร่วมกับ 25 องค์กรชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เชื่อมโยงการทำงานของทั้ง 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคการเงินและการธนาคาร องค์กรและธุรกิจต่างประเทศ จัดตั้ง “เครือข่ายธุรกิจเพื่อการจัดการสภาพภูมิอากาศประเทศไทย” (Thailand Climate Business Network: ThaiCBN) เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน

Social – มอบความรู้และส่งเสริมวินัยทางการเงินบนพื้นฐานของการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ หรือResponsible Lending รวมทั้งการให้ความสำคัญแก่การดูแลพนักงานและสังคม ภายใต้การดำเนินงานที่เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกท่าน

  • ให้ความรู้ทางการเงินการลงทุน สิ่งแวดล้อม และทักษะต่าง ๆ แก่ผู้ด้วยโอกาส 53,886 คน ในปี 2566
  • ให้ความรู้ด้าน Cyber Security สื่อสารผ่านช่องทางโซเชียล มีเดียของธนาคาร เข้าถึงผู้อ่าน 2 ล้านคน
  • ส่งเสริมความหลากหลายและการปฏิบัติด้านแรงงานอย่างเท่าเทียม มีการพัฒนาศักยภาพและทักษะพนักงานผ่าน หลักสูตรต่าง ๆ รวมทั้งดูแลด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
  • ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างเหมาะสม
  • มีการประเมินสิทธิมนุษยชนแบบรอบด้าน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินงานของธนาคารตั้งอยู่บนแนวทางของการเคารพสิทธิมนุษยชน

Governance – ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี บริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกด้านของลูกค้า

  • ยอดสินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ผ่านการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100% มูลค่า 389,240 ล้านบาท
  • ประเมินและบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมไปถึงความเสี่ยงด้านความยั่งยืนESG และ Climate Risk
  • ดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และหลักธรรมาภิบาลที่ดี โดยปฏิบัติตามมาตรฐานและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งของประเทศไทยและระดับสากล
  • รวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการของธนาคารให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน

ธนาคารกสิกรไทย พร้อมเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคธุรกิจ ลูกค้า  ผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรแหล่งความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนภาคการเงินและตลาดทุน บูรณาการศักยภาพ ต่าง ๆ เพื่อสร้างสมดุลให้เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ช่วยขับเคลื่อนทุกความต้องการของลูกค้า รวมถึงคว้าโอกาสที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

 

]]>
1485029
เปิด 5 ปัจจัยอ่อนไหวที่ทำให้ ‘ธุรกิจกงสี’ อาจล่มสลายเมื่อเปลี่ยนเจน https://positioningmag.com/1483282 Thu, 18 Jul 2024 10:59:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1483282 ย้อนไป 10 ปีก่อน มีคำว่า The Great Wealth Transfer หรือ การส่งต่อความมั่งคั่งระหว่างรุ่นครั้งใหญ่ โดย KBank Private Banking คาดว่าการส่งต่อความมั่งคั่งครั้งใหญ่ทั่วโลกกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2573 แต่แน่นอนว่าการส่งต่อธุรกิจไปอีกรุ่นนั้น อาจไม่ได้ราบรื่นขนาดนั้น และหลายธุรกิจก็ล่มสลายในเจนถัดมา

ทรัพย์สิน 600 ล้านล้าน จะถูกส่งต่อในอีก 6 ปี

พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director – Wealth Planning and Non-Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภายในปี 2573 ผู้มีสินทรัพย์สูงทั่วโลกจะส่งต่อความมั่งคั่งมูลค่าสูงถึง 18.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 662 ล้านล้านบาท

โดยเมื่อเทียบเป็นรายภูมิภาคพบว่า อเมริกาเหนือ เป็นภูมิภาคที่มีการ ส่งต่อความมั่งคั่งมากสุดในโลก ตามมาด้วยยุโรป เอเชีย ตะวันออกกลาง และละตินอเมริกา หากเจาะเฉพาะในภูมิภาค เอเชีย พบว่า ผู้มีสินทรัพย์สูงอยู่ที่ 70,000 ราย คาดว่าจะมีการส่งต่อทรัพย์สินรวม 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 90 ล้านล้านบาท

ธุรกิจกงสีที่อยู่รอดถึงรุ่น 4 มีไม่ถึง 3%

อย่างไรก็ตาม การส่งต่อธุรกิจครอบครัวเหมือนจะง่าย แต่ก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะทั่วโลกมีธุรกิจครอบครัวเพียง 30% ที่อยู่รอดในรุ่น 2 และมีเพียง 12% ที่ส่งต่อไปรุ่น 3 ส่วนที่ รอดไปถึงรุ่น 4 มีเพียง 3% และจากการสำรวจยังพบอีกว่า 50% ของคนที่มีธุรกิจส่วนตัว ไม่มีการสื่อสารเรื่องการส่งต่อธุรกิจครอบครัว

“การระบาดของโควิด ทำให้ครอบครัวในเอเชียเริ่มตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการส่งต่อทรัพย์สิน เนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น แต่แม้จะตระหนักมากขึ้น กลับมีเพียงแค่ 50% ของเจ้าของธุรกิจที่วางแผนคุยกับเจนถัดไป”

5 ปัจจัยอ่อนไหวที่อาจทำธุรกิจล่ม

สำหรับ ความอ่อนไหวของโครงสร้างธุรกิจครอบครัว ที่อาจทำให้ธุรกิจล่มสลายมีอยู่ 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  • ขาดมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ: หลายบ้านจะกำหนดทิศทางธุรกิจมาจากครอบครัว ซึ่งทำธุรกิจด้วยความเคยชิน ไม่มีมุมมองของผู้เชี่ยวชาญหรือตลาด ทำให้ธุรกิจกงสีบางบ้านไม่ได้ปรับตัว และตายในที่สุด
  • พึ่งพาผู้บริหารมากกว่าระบบองค์กร: เจ้าของธุรกิจมักจะแทรกแซง แทนที่จะปล่อยให้องค์กรทำงานตามระบบที่ควรเป็น เช่น เจ้าของลงไปดูฝั่งการขายเอง และไม่ได้ทำตามนโยบายบริษัท ทำให้ตัวธุรกิจอ่อนไหว และเมื่อวันที่ลูกหลานมาสานต่อจะถูกคาดหวังว่า เจ้าของบริษัทจะทำได้เหมือนรุ่นก่อนที่มาช่วยไกด์แนวทางทั้งหมด แทนที่จะปล่อยให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้เอง
  • ปัญหาความโปร่งใส ระบบการตรวจสอบหละหลวม จนเป็นเหตุให้เกิดการฉ้อโกง: หลายบ้านมองว่าธุรกิจก็คือทรัพย์สินส่วนหนึ่ง จึงมีการโยกเงินมาใช้จ่ายส่วนตัว ทำให้ไม่ได้บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
  • จะให้โอกาสลูกหลานหรือมืออาชีพ: ถือเป็นประเด็นที่ท้าทายอย่างมาก โดยบางครอบครัวให้มืออาชีพมาดูแล บางบ้านให้โอกาสคนในครอบครัว และบางบ้านทำแบบไฮบริด ซึ่งก็จะยิ่งท้าทาย เพราะมีเรื่องของตัวชี้วัด, การเติบโต, ผลตอบแทน เป็นต้น
  • การจัดการบัญชีไม่เป็นระบบ: การจัดการบัญชีรวมถึงแผนธุรกิจอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ลูกหลานอยากกลับมาสานต่อธุรกิจมากขึ้น

“ปัจจัยที่ทำให้รุ่นถัดไปจะมารับช่วงต่อคือ เขาต้องการรู้ว่าจะต้องรับอะไรจากครอบครัว และอยากเข้ามาก็ต่อเมื่อมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ เขาอยากมีอำนาจในการตัดสินใจไม่ใช่แค่ให้คนที่อาวุโสกว่าตัดสินใจ เพราะทายาทบางส่วนไม่ได้อยากรับช่วงต่อ เพราะเขาก็มีสิ่งที่อยากทำ”

คนไทยยังอยากให้ลูกหลานเป็น CEO

สำหรับแนวคิดของครอบครัวคนไทยส่วนใหญ่ยัง เชื่อในการส่งต่อธุรกิจให้คนในครอบครัว เมื่อเทียบกับทั่วโลกหรือในเอเชียที่เริ่ม เปลี่ยนความคิดเเล้ว ทำให้ธุรกิจครอบครัวในเอเชียเริ่ม ปล่อยให้มืออาชีพ โดยมองว่า ในเมื่อรวยแล้ว ทำไมไม่ให้โอกาสเขาไปทำอะไรที่อยากทำ

“เขามองแล้วว่าลูกเราเก่งพอจะแข่งกับคนนอกหรือเปล่า ซึ่งในต่างประเทศ เขาอยากให้ลูกหลานเป็น ผู้ที่หุ้นที่ดีพอ และปล่อยให้มืออาชีพทำไป แต่ต้องอ่านงบบัญชีเป็น ดังนั้น ถ้าอยากมานั่งทำธุรกิจก็ได้ หรือไม่ทำก็ได้ แต่ธุรกิจต้องยังเติบโตได้”

อย่างเช่น ซัมซุง ที่เลือก ลูกที่เก่งที่สุด เอามืออาชีพมานั่งทุกตำแหน่งในบ้าน และเปลี่ยนนโยบายจาก Top Down มาเป็น Bottom Up และสุดท้าย แยกธุรกิจกับครอบครัวอย่างชัดเจน โดยมีการจัดระบบบัญชีและภาษีเทียบเท่าบริษัทในตลาดตั้งแต่แรก และวางบัญชีเป็นมาตรฐานโปร่งใส

Gen 2 ไป 3 จะเริ่มเปลี่ยนผ่านยากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูลครอบครัวอย่างจริงจังว่ามีกี่ครอบครัวที่ส่งต่อธุรกิจให้ลูกหลาน และไม่สามารถประเมินมูลค่าการส่งต่อได้ เพราะธุรกิจส่วนใหญ่จะนำสินทรัพย์กระจายในหลาย ๆ ธนาคาร แต่ปัจจุบันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของ Gen 1 ไป Gen 2

ซึ่งการส่งต่อจาก Gen 1 ไป 2 จะยังทำได้ง่าย เพราะมีความใกล้ชิดกัน เนื่องจากเป็นรุ่นพ่อสู่ลูก หรือพี่น้อง แต่รุ่น 2-3 ที่เป็นรุ่นลูกพี่ลูกน้องจะยากขึ้น เพราะไม่ได้ใกล้ชิดกันเหมือนก่อน และ ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม เป็นธุรกิจที่ ดูแลยากที่สุด เพราะการบริหารจัดการยังเป็นแบบดั้งเดิม และมีปัญหาด้านการลงบัญชีและภาษี เนื่องจากคู่ค้าไม่ได้อยู่ในระบบ Vat นี่จึงเป็นโจทย์ที่ยากมาก ที่จะช่วยให้เขาก้าวผ่านและเข้ามาอยู่ในระบบ

ปัจจุบัน KBank Private Banking มีบริการ Family Business Transformation ที่จะช่วยกำหนดกติกา, เป้าหมาย, ทิศทาง, การจัดการโครงสร้างและระบบฝั่งธุรกิจครอบครัว โดยปัจจุบันมีลูกค้า KBank Private Banking ที่ใช้บริการประมาณ 12-15% จากลูกค้าทั้งหมด 12,000 บัญชี โดยภายในสิ้นปีคาดว่าสัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเป็น 17%

]]>
1483282
KBank ชูโซลูชันมากกว่าการเงิน ช่วยผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม เชื่อคนไทยชนะในเกมนี้ได้ https://positioningmag.com/1468305 Fri, 29 Mar 2024 12:49:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468305

หนึ่งในความท้าทายของผู้ประกอบการไทยหลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่หรือเล็กที่ต้องเจอคือหลายประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยทั้ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมถึงประเทศจีน ได้ออกมาตรการทางการค้าที่อิงหลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ….. ของไทยที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา กำหนดให้ภาคธุรกิจต้องวัดผลและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (MRV) มาตรการจำกัดสิทธิผู้ประกอบการเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap and Trade) มาตรการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสินค้าภาคอุตสาหกรรม (Carbon Tax) รวมถึงการทำธุรกรรมเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะกระทบกับผู้ประกอบธุรกิจในวงกว้าง

ผู้ประกอบการที่ปรับตัวไม่ทันกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ย่อมมีความเสี่ยงที่จะต้องมีต้นทุนในการจำหน่ายสินค้ามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัจจัยกดดันภาคธุรกิจเหล่านี้กำลังเพิ่มขึ้น และจะทำให้สมการธุรกิจเปลี่ยนไป มูลค่าของธุรกิจจากรายได้ธุรกิจแบบดั้งเดิม จะถูกลดทอนด้วยปัจจัยเชิงลบที่ธุรกิจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากการทำธุรกิจที่ได้ปัจจัยบวกด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวได้ว่า โลกธุรกิจกำลังเข้าสู่ยุค Climate Game แล้ว

Positioning จะพาไปฟังผู้บริหารของธนาคารกสิกรไทย เล่าถึงประเด็นดังกล่าว และสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินธุรกิจบนหลักการด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องจำเป็นที่ภาคธุรกิจจะต้องตระหนักและลงมือทำให้เกิดขึ้นจริง เพื่อปรับตัวให้ได้ และก้าวทันในเกมนี้

คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ได้ชี้ถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมว่า ถ้าหากถึงปี 2050 อุณหภูมิโลกได้เพิ่มขึ้นไปถึง 3.2 องศา ซึ่งเกินความตกลง Paris ในการควบคุมอุณภูมิโลก นั้นเราอาจจะได้เห็นตัวเลขความเสียหายของเศรษฐกิจโลกมูลค่ากว่า 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 18% ของ GDP โลก

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ยังชี้ให้เห็นเป็นการเปรียบเทียบว่าการแพร่ระบาดของโควิดนั้น GDP ของโลกได้รับผลกระทบแค่ 3% เท่านั้น ซึ่งถ้าหากอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นไปในระดับดังกล่าว ก็จะสร้างผลกระทบมากมายมหาศาลกว่าที่เราคิด

สำหรับผลกระทบดังกล่าวต่อประเทศไทยนั้น คุณพิพิธได้ชี้ว่าเรื่องดังกล่าวกระทบต่อ 44% ของ GDP ไทย คิดเป็นเงิน 218,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 7.9 ล้านล้านบาทเป็นอย่างน้อย โดยอุตสาหกรรมส่งออกของประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบอย่างหนัก ผ่านการคาดการณ์เม็ดเงินที่หายไปราว 1.14 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 40-50% ของมูลค่าการส่งออกในประเทศไทย

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ปรับตัวไม่ได้ในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ความยั่งยืนจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าจากการเก็บภาษีของประเทศต่างๆ ที่กล่าวไปในข้างต้น และในท้ายที่สุดสินค้าของผู้ประกอบการไทยรายนั้นก็อาจไม่สามารถแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนตัวเองโดยเน้นความยั่งยืนได้

คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารทำอะไรไปแล้วบ้าง

คุณพิพิธ ยังได้เล่าให้ฟังว่า คงจะเป็นเรื่องแปลกไม่น้อย ถ้าหากธนาคารนั้นพยายามที่จะให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนไปสู่ความยั่งยืน แต่ตัวธนาคารเองกลับไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้ปรับตัวเพื่อเข้าสู่ความยั่งยืนเริ่มจากในส่วนของการดำเนินการของธนาคารเองไม่ว่าจะเป็น การติดตั้ง Solar Cell ที่อาคารหลักของธนาคารครบ 100%

การเปลี่ยนรถยนต์ที่ใช้ธุรกิจธนาคารจากรถยนต์สันดาปเป็นรถไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

นอกจากนั้น ธนาคารกสิกรไทย ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียน Carbon Neutral โดย อบก. ว่าเป็นกลางทางคาร์บอน 6 ปี ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2018-2023 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังของธนาคาร และธนาคารยังเชื่อว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นจะยกระดับมาตรฐานขึ้นไปได้อีก และยังสร้าง Impact ที่วัดผลได้จริง


เตรียมปล่อยสินเชื่อมากกว่าเป้าที่วางไว้

คุณพิพิธ ยังได้กล่าวว่าธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 73,397 ล้านบาท โดยใน 2 ปี ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมหลักที่ธนาคารได้ให้ความสำคัญในการควบคุมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอย่างใกล้ชิด โดยมีการวางแผนกลยุทธ์รายอุตสาหกรรมแล้ว 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้นน้ำ กลุ่มเหมืองถ่านหินประเภทเชื้อเพลิงให้ความร้อน กลุ่มซีเมนต์ และกลุ่มอะลูมิเนียม

นอกจากนี้คุณพิพิธยังได้กล่าวถึงว่าในการปล่อยสินเชื่อธนาคารมีคณะกรรมการตรวจสอบว่าสินเชื่อดังกล่าวที่ผู้ประกอบการนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้เกิดความยั่งยืนนั้นเกิดขึ้นจริง ทำได้จริง และป้องกันสิ่งที่เกิดว่า “การฟอกเขียว”

ทั้งนี้ เป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืนในปี 2024 นี้ จะมียอดรวมอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเป้าหมายรวม 200,000 ล้านบาทภายในปี 2030

หลายประเทศมหาอำนาจเริ่มมีมาตรการจัดเก็บภาษีในสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง

บริการของ KBank ที่มากกว่าด้านการเงิน

อย่างที่เราทราบดีกว่าธนาคารกสิกรไทยถือเป็นสถาบันการเงินรายใหญ่ของประเทศไทย แต่สำหรับการช่วยเหลือให้บรรดาผู้ประกอบการสามารถก้าวผ่านไปสู่ความยั่งยืนได้นั้น คุณพิพิธ ชี้ว่าไม่ใช่แค่เรื่องของการปล่อยสินเชื่อเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ด้วยการวางยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารกสิกรไทยนั้นมีเป้าหมายสำคัญคือการพาธุรกิจไทยและเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่  ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถปรับตัวและคว้าโอกาสในยุคของ Climate Game พร้อมทั้งวางกลยุทธ์ที่นอกเหนือจากบริการด้านการให้สินเชื่อด้วยการบูรณาการศักยภาพทั้งโซลูชัน องค์ความรู้ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการทำงานทั้งของธนาคารเองและการทำงานของลูกค้า ผ่านบริการที่มากกว่าการเงิน ได้แก่

Climate Solutions โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อม ที่เป็นมากกว่าบริการธนาคาร เพื่อช่วยธุรกิจในการปรับตัวและเปลี่ยนผ่าน ประกอบด้วย โซลูชันการส่งมอบความรู้และคำแนะนำ (Knowledge Provider) ที่บูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันชั้นนำ การพัฒนาโซลูชันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้าทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ (Reduction Solution) โดยทดลองออกบริการนำร่องแล้ว ได้แก่ WATT’S UP เป็นแพลต์ฟอร์มรองรับการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร และ “ปันไฟ” (Punfai) เป็นแอปพลิเคชันที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไ ทย (กฟผ.) พัฒนาแอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนไฟฟ้าแห่งแรกของไทยที่ตอบโจทย์การใช้งานครบทุกมิติ รองรับการใช้งานทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ธนาคารนำประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการวัด Carbon Footprint ของธนาคาร มาใช้เพื่อเตรียมพัฒนาโซลูชันใหม่ที่จะช่วยผู้ประกอบการเรื่องการวัดผล รายงาน และตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon MRV) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

Carbon Ecosystem การเชื่อมต่อ Carbon Ecosystem และเข้าไปศึกษาเตรียมพร้อม เพื่อการพัฒนาบริการไปอีกขั้น ในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต รองรับเครือข่ายผู้ใช้งานในอนาคต โดยมีการดำเนินการนำร่อง เปิดตัวแพลตฟอร์มขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และ Innopower เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็ อป ขึ้นทะเบียนและขายใบรับรอง REC ได้ รวมถึงธนาคารได้ศึกษาและเตรียมแนวทางในมิติอื่น ๆ ของระบบนิเวศด้านคาร์บอนเครดิต เช่น การเป็นตัวแทนซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Broker / Dealer) การออกโทเคนคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Tokenization)

สำหรับบริษัทใหญ่ๆ ในด้านการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนนั้น คุณพิพิธ ไม่ค่อยเป็นห่วงมากเท่าไหร่นัก แต่ผู้บริหารของ KBank ได้กล่าวว่า ลูกค้า SME รับรู้ในเรื่องดังกล่าวน้อยมาก ถึงแม้บางรายจะรับรู้แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เช่น ส่งออกไปยุโรปต้องกรอกแบบฟอร์ม ทุกคนก็สงสัย เลยติดต่อมาที่ธนาคาร และเขายังชี้ว่าถ้าหากธุรกิจใหญ่ รวมถึงธุรกิจขนาดกลางเป็นหัวหอกหลักแล้ว ก็จะช่วยในการดึงธุรกิจขนาดเล็กให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้

ลูกค้าคาดหวังกับธนาคารมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของความยั่งยืน

Now Or Never ทำตอนนี้ยังไงไม่สายเกินไปแน่นอน

เราจะเห็นว่า Climate Game เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และเรื่องดังกล่าวถือว่ามีความท้าทายรอทุกคนอยู่ข้างหน้า ซึ่งหากทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ ของการเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้เรื่องดังกล่าวเป็นไปได้มากขึ้น นอกจากนี้คุณพิพิธ ยังชี้ว่าเรื่องดังกล่าวยังทำเพียงลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยพลังจากทุกคน จับมือทำไปด้วยกัน จึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง

ถ้าหากภาคธุรกิจรายใดยังมีข้อสงสัยในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ความยั่งยืน ธนาคารมีการจัดงานสัมมนาเพื่อธุรกิจ ทั้งงานเฉพาะกลุ่ม ไปจนถึงงานฟอรั่มขนาดใหญ่ประจำปี อาทิ งาน “EARTH JUMP 2024” ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ภายใต้แนวคิด The Edge of Action เพราะเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ธุรกิจต้องลงมือทำทันที

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ยังชี้ว่าธุรกิจที่ปรับตัวและลงมือทำก่อนก็จะมีโอกาสช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันบนโลกธุรกิจยุคใหม่ และเขาเชื่อว่าคนไทยจะสามารถชนะในเกมดังกล่าวนี้ได้

โดยสำหรับงาน EARTH JUMP 2024 นี้ผู้เข้าร่วมงานจะได้เรียนรู้เทรนด์และความรู้มุมมองใหม่ๆ ครบทุกมิติในงานเดียว ในวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 ณ สามย่านมิตรทาวน์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และซื้อบัตรร่วมงานได้ที่ Zip Event คลิก https://www.kasikornbank.com/k_3IgdPWE

 

]]>
1468305
KBank ประกาศเข้าซื้อหุ้นกิจการ Satang Pro สัดส่วน 97% ลุยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล https://positioningmag.com/1449708 Mon, 30 Oct 2023 05:10:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449708 ธนาคารกสิกรไทย แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงการจัดตั้งบริษัทลูก โดยจะเน้นธุรกิจไปยังสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้ยังประกาศถึงการเข้าซื้อหุ้นสัดส่วน 97% ของสตางค์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในชื่อ Satang Pro

ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการจัดตั้งบริษัทลูกในชื่อ ยูนิต้า แคปิทัล มีทุนจดทะเบียน 3,705 ล้านบาท รวมถึงมีการจดทะเบียนบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล

โดยบริษัทลูกที่ KBank ได้ตั้งขึ้นผ่าน ยูนิต้า แคปิทัล ได้แก่ 

  1. บริษัท ออร์บิกซ์ คัสโทเรียน จํากัด ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ถือหุ้นโดย ยูนิต้า แคปิทัล สัดส่วน 100% วัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัท ทำธุรกิจผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (อยู่ระหว่างเตรียมขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ)
  2. บริษัท ออร์บิกซ์ อินเวสท์ จํากัด ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาทถือหุ้นโดย ยูนิต้า แคปิทัล สัดส่วน 100% วัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัท ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (อยู่ระหว่างเตรียมขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ)
  3. บริษัท ออร์บิกซ์ เทคโนโลยี แอนด์ อินโนเวชั่น จํากัด ทุนจดทะเบียน 260 ล้านบาท ถือหุ้นโดย ยูนิต้า แคปิทัล สัดส่วน 100% ทำธุรกิจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีบล็อกเชน

นอกจากนี้ KBank ยังเปิดเผยว่า ยูนิต้า แคปิทัล ได้เข้าซื้อหุ้นของ บริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยถือหุ้นสัดส่วน 97% โดย สตางค์ คอร์ปอเรชั่น เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยในชื่อ Satang Pro อย่างไรก็ดีทางธนาคารฯ ไม่ได้มีการเปิดเผยของมูลค่าการเข้าซื้อกิจการแต่อย่างใด

สำหรับ สตางค์ คอร์ปอเรชั่น เจ้าของแพลตฟอร์ม Satang Pro นั้นก่อตั้งในปี 2017 ถ้าหากไปดูผลประกอบการในปี 2022 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้รวม 28.44 ล้านบาท ขาดทุนจากการดำเนินงาน 73.53 ล้านบาท มีทุนจดทะเบียนล่าสุด 92 ล้านบาท

]]>
1449708
Reuters รายงาน KBank กำลังพูดคุยเพื่อซื้อกิจการ Home Credit ในประเทศเวียดนาม สูงถึง 35,000 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจ https://positioningmag.com/1441957 Tue, 22 Aug 2023 10:44:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441957 Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ธนาคารกสิกรไทยกำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยเพื่อเข้าซื้อกิจการของ Home Credit สถาบันการเงินในประเทศเวียดนาม ด้วยมูลค่าสูงถึง 35,000 ล้านบาท เพื่อที่จะขยายธุรกิจไปในเวียดนามได้รวดเร็วขึ้น

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ได้กำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยเพื่อซื้อกิจการของ Home Credit Vietnam เป็นมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 35,000 ล้านบาท

สถานการณ์ล่าสุดในตอนนี้ทาง KBank ได้พูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อที่จะเข้าซื้อกิจการ และข่าวดังกล่าวมาในช่วงที่เศรษฐกิจเวียดนามกำลังประสบสภาวะชะลอตัว รวมถึงปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้กระทบต่อสถาบันการเงินในประเทศเวียดนามด้วย

ถ้าหากดีลดังกล่าวกลายเป็นความจริงแล้วนั้น จะทำให้ดีลนี้กลายเป็นการซื้อกิจการสถาบันการเงินใหญ่อันดับ 2 ของประเทศเวียดนามในปีนี้ รองจากดีลที่ Sumitomo Mitsui ซื้อกิจการของ VPBank ด้วยมูลค่ามากถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 52,500 ล้านบาท

แหล่งข่าวของ Reuters ได้ชี้ว่าการพูดคุยเพื่อซื้อกิจการดังกล่าวเนื่องจาก KBank ต้องการที่จะเป็นผู้เล่น 1 ใน 20 ของธนาคารรายใหญ่ในเวียดนามในแง่ทรัพย์สินภายในปี 2027

ก่อนหน้านี้ Home Credit Group ซึ่งเป็นผู้เล่นในตลาดสินเชื่อรายย่อยในหลายประเทศ และมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัทลงทุนจากสาธารณรัฐเช็ก ได้ขายกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ว่าจะเป็นในอินโดนีเซีย หรือแม้แต่ฟิลิปปินส์ให้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยามาแล้ว เนื่องจากผลขาดทุนจากการที่ต้องถอนตัวจากรัสเซีย

Home Credit Vietnam ปัจจุบันได้ให้บริการลูกค้าในเวียดนามมากถึง 12 ล้านราย และมีพนักงานมากถึง 6,000 ราย ทำให้การซื้อกิจการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อ KBank ในการขยายธุรกิจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ล่าสุด KBank ได้ชี้แจงกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในประเด็นข่าวดังกล่าวว่า ธนาคารแสวงหาโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ในสาธารณัฐสังคมนิยมเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลหรืออาจจะไม่ได้ส่งผลให้มีธุรกรรมเกิดขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากมีธุรกรรมเกิดขึ้น ธนาคารจะเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเวลาที่เหมาะสม

Note: อัพเดต 23 สิงหาคม หลัง KBank ชี้แจงข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

]]>
1441957
KBank แยก กสิกร อินเวสเจอร์ เป็นบริษัทใหม่ โฟกัสธุรกิจสินเชื่อกับลูกค้ารายย่อยที่แบงก์เข้าไม่ถึง https://positioningmag.com/1439582 Wed, 02 Aug 2023 09:15:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439582 KBank ประกาศแยก “บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด” หรือ KIV เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการรุกธุรกิจให้บริการการเงินกับลูกค้ารายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารเข้าไม่ถึง จากการร่วมทุนกับบริษัทต่างๆ

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBank) กล่าวถึงการดำเนินการของธุรกิจธนาคารในปัจจุบันทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านของบริการจ่ายเงิน บริการสินเชื่อทั้งลูกค้าบริษัทและลูกค้ารายบุคคล บริการด้านการลงทุนและประกัน รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึงการแยก บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ KIV นั้นเพื่อสร้างรายได้บนความเสี่ยงที่คุ้มค่า ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม และมองว่าธุรกิจ KIV มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจของธนาคารใน 4 ด้านในข้างต้น แต่ลูกค้าของ KIV แตกต่างกับธุรกิจของธนาคาร ซึ่งต้องใช้วิธีคิดที่แตกต่างไปจากเดิม

โดยเธอได้กล่าวว่าก่อนที่จะมีการเปิดตัว KIV ในวันนี้ได้มีการทดลอง แยกธุรกิจมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เมื่อประสบความสำเร็จจึงค่อยแยกตัวออกมา เธอยังได้กล่าวเสริมว่า KIV คือ Game Changer ของ KBank สามารถเป็นแหล่งรายได้ใหม่ และยังทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากกว่าเดิม

ปัจจุบัน บริษัทที่อยู่ในโครงสร้างของ KIV ประกอบด้วย 14 บริษัท มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยบริษัทที่น่าสนใจเช่น การลงทุนใน Grab ของธนาคาร การร่วมทุนกับ LINE ในชื่อ Kasikorn LINE ที่เป็นเจ้าของ LINE BK การร่วมทุนกับกลุ่มคาราบาวภายใต้ชื่อ KBao เป็นต้น

ข้อมูลจาก KBank

พัชร สมะลาภา Group Chairman ของ บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด ได้กล่าวถึงปัญหาของลูกค้ารายย่อยนั้นไม่สามารถที่จะเข้าถึงสินเชื่อได้ ซึ่งเขาให้ข้อมูลว่า 60% ของผู้ขอสินเชื่อนั้นธนาคารไม่แน่ใจว่าจะกลับมาจ่ายเงินหรือไม่ ขณะเดียวกันทางธนาคารเองก็ต้องแบกรับความเสี่ยงจากปัญหาผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้จากการสำรองหนี้

เขาชี้ว่าเป้าหมายของ KIV คือ เพิ่มความสามารถในการให้บริการการเงินกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือ ต้องลดต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Cost) และลดต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (Credit Cost) ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินงานในการปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น

นอกจากนี้ KIV ยังได้อาศัยความเชี่ยวชาญของพันธมิตรในแต่ละด้าน รวมกับการใช้โครงสร้างและทรัพยากรของธนาคารกสิกรไทยที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อมูล ระบบไอที เงินทุนซึ่งมีต้นทุนการเงินที่ถูกกว่า

พัชรยังชี้ว่ากระบวนการทำงานของ KIV ได้แตกต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการใช้พนักงานเข้ามาตรวจสอบลูกค้าว่ามีตัวตนจริงๆ ไม่ใช้เอกสารปลอม หรือแม้แต่กรณีการปล่อยสินเชื่อกับลูกค้าที่หาเช้ากินค่ำนั้นก็ดูวงเงินที่เหมาะสม ซึ่งผลที่ได้คือ NPL ของ KIV ลดลงมาต่ำแล้ว

ขณะเดียวกันในการร่วมทุนกับพันธมิตรนั้นก็ทำให้ KIV สามารถเก็บเงินจากลูกค้าที่เป็นหนี้เสียได้มากขึ้น ส่งผลทำให้ Credit Cost ลดลง

โดย KIV ตั้งเป้าว่าในปีนี้จะมีกำไรราวๆ 900-1,000 ล้านบาท ขณะที่เป้าหมายในปี 2026 จะมีมูลค่าของพอร์ตสินเชื่อ 75,000-80,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 เท่าเมื่อเทียบกับพอร์ตสินเชื่อในปัจจุบัน และคาดว่าจะมีกำไรมากถึง 4,500-5,000 ล้านบาท

]]>
1439582
“SKILLKAMP” โปรเจ็กต์จาก KBank ปลุกปั้น Tech Talent สู่โอกาสเป็นตัวท็อปในโลกดิจิทัล https://positioningmag.com/1435050 Tue, 27 Jun 2023 10:00:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435050

KBank” เปิดโครงการ “SKILLKAMP” มุ่งเป้าที่จะช่วยพัฒนาทักษะให้คนทำงานรุ่นใหม่ให้กับเมืองไทย อุดช่องว่างการขาดแคลนแรงงานดิจิทัลที่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศ ผ่านกิจกรรมเข้มข้นทั้งเวิร์กช็อปสร้างประสบการณ์ เป็นแต้มต่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการในการสมัครงานและการทำงานจริงในองค์กรต่างๆ พร้อมต่อยอดโครงการนี้ผ่านเว็บไซต์ WWW.SKILLKAMP.COM รวบรวมหลักสูตรด้านดิจิทัลกว่า 250 คอร์ส เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พัฒนาทักษะดิจิทัลของตนเอง

“ดิจิทัล ทรานสฟอร์ม” ที่เกิดขึ้นในองค์กรส่วนใหญ่ของไทย ทำให้แรงงานทักษะดิจิทัลหรือกลุ่ม Tech Talent” เป็นที่ต้องการตัว โดยข้อมูลจาก Amazon Web Service ระบุชัดเจนว่า 90% ขององค์กรในไทยต้องการบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัล

ด้วยความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในระยะหลัง ประกอบกับโอกาสสร้างรายได้และเลื่อนตำแหน่งที่ดีกว่า ทำให้นักศึกษาไทยหันมาเลือกเรียนสายงานดิจิทัล รวมถึงคนทำงานรุ่นใหม่บางส่วนได้ ‘Reskill’ พัฒนาเปลี่ยนทักษะให้ตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดงานดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักศึกษาจบใหม่หรือคนทำงานที่ต้องการเปลี่ยนสายงานเหล่านี้ยังขาดคือ “ประสบการณ์” การทำงานจริงซึ่งองค์กรทุกแห่งต่างมองหาในตัว Tech Talent จึงเป็นจุดตั้งต้นให้ธนาคารกสิกรไทยสร้างโครงการที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความต้องการและการจัดหาบุคลากรในตลาดงาน  ช่วยเจียระไนเพชรในกลุ่มคนที่มีทักษะให้ได้เข้าสู่ตลาดงาน

“พิพิธ เอนกนิธิ” กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงการริเริ่มดำเนินโครงการ SKILLKAMP (สกิลแคมป์) ว่าเกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนโอกาสการเติบโตในวิชาชีพให้กับทั้งนักศึกษา/คนทำงานที่เรียนจบในสายดิจิทัลโดยตรง และผู้ที่ไม่ได้จบมาโดยตรงแต่มีความสนใจจะพัฒนาตนเองในสายงานดิจิทัล ธนาคารกสิกรไทยจึงร่วมมือกับ SEEN จาก BASE Playhouse สตาร์ทอัพผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สร้างเป็นโครงการเวิร์กช็อปเพื่อคนทำงานสายดิจิทัลขึ้น

“พิพิธ เอนกนิธิ” กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ภารกิจของโครงการนี้คือการยกระดับการเรียนรู้และเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความสามารถผ่านการพัฒนา Business Case ผู้ที่ผ่านเข้ารอบจนถึงรอบสุดท้ายและเข้าร่วมจนจบโครงการ จะได้รับเกียรติบัตรรับรองประสบการณ์การผ่านโครงการ SKILLKAMP เป็นแต้มต่อในการเข้าสู่องค์กรต่างๆ ในอนาคต

“เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์” CEO & Co-founder BASE Playhouse กล่าวว่า ทาง BASE Playhouse และทางธนาคารกสิกรไทยได้ใช้จุดแข็งของทั้งสองฝ่ายในการพัฒนาโครงการนี้ให้เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่มากที่่สุด

ฝั่ง KBank นั้นมีจุดแข็งในเรื่องพันธมิตร มีเครือข่ายบริษัทชั้นนำที่สามารถกระจายข้อมูลให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นใหม่ ขณะที่ BASE Playhouse เองมีแพลตฟอร์ม SEEN ที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนรู้ว่าตนเองโดดเด่นในด้านใดและต้องการเสริมทักษะอะไรเพิ่มเติม นำไปสู่การสร้างเส้นทางเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง โดย SEEN จะวัดระดับความสามารถได้อย่างตรงจุด แม่นยำ จากการวิจัยที่ครอบคลุมทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ของสายอาชีพนั้นๆ พร้อมระบบป้องกันการทุจริต ทำให้โครงการ SKILLKAMP เป็นพื้นที่แสดงศักยภาพของคนรุ่นใหม่ในสายงานได้อย่างเต็มที่

“เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์” CEO & Co-founder BASE Playhouse

โครงการ SKILLKAMP เริ่มเปิดรับสมัครไปเมื่อเดือนมีนาคม 2566 และเปิดรับผู้ที่สนใจแบ่งออกเป็น 5 สายวิชาชีพดิจิทัลที่ตลาดต้องการตัวมากที่สุด ได้แก่

1) Business Analyst
2) Data Analytics and Visualization
3) Front-End Developer
4) Performance Marketing
5) Web Developer

ในรอบแรกที่เปิดรับสมัคร มีผู้สมัครเข้ามาล้นหลามถึง 2,800 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 จนถึงนักศึกษาจบใหม่ และคนทำงานในกลุ่ม first jobbers

รอบต่อมาจะเป็นการคัดเลือกด้วยข้อสอบ Pre-Assessment Test ที่แยกแบบทดสอบตามแต่ละสายวิชาชีพที่สมัคร ซึ่งผู้ที่ผ่านเข้ารอบจะได้เข้าสู่รอบการทำ Business Case

ในรอบ Business Case นี้ทาง SKILLKAMP จะมีการเชิญ “เมนเทอร์” ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากในสายวิชาชีพนั้นๆ มาเป็นที่ปรึกษาการพัฒนา Business Case ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการด้วย โดยผู้เข้าร่วมสามารถติดต่อเมนเทอร์ผ่านข้อความ (text) ได้ตลอดเวลา และนัดจองเวลาเพื่อขอคำปรึกษาจากเมนเทอร์ผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ สามารถปรึกษาได้ทุกประเด็น เช่น การวางกลยุทธ์ธุรกิจ การทำแคมเปญอีคอมเมิร์ซ การศึกษาตลาดเชิงประสิทธิภาพ การพัฒนาแอปพลิเคชั่น ขอเทคนิคพร้อมใช้จากเมนเทอร์เพื่อปฏิบัติจริงได้ดีขึ้น

รอบสุดท้ายของโครงการ SKILLKAMP คือรอบ Final Pitch ซึ่งโครงการจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมที่พัฒนา Business Case ได้ดีที่สุดไม่เกิน 10 คนต่อสายวิชาชีพเข้าสู่รอบสุดท้ายนี้ เพื่อมานำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการจากองค์กรธุรกิจชั้นนำทั้งหมด 5 องค์กร ได้แก่ แอสเซนด์ (Ascend) กสิกร ไลน์ (KASIKORN Line) ไรส์ (Rise) สตอรี่ล็อก (Storylog) และ  ไทยเบฟเวอเรจ (ThaiBev)

เสวนากับผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรธุรกิจชั้นนำ

ในการประกวดงานขั้นสุดท้ายจะไม่มีการประกาศผลรางวัล แต่ผู้ที่เข้าสู่รอบ Final Pitch ทั้งหมดจะได้รับประกาศนียบัตรการผ่านโครงการ SKILLKAMP ซึ่งในปี 2566 นี้มีผู้ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 45 คน


SKILLKAMP โครงการที่ได้ทำจริงกับตัวจริง

หลังสิ้นสุดรอบ Final Pitch ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทาง SKILLKAMP ได้รวบรวมความเห็นของผู้ที่ผ่านโครงการ และพบว่าโครงการนี้ได้ช่วยให้บุคลากรดิจิทัลเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์จริง

ยกตัวอย่างความเห็นจากกลุ่มนักศึกษาที่ยังอยู่ระหว่างเรียนและได้เข้าร่วมโครงการนี้ “ณัฐณิชา ธนปุณยนันท์” นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ มองว่าโครงการนี้เป็นการเปิดประสบการณ์การพัฒนา Business Case ครั้งแรกของตนเองซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและท้าทาย แต่ทำให้ได้ทำอะไรใหม่ๆ ในขณะที่  “ปวีณ์นุช ฐานานุศักดิ์” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมโครงการในสายวิชาชีพ Performance Marketing มองว่า โครงการนี้มีจุดเด่นที่เมนเทอร์ที่ช่วยให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงใช้ในงานต่อไปและได้พัฒนาทักษะของตนเอง

ในกลุ่มนักศึกษาสายอาชีพก็สามารถสมัครได้เช่นกัน “กัณติกรณ์ สรสุริยวงษ์” นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปวส. สาขานักพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ มองว่าโครงการ SKILLKAMP เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้าง ไม่จำกัดประสบการณ์หรือความรู้ก่อนเข้าโครงการ และบริษัทที่เข้าร่วมในโครงการล้วนน่าสนใจ เป็นโอกาสให้ได้ทดลองทำจริง ได้พัฒนาตัวเอง และอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ที่สนใจสายงานเทคโนโลยีเข้ามาสมัคร

ขณะที่ผู้ที่เรียนจบแล้วก็มีการสมัครเข้าโครงการ “ธรรพ์ณธร จักคำบาง” ซึ่งเพิ่งสำเร็จการศึกษาจากคณะการจัดการ ธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่าตนเองมีความสนใจงานด้านการตลาด (Marketing) แต่ไม่เคยมีประสบการณ์หรือความรู้มาก่อน การเข้าร่วมโครงการนี้จึงเป็นการเปิดมุมมองงานด้านการตลาดได้มากยิ่งขึ้น และได้คำแนะนำ คำชี้แนะที่ดีที่นึกไม่ถึงจากคณะกรรมการ ช่วยเติมเต็มความรู้ในสายงานนี้ได้เป็นอย่างดี


เปิดประตูแห่งโอกาส

โครงการ SKILLKAMP ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ธนาคารกสิกรไทยต่อยอดไปสู่โครงการที่จะเปิดประตูแห่งโอกาส โดยคุณพิพิธกล่าวว่า ล่าสุด KBank ได้เปิดเว็บไซต์ WWW.SKILLKAMP.COM เพื่อรวบรวมหลักสูตรด้านดิจิทัลกว่า 250 หลักสูตร จากผู้พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ชั้นนำทั้งหมด 14 แห่ง ได้แก่  9Expert, BorntoDev, ConicleX, DataRockie, FutureSkill, HACKaTHAILAND, Klasssi, LINE Developers Thailand, PrasertCBS, SkillLane, Thai MOOC, ThaiWinner, WeStride และ Zinglecode

จุดประสงค์ของเว็บไซต์นี้ คือการคัดกรองคอร์สเรียนที่มีคุณภาพมานำเสนอกับผู้ที่สนใจต้องการฝึกทักษะดิจิทัลของตนเอง ด้วย 4 ไฮไลท์ฟีเจอร์พิเศษที่สำคัญ ที่จะช่วยประหยัดเวลา และทำให้การค้นหาตรงตามความต้องการ คือ 

  1. Curated Course Aggregator รวบรวมและคัดเลือกหลักสูตรคุณภาพด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี เป็นที่ต้องการของตลาด
  2. Suggestion Learning Path แนะนำคอร์สเรียนจากหลากหลายแพลตฟอร์ม เพื่อเสนอหลักสูตรการเรียนรู้ (Learning path) สู่การเริ่มต้นในสายอาชีพ Data analyst, Database admin, Front-End Web Developer และ Digital Marketer ที่ถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว และดีที่สุด เพื่อการเตรียมตัวให้บรรลุเป้าหมายอาชีพที่ต้องการ
  3. Blog Review บทความพิเศษจากผู้มีประสบการณ์ในสายงานจริง ที่จะมาแชร์ประสบการณ์การทำงาน การย้ายสายงาน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา และค้นหาความสนใจของตัวเองได้อย่างตรงความต้องการ
  4. Mentor Feature เมนเทอร์ที่คอยให้คำปรึกษาเจาะลึกของแต่ละหลักสูตร ไขข้อสงสัย และให้คำแนะนำกับผู้เรียน

โดยอนาคต KBank จะมีการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียนเพื่อเฟ้นหาบุคลากรคุณภาพมาร่วมงานกับธนาคารกสิกรไทยและบริษัทในเครือ

พิพิธกล่าวด้วยว่า ธนาคารเชื่อมั่นว่าผู้เรียนในหลักสูตร SKILLKAMP จะได้ความรู้และประสบการณ์ไปต่อยอดในการทำงานจริง และในอีกมุมหนึ่ง โครงการจะช่วยให้มี “Tech Talent” เข้าสู่ตลาดงานมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมีบุคลากรด้านเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้เกิด “ดิจิทัล ทรานสฟอร์ม” ในองค์กรเช่นกัน เป็นกำลังสำคัญเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในโลกธุรกิจแห่งอนาคต

พิเศษ! เมื่อลงทะเบียนแคมเปญหลักสูตรการเรียนรู้จาก SKILLKAMP ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายทั้ง Front-End Developer,  Data Analyst,  Database Admin และ Digital Marketer โดยเรียนจบภายในวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคมนี้ สามารถเลือกรับ Voucher เรียนออนไลน์แบบบุฟเฟ่ต์บนเว็บไซต์ FutureSkill หรือ e-voucher starbucks มูลค่าสูงสุดถึง 750 บาท อ่านรายละเอียดแล้วสมัครเลยที่ https://www.skillkamp.com/campaign

 

 

]]>
1435050
KBTG เปิดตัวสำนักงานใหญ่ในเวียดนาม เตรียมปั้นเป็นฮับด้านเทคโนโลยีเพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาค https://positioningmag.com/1435567 Tue, 27 Jun 2023 08:11:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435567 KBTG ได้เปิดตัวสำนักงานใหญ่ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งผู้บริหารนั้นมองว่าประเทศเวียดนามนอกจากจะมีเศรษฐกิจเติบโตแล้ว ยังมีศักยภาพในเรื่องทรัพยากรบุคคล โดยเตรียมที่จะปั้นให้เป็นฮับด้านเทคโนโลยีเพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 หลังจากนี้

KBTG ได้เปิดตัวสำนักงานใหญ่ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งถือว่าเป็นสาขาที่ 3 ในทวีปเอเชีย ต่อจากประเทศไทย และประเทศจีน โดยตั้งเป้าเป็นฮับด้านเทคโนโลยีเพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 หลังจากนี้ ในรูปแบบธนาคารดิจิทัล

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึงประเทศเวียดนามว่ามีเศรษฐกิจโต มีประชากรจำนวนมาก รวมถึงคาดการณ์ภายในปี 2030 ระดับ GDP ต่อหัวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ไม่เพียงเท่านี้เวียดนามยังมีการทำ FTA กับหลายประเทศ รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของชาวเวียดนามส่งผลต่อธุรกิจธนาคาร และยังส่งผลดีต่อผู้ใช้งานในเวียดนาม

CEO ของธนาคารกสิกรไทยยังได้กล่าวเสริมว่าการก่อตั้ง KBTG Vietnam จะช่วยให้ประชาชนได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Mobile Banking หรือแม้แต่ Digital Lending นอกจากนี้ชาวเวียดนามยังมีความสามารถที่เก่ง ทำให้สามารถพัฒนาประเทศ และนอกประเทศได้ เธอมองว่าการเปิดสำนักงานที่นี่ถือเป็นก้าวใหม่ในการเดินทางของ KBTG ด้วย

นอกจากนี้ขัตติยายังวางเป้าหมายของธนาคารกสิกรไทยนั้นจะเป็นธนาคารยุคใหม่แห่งภูมิภาค AEC+3 พร้อมเป้าหมายการเป็น 1 ใน 20 ธนาคารที่ดีที่สุดในประเทศเวียดนามได้ภายในปี 2027

ทักษะคนเวียดนามถือว่าสูงมาก

วรนุช เดชะไกศยะ Executive Chairman ของ กสิกร บิซิเนส- เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ได้กล่าวถึง การที่แรงงานของไทยลดลง เวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงหลังจากนี้ และยังมีคนจบการศึกษาในสาขา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ (STEM) ที่มีจำนวนสูงอันดับต้นๆ ในอาเซียน นอกจากนี้ทักษะการเขียนโปรแกรมของคนเวียดนามถือว่าดีอันดับต้นๆ ในภูมิภาค รวมถึงยังมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทยด้วย

ผู้บริหารของ KBTG รายนี้ยังกล่าวว่าการที่ KBTG มีบุคลากรมากฝีมือทั้งในประเทศไทย ประเทศจีน รวมถึงประเทศเวียดนาม จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกัน และยังสามารถดึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญในแต่ละส่วนมาประกอบกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคนิค รวมถึงทักษะด้านต่างๆ ที่สำคัญสำหรับองค์กรได้

ชูหลักการ 3S สำหรับสำนักงานในเวียดนาม

ธนุสศักดิ์ ธัญญสิริ Managing Director บริษัท KBTG Vietnam ได้กล่าวถึงหลักการ 3S โดยนำกรณีศึกษาในต่างประเทศหลายแห่งมาใช้ เพื่อที่จะสามารถส่งมอบงานด้านซอฟต์แวร์ให้กับ KBTG ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. Speed เขาได้กล่าวถึงว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ KBTG Vietnam สามารถที่จะเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งเขาได้ยกตัวอย่างการนำ AI มาช่วยในการเขียนโปรแกรม
  2. Scale การเพิ่มขนาดเพื่อรองรับการขยายธุรกิจหรือรองรับความต้องการทั้งด้านไอทีและองค์กร ธนุสศักดิ์ยังได้เล่าถึงการจ้างงานในประเทศเวียดนามเพื่อที่จะทำให้มีทรัพยากรเก่งๆ เข้ามาทำงาน การเปิดสำนักงานในกรุงฮานอยเพื่อรองรับการทำงาน หรือแม้แต่ความร่วมมือกับสำนักงานในประเทศจีน หรือในไทย เพื่อที่จะพัฒนาความสามารถของ KPlus รองรับการใช้งานของคนเวียดนาม
  3. Sustain ปัจจุบัน KBTG ได้พยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือแม้แต่การพัฒนาบุคคลากร เพื่อที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของความยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Positioning เก็บเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเปิดสำนักงานของ KBTG ในประเทศเวียดนาม

  • KBTG มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เหมาะกับคนเวียดนาม ซึ่งหลายอย่างไม่เหมือนในประเทศไทย เช่น ระบบไว้สำหรับไว้ซื้อขายของ โดยทีมงานจะสำรวจว่าคนในท้องที่ต้องการอะไร นอกจากนี้สำนักงานในเวียดนามนี้ยังมีพนักงานเป็นคนท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ มีคนไทยจำนวนไม่มากนัก
  • ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายว่า KPlus Vietnam มีคนใช้งาน 8.4 ล้านคนในปี 2027 จากเป้า 1.3 ล้านคนในปี 2023 และผู้ใช้งาน KPlus รวมกันถึง 100 ล้านคน โดยมองเป็น Regional Digital Bank ไม่ใช่แค่ให้บริการแต่ในประเทศไทยอย่างเดียว
  • KBTG เริ่มหาพนักงานตามเมืองต่างๆ ในเวียดนามเพิ่มขึ้น ล่าสุดผู้บริหารได้กล่าวว่าเริ่มดูเมืองดานังไว้ด้วย หลังจากที่ได้ไปเปิดสำนักงานในกรุงฮานอยมาแล้ว และหลังจากนี้อาจมีการเปิดสำนักงานที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยมองถึงศักยภาพที่เหมือนกับประเทศเวียดนามเช่นกัน หลังจากที่ธนาคารกสิกรไทยได้ลงทุนในกิจการของธนาคารแมสเปี้ยน
]]>
1435567
Bloomberg รายงาน KBank ยุติแผนการขายหุ้นใน บลจ. กสิกรไทย หลังเงื่อนไขไม่ลงตัว https://positioningmag.com/1430245 Thu, 11 May 2023 17:40:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430245 สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้ยุติแผนการขายหุ้นของ บลจ. กสิกรไทย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีผู้สนใจที่อาจซื้อหุ้นบางส่วนหรือแม้แต่ซื้อกิจการทั้งหมดด้วยซ้ำ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ธนาคารกสิกรไทยยุติการขาย บลจ. กสิกรไทย ก็คือเงื่อนไขการเจรจากับผู้ที่สนใจในการลงทุนใน บลจ. ดังกล่าวไม่ลงตัว 

ก่อนหน้านี้ผู้ที่สนใจซื้อหุ้นหรือแม้แต่กิจการของ บลจ. กสิกรไทย ประกอบไปด้วย Amundi ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจากประเทศฝรั่งเศส และยังมีบริษัทที่ลงทุนในบริษัทนอกตลาดหุ้น (Private Equity) อย่าง CVC และ TPG

นอกจากนี้ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางธนาคารกสิกรไทย ได้ชี้แจงหลังจากที่มีข่าวในการขายหุ้น บลจ. กสิกรไทยออกมาว่า “ธนาคารแสวงหาโอกาสทางธุรกิจและแนวทางเพิ่มเติม ที่จะสร้างประโยชน์ต่อลูกค้า และผู้ถือหุ้นในทุกธุรกิจของธนาคาร รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญของธนาคาร อย่างไรก็ตาม หากมีธุรกรรมเกิดขึ้น ธนาคารจะเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเวลาที่เหมาะสม”

ในปี 2022 บลจ. กสิกรไทย มีทรัพย์สินภายใต้การดูแลมากถึง 1.49 ล้านล้านบาท และยังเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมบริหารกองทุนรวมในประเทศไทย

อย่างไรก็ดีแหล่งข่าวรายดังกล่าวยังกล่าวว่ายังมีผู้ที่สนใจซื้อกิจการของ บลจ. กสิกรไทย ถ้าหากได้ราคาที่เหมาะสม แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใด

]]>
1430245
“Beacon Impact Fund” ประเดิมเงินลงทุน 1,200 ล้าน กองทุนเพื่อ “สตาร์ทอัพ” ที่ทำธุรกิจด้าน ESG https://positioningmag.com/1423092 Thu, 16 Mar 2023 04:00:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423092

“เรากำลังยืนอยู่บนทางแยกของการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและสังคม อยู่ที่เราเลือกว่าจะแก้ไขอย่างไร” ด้วยมายด์เซ็ทนี้ทำให้ “บีคอน วีซี” ในเครือ KBank เปิดตัวกองทุนใหม่ “Beacon Impact Fund” มูลค่าเงินลงทุน 1,200 ล้านบาท เพื่อลงทุนกับ “สตาร์ทอัพ” ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ ESG โดยตรง หวังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนธุรกิจที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงโลก

“ในฐานะ Global Citizen เราจะทำอะไรให้กับโลกนี้ เมื่อเราเป็นเจนเนอเรชันที่รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และเราจะเป็นเจนเนอเรชันสุดท้ายที่ยับยั้งได้ทัน” ธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด กล่าวเปิดถึงที่มาของการก่อตั้ง Beacon Impact Fund ขึ้น

ESG นั้นเป็นมิติทางสังคมที่หลายองค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญ บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งต่างมีนโยบายด้าน ESG เช่น Unilever, Walmart, Salesforce, HSBC, Citibank รวมถึง ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ก็เช่นกัน ล่าสุดธนาคารมีนโยบายที่จะใช้งบลงทุนสนับสนุนด้าน ESG ทั้งภายในองค์กรตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธนาคาร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1-2 แสนล้านบาท จากนี้ไปจนถึงปี 2573

สำหรับ ESG นั้นเป็นตัวย่อของมิติทางสังคมแบ่งเป็น 3 ประเด็นคือ Environment, Social และ Governance ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องซึ่งกันและกัน เมื่อโลกของเรามีสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ทรัพยากรบนโลกลดลง ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางสังคม เพราะประชากรบนโลกบางส่วนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรที่มีจำกัด ขณะที่บางส่วนไม่ได้รับและต้องอาศัยอยู่บนความแร้นแค้นยากจน จนในที่สุดถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม

ขณะที่ผลตอบรับจากผู้บริโภคปลายทางต่อบริษัทที่มีนโยบายด้านนี้ก็มีแนวโน้มไปในทางที่ดี เนื่องจากมีการวิจัยพบว่า 79% ของผู้บริโภคพร้อมที่จะอุดหนุนสินค้าและบริการของบริษัทที่มีนโยบาย ESG และมีถึง 49% ที่ตอบว่าตนเคยหันมาเลือกใช้สินค้าและบริการของบริษัทที่มีนโยบาย ESG แล้วเพื่อเป็นการสนับสนุนอีกด้วย


Beacon Impact Fund อัดงบ 1,200 ล้านบาท

จากนโยบายของ KBank ที่จะสนับสนุนด้าน ESG ส่วนหนึ่งของนโยบายนี้จะลงทุนผ่านกองทุนบีคอน วีซี ทำให้บริษัทจัดตั้ง “Beacon Impact Fund” ขึ้น ด้วยเม็ดเงินลงทุน 1,200 ล้านบาท หรือประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ กรอบระยะเวลา 3 ปี (2566-68)

จุดประสงค์ของกองทุนนี้ต้องการลงทุนในระดับ “Impact Investing” คือลงทุนกับสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ ESG โดยตรง และต้องเป็นสตาร์ทอัพในช่วง Post-revenue หมายถึงอยู่ในช่วงที่สร้างรายได้ได้แล้ว พิสูจน์โมเดลธุรกิจว่ามีแนวโน้มทำกำไร เนื่องจากการทำธุรกิจย่อมต้องมีกำไรเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาวด้วย

โดยการชี้วัดว่าธุรกิจใดจะถือว่ามีจุดประสงค์ด้าน ESG ทางบีคอน วีซี จะยึดหลักการของสหประชาชาติ UN SDGs (United Nation’s Sustainable Development Goals) ซึ่งมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย เช่น ขจัดความยากจน, รับรองการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี, รับรองพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน เป็นต้น

จากเป้าหมายเหล่านี้ บีคอน วีซี ยกตัวอย่างธุรกิจที่ถือว่าเข้ากรอบการลงทุนใน Beacon Impact Fund เช่น ธุรกิจพลังงานสะอาด, ธุรกิจเกี่ยวกับ Circular Economy, ธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการลดคาร์บอน, ธุรกิจเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบสาธารณสุข, ธุรกิจเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเงิน และธุรกิจเพื่อปกป้องสิทธิผู้บริโภค เป็นต้น

ทั้งนี้ กองทุนนี้พร้อมที่จะร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพทั่วโลก แต่จะเน้นเลือกการลงทุนในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่

ธนพงษ์คาดว่า เฉลี่ยแล้วบริษัทสามารถลงทุนร่วมกับสตาร์ทอัพได้ปีละประมาณ 5 บริษัท ร่วมลงทุนบริษัทละประมาณ 2-3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้มีบริษัทสตาร์ทอัพที่สนใจลงทุนบ้างแล้ว โดยจะเป็นสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจสอดคล้องกับจุดประสงค์กองทุน เช่น พัฒนาเทคโนโลยีแปลงรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า, เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร, เทคโนโลยีลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรม เป็นต้น

ปัจจุบันบีคอน วีซีมีงบลงทุนรวมทุกกองทุนนับตั้งแต่เปิดบริษัทสะสม 265 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8,000 ล้านบาท มีการลงทุนแล้ว 160 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5,000 ล้านบาท

“การลงทุนกับบริษัทที่เน้นด้าน ESG จะเป็นสัญญาณไปสู่ธุรกิจที่ยังมีเป้าหมายมุ่งเน้นแต่ด้านกำไรด้วยว่า หากหันมาให้ความสำคัญกับ ESG ด้วยก็จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเดิม รวมถึงส่งสัญญาณไปถึงผู้บริโภคเพื่อมาช่วยกันอุดหนุนสินค้าและบริการจากบริษัทที่ส่งเสริมด้าน ESG อีกทางหนึ่ง เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนช่วยเหลือกันได้จริง” ธนพงษ์กล่าวปิดท้าย

]]>
1423092