Lalamove – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 Oct 2022 10:28:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Lalamove สนใจ IPO ที่ฮ่องกง ชี้ระดมทุนง่าย มีสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การระดมทุน https://positioningmag.com/1404439 Mon, 17 Oct 2022 09:34:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404439 Paul Loo ประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Lalamove ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ South China Morning Post ถึงการนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น หรือ IPO ซึ่งเขาได้เปิดเผยว่าบริษัทได้มองตลาดหุ้นของฮ่องกงไว้เป็นตัวเลือกอันดับ 1 และเขาได้ชี้ว่าตลาดฮ่องกงนั้นสามารถระดมทุนได้ง่าย มีความพร้อมหลายด้าน

เขายังชี้ว่าที่ฮ่องกงมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมาย ด้านบัญชี หรือแม้แต่สถาบันการเงิน ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องเหล่านี้มีมากมายในฮ่องกงนั้นสนับสนุนให้บริษัทมีการระดมทุนในตลาดทุนได้ นอกจากนี้รัฐบาลฮ่องกงชุดที่ผ่านมายังสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทำให้บริษัทอย่าง Lalamove เติบโตได้ไว

ไม่เพียงเท่านี้เขายังชี้ว่าการปฏิรูปของตลาดทุนในฮ่องกงในปี 2018 ยังทำให้บริษัทเทคโนโลยี หรือแม้แต่สตาร์ทอัพเองนั้นสามารถที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นได้ง่ายกว่าเดิม ซึ่งในปีดังกล่าวนั้นมีการปฏิรูปไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริษัทมีหุ้นหลายคลาสได้ ซึ่งเหมาะกับบริษัทเทคโนโลยีที่ต้องการเข้าตลาดหุ้น หรือแม้แต่บริษัทด้านเทคโนโลยีการแพทย์หรือชีวภาพสามารถระดมทุนได้

ก่อนหน้านี้ Lalamove เคยยื่นไฟลิ่งในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกามาแล้วในปี 2021 โดยคาดการณ์ว่าจะระดมทุนได้มากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดีบริษัทต้องได้พับแผน IPO ที่สหรัฐฯ ออกไปเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนได้เพิ่มมากขึ้น จนทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะนำบริษัทเข้าระดมทุนในฮ่องกงแทน

ขณะที่ในปี 2022 นี้นั้น ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาบริษัทนั้นมีแผนที่จะระดมทุนเพิ่มเติม 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มูลค่าของ Lalamove นั้นจะอยู่ที่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว

ปัจจุบันบริษัทจากฮ่องกงรายนี้มีบริการทั้งในประเทศจีนมากถึง 350 เมืองภายใต้แบรนด์ Houlala และภายใต้แบรนด์ Lalamove ให้บริการมากถึง 30 เมืองทั่วเอเชีย ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยที่ล่าสุดบริษัทได้เตรียมที่จะขยายบริการออกต่างจังหวัดด้วย

อย่างไรก็ดีในสัมภาษณ์ดังกล่าวประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Lalamove ได้กล่าวว่าบริษัทไม่รีบร้อนที่จะ IPO และนักลงทุนของบริษัทยังเชื่อถึงศักยภาพบริษัทในระยะยาว

]]>
1404439
มูฟใหม่ ‘Lalamove’ กับภารกิจลุยต่างจังหวัดและเป็น ‘ออนดีมานด์โลจิสติกส์’ รายแรกที่ทำ ‘กำไร’ https://positioningmag.com/1390707 Thu, 30 Jun 2022 05:55:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390707 หากพูดถึงตลาด ‘โลจิสติกส์’ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับแบบ Last-Mile หรือบริการจากไปรษณีย์ไทย, เคอรี่, แฟลช ฯลฯ แต่ยังมีอีกตลาดก็คือ โลจิสติกส์แบบ ‘ออนดีมานด์’ หรือการเรียกผู้ให้บริการขนส่งพัสดุไปรับพัสดุที่ใดก็ได้ ก่อนจะนำไปส่งที่หมายทันทีภายในวันนั้น อย่างการ ส่งอาหาร, เอกสารต่างๆ หรือขนของย้ายบ้าน ย้ายออฟฟิศ เป็นต้น และหนึ่งในผู้ให้บริการในไทยมาอย่างยาวนานก็คือ ‘ลาลามูฟ’ (Lalamove) ที่เพิ่งได้ เบน ลิน ผู้บริหาร ลาลามูฟ ประเทศไทย คนใหม่ ก็จะมาพูดถึงทิศทางและเป้าหมายจากนี้ของแพลตฟอร์ม

อยากโตยั่งยืนตลาดต้องจับ B2B

สำหรับตลาดการให้บริการขนส่งในประเทศไทยที่มีมูลค่ารวมกว่า 7.3 แสนล้านบาท คาดว่าปีนี้จะเติบโตได้ 5-10% โดยในตลาดโลจิสติกส์สามารถแบ่งรูปแบบการจัดส่งสินค้าได้ 3 รูปแบบ ได้แก่

  • First-Mile: เป็นการจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิต เช่น โรงงาน ไปยังคลังสินค้าขนาดใหญ่
  • Mid-Mile: การจัดส่งสินค้าจากคลังใหญ่สู่ศูนย์กระจายสินค้าขนาดเล็ก เช่น โกดัง ร้านค้าปลีกต่าง ๆ
  • Last-Mile: เป็นการจัดส่งสินค้าจากโกดังหรือร้านค้าปลีกถึงมือผู้บริโภค

สำหรับ ลาลามูฟ ก็ถือเป็นผู้เล่นรายแรก ๆ ในตลาดออนดีมานด์โลจิสติกส์ (On-demand logistics) โดยเริ่มจากให้บริการขนส่งด้วยรถจักรยานยนต์ เน้นรับส่งของชิ้นเล็กหรืออาหาร ตั้งแต่ปี 2556 แต่ทิศทางที่ ลาลามูฟจะไปจากนี้จะไม่ใช่แค่ส่วน Last-Mile แต่จะขยับไปจับตลาด Mid-Mile หรือจับกลุ่ม B2B มากขึ้นเพื่อสร้างการเติบโตให้มากกว่าตลาด โดยปัจจุบัน สัดส่วนรายได้บริษัท 70% มาจาก B2C หรือ C2C แต่ภายใน 2 ปีสัดส่วนต้องเป็น 50-50

“เซกเมนต์ที่แข่งขันดุดเดือดสุดตอนนี้ คือ ฟู้ด ซึ่งก็เป็นตลาดที่หลายคนอยากมาเล่น แต่ก็ต้องใช้โปรโมชันมากที่สุด มีเพิ่มไดรเวอร์มากที่สุด ซึ่งหากอยากสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนเรามองว่าต้องไป B2B เพราะ B2C มีดีมานด์ที่สวิง ดังนั้น เราต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่ก้าวกระโดดแบบชั่วคราว” เบน ลิน กรรมการผู้จัดการ ลาลามูฟ ประเทศไทย กล่าว

เบน ลิน กรรมการผู้จัดการ ลาลามูฟ ประเทศไทย

เพิ่มรถใหญ่พร้อมขยายต่างจังหวัด

เพื่อจะรองรับงานที่ใหญ่ขึ้นจึงไม่ใช่แค่รับส่งของด้วยรถจักรยานยนต์อีกต่อไป ดังนั้น ลาลามูฟจึงจะเพิ่ม รถใหญ่ เพื่อรองรับตลาด B2B ได้แก่ รถ SUV, รถซีดาน, รถ Hatchback และ รถบรรทุกขนาดใหญ่ รวมแล้วลาลามูฟมีรถ 7 ประเภท ดังนั้น เมื่อแพลตฟอร์มมีรถยนต์ที่หลากหลาย ก็จะสามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายของทั้งลูกค้าทั่วไป SME และลูกค้าองค์กร

“ยังไม่มีผู้ให้บริการในตลาดออนดีมานด์ที่มีรถบรรทุกมาก่อน การมีรถที่ใหญ่ขึ้นทำให้มีบัสเก็ตไซส์ที่ใหญ่ขึ้น เราก็สามารถจับตลาด B2B ได้ ยิ่งสถานการณ์โควิดที่ดีขึ้น ธุรกิจก็กลับมาเป็นปกติ ลูกค้า SME เราก็เพิ่มขึ้นจนปัจจุบันคิดเป็น 25%”

นอกจากนี้ ลาลามูฟจะเริ่มขยายสู่ตลาดต่างจังหวัด โดยจะเปิดตัวทีละจังหวัดซึ่งจะเริ่มจากจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับกรุงเทพและปริมณฑลก่อน เพื่อรองรับบริการการขนส่งแบบ ข้ามเมือง ซึ่งเมื่อบริการขนส่งในเมืองและข้ามเมืองแข็งแรง การขยายไปในจังหวัดอื่น ๆ จะเป็นเฟสต่อไปภายใน 2 ปีจากนี้

ดึง บิวกิ้น แบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก

เพื่อเป็นการสื่อสารถึงการเปลี่ยนแปลงและสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ลาลามูฟจึงเลือกทำการตลาดด้วยภาพยนตร์โฆษณาและสื่อโฆษณานอกอาคาร โดยได้ บิวกิ้น พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก โดยสาเหตุที่เลือกบิวกิ้นนอกจากชื่อเสียงแล้ว ยังตอบโจทย์ด้วยภาพลักษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ (Young Entrepreneur) ประกอบกับความแอคทีฟแบบวัยรุ่น โดยตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมาที่เปิดตัวบิวกิน ก็ช่วยให้แพลตฟอร์มมียอดดาวน์โหลดและผู้ใช้งานครั้งแรกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่เอนเกจเมนต์ในโซเชียลมีเดียก็เติบโตขึ้น

“มันเป็นช่วงเวลาที่เราอยากบอกว่ามีการเปลี่ยนแปลง อยากให้มีคนเห็นมากขึ้น นี่จึงเป็นวิชั่นหลักที่ทำให้มีพรีเซ็นเตอร์ เป็นสัญญาณให้เห็นว่าเราเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ช่วยดึงกลุ่ม Young Gen ซึ่งหลายคนเริ่มมีธุรกิจของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย”

เพิ่มรายได้ให้คนขับแก้ปัญหาน้ำมันแพง

ในส่วนของต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นจะกระทบกับฝั่งพาร์ตเนอร์คนขับที่ปัจจุบันมีกว่า 1.5 แสนคน เพราะทางลาลามูฟ ไม่ได้ลงทุนรถขนส่ง แต่ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางกระจายงานให้พาร์ตเนอร์คนขับ ดังนั้น ลาลามูฟจะพยายาม เพิ่มรายได้ให้คนขับ เช่น เพิ่มงาน มีการให้สเปเชียลเครดิตโบนัส นอกจากนี้ ก็มีการทำพาร์ตเนอร์ชิปกับปั๊มน้ำมันเพื่อให้เป็นส่วนลดเพื่อช่วยลดต้นทุนของคนขับ ปัจจุบัน รายได้ของผู้ขับเฉลี่ยตั้งแต่ หลักร้อยถึงหลักแสนต่อเดือน ขึ้นอยู่กับความขยันในการรับงาน

“แพลตฟอร์มเราจะสอนให้เขาวิ่งแบบไหนได้เงินมากสุด และการขยายการให้บริการรถที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนี้ ทำให้คนขับอิสระมีโอกาสในการทำรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งในส่วนของการเพิ่มจำนวนคนขับเรามีการประเมินทุกไตรมาส ค่อย ๆ จ้างตามการเติบโตของแพลตฟอร์ม”

สำหรับรูปแบบให้บริการที่เพิ่มขึ้นจะมีตั้งแต่การส่งออนดีมานด์, การเช่ารถพร้อมคนขับ, บริการจัดส่งสินค้าแบบกำหนดเวลา และบริการจัดส่งพัสดุ (Courier) ส่วนบริการจัดส่งเฉพาะทาง เช่น รถเย็นหรือรถควบคุมอุณหภูมิยังไม่มีให้บริการในปัจจุบัน แต่มีแผนที่จะเพิ่มในอนาคต

ตั้งเป้าโต 50% และทำกำไรใน 2 ปี

ที่ผ่านมา ลาลามูฟมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาส 1-2 ที่ผ่านมาสามารถเติบโตได้ 40% ดังนั้นเชื่อว่าภาพรวมทั้งปีจะสามารถเติบโตได้ 50% ตามเป้าที่วางไว้ และจากกลยุทธ์ที่วางไว้ ลาลามูฟตั้งเป้าว่าจะสามารถทำกำไรได้ใน 2 ปีจากนี้ และเป็น แพลตฟอร์มออนดีมานด์รายแรกในประเทศที่สามารถทำกำไรได้

“ความท้าทายคือ ความเร็ว ตอนนี้การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว มีปัญหามาเรื่อย ๆ เราก็ต้องปรับตัวให้ทัน แต่ตอนนี้คู่แข่งไม่เยอะ เพราะถือเป็นตลาดที่ทำได้ยาก ถ้ามองด้านขนส่งต้องมีรถมีคนขับของตัวเอง ต้องใช้เงินและความเชี่ยวชาญเยอะ มันเป็นเซกเมนต์ที่เหมือนเข้ามาง่ายแต่ไม่ง่าย”

สุดท้าย ต้องยอมรับว่าการแข่งขันในตลาดรุนแรงโดยเฉพาะ ราคา ใครให้ราคาต่ำก็ใช้ แต่เราเริ่มเห็นเทรนด์ที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับเซอร์วิสมากขึ้น ถ้าสามารถจัดการการส่งของที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ เขาก็จะเลือก ตอนนี้เมืองไทย กรุงเทพฯ ปริมณฑล มองว่าตลาดใหญ่พอสำหรับทุกคน เชื่อว่าผู้เล่นทุกรายอยู่ได้โดยไม่ต้องแข่งขันด้านราคา

]]>
1390707
มองตลาด ‘Food Delivery’ ยุค ‘น้ำมันแพง’ เพิ่มโจทย์ใหม่ ‘มัดใจไรเดอร์’ ให้อยู่กับแพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1389897 Thu, 23 Jun 2022 10:02:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389897 ถือเป็นธุรกิจที่เติบโตสูงแต่ก็มีการแข่งขันที่สูงเช่นกันสำหรับ Food Delivery และหลังจากที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 แต่หลังจากที่การระบาดคลี่คลายลง ปัญหาใหม่ที่ทั่วโลกกำลังเจอก็คือ เงินเฟ้อ และ น้ำมันแพง ทำให้แต่ละแพลตฟอร์มต้องเจอ โจทย์ใหม่ เพราะจำนวนการสั่งที่น้อยลง และ ไรเดอร์ที่ต้องแบกต้นทุนมากขึ้น

ตลาดโตไม่เกิน 5%

จากเครื่องชี้วัดธุรกิจจัดส่งอาหาร หรือ Food Delivery ของ LINE MAN Wongnai พบว่าในเดือนพ.ค. 65 จำนวนผู้สมัครเป็นไรเดอร์ในระบบเพิ่มสูงขึ้นกว่า 4.7 เท่า เมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 63 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด แต่การเพิ่มขึ้นของไรเดอร์ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ขยายตลาดและพื้นที่บริการครอบคลุมทั่วประเทศจากเดิมที่มีการให้บริการเพียงไม่กี่จังหวัด

อย่างไรก็ตาม จากการระบาดที่ลดลง ส่งผลให้การใช้ชีวิตเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ หลายคนเริ่มกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ส่งผลให้ไรเดอร์ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากปริมาณงานต่อวันเฉลี่ยที่ลดลง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า Food Delivery น่าจะขยายตัว 1.7-5% หรือมีมูลค่าประมาณ 7.7 – 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งชะลอลงจากที่เติบโตถึง 46.4% ในปี 2564 และ

Photo : Shutterstock

น้ำมันแพงและจำนวนไรเดอร์ 2 ปัญหาใหญ่

ในส่วนของรายได้จากค่าจัดส่งอาหารของไรเดอร์ในช่วงระหว่างปี 2563-2565 คาดว่ามีหมุนเวียนในระบบเฉลี่ยประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่ตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พักเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น จากแนวโน้มการสั่งอาหารไปยังที่พักที่ชะลอลง ปริมาณไรเดอร์ในระบบที่มีจำนวนสูง และราคาน้ำมันที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของไรเดอร์ส่วนใหญ่

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจมุมมองและการปรับตัวของไรเดอร์ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน โดยมีมุมมองที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ปัญหาน้ำมันแพง และ จำนวนไรเดอร์ที่เพิ่มขึ้น นับเป็น ปัญหาใหญ่สุด รองลงมา คือ การกลับไปทำงานและการกลับไปเรียนตามปกติ การแข่งขันที่รุนแรงระหว่างแพลตฟอร์ม ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มอื่น และการใช้โปรแกรมช่วยเหลือในการรับงาน
  • 94% ของไรเดอร์ระบุว่า ตนเองได้รับผลกระทบจาก ปริมาณออเดอร์ต่อวันเฉลี่ยลดลง จากผลสำรวจ พบว่า ออเดอร์เฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ประมาณ 11–15 งานต่อคน (38%) รองลงมาอยู่ที่ 5–10 งานต่อคน (32%)
  • ปัจจุบัน ราคาน้ำมันเบนซินที่ปรับตัวสูงขึ้นไปแล้วกว่า 54% (เทียบกับราคาเฉลี่ยทั้งปี 2564) ส่งผลให้ไรเดอร์ 42% มีค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันเพิ่มขึ้น 50-70 บาทต่อวัน (ขึ้นอยู่กับจำนวนเที่ยวส่ง ระยะทาง และอัตราการกินน้ำมันของรถแต่ละรุ่น)
Photo : Shutterstock

ไรเดอร์โหมรับงาน แพลตฟอร์มแข่งเพิ่มสิทธิพิเศษ

จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พักจำเป็นต้องหาวิธีการรับมือ โดยกลุ่มตัวอย่างกว่า 70% ใช้เวลาทำงาน รับออเดอร์ให้มากขึ้น เพื่อให้รายได้กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้า รวมถึงการเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นแทน หรือหาอาชีพเสริม ขณะที่บางส่วนเลือกลงทะเบียนในแพลตฟอร์มอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งาน

ด้านแพลตฟอร์ม Food Delivery สัญชาติไทยอย่าง โรบินฮู้ด (Robinhood) ยอมรับว่า นอกจากการแข่งขันเรื่องการทำโปรโมชันเพื่อดึงดูดผู้ใช้แล้ว อีกส่วนที่ผู้บริโภคไม่รู้ก็คือ การเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อแย่งชิงไรเดอร์ เนื่องจากไรเดอร์เป็นอาชีพฟรีแลนซ์ สามารถรับงานได้กับทุกแพลตฟอร์ม ทำให้ทุกแพลตฟอร์มต้องหาทางมัดใจไรเดอร์ อย่างไรก็ตาม โรบินฮู้ดมีจุดแข็งที่ ไม่คิดคอมมิชชั่นจากไรเดอร์ นอกจากนี้กำลังเร่งพัฒนาฟีเจอร์ ทิป เพื่อเป็นรายได้อีกทาง

“เราไม่คิดคอมมิชชั่นไรเดอร์เลย ส่วนแพลตฟอร์มอื่นไรเดอร์ต้องเสีย 15% ดังนั้น เราไม่ได้มีสิทธิพิเศษอะไรให้ไรเดอร์ เพราะผลตอบแทนเราดีกว่าคู่แข่ง” สีหนาท ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

ส่วน แกร็บ (Grab) มีการมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อย่าง GrabBenefits จะให้บัตรกำนัลส่วนลดค่าน้ำมันสำหรับไรเดอร์ และมีการให้โบนัสพิเศษ และ การจัดโปรแกรมสินเชื่อ เป็นต้น เช่นเดียวกันกับ ไลน์แมน (LINE MAN) ที่จับมือกับพันธมิตรในการมอบบัตรเติมน้ำมันฟรีรายเดือนสำหรับไรเดอร์ที่ขับเป็นประจำและเข้าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ส่วน ลาล่ามูฟ (Lalamove) นอกจากจะมีส่วนลดเงินคืนกับพันธมิตรปั๊มน้ำมันแล้ว จะมีการปรับอัลกอริทึมการรับงาน เพื่อให้ไรเดอร์สามารถรับงานได้คุ้มค่ามากที่สุด เป็นต้น

(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

เสนอ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แก้ปัญหาระยะยาว

อีกส่วนที่หลายแพลตฟอร์มเริ่มหาทางออกให้ไรเดอร์ก็คือ รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า อย่างโรบินฮู้ดก็พยายามผลักดันให้ไรเดอร์ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เนื่องจากช่วยประหยัดต้นทุนได้ 10 เท่า ซึ่งตั้งแต่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ก็เห็นความต้องการใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่นเดียวกันกับ แกร็บ ที่ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพาร์ตเนอร์คนขับ-ผู้จัดส่งอาหารที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ได้ 10% ของจำนวนพาร์ตเนอร์คนขับทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี

“ตอนนี้เรามีให้ไรเดอร์ผ่อนซื้อเป็นรายวันตกวันละ 120 บาท ปัจจุบันมีไรเดอร์ที่ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าราว 400 คัน มียอดจอง 1,900 คัน จากไรเดอร์ทั้งหมด 28,000 ราย ปัญหาตอนนี้คือ พาร์ตเนอร์ทั้ง 2 รายของเราผลิตไม่ทัน เราเองก็ต้องมองหาเพิ่มอีกราย ซึ่งเรามองว่าการใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะช่วยไรเดอร์ในระยะยาว” สีหนาท กล่าว

แนะปรับระบบกระจายงาน

นอกจากสิทธิพิเศษแล้ว ทางศูนย์วิจัยกสิกรได้แนะนำว่าควร ปรับระบบการกระจายงานมาใช้ระบบยิงงาน (Auto assign) ซึ่งเป็นระบบสากลที่ทำให้มีความเท่าเทียมในการกระจายงานให้กับไรเดอร์มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็อยู่ระหว่างจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. … เพื่อเข้ามาช่วยกำกับดูแลผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ของธุรกิจดังกล่าว

หรือ การคิดคำนวณค่าธรรมเนียมควรมีความยืดหยุ่น เช่น ในต่างประเทศผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์จัดส่งอาหารนำรูปแบบ FuelSurcharge ตามระยะทางมาปรับใช้ในช่วงที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูง และเมื่อราคาน้ำมันปรับลดลงก็อาจมีการยกเลิกวิธีการคิดดังกล่าว นอกจากการแก้ไขปัญหาเชิงระบบแล้ว ต้องพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการรับงานมากขึ้นและลดปริมาณการยกเลิกออเดอร์ในช่วง Peak Hour การลดระยะเวลาในการรอรับอาหารที่ร้านอาหาร

ในระยะถัดไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องคงจะต้องช่วยกันออกแบบ และสร้างระบบนิเวศของธุรกิจ ภายใต้กฎระเบียบและกฎเกณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวสามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการต่าง ๆ อาทิ การเปิดรับลงทะเบียนไรเดอร์เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงการได้รับสิทธิต่าง ๆ จากภาครัฐ เป็นต้น

]]>
1389897
เดลิเวอรี่ไทยโตกระฉูด 4 ปีลาล่ามูฟฟันรายได้ 1.2 พันล้าน โตเกิน 100% https://positioningmag.com/1209915 Wed, 23 Jan 2019 12:57:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209915 น้ำมันหมดกลางทางก็ฝากลาล่ามูฟซื้อ โตกระฉูด 123% ทำกำไรตั้งแต่มีนาคม 2560 

นอนอยู่บ้านจิ้มสมาร์ทโฟนสั่งอาหารมาส่งที่บ้าน เลี่ยงรถติดและอากาศร้อน หรือ สั่งสินค้าจากร้านออนไลน์ อยากได้ภายใน 1 วันก็เรียกพี่วินมารับไปส่ง พฤติกรรมที่เริ่มคุ้นชินของคนในกรุงเทพฯ เหล่านี้ กลายเป็นโอกาสให้กับแอปพลิเคชั่นขนส่งสินค้าแบบ “On-demand Delivery” 

ลาล่ามูฟกินส่วนแบ่ง 70%

ในตลาดมูลค่าราว 1,500 – 1,600 ล้านบาท เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลลาล่ามูฟ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลจากฮ่องกงมาบุกไทยได้ 4 ปีแล้ว บอกว่าตัวเองเป็นเจ้าตลาดครองส่วนแบ่ง 70% โดยมูลค่ารวมธุรกรรมเติบโตปีละหลัก 100%

  • ปี 2558 – 2559 เติบโต 500% มูลค่ารวม 121 ล้านบาท 
  • ปี 2560 เติบโต 400% มูลค่ารวม 532 ล้านบาท 
  • ปี 2561 เติบโต 123% มูลค่าการทำธุรกรรมรวม 1,200 ล้านบาท 

โดยรายได้ของลาล่ามูฟมาจากการหักค่าธรรมเนียมจากคนขับ 10-15%

ตัวเลขการเติบโตถ้าไม่นับในจีน ที่ลาล่ามูฟมีให้บริการอยู่ใน 100 กว่าเมืองเมืองไทยถือเป็นประเทศที่เติบโตด้านรายได้ และจำนวนการทำธุรกรรมมากที่สุด 3 ปีซ้อน เมื่อเทียบกับ 10 เมืองใน 8 ประเทศ ที่ลาล่ามูฟเข้าไปทำธุรกิจ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าไทยจะเป็นประเทศที่บริษัทแม่ให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะเมื่อเทียบกับอินโดนีเซีย แล้ว ไทยยังถือว่าเล็กกว่ามาก

จุดแข็งของลาล่ามูฟอยู่ที่การการันตีส่งด่วนภายใน 1 ชั่วโมง จากสถิติพบว่า ค้นหาพนักงานส่งสินค้าได้เร็วที่สุดภายใน 6 วินาที ถึงผู้ส่งเร็วสุด 18 นาที ถึงมือผู้รับเร็วที่สุด 20 นาที และรวมระยะเวลาในการให้บริการทั้งหมดเร็วที่สุด 38 นาที 99% ของคำสั่งประสบความสำเร็จ

จับมือกับไลน์แมนแลกฐานลูกค้า

มูลค่าการทำธุรกรรม 50% มาจากบริการการที่คนขับสวมเสื้อสีส้มของลาล่ามูฟเอง ทั้งการรับส่งเอกสาร พัสดุด่วน ของต่างๆ ภายใน 1 ชั่วโมง, บริการรับฝากซื้อของ เช่น น้ำมันหมดกลางทางก็ใช้บริการนี้ หรือ ฝากซื้อของในอิเกีย เป็นต้น ลูกค้า 70% เป็นองค์กรธุรกิจต่างๆ อีก 30% เป็นลูกค้าทั่วไป

ส่วนที่เหลืออีก 50% มาจากบริการที่จับมือกับไลน์แมน” ได้แก่ ส่งอาหาร, แมสเซนเจอร์และซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ บางครั้งคนขับจึงใส่เสื้อสีเขียวที่ตีตราไลน์แมน ซึ่งการที่คนขับไม่ได้ใส่เสื้อของแบรนด์ ทำให้เมื่อไปถามคนทั่วไปจะมีเพียง 10% เท่านั้นที่ตอบว่ารู้จัก สวนทางกับธุรกิจต่างๆ ที่ตัวเลขกว่า 80%

ชานนท์ กล้าหาญ กรรมการผู้จัดการ ลาล่ามูฟ ประเทศไทย อธิบายว่า ที่เป็นอย่างนั้นก็ไม่แปลก ด้วยที่ผ่านมามีการมุ่งไปที่ลูกค้าธุรกิจเป็นหลัก ส่วนการจับมือกับไลน์แมนก็ไม่ได้ทำให้ลาล่ามูฟเสียโอกาส กลับกันทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จากฐานลูกค้าที่แต่ละฝ่ายมี

ปัจจุบันลาล่ามูฟมีคนขับอยู่ในระบบทั้งหมด 80,000 คน เพิ่มขึ้น 250% จากปีก่อนหน้า โดย 70% มีอาชีพเป็นแมสเซนเจอร์อยู่แล้ว อีก 30% เป็นทำเป็นอาชีพเสริม โดยประเภทรถที่มีในระบบ 95% เป็นมอเตอร์ไซค์ ที่เหลือ 5% เป็นรถกระบะและรถ 5 ประตู แต่ละเดือนยอดคนขับแอคทีฟราว 30% รับงานเฉลี่ย 15-20 งานต่อวัน รายได้ของคนขับเฉลี่ย 30,000 บาทต่อเดือน สูงสุดที่เคยได้ 60,000 บาทต่อเดือน

ความหอมหวานของ On-demand Delivery ทำให้ตลอด 4 ปีที่ลาล่ามูฟเข้าสู่ตลาดเมืองไทยมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาเรื่อยๆ แต่ก็มีทั้งรายที่วันนี้ยังเห็นอยู่ในตลาด ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงทั้ง Grab, Skootar, Deliveree และ Get ที่เพิ่งเข้ามาสดๆ ร้อนๆ กับรายออกไปแล้ว ช่น Uber ที่ถูก Grab เข้าซื้อกิจการไป หรือ Now ที่เพิ่งประกาศปิดตัวไป

การจะอยู่ในตลาดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงชานนท์ บอกว่า ต้องวางเป้าหมายของธุรกิจให้ชัดเจน บางรายต้องการแค่ยอดลูกค้า ไม่ได้วางแผนธุรกิจระยะยาว ช่วงแรกที่เข้าสู่ตลาดจึงทุ่มเงินอัดโปรโมชั่นเต็มที่ เพื่อดึงคนให้เข้ามาใช้บริการ แต่เมื่อหยุดโปรโมชั่นคนก็หายไปหมด สุดท้ายอยู่ไม่ได้

ต่างจากลาล่ามูฟที่วางแผนธุรกิจระยะยาว ต้องการให้ยั่งยืนจึงพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก ใช้เงินทำโปรโมชั่นไม่มาก เงินลงทุนไม่เยอะจึงทำกำไรตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2560 เป็นต้นมา

ขณะเดียวกันพฤติกรรมที่รักความสะดวกของคนไทย ทำให้ผู้ที่บริการส่งสินค้าภายในวันเดียวกัน (Same Day Delivery) สนใจที่จะเข้ามาในตลาดนี้มากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะความต่างในโมเดลธุรกิจ โดย Same Day เน้นบริการต้นทุนต่ำที่สุด คิดค่าส่งตามน้ำหนัก

สวนทางกับ On-demand คิดการส่งตามระยะทาง บีบต้นทุนให้ต่ำไม่ได้ เพราะต้องใช้คนส่งจำนวนมากคอยรับคำสั่งใช้บริการ Same Day บางรายเลือกที่จะเข้ามาเจรจากับลาล่ามูฟ เพื่อให้เข้ามาแต่สุดท้ายก็ตกลงกันไม่ได้

เตรียมขยายสู่เชียงใหม่และพัทยา

สำหรับแผนธุรกิจในปี 2019 ลาล่ามูฟวางกลยุทธ์ไว้ 3 ข้อ คือ

1. เชื่อมต่อ API กับเว็บไซต์ขายของออนไลน์ต่างๆ

2. การเพิ่มรถใหญ่เข้ามา เพื่อรองรับการขนส่งไปยังต่างจังหวัด ตอนนี้ได้เพิ่มให้บริการแล้ว 8 จังหวัด มีค่าบริการ 500 – 2,500 บาท

3. การเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเมื่อปลายปีที่แล้วลาล่ามูฟได้เข้าไปเพิ่มจุดให้บริการที่อิเกียบางใหญ่ เพื่อรองรับคนที่ซื้อสินค้าแล้วนำกลับเองไม่ได้ ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาพบสถิติคือใช้เวลาเฉลี่ย 49 นาที และราคา 690 บาท 

ในภาพรวมคาดใช้งบการลงทุนทุกอย่างไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท โดยปีนี้เป้าตั้งมูลค่าการทำธุรกรรมไม่ต่ำกว่า 2,500 – 3,000 ล้านบาท และคนขับเพิ่มขึ้นมาเป็น 2.4 แสนคน ซึ่งเชื่อว่าเป็นไปได้ เพราะในกรุงเทพฯ มีคนที่ขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน

ด้วยจำนวนของลูกค้าและคนขับที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น ความท้าทายของลาล่ามูฟ คือต้องควบคุมคุณภาพการให้บริการให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ลาล่ามูฟวางแผนที่จะขยายไปที่ต่างจังหวัด เริ่มที่หัวเมืองก่อน ซึ่งลาล่ามูฟบอกว่า จะไปตามที่พันธมิตรทางธุกิจไป ซึ่งอาจจะเริ่มที่เชียงใหม่และพัทยา

อย่างที่เชียงใหม่แม้จะมีผู้บริโภคเปิดแอปขึ้นมาเช็กหาบริการจำนวนมาก แต่ก็ต้องดูให้แน่ใจว่า เป็นคนเชียงใหม่จริงๆ หรือคนกรุงเทพฯ ที่ขึ้นไปเที่ยว ส่วนพัทยามีความเป็นไปได้สูง เพราะความหนาแน่นของเมืองกระจุกตัว ไม่ได้กระจายเหมือนหัวเมืองอื่นๆ.

]]>
1209915
สะพัด 3 พันล้าน ! เช็กความพร้อม Food Delivery รับฟุตบอลโลก 2018 https://positioningmag.com/1174291 Thu, 14 Jun 2018 05:19:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1174291 ต้องนับว่าเป็นช่วงเวลาทองของธุรกิจบริการส่งอาหาร หรือ Food Delivery ที่จะทำรายได้จากเกมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่กำลังเปิดดวลแข้งในวันนี้ 14 มิถุนายนนี้ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจไทยช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 จะมีเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจอาหารสูงสุด โดยจะเพิ่มขึ้นถึง 3,015 ล้านบาท บริการจัดส่งอาหาร (Food Delivery) จะได้รับอานิสงส์ไปด้วย

และจากผลสำรวจ Home Delivery/Takeaway in Thailand จากยูโรมอนิเตอร์ฯ ระบุว่าธุรกิจเดลิเวอรี/เทกอะเวย์อาหารมีมูลค่าสูงถึง 26,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในปีที่ผ่านมาและยังมีแนวโน้มพุ่งต่อไปในปีนี้

โดยหนึ่งตัวแปรสำคัญของการขยายตัวคือฟุตบอลโลก 2018 การตระเตรียมของแบรนด์หลักจึงเป็นที่น่าจับตาอย่างยิ่ง

ลาล่ามูฟเพิ่มรถหมื่นคันรับเวิลด์คัพ 2018

ลาล่ามูฟ จัดเป็นแบรนด์ที่มีความหลากหลายในส่วนพันธมิตรจากกลุ่มธุรกิจอาหาร อาทิ ร้านอาหารจานด่วนอย่างเบอร์เกอร์คิงจากแอปพลิเคชั่นครัวคุณต๋อยและสตรีทฟู้ดจากเว็บไซต์วงใน ซึ่งร่วมกับไลน์แมน โดยลาล่ามูฟเป็นผู้บริหารระบบจัดการทั้งหมด และจะบริการจัดส่งอาหารให้กับผู้สั่งซื้อโดยเฉลี่ยราว 1 ชั่วโมง

จุดแข็งของลาล่ามูฟอยู่ที่จำนวนรถจักรยานยนต์สำหรับให้บริการทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นคัน ซึ่งมากที่สุดในธุรกิจประเภทเดียวกัน รวมทั้งความสามารถในการจัดส่งแบบ On Demand ซึ่งการันตีว่าจะจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคได้ภายใน 1 ชั่วโมง

ขณะที่ช่วงการแข่งขันเวิลด์คัพ 2018 ลาล่ามูฟวางแผนเพิ่มหน่วยรถให้บริการอีก 2 หมื่นคัน หรือราว 50% ของจำนวนหน่วยรถที่มีอยู่ เพื่อให้บริการกับพันธมิตรที่เป็นร้านอาหาร เนื่องจากคาดการณ์ว่าในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 60-70% สำหรับค่าบริการปัจจุบันอัตราเริ่มต้นใช้งาน 48 บาท/ออร์เดอร์ และจ่ายเงินตามระยะทาง 1 กิโลเมตร 7.20 บาท

Foodpanda ย้ำจุดแข็ง 40 บาท ทั่วกทมและปริมณฑล

ฟู้ดแพนด้า ขึ้นชื่อในฐานะผู้ให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ที่ให้บริการไม่ซับซ้อน ไม่มีฟีเจอร์มากมาย เลือกร้านอาหารได้ทั้งจากเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นบนมือถือ เน้นบริการร้านอาหารที่มีที่ตั้งชัดเจนไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารทั่วไป จนถึงร้านอาหารชื่อดังในแต่ละพื้นที่ ไม่เน้นร้านที่มีสาขาในศูนย์การค้า และรองรับความต้องการได้ทั้งอาหารไทยและร้านอาหารท้องถิ่นของประเทศต่างๆ

ขณะที่ความได้เปรียบของฟู้ดแพนด้ายังอยู่ที่การครอบคลุมพื้นที่ให้บริการให้บริการทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ เชียงใหม่ ปทุมธานี สมุทรปราการ พัทยา ซึ่งหมายถึงมีผลต่อการจดจำในแบรนด์และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจะมีเพิ่มขึ้น

การวางกลยุทธ์ของฟู้ดแพนด้านอกจากราคาเริ่มต้นต่ำคือ 40 บาท บวกด้วยการโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น โปรโมชั่นใหม่ “40 Makes The Difference” ที่ลดราคาค่าดำเนินการเหลือ 40 บาท ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ยกเว้นร้านอาหาร VIP และร้านอาหารที่ให้บริการจัดส่งเองและจะจัดส่งภายในเวลาประมาณ 40 นาที รวมถึงการร่วมกับพันธมิตรเพื่อขยายฐานตลาด อาทิ ถือบัตรสมาชิก Standard Chartered เมื่อสั่งอาหารจะรับส่วนลด 30% หรือลูกค้าทรูจะได้ส่วนลด 150 บาทเมื่อสั่งอาหารครั้งแรกครบ 350 บาท เป็นต้น

ส่วนสเต็ปต่อไปจะให้ความสำคัญกับการขยายพื้นที่บริการโดยเพิ่มพื้นที่ใหม่ๆ ย่านธนบุรี มีนบุรี และนนทบุรี โดยคิดค่าจัดส่งเพียง 40 บาท สำหรับทุกพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นอกจากนี้ได้เพิ่มเติมการจัดส่งอาหารเช้าให้ลูกค้าในบริเวณใจกลางกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบันได้ร้านอาหารที่เป็นคู่ค้าในเครือข่ายกว่า 1,600 ร้าน

GrabFood ได้ฤกษ์ลุยธุรกิจหลังเปิดจัดโปรโมชั่นสายบุญครอบคลุมช่วงบอลโลก

แกร็บฟู้ด (GrabFood) ประกาศเอาจริงเอาจังกับธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย

ทดลองให้บริการมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เริ่มให้บริการจริงจังเดือนพฤษภาคม 2561 ช่วงแรกมุ่งเน้นให้บริการในโซนใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อตอบสนองกลุ่มคนทำงานที่เร่งรีบ ไม่มีเวลา อย่าง สีลม สาทร สยามสแควร์ สุขุมวิท รัชดาภิเษก อารีย์ เยาวราช วงเวียนใหญ่

จุดหลักจึงเน้นเรื่องสดใหม่ของอาหาร โดยมีรัศมีการสั่งอาหารภายใน 5 กิโลเมตร จากตำแหน่งที่อยู่ของผู้สั่ง ทำให้ใช้เวลาการจัดส่งภายใน 30-35 นาที และมีค่าจัดส่งอยู่ที่ราคา 30 บาท

หลังจาก Grab ควบรวม Uber Eets ทำให้มีร้านอาหารในเครือข่ายเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 ร้าน ซึ่งเป็นของ Uber Eets ประมาณ 1,000 ร้าน และของแกร็บฟู้ดที่มีอยู่ 3,000 ร้าน และกำลังเริ่มขยายออกไปโซนพื้นอื่นๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากขึ้น

การให้บริการแกร็บฟู้ดในไทย ยังไม่มีแอปพลิเคชั่นแยกต่างหากเหมือนในสิงคโปร์ ต้องใช้ผ่านแอปพลิเคชั่นรวมของ Grab ที่รวมบริการเรียกจัสท์แกร็บ แกร็บคาร์ แกร็บคาร์พลัส แกร็บแท็กซี่ แกร็บไบค์ ไว้ในแอปเดียวกัน และเมื่อใช้บริการผู้ใช้จะได้แต้มสะสมในลอยัลตี้โปรแกรมเหมือนกับใช้บริการประเภทอื่น และสามารถเลือกชำระเงินได้ทั้งผ่านบัตรเครดิต เงินสด และคาดว่าจะมีแกร็บเพย์ (GrabPay) ในอนาคตด้วย ที่สำคัญไม่มีกำหนดบริการขั้นต่ำสำหรับการสั่งซื้อ

กลยุทธ์ของแกร็บคือต้องการให้แกร็บฟู้ด และทุกบริการของแกร็บเชื่อมต่อกันเป็นระบบนิเวศสำหรับทำให้ชีวิตผู้บริโภคที่ใช้บริการสะดวกขึ้นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน

การควบรวมกับอูเบอร์อีทส์แม้จะรวดเร็ว แต่ก็มีเบื้องหลังที่ต้องจัดการให้บริการของผู้ใช้เชื่อมต่อได้อย่างราบรื่น แถมยังต้องแข่งขันกับคู่แข่งในกลุ่มฟู้ดเดลิเวอรีทั้งที่มีอยู่ และเริ่มเข้ามาใหม่ในตลาดไทยอีกหลายราย เช่น Go-Jek จากอินโดนีเซีย และฟู้ดแพนด้าที่กลับมาทำตลาดจริงจังอีกรอบ

เทศกาลฟุตบอลโลกปีนี้ แกร็บฟู้ดยังไม่มีแคมเปญพิเศษ แต่มีโครงการ GrabFood for Good ที่ครอบคลุมช่วงครึ่งแรกของฟุตบอลโลก 2018 ระหว่างวันที่ 15-30 มิถุนายนนี้ ให้ผู้ใช้บริการร่วมบริจาค 10 บาทต่อ 1 ออเดอร์ เพื่อสมทบทุนอาหารกลางวันแก่เด็กด้อยโอกาสจาก 3 มูลนิธิ พร้อมกับรับแผ่นรองจาน GrabFood for Good เพื่อใช้ถ่ายภาพลงในเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม พร้อมแฮชแท็ก#GrabFoodTh#ทุกจานคือการให้ เพื่อให้บริษัทบริจาคเพิ่มอีก 10 บาททันที

เขาว่าเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ถ้าถือว่าโปรโมชั่นบุญครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นแกร็บฟู้ดอย่างเต็มตัว การเริ่มต้นด้วยการทำบุญแบบนี้คงทำให้แกร็บฟู้ดได้อานิสงส์ดีๆ ต่อการแข่งขันในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีไม่น้อยในอนาคต

LINE MAN ครบรอบ 2 ปี รู้จุดพฤติกรรมผู้ใช้ไทยติดใจโปรโมชั่น

LINE แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยไปแล้ว เพราะเป็นแอปพลิเคชั่นแชตที่คนไทยใช้มากที่สุดและประเทศไทยก็แทบจะเป็นเมืองหลวงของไลน์ได้พอๆ กับเป็นเมืองหลวงของเฟซบุ๊ก ไลน์แมน (LINE MAN) จึงเป็นธุรกิจที่แทรกตัวเข้ามาเป็นบริการที่คนไทยคุ้นเคยได้ไม่ยาก

สำหรับคนไทยโอกาสที่จะคิดถึงไลน์แมนก็เลยไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งไลน์แมนเน้นให้บริการ 3 อย่างคือ ส่งพัสดุ ส่งอาหาร และส่งสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ เรียกว่าเป็นบริการจัดส่งครอบคลุมทุกอย่างที่ลูกค้าอยากให้ส่ง รวมทั้งขยายบทบาททำหน้าที่ผู้ส่งสินค้าที่เชื่อมต่อโลกออฟไลน์กับออนไลน์ หรือ O2O ที่ใช้วิธีจับมือเป็นพันธมิตรกับลาล่ามูฟอีกด้วย

ส่วนด้านอาหาร ไลน์แมนใช้วิธีเป็นพันธมิตรกับวงใน ซึ่งมีฐานร้านอาหารในระบบจำนวนมากให้ลูกค้าเลือกสั่งอาหารโดยค้นร้านอาหารที่ต้องการจากข้อมูลของวงในได้เลย ซึ่งบริการสั่งอาหารผ่านไลน์แมนได้รับความนิยมขนาดสร้างรายได้คิดเป็น 70% จากรายได้ของไลน์แมน ส่วนอีก 30% มาจากบริการรับส่งสิ่งของและบริการสั่งสินค้าผ่านร้านสะดวกซื้อและรับส่งสิ่งของผ่านทางไปรษณีย์

จุดขายของไลน์แมน คือการทำโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่องวนไปทุกบริการ โดยเฉพาะอาหาร ที่จะมีโปรโมชั่นร่วมกับร้านอาหารดังอยู่เสมอ นอกจากทำให้ผู้ใช้ติดตามใช้บริการ ยังได้ไอเดียสรรหาเมนูที่ไม่ซ้ำจากโปรโมชั่นที่จัดให้ด้วย

บังเอิญว่าเดือนนี้ซึ่งตรงกับเทศกาลฟุตบอลโลก เป็นจังหวะที่ไลน์แมนครบรอบ 2 ปี งานนี้ก็เลยเป็นการฉลองใหญ่ด้วยโปรโมชั่นสไตล์ไลน์แมน ที่จัดโปรโมชั่นตลอดทั้งเดือน ต่อแรกให้โค้ดส่วนลดสูงสุด 100 บาทตลอดเดือน และต่อที่สองให้ลุ้น กินฟรี นั่งฟรี ส่งฟรี เป็นบิ๊กเซอร์ไพรส์สำหรับผู้ใช้บริการ

โปรโมชั่นฟรีๆ แบบยอมให้ผู้ใช้ก่อนแบบนี้ล่ะ คือหมัดเด็ดที่ใช้ได้ผลมานักต่อนักในการให้บริการในไทย เพราะลูกค้าติดความสะดวกสบายเมื่อไร จะคุ้นเคย หมดโปรโมชั่นก็ยังยอมจ่าย

แมคโดนัลด์เพิ่มแมคเดลิเวอรีทรูปรับบอลโลก

ในขณะที่ค่ายเชนอาหารจานด่วนอย่าง แมคโดนัลด์ ซึ่งเป็น Global Sponsor ฟุตบอลโลก 2018 แมคโดนัลด์จึงจัดเต็มทุ่มงบกว่า 30 ล้านบาท จัดกิจกรรมและโปรโมชั่นผ่านทั้งสื่ออนไลน์และออฟไลน์ ตกแต่งร้าน 25 สาขาธีมฟุตบอลโลก จัดเมนูพิเศษรับอีเวนต์ใหญ่นี้โดยเฉพาะ

ที่สำคัญแมคเดลิเวอรีให้บริการจัดส่งอาหารถึงบ้านตลอด 24 ชม. โดยเพิ่มจำนวนพนักงานส่งอาหารเป็น 3 เท่า เอาใจคอบอลที่รับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกในช่วงเวลากลางคืน

โดยแมคโดนัลด์คาดหวังว่ายอดขายของแมคโดนัลด์จะเพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ในช่วงมหกรรมฟุตบอลโลก

เคเอฟซี เดลิเวอรี ถึงเที่ยงคืน

ทางด้าน เคเอฟซี ขึ้นชื่อเรื่องทำตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย ทั้งแคมเปญออนไลน์ ด้วยคลิปโฆษณา ล้อไปกับกระแสฟุตบอลโลก #KFC ไม่เกี่ยวอย่างเป็นทางการ จัดเมนูลดราคา เอาใจคอลูกหนังตลอดช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ขยายเวลาให้บริการเคเอฟซี เดลิเวอรี 1150 จาก 4 ทุ่มไปถึงเที่ยงคืน ตั้งแต่วันนี้ – 15 กรกฎาคม 2561 

“พิซซ่าฮัท” เพิ่มขอบชีส-ไส้กรอก

ส่วน “Pizza Hut” แบรนด์พิซซ่า ไม่พลาดที่จะจัดเสิร์ฟโปรโมชั่น “เชียร์ติดขอบกับพิซซ่าฮัท” โปรโมชั่นสั่งพิซซ่าหมวดซีฟู้ดถาดกลางขึ้นไป รับเพิ่มขอบชีสหรือขอบไส้กรอกชีส ฟรี! ตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย. – 17 ก.ค. 2561.

]]>
1174291
เมื่อฟู้ดเดลิเวอรี่โตแรง “เบอร์เกอร์คิง” จับมือ “ลาล่ามูฟ” อัพเลเวล ให้สั่งผ่านออนไลน์ แทนโทรสั่ง 1112 แล้วนะ https://positioningmag.com/1148740 Thu, 30 Nov 2017 12:05:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1148740 เมื่อ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” รับส่งอาหารบูมจัด คิดเป็นมูลค่าถึง  27,000 ล้านบาท เติบโตถึง 11-15% ทำให้ “เบอร์เกอร์คิง” แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดข้ามชาติ จึงต้องควงแขน “ลาล่ามูฟ” ขยับจากโทร ไปสู่บริการสั่งซื้อผ่าน “ออนไลน์”

เบอร์เกอร์คิงได้เปิดตัวเว็บไซต์  www.delivery.burgurking.co.th/th ให้ลูกค้าสั่งซื้อผ่าน “ออนไลน์” แพลตฟอร์ม ตั้งแต่เวลา 10.00-24.00 น. โดยตั้งใจจะให้ “แทนที่” การโทรสั่งซื้อ ผ่าน 1112 ที่ทำมา 10 ปี จะเริ่มในสาขาใหม่ๆ เป็นต้นป

จากนั้นจะทยอยเปลี่ยนในสาขาเดิม ที่ยังคงบริการโทรสั่งซื้อไว้ก่อน เพราะแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นเพิ่งเริ่มให้บริการแก่ลูกค้าเฉพาะ “กรุงเทพฯ และปริมณฑล”

อีกเหตุผลหนึ่งของการเปลี่ยนมาใช้ออนไลน์ เพราะที่ผ่านมาปัญหาหลักของบริการโทรสั่งซื้อ คือ “รับออเดอร์ผิด” โดยเฉพาะกับลูกค้า “ต่างชาติ” ซึ่งมีสัดส่วนถึง 60คนไทย 40% เมื่อการสื่อสาร “ผิดพลาด” เมนูที่ไปถึงลูกค้าผิด ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจลูกค้า และ “ตำหนิ” แบรนด์ตามมา

นายประพัฒน์ เสียงจันทร์ (แพทริค) ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

“เราส่งสินค้าเดลิเวอรี่มา 10 ปี ผ่านบริการโทร 1112 แต่ล่าสุดเราพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้นมาเอง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัล ซึ่งลูกค้าเข้าไปจัดการเมนูได้ด้วยตนเอง ช่วยตัดปัญหาการสื่อสารที่อาจจะผิดพลาดได้” ประพัฒน์ เสียงจันทร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป

หากแบรนด์สามารถขจัดความผิดพลาด คำติเตียนต่อแบรนด์ก็จะลดลง เพราะเป้าหมายของบริษัทต้องการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าสูงสุดไร้คำติ Zero Complaints ควบคู่ไปกับการเพิ่มสัดส่วนยอดขายเดลิเวอรี่อีก 2 เท่า หรือเป็น 10% ในปีหน้า จากปัจจุบันที่มีอยู่ 5%

การสั่งสินค้าผ่าน “ออนไลน์” ยังต้องอยู่ที่ “ความเร็ว” (Speed) ในการจัดส่ง ดังนั้นการผนึก “ลาล่ามูฟ” จึงจะมาช่วยตอบโจทย์ในเรื่องนี้ โดยวางไว้ว่า เมื่อลูกค้ากดสั่งออเดอร์ ภายใน 30 นาที อาหารจะต้องถึงมือผู้บริโภค

แต่เนื่องจากช่วงแรก ยังเจอปัญหาขลุกขลัก เนื่องจาก “คนขับรถส่งผลให้ต้องรออาหารนานถึง 40 นาที บริษัทจึงทำการแก้โจทย์ดังกล่าว ให้มีจุดรับสินค้าเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ

เบอร์เกอร์คิงเป็นธุรกิจอาหารบริการด่วนหรือ QSR ทุกอย่างต้องเร็ว รวมถึงเดลิเวอรี่ Speed of Service สำคัญมาก

เพราะถ้าดูจากยอดซื้อต่อบิลสั่งซื้อผ่านเดลิเวอรี่ยอดบิลสูงถึง 2 เท่าตัว หรือเกือบ 500 บาท เทียบกับการมานั่งทานในร้านเฉลี่ยที่ 220 บาท

สเต็ปต่อไป ไร้เงินสด

การสั่งสินค้าออนไลน์เป็นก้าวแรกของเบอร์เกอร์คิง รับยุคดิจิทัล เพราะบันไดถัดไปคือการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) การพัฒนาระบบชำระเงินผ่านอี-เพย์เมนท์ จากที่ผ่านมาให้บริการชำระเงินผ่านอาลีเพย์รองรับลูกค้าชาวจีนแล้ว

“เราต้องการเข้าสู่งสังคมไร้เงินสด รองรับบริการให้ลูกค้าใช้เงินสดให้น้อยสุด ลดสัดส่วนเหลือ 50ภายในปีหน้า จากปัจจุบันลูกค้าใช้จ่ายผ่านเงินสด 70บัตรเครดิตและเพย์เมนท์อื่นๆ 30%

นอกจากนี้จะมีบริการ Pick up อาหาร ผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น ก่อนออกจากที่ทำงาน สถานที่ต่างๆ ลูกค้าสามารถกดสั่งสินค้า และเมื่อใกล้ถึงสาขาที่ให้บริการจะมีข้อความเตือนให้ทราบ และลูกค้าสามารถนำเลขที่ออเดอร์ไปรับสินค้าได้

“โลกดิจิทัลเป็นโลกเป็นเรื่องใหญ่สำหรับไมเนอร์ และเบอร์เกอร์คิงกำลังก้าวสู่ยุคที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน และเราลงทุนหลายล้านบาทเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ แอปพลิเคชั่นต่างๆ เอง”

ควัก 300 ล้าน เปิดอีก 20 สาขาปีหน้า

แม้จะมุ่งสู่ออนไลน์ แต่การขยายร้านเบอร์เกอร์คิงยังจำเป็น ปีหน้าบริษัทเตรียมงบลงทุนราว 300 ล้านบาท เปิด 20 สาขาใหม่ หลักๆ อยู่ในกรุงเทพฯ ภาคตะวันออก และภาคใต้ การลงทุนเฉลี่ยสาขา สาขารูปแบบไดรฟ์ทรู สาขาละ 25 ล้านบาท ส่วนสาขาปกติลงทุน 13 ล้านบาท ปัจจุบันเบอร์เกอร์คิงมีร้านให้บริการ 89 สาขา

จากการเปิดสาขาใหม่และรุกออนไลน์ปีหน้า คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทเติบโต 30-40% จากปีนี้มียอดขายประมาณ 3,500 ล้านบาท เติบโต 32แต่เมื่อแยกย่อยเป็นสาขาเดิมยอดขายไม่เติบโต เพราะผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจกำลังซื้อที่ขยายตัวไม่มากนัก

ชานนท์ กล้าหาญ กรรมการผู้จัดการลาล่ามูฟ ประเทศไทย – Chanon Klahan MD of Lalamove Thailand

“ชานนท์ กล้าหาญ” กรรมการผู้จัดการ ลาล่ามูฟ ประเทศไทย กล่าวว่า ลาล่ามูฟมีศักยภาพในด้านการส่งสินค้าออนดีมานด์ และมีคนขับรถมากถึง 40,000 คัน มากสุดในไทย จะช่วยเสริมส่งอาหารให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วตรงตามมาตรฐานของเบอร์เกอร์คิง

สำหรับแนวโน้มธุรกิจเดลิเวอรี่ปีหน้า คาดว่ายังโตต่อเนื่อง จากปัจจัยอีคอมเมิร์ซมาแรงจนถึงปี 2564 ตลาดน่าจะเติบโต 21จากปีก่อนโต 15% เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชอบสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านออนไลน์มากขึ้น ขณะที่รายได้ของลาล่ามูฟปีก่อน 120 ล้านบาท ปีนี้คาดปิด 540 ล้านบาท.

]]>
1148740
ลาล่ามูฟระดมทุนเพิ่ม 100 ล้านเหรียญ รับตลาด 100 เมืองในเอเชีย https://positioningmag.com/1143100 Wed, 11 Oct 2017 11:19:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1143100 นายชิง เชา ผู้ก่อตั้งและ CEO ของลาล่ามูฟ

ตลาดเดลิเวอรี่ยังเนื้อหอมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยังเป็นที่สนใจต่อนักลงทุนอยู่ โดยที่ล่าสุด ลาล่ามูฟ (Lalamove) ผู้ให้บริการขนส่งแบบ On Demand สัญชาติฮ่องกง ได้ทำการระดมทุนขั้น Series C จำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.3 พันล้านบาทสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย รองรับการทำตลาดใน 100 เมืองทั่วเอเชีย

การเติบโตของลาล่ามูฟในครั้งนี้เป็นเทรนด์ที่หลายๆธุรกิจมีความต้องการใช้บริการการจัดส่งแบบออนดีมานด์มากขึ้นทั้งการส่งพัสดุทั่วไปแบบแมสเซ็นเจอร์หรือการจัดส่งอาหารอย่างธุรกิจฟู้ดเดลิเวอร์รี่ในประเทศไทยเองก็เห็นเทรนด์ต่างๆนี้มีการเติบโตอย่างได้ชัด

ในเดือนกรกฎาคม 2560 ลาล่ามูฟเปิดให้บริการครบ 100 เมือง โดยให้บริการแก่ผู้ใช้งานกว่า 15 ล้านคนและมีพนักงานขับรถกว่า 2 ล้านคนและยังคงขยายการให้บริการอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องไปทั่วประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยมีผู้ดาวน์โหลดแอพลาล่ามูฟแล้วหลายแสนคน

การระดมทุนในรอบนี้ นำโดยชุนเว่ย แคปปิตัล (ShunWei Capital) ซึ่งเป็น Venture Capital ที่ลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพที่อยู่ในระยะเติบโต รวมถึง ยังคงได้รับความร่วมมือจากนักลงทุนรายเดิมหลายรายอย่าง เซียงเหอ แคปปิตัล (Xianghe Capital) และ มายด์เวิร์คส์ เวนเจอร์ส (MindWorks Ventures)

ชิง เชา ผู้ก่อตั้งและ CEO ของลาล่ามูฟ กล่าวหลังการระดมทุนในขั้น Series B แล้ว เราก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นผู้นำในบริการจัดส่งครอบคลุมทั่วทวีปเอเชีย และเราก็ทำได้เกินกว่าที่เราคาดหวังไว้ เราจะยังคงเดินหน้าขยายการให้บริการไปยังเมืองต่างๆ เพื่อให้บริการจัดส่งที่ฉับไวที่สุดและสะดวกง่ายดายที่สุดในตลาดกลุ่มนี้

นอกจากการขยายตลาดแล้ว การระดมทุนรอบใหม่นี้จะนำเงินไปใช้ลงทุนกับผู้มีความสามารถในส่วนต่างๆ ขององค์กรอีกด้วย เพื่อต่อยอดฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ และเพื่อให้ลาล่ามูฟสามารถเข้าถึงกลุ่มคนขับรถในวงกว้างยิ่งขึ้น ตัวอย่างหนึ่งคือ บริการเชื่อมต่อ API กับลาล่ามูฟที่ช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถนำเทคโนโลยีการจัดส่งแบบ On Demand ของลาล่ามูฟไปช่วยเสริมบริการธุรกิจของตนเองได้

นายสันทิต จีรวงศ์ไกรสร ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค ฝ่ายดำเนินงานลาล่ามูฟ

สันทิต จีรวงศ์ไกรสร ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค ฝ่ายดำเนินงานลาล่ามูฟ กล่าวว่า  การลงทุนในครั้งนี้สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ใช้งาน ทั้งในแบรนด์ลาล่ามูฟและตลาดลอจิสติกส์ผ่านมือถือ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และลาล่ามูฟ ประเทศไทยก็เติบโตขึ้นอย่างมากในแง่ของจำนวนการใช้บริการ โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 600% ในปี 2559 เราคาดการณ์ว่าในปี 2560 นี้ จำนวนการเรียกใช้บริการก็จะเติบโตไปอย่างมั่นคงเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา หรืออาจจะสูงกว่าก็ได้

]]>
1143100
ระเบิดศึกธุรกิจขนส่ง 1.4 หมื่นล้าน รับอีคอมเมิร์ซบูม https://positioningmag.com/1118575 Wed, 08 Mar 2017 22:55:01 +0000 http://positioningmag.com/?p=1118575 ผลพวงจากการตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยที่กำลังเติบโต ส่งผลให้กับ “ธุรกิจบริการขนส่ง” ร้อนแรงตามไปด้วย จากการที่มีผู้เล่นรายเล็กและใหญ่ ทั้งของไทยและต่างประเทศ ร่วมวงชิงเค้กตลาด ที่คาดกันว่าจะถึง 1.4 หมื่นล้านในอีก 3 ปีข้างหน้า   

ตัวเลือกในเวลานี้ จึงไม่ได้มีแค่ “ไปรษณีย์ไทย” ที่คุ้นเคยเท่านั้น เอ่ยชื่อมาเวลานี้ มีทั้งของไทยและประเทศในแถบนี้ เกาหลี ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น เคอรี่ เอ็กซ์เพรส, ลาล่ามูฟ, Grab, Skootar, Deliveree นิ่มซี่เส็ง ทำตลาดหนักมากขึ้น

ส่วนรายใหญ่อย่าง ดีเอชแอล นำบริษัทในเครือ ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ เข้าสู่ตลาดในไทยเต็มรูปแบบ รวมถึงรายใหญ่อย่าง SCG ที่จับมือกับแมวดำจากประเทศญี่ปุ่นหรือ บริษัท ยามาโตะ เอเชีย จำกัด เปิดตัวธุรกิจใหม่ เอสซีจี เอ็กซ์เพรส เพื่อธุรกิจส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน

ดีเอชแอลจัดหนัก

ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ มองเห็นโอกาสมากมายจากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ซึ่ง มัลคอล์ม มอนเตโร ประธานกรรมการบริหาร DHL eCommerce เอเชียแปซิฟิก และ เกียรติชัย พิตรปรีชา กรรมการผู้จัดการ DHL eCommerce ประเทศไทย ได้ร่วมกันประเมินตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย (ตัวเลขจากยูโรมันนี่) ว่ามีอัตราเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 22% ต่อปี  เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย

คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า คือภายในปี 2563 จะโตไปถึง 3 เท่า หรือมีมูลค่า 140,000 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนยอดขายผ่านอีคอมเมิร์ซ  1.7-2% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด หากนำไปเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว มีสัดส่วนมากกว่า 10%  สะท้อนว่าอีคอมเมิร์ซในโตได้อีก 5-6 เท่า

ปัจจัยที่เป็นแรงหนุน มาจากผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น ผู้ประกอบการ SME ซึ่งถือเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดเอสเอ็มอี  โดยมีทั้งหมด 2.7 ล้านราย หันมาค้าขายผ่านอีคอมเมิร์ซ 3 หมื่น –  4 หมื่นราย และด้วยนโยบายดิจิตอลไทยแลนด์ของรัฐบาล ผลักดันให้เอสเอ็มอีหันมาค้าขายผ่านอีคอมเมิร์ซเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 3 หมื่นราย

เมื่อตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโต ส่งผลให้ “ธุรกิจขนส่ง” เติบโตตามไปด้วย ขณะเดียวกันธุรกิจอีคอมเมิร์ซเองก็ต้องพึ่งพาบริการขนส่งสินค้าจากมืออาชีพ เพราะลูกค้ามักจะเปลี่ยนใจได้เสมอหากได้สินค้าไม่ตรงกับความต้องการ

จากการประเมินของดีเอชแอลพบว่า ธุรกิจขนส่งสินค้าอีคอมเมิร์ซทั่วโลก จะมีสัดส่วน 10% เช่นเดียวกับไทย เมื่อดูจากตลาดอีคอมเมิร์ซจะพุ่งไปถึง 140,000 ล้านบาทในอีก 3 ปีข้างหน้า ตลาดขนส่งจะมีมูลค่าสูงถึง 14,000 ล้านบาท

ดีเอชแอลเอง หลังจากที่เข้ามาปักธงธุรกิจขนส่งอีคอมเมิร์ซเมื่อปีที่แล้ว ลงทุนวางระบบและคน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าได้ 15 ล้านแพ็กเกจต่อปี มีพนักงาน 500 คน ศูนย์กระจายอีก 40 กว่าแห่ง ได้ผลตอบรับดีเกินคาด จึงต่อยอดสเต็ปสอง ขยายเครือข่ายจุดรับสินค้ากระจายสินค้าไปในต่างจังหวัด ซึ่งคาดว่าเติบโตสูงถึง 30-35% คู่แข่งมีน้อย ดีเอชแอลจึงใช้จุดขายเรื่องความเร็วในการจัดส่ง หรือ next day (ส่งวันนี้พรุ่งนี้ได้) มาเป็นยุทธศาสตร์ในการเจาะลูกค้า

ส่วนลูกค้ากรุงเทพฯ เพิ่มบริการรถมารับสินค้าที่บ้าน หรือออฟฟิศ มีข้อแม้ว่าต้องส่ง 10 ชิ้นขึ้นไป รวมทั้งบริการขนส่งไปต่างประเทศ จากเดิมที่ให้บริการแก่ลูกค้า “B 2 B” จะขยายฐานมาที่ลูกค้ารายย่อยหรือ “C 2 C” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในตลาดสำคัญ

รวมทั้งการเพิ่มบริการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ ที่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดขาย ที่มาตอบโจทย์เอสเอ็มอี ที่มักจะมีการส่งออกไปขายต่างประเทศ

ผู้บริหารของดีเอชแอล มองว่า การแข่งขันในตลาดขนส่งอีคอมเมิร์ซกำลังแข่งขันกันเข้มข้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เวลานี้ ผู้เล่นมีทั้งรายเล็กและรายใหญ่มากกว่า 20 ราย แต่ที่มีบทบาทในตลาดมีไม่เกิน 10 ราย โดยราคาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการแข่งขัน แต่ก็ต้องมาพร้อมบริการ เพราะลูกค้าบางรายยอมจ่ายราคาแพงขึ้นแลกกับบริการ ถ้าได้ของไม่ใช่ เขาจะย้ายร้านทันที

กลยุทธ์ในการแข่งขันของดีเอชแอล จึงตั้งธงไว้เลยว่า ทำอย่างไรให้ลูกค้าเลือกใช้สม่ำเสมอ จึงต้องมีทีมงาน มีบริการดี ส่งได้รวดเร็ว ใช้เทคโนโลยีมาช่วย และต้องปรับตัวให้เร็ว รวมทั้งประสบการณ์ที่อยู่ในตลาดมายาวนาน เครือข่ายสาขา 220 แห่งทั่วโลก โดยเป้าหมายของรายนี้ต้องเป็นอันดับ 1 ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

ส่วนพฤติกรรมความต้องการของลูกค้าคนไทย ก็ไม่ต่างจากทั่วโลก “ลูกค้าต้องการการจัดส่งแบบตามใจฉัน” ต่อไปต้องส่งสินค้าถึงรถ หรือเฉพาะเวลาที่กำหนด ลูกค้ามีความต้องการเฉพาะเจาะจงมากขึ้น และจะเป็นแนวนี้เรื่อยๆ

“ลูกค้าคนไทย ให้ความสำคัญกับราคา เพราะจะรู้ราคา ค่าจัดส่งเท่าไหร่ จึงเป็นความท้าทายของผู้ขายและผู้ให้บริการจัดส่ง ที่จะตอบสนองความต้องการเหล่านี้

ลาล่ามูฟขอเล่นตลาดขนส่งภายในวันเดียว

ลาล่ามูฟเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยได้ 2 ปีกว่าแล้ว โดยวางจุดยืนเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าแบบออนดีมานด์ตลอด 24 ชั่วโมง ให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน มีโมเดลทางธุรกิจแบบ Sharing Economy คือเป็นการหาพาร์ตเนอร์คนขับรถในแต่ละท้องถิ่น แล้วทำการแบ่งรายได้กัน โดยที่ไม่ต้องลงทุนในการหารถ และคนขับเป็นของบริษัทเอง ซึ่งอูเบอร์ และแกร็บก็ใช้โมเดลธุรกิจนี้เช่นกัน

หลักการทำงานของลาล่ามูฟก็คือขนส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นลักษณะคล้ายๆ กับแมสเซนเจอร์ มีรถให้บริการ 3 รูปแบบ มอเตอร์ไซค์ รถกระบะ และรถยนต์ 5 ประตู ค่าบริการของมอเตอร์ไซค์ราคาเริ่มต้น 48 บาท จากนั้นคิดค่าบริการตามระยะทางที่กิโลเมตรละ 7.2 บาท ไม่จำกัดจำนวนชิ้น แต่จำกัดเรื่องขนาดและน้ำหนัก สามารถส่งสินค้าถึงมือผู้รับได้ภายใน 1 ชั่วโมง

กลุ่มผู้ใช้บริการจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน ก็คือ กลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME หรือขายของออนไลน์ มีสัดส่วน 60% และลูกค้าทั่วไปที่ใช้บริการรับส่งสินค้า หรือฝากซื้อของ สัดส่วน 40%

แต่ด้วยบริการนี้ค่อนข้างจะเป็นเฉพาะกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจอาหาร หรือธุรกิจที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา และด้วยราคาขนส่งที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการขนส่งแบบธรรมดา ทำให้ลาล่ามูฟมีแผนที่จะบุกตลาดขนส่งสินค้าภายในวันเดียว ซึ่งยังมีโอกาสในตลาดอยู่

สันทิต จีรวงศ์ไกรสร ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค ฝ่ายดำเนินงาน ลาล่ามูฟ กล่าวว่า

ตลาดการส่งสินค้าแบบออนดีมานด์ถือว่าเป็น Niche Market มากๆ เหมาะกับธุรกิจที่ต้องใช้เวลาเร่งด่วนอย่างอาหาร หรือต้องการสินค้าเร่งด่วนจริงๆ ตลาดตรงนี้ก็เล็กอยู่ คิดเป็น 5% ของตลาดขนส่ง แต่ยังเห็นการเติบโตอยู่ ลาล่ามูฟจึงต้องขยายไปยังตลาดขนส่งทั่วไป แต่ทำจุดเด่นให้เป็น่สงภายในวันเดียว ในตลาดยังมีน้อยส่วนใหญ่ยังมีราคาแพง

ตลาดขนส่งสินค้ามีแบรนด์ใหญ่ๆ ก็คือไปรษณีย์ไทย และเคอรี่ โดยที่เทรนด์ของอีคอมเมิร์ซมีการเติบโต ทำให้การใช้บริการของเคอรี่เพิ่มมากขึ้นเพราะสามารถส่งสินค้าภายในวันถัดไป คิดค่าบริการตามขนาดกล่องและน้ำหนัก ถ้าต้องการส่งภายในวันนั้นเลยจะคิดค่าบริการเพิ่มเติม

ลาล่ามูฟจึงมองเห็นช่องว่างในการส่งสินค้าภายในวันเดียว แต่ทำให้ราคาถูกกว่า เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าอีคอมเมิร์ซมากขึ้น รวมถึงแบรนด์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ด้วยเช่นกัน

เทรนด์ของผู้บริโภคในตอนนี้ในการส่งสินค้า หรือแม้แต่สั่งสินค้าออนไลน์ก็คืออยากได้ของเร็วในราคาถูก จึงต้องพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบความต้องการตรงนี้ โดยที่ไม่มีแผนทำโกดังเก็บสินค้าด้วย เพราะต้องการส่งสินค้าภายในวันเดียวจบ และต้องการสร้างความแตกต่างในตลาด บริการนี้คาดจะได้เห็นช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี

ปัจจุบันลาล่ามูฟมีผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน 210,000 ราย เป็นการเติบโต 600% และมีมูลค่าการใช้บิรการ หรือรายได้ 120 ล้านบาท (ยังไม่หักส่วนแบ่งของคนขับ) และมีคนขับจำนวน 17,000 คน แบ่งเป็นมอเตอร์ไซค์ 90% รถกระบะ 5% และรถยนต์ 5 ประตู 5%

เอสซีจี ผนึก ยามาโตะ เอเชีย รุกตลาดบริการส่งด่วน

เอสซีจีที่เป็นแบรนด์ใหญ่ในตลาดธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ที่ลงมาแจมกับตลาดขนส่งด้วยเช่นกัน ด้วยงบ 633 ล้านบาท ผนึกพันธมิตร ยามาโตะ เอเชีย เปิดตัวธุรกิจขนส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน “เอสซีจี เอ็กซ์เพรส” ทั้งสองแบรนด์ได้ร่วมกันวิจัยตลาดและศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทยกว่า 2 ปี ก่อนที่จะเปิดให้บริการ

โดยที่ประเดิมให้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อนเป็นลำดับแรก และเปิดศูนย์บริการเอสซีจี เอ็กซ์เพรสแห่งแรกที่บางซื่อ ตั้งเป้าเปิดจุดให้บริการรับส่งพัสดุ เพิ่มเป็น 110 สาขา ภายในปี 60 ทั้งในรูปแบบศูนย์บริการเอสซีจี เอ็กซ์เพรส และตัวแทนรับพัสดุเอสซีจี เอ็กซ์เพรส

เอสซีจี เอ็กซ์เพรสมาพร้อม 4 รูปแบบบริการ ได้แก่ 1. บริการขนส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วนถึงบ้าน หรือ ทัค-คิว-บิง 2. บริการส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ด่วนระหว่างบริษัทถึงบริษัท 3. บริการเก็บเงินปลายทาง และ 4. ขนส่งพัสดุแบบควบคุมอุณหภูมิ มี 2 รูปแบบบริการ คือ สินค้าแบบแช่เย็น รักษาความเย็นได้ 0-8 องศาเซลเซียส และสินค้าแช่แข็ง ระบบควบคุมอุณหภูมิที่รักษาความเย็นได้ต่ำกว่า -15 องศาองศาเซลเซียส สำหรับส่งสินค้าประเภทอาหารได้ โดยที่ไม่ต้องมีข้อจำกัดเรื่องเวลา

การร่วมมือกันในครั้งนี้ เป็นการใช้จุดแข็งของทั้งสองแบรนด์ เอสซีจีมีความแข็งแกร่งในเรื่องของนวัตกรรม และเข้าใจตลาด ผู้บริโภคในประเทศไทย ส่วนยามาโตะ เอเชียเชี่ยวชาญด้านขนส่งพัสดุ

ค่าบริการคิดตามขนาด และน้ำหนักของพัสดุ กว้าง+ยาว+สูง ขนาดไม่เกิน 160 เซนติเมตร น้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 25 กิโลกรัม และราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 40 บาท เป็นต้นไป

เจาะพฤติกรรมนักช้อปคนไทย อยากได้สินค้ารวดเร็ว

ผลวิจัยของแมนฮัตตัน แอสโซซิเอส ได้ร่วมมือกับโลจิเซียล (จีโอ พาร์ตเนอร์ ในประเทศไทย) บอกว่าผู้บริโภคออนไลน์ในประเทศไทยจะผิดหวังมากที่สุด 55% กับการส่งมอบสินค้าที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ตามที่คาดหวัง ในขณะที่ 48% จะผิดหวังกับการส่งมอบสินค้าล่าช้า ความผิดหวังของนักชอปออนไลน์อันดับที่สามคือ ไม่สามารถคืนสินค้าได้โดยง่าย

การศึกษาพบว่านักชอปจำนวน 88% ต้องการได้รับบริการจัดส่งสินค้าภายในวันเดียวกันกับการสั่งซื้อ โดยที่ในส่วนนี้ร้านค้าปลีกต่างๆ ก็พยายามพัฒนาบริการในส่วนนี้เช่นกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค 60% บอกวาต้องการได้รับสินค้าภายใน 2 ชั่วโมงที่จุดหมายปลายทาง และ 34% ต้องการสามารถรับสินค้าในจุดที่กำหนด เช่นรับที่ร้านค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ต

นักชอปชาวไทยจัดอันดับให้ “ความรวดเร็ว/ความสะดวกสบายในการสั่งซื้อ” และ “โปรโมชันที่บ่อยครั้ง” คือปัจจัยที่สำคัญที่จะโน้มน้าวให้พวกเขาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และ 77% ของผลการสำรวจระบุว่าความน่าเชื่อถือในการจัดส่งสินค้าจะทำให้ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีในแบรนด์อีกด้วย

]]>
1118575
ไปรษณีย์ไทยสะเทือน! ลาล่ามูฟขอเล่นตลาดขนส่งภายในวันเดียวบ้าง https://positioningmag.com/1116419 Wed, 15 Feb 2017 18:03:02 +0000 http://positioningmag.com/?p=1116419 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตลาดขนส่งสินค้าเป็นที่คึกคักอย่างมาก มีผู้เล่นเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่คนไทยคุ้นเคยกับการให้บริการของไปรษณีย์ไทยมาอย่างยาวนาน โดยที่ในตลาดนี้มีทั้งรูปแบบของขนส่งสินค้าแบบดิสทริบิวเตอร์ที่รับส่งสินค้าภายใน 1-2 วัน และรูปแบบส่งสินค้าแบบออนดีมานด์ที่รวดเร็วกว่า

ลาล่ามูฟเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยได้ 2 ปีกว่าแล้วตั้งแต่ปี 2557 โดยได้วางจุดยืนเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าแบบออนดีมานด์ตลอด 24 ชั่วโมง ให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น มีโมเดลทางธุรกิจแบบ Sharing Economy ก็คือเป็นการหาพาร์ตเนอร์คนขับรถในแต่ละท้องถิ่น แล้วทำการแบ่งรายได้กัน โดยที่ไม่ต้องลงทุนในการหารถ และคนขับเป็นของบริษัทเอง ซึ่งอูเบอร์ และแกร็บก็ใช้โมเดลธุรกิจนี้เช่นกัน

2_lalamove

หลักการทำงานของลาล่ามูฟก็คือขนส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นลักษณะคล้ายๆ กับแมสเซ็นเจอร์ มีรถให้บริการ 3 รูปแบบ มอเตอร์ไซค์ รถกระบะ และรถยนต์ 5 ประตู ค่าบริการของมอเตอร์ไซค์ราคาเริ่มต้น 48 บาท จากนั้นคิดค่าบริการตามระยะทางที่กิโลเมตรละ 7.2 บาท ไม่จำกัดจำนวนชิ้น แต่จำกัดเรื่องขนาด และน้ำหนัก สามารถส่งสินค้าถึงมือผู้รับได้ภายใน 1 ชั่วโมง

ในตลาดนี้มีผู้เล่นที่มีบริการเหมือนกัน และเป็นคู่แข่งโดยตรงรวม 4 ราย ได้แก่ ลาล่ามูฟ, Grab, Skootar และ Deliveree เป็นบริการส่งสินค้าพัสดุแบบออนดีมานด์ แต่ก็มีอีกหนึ่งตลาดที่กำลังเป็นที่นิยมก็คือฟู้ดเดลิเวอรี่ หรือรับซื้ออาหาร มีผู้เล่นหลัก ได้แก่ ไลน์แมน, อูเบอร์อีท และฟู้ดแพนด้า

กลุ่มผู้ใช้บริการจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกันก็คือ กลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME หรือขายของออนไลน์ มีสัดส่วน 60% และลูกค้าทั่วไปที่ใช้บริการรับส่งสินค้า หรือฝากซื้อของ สัดส่วน 40%

แต่ด้วยบริการนี้ค่อนข้างจะเป็นเฉพาะกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจอาหาร หรือธุรกิจที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา และด้วยราคาขนส่งที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการขนส่งแบบธรรมดา ทำให้ลาล่ามูฟมีแผนที่จะบุกตลาดขนส่งสินค้าภายในวันเดียว ซึ่งยังมีโอกาสในตลาดอยู่

1_lalamove

สันทิต จีรวงศ์ไกรสร ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค ฝ่ายดำเนินงาน ลาล่ามูฟ กล่าวว่าตลาดการส่งสินค้าแบบออนดีมานด์ถือว่าเป็น Niche Market มากๆ เหมาะกับธุรกิจที่ต้องใช้เวลาเร่งด่วนอย่างอาหาร หรือต้องการสินค้าเร่งด่วนจริงๆ ตลาดตรงนี้ก็เล็กอยู่ คิดเป็น 5% ของตลาดขนส่ง แต่ยังเห็นการเติบโตอยู่ ลาล่ามูฟจึงต้องขยายไปยังตลาดขนส่งทั่วไป แต่ทำจุดเด่นให้เป็นส่งภายในวันเดียว ในตลาดยังมีน้อยส่วนใหญ่ยังมีราคาแพง

ตลาดขนส่งสินค้ามีแบรนด์ใหญ่ๆ ก็คือไปรษณีย์ไทย และเคอร์รี่ โดยที่เทรนด์ของอีคอมเมิร์ซมีการเติบโต ทำให้การใช้บริการของเคอร์รี่เพิ่มมากขึ้นเพราะสามารถส่งสินค้าภายในวันถัดไป คิดค่าบริการตามขนาดกล่องและน้ำหนัก ถ้าต้องการส่งภายในวันนั้นเลยจะคิดค่าบริการเพิ่มเติม

ลาล่ามูฟจึงมองเห็นช่องว่างในการส่งสินค้าภายในวันเดียว แต่ทำให้ราคาถูกกว่า เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าอีคอมเมิร์ซมากขึ้น รวมถึงแบรนด์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ด้วยเช่นกัน

word_icon

เทรนด์ของผู้บริโภคการส่งสินค้า หรือแม้แต่สั่งสินค้าออนไลน์ในตอนนี้ ก็คืออยากได้ของเร็วในราคาถูก จึงต้องพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบความต้องการตรงนี้ โดยที่ไม่มีแผนทำโกดังเก็บสินค้าด้วย เพราะต้องการส่งสินค้าภายในวันเดียวจบ และต้องการสร้างความแตกต่างในตลาด บริการนี้คาดจะได้เห็นช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี

word_icon2

ปัจจุบันลาล่ามูปมีผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น 210,000 ราย เป็นการเติบโต 600% และมีมูลค่าการใช้บริการ หรือรายได้ 120 ล้านบาท (ยังไม่หักส่วนแบ่งของคนขับ) และมีคนขับจำนวน 17,000 คน แบ่งเป็นมอเตอร์ไซค์ 90% รถกระบะ 5% และรถยนต์ 5 ประตู 5% 

นักช้อปคนไทย อยากได้สินค้ารวดเร็ว

สอดคล้องกับผลวิจัยของแมนฮัตตัน แอสโซซิเอส ได้ร่วมมือกับโลจิเซียล (จีโอ พาร์ตเนอร์ ในประเทศไทย) บอกว่าผู้บริโภคออนไลน์ในประเทศไทยจะผิดหวังมากที่สุด 55% กับการส่งมอบสินค้าที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ตามที่คาดหวัง ในขณะที่ 48% จะผิดหวังกับการส่งมอบสินค้าล่าช้า ความผิดหวังของนักช้อปออนไลน์อันดับที่สามคือ ไม่สามารถคืนสินค้าได้โดยง่าย

การศึกษาพบว่านักช้อปจำนวน 88% ต้องการได้รับบริการจัดส่งสินค้าภายในวันเดียวกันกับการสั่งซื้อ โดยที่ในส่วนนี้ร้านค้าปลีกต่างๆ ก็พยายามพัฒนาบริการในส่วนนี้เช่นกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค 60% บอกว่าต้องการได้รับสินค้าภายใน 2 ชั่วโมงที่จุดหมายปลายทาง และ 34% ต้องการสามารถรับสินค้าในจุดที่กำหนด เช่นรับที่ร้านค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ต

นักช้อปชาวไทยจัดอันดับให้ ความรวดเร็ว /ความสะดวกสบายในการสั่งซื้อและ โปรโมชั่นที่บ่อยครั้งคือปัจจัยที่สำคัญที่จะโน้มน้าวให้พวกเขาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และ 77% ของผลการสำรวจระบุว่าความน่าเชื่อถือในการจัดส่งสินค้าจะทำให้ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีในแบรนด์อีกด้วย

]]>
1116419
ลาล่ามูฟ แอปขนส่ง ระดมทุน Series B 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยาย 100 เมือง https://positioningmag.com/1113051 Tue, 10 Jan 2017 10:01:32 +0000 http://positioningmag.com/?p=1113051 Lalamove (ลาล่ามูฟ) แอปขนส่งสินค้าออนดีมานด์จากฮ่องกง ได้ระดมทุน Series B 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เตรียมขยายอีก 100 เมือง

การระดมทุนขั้น Series B นี้ นำโดย เซียงเหอ แคปปิตัล (Xianghe Capital) ซึ่งเป็น Venture Capital ในกรุงปักกิ่ง ก่อตั้งโดยนายเฮซอง ทัง อดีตผู้บริหารของบริษัท Baidu M&A ร่วมด้วย แบล็กโฮล แคปปิตัล (Blackhole Capital) และนักลงทุนรายเดิมอย่าง มายด์เวิร์คส์ เวนเจอร์ส (MindWorks Ventures), คริสตัล สตรีม (Crystal Stream) รวมถึงนักลงทุนจากประเทศไทย บริษัท เอเซียพลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) การลงทุนรอบนี้ได้เม็ดเงินมากกว่าการระดมทุน 3 รอบที่ผ่านมา ทำให้ลาล่ามูฟได้รับเงินทุนรวมทั้งหมดตั้งแต่เริ่มรวมแล้ว 60 ล้านเหรียญสหรัฐ

จากเงินลงทุนดังกล่าว ทำให้ลาล่ามูฟขยายการให้บริการไปยังเมืองต่างๆ ในทวีปเอเชียอีก 60 เมืองภายในสิ้นปี พ.ศ. 2560 ตามที่วางแผนไว้และในปัจจุบัน ทวีปเอเชียเป็นพื้นที่ที่ลาล่ามูฟให้บริการมากที่สุด ผ่านบริการเชื่อมต่อกับคนขับรถขนส่งกว่า 500,000 ราย ผ่านแอปพลิเคชั่น

2_lalamove

“ตลาดโลจิสติกส์นับว่าเป็นตลาดใหญ่ มีมูลค่าถึง 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในประเทศจีน และคิดเป็น 27% ของ GDP ในบางประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ยังถือเป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างใหม่ในยุคของอินเทอร์เน็ตบนมือถือ” นายชิง เชา ผู้ก่อตั้งและ CEO ของลาล่ามูฟ กล่าว

ซีอีโอ ลาล่ามูฟ บอกด้วยว่า ถึงแม้ว่าวงการขนส่งไม่ได้มีวิวัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเหมือนอย่างอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สื่อสารโทรคมนาคม แต่เชื่อว่าได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและน่าจะมีผู้เล่นที่น่าสนใจใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาในวงการโลจิสติกส์นี้

นอกจากการตอบสนองผู้บริโภคในเรื่องความรวดเร็ว โดยจัดส่งของได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงแล้ว การที่ลาล่ามูฟได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ เป็นส่วนผลักดันให้ลาล่ามูฟเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2559 ลาล่ามูฟได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ LINE เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่น LINE MAN ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้บริการรับ-ส่งเอกสาร พัสดุ สั่งซื้ออาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ทางบริษัทก็ได้มีส่วนร่วมกับบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Google และ IKEA ด้วยเช่นกัน

ชานนท์ กล้าหาญ
ชานนท์ กล้าหาญ

ชานนท์ กล้าหาญ กรรมการผู้จัดการ ลาล่ามูฟ ประเทศไทย กล่าวว่า ลาล่า มูฟให้บริการในกรุงเทพฯ มาเป็นเวลา 2 ปี มีการขยายทั้งจำนวนผู้ใช้งานและพนักงานขับรถ โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ นอกจากจะนำไปใช้เพื่อขยายการให้บริการไปยังพื้นที่อื่นๆ แล้ว จะนำไปใช้พัฒนาแอปพลิเคชั่นและคิดหาฟีเจอร์และบริการเสริมต่างๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น

ที่มาลาล่ามูฟ

Lalamove (ลาล่ามูฟ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 ที่ฮ่องกง เดิมทีชื่อว่า EasyVan ให้บริการจัดส่งผ่านทางแอปพลิเคชั่นในทวีปเอเชีย โดยเปิดให้บริการแล้วใน 45 เมือง เช่น ฮ่องกง, สิงคโปร์, กรุงเทพฯ, ไทเป, มะนิลา และกระจายอยู่ในประเทศจีนอีก 40 เมือง มีคนขับรถทั้งหมดมากกว่า 500,000 คน ส่วนในประเทศไทย Lalamove มียอดดาวน์โหลด 200,000 ครั้ง และมีจำนวนคนขับรถมากกว่า 15,000 คน คอนเซ็ปต์หลักของลาล่ามูฟ คือ การใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตบนมือถือ และนำ “ระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy)” มาใช้ในวงการโลจิสติกส์ เช่น การจับคู่ระหว่างผู้ต้องการส่งของและคนขับรถส่งของแบบเรียลไทม์ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีลูกค้ากว่า 5 ล้านราย และพนักงานขับรถตู้ รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุกมืออาชีพหลายแสนคนทั่วทวีปเอเชียได้ใช้บริการของ Lalamove เพื่อผลักดันให้ธุรกิจของตนเองเติบโต

]]>
1113051