MINISO – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 20 Sep 2021 09:42:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Miniso’ ถือโอกาสค่าเช่าที่ในสหรัฐฯ ลด 20% เร่งเปิดหน้าร้านเพิ่ม 2 เท่า! https://positioningmag.com/1352683 Mon, 20 Sep 2021 09:26:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352683 ‘Miniso’ (มินิโซ) แบรนด์ค้าปลีกจากจีนที่คุ้นหน้าคุ้นตาชาวไทยเป็นอย่างดี แม้ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ทำให้หน้าร้านทั่วโลกต้องปิดชั่วคราว ทำให้ต้องสูญเงินมหาศาลราว 215 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.1 พันล้านบาท แต่ล่าสุด Miniso ก็ถือโอกาสที่ห้างฯ ในสหรัฐลดค่าเช่าที่ เดินหน้าเปิดหน้าร้านเพิ่ม 2 เท่า

ปัจจุบัน มินิโซมีหน้าร้านรวมกว่า 4,800 แห่งทั่วโลกในกว่า 90 ประเทศ ส่วนในสหรัฐฯ มินิโซมี 30 สาขา โดยปีนี้บริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มหน้าร้านเป็น 54 แห่งภายในสิ้นปีนี้ โดยสาเหตุที่มินิโซเร่งขยายสาขามาจากค่าเช่าที่ในห้างสรรพสินค้าของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 20% เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยหนึ่งในหน้าร้านแห่งใหม่ที่เปิดจะเป็นร้านแฟลกชิปที่มีขนาดพื้นที่ 3,300 ตร.ม. โดยตั้งอยู่ในห้างฯ Tangram ในเมือง Flushing รัฐนิวยอร์ก

ไม่ใช่แค่ค่าเช่าที่ที่ถูกลง แต่จากพิษ COVID-19 ช่วยลดจำนวนคู่แข่งไปในตัว โดยแบรนด์อย่าง Flying Tiger Copenhagen เครือร้านวาไรตี้ของเดนมาร์กที่เป็นคู่แข่งกับมินิโซในหลายตลาดทั่วโลกจำต้องปิดร้าน 13 แห่งในสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม มินิโซยังคงมีคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Daiso (ไดโซะ) ซึ่งเป็นเครือร้านทุกอย่าง 1 ดอลลาร์ของญี่ปุ่น ซึ่งทำตลดอยู่ในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2005 โดยมีเครือข่ายร้านค้าเกือบ 80 แห่ง

“เราเชื่อเสมอมาว่าเราเป็นธุรกิจระหว่างประเทศ และอเมริกาเหนือเป็นตลาดเชิงกลยุทธ์ของเรา เราเลือกที่จะขยายธุรกิจในสหรัฐฯ ในขณะนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านใหม่หลัง COVID-19 ลดลง” Vincent Huang รองประธานบริษัทที่รับผิดชอบด้านธุรกิจในต่างประเทศกล่าว

Vincent Huang กล่าวว่า มินิโซเห็นศักยภาพในตลาดสหรัฐฯ โดยมีโอกาสจะขยายสาขาได้อีก หลายพันแห่ง โดยในช่วงครึ่งปีแรกยอดขายของมินิโซในสหรัฐฯ ได้ฟื้นตัวในระดับก่อนเกิด COVID-19 โดยเติบโตเพิ่มขึ้น 73% เมื่อเทียบเป็นรายปี

อย่างไรก็ตาม มินิโซไม่เปิดเผยตัวเลขยอดขายในสหรัฐอเมริกาซึ่งเปิดสาขาแรกในแคลิฟอร์เนียในตั้งแต่ปี 2017 แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมา มีรายงานว่ารายได้ประมาณ 20% จากรายได้รวม 1.41 พันล้านดอลลาร์ มาจากร้านค้าในต่างประเทศ 1,800 แห่ง ในประเทศต่าง ๆ เช่น เม็กซิโก อินโดนีเซีย และอินเดีย

“เราได้รับความนิยมมากกว่าที่เคยตั้งแต่เกิดโรคระบาด ท้ายที่สุด ผู้บริโภคไม่สนใจว่าเราจะเป็นชาวจีนหรือชาวญี่ปุ่น ชาวอเมริกันหรือชาวยุโรป สิ่งที่ผู้บริโภคกังวลคือพวกเขาสามารถซื้อสินค้าที่คุ้มค่าโดยใช้เงินน้อยที่สุดได้หรือไม่”

Source

]]>
1352683
Miniso เปิดศึกธุรกิจ “ร้านของเล่น” ประเดิมตลาดจีนแห่งแรก งานนี้ Toys ‘R’ Us มีหนาว! https://positioningmag.com/1309372 Mon, 07 Dec 2020 08:29:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309372 Miniso ร้านจำหน่ายสินค้าไลฟ์สไตล์จากจีน แตกไลน์ธุรกิจ “ร้านของเล่น Toptoy” เน้นเจาะกลุ่มของเล่นสุดฮิต โดยจะเริ่มที่ตลาดจีนซึ่งกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีแนวโน้มจะเป็นที่ตลาดใหญ่อันดับ 1 ของโลกแทนที่สหรัฐฯ ภายใน 2 ปี งานนี้เป็นการชนตรงกับคู่แข่งที่อยู่มานานอย่าง Toys ‘R’ Us

เย่ กั๋วฟู่ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Miniso Group Holding เปิดเผยกับสำนักข่าว Bloomberg ว่า บริษัทเตรียมเปิดร้านแบรนด์ใหม่ “Toptoy” เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทของเล่น ทำเลสาขาแรกที่เมืองกวางโจวประเทศจีน

ความเคลื่อนไหวนี้ เป็นการขยับทางธุรกิจครั้งใหญ่ไม่นานหลังจาก Miniso เข้าเทรดในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเป็นการเปิด IPO ในช่วงที่ร้าน Miniso มีแรงหนุนจากกระแสรัดเข็มขัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากโรคระบาด ทำให้ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ราคาถูกอย่าง Miniso ได้อานิสงส์ไปด้วย

เย่กล่าวว่า ด้วยภาพลักษณ์ของบริษัทที่จำหน่ายสินค้าราคาถูกแต่มาพร้อมกับดีไซน์ที่เป็นที่นิยม น่าจะทำให้บริษัทสามารถเจาะช่องว่างตลาดของเล่นในประเทศจีนมูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐสำเร็จ เนื่องจากปัจจุบันตลาดนี้มีผู้เล่นหลักแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มของเล่นแบบดั้งเดิม ราคาสูง ซึ่งนำโดยแบรนด์ดังอย่าง Toys ‘R’ Us กับ กลุ่มของเล่นราคาถูก คุณภาพต่ำ ซึ่งวางขายตามร้านขนาดเล็กกับซูเปอร์มาร์เก็ต

“ประเทศจีนยังไม่มีแบรนด์ของเล่นคุณภาพดีของตนเองไว้ตอบรับเด็กๆ เลย” เย่กล่าว

ร้าน Miniso สาขาอู่ฮั่น ประเทศจีน เมื่อปี 2018 (Photo : Shutterstock)

Toptoy จะวางตำแหน่งทางการตลาดให้แตกต่างจากคู่แข่งรายเดิม โดยการมุ่งเน้นเฉพาะสินค้าที่เป็นที่นิยมสูงในหมู่เด็กและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นของจีน เช่น ของเล่นที่เรียกกันว่า ‘pop toys’ โมเดลฟิกเกอร์การ์ตูน จำหน่ายในจีนที่ราคา 40 หยวน หรือของเล่น ‘blind boxed’ ตุ๊กตาที่ผลิตตามคาแร็กเตอร์การ์ตูนอนิเมะ แต่ผู้ซื้อจะไม่ทราบว่าจะได้ตุ๊กตาแบบไหนในกล่อง ทำให้การเสี่ยงโชคตามหาตุ๊กตาที่ชอบกลายเป็นหนึ่งในความสนุกของการซื้อ

 

คอนเซ็ปต์ “ถูกและดูดี” ส่งต่อไปสู่แบรนด์ร้านของเล่น

Miniso นั้นเปิดตัวเมื่อปี 2013 และขยายอย่างรวดเร็วสู่ 4,200 สาขาทั่วโลก โดย 60% ของจำนวนสาขาทั้งหมดอยู่ในประเทศจีน ส่วนที่เหลือกระจายไปใน 80 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย ราคาสินค้าในร้านราว 95% จะจำหน่ายในราคา 50 หยวนหรือต่ำกว่า (ประมาณ 231 บาท)

ในร้าน Miniso นั้นมีสินค้าที่ทับซ้อนกับร้านของเล่นอยู่บ้างแล้ว โดยมีของเล่น-ตุ๊กตาที่ผลิตร่วมกันแบรนด์พันธมิตรอย่าง Disney และ Marvel และเย่หวังว่าโมเดลที่ประสบความสำเร็จของ Miniso คือ การขายสินค้าดีไซน์ดีในราคาถูก คอนเซ็ปต์แบบเดียวกับ Uniqlo, IKEA หรือ Costco จะสามารถส่งไม้ต่อไปที่ Toptoy และประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างสินค้าประเภทของเล่นจาก Miniso x Marvel

จุดแข็งที่เย่ชี้ให้เห็นสำหรับ Toptoy คือ บริษัทสามารถเข้าถึงเครือข่ายซัพพลายเออร์ท้องถิ่นของจีน เพื่อให้ผลิตสินค้ามีคุณภาพแก่บริษัทได้ ตัวอย่างเช่น ซัพพลายเออร์รายหนึ่งของ Miniso ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับ Christian Dior แบรนด์ลักชัวรีจากฝรั่งเศส สามารถผลิตสินค้า “น้ำหอมกลิ่นกุหลาบ” ขนาด 15 มิลลิลิตรให้บริษัทในราคาเพียง 15 หยวนเท่านั้น (ประมาณ 70 บาท)

Euromonitor International ประเมินว่า ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกทั่วไปของจีน Miniso เป็นร้านที่มีมาร์เก็ตแชร์สูงถึง 60% ของตลาด รองลงมาคือ Muji แบรนด์ของใช้ในชีวิตประจำวันจากญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งตลาด 13% อย่างไรก็ตาม ในตลาดร้านของเล่นเต็มตัวนั้นบริษัทจะต้องเจอการแข่งขันจากคู่แข่งที่แข็งแรงมากจากต่างประเทศ

 

“ร้านของเล่น” จีนโตแรง สวนทางกับสหรัฐฯ

Bloomberg Intelligence ประเมินว่า ตลาดร้านของเล่นของจีนนั้นจะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2022 แซงหน้าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันด้วยมูลค่า 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

สาเหตุที่ตลาดร้านของเล่นจีนยังไปได้สวยเป็นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่าง ในสหรัฐฯ ร้านของเล่นต่างต้องปิดสาขาลงเพราะอีคอมเมิร์ซมาแรงและกลายเป็นช่องทางซื้อของเล่นหลัก แต่พ่อแม่ชาวจีนยังนิยมพาบุตรหลานไปเที่ยวร้านของเล่นเพื่อรับประสบการณ์ตรง จึงทำให้ร้านของเล่นเติบโตอย่างรวดเร็วในจีน

ร้านของเล่นรายใหญ่ Toys ‘R’ Us ยื่นล้มละลายเมื่อปี 2017 และเพิ่งกลับมาฟื้นตัว ขยายสาขาต่อได้เมื่อปลายปี 2019

ผู้เล่นใหญ่ในตลาดของเล่นอย่าง Toys ‘R’ Us แม้จะใหญ่แต่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว เพราะบริษัทยื่นขอล้มละลายไปเมื่อปี 2017 ปัจจุบันแบรนด์นี้มีสาขา 180 สาขาที่ประเทศจีน (โดยร่วมทุนกับ Fung Retailing จากฮ่องกง) มีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดของเล่นจีน 12% ส่วนผู้เล่นจากต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ FAO Schwarz จากนิวยอร์กเพิ่งมาเปิดตัวเมื่อปี 2019 และอีกหนึ่งรายใหญ่ Lego Group มีแผนจะเปิดสาขาเพิ่มอีกหลายสิบสาขา

แม้จะมีผู้เล่นเหล่านี้ แต่ดูเหมือนเย่จะไม่ได้มองเป็นความท้าทายอันดับแรก เย่มองว่าปัจจัยลบหลักในการเปิดร้านช่วงเวลานี้คือ “โรคระบาด” เพราะทำให้ธุรกิจฝืดทั่วโลก แต่หลังจากเปิด IPO เมื่อเดือนตุลาคม 2020 ร้าน Miniso ก็ยังคงขยายสาขาใหม่เพิ่มอีกกว่า 100 สาขาทั่วโลก ส่วนแผนของร้าน Toptoy หลังจากสาขาแรกที่กวางโจว จะเปิดต่อเนื่องที่เสิ่นเจิ้นและเมืองอื่นๆ ในประเทศจีน

Source

]]>
1309372
“ความเรียบง่าย” ของสินค้าอันเป็นเอกลักษณ์ กำลังย้อนกลับมาทำร้ายยอดขายของ “MUJI” https://positioningmag.com/1239307 Wed, 17 Jul 2019 00:59:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239307 ภาพ : facebook.com/muji.thailand/

หลังจาก 30 ปีของการทำธุรกิจ MUJI ได้ค้นพบดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ เรียบง่ายในสไตล์มินิมอล โดยเชนเสื้อผ้าจากดินแดนอาทิตย์อุทัยโด่งดังในเรื่องปรัชญาการไม่มีแบรนด์ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพยาวนาน และตัดโลโก้แบรนด์ออกจากสินค้า แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เอกลักษณ์นี้กำลังย้อนกลับมาทำร้าย MUJI เสียเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำไรที่หดหายไป

ตามรายงานของ Bloomberg ระบุว่ากว่าทศวรรษที่ผ่านมา MUJI ได้ขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทอดยาวจากโตรอนโตถึงเซี่ยงไฮ้ โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าจากปี 2013 ถึงปี 2018

ในขณะที่ยอดขายอยู่ในขาขึ้น แต่น่าแปลกที่ Ryohin Keikaku บริษัทแม่ของ MUJI กลับรายงานว่า ยอดขายจากต่างประเทศซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 40% กลับทำกำไร” ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี

ที่มา : Facebook MUJI Thailand

MUJI กำลังสูญเสียความสนใจของลูกค้าในประเทศจีน

การลดลงส่วนใหญ่เกิดจากความจริงที่ว่า MUJI กำลังสูญเสียความสนใจของลูกค้าในประเทศจีน จากแบรนด์ที่ออกแบบสินค้าคล้ายคลึงกัน เช่น Miniso, NOME และอื่นๆ มากมาย คู่แข่งเหล่านี้ภาคภูมิใจในการนำเสนอสุนทรียศาสตร์ที่เป็นกลางเหมือนกับของ MUJI แต่ขายในราคาที่ต่ำกว่ามาก

แต่ความแพงนี้มีที่มาไม่น่าแปลกหากสินค้าที่ขายในต่างประเทศจะมีราคาที่สูงกว่าที่ขายในบ้านเกิดด้วยตัวแปรที่ชื่อว่าภาษีซึ่งมีอัตราที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของราคาจึงกลายเป็นแรงกดดันที่สำคัญของ MUJI

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นสำนักข่าว Bloomberg ได้เดินเข้าไปในร้านของ MUJI ที่เซี่ยงไฮ้ โดยหยิบ “สมุดบันทึกเล่มเล็ก” ขึ้นมาแล้วพบว่า ในเมืองจีนมีราคาขาย 25 หยวน (3.64 ดอลลาร์สหรัฐหรือ 112 บาท) เมื่อเทียบกับราคาที่ขายในญี่ปุ่นพบว่าแพงกว่าเล็กน้อย โดยมีราคาอยู่ที่ 315 เยน (2.92 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 90 บาท)

ราคาของสมุดยังถือว่าสมเหตุสมผลแต่เมื่อเทียบกับสินค้าอีกชนิดอย่างพัดลมพกพากลับพบว่า ราคาแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในขณะที่ MUJI วางขายในราคา 190 หยวน (27.64 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 854 บาท) แต่ถ้าคุณเดินไปที่ Miniso จะสามารถซื้อสินค้าชนิดเดียวกันนี้ในราคาเพียง 39.9 หยวน (27.64 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 179 บาท) เท่านั้น

“พัดลมพกพา” ของ Miniso – ที่มา : Instagram miniso_us

ตั้งสำนักงานพัฒนาสินค้าสำหรับชาวจีนโดยเฉพาะ

เพื่อต่อสู้กับความแตกต่างของราคา ระหว่างร้านค้าในบ้านเกิดและร้านค้าในต่างประเทศ MUJI มีแผนที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ในประเทศที่พวกเขามีอยู่ ตัวอย่างเช่น ตั้งใจที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในอินเดียมากกว่า 200 รายการ 

ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตบางส่วนกำลังถูกย้ายไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต้นทุนแรงงานลดลง แต่ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์หลายอย่างจะยังคงทำในประเทศญี่ปุ่น เช่นเครื่องสำอางเนื่องจากสามารถควบคุมวัสดุดิบได้ดีกว่า

การปรับตัวเช่นนี้สะท้อนว่า ในที่สุดแบรนด์ก็ยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์ของตัวเองไม่ได้เหมาะกับทุกคนบนโลก และยังต้องเปลี่ยนการรับรู้ด้วยว่าผู้คนทั่วโลกกำลังซื้อผลิตภัณฑ์ของ MUJI เพียงเพราะนั้นคือ MUJI นักออกแบบในโตเกียวอาจไม่คุ้นเคยกับความต้องการของชาวจีนดังนั้น MUJI จึงต้องหาวิธีคิดเช่นจีนและการออกแบบสำหรับชาวจีนโดยเฉพาะ

ที่มา : Facebook MUJI Thailand

Satoru Matsuzaki ประธานของ Ryohin Keikaku ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ MUJI ยอมรับอย่างสุดซึ้งว่า MUJI จะต้องส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ จำเป็นหรือขาดหายไปจากวิถีชีวิตของผู้บริโภคชาวจีนเนื่องจากพวกเขาซื้อเรา (เพียงผู้เดียวในฐานะแบรนด์ MUJI”

เพราะฉะนั้นภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ MUJI กำลังจะเปิดสำนักงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเมืองจีนแผ่นดินใหญ่ขึ้นมาโดยเฉพาะ ที่นี่พนักงานท้องถิ่นจะศึกษาแนวโน้มการใช้ชีวิตของชาวจีน และหวังว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผู้บริโภคในตลาดที่มีกำไรมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

Source

]]>
1239307
ครบ 10 ปี Muji บุกนิวยอร์ก แท็คทีม Miniso-Uniqlo ยกพลลุยแคนาดา https://positioningmag.com/1171199 Thu, 24 May 2018 03:23:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1171199 ไม่กี่สัปดาห์หลังจาก Miniso, Uniqlo และ Muji ตกเป็นข่าวร้อนว่ากำลังบุกหนักตลาดค้าปลีกประเทศแคนาดา วันนี้ Muji จัดงานฉลองครบ 10 ปี Muji สาขานิวยอร์ก ด้วยการดึงดีไซเนอร์อเมริกันมาร่วมจัดวางเครื่องเขียนในสวนหินญี่ปุ่น กลายเป็นงานศิลป์ที่จะดึงให้คนกลุ่มใหม่สนใจแบรนด์ Muji มากกว่าเดิม

นอกจากเครื่องเขียน นานาเครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์ของ Muji ก็ถูกรวมลงในงานศิลป์นี้อย่างกลมกลืน ทั้งหมดนี้เป็นผลงานของ Dylan Davis และ Jean Lee ดูโอคู่หูจากสตูดิโออเมริกัน Ladies & Gentlemen Studio ที่ได้รับมอบหมายให้สำรวจเอกลักษณ์ในสินค้า Muji เพื่อนำเสนองานศิลป์ให้ชาวนิวยอร์กสามารถสัมผัสได้

งานศิลป์นี้ถูกตั้งชื่อว่า Muji Materials Garden จุดนี้สื่ออเมริกันบอกว่าไม่บ่อยนักที่แบรนด์อย่าง Muji จะร่วมมือกับนักออกแบบภายนอก โดยครั้งนี้เป็นแรงดันของประธาน Muji US ชื่อ Toru Tsunoda จนทำให้แบรนด์ได้จับมือนักออกแบบชาวอเมริกันในท้องถิ่น เพื่อให้ Muji ได้เข้าร่วมงาน New York Design Week เป็นครั้งแรก

การแสดงงานศิลป์จะตอกย้ำเอกลักษณ์ของ Muji เรื่องการเป็นสินค้าคิดใหม่ทำใหม่ ขณะเดียวกันก็ไม่มีการติดชื่อแบรนด์ลงในสินค้า เรียกว่าเป็นสินค้าประจำวันสไตล์น้อยแต่มาก minimalist ของจริง 

*** Miniso, Uniqlo, Muji บุกหนักแคนาดา

ย้อนไปเมื่อปลายเมษายนที่ผ่านมา สื่อแคนาดาตีพิมพ์ข่าวใหญ่ว่าหลังจากบริษัทค้าปลีก Ben Moss Jewellers สัญชาติแคนาดาปิดร้านขนาดใหญ่ในห้างสรรพสินค้า Metrotown Mall ในเมือง Burnaby แบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง Uniqlo ก็คว้าพื้นที่ไป พร้อมกับปรับเปลี่ยนเป็นร้านเสื้อผ้า 2 ชั้นที่โดนใจชาวแคนาดาวงกว้าง

สื่อแคนาดาถึงกับบอกว่า การแข่งขันในวงการค้าปลีกแคนาดานั้นไม่เคยรุนแรงเท่านี้ เพราะวันนี้บริษัทค้าปลีกแคนาเดียนถูกล้อมทุกด้านด้วยการยกพลของแบรนด์เอเชียทั้ง Uniqlo, Muji และ Miniso ซึ่งเปิดร้านแรกในย่าน Metro Vancouver เมื่อปี 2017 บนแผนงานท้าทายเพื่อขยายธุรกิจไปทั่วแคนาดา

ผลคือร้านค้าปลีกของเจ้าบ้านรายเก่าเช่น Sears Canada และ Future Shop กำลังเข้าสู่ภาวะยอดขายฝืดเป็นเวลาหลายปี คาดว่าจะได้รับผลกระทบไม่น้อยจากการบุกตลาดกลุ่มประเทศทวีปอเมริกาของแบรนด์เอเชีย

เรื่องนี้เห็นชัดเมื่อ Yi Ma รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Miniso ซึ่งปัจจุบันดำเนินธุรกิจผ่าน 13 สาขาใน Metro Vancouver ระบุว่ากำลังวางแผนเปิดเพิ่มอีก 2 สาขา ซึ่งนอกจากนี้ บริษัทจะมองหาเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในย่านการค้าอื่นทั้ง Metrotown และ Richmond Center ด้วย

จุดนี้สื่อแคนาดาเผยว่า การทำโปรโมชั่นลดราคาสินค้า และสถานที่จัดตั้งร้านค้า คือหัวใจสำคัญที่ทำให้ Miniso ประสบความสำเร็จมากขึ้นในแคนาดา โดยร้านค้า Miniso สาขา Granville Street ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่คนพลุกพล่านนั้นสร้างรายได้เฉลี่ย 10,000 เหรียญต่อวัน (ราว 250,000 บาท)

ในทางกลับกัน ผู้ค้าปลีกสัญชาติแคนาดากลับถูกมองว่าปรับตัวได้ช้า และยังไม่ดำเนินการเพื่อให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันได้มากเท่าที่ควร แน่นอนว่าไม่เฉพาะค้าปลีกแคนาดาที่จะต้องทำการบ้านหนักทั้งการลงทุนและการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร แต่แบรนด์ค้าปลีกทั่วโลกรวมถึงไทย ก็ต้องปรับใหญ่เพื่อให้สามารถรับมือแบรนด์ค้าปลีกยุคใหม่ให้ได้เช่นกัน.

ที่มา :

]]>
1171199
เบื้องหลังความสำเร็จ Miniso สร้างธุรกิจอย่างไร กว่าจะให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ราคาถูกใจ ซื้อง่าย ไม่ต้องคิดเยอะ https://positioningmag.com/1160939 Sun, 11 Mar 2018 02:29:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160939 Miniso (Miniso) เป็นอะไรกันแน่ เป็นแบรนด์ที่ไหน ที่สำคัญน่าสนใจอย่างไร

Miniso เป็นร้านขายสินค้าแบบเชนสโตร์ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในเวลาแค่ 2 ปี เปิดไปแล้วมากกว่า 1,000 สาขาในหลายประเทศในเอเชีย และส่วนอื่น ๆ ของโลก สาขาจำนวนมากกระจายอยู่ในจีนที่ประชากรหลุดพ้นกับดักรายได้ต่ำมาหลายปี มีกำลังซื้อและส่งผลให้แบรนด์เก่าแบรนด์ใหม่ต้องการเข้าไปรองรับ เหมือนที่ Miniso เองก็เติบโตเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มนักช้อปชาวจีน

ความลับความสำเร็จของ Miniso

ยุคดิจิทัลไม่มีอะไรเป็นความลับ ถ้าอยากจะค้นหาความสำเร็จของ Miniso ก็ต้องตามไปแกะรอยกันดูว่ามินิโซสำเร็จได้เพราะอะไร

ใครเคยมีประสบการณ์กับแบรนด์นี้ ลองนึกดูก่อนก็ได้ว่า เหตุผลอะไรที่ทำให้คุณเดินเข้าไปในร้านนี้ เหตุผลอะไรที่ทำให้คุณซื้อสินค้า เวลาที่คุณอยู่ในร้านคุณรู้สึกอย่างไร ได้ความรู้สึกอะไรใหม่ไหม แล้วอยากรู้จักแบรนด์นี้เพิ่มจากที่เห็นอีกหรือเปล่า

ลูกค้า Miniso จำนวนไม่น้อยรู้จักและมีประสบการณ์กับร้านก่อนที่จะรู้จักแบรนด์ถูกการจัดแต่งหน้าร้านดึงดูดให้เดินเข้าไป

บางคนก็ยอมรับตรง ๆ ว่าเพราะป้ายราคาที่ดูถูกแต่ตัดกับบรรยากาศร้านที่ดูแพงทำให้อยากแวะเข้าไปดู

บางคนที่เคยไปแล้ว ถ้ามีโอกาสผ่านไปอีกก็จะต้องขอแวะเข้าไปใหม่ทุกครั้ง เพราะเชื่อว่าการได้เดินในร้าน Miniso จะทำให้เห็นอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ไม่คาดคิด และบ่อยครั้งที่กลับออกมาพร้อมของติดไม้ติดมือที่อดไม่ได้ทั้งที่ไม่ตั้งใจมาซื้ออะไรตั้งแต่แรก

โดยรวมแล้ว ความรู้สึก และพฤติกรรมทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นที่มาความสำเร็จของ Miniso ในฐานะแบรนด์ค้าปลีกหน้าใหม่ ที่ติดตลาดอย่างรวดเร็ว และไม่ใช่แค่ประเทศเดียว แต่ในหลายประเทศพร้อม ๆ กัน ด้วยการซินเนอร์ยี่จุดแข็งของธุรกิจในเอเชียที่นำมารวมกันไว้ในการให้กำเนิดแบรนด์

เริ่มจากการใช้ดีไซน์สินค้า รวมถึงการจัดแต่งร้านที่ให้ความรู้สึกแบบสินค้าและร้านจากญี่ปุ่น แต่ใช้ฐานการผลิตจากแหล่งซัพพลายเออร์ที่ใหญ่และถูกที่สุดในโลกจากจีน และกระจายไปในตลาดที่มีอัตราเติบโตสูงสุดของโลกในยุคนี้ของภูมิภาคเอเชีย ทั้งในประเทศจีนและอีกหลายประเทศในเอเชีย และไม่ละเลยที่จะเข้าไปเปิดในยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกา รวมทั้งแผนการเปิดร้านแบบปูพรมในอินเดียด้วย ทำให้มินิโซกลายเป็นร้านที่หากคนไม่รู้แบ็กกราวนด์ของแบรนด์ก็เดาไม่ออกเลยว่า แท้จริงแล้วแบรนด์นี้จัดเป็นแบรนด์ญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลีกันแน่ เพราะนับตั้งแต่เปิดตัวมา Miniso Tie-in หนักมากในซีรีส์เกาหลีหลายเรื่อง

ต้นกำเนิดของ Miniso เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2013 นี้เอง โดยโพสิชันนิ่งตัวเองเป็นแบรนด์นิวไลฟ์สไตล์ของโลก ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี คือราวปลายปี 2015 ก็มีร้านมากกว่า 1,000 สาขา ใน 60 ประเทศทั่วโลก และทำยอดขายรวมสูงถึงราว 750 ล้านเหรียญสหรัฐ และเติบโตอีกเท่าตัวในปี 2016 เป็น 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าภายในปี 2020 จะมีสาขาเพิ่มเป็น 6,000 สาขา และมีรายได้มากถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

สถานะของแบรนด์จึงเป็นร้านค้าปลีกที่ทำเงินสวนทางกับทิศทางค้าปลีกที่ถูกตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ค่อย ๆ กลืนกินส่วนแบ่งดังที่เห็นทั่วไปในปัจจุบันหรือแม้ Daiso ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายสินค้าราคาเดียวที่เกิดมาก่อนก็ยังเบนเข็มมุ่งไปสู่ค้าปลีกออนไลน์เป็นหลักมากขึ้น

ถอดรหัสความสำเร็จ Miniso ผ่าน Customer Experience

ตัวร้าน Miniso จะตกแต่งแบบทันสมัยสไตล์ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะไปเปิดตัวที่ไหน งานเปิดตัวของร้านจะใช้รูปแบบของวัฒนธรรมญี่ปุ่น มาสร้างสีสันในวันเปิดร้าน พร้อมตอกย้ำให้ผู้บริโภครับรู้ว่าสินค้าของร้านเป็น Japanese Designer Brand ด้วยการติดป้ายไว้ให้เห็นชัดเจนในร้าน

ความโดดเด่นของดีไซน์และการจัดร้านทำให้ไม่ต้องสนใจว่าจะผลิตจากที่ไหนและในการเปิดร้านใหม่ก็จะเชิญบรรดาเซเลบริตี้แต่ละประเทศมาร่วมงาน พร้อมกับกลยุทธ์สร้างแถวยาวเหยียดด้วยโปรโมชั่นในวันเปิดร้าน เพื่อสร้างความสนใจกับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป

Miniso จะเลือกทำเลที่ตั้งร้านบนถนนสายหลัก ขนาดร้านราว ๆ 200 ตารางเมตร มีสินค้าให้เลือกมากกว่า 3,000 เอสเคยู ซึ่งทั้งหมดเป็นสินค้าที่ผลิตภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ตั้งแต่สินค้าประเภทเครื่องสำอาง ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องเขียน ของใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็ก ฯลฯ พร้อมด้วยกลยุทธ์โฆษณาหน้าร้านด้วยป้ายสินค้าราคาถูก ทำให้สินค้าโดยรวมในร้านก็จะไม่เน้นจำหน่ายของราคาแพง แต่จะเน้นสินค้าที่เด่นด้วยดีไซน์เป็นหลัก ต่างจากที่จำหน่ายในร้านค้าทั่วไป

แล้วถ้าจะถามว่าใครที่ชอบเดินดูเดินซื้อของบ่อย ๆ โดยมากมักหนีไม่พ้นกลุ่มผู้หญิง  Miniso เองก็เลือกที่จะทาร์เก็ตกลุ่มสาว ๆ เป็นหลัก ที่ชื่นชอบทั้งเรื่องดีไซน์ของสวย ๆ งาม ๆ อะไรที่ใหม่ ๆ มาไวไปไว

ภาพที่พบเห็นได้จากลูกค้าในร้าน Miniso ที่กล่าวมานี้ เมื่อนำมาถอดรหัสก็จะพบกลยุทธ์สำคัญไม่กี่เรื่อง ที่เป็นองค์ประกอบความสำเร็จที่แท้จริงของ Miniso นั่นเอง โดยกลยุทธ์สำคัญที่ Miniso ใช้ได้แก่

1. ใช้จุดแข็งของคาแร็กเตอร์ความเป็นญี่ปุ่น ที่ได้รับการยอมรับเรื่องดีไซน์และไลฟ์สไตล์ รวมถึงมาตรฐานสินค้าเป็นตัวชูโรง เริ่มตั้งแต่การออกแบบร้าน การจัดวางสินค้า ชุดพนักงาน การให้บริการ รวมทั้งการใช้ตัวอักษรคันจิ (อักษรจีนที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นประกอบการตกแต่งในร้าน รวมถึงใช้ในตัวโลโก้ซึ่งมีทั้งแบบที่ใช้อักษรตัวฮิรางานะและภาษาอังกฤษที่มีอักษรจีนอยู่ด้านล่าง

2. เลือกทำเลสำคัญ ในต่างประเทศส่วนใหญ่ Miniso จะเลือกเปิดบนถนนช้อปปิ้งที่สำคัญ ยกเว้นประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่เน้นเปิดในศูนย์การค้า เพราะคนไทยชอบไปเดินห้าง และปัจจุบันมีสาขาเข้าไปกว่าครึ่งร้อยแล้ว

การเลือกทำเลแบบนี้เข้าตำรา High Risk, High Return. เพราะเป็นจุดที่มีทราฟิกสูงแต่ต้นทุนค่าใช้จ่ายก็สูงด้วย ยิ่งสำหรับบริษัทที่ขายสินค้าประเภทฟาสต์มูฟวิ่งที่มีข้อจำกัดในการทำกำไร แต่ก็ยังมีข้อดีในเรื่องของทำเลที่จะทำให้ร้านเป็นที่รู้จักและถูกเห็นอย่างรวดเร็ว

รวมถึงจุดที่เซอร์ไพรส์ที่สุดก็คือ การขายของถูกในทำเลค่าเช่าแพง ยิ่งทำให้คนรู้สึกของที่ขายไม่แพงเข้าไปอีก แต่ถ้าขายไม่ดีจริงถือว่าเสี่ยงสุด ๆ 

แต่ Miniso ใช้หลักการว่า ถ้าทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าอะไรสักอย่างที่ราคาไม่แพงได้ตลอดเวลา มันก็คุ้มที่จะลองเสี่ยงดู เพราะการอออกแบบร้านที่เปิดโล่ง ต่อให้ไม่คิดจะซื้ออะไรก็เปิดโอกาสให้ลูกค้าเดินเข้ามาชมเล่น ๆ ด้วยความยินดี ยิ่งของราคาไม่แพงโอกาสหยิบติดไม้ติดมือกลับไปก็มีสูง

3. ยกระดับสินค้าด้วยการดีไซน์และแพ็กเกจจิ้ง แม้จะเน้นขายราคาถูก ไม่ว่าใครก็ชอบของดีราคาถูก ถึงแม้จะรู้ว่ามันอาจจะไม่มีอยู่จริงในโลกนี้

ในบรรจุภัณฑ์ของสินค้าในร้าน Miniso จะเลือกใช้ตัวอักษรคันจิ (อักษรจีนในภาษาญี่ปุ่น) เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ซื้อบนบรรจุภัณฑ์ วิธีนี้ได้ประโยชน์สองต่อเพราะได้ทั้งความเป็นญี่ปุ่นและเอาใจลูกค้าจีนซึ่งถือเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ทั้งในจีนและอีกหลายประเทศที่มีการใช้ภาษาจีนอีกด้วย

4. ยืมมือแบรนด์ดังช่วยขาย สินค้าบางไอเท็มของ Miniso ยอมเพิ่มต้นทุนด้วยการซื้อลิขสิทธิ์แบรนด์ดังมาใช้ในการผลิตสินค้า เช่น การใช้ตัวการ์ตูนดิสนีย์กับสินค้าขนาดเล็กที่ทำให้สินค้าได้รับความสนใจมากขึ้น นอกเหนือจากได้เรื่องการยกระดับภาพลักษณ์ของค้าปลีกที่เกิดมาเพื่อขายสินค้าราคาถูกแต่มีดีไซน์ที่ได้รับการยอมรับได้เร็วขึ้นจากลิขสิทธิ์เหล่านี้ เพราะอย่างน้อยก็จะทำให้ลูกค้าที่เคยมีประสบการณ์กับสินค้าลิขสิทธิ์มาก่อนอึ้งไปว่า สินค้าถูกลิขสิทธิ์ขายได้ราคาถูกแบบนี้ด้วยหรือ 

เรื่องเด็ดของดีไซน์และแพ็กเกจ ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ ปฏิเสธไม่ได้ว่า เห็นร้าน Miniso แล้วหลายคนคิดถึงมูจิ (MUJI) แบรนด์ที่ทำให้สินค้าธรรมดาที่เน้นประโยชน์ด้านการใช้งานกลายเป็นของมีระดับประสบความสำเร็จมาแล้วนั่นเอง

5. ราคา ที่ดึงดูดลูกค้ามาก ๆ คือความรู้สึกถูกกว่าที่คิดผู้บริหาร Miniso เองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องการออกแบบสินค้าอย่างมาก โดยสินค้าที่เลือกผลิตมาจำหน่ายจะต้องเป็นสินค้าที่อยู่ในเทรนด์เรียบง่ายดูดีด้วยดีไซน์ แต่ต้องทำให้นักช้อปเซอร์ไพรส์กับราคาที่คิดไม่ถึง

ที่จีน Miniso จะดึงลูกค้าเข้าร้านด้วยป้ายราคา 10 หยวน แต่ที่ไทยเริ่มต้นที่ 69 บาท แต่ผลปรากฏว่า ลูกค้ามักจะหยิบสินค้าที่แพงกว่าราคาหน้าร้าน โดยสินค้าในร้านที่อยู่ในราคาเริ่มต้นจะมีเพียง 30-40% ของสินค้าทั้งหมด ที่เหลือจะเป็นสินค้าที่ราคาสูงกว่า แต่ด้วยความที่การจัดเรียงสินค้าสวยงาม บรรจุในแพ็กเกจจิ้งและมีดีไซน์สวย ทำให้ลูกค้ายอมรับได้กับราคาที่แพงขึ้นและไม่รู้สึกว่าสินค้านั้นแพง

โดยร้านก็จะไม่สะกิดใจลูกค้าด้วยราคา เพราะฉะนั้นตรงชั้นวางจะไม่มีป้ายราคาแต่จะมีติดไว้เป็นโซน ๆ

ดังนั้นแม้ Miniso จะถูกพูดถึงว่าเป็นร้านสินค้าทุกอย่างราคา 69 บาท แต่จริง ๆ แล้วในสต๊อกของร้านมีสินค้าที่แพงกว่านั้นในสัดส่วนที่มากกว่า และแต่ละรายการมีกำไรต่อชิ้นขั้นต่ำประมาณ 25%

6. สินค้าหลากหลาย การหาสินค้าแปลกใหม่หมุนเวียนเข้ามาในสไตล์ฟาสต์มูฟวิ่งโปรดักต์จำนวนมากนี้ ไม่ใช่เรื่องเหนื่อยสำหรับ Miniso เพราะบริษัทมีโรงงานขนาดใหญ่ที่ผลิตได้ในต้นทุนต่ำในจีน และ Miniso ยังมีทีมงานที่จะคอยต้อนรับและหาซัพพลายเออร์จำนวนมากจากทั่วโลกมานำเสนอสินค้าให้คัดเลือกมาจำหน่าย และใช้เทคนิคการบริหารรอบการจ่ายเงินที่เหมาะสม ซึ่งช่วยทำให้ลดต้นทุนสินค้าไปด้วยในตัว

7. ความไว เป้าหมายของ Miniso คือให้ลูกค้าแวะและซื้อของติดมือทุกครั้งที่แวะมา นั่นแสดงว่าบริษัทก็ต้องหาสินค้าใหม่ ๆ มารองรับซึ่งต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าสินค้าประเภทฟาสต์แฟชั่นเสียอีก สำคัญกว่านั้นคือต้องขายออกอย่างรวดเร็ว ซึ่ง Miniso ใช้หลักการขายสินค้าด้วยคอนเซ็ปต์ของการขายอาหารคือขายให้ไวที่สุดก่อนที่สินค้าจะหมดอายุ แม้สินค้าที่ขายจะเป็นนอนฟู้ดก็ตาม

ทั้งนี้ Miniso มีสินค้าประเภทอาหารจำหน่ายเล็กน้อยในร้าน ส่วนใหญ่เป็นพวกเครื่องดื่มและขนม แต่มีแผนจะขยายสินค้าในแผนกนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต ตามรอยแม่แบบอย่างมูจิทีละสเต็ปกันเลยทีเดียว

บทสรุปจากแบรนด์ Miniso

1. มีผู้นำย่อมมีผู้ตาม ความสำเร็จอย่างรวดเร็วของ Miniso ทำให้เกิดการขยายตัวของร้านสินค้าราคาเดียวหลายร้าน ในระดับเอเชียทำให้ร้าน Daiso ซึ่งเกิดมาก่อน ตื่นตัวอีกครั้ง และทำให้แบรนด์ต้นแบบอย่าง MUJI ยิ่งต้องรักษามาตรฐานและยกระดับระยะห่างขึ้นไปอีก แต่ความสำเร็จของ Miniso ทำให้หลายแบรนด์เห็นโอกาสและช่องว่างที่จะแทรกตัวเข้ามาในตลาด จนทำให้เกิดร้านประเภทเดียวกันจำนวนมาก รวมทั้งร้านทุกอย่าง 20 บาทก็เริ่มพัฒนายกระดับตัวเองเช่นกัน

2. แบรนด์ยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติชัดแต่คอนเซ็ปต์ต้องชัด กรณีของ Miniso ออกมาแรก ๆ ทุกคนงงว่าตกลงแบรนด์นี้เป็นของชาติไหนกันแน่ แต่นั่นไม่สำคัญเท่าคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ที่จะสร้างการรับรู้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่จะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จได้มากกว่า อีกทั้งผู้บริโภคยุคนี้ก็ยอมรับได้ว่าคุณภาพการผลิตสินค้าจะผลิตที่ไหนไม่สำคัญเท่ากับการควบคุมมาตรฐานการผลิตของแบรนด์

3. การลดสเกลเพื่อตอบสนองผู้บริโภคใกล้ตัว เมื่อ Miniso ตามรอยมูจิได้ด้วยการใช้ความแตกต่างเรื่องราคา สิ่งที่เกิดขึ้นกับแบรนด์เล็ก ๆ ในไทย ก็ทำให้ Miniso มีคู่แข่งแบรนด์ต่าง ๆ เกิดขึ้นด้วยความเชื่อแบบเดียวกันจากร้านราคาเดียวซื้อง่ายไม่คาดหวังคุณภาพสินค้าสูง   

]]>
1160939
ผ่าธุรกิจ ร้านราคาเดียว เกาะกระแสญี่ปุ่นดูแพงขายถูก ปูพรมสาขา ตลบหลังค้าปลีกซบออนไลน์ https://positioningmag.com/1152434 Wed, 03 Jan 2018 23:07:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152434 ขณะที่เจ้าตลาดค้าปลีกรายใหญ่ คิดหนักกับการลงทุนหน้าร้าน หรือ Physical Store ที่มีต้นทุนสูง ทั้งค่าเช่าที่ ตกแต่ง สต็อกสินค้า จ้างพนักงาน สวนทางกับยุคที่ค้าปลีกออนไลน์กำลังเฟื่องฟู และเลือกที่จะหันไปวางกลยุทธ์หาแนวทางเติบโตจากอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น แต่ร้านค้าประเภททุกอย่างราคาเดียว กลับคิดตรงกันข้าม ทั้งแบรนด์เก่าแบรนด์ใหม่ แบรนด์ไทยแบรนด์เทศ ลุยหาแฟรนไชส์ เร่งเปิดสาขา จนกลายเป็นร้านที่เข้าไปทดแทนพื้นที่ค้าปลีกในทุก ๆ ห้าง หรือแม้กระทั่งห้างสรรพสินค้าอย่างโรบินสัน ก็เลือกที่จะเล่นเกมนี้ด้วยตัวเอง ด้วยการเปิดร้านราคาเดียวของตัวเองออกมาเสียเลย

***จุดขายทุกอย่างราคาเดียวแค่สินค้าและราคาตอบโจทย์ไม่ครบ***

สิ่งที่เหมือนกันของร้านสินค้าราคาเดียวที่แข่งกันเปิดแพร่ไปทุกพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ไม่ใช่ชูจุดขายแค่ราคาเดียว ราคาถูก แต่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกในระดับที่พอยอมรับได้สมกับราคาเท่านั้น แต่วันนี้ แม้แต่ร้าน 20 บาททุกอย่างก็ขึ้นห้างทำกำไรได้ ถ้ามีส่วนประกอบของร้านที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และมีกลยุทธ์ที่ทำให้ลูกค้าหยิบสินค้ามากกว่าหนึ่ง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องราคา เพราะเห็นคุณค่าที่สูงกว่าสินค้าที่จับต้องได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจำเป็นที่ตั้งใจมาซื้อ หรือสินค้าประเภท Impulse Buy ที่ไม่ได้วางแผนมาก่อนแต่เห็นแล้วถูกใจก็คว้าเลย

เรียกว่าด้วยคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจนก็สามารถเปิดขยายร้านง่ายและขยายได้เร็ว โดยส่วนมากนิยมใช้ระบบแฟรนไชส์ให้กับกลุ่มคนที่สนใจอยากลงทุนมีธุรกิจของตัวเอง พร้อมกับแนวคิดง่าย ๆ ว่า ตราบใดที่คนยังเดินห้าง โอกาสค้าขายก็ยังมีอยู่ เพียงแต่จะทำให้อย่างไรให้คนเลือกหยิบและซื้อสินค้าได้เร็วและไม่ลังเล

****ใช้ความเป็นญี่ปุ่นชูคุณภาพ***

สิ่งแรกที่ทุกร้านของกลุ่มร้านขายสินค้าราคาเดียวที่มีอยู่ในปัจจุบันเลือกใช้นอกเหนือจากการใช้กลยุทธ์ราคาถูกราคาเดียว ก็คือ ดีไซน์ การตกแต่งร้าน รวมถึงสินค้า ที่ชูความเป็นญี่ปุ่น แต่จะเป็นญี่ปุ่นแถวย่านฮาราจูกุ กินซ่า โอซาก้า ชินจูกุ หรือแบบไหนก็แตกต่างกันไปในรายละเอียดที่แต่ละร้านจะเลือกใช้

ความเป็นญี่ปุ่นนี้ยังรวมไปถึงตัวสินค้า บรรจุภัณฑ์ ชุดพนักงาน สไตล์การให้บริการ และแน่นอน แม้กระทั่งชื่อร้าน ก็ล้วนแต่ตั้งชื่อที่ฟังดูแล้วเป็น ญี่ปุ๊นญี่ปุ่นแทบทุกร้านเช่นกัน

ตัวอย่างร้านทุกอย่างราคาเดียวที่มีอยู่ตอนนี้ และทั้งหมดล้วนเป็นและอยากดูเป็นแบรนด์ญี่ปุ่น เช่น

ร้านโตคูยะ

แฟรนไชส์ร้านค้าราคาเดียวที่ขายทุกอย่าง 60 บาท ร้านนี้มาจากญี่ปุ่นแท้ ๆ เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ของเซ็กเมนต์นี้ที่ทำธุรกิจร้านทุกอย่างราคา 100 เยนอยู่ในญี่ปุ่นและมีสาขาอีกในหลายประเทศทั่วโลก มีบริษัท โตคูยะ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย สินค้าประมาณครึ่งหนึ่งของร้านผลิตที่ญี่ปุ่น ที่เหลือผลิตจากจีนและไต้หวัน เกือบ 100% ขายในราคา 60 บาทตามที่บอกไว้จริง ๆ มีเพียงแค่ 3% ที่เป็นสินค้าพรีเมียมเกรดซึ่งจะมีราคาตั้งแต่ 80-300 บาท

ภาพจาก : facebook.com/TokutokuyaThailand

จุดเด่นของร้านสำหรับนักลงทุนที่อยากมีกิจการร้านทุกอย่างราคาเดียว สามารถลงทุนได้ในวงเงิน 3 ล้านบาทสำหรับร้านขนาด 90 ตารางเมตรขึ้นไป โดยเป็นค่าแฟรนไชส์ประมาณ 3 แสนบาท ซึ่งแฟรนไชซีจะได้รับความช่วยเหลือในการเลือกทำเลพร้อมวิเคราะห์สินค้าที่จะจำหน่ายในร้าน ซึ่งโดยเฉลี่ยแต่ละร้านจะขายสินค้าได้ประมาณ 6,000-20,000 ชิ้นต่อเดือน มีกำไรอยู่ที่ 40% ขึ้นกับทำเล เฉลี่ยมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 3-5 ปี

ร้านเอโกะ

ชื่อญี่ปุ่นแบรนด์ไทย ขายทุกอย่าง 20 บาท ของบริษัท เอกดำรง มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เน้นขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์สำหรับคนที่มีทุนค่าแฟรนไชส์เริ่มต้น 3 แสนบาทขึ้นไป ไม่รวมค่าสินค้าภายในร้านตั้งแต่ 1.5-4.0 แสนบาท ซึ่งทางบรษัทจะจัดความเป็นญี่ปุ่นในร้านให้ตั้งแต่ป้ายหน้าร้าน ชั้นวางสินค้า การจัดเรียงและตกแต่งร้าน รวมไปถึงอุปกรณ์เสริมความเป็นญี่ปุ่นในส่วนสินค้าสมนาคุณ อาทิ ผ้ากันเปื้อนชื่อร้าน ธงขาวญี่ปุ่น โคมไฟญี่ปุ่น ธงปลาคาร์ฟ ถุงใส่ของ ตะกร้าชอปปิ้ง ฯลฯ

Bear Store

สินค้าสไตล์ญี่ปุ่นในราคา 20 บาท ตกแต่งร้านแนวญี่ปุ่นน่ารักทันสมัย และเน้นสินค้าที่ดูแพงกว่าราคา เป็นร้านที่มีเจ้าของเป็นคนไทย และทำการศึกษามาอย่างดีทำให้รู้ว่า ถ้าจะจับจุดลูกค้าไทยต้องเสนอสินค้าสไตล์ญี่ปุ่น และถึงจะราคาถูกแต่ก็ต้องนำเสนอสินค้าที่เป็นเทรนด์ เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องหาโรงงานผลิตได้ต้นทุนต่ำเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดูเกินราคา 20 บาท พร้อมกับมีทีมตลาดประจำที่ญี่ปุ่นเพื่อคอยตามเทรนด์สินค้าในแต่ละฤดูกาล และเน้นสินค้าหลากหลาย ทำให้ลูกค้ามาแล้วจะต้องหยิบสินค้าติดมือไปมากกว่าที่ตั้งใจมาซื้อ

ภาพจาก : facebook/BearStore
ภาพจาก : facebook/BearStore

และถึงจะเป็นแบรนด์ไทยก็ใส่ใจความเป็นญี่ปุ่นถึงขนาดสั่งยูนิฟอร์มจากฮาราจูกุ ให้พนักงานใส่เพิ่มบรรยากาศความเป็นญี่ปุ่น เอาจริงขนาดนี้แบร์สโตร์กะว่าจะขยายให้ครบ 30 สาขาภายใน 3-5 ปี ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเลือกเปิดเฉพาะร้านที่อยู่ห้างหรือซูเปอร์สโตร์เท่านั้น

Moshi Moshi

อีกแบรนด์จากญี่ปุ่น ที่เพิ่งครบรอบ 1 ปี นอกจากชื่อการจัดร้านก็ฟรุ้งฟริ้งมุ้งมิ้งแบบญี่ปุ่น ร้านนี้ถึงจะมาจากญี่ปุ่นแท้ แต่ก็ดึงดูดด้วยราคาเริ่มต้นที่ 20 บาทเช่นกัน แต่ของส่วนใหญ่ในร้านราคาพรีเมียมกว่าราคาโปรโมต แน่นอนลูกค้ารับได้ด้วยลุคแอนด์ฟิลที่เชื่อว่าราคาสูงกว่า 20 บาท แล้วก็มีแผนเตรียมขยายสาขาร้านเพิ่มเช่นเดียวกัน แต่อาจจะไปแบบเนิบ ๆ กว่ารายอื่นเล็กน้อยด้วยเป้าการเพิ่มเพียงแค่ 3 สาขาในปีนี้

ภาพจาก : facebook/moshimoshi

Miniso

แบรนด์นี้ชื่อไม่ชัดว่าเป็นญี่ปุ่นจ้า แต่ลุคแอนด์ฟีลไม่ผิดเพี้ยน แถมด้วยแท็กไลน์ใต้ชื่อร้านที่ติดไว้ในร้านว่า เป็น Japanese Designer Product ชัดเจน แม้จะมีผู้ร่วมก่อตั้งเป็นชาวจีนและมีแหล่งผลิตสินค้าในจีนเป็นหลัก ราคาเริ่มต้นแพงกว่าทุกแบรนด์รวมถึงต้นตำรับ เพราะโฆษณาหน้าร้านด้วยป้ายราคา 69 บาท ซึ่งราคาสินค้าต่ำสุดจะมีอยู่ไม่ถึงครึ่งเพียง 30-40% เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นสินค้าที่เกรดพรีเมียมขึ้นไปที่มีราคาสูงกว่าไล่ไปตั้งแต่ 99, 139 จนถึง 199 บาท

Miniso ถือว่ามาแรงที่สุดด้วยเป้าหมายที่จะขยายร้านให้ได้ถึง 100 สาขาภายใน 2 ปี (2016-2017) นั่นเท่ากับการไล่จี้ต้นตำรับร้านราคาเดียวอย่าง Daiso ที่ตอนนี้มีอยู่ 100 กว่าสาขามาติด ๆ โดยตอนนี้มีจำนวนสาขามากกว่า 50 สาขา คาดว่าเป้าหมายการขยายสาขาของบริษัทน่าจะประเมินจากจำนวนห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์เซ็นเตอร์ ที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย เพราะแม้โดยกลยุทธ์ของ Miniso ในประเทศต่าง ๆ กว่า 60 ประเทศ โดยเฉพาะในจีนที่มีอยู่กว่า 1,000 สาขาจากจำนวนสาขาของมินิโซทั่วโลกตอนนี้ที่มีอยู่ประมาณ 1,400 สาขา จะเลือกทำเลถนนชอปปิ้งสายสำคัญเป็นทำเลหลักในการเปิดร้าน แต่สำหรับเมืองไทย Miniso เลือกเปิดเฉพาะในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่ผู้บริโภคไทยนิยมไปชอปปิ้งเท่านั้น เหมือน ๆ กับแบรนด์อื่น

ภาพจาก : facebook.com/minisothai/

เพนกวิน

รายนี้ชื่อไม่ชัดว่าเป็นญี่ปุ่น กลยุทธ์เรื่องราคาแรงที่สุดด้วยราคาเริ่มต้น 12 บาท ถูกกว่าร้านทุกอย่าง 20 บาท ที่เปิดขายในตลาดนัดเสียอีก แต่คุมโทนเป็นญี่ปุ่นด้วยคาแร็เตอร์การ์ตูนรูปเพนกวินที่เห็นชัดว่าเป็นแบบญี่ปุ่นมากกว่าจะเลือกใช้ลายเส้นการ์ตูนแบบตะวันตก ด้วยโพสิชันนิ่งแบบนี้ ร้านเพนกวินก็จะเน้นเปิดอยู่แถวห้างชานเมืองอย่างเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด ถ้าขยับเข้าเมืองก็จะเลือกเปิดร้านในไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่นที่เทสโก้ โลตัส พระราม4

ภาพจาก : facebook.com/penguin12shop

นอกจากตัวอย่างที่ยกมานี้ ร้านต้นแบบที่ทำให้ทุกคนรู้จักร้านราคาเดียวสไตล์ญี่ปุ่นในไทยอย่าง ไดโซะ (Daiso) ก็ยังอยู่แต่หันไปมุ่งออนไลน์หนักขึ้น และแบรนด์อื่นอีก เช่น Komonoya (โคโมโนยะ) Just Buy (จัสท์บายจากโรบินสัน) Arcova (อาร์โควา) Can Do (แคนดู) ฯลฯ

***ออนไลน์ปัจจัยทำให้ร้านราคาเดียวแพร่พันธุ์เป็นดอกเห็ด***

ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมค้าปลีกไทย ให้ข้อสังเกตถึงปัจจัยที่ทำให้ร้านทุกอย่างราคาเดียวซึ่งจัดอยู่ในร้านสเปเชียลตี้สโตร์ ได้เกิดขึ้นมากมายต่อเนื่อง และขยายตัวเร็วกว่าการเข้ามาของร้านค้าปลีกกลุ่มสเปเชียลตี้สโตร์ ประเภทที่มีสินค้าประเภทเครื่องสำอางหรือเวชสำอางเป็นตัวนำ ที่เคยมาแรงในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าโลกออนไลน์ ซึ่งทุกคนมองว่าจะทำให้ร้านค้าปลีกขาดลูกค้า จะกลายเป็นตัวผลักดันให้เกิดกระแสการเกิดขึ้นของร้านค้าประเภทนี้โดยตรง

เนื่องจากผู้บริโภครับรู้ข้อมูลข่าวสารได้เร็วจากการอยู่ในโลกดิจิทัล ทำให้เห็นโลกกว้าง รับข้อมูลข่าวสารไว ซึ่งมีผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคโดยตรง และส่งผลให้เทรนด์ต่าง ๆ ทั้งสินค้าใหม่ ไม่เฉพาะเรื่องของแฟชั่น มาไวไปไวด้วยเช่นกัน

ส่งผลให้พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็ว จนนักการตลาดบ่นไปตาม ๆ กันว่า ยุคนี้ต้องตามพฤติกรรมผู้บริโภคให้ทัน และที่สำคัญคือทัศนคติที่มีผลโดยตรงต่อร้านค้าประเภททุกอย่างราคาเดียว ที่ผู้บริโภคจำนวนมากหันมาซื้อสินค้าราคาประหยัด ตัดสินใจซื้อง่าย และไม่เสียดายที่จะต้องซื้อหรือเปลี่ยนใหม่อย่างรวดเร็วตามเทรนด์ที่เปลี่ยนไป

***ถึงทุกอย่างราคาเดียว แต่สินค้าต้องหลากหลาย ****

อย่างไรก็ตาม การที่ลูกค้าซื้อสินค้าง่ายขึ้นในราคาที่ถูกลง แต่ก็ไม่ได้หมายความร้านสินค้าราคาเดียวจะอยู่ได้ด้วยการนำเสนอสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด ซึ่งแต่ละร้านเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในจุดนี้ดี และจัดแบ่งหมวดหมู่พร้อมจำนวนสินค้าจำนวนมากไว้ให้ลูกค้าเลือกอย่างจุใจในพื้นที่จำกัด เรียกว่าการบริหารร้านสินค้าราคาเดียวทุกอย่างต้องกระชับและชัดเจน เพื่อทำให้สินค้าขายได้ไวและหมุนเวียนสินค้าเข้ามาใหม่ในลักษณะของ Very Fast Moving Product เลยทีเดียว

แต่ละร้านแม้จะมีพื้นที่ร้านตั้งแต่ 90 ตารางเมตร ไปจนถึงแฟลกชิปสโตร์ขนาด 300 ตารางเมตร แต่ขนาดพื้นที่ร้านที่นิยมส่วนใหญ่จะอยู่แค่ 100 ตารางเมตรบวกลบ จึงอัดแน่นเป็นด้วยการจัดเรียงสินค้าตั้งแต่ใกล้ ๆ 1,000 ไปจนถึง 5,000 ไอเท็ม แน่นอนว่าสินค้าต้องจัดเรียงให้ดูง่าย หยิบสะดวก และยังสวยงามด้วย ตั้งแต่ตัวสินค้า แพ็กเกจจิ้ง ไปจนถึงการจัดเรียงในแบบญี่ปุ่น

****สินค้าส่วนใหญ่จับกลุ่มวัยรุ่น-วัยเริ่มทำงาน***

เมื่อร้านราคาเดียวส่วนใหญ่ชูความเป็นญี่ปุ่น เน้นให้ดูมีคุณภาพเหนือราคา พัฒนาสินค้าตามเทรนด์ ทำให้ตีโจทย์ได้ไม่ยากเลยว่า แทบทุกร้านเล็งกลุ่มเป้าหมายไปที่กลุ่มวัยรุ่นถึงวัยเริ่มทำงานเป็นหลัก เพราะสินค้าส่วนใหญ่เป็นทั้งของที่คนกลุ่มนี้จำเป็นต้องใช้ไปจนถึงซื้อด้วยอารมณ์ความรู้สึกทันทีที่ถูกใจแบบ Impulse Buy ซึ่งเป็นสูตรของส่วนผสมหลักของสินค้าในร้านเหล่านี้

จนแม้กระทั่ง Daiso เจ้าตลาดซึ่งเคยเด่นเรื่องสินค้าในกลุ่มของใช้ในครัวที่มุ่งเจาะกลุ่มแม่บ้าน ก็ยังต้องปรับตัวมาเพิ่มไอเท็มสำหรับกลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในหมวดสกินแคร์และเครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งเป็นสินค้าไฮไลต์จากญี่ปุ่นเข้ามาเพิ่มเติม

Miniso เองที่ไล่บี้ Daiso มาติด ๆ ทั้งจำนวนสาขา และความเป็นญี่ปุ่น ที่เลือกดีไซน์เป็นแบรนด์น้อง ๆ MUJI ด้วยสไตล์การออกแบบร้านก็มีสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมความงาม เช่น เครื่องนวดหน้า ที่ได้รับกระแสตอบรับดีเช่นกัน

สินค้าของร้านทุกอย่างราคาเดียวแต่ละร้าน จะมีครบแทบทุกหมวดในลักษณะครอบจักรวาลกันเลยทีเดียว ตั้งแต่หมวดสินค้าไอเดีย ใช้ในครัว ของใช้ในบ้านทั่วไป เครื่องเขียน กิ๊ฟต์ชอป ของใช้ในห้องน้ำ ของใช้สำหรับสตรี ภาชนะ ของตกแต่ง ของกินเล่น ไปจนถึงอุปกรณ์ไอที หรืออุปกรณ์สำหรับใช้งานที่ผู้บริโภคคิดไม่ถึงหรือไม่เคยใช้มาก่อน ให้ทดลองนำไปซื้อใช้ในราคาไม่แพงตามคอนเซ็ปต์ร้าน

หากจะให้สรุปหัวใจที่ทำให้ร้านทุกอย่างราคาเดียวเติบโตขยายได้รวดเร็ว สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ การที่ร้านค้าเหล่านี้เฝ้าติดตามเทรนด์สินค้า ติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค แล้วนำสองสิ่งนี้มาเจอกันภายใต้ผลิตภัณฑ์ราคาถูก ซึ่งของใช้จำเป็นผู้บริโภคซื้อซ้ำเมื่อใช้หมด หรือกรณีสินค้าหมดอายุการใช้งานก็เกิดการซื้อซ้ำโดยไม่เสียดายหรือคาดหวังว่าจะต้องใช้ได้นาน ขณะที่สินค้าที่ตอบเรื่องเทรนด์และไลฟ์สไตล์ก็พร้อมจะตอบรับได้ง่ายด้วยราคาที่ไม่แพง ไม่ตกยุค รวมถึงอาจเป็นการชอปปิ้งบำบัดไปด้วยในตัวสำหรับนักชอปประเภท Shopaholic ที่ต้องซื้อสินค้าตลอดเวลา.

]]>
1152434