Newspaper – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 24 Dec 2022 11:33:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ลือ! สื่อใหญ่ธุรกิจ Bloomberg สนใจซื้อกิจการ Wall Street Journal หรือ Washington Post https://positioningmag.com/1413792 Sat, 24 Dec 2022 08:04:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413792 Michael Bloomberg มหาเศรษฐีเจ้าของสื่อธุรกิจและผู้ให้บริการข้อมูลด้านการเงินอย่าง Bloomberg สนใจซื้อกิจการบริษัทแม่ของ Wall Street Journal หรือ Washington Post ซึ่งถ้าหากการซื้อสื่อใดสื่อหนึ่งสำเร็จจะทำให้เสริมแกร่งกับ Bloomberg หลายด้านได้

Axios สื่อออนไลน์รายใหญ่ ได้รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Michael Bloomberg มหาเศรษฐีเจ้าของ Bloomberg สนใจที่จะซื้อกิจการสื่อคู่แข่งอย่าง Washington Post รวมถึงบริษัทแม่ของ Wall Street Journal อย่าง Dow Jones เพื่อเพิ่มฐานลูกค้า

รายงานจาก Axios ได้ชี้ว่าถ้าหาก Bloomberg ได้กิจการของ Dow Jones ซึ่งเป็นเจ้าของ Wall Street Journal เว็บไซต์ Marketwatch นิตยสาร Barron’s รวมถึงข้อมูลดัชนีการเงินต่างๆ ก็จะเป็นการเสริมแกร่งธุรกิจของ Bloomberg รวมถึงขยายฐานลูกค้าในการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่าง Bloomberg Terminal

ปัจจุบัน Dow Jones มีเจ้าของคือ News Corp ของเจ้าพ่อสื่ออย่าง Rupert Murdoch ซึ่งมีความพยายามจะควบรวมกิจการระหว่าง News Corp กับ Fox Corporation เข้าด้วยกันอีกครั้ง แต่มีความเป็นไปได้สูงว่าดีลดังกล่าวอาจโดนขวางจากนักลงทุน และอาจทำให้ Rupert Murdoch อาจตัดสินใจขายกิจการ

แต่ถ้าหาก Bloomberg ซื้อกิจการ Washington Post ก็จะทำให้ Bloomberg ได้เสริมแกร่งในด้านข่าวการเมืองของสหรัฐอเมริกามากกว่าปัจจุบัน และยังทำให้บริษัทมีสื่อในมือที่จะต่อสู้กับคู่แข่งที่เป็นสื่ออย่าง New York Times ได้ด้วย (ซึ่ง Washington Post คือคู่แข่ง)

สำหรับ Washington Post เจ้าของคือ Jeff Bezos มหาเศรษฐีเจ้าของ Amazon ที่ได้ซื้อกิจการไปในปี 2013 ด้วยมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ และปัจจุบันสื่อรายนี้ยังมีปัญหาขาดทุน ซึ่งอาจทำให้มหาเศรษฐีรายนี้ตัดสินใจขายสื่อรายดังกล่าวออกไป

อย่างไรก็ดีตัวแทนของ News Corp ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว ทางด้านตัวแทนของ Washington Post ได้กล่าวกับ Axios ว่าสื่อรายดังกล่าวไม่ได้มีไว้ขาย

]]>
1413792
Free News https://positioningmag.com/12370 Fri, 05 Feb 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=12370

ชาว London โชคดีที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อหนังสือพิมพ์เพื่ออัพเดตข่าวสาร การกีฬา เหตุบ้านการเมือง แวดวงบันเทิง เพราะเหล่าเจ้าของหนังสือพิมพ์ต่างๆ มีกลยุทธ์ในการโปรโมตหนังสือพิมพ์รายวัน โดยนำไปแจกฟรีให้ชาวเมืองที่เดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะในเขต Central London ทำให้หนังสือพิมพ์เหล่านั้นผ่านสายตานับล้านจากผู้อ่านที่สัญจรในเมืองตลอดทั้งวัน

ในช่วงเช้า หนังสือพิมพ์ Metro จะถูกแจกจ่ายฟรีให้แก่คนทำงานได้หยิบไปอ่านบนรถไฟในระหว่างเดินทางไปทำงาน ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นเวลาของค่ายหนังสือพิมพ์อย่าง London Lite มุ่งกลุ่มเป้าหมายไปที่หญิงสาววัยทำงาน โดยเขียนข่าวธุรกิจ การเมืองแบบเบาๆ แต่เน้นรูปแบบข่าวบันเทิง และแฟชั่น ซึ่งในแต่ละวัน จะมียอดพิมพ์มากกว่า 400,000 ฉบับ

ล่าสุด เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2009 ที่ผ่านมา น้องใหม่อย่าง Evening Standard เริ่มบุกตลาดใช้กลยุทธ์การแจกหนังสือพิมพ์รายวันฟรี โดยเนื้อหาสาระเน้นข่าวสารทางธุรกิจ การเมือง ที่อัดแน่นกว่า London Lite ในบางวัน Evening Standard เรียกความสนใจจากคู่แข่งโดยการแจกนิตยสารแฟชั่นเล่มโต ควบคู่กับหนังสือพิมพ์เพิ่มความบันเทิงให้แก่ผู้อ่านอีกด้วย

จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าในแต่ละวันคน London ถามหาหนังสือพิมพ์ฟรี จนเป็นคำพูดติดปากของคนวัยทำงาน หรือแม้กระทั่งนักเรียนที่อาศัยอยู่ใน London ไปเสียแล้ว

]]>
12370
หนังสือพิมพ์สู้อินเทอร์เน็ต https://positioningmag.com/12276 Tue, 05 Jan 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=12276

ในขณะที่วงการหนังสือพิมพ์หาทางรอดในยุคดิจิตอลด้วยการขายข่าวผ่านหน้าเว็บไซต์ สื่อเยอรมันกลับคิดสวนทาง มีตัวอย่างที่น่าจับตามอง คือหนังสือพิมพ์ข่าวหนักรายวันหัวสี DIE WELT ซึ่งปกติเป็นขนาดบอร์ดชีทธรรมดา ออกเล่มแท็บลอยด์ใช้ชื่อว่า WELT KOMPAKT มาลงแผงประกบตัวเอง เพื่อเจาะกลุ่มคนอ่านรุ่นใหม่ ที่ชอบติดตามข่าวสารแต่ไม่ชอบอ่านอะไรเยิ่นเย้อ และราคาก็ย่อมเยาว์ตามขนาด (0.70 ยูโร) แต่ที่สำคัญยังคงเนื้อหาสาระไว้เหมือนเล่มพี่ คุณภาพไม่มีหย่อนไปกว่ากัน

นับจากที่เปิดตัวครั้งแรกในเบอร์ลินเมื่อปี 2004 ถึงวันนี้เวลต์คอมแพคท์วางแผงในเมืองใหญ่ 44 เมืองทั่วเยอรมนี ล่าสุดออกแคมเปญ Sind wir reif? (เรามีวุฒิภาวะพอหรือ?) เพื่อช่วงชิงคนอ่านจากโลกอินเทอร์เน็ตให้กลับมาหาตัวตนดั้งเดิม คือข่าวหนังสือพิมพ์ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธพฤติกรรมของคนยุคดิจิตอลที่ชอบใช้อินเทอร์เน็ตสร้างเครือข่ายทางสังคม เวลต์คอมแพคท์จึงเปิดเวทีใน Twitter, Facebook, YouTube และ Google Wave ด้วย

]]>
12276
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ : แนวโน้มพัฒนาสู่ระบบเก็บค่าบริการสมาชิก https://positioningmag.com/49900 Wed, 04 Nov 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=49900

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารในโลกปัจจุบัน เป็นตัวผลักดันให้การพัฒนาของสื่อหนังสือพิมพ์ทั่วโลก เริ่มปรับเปลี่ยนเข้าสู่รูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ให้ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารได้สะดวกและรวดเร็วจากทั่วทุกมุมโลก โดยในระยะแรกๆเป็นการเริ่มพัฒนาในแถบประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง อาทิ สหรัฐฯ และยุโรป โดยเริ่มให้บริการหนังสือพิมพ์รูปแบบออนไลน์ควบคู่กับการจำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดั้งเดิม จนผู้อ่านมีความเคยชินกับการติดตามข่าวสารทางเว็บไซต์ ผู้ผลิตหนังสือพิมพ์จึงเริ่มหันมาพัฒนาสู่การเป็นสื่อออนไลน์มากขึ้น โดยมีการจัดเก็บค่าบริการสมาชิก เพื่อชดเชยรายได้ที่สูญเสียไปจากการจำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับที่ลดลง และเห็นได้ว่าในบางสื่อหนังสือพิมพ์จำนวนสมาชิกที่สมัครในระบบออนไลน์มีมากกว่าจำนวนสมาชิกที่สมัครในแบบฉบับกระดาษหลายเท่าตัว

ส่วนหนังสือพิมพ์ของไทยคาดว่าอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้อ่านให้เคยชินกับการอ่านข่าวบนหน้าเว็บไซต์ โดยปัจจุบันให้บริการแก่ผู้อ่านโดยไม่คิดค่าบริการ แต่สร้างรายได้จากการขายพื้นที่โฆษณาในหน้าเว็บไซต์ที่มีแนวโน้มเติบโตจากปีที่แล้วถึง 2 เท่าตัว ซึ่งสวนทางกับมูลค่าตลาดโฆษณาโดยรวมในประเทศที่หดตัวลง ซึ่งเป็นการเติบโตตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต สอดคล้องกับข้อมูลการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยในปี 2551 ที่มีจำนวนถึง 18.3 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึงร้อยละ 18 โดยผู้ใช้ 1 คนใช้เวลาเข้าอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยประมาณวันละ 5-10 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึงเท่าตัว จึงคาดว่าในช่วง 4-5 ปีนี้สื่อหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับต่างกำลังปรับตัว เตรียมพัฒนาระบบเว็บไซต์ข่าวให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งระบบการจัดเก็บข้อมูลและการเรียกใช้ข้อมูล ซึ่งมีต้นทุนในการดำเนินการค่อนข้างสูง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับกับรูปแบบการบริการข่าวสารที่จะเข้าสู่ระบบเก็บค่าสมาชิกในอนาคต โดยเน้นการนำเสนอข่าวที่รวดเร็ว ละเอียด สามารถสืบค้นข่าวย้อนหลัง อีกทั้ง จากการพัฒนาความเร็วในการรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถรับชม/รับฟัง คลิปวิดีโอ/คลิปเสียงข่าวหรือเหตุการณ์สำคัญๆได้ หรือแม้กระทั่งการเปิดห้องสนทนาให้ผู้อ่านมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สื่อข่าวแบบออนไลน์ เพราะเมื่อถึงเวลาที่สื่อหนังสือพิมพ์ต้องปรับเปลี่ยนจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความคุ้มค่ากับค่าบริการที่ต้องจ่าย

นอกจากนี้ การพัฒนาด้านโทรคมนาคมสื่อสาร ประกอบกับในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขยายตัวอยู่ในระดับสูง การให้บริการข่าวสารในรูปแบบข้อความสั้น(Short Message Service : SMS) และข้อความมัลติมีเดีย(Multimedia Message Service : MMS) จึงเป็นช่องทางบริการข่าวสารที่ผู้ให้บริการข่าวเริ่มหันมาพัฒนาขยายตลาดในส่วนนี้มากขึ้น ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการข่าวผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มีอยู่ประมาณ 3 ล้านราย มีค่าบริการรายเดือน โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 30-50 บาทต่อเดือน อาจแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละราย นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการสามารถเลือกได้ว่าต้องการรับข่าวสารประเภทใด เช่น ข่าวด่วน/เศรษฐกิจ/การเมือง/กีฬา/ดารา โดยข่าวการเมืองและข่าวทั่วไปเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปีที่ผ่านมา คิดเป็นกว่าร้อยละ 60-70 ของการรับบริการข่าวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งคาดว่าปี 2552 นี้บริการข้อความข่าวบนโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 1,200 ล้านบาท ขยายตัวจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 30 ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายลง แบ่งเป็นสัดส่วนเป็นบริการข่าว SMS ร้อยละ 90 และ MMS ร้อยละ 10

อนาคตเมื่อการให้บริการข่าวทางสื่อออนไลน์และส่งข้อความข่าวผ่านโทรศัพท์มือถือขยายตัวมากขึ้น ย่อมส่งผลต่อยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับลดลงอย่างแน่นอน ผู้ผลิตจึงต่างเร่งพัฒนารูปแบบการนำเสนอข่าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อ่านในทุกรูปแบบ

ปัจจัยหนุนต่อการขยายตัวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของไทย
พัฒนาการของหนังสือพิมพ์ในรูปแบบฉบับจากกระดาษสู่การเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงด้วยระบบอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก กลับกลายเป็นความนิยมในกลุ่มผู้อ่านข่าวของไทยในปัจจุบัน ด้วยปัจจัยสนับสนุน ดังนี้

1)ราคาคอมพิวเตอร์…ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ผลิตต่างเร่งหาทางเพิ่มยอดขายภายใต้ภาวะกำลังซื้อที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงตลาดคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน ผู้ผลิตต่างหันมาใช้กลยุทธ์การแข่งขันในด้านราคาเพื่อช่วงชิงตลาด โดยคาดว่าในปี 2552 ตลาดคอมพิวเตอร์ของไทยจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 4 ซึ่งเติบโตน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี  จากเดิมที่เคยขยายตัวที่ร้อยละ10-15 เป็นการลดลงเนื่องจากราคาขายลดต่ำลง แต่คาดว่ายอดจำหน่ายยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คราคาถูกหรือเน็ตบุ๊คนับเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้ตลาดยังขยายตัวได้ เนื่องจากมีราคาถูกลงกว่าในอดีต สะดวกในการพกพา ด้วยการพัฒนารูปลักษณ์ให้บางและเบาลงกว่าเดิมมาก ดังนั้น การที่ราคาคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเริ่มเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ1 ที่ทำการสำรวจประชากรไทยในปี 2551 ในจำนวน 18.2 ล้านครัวเรือน มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตร้อยละ 24.8 และร้อยละ 8.6 ตามลำดับ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯที่มีสัดส่วนการมีคอมพิวเตอร์ของครัวเรือนสูงที่สุดมากกว่าร้อยละ 50 รองลงมา คือ ภาคกลาง และในภาพรวมของทั้งประเทศการมีคอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของครัวเรือนได้ขยายตัวสูงขึ้นกว่าปี 2550 จากจำนวนครัวเรือน 18.1 ล้านครัวเรือน ซึ่งมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตร้อยละ 20.4 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ

2) การพัฒนาของอุปกรณ์สื่อสาร และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การพัฒนาของเครื่องมือสื่อสาร โดยเฉพาะมือถือรุ่นใหม่ๆที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สามารถรองรับระบบปฏิบัติการวินโดว์(Window Mobile/PDA Phone) จึงสามารถทำงานเสมือนมีคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กติดตัวไปด้วยทุกที่ สามารถเช็คอีเมลล์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงการดาวน์โหลดข้อมูล/แอปพลิเคชั่น/โปรแกรมเพิ่มเติมได้ โดยผ่านเทคโนโลยี WAP, GPRS, EDGE และ Bluetooth อีกทั้ง การแข่งขันกันระหว่างผู้ให้บริการรายใหญ่ในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด มีส่วนช่วยผลักดันให้การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันขยายพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาความเร็วในการรับส่งข้อมูล ด้วยค่าบริการที่ถูกลงและยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณ Wi-Fi ให้ใช้ได้ฟรีในบางสถานที่ หรือแม้แต่การจะเปิดให้บริการเทคโนโลยี 3G ที่มีแผนจะพัฒนาให้ครอบคลุมหลายพื้นที่ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือสามารถรองรับการรับส่งข้อมูลทั้งภาพและเสียง ให้มีคุณภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น

3) การขยายตัวของสื่อโฆษณาออนไลน์ จากแนวโน้มการขยายตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากปีที่แล้วมีจำนวน 13.4 ล้านคน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง หลายบริษัทจึงมีนโยบายตัดลดงบโฆษณาลง โดยหันมาเน้นช่องทางการตลาดออนไลน์มากขึ้น จึงคาดว่ามูลค่าตลาดสื่อโฆษณาออนไลน์ในปี 2552 จะขยายตัวถึง 2 เท่าจากปีที่แล้ว มาอยู่ที่ประมาณ 1,500-1,600 ล้านบาท และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2 ในตลาดโฆษณารวม ขณะที่ตลาดโฆษณาโดยรวมหดตัวลงร้อยละ 10-15 ซึ่งการที่บริษัทต่างหันมาใช้สื่อโฆษณาออนไลน์เนื่องมาจากใช้งบน้อยกว่า สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย และที่สำคัญสามารถวัดผลได้โดยตรง เนื่องจากการทำโฆษณาออนไลน์บริษัทจะเลือกลงโฆษณาในเว็บไซต์ที่คาดว่าเป็นที่สนใจของกลุ่มเป้าหมายของตัวผลิตภัณฑ์ และพัฒนารูปแบบจากเดิมที่เน้นทำโฆษณาเป็นแบนเนอร์ลงไว้ตามเว็บไซต์ ซึ่งอาจไม่ดึงดูดใจ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้จดจำเท่าใดนัก เปลี่ยนมาเป็นลักษณะที่ให้ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมได้ อาทิ การโหวต การเข้าร่วมกิจกรรมกับบริษัท ขอรับผลิตภัณฑ์ทดลองใช้/ลุ้นรับส่วนลดและรางวัลต่างๆ รวมถึงสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปแบบรับส่งอีเมล์หรือการสนทนาออนไลน์ได้ทันที ซึ่งการใช้ช่องทางนี้บริษัทจะสามารถวัดผลตอบรับได้ทันทีที่ผู้บริโภคเข้าถึงโฆษณานั้น ดังนั้น การโฆษณาออนไลน์จึงเป็นช่องทางใหม่ที่หลายบริษัทต่างเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น เพื่อรองรับกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าตลาดโฆษณาออนไลน์ของไทยยังสามารถขยายตัวได้อีกมาก เห็นได้จากสัดส่วนโฆษณาออนไลน์ของไทยที่คิดเป็นเพียงร้อยละ 2 ของตลาดโฆษณาทั้งหมด ขณะที่ทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8 และจากในปัจจุบันบริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของไทย ยังไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการจากผู้อ่าน แต่มีรายได้หลักมาจากการขายพื้นที่โฆษณาในหน้าเว็บไซต์ ดังนั้น ตราบใดที่แนวโน้มการทำการตลาดของบริษัทต่างๆเริ่มเน้นช่องทางตลาดออนไลน์มากขึ้น ก็นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับหนุนให้หนังสือพิมพ์ออนไลน์ยังคงขยายตัวได้เช่นกัน และช่วยสร้างรายได้ให้แก่สื่อหนังสือพิมพ์อีกช่องทางหนึ่ง

ปัจจัยเกื้อหนุนต่อการขยายตัวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ล้วนส่งผลต่อการขยายตัวของเทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคต ทำให้การติดตามข่าวสารต่างๆสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงนับเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้บริการข่าวออนไลน์ขยายตัวตามไปด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าย่อมมีผลกระทบต่อรายได้ในการจำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับลดลงอย่างแน่นอน ดังนั้น ผู้ผลิตจึงมักมีกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวออนไลน์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับ เช่น การนำเสนอข่าวออนไลน์ให้ล่าช้ากว่า หรือนำเสนอแต่เพียงหัวข้อพร้อมรายละเอียดโดยย่อของข่าวเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแย่งตลาดกันเองระหว่างหนังสือพิมพ์ฉบับ กับบริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์

ทั้งนี้ จากปัจจุบันการที่ผู้อ่านเริ่มหันมาอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์กันมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย มีความสะดวก สามารถอ่านได้ทุกที่ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าถึง ซึ่งเป็นการสร้างความเคยชินแก่ผู้อ่าน จึงคาดว่าต่อไปในอนาคตหนังสือพิมพ์ออนไลน์อาจพัฒนาเข้าสู่ระบบสมาชิกและมีการจัดเก็บค่าบริการ เพื่อแลกกับการที่ผู้อ่านข่าวสามารถรับรู้ข่าวสารได้รวดเร็วทันที พร้อมรายละเอียดอย่างครบถ้วนในทุกประเด็น

แต่ทั้งนี้ ยังคงมีปัจจัยที่อาจส่งผลให้การขยายตัวของธุรกิจออนไลน์ของไทยไม่รวดเร็วนัก เพราะต้องอาศัยระยะเวลาในการส่งเสริมการเข้าถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศของประชาชน และพัฒนาวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตให้ทั่วถึงทั้งประเทศ เนื่องจากปัจจุบันการมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศในครัวเรือนยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคกลาง และตามกลุ่มจังหวัดที่เป็นเขตธุรกิจ เช่นเดียวกันกับการขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังไม่สามารถครอบคลุมได้ทั่วประเทศ จึงเป็นผลดีที่จะทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับยังสามารถจำหน่ายได้ต่อไป โดยเฉพาะในเขตนอกเมือง หรือสำหรับผู้อ่านที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่

ความนิยมหนังสือพิมพ์ออนไลน์เพิ่ม…ความต้องการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ของโลกลด
จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลก รวมถึงการตระหนักในการลดการใช้กระดาษและทรัพยากรป่าไม้ ทำให้การขยายตัวของช่องทางเสนอข่าวในรูปแบบใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับในหลายประเทศชะลอตัวลง ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงกลุ่มผู้ผลิตกระดาษ ทั้งกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ใช้ในการผลิตหนังสือพิมพ์รายวัน และกระดาษพิมพ์เขียนที่ใช้ในการผลิตหนังสือพิมพ์ราย 3 วันและรายสัปดาห์

ภาพรวมการค้ากระดาษหนังสือพิมพ์ทั่วโลก มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ประเทศผู้ส่งออกหลักของโลก ได้แก่ แคนาดา สวีเดน รัสเซีย เยอรมนี และสหรัฐฯ มีสัดส่วนส่งออกรวมกันกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก ซึ่งในปี 2551 การส่งออกกระดาษหนังสือพิมพ์รวมในตลาดโลกมีปริมาณลดลงร้อยละ 2.3 และคาดว่าในปี 2552 นี้การส่งออกในตลาดโลกจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 20 จากปีที่แล้ว ส่วนการนำเข้ากระดาษหนังสือพิมพ์รวมในตลาดโลกช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 มีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 71.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 2,788,768 ตัน ซึ่งปริมาณการนำเข้ากระดาษหนังสือพิมพ์ในปีที่แล้วของทั้งโลกหดตัวลงร้อยละ 7.1 จากปีก่อนหน้า โดยมีแนวโน้มหดตัวลงต่อเนื่องทุกปี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ภาพรวมความต้องการใช้กระดาษทุกชนิดในตลาดโลกชะลอตัวลง แต่ความต้องการใช้ยังคงขยายตัวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อาทิ จีน อินเดีย และกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นต้น

ด้านการค้ากระดาษหนังสือพิมพ์ของไทย มีปริมาณการค้าขยายตัวสูงขึ้น โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 23.7 และ 3.8 ตามลำดับ มาอยู่ที่ 14,551 ตัน คิดเป็นมูลค่า 8.655 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา และอินเดีย ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงในประเทศกลุ่มอาเซียน และกลุ่มตะวันออกกลาง ด้านการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 มีปริมาณและมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 และ 2.2 ตามลำดับ มาอยู่ที่ 84,509 ตัน คิดเป็นมูลค่า 53.734 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักของไทย คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินโดนีเซีย และรัสเซีย ตามลำดับ

โดยคาดการณ์ว่าทั้งปี 2552 ปริมาณการส่งออกและนำเข้ากระดาษหนังสือพิมพ์จะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยขยายตัวที่ร้อยละ 30 และ 7 ตามลำดับ โดยการส่งออกของไทยยังเน้นส่งออกไปยังตลาดกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อาทิ อาเซียน และตะวันออกกลาง ส่วนการนำเข้ายังขึ้นอยู่กับความต้องการบริโภคหนังสือพิมพ์ของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่การบริโภคในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ ที่มีการขยายตัวของเทคโนโลยีสื่อสารสูงน่าจะทรงตัวหรือชะลอลง แต่ความต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับในนอกเขตจังหวัดที่กล่าวมา รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีก็ยังคงมีความต้องการอ่านอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปลายปีเป็นช่วงเทศกาล และมีการจัดงานสำคัญโดยเฉพาะในเดือนธันวาคม ก็น่าจะมีส่วนช่วยให้ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับยังประคองตัวอยู่ได้

สรุป
ในระยะยาวหากความนิยมสื่อหนังสือพิมพ์รูปแบบใหม่ขยายตัวสูงขึ้น คาดว่าในอนาคตผู้ผลิตของไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อเตรียมรับการให้บริการในรูปแบบเก็บค่าสมาชิกจากผู้อ่าน แต่ด้วยข้อจำกัดในด้านเทคโนโลยีสื่อสาร และการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ยังครอบคลุมไม่ทั่วทุกพื้นที่ ทำให้สื่อหนังสือพิมพ์ของไทยในปัจจุบันยังคงให้บริการออนไลน์โดยไม่เก็บค่าบริการ แต่สร้างรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายพื้นที่โฆษณาในหน้าเว็บไซต์ ประกอบกับยังคงมีกลุ่มผู้อ่านที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับมากกว่าการอ่านแบบออนไลน์ จึงทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับยังคงประคองตัวอยู่ได้ แต่อาจต้องปรับลดการผลิตลง จนส่งผลต่อผู้ผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ในประเทศ ต้องปรับกลยุทธ์เน้นการส่งออกสู่ตลาดประเทศในแถบเพื่อนบ้าน ภูมิภาคอาเซียน และประเทศกำลังพัฒนา ที่ยังคงมีความต้องการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อทดแทนตลาดในกลุ่มประเทศที่มีความต้องการใช้ชะลอตัวจากผลของการขยายตัวของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ดังเช่นที่เกิดขึ้นแล้วในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น

]]>
49900
หนังสือพิมพ์ “หอข่าว” คณะนิเทศฯ มกค. คว้ารางวัลดีเด่น “พิราบน้อย” https://positioningmag.com/46928 Fri, 20 Mar 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46928

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดพิธีมอบรางวัล “พิราบน้อย” และรางวัล “ริต้า ปาติยะเสวี” เนื่องในวันนักข่าวประจำปี 2551 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในระดับอุดมศึกษา โดยหนังสือพิมพ์ “หอข่าว” ของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับรางวัลพิราบน้อย ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น ข่าว “เตือนภัยคนใจบุญ แก๊งเรี่ยไรเกลื่อนเมือง” พร้อมทุนการศึกษา 15,000 บาทและโล่ประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ข่าว ไฮไฟว์ (Hi5) พระสงฆ์ จากหนังสือพิมพ์หอข่าว ที่ได้รับรางวัลชมเชยปีที่ผ่านมา ยังได้รับรางวัลข่าวด้านไอที (IT) ยอดเยี่ยมเพิ่มเติมอีก 1 รางวัล

]]>
46928
“ซูซูกิ” ร่วมแสดงความยินดี นสพ. สยามรายวัน “ครบรอบ 24 ปี ก้าวไกลสู่ความมั่นคง” https://positioningmag.com/46729 Wed, 11 Mar 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46729

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด มอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดี แก่ คุณสรายุทธ มหวลีรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) (คนที่ 3 จากซ้ายมือ) เนื่องในโอกาส ครบรอบ 24ปี ของนสพ.สยามกีฬารายวัน โดยมีคุณเลิศศักดิ์ นววิมาน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขาย และการตลาด บริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด (คนที่ 3จากขวามือ) เป็นผู้มอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีในโอกาสอันดีครั้งนี้

]]>
46729
เอไอเอส จับมือบริษัทน้องใหม่ TREND VG3 เปิด SMS ข่าวรูปแบบใหม่ “ไทยรัฐ ท็อป นิวส์” https://positioningmag.com/46671 Tue, 10 Mar 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46671

นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้อำนวยการสำนักบริการเสริม บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า “คอนเทนต์ที่ถือว่ามาแรงและได้รับความนิยมในลำดับต้นๆชั่วโมงนี้ คือ คอนเทนต์ข่าวบนมือถือ ทั้งในแง่ยอดผู้ใช้บริการและการสร้างรายได้ หน้าที่ของเอไอเอสคือเดินหน้าร่วมมือกับพันธมิตรข่าวชั้นนำเพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์ข่าวบนมือถือที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการและประชาชนอย่างต่อเนื่อง”

ล่าสุด เอไอเอสจึงร่วมมือกับบริษัท TREND VG3 จำกัด ในเครือนสพ.ไทยรัฐ ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์อันดับหนึ่งของประเทศ พัฒนาบริการ SMS ข่าวบนมือถือรูปแบบใหม่ ในชื่อบริการ “ไทยรัฐ TOP NEWS” ซึ่งมีความโดดเด่นและแตกต่างจาก SMS ข่าวที่เคยมีมา เพราะถือเป็นการ Customized คอนเทนต์ข่าวแบบ Local News เป็นครั้งแรกในลักษณะของ “บริการข่าวแบบภูมิภาค” ด้วยรูปแบบข่าวเจาะแต่ละภาค ทั้งภาคเหนือ ใต้ กลาง ตะวันออก อีสาน เพื่อตอบสนองความต้องการรับรู้ข่าวสารของลูกค้าในแต่ละภูมิภาคอย่างแท้จริง ซึ่งการจะพัฒนาบริการในลักษณะนี้ได้นั้น เกิดจากศักยภาพอันแข็งแกร่งของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่มีทีมบรรณาธิการข่าวมืออาชีพ

บริการ “ไทยรัฐ TOP NEWS” ถือได้ว่าเป็นการผสมผสานจุดแข็งจากเอไอเอส ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วไทยสูงสุด และ คอนเทนต์ข่าวคุณภาพรายภูมิภาคจากนสพ.ไทยรัฐที่เน้นความเที่ยงตรง แม่นยำ ได้อย่างเหมาะสม โดยเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของลูกค้าเอไอเอสกว่า 27 ล้านรายในทุกภาคทั่วประเทศไทย” นายปรัธนา กล่าว

นายวัชร วัชรพล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท TREND VG3 จำกัด กล่าวว่า “บริษัท TREND VG3 จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท วัชรพล จำกัด เจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดของประเทศ อย่างที่ทราบกันดีว่า ไทยรัฐเป็นหนังสือพิมพ์ที่นำเสนอข่าวอยู่เคียงข้างสังคมไทยมายาวนานจนจะครบ 60 ปีในปีนี้ โดยมีฐานผู้อ่านที่ครอบคลุมทั่วประเทศสูงสุด ทุกระดับ ทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย

ในยุคที่กระแสเทคโนโลยีดิจิตอลกำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมาก ขึ้น พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของคนไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ไทยรัฐเองจึงไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนารูปแบบการนำเสนอข่าวสารให้ถึงมือประชาชน เพื่อทำให้ประชาชนคนไทยได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว อย่างไร้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่

โดยที่ผ่านมา ไทยรัฐได้มีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพทีมงานข่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากพัฒนาการนำเสนอข่าวบนสื่อออนไลน์กับ “เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์” ทำให้ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวที่อัพเดทตลอด 24 ชั่งโมง เรียกว่าทุกๆ 10-20 นาทีจะมีการอัพโหลดข่าวใหม่ขึ้นเว็บไซต์ตลอด ถือเป็นการตอบสนองความต้องการด้านข้อมูลข่าวสารให้กับผู้อ่านรุ่นใหม่

จนกระทั่งวันนี้ เมื่อเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมีการเติบโตก้าวหน้าไปพร้อมๆกับเทคโนโลยีด้านสื่อสารมวลชน ถึงเวลาที่ไทยรัฐจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจการให้บริการดิจิตอลคอนเทนต์อย่างเต็มตัว โดยเราได้เปิดตัวบริษัทใหม่ภายใต้เครือบริษัท วัชรพล คือบริษัท TREND VG3 จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจการนำเสนอข่าวสารบนสื่อใหม่ (New Media) หรือสื่อดิจิตอล โดยนำคอนเทนต์ข่าวของไทยรัฐที่มีทั้งหมดมาพัฒนาในรูปแบบของดิจิตอลคอนเทนต์และเปิดให้ บริการบนสื่อดิจิตอล ได้แก่ สื่อเว็บไซต์ และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงสื่ออื่นๆที่จะตามมาในอนาคต

ในวันนี้ บริษัท TREND VG3 จำกัด จึงได้ร่วมกับเอไอเอส ค่ายมือถืออันดับหนึ่งของประเทศ เปิดมิติใหม่ของคอนเทนต์ข่าวบนมือถือ ภายใต้ชื่อบริการ “ไทยรัฐ TOP NEWS” รายงานข่าวแบบภูมิภาคผ่านทาง SMS เป็นรายแรกของเมืองไทย เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในภูมิภาคต่างๆ ได้รับทราบข่าวสารความเคลื่อนไหวภายในพื้นที่ของตนอย่างละเอียดลึกซึ้ง โดยคิดค่าบริการเพียงเดือนละ 29 บาท พิเศษ! ให้ลูกค้าเอไอเอสได้ทดลองใช้ฟรี 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ บริษัท TREND VG3 ยังได้วางแผนพัฒนาบริการข่าวในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริการคอนเทนต์ข่าวที่มีคุณภาพให้กับประชาชนคนไทยต่อไป” นายวัชร กล่าวปิดท้าย

บริการไทยรัฐ TOP NEWS มีทั้งหมด 5 แพ็คเกจ คิดค่าบริการเพียง 29 บาท/เดือน ดังนี้

1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล สมัคร กด*117*1# โทรออก
2. ภาคกลาง สมัคร กด*117*2# โทรออก
3. ภาคเหนือ สมัคร กด*117*3# โทรออก
4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมัคร กด*117*4# โทรออก
5. ภาคใต้ สมัคร กด*117*5# โทรออก

]]>
46671
อ่านข่าวพรีเมียม กับ WSJ https://positioningmag.com/11248 Sun, 05 Oct 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=11248

หนังสือพิมพ์ยักษ์ “เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล” ประกาศรีดีไซน์หน้าเว็บไซต์ wsj.com ใหม่ โดยเน้นความเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนของการค้นหาดูข้อมูลในเว็บ ส่วนของสร้างชุมชนกลุ่มคนอ่าน และการขยายเนื้อหา

ปัจจุบันเว็บไซต์ของสื่อยักษ์ใหญ่แห่งนี้มีสมาชิกอยู่ 1 ล้านคน การปรับปรุงครั้งล่าสุดในส่วนของเนื้อหาพรีเมียมที่จะให้ลูกค้าที่จ่ายค่าสมาชิกอ่านมี 3 เซ็กชั่น คือ “Management” “What’s News” และ “Heard on the Street”

สำหรับเนื้อหาอ่านฟรีอื่นๆ ยังคงเดิม คือ ข่าวทั่วไป การเมือง กีฬา ท่องเที่ยว แฟชั่น การเงิน อาหาร และเครื่องดื่ม รวมไปถึงบล็อก วิดีโอ พอดคาสต์

บริการพิเศษสำหรับผู้อ่านที่ยอมจ่ายค่าสมาชิก คือ การได้สิทธิเข้าไปใน Journal Community ซึ่งเป็นเซ็กชั่นใหม่ ให้สมาชิกสามารถเข้าไปคอมเมนต์บทความ ตั้งคำถามกับผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงคนในกอง บก. ของ “WSJ” ถือเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับสมาชิกในการสร้างชุมชนเครือข่ายของตัวเอง

แผนของ WSJ ยังจะพัฒนาเนื้อหาใหม่ๆ ทั้งสำหรับกลุ่มอ่านฟรี กลุ่มที่จ่ายค่าสมาชิก ทั้งแบบพรีเมียม และซูเปอร์พรีเมียม ที่สามารถเลือกดูเนื้อหาในสิ่งที่ตัวเองต้องการมากที่สุด

การปรับปรุงครั้งนี้เป็นไปตามความเติบโตของจำนวนผู้เข้ามาชมเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2007 มีผู้เข้าดูเว็บมากขึ้น 112% จากปี 2006

]]>
11248
จุดเปลี่ยน นสพ.มาเลย์ ลดไซส์ https://positioningmag.com/11100 Tue, 05 Aug 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=11100

หนังสือพิมพ์รายวันภาษามาเลย์ “Berita Harian” และรายสัปดาห์ “Berita Minggu” ตัดสินใจลดไซส์ด้วยเหตุผลเพื่อเพิ่มจำนวนผู้อ่าน และรายได้โฆษณาที่จะตามมา นับเป็นความเปลี่ยนแปลงขนาดของหนังสือพิมพ์ครั้งแรกในรอบ 50 ปีของ “Berita Harian” เพราะกลุ่มคนอ่านรุ่นใหม่นิยมสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่สะดวกต่อการพกพา ซึ่งหนังสือพิมพ์ไซส์เล็กสามารถตอบสนองผู้อ่านกลุ่มนี้ได้มากกว่าหนังสือพิมพ์ที่มีหน้ากระดาษใหญ่ๆ

“Berita Harian” นับเป็นหนังสือพิมพ์ภาษามาเลย์ระดับบิ๊กของมาเลเซีย มีการอ้างว่ามีผู้อ่านถึง 2.5 ล้านคน พิมพ์จำนวน 3 แสนฉบับต่อวัน

]]>
11100
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จัดการสนทนาเรื่อง “สงครามข่าวสารกับการรู้เท่าทันของสื่อ” https://positioningmag.com/41819 Tue, 24 Jun 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=41819

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะจัดการสนทนากลุ่มเรื่อง “สงครามข่าวสารกับการรู้เท่าทันของสื่อ” โดย รศ. ดร. ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ. สดศรี เผ่าอินจันทร์ คณบดี คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ. มาลี บุญศิริพันธ์ คณบดี คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคุณไพโรจน์ พลเพชร ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ในโอกาสครบรอบ 11 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ วันศุกร์ที่ 4 กรกฏาคม นี้ ระหว่างเวลา 13.30 น. – 16.30 น. ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ถนนสามเสน สำรองที่นั่งฟรีได้ที่โทร. 0-2668-9900 หรืออีเมล์ tpct@inet.co.th

]]>
41819