NiKon – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 09 Jun 2021 23:34:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Nikon ปิดฉาก Made in Japan ย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมาประเทศไทยปีหน้า https://positioningmag.com/1336194 Wed, 09 Jun 2021 14:43:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336194 Nikon (นิคอน) ผู้ผลิตกล้องถ่ายรูปรายสำคัญของญี่ปุ่น ประกาศยุติการผลิตในญี่ปุ่นเดือนมีนาคม ปีหน้า โดยจะย้ายการผลิตมายังไทย เนื่องจากตลาดกล้องถ่ายรูปลดลงอย่างมากเพราะผู้คนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟน

Nikon ทยอยลดการผลิตกล้องถ่ายรูปเลนส์เดี่ยว หรือ SLR มาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้เหลือโรงงานเพียงแห่งเดียวที่เมืองเซนได จังหวัดมิยางิ ทางบริษัทประกาศว่าโรงงานแห่งนี้จะยุติการผลิตลงในเดือนมีนาคม 2565 ปิดฉากการผลิตในญี่ปุ่นที่ยาวนานกว่า 70 ปี

โรงงานในญี่ปุ่นผลิตกล้องโปรรุ่น D6 เป็นหลัก หลังจากยุติการการผลิตแล้วโรงงานจะไม่ปิดตัว แต่จะผลิตชิ้นส่วนของกล้องและเลนส์โดยใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติเป็นหลัก

Nikon ผลิตกล้องถ่ายรูปออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปี 2491 และก้าวขึ้นเป็นผู้นำในวงการกล้อง แต่หลังจากผู้คนหันมาใช้สมาร์ทโฟนที่มีกล้องคุณภาพสูงเพื่อบันทึกความทรงจำกันมากขึ้น ตลาดกล้องก็ซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 ยอดการผลิตกล้องทุกยี่ห้อเหลือเพียงแค่ 8,740,000 ชิ้น ลดลงมากถึง 75% เมื่อเทียบกับ 15 ปีก่อน

ในปีที่ผ่านมา Nikon เผชิญการขาดทุนมากเป็นประวัติการณ์กว่า 34,400 ล้านเยน จนต้องตัดสินใจปิดโรงงานผลิตเลนส์ที่จังหวัดยามากาตะ และฟูกูชิมะ

Source

]]>
1336194
Nikon ประกาศเลิกผลิตกล้องในญี่ปุ่น เตรียมย้ายฐานมาไทย 100% หวังลดต้นทุน https://positioningmag.com/1311664 Wed, 23 Dec 2020 05:20:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311664 หลังจากริเริ่มผลิตกล้องถ่ายภาพที่ญี่ปุ่นกว่า 70 ปี ผู้ผลิตกล้องนิคอน (Nikon) กำลังย้ายฐานการผลิตจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยแบบ 100% หวังลดต้นทุน โดยรุ่นใหญ่ Nikon D6 จะถูกย้ายสายพานภายในสิ้นปี 2564


การย้ายฐานการผลิตของ Nikon ได้รับความสนใจไม่น้อย เพราะสิ่งที่ช่วยให้ตากล้องเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กับคู่แข่งเพื่อทำความเข้าใจความแตกต่างของราคากล้องก็คือฐานการผลิต แต่ข้อมูลล่าสุดจากสำนักข่าว Asahi ของญี่ปุ่นยืนยันว่า Nikon จะยุติการผลิตกล้องในญี่ปุ่น และจะย้ายมาที่ประเทศไทยเพื่อลดต้นทุนให้สินค้าแข่งขันได้

ในเอกสารเผยแพร่ระบุว่าในที่สุด Nikon ก็ตัดสินใจยุติการผลิตตัวกล้องในประเทศที่ดำเนินต่อเนื่องมากว่า 70 ปีจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมา การผลิตตัวกล้องได้ดำเนินการที่บริษัท “เซนได นิคอน” (Sendai Nikon) ในจังหวัดมิยางิ คู่ไปกับบริษัท “นิคอนไทยแลนด์” (Nikon Thailand) ในประเทศไทย

เบื้องต้นสายพานการผลิต Nikon Z6 และ Nikon Z7 ซึ่งเป็นกล้องมิเรอร์เลสถูกย้ายไปแล้วตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน และ Nikon D6 ที่เป็นกล้อง DSLR จะถูกย้ายภายในสิ้นปี 2564

อย่างไรก็ตาม โรงงานของนิคอนในเซนได จังหวัดมิยางิ จะยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลิตกล้องในอนาคต แต่คำถามที่ยังต้องรอดูคือการย้ายการผลิตกล้องจากญี่ปุ่นมาไทยจะส่งผลกระทบต่อตลาดกล้องมือสองหรือไม่ ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการติดตามความเคลื่อนไหวต่อไป

ปัจจุบัน สินค้าที่โดดเด่นของนิคอนคือกล้องมิเรอร์เลส Nikon Z7 และ Z6 ที่สามารถบันทึกวิดีโอคุณภาพสูง ขณะที่ D6 ยังเป็นกล้องในฝันของตากล้องหลายคนที่ชื่นชอบการปรับแต่งสไตล์มืออาชีพ

Source

]]>
1311664
ทริปล่ม คนไม่เที่ยว! ฉุดตลาด ‘กล้อง’ ติดลบ 43% หนักสุดในรอบ 3 ปี https://positioningmag.com/1305939 Fri, 13 Nov 2020 12:50:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305939 ถือเป็นอีกตลาดที่ถูกเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัปต์เนื่องจากการมาของ ‘สมาร์ทโฟน’ ที่พัฒนากล้องมาดีจนผู้บริโภคไม่ได้ต้องการซื้อกล้องมาใช้งาน ส่งผลให้ตลาด ‘กล้องถ่ายรูป’ ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนมีผู้เล่นบางรายหายไปจากตลาดแล้ว อาทิ ‘โอลิมปัส’ ที่เพิ่งขายธุรกิจกล้องถ่ายภาพให้กับ Japan Industrial Partners (JIP) ไปเมื่อปีที่ผ่านมา

COVID-19 ฉุดตลาดกล้องติดลบ 43%

แม้ว่าตลาดกล้องถ่ายภาพจะติดลบมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 แต่พอมาเจอ COVID-19 ยิ่งหนัก โดย วีระ เฉลียวปิยะสกุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นิคอน เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ตลาดกล้องเป็นตลาดที่ต้องอาศัยอุตสาหกรรม ‘ท่องเที่ยว’ ดังนั้น เมื่อ COVID-19 ทำให้คนเดินทางท่องเที่ยวรวมถึงไม่สามารถจัดงาน ‘อีเวนต์’ ต่าง ๆ ได้ ยิ่งเป็นฝันร้ายของตลาดกล้องถ่ายภาพ

วิธีการตัดสินใจซื้อหรืออัพเกรดขึ้นอยู่กับทริปท่องเที่ยวที่จะไป นี่เป็นพฤติกรรมชัดเจนที่ส่งผลกับวงการกล้อง แต่พอเที่ยวไม่ได้ และงานไม่มี ก็หมดความจำเป็นในการซื้อกล้อง ยิ่งส่งผลให้เป็นปีที่ยากของอุตสาหกรรมกล้องถ่ายภาพ”

วีระ เฉลียวปิยะสกุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นิคอน เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

จากตลาดในปี 2562 ที่มีมูลค่า 4,104 ล้านบาท แต่มาปี 2563 คาดว่าจะเหลือเพียง 2,294 ล้านบาท หายไป 43% ส่วนจำนวนกล้องลดจาก 1.24 แสนตัว เหลือ 6.53 หมื่นตัว และสำหรับในปีหน้า 2564 คาดว่ามูลค่าตลาดจะติดลบอีก 25% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปี 2563 นี้ยังไม่ใช่ ‘จุดต่ำสุด’

“เราถามตัวเองตลอดว่าจุดที่มันจะทรงตัวคือตอนไหน เพราะจากยอดขายปีละหลักล้านเครื่องตอนนี้เหลือหลักหมื่น แต่เราเชื่อว่าในปี 2565 ตลาดกล้องจะเริ่มกลับมาดีขึ้นและจะเป็นจุดทรงตัวของตลาด มันจะไม่มีทางต่ำไปกว่านี้อีกแล้ว”

ทางรอดอยู่ที่ ‘Full Frame’

โดยส่วนแบ่งการตลาดของกล้องในปัจจุบัน แบ่งเป็น กล้อง DSLR 26% และ Mirrorless 74% โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นประเภทกล้อง ‘Full Frame’ ถึง 43.3% และอาจเติบโตเป็น 50% ในอนาคตเนื่องจากยังเห็นแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่เป็นมืออาชีพซื้อ แต่ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วไปที่เริ่มซื้อกล้องหรือต้องการจะอัพเกรดกล้อง 70-80% มองหากล้อง Full Frame แถมลูกค้ากลุ่มนี้ยังมีการครอบครองเลนส์เฉลี่ยที่ประมาณ 3 ตัว ดังนั้น Nikon ในฐานะ ‘เบอร์ 1’ ของตลาด Full Frame ที่มีส่วนแบ่งตลาดที่ 42.4% จะต้องรักษาตำแหน่งให้ได้

โดยล่าสุด Nikon เปิดตัวกล้อง Full Frame รุ่นใหม่ ถึง 2 รุ่น คือ NIKON Z6 II และ NIKON Z7 II ที่มีจุดเด่นด้านการถ่าย ‘วิดีโอ’ ซึ่งถือเป็นเทรนด์ของความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้ที่ให้ความสำคัญทั้งการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอเท่า ๆ กัน ซึ่งในส่วนของการถ่ายวิดีโอนั้น Nikon ยอมรับว่าเป็นจุดอ่อนของแบรนด์มาโดยตลอด เพราะไม่ค่อยได้สื่อสารจนภาพจำลูกค้านึกถึงแต่ภาพนิ่ง

“กล้องเราถ่ายวิดีโอได้มานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้สื่อสาร เพราะเรามีจุดแข็งที่ภาพนิ่งโดยเฉพาะ Full Frame ดังนั้น คู่แข่งจึงเน้นสื่อสารด้านวิดีโอแทน ซึ่งนั่นทำให้เราพลาด”

เน้นทำตลาดผ่าน ‘ออนไลน์’ เพื่อเข้าถึง ‘เด็ก’

อีกหนึ่งจุดอ่อนของ Nikon ก็คือ ฐานผู้ใช้ที่เป็น ‘ผู้ใหญ่’ เสียเยอะ โดยปัจจุบันกลุ่มลูกค้ามีอายุเฉลี่ยที่ 30 ปีต้น ๆ แม้ลดลงจากเดิมที่มีอายุเฉลี่ย 40-45 ปี แต่ฐานลูกค้าคู่แข่งเฉลี่ยที่อายุ 25 ปีเป็นหลัก ซึ่งจุดนี่ถือเป็นอีกจุดที่ Nikon มองว่าอาจเป็นปัญหาในระยะยาว ดังนั้น Nikon จึงพยายามสื่อสารไปที่คนรุ่นใหม่มากขึ้น โดยดึงอินฟูลเอนเซอร์เด็ก ๆ เข้ามาเป็นกระบอกเสียง และมีทีมนิคอนยูสทีมเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเด็ก ๆ

“นี่เป็นสิ่งที่เรากังวลมาก เพราะอายุเยอะขึ้นมีคนออกจากตลาดมากกว่าที่เราหาลูกค้าใหม่ ถ้าเป็นแบบนี้อีก 3-5 ปีเราจะลำบากมาก”

ประกอบกับหน้าร้านส่วนใหญ่ถูกปิดไปช่วงล็อกดาวน์ ทำให้หันไปโฟกัสการขายผ่านออนไลน์แทน ขณะที่ปีนี้งาน ‘Photo Fair’ ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ที่ช่วยสร้างยอดขายก็ไม่ได้จัด ดังนั้น จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด Nikon จึงต้องปรับตัว โดยปีนี้ได้ ยกเลิกโฆษณาในสื่อออฟไลน์ทั้งหมด ไปลงออนไลน์แทน เนื่องจากเร็วกว่า เปลี่ยนแปลงได้ง่าย นำเสนอได้หลายแบบ และไปโฟกัสที่คนรุ่นใหม่ และโปรโมชันต่าง ๆ จะทุ่มไปที่แคมเปญ 11.11 และ 12.12

“ด้วยสถานการณ์ การประท้วงที่อาจทำให้เดินทางไม่สะดวก รวมถึงต่างจังหวัดที่ไม่มีร้านกล้องอยู่ ขณะที่งบการตลาดจาก 200 ล้านบาท แต่ปีนี้เราใช้ไม่ถึง 30 ล้านบาทเพราะต้องระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้น ออนไลน์จึงเป็นทางที่เราไปเต็มรูปแบบเพราะตัวเลือกเราถูกบีบมา ดังนั้นเชื่อว่าอนาคตสัดส่วนยอดขายออนไลน์ปีนี้จะอยู่ที่ 21% จากปีที่ผ่านมามีเพียง 9.2% และปีหน้ามีโอกาสถึง 30-40%

สุดท้าย เป้าหมายปีนี้ของ Nikon คือ ต้องพยายามติดลบให้น้อยกว่าตลาด โดยต้องไม่เกิน 30% ซึ่งในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีจะเป็นตัวชี้วัดสิ่งที่เราทำ

]]>
1305939
COVID-19 ซ้ำเติมธุรกิจกล้องขาลง Nikon ปลดพนักงาน 700 คน ในไทย-ลาว กำไรลด 88% https://positioningmag.com/1281190 Fri, 29 May 2020 08:46:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281190 Nikon ผู้ผลิตกล้องรายใหญ่จากญี่ปุ่น ประกาศปลดพนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 700 คน เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจกล้องดิจิทัล หลังรายได้เเละยอดขายลดลงต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 เตรียมรับขาดทุนในช่วง 2 ปีนี้ 

ก่อนหน้านี้ “ตลาดกล้องดิจิทัล” ก็อยู่ในช่วงขาลงหนักอยู่เเล้ว เนื่องจากผู้บริโภคหันมาใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพมากขึ้น เหล่าบริษัทกล้องทั้งหลาย จึงพยายามจะปรับตัวโดยหันมามุ่งตลาดกล้อง Mirrorless เเละเจาะตลาดคนรุ่นใหม่ กลุ่มบล็อกเกอร์หรือคนที่ชอบถ่ายวิดีโอ ซึ่งความต้องการใช้กล้องที่มีความละเอียดสูง

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ซ้ำเติมให้ยอดขายกล้องลดฮวบลงไปอีก เพราะผู้คนไม่สามารถออกไปท่องเที่ยวหรือออกไปถ่ายภาพได้ตามปกติ อีกทั้งหลายคนยังต้องประหยัดค่าใช้จ่าย กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง

อ่านเพิ่มเติม : ตลาดกล้อง ขาลงหนักมาก “ฟูจิฟิล์ม” ฮึดสู้รอบใหม่ เน้นถ่ายวิดีโอ หวังพึ่ง Vlogger-Youtuber

Nikkei Asian Review รายงานว่า การปลดพนักงานฝ่ายผลิตในส่วนที่เกี่ยวกับกล้องของ Nikon ครั้งนี้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 จนถึงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งบางส่วนเป็นการให้ออกในรูปแบบสมัครใจ “เกษียณก่อนกำหนด” (Early Retire)

สำหรับในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากการลดจำนวนพนักงานครั้งนี้ จำนวน 500 คน ส่วนอีก 200 คนเป็นพนักงานใน สปป.ลาว คิดเป็นสัดส่วนราว 10% ของจำนวนพนักงานในแต่ละประเทศ

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อรายได้ของ Nikon ซึ่งหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในของวงการกล้อง โดยปีงบประมาณ 2019 ที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมา บริษัทมีผลกำไรสุทธิลดลง 88% เหลือ 7,600 ล้านเยน ( ราว 2.2 พันล้านบาท)

นอกจากนี้ COVID-19 ยังทำให้การเปิดตัวโปรดักต์ใหม่ล่าช้าด้วย อย่างกล้องรุ่น D6 ซึ่งเป็นกล้องดิจิทัลที่มีฐานเเฟนคลับเป็นกลุ่มช่างภาพกีฬา เมื่อผู้คนถูกจำกัดการกิจกรรมต่างๆ จึงทำให้ยอดขายกล้องลดลงไปด้วย

Hiroyuki Ikegami รองประธานอาวุโสฝ่ายธุรกิจถ่ายภาพของ Nikon กล่าวว่า ท่ามกลางผลกระทบของการระบาดที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต “เราจะมีปรับกำลังการผลิตให้มีความเหมาะสม”

อย่างไรก็ตาม Nikon ไม่ได้เปิดเผยคาดการณ์รายได้ในงบการเงินปีนี้ เเละมองว่าการฟื้นตัวของยอดขายกล้องจะเป็นไปอย่างล่าช้า

“เราต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการขาดทุนในธุรกิจการถ่ายภาพ ช่วง 2 ปีนี้” Muneaki Tokunari ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินระบุ

]]>
1281190
ถึงคราวยักษ์หลับต้องขยับตัว “Canon – Nikon” เปิดศึก Mirrorless Full Frame หลังจากปล่อยให้ “Sony” กินรวบมานาน https://positioningmag.com/1193157 Wed, 17 Oct 2018 23:08:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1193157 Thanakit

ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีก่อนตอนที่ “Sony” ประกาศเปิดตัวกล้อง “Mirrorless Full Frame” ตัวแรกพร้อมกันถึง 2 รุ่นคือ “A7 และ A7R” ซึ่งวางคอนเซ็ปต์ตัวเล็ก จับถนัดมือ คล่องตัว ดีไซน์สวยงามแบบกล้อง Mirrorless พร้อมจัดเต็มเซ็นเซอร์แบบ Full Frame เหมือนกับกล้อง DSLR ที่สำคัญยังมาในราคาที่จับต้องได้อยู่ที่ราว 50,000 – 70,000 บาท เท่านั้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ถูกใจ “ช่างภาพมืออาชีพ” ที่ Sony อยากตีตลาดมาตลอด

เวลานั้นหลายคนปรามาสว่า Mirrorless Full Frame ของ Sony จะไปได้สักกี่น้ำ ด้วยเทคโนโลยีที่ใส่เข้ามาจะประสบความสำเร็จถึงขนาดดึงความสนใจของช่างภาพมืออาชีพได้หรือไม่? เพราะอย่างที่รู้กัน 2 ตัวเลือกแรกเวลาที่มืออาชีพจะซื้อกล้องตัวใหม่มีอยู่ 2 แบรนด์คือ “Canon และ Nikon” ที่กินรวบตลาดเกือบจะ 100% อีกทั้งยังทำได้ดีมาตลอดในตลาดนี้

แต่แล้วด้วยราคาที่จับต้องได้และสเปกที่อัดแน่น Sony ก็สามารถหักปากกาเซียนลงได้เป็นผลสำเร็จ เพราะตั้งแต่เปิดตัว Mirrorless Full Frame ก็ทำให้ Sony ครองเบอร์ 1 กล้อง Mirrorless ในสหรัฐฯ มานานถึง 6 ปีด้วยกัน ที่สำคัญเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2018 ที่ผ่านมา Sony ยังได้ประกาศข่าวที่สร้างความ “ช็อก” ให้กับ 2 แบรนด์ยักษ์

ด้วยการก้าวขึ้นเป็นแชมป์ยอดขายกล้อง Full Frame ในช่วงครึ่งปีแรก 2018 โดยบอกว่ากล้อง Full Frame 4 ใน 10 ตัวที่ขายใน “สหรัฐอเมริกา” ซึ่งเป็นตลาดกล้องมืออาชีพที่ใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลกถูกตีตราด้วยแบรนด์ Sony

“เมืองไทย” ก็ไม่ได้หนีจาก “ตลาดโลก”

สถานการณ์เช่นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในตลาดโลกเท่านั้น ตลาดในเมืองไทยก็ไม่ได้ต่างกันมากนักเพราะกลุ่มกล้อง Mirrorless ที่มีราคาตั้งแต่ 50,000 – 100,000 บาท ซึ่งคิดเป็นยอดขายราว 22,000 เครื่องต่อปี หรือคิดเป็นประมาณ 15% ในแง่มูลค่า Sony ได้กวาดส่วนแบ่งไปมากกว่า  80% ด้วยกัน

แน่นอนความสำเร็จของ Sony ไม่ได้มาด้วยโชคช่วย แต่เกิดจากยอดขายของ Mirrorless Full Frame กับความใจป้ำของ Sony ที่ยอมอัดสเปกและหั่นราคาทำให้ถูกใจช่างภาพมืออาชีพที่ต้องการกล้องมาไว้ใช้สำหรับถ่ายงานที่ไม่จำเป็นต้องจริงจังมาก อีกทั้งยังสามารสร้างแรงดึงดูดให้กับเหล่ามือสมัครเล่นที่มีอำนาจในการจ่ายให้เข้าถึง Sony อีกด้วย

ขณะเดียวกันหลายคนก็จับตาว่า “Canon และ Nikon” จะวางแผนการโต้กลับอย่างไร จะปล่อยไว้อย่างนี้คงไม่ดีแน่ๆ เพราะยิ่งนานไปฐานลูกค้าก็มีโอกาสเปลี่ยนใจหันไปซื้อกล้องของ Sony ถึงทั้งคู่จะมีความเห็นที่ตรงกันว่า

“ถึงตลาดกล้องในเมืองไทย 60% จะถูกครองโดยกล้อง Mirrorless ส่วนกล้อง DSLR ที่เป็นฐานหลักของทั้ง Canon และ Nikon จะเหลือเพียง 30% เท่านั้น แต่ก็เชื่อว่ากล้อง Mirrorless จะไม่สามารถกินรวบกล้อง DSLR ได้ทั้งหมดแน่นอน เพราะถึงอย่างไรช่างภาพมืออาชีพก็ยังเลือก DSLR อยู่ดี”

ตีความหมายได้จากคำพูดนี้ง่ายๆ คือ ถึงแนวโน้มช่างภาพมืออาชีพจะหันไปสนใจ Mirrorless Full Frame มากขึ้น แต่กล้องรุ่นนี้ยังไม่ได้เหมาะกับทุกสถานการณ์ หากต้องถ่ายในงานที่ไม่สามารถมีข้อผิดพลาดได้เลย หรือกระทั่งการแข่งขันกีฬาที่ต้องจับภาพการแข่งขันที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว “DSLR” ยังถือเป็นตัวเลือกแรกอยู่ดี ส่วน Mirrorless Full Frame ซื้อมาสำหรับเป็นกล้องตัวที่ 2 เท่านั้น

มั่นใจใน “DSLR” แต่ก็ทั้ง “Mirrorless Full Frame”

แต่ถึงจะมั่นใจในกล้อง DSLR ของตัวเองก็ตาม แต่การจะปล่อยให้ Sony ทำตลาดใน Mirrorless Full Frame คนเดียวก็คงจะไม่ดีนัก ในที่สุดก็ถึงเวลาที่ 2 ยักษ์ที่หลับมานานก็ได้ขยับตัวบุก Mirrorless Full Frame เสียที เพราะถึงอย่างไรทั้ง Canon และ Nikon ยังคงได้เปรียบกว่า Sony ตรงที่มี “Brand Image” ของความเป็นมืออาชีพซึ่งหากใครจับก็จะได้ภาพลักษณ์เช่นนั้นติดไปด้วยต่างจาก Sony ที่ยังติดภาพของการเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า

ทีนี้ก็เหลือแต่ว่า Canon และ Nikon จะเข็น Mirrorless Full Frame ออกมาโดนใจช่างภาพมืออาชีพหรือเปล่า เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรสำหรับช่างภาพที่จะซื้อกล้องใหม่สักตัวด้วย Mirrorless มีขนาดที่เล็กกว่า DSLR เลนส์ที่มีหลายรุ่นจึงใช้ด้วยกันไม่ได้ จะขายของที่มีหรือซื้อใหม่ทั้งหมดก็ต้องใช้เงินหลักหลายแสนบาท

เรื่องนี้จึงไม่ได้จบแค่กล้อง 1 ตัว แต่ยังมีเรื่องเลนส์ที่ต้องคิดอีกจากการที่ช่างภาพแต่ละคนมักจะมีเลนส์อย่างน้อย 3-4 ตัวติดในกระเป๋า ช่วงราคาที่ซื้อก็มักจะอยู่ระหว่าง 30,000 – 80,000 บาท การแก้โจทย์จึงอยู่ที่ ต้องวางขายเมาท์อะแดปเตอร์ไปพร้อมกัน เพื่อสร้างตัวเลือกให้กับลูกค้า และไม่ต้องคิดมากจนเกินไปหากจะซื้อ Mirrorless Full Frame ของทั้งคู่

ไม่ต้องลุ้นให้มากความ Nikon พร้อมขาย “Z Series” แล้ว

NiKon บอกว่าได้จับตาดูความเปลี่ยนแปลงของตลาดกล้องเมืองไทยในช่วง 3 ปีมานี้อย่างใกล้ชิด โดยมองว่า Mirrorless ได้ผ่านจุดที่พีคที่สุดไปแล้ว เนื่องจาก Mirrorless เริ่มมีสัดส่วนที่เล็กลงไป ส่วน DSLR เริ่มมีมากขึ้น หากผ่านช่วงนี้ไปในที่สุดสิ่งที่เหลืออยู่จะเป็นดีมานด์ที่แท้จริงของตลาด

แต่ถึงอย่างนั้น Nikon ก็ละเลย Mirrorless ไม่ได้ โดยเซกเมนต์ที่ NiKon กำลังให้ความสนใจมากที่สุดคือ Mirrorless Full Frame ที่แม้จะมีสัดส่วนเพียง 30% หากมีอัตราเติบโตมากถึงปีละ 30% ซึ่งมาจาการที่กลุ่มมืออาชีพและมือสมัครเล่นที่กำลังพัฒนาขึ้นมาเป็นมืออาชีพหันมาซื้อกล้องประเภทนี้มากขึ้น

อีกทั้งราคาเฉลี่ยในตลาดก็ลดลงเพราะมีสินค้าใหม่เข้ามาทดแทน ฐานตลาดจึงใหญ่ขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีราคาตั้งแต่ 30,000 – 130,000 บาท โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 60,000 – 80,000 บาท

และหลังจากที่ปล่อยให้เหล่าสาวก Nikon ลุ้นมาหลายเดือนจนเกิดเป็นข่าวลือพร้อมภาพหลุดตัวเครื่องต่างๆ นานา ในที่สุด Nikon ก็พร้อมเปิดตัว Mirrorless Full Frame รุ่นแรกของตัวเองภายใต้ชื่อ “Z Series”

ครั้งนี้ไม่ได้มาเพียง 1 แต่มาถึง 2 ด้วยกัน ได้แก่ Nikon Z6 ราคาเฉพาะตัวกล้อง 69,900 บาท พร้อมเลนส์ 75,990 – 91,990 บาท โดยยังไม่มีกำหนดวางขาย

โทรุ มัทสึบาระ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นิคอน เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

“ผู้บริโภคอยากได้กล้องที่เล็กลงแต่คุณภาพเดียวกับ DSLR จึงพัฒนากล้องตัวนี้มา ถามว่ามาช้าไปไหมในตลาด คงตอบว่าไม่ เนื่องจากช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะกล้องเป็นระบบใหม่ทั้งหมดเลย ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนก่อนผลตอบรับดีมากๆ ถึงเราไม่ใช่รายแรกในตลาดที่ทำ แต่มั่นใจว่าพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์มากกว่ารุ่นอื่นๆ ในตลาดแน่นอน”

ในการนี้ Nikon ได้วางแผนการตลาดที่เน้นการสร้างโอกาสในการปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผ่านการสัมมนาเวิร์กชอปทุกอาทิตย์และกิจกรรมทางการตลาดอื่นๆ ที่จัดขึ้นในหลายพื้นที่

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญในปีนี้คือการเปิด “Nikon Experience Hub” แห่งแรกในเมืองไทย ที่ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมกับวางแผนขยาย Nikon Experience Zone ในร้านที่มีทราฟฟิกจำนวนมาก ตั้งเป้าทำ 6 สาขาในกรุงเทพฯ ก่อน

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อทำให้ Nikon พลิกกลับขึ้นมาเป็น “เบอร์ 1” ให้ได้ หลังจากที่โดนแบรนด์รองที่เร่งเครื่องทำตลาดจน Nikon หล่นมาเป็นเบอร์ 4 ในตลาด Mirrorless โดยย้ำความมั่นใจว่าเบอร์ 1-4 มีส่วนแบ่งตลาดที่ไม่ห่างกันมาก ราว 1-3% จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ Nikon จะเบียดขึ้นไปได้

ไม่ปล่อยให้ Nikon รอนาน “Canon” ส่ง “EOS R” เข้าร่วมสงครามด้วย

คล้อยหลัง Nikon ไม่ถึง 1 เดือน ในที่สุด Canon ก็เผยโฉม Mirrorless Full Frame รุ่นแรกให้กับเหล่าสาวกในเมืองไทย ภายใต้รุ่น “EOS R” ที่ได้ยกเครื่องครั้งใหญ่พร้อมกับนำเข้าจากญี่ปุ่น

ซึ่งเหตุผลนี้แหละที่ทำให้ราคาเฉพาะตัวกล้องเปิดตัวออกมา “เกิดความคาดหมาย” ของบรรดาแฟนคลับ Canon อยู่ไม่น้อย เพราะคาดกันว่าราคาเปิดตัวคงไม่เกิน 80,000 บาท แต่ขายจริงเกินขึ้นมาเกือบ 3,000 บาท ส่วนญี่ปุ่นอยู่ประมาณ 70,000 ต้นๆ เท่านั้น

โดยราคาเฉพาะตัวกล้องอยู่ที่ 82,900 บาท ถ้ามาพร้อมเลนส์ 25-105 ราคา 122,990 บาทพร้อมวางขายเรียบร้อยแล้ว ส่วนเลนส์มี 4 รุ่น ราคา 19,900 – 111,400 บาท, เมาท์อะแดปเตอร์ 3 รุ่น 3,990 – 7,990 บาท

ซึ่งราคาที่ว่านี้ถูกเคาะโดย Canon Japan ได้สร้างความหนักอกหนักใจให้กับ Canon Thailand ที่ไม่สามารถทำให้ชาวไทยซื้อในราคาที่ถูกกว่านี้ได้ เบื้องต้นจึงแก้ด้วยการแถมเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R ราคา 3,990 บาท เพื่อปลอบใจให้กับแฟนคลับชาวไทย โดยจะต้องซื้อภายใน 1 เดือนนับจากวันแรกที่วางขายเท่านั้น

สำหรับฐานลูกค้าของ “EOS R” ต้องการกวาดไปในทุกเซ็กเมนต์ทั้งมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นโดยหลักๆ จะมาจาก 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่ซื้อไปเป็นกล้องตัวที่ 2 และ 2.ดึงจากฐานลูกค้าคู่แข่ง

รินทร์ ตันติพงศ์พาณิช รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า

“ตอนแรกก็กังวลเหมือนกันเนื่องจากมาช้ากว่าคู่แข่ง กล้องที่ออกมาจะสู้ได้ไหม แต่จากผลตอบรับในระดับโลกและในเมืองไทยที่ตอนนี้มียอดสั่งจองเข้ามาแล้วกว่า 1,000 ตัว ทำให้สถานการณ์ของ Canon เปลี่ยนทันที พร้อมกับตั้งความหวังว่าในเมืองไทย EOS R จะไปได้ดีแน่ๆ”

เบื้องต้นจนถึงสิ้นปี Canon ตั้งเป้ายอดขายเฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 ตัว เหตุที่ไม่ตั้งเยอะกว่านี้เพราะยังไม่มั่นใจว่าสินค้าจะเข้ามาเยอะแค่ไหน ดังนั้นในช่วงนี้เกมการตลาดจึงจะเน้นประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงเรื่องที่ “EOS R” เข้ามาวางจำหน่ายแล้ว

ส่วนปีหน้าค่อยมาวางแผนการตลาดอีกที แต่หลักๆ แล้วจะเน้นการทำกิจกรรมเพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้ามาทดลองกับตัวเครื่องมากกว่า เนื่องจาก Canon มีความเห็นว่าการโฆษณามากๆ ดึงดูดลูกค้าไม่มากเท่าการดึงให้พวกเขาได้มาสัมผัสเองด้วยตัวเลือกที่เพิ่มมากขึ้น กับการเห็นสินค้าด้วยตาตัวเองย่อมดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้ Canon จะเป็นเบอร์ 1 ของกล้อง DSLR ด้วยส่วนแบ่ง 50-60% ในแง่ของจำนวนเครื่องก็ตาม แต่ในส่วนของ Mirrorless รั้งเบอร์ 3-4 มีส่วนแบ่งราว 20% เท่านั้น

การเข้ามาของ EOS R สร้างความหวังให้กับ Canon ที่ต้องการให้จนถึงสิ้นปีนี้ส่วนแบ่งจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 25% พร้อมกับตั้งความหวังที่ต้องการขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 อย่างเร็วที่สุดภายในปี 2019 หรือช้าที่สุดภายในปี 2020

เมื่อถึงเวลานั้น Canon ก็เชื่อว่าตัวเองจะต้องมีส่วนแบ่งไม่น้อยกว่า 30% อย่างแน่นอน ซึ่งส่วนหนึ่งจะมาจากการที่ “EOS R” จะมีรุ่นใหม่เข็นเข้าสู่ตลาดไม่น้อยกว่า 1-2 รุ่นอย่างแน่นอน

ทั้งหมดนี้คือเกมที่ 2 ยักษ์ที่เคยหลับจำต้องลุกขึ้นมาเข้าสู่สงคราม “Mirrorless Full Frame” ที่ตัวเองละเลยมานาน ความหวังของทั้งคู่จึงต้องฝากไว้กับทั้ง “Z Series” และ “EOS R” จะพลิกเกมและสร้างความฝันที่วางไว้ได้หรือไม่ ต้องติดตามต่อไป แบบห้ามกะพริบตาเลยทีเดียว.

]]>
1193157
เมื่อ “NiKon” ต้องลุยตลาดกล้อง Mirrorless สลัดภาพแบรนด์แก่ เข้าถึงยาก https://positioningmag.com/1189204 Mon, 24 Sep 2018 04:46:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1189204 เรื่อง : Thanatkit

เป็นแบรนด์กล้องเก่าแก่ มีอายุถึง 101 ปี ได้เวลาที่นิคอนจะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ไม่อาจเมินเฉยต่อตลาดกล้องมิลเลอร์เลส” ได้อีกต่อไป

ตลาดกล้องเมืองไทยในมุมมองของนิคอนนั้น มีคาแร็กเตอร์ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยเซ็กเมนต์มิลเลอร์เลสเติบโตมากกว่ากลุ่มอื่นถึง 2 เท่า

เนื่องจากคาแร็กเตอร์ตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะผู้หญิง ที่ชอบถ่ายรูปแล้วอัพลงโซเชียลมีเดียจึงชอบกล้องมิลเลอร์เลสที่คล่องตัวมากกว่า แต่ในต่างประเทศโซเชียลมีเดียไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก คนที่ซื้อกลุ่มจึงเป็นกลุ่มที่สนใจเรื่องการถ่ายรูปจึงมองสเป็กและจุดประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก

ในเมืองไทยมิลเลอร์เลสกลายเป็นเซ็กเมนต์ที่กินรวบตลาดกว่า 60% เหนือดีเอสแอลอาร์ที่เหลือสัดส่วนเพียง 30% อีก 10% เป็นที่ยืนของคอมแพกต์ซึ่งต่างจากเมืองนอกที่ 2 เซ็กเมนต์แรกมีสัดส่วนไม่หนีห่างกันมาก

แต่เดิมนั้นนิคอน ถือเป็น 1 ใน 2 แบรนด์ที่ตีคู่มากับแคนนอน ในยุคที่ดีเอสแอลอาร์กินพื้นที่ส่วนใหญ่ในตลาด ส่วนมิลเลอร์เลสเพิ่งมาบูมในช่วง 5-6 ปีนี้เอง

นิคอนได้จับตาดูความเปลี่ยนแปลงของตลาดในช่วง 3 ปีมานี้อย่างใกล้ชิด โดยมองว่า มิลเลอร์เลสได้ผ่านจุดที่พีคที่สุดไปแล้ว เริ่มมีสัดส่วนที่เล็กลงไป ส่วนดีเอสแอลอาร์มีมากขึ้น หากผ่านช่วงนี้ไป ในที่สุดสิ่งที่เหลืออยู่จะเป็นดีมานด์ที่แท้จริงของตลาด

ขณะเดียวกันนิคอนไม่ได้ปฏิเสธเรื่องมิลเลอร์เลสโต แต่ในระยะใกล้ยังไม่สามารถทดแทนกันได้ทั้งหมดเนื่องจากกลุ่มมืออาชีพยังเชื่อมันในดีเอสแอลอาร์อยู่ ด้วยรูปแบบการใช้งาน ที่ต้องการความทนทานและไว้ใจได้ แต่การที่มิลเลอร์เลสเป็นอุปกรณ์ที่เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด บางสถานการณ์อาจจะไม่ตอบโจทย์ได้

อย่างไรก็ตาม การที่กลุ่มแบรนด์รองอย่างฟูจิ ฟิล์ม, โอลิมปัส, พานาโซนิค และ โซนี่เร่งทำตลาดในเซ็กเมนต์มิลเลอร์เลสจนเบียดขึ้นมาหายใจรดต้นคอ และในที่สุดก็สามารถเบียดนิคอนให้หล่นมาเป็นเบอร์ 4 ในเมืองไทย

กลายเป็นแรงกดดันมากที่สุดของนิคอนในเวลานี้ที่ต้องการพลิกกลับขึ้นมาเป็นเบอร์ 1” ให้ได้ ถึงจะบอกว่า เบอร์ 1-4 มีส่วนแบ่งตลาดที่ไม่ห่างกันมาก ราว 1-3% ก็ตาม

เพื่อไปให้ถึงจุดหมายนิคอนจึงต้องลงตลาดทั้งมิลเลอร์เลสด้วย แต่ก็ยังไม่ทิ้งดีเอสแอลอาร์ โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่กำลังจับจ่ายใช้สอยสูง และกลุ่มนี้ไม่ได้ซื้อแค่กล้องอย่างเดียว ยังมีโอกาสต่อยอดไปอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เลนส์และแอคเซสเซอรี่ที่นิคอนผลิตอยู่ด้วย

การลงตลาดมิลเลอร์เลสจึงทำให้กลุ่มเป้าหมายกว้างขึ้น ไม่ใช่กลุ่มมืออาชีพที่เคยเป็นหลัก แต่รวมไปถึงกลุ่มที่มีการถ่ายรูปเป็นงานอดิเรกหรือรักการถ่ายรูป ซึ่งกมีกำลังในการจับจ่ายเช่นเดียวกัน ที่สำคัญผู้บริโภคกลุ่มนี้ในเมืองไทยมีขนาดใหญ่ที่สุด

เซ็กเมนต์ที่นิคอนกำลังให้ความสนใจมากที่สุดคือกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเพรม (Full-frame Sensor) ที่แม้จะมีสัดส่วนเพียง 30% ของตลาดรวมมิลเลอร์เลส หากมีอัตราเติบโตมากถึงปีละ 30% ซึ่งมาจาการที่กลุ่มมืออาชีพ และมือสมัครเล่นที่กำลังพัฒนาขึ้นมาเป็นมืออาชีพ หันมาซื้อกล้องประเภทนี้มากขึ้น

อีกทั้งราคาเฉลี่ยในตลาดก็ลดลง เพราะมีสินค้าใหม่เข้ามาทดแทนฐานตลาดจึงใหญ่ขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีราคาตั้งแต่ 30,000 – 130,000 บาท โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 60,000 – 80,000 บาท

ล่าสุดนิคอนได้เปิดตัวกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเพรมตัวแรกZ Series” จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ NIKON Z6  ราคาเฉพาะตัวกล้อง 69,900 บาท พร้อมเลนส์ 75,990 – 91,990 บาท โดยยังไม่มีกำหนดวางขาย

และ NIKON Z7 เฉพาะตัวกล้องราคา 119,900 บาท พร้อมเลนส์ 125,990 – 147,990 บาท กำหนดวางขาย 27 กันยายน 2017 นอกจากนี้ยังมีเลนส์อีก 3 ตัว ราคา 22,220 – 36,990 บาท กับ Adapter FTZ ราคา 10,900 บาท วางขายพร้อมกันอีกด้วย

โทรุ มัทสึบาระ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นิคอน เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าบอกเลยว่าเราไม่ได้มาช้า เนื่องจากนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะกล้องเป็นระบบใหม่ทั้งหมดเลย ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนก่อนผลตอบรับดีมากๆ ถึงเราไม่ใช่รายแรกในตลาดที่ทำ แต่มั่นใจว่าพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์มากกว่ารุ่นอื่นๆ ในตลาดแน่นอน

นอกเหนือจากสินค้าใหม่แล้ว นิคอนได้วางแผนการตลาดด้วยการสัมมนาเวิร์คช็อปทุกอาทิตย์และกิจกรรมทางการตลาดอื่นๆ ที่จัดขึ้นในหลายพื้นที่

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญในปีนี้คือการเปิด “Nikon Experience Hub” แห่งแรกในเมืองไทย และแห่งที่ 4 ในเอเชีย ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อจัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขาย ตั้งเป้ามียอดทราฟฟิกวันธรรมดา 500 คน วันหยุด 1,000 คน

พร้อมกันนี้ได้วางแผนขยาย Nikon Experience Hub แต่มีขนาดเล็กลง ใช้ชื่อว่า Nikon Experience Zone ในร้านที่มีทราฟฟิกจำนวนมาก ตั้งเป้าเริ่ม 6 สาขาในกรุงเทพฯ ก่อน ใช้เงินลงทุนสาขาละ 2-3 ล้านบาท ที่นิคอนรับผิดชอบเอง

ความท้าทายที่สุดของนิคอนในขณะนี้คือ การเปลี่ยนภาพลักษณ์ในสายตาผู้บริโภค เดิมมองว่านิคอนเป็นชายสูงอายุ ที่ถ่ายรูปเก่ง แค่พูดไม่รู้เรื่อง คนรุ่นใหม่จึงเข้ามาหาแบรนด์ได้ยาก ซึ่งกลยุทธ์การตลาดที่ทำทั้งหมดก็เพื่อปรับภาพลักษณ์ให้เด็กลง เหลือสักอายุ 25 จะเป็นชายหรือหญิงแล้วแต่มุมมอง แต่ยังคงคุณภาพในเรื่องของการถ่ายรูป หากพูดคุยได้ง่ายขึ้น

]]>
1189204