PC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 29 Jan 2024 08:29:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยอดขาย ‘พีซี’ ปี 2023 ลดลงกว่า 14% เหลือ 241.8 ล้านเครื่อง ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 17 ปี https://positioningmag.com/1460622 Mon, 29 Jan 2024 05:23:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460622 ปี 2023 ถือเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดพีซีทั่วโลก โดยภาพรวมลดลง 14.8% และนับเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ลดลงในระดับเลขสองหลัก ซึ่งยอดขายพีซีทั่วโลกมีทั้งหมด 241.8 ล้านเครื่อง และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีที่ยอดขายมีไม่ถึง 250 ล้านเครื่อง

ตลาดพีซีทำสถิติต่ำสุดในรอบ 17 ปี

การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยยอดขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีทั่วโลกปี 2023 ซึ่ง หดตัวติดต่อกัน 8 ไตรมาส นับตั้งแต่ปี 2022 โดยปี 2023 มียอดขายเพียง 241.8 ล้านเครื่อง ลดลงจาก 284 ล้านเครื่องในปี 2022 และนับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายต่ำกว่า 250 ล้านเครื่อง นับตั้งแต่ปี 2006 ที่ตลาดพีซีมียอดขายเพียง 230 ล้านเครื่อง

อย่างไรก็ตาม ตลาดเริ่มมีสัญญาณบวกในช่วงไตรมาส 4 ปี 2023 ที่มียอดรวม 63.3 ล้านเครื่อง เติบโต 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2022 นับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายพีซีรายไตรมาสกลับมาเติบโต โดย มิคาโกะ คิตากาวะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ มองว่า ปี 2023 ถือเป็นปีที่ ตลาดพีซีมาถึงจุดลดลงต่ำสุดแล้ว และคาดว่าปี 2024 ตลาดจะกลับมาเติบโต อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกเนื่องจากการขึ้นราคาของชิ้นส่วน รวมถึงความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ

Lenovo ครองเบอร์ 1 ตลาด

ผู้ขายพีซี 6 อันดับแรกในไตรมาส 4 ปี 2023 ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดย Lenovo, HP, Apple และ Acer มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีเพียง Dell และ ASUS มีอัตราการเติบโตลดลง โดยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว Lenovo มีการเติบโตในการจัดส่งพีซีทั่วโลก นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ส่วน HP มีการเติบโตเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี ขณะที่ Dell มีการเติบโตลดลงเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี

เนื่องจากปัญหาพิษเศรษฐกิจในจีนส่งผลกระทบต่อความต้องการพีซี และยังกระทบรุนแรงต่อ Lenovo เนื่องจากจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตาม Lenovo สามารถทำตลาดได้ดีในตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (หรือ EMEA) รวมถึงตลาดอเมริกาที่เติบโตในระดับเลขสองหลัก ซึ่งชดเชยตลาดเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่หดตัว

EMEA เติบโตสูงเป็นประวัติการณ์

ตลาดพีซีในยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา และอเมริกาเหนือ (EMEA) มีการเติบโตสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบรายปี โดยถือเป็นผู้นำการเติบโตทั่วโลก โดยตลาดพีซีใน EMEA มีการเติบโตสูงสุดที่ 8.7% ซึ่งถือเป็นการกลับมาเติบโตครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 เมื่อเทียบเป็นรายปี

นอกจากนี้ ปี 2023 ถือเป็นปีแรกที่ตลาดพีซีในสหรัฐฯ เติบโตนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2021 โดยเพิ่มขึ้น 1.8% ในไตรมาส 4 ปี 2023 ซึ่งการเติบโตของแล็ปท็อปช่วยชดเชยการเติบโตที่ลดลงของเดสก์ท็อป โดย HP ยังครองตำแหน่งผู้นำตลาดพีซีในสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ 27.7% ตามมาด้วย Dell ที่ 24.2%

“การเติบโตของพีซีในสหรัฐฯ สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เนื่องจากตลาดมีเสถียรภาพในระหว่างไตรมาส เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งช่วยให้การใช้จ่ายของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มธุรกิจก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทขนาดใหญ่ยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย”

เอเชียแปซิฟิกหดตัวหนักเพราะจีน

ในส่วนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงหดตัว -8% ในช่วง Q4/2023 โดยได้รับแรงกดดันจากยอดที่ตกต่ำในจีน นับเป็นการลดลงติดต่อกัน 7 ไตรมาส โดยแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปเป็นอุปกรณ์ไอทีสองชนิดที่เติบโตลดลงในภูมิภาคนี้ ซึ่งเดสก์ท็อปได้รับผลกระทบมากกว่าโดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญในประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อตลาดเอเชียแปซิฟิกโดยรวมปรับตัวลดลงระดับเลขสองหลักเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ตลาดหลักในเอเชียแปซิฟิกมีการลดลงเล็กน้อย ส่วนตลาดเกิดใหม่เติบโตขึ้นเพียงเลขหลักเดียว

]]>
1460622
อินเดียประกาศควบคุมการนำเข้า PC และ Laptop รวมถึง Tablet เพื่อผลักดันการผลิตในประเทศ https://positioningmag.com/1439741 Thu, 03 Aug 2023 14:56:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439741 รัฐบาลอินเดียส่งมาตรการยาแรงออกมา โดยล่าสุดประกาศควบคุมการนำเข้า PC และ Laptop รวมถึง Tablet เพื่อผลักดันการผลิตในประเทศ และต่อยอดแผนการที่จะเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตสินค้าสำคัญของโลกหลังจากนี้ และยังรวมถึงเหตุผลด้านความมั่นคงด้วย

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า รัฐบาลอินเดียเตรียมที่จะควบคุมการนำเข้า PC และ Laptop รวมถึง Tablet โดยที่ผู้นำเข้าจะต้องขออนุญาตกับรัฐบาล โดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลทันที ซึ่งจะกระทบกับผู้ผลิตหลายรายไม่ว่าจะเป็น Samsung หรือแม้แต่ Apple รวมถึง Dell เป็นต้น

มาตรการดังกล่าวนี้จุดประสงค์สำคัญคือรัฐบาลอินเดียต้องการที่จะผลักดันให้มีการผลิตสินค้าอย่าง PC และ Laptop รวมถึง Tablet ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น

แผนการนี้ยังเป็นกุญแจสำคัญสู่ความทะเยอทะยานของอินเดียที่ต้องการจะเป็นแหล่งผลิตสินค้าสำคัญ รวมถึงเป็นแหล่ง Supply Chain ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในระดับโลก โดยอินเดียตั้งเป้าหมายการผลิตต่อปีที่มีมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2026

ขณะเดียวกันมาตรการดังกล่าวนี้รัฐบาลอินเดียยังให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีรวมกันมากถึง 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าหากผู้ผลิตย้ายกำลังการผลิตมาภายในประเทศก่อนวันที่ 30 สิงหาคมนี้

กฎระเบียบปัจจุบันของอินเดียนั้นอนุญาตให้บริษัทต่างๆ นำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าวข้างต้นได้อย่างอิสระ แต่กฎใหม่กำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ซึ่งข้อกำหนดนี้คล้ายคลึงกับข้อจำกัดที่อินเดียบังคับใช้ในปี 2020 สำหรับการนำเข้าโทรทัศน์

ตัวเลขการนำเข้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของอินเดีย ซึ่งรวมถึง PC และ Laptop รวมถึง Tablet อยู่ที่ 19,700 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา โดยตัวเลขดังกล่าวเติบโต 6.25% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

ในช่วงที่ผ่านมาอินเดียได้ผลักดันการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ สอดคล้องกับผู้ผลิตสินค้าไม่ว่าจะเป็น Apple ที่เริ่มย้ายกำลังการผลิตจากประเทศจีนออกมา เนื่องจากต้องการความยืดหยุ่นด้าน Supply Chain หลังจากที่ประสบปัญหาการผลิตหยุดชะงักในแดนมังกรช่วงที่ผ่านมา

มาตรการดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่มากนัก ก่อนหน้านี้อินเดียเคยได้กำหนดอัตราภาษีศุลกากรสูงสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ เพื่อที่จะกระตุ้นการผลิตในประเทศมาแล้ว

นอกจากนี้ Reuters ยังรายงานว่ามาตรการดังกล่าวยังเกี่ยวยังกับประเด็นด้านความมั่นคงเนื่องจากสินค้าอย่าง PC และ Laptop รวมถึง Tablet นั้นผลิตในประเทศจีนเป็นสัดส่วนที่สูง ทำให้อินเดียต้องออกมาตรการดังกล่าวออกมาเพื่อที่จะสร้างความปลอดภัยจากสินค้าต่างๆ

อย่างไรก็ดีการประกาศมาตรการดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าสินค้า เนื่องจากถ้าหากผู้นำเข้าจะต้องใช้เวลาที่หน่วยงานรัฐจะไฟเขียวให้สามารถนำเข้าสินค้าเข้าในประเทศได้ โดยอินเดียจะไฟเขียวให้ผู้นำเข้าสินค้าไม่ต้องขออนุญาตกับรัฐบาลจนถึงวันที่ 31 สิงหาคมนี้เท่านั้น

Note: ล่าสุดอินเดียประกาศเลื่อนการขออนุญาตนำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าวออกไปเป็นเดือนตุลาคมแล้ว

]]>
1439741
กลับมาจุดเดิม! ยอดขาย ‘พีซี’ โลก -7.3% เคยโตเร็วสุดในรอบ 20 ปี เพราะได้โควิดดัน https://positioningmag.com/1381370 Tue, 12 Apr 2022 03:06:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381370 ในไตรมาสแรกของปี 2564 ยอดขายพีซีทั่วโลกมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 20 ปี เนื่องจากผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจซื้อแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปเครื่องใหม่เพื่อ Work และ Learn Form Home และภาพรวมทั้งปี ยอดขายพีซีเติบโตขึ้นประมาณ 15% หลังจากที่ตั้งแต่ปี 2555 ตลาดพีซีทั่วโลกแทบไม่เติบโต

มาไตรมาสแรกของปี 2565 การจัดส่งพีซีทั่วโลกลดลงอย่างมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าช่วงที่บูมที่สุดของยอดขายพีซีได้สิ้นสุดลงแล้วโดย Gartner คาดว่า ยอดส่งมอบพีซีปีนี้จะลดลง -7.3% เหลือ 77.5 ล้านเครื่อง ซึ่งส่วนที่ลดลงมากที่สุดมาจากยอดขาย Chromebook ซึ่งเป็นแล็ปท็อปราคาประหยัดที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน

เช่นเดียวกับ IDC ที่ประเมินว่าตลาดจะลดลง 5.1% เป็น 80.5 ล้านเครื่อง ส่วน Canalys คาดว่าตลาดจะลดลง -3% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 65 อย่างไรก็ตาม Gartner ประเมินว่าแม้ว่าจำนวนเครื่องจะลดลง แต่มูลค่าตลาดทั้งหมดยังคงเติบโตได้ราว +3.3% ต่อปี

นักวิเคราะห์บางคนมองว่า สาเหตุที่เริ่มเห็นสัญญาณการเติบโตของตลาดที่ช้าลงอย่างมาก มาจากผู้บริโภคจำนวนมากซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ไปแล้ว ขณะที่อุตสาหกรรมเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับการจัดหาชิ้นส่วนที่จำเป็นสำหรับแล็ปท็อปและเดสก์ท็อป อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกในช่วงที่ยอดขายพีซีเฟื่องฟู อีกทั้งผู้จำหน่ายพีซีหยุดส่งคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ไปยังรัสเซียในระหว่างการรุกรานยูเครน

สำหรับบริษัทที่มียอดขายพีซีสูงสุด 6 อันดับในช่วงไตรมาสแรกของปี ได้แก่

  • Lenovo
  • HP
  • Dell
  • Apple
  • Asus
  • Acer

Source

]]>
1381370
HP ออล-อิน-วัน IT ยุคนี้ต้อง “สวยเสร็จพร้อมใช้” https://positioningmag.com/13322 Fri, 14 Jan 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13322

ตลาดพีซีและโน้ตบุ๊กอาจจะดูเงียบเหงาไปบ้างในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ทั้ง GFK และ IDC ก็ถึงกับคาดการณ์กันไม่ถูกว่าผลกระทบจากน้ำท่วมจะส่งผลต่อยอดขายในปลายปีนี้อย่างไร

แต่สำหรับบริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด (HP) กำลังสนุกกับการแตกเซ็กเมนต์ใหม่ในกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์ ต่างจากแบรนด์อื่นที่ประคองยอดขายไปเรื่อยๆ ซึ่ง พงศ์ธวัช พิเชฐเลอมานวงศ์ ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์และการตลาด บอกว่า การเติบโตของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบ All-in-One (AIO) ของเอชพีที่เพิ่งเปิดเซ็กเมนต์นี้เมื่อปี 2550 กลับมียอดเติบโตถึง 200% ในปีนี้ จนทำให้เอชพีต้องออกมาเปิดตัวซับแบรนด์ใหม่เพื่อส่งสินค้าลงตลาดให้เข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น

“วันนี้เป็นวันแรกที่เราเปิดตัว HP OMNI ซึ่งถือเป็นซับแบรนด์ใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AIO” พงศ์ธวัชประกาศในงานเปิดตัว HP OMNI100 PC เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา

หน้าที่ของเอชพีออมนิ เป็นซับแบรนด์ใหม่ที่จะเข้ามาเติมเต็มตลาดระดับกลาง ในกลุ่ม AIO ซึ่งเอชพีเลือกเปิดตัวครั้งแรกด้วยแบรนด์ HP Touchsmart ซึ่งเน้นกลุ่มระดับบน ด้วยราคาเปิดตัวสูงถึง 4-5 หมื่นบาทในช่วงปีแรกๆ ก่อนจะลดลงมาเหลือประมาณ 3 หมื่นกว่าบาทในปัจจุบัน และตามมาด้วยแบรนด์ HP Pavillion สำหรับกลุ่ม Mid-Low และแบรนด์ Compaq สำหรับกลุ่ม Price Sensitive และต้องการ Performance ของเครื่องแค่ระดับหนึ่ง

ปีแรกที่เปิดตัวทำตลาดเอชพีมีผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม AIO เพียง 2 รุ่น ผ่านไปเพียง 3 ปี ตอนนี้เอชพีมีสินค้าในกลุ่ม AIO รวมกันมากถึง 6-7 รุ่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่เอชพีพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสักตัวที่สามารถติดตั้งง่ายและใช้งานได้ทันที ขณะเดียวกันก็มีดีไซน์ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่มองคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องตกแต่งชิ้นหนึ่งภายในบ้าน

แนวคิดนี้ถือว่ามาถูกทาง เพราะจากตลาดพีซีที่ปีหนึ่งมียอดเติบโตเพียง 4-5% แต่ AIO กลับเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาแชร์ส่วนแบ่งในตลาดพีซีปีละ 1.4-1.5 ล้านเครื่องได้ถึง 5% และกลายเป็นเซ็กเมนต์ในกลุ่มพีซีที่มียอดเติบโตสูงถึง 200% ดังกล่าวมาแล้ว เฉพาะในพอร์ตของเอชพีเอง AIO ก็กลายเป็นกลุ่มสินค้าที่เข้ามาทำรายได้ให้กับองค์กรได้ถึง 15% จากหมวดสินค้าคอนซูเมอร์มาร์เก็ตทั้งหมดของเอชพี

แภทริยา ภัทรากร ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์ โฮมพีซี กลุ่มธุรกิจเพอร์ซันแนล ซิสเต็มส์ เล่าว่า การพัฒนาไลน์ของผลิตภัณฑ์ AIO เริ่มมาตั้งวิชั่นของซีอีโอที่อยากพัฒนามอนิเตอร์ให้มีสีสัน รวมทั้งการพัฒนา Quick Web, Quick Look ต่างๆ ในฟังก์ชันการใช้ของโน้ตบุ๊กและพีซี ดังนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งง่ายใช้งานได้ทันทีก็ถือว่าเป็นทิศทางเดียวกัน

ฉะนั้นสำหรับเอชพีเอง จึงไม่ได้มีแค่พีซีหรือโน้ตบุ๊ก แต่ยังต้องมีพีซีแบบ AIO เพื่อออกมาตอบโจทย์ความต้องการไอทีสักชิ้นที่ “สวยเสร็จพร้อมใช้” เพราะเอชพีรู้ดีว่าถ้าอยากจะเติบโตและชิงส่วนแบ่งจากตลาดคอมพิวเตอร์ที่มีอัตราเติบโตเพียง 4-5% ต่อปีนั้น อย่างน้อยบริษัทจะต้องมีการพัฒนาไลน์ของสินค้าอยู่ตลอดเวลา และที่ลืมไม่ได้ก็คือลูกค้าทุกวันนี้ไม่ได้เลือกสินค้าแค่ราคาและการใช้งาน แต่ดีไซน์ ไลฟ์สไตล์ และความทันสมัย เป็นปัจจัยที่ผู้ผลิตต้องไม่ลืมที่จะนำเสนอไปพร้อมกับสินค้าแต่ละชิ้น

HP OMNI 100
HP OMNI เป็น Sub-brand ใหม่ของคอมพิวเตอร์ในตระกูลเอชพี
Positioning เป็นสินค้าระดับกลาง เน้นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ และดีไซน์
เป้าหมาย เข้ามาเติมช่องว่างในกลุ่มสินค้าระดับกลางจากเดิมที่มีเอชพีมีซับแบรนด์ HP Touchsmart สำหรับตลาดบน HP Pavilion สำหรับกลุ่ม Mid-Low และ Compaq สำหรับกลุ่มที่เน้นราคาซึ่งเป็นซับแบรนด์ในกลุ่ม AIO ที่เปิดตัวมาก่อน
จุดขาย ติดตั้งและใช้งานง่าย เพราะมาพร้อมซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่พร้อมใช้งานได้ทันที ดีไซน์โชว์ได้ มีแอพพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์การใช้งานเพื่อการเชื่อมต่อกับสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กเป็นตัวชูโรง พร้อมกับโปรแกรมแต่งภาพสำหรับแต่งรูป
ราคา 20,900 บาท (ไม่รวม Vat)
]]>
13322