Shell – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 May 2023 03:13:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Shell เตรียมนำ AI มาช่วยในการสำรวจหาน้ำมันในทะเลลึก ชี้ช่วยลดเวลา-เพิ่มประสิทธิภาพ https://positioningmag.com/1430856 Wed, 17 May 2023 16:13:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430856 ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่าง Shell ได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้กับการสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งเป้าหมายของบริษัทคือลดเวลาในการสำรวจลงเหลือต่ำกว่า 9 วัน นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำมันดิบมากขึ้น

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Shell ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ได้เตรียมนำเทคโนโลยี AI มาช่วยในการสำรวจขุดเจาะน้ำมันในทะเลลึกนอกชายฝั่ง เพื่อที่จะช่วยให้การผลิตนั้นมีปริมาณน้ำมันดิบมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายเวลาสำรวจลง

บริษัทที่ Shell ได้จับมือคือ SparkCognition โดยที่จะนำอัลกอริธึม AI มาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลความเคลื่อนไหวของชั้นดิน เพื่อที่จะตามล่าหาแหล่งกักเก็บน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ดังกล่าวมิได้แปลงสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าว

โดยเทคโนโลยีที่นำมาใช้นั้นจะมีการสร้างภาพใต้ผิวดินโดยใช้การสแกนข้อมูลคลื่นไหวที่มีความสั่นสะเทือนน้อยกว่าการสำรวจแบบปกติทั่วไป ซึ่งจะช่วยในการอนุรักษ์ท้องทะเลได้อีกทาง และระบบ AI เองก็จะสร้างภาพใต้ดินขึ้นมา นอกจากนี้การนำ AI มาช่วยยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสำรวจอีกด้วย

การนำเทคโนโลยี AI นั้นเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในชวิตประจำวันอย่างเช่น แชทบอทสำหรับการตอบคำถามทั่วไป ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในด้านอุตสาหกรรมการผลิต

ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่รายนี้ยังชี้ว่า เป้าหมายคือการปรับปรุงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และเพิ่มการผลิตและความสำเร็จในการสำรวจมากขึ้น ซึ่งกระบวนการใหม่นี้จะสามารถลดระยะเวลาการสำรวจให้เหลือน้อยกว่า 9 วันจากเดิมที่ต้องใช้เวลามากถึง 9 เดือน

]]>
1430856
Shell ฟิลิปปินส์วางแผนนำร้าน Adidas มาไว้ในปั๊มน้ำมัน เพิ่มรายได้จากธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น https://positioningmag.com/1401346 Thu, 22 Sep 2022 11:46:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401346 ปั๊มน้ำมันเชลล์ (Shell) ในประเทศฟิลิปปินส์มีไอเดียที่จะนำร้านค้าปลีกอื่นๆ มาให้บริการภายในปั๊มน้ำมัน โดยมองว่าปั๊มน้ำมันไม่ใช่แค่จุดจอดรถไว้พักเท่านั้น แต่ยังสามารถดำเนินธุรกิจค้าปลีกและเป็นจุดหมายในการช้อปปิ้งได้

Lorelie Quiambao Osial ผู้บริหารของ Shell ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Bloomberg ว่าทางบริษัทได้วางแผนที่จะนำร้านค้าชื่อดังต่างๆ มาไว้ในปั๊มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแบรนด์ชื่อดังอย่าง Adidas ไปจนถึงร้านกาแฟอย่าง Starbucks หรือแม้แต่เชนร้านอาหารชื่อดังของฟิลิปปินส์อย่าง Jollibee

เธอได้กล่าวว่าบริษัทต้องการที่จะเปลี่ยนจากค้าปลีกแบบเดิมที่เป็นเพียงแค่จุดพักรถ (เติมน้ำมันแล้วก็ซื้อของ) ให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางในการสัญจรไปมา ซึ่งแต่เดิมนั้นขับเคลื่อนโดยผู้ขับขี่ยานพาหนะ แต่ตอนนี้ผู้ที่โดยสารในยานพาหนะเหล่านี้ก็สามารถเพลิดเพลินได้ (กับการซื้อสินค้า)

โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้ปิดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันในประเทศฟิลิปปินส์ลงในปี 2020 และซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศแทน ซึ่งผลของการปิดโรงกลั่นทำให้กำไรของบริษัทที่คาดการณ์ได้นั้นผันผวนมากขึ้น ทำให้ Shell ประเทศฟิลิปปินส์ต้องงัดกลยุทธ์อื่นๆ เพื่อที่จะหารายได้เติมเต็มในส่วนนี้

สาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเนื่องจากรายได้ของชาวฟิลิปปินส์ที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการใช้รถยนต์ที่ยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ส่งผลต่อความต้องการน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ทำให้บริษัทรีบปรับเปลี่ยนธุรกิจ

นอกจากนี้ Shell ประเทศฟิลิปปินส์ยังได้เพิ่มรายได้โดยการเพิ่มจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในปั๊มน้ำมันของตัวเองเพิ่มเติมอีกด้วย

Shell ประเทศฟิลิปปินส์คาดว่าแผนธุรกิจนี้จะช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้ที่ไม่ได้มาจากการขายน้ำมันให้กับบริษัทได้มากถึง 15% ซึ่งบริษัทต้องการที่จะเปลี่ยนปั๊มจำนวน 550 สาขาให้กลายเป็นแหล่งช้อปปิ้งให้ได้ภายในปี 2025 จากจำนวนปั๊มที่มีอยู่ราวๆ 1,300-1,400 ปั๊มทั่วประเทศฟิลิปปินส์

บริษัทคาดว่าจะสามารถเปลี่ยนรูปแบบปั๊มน้ำมันมาเป็นแบบใหม่นี้ได้ปีละราวๆ 40 ถึง 60 ปั๊มต่อปีหลังจากนี้ และใช้เงินลงทุนราวๆ 52.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 1,953 ล้านบาท เพื่อลงทุนปรับเปลี่ยนปั๊มเหล่านี้ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น

]]>
1401346
ส่อง 21 บริษัทข้ามชาติใน ‘รัสเซีย’ ที่อาจ ‘ขาดทุน’ หนักจากวิกฤตสงคราม https://positioningmag.com/1375726 Mon, 28 Feb 2022 11:06:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375726 รัสเซีย กำลังถูกคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ตลาดหุ้นและสกุลเงินของประเทศได้พังทลายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และแน่นอนว่า บริษัทระหว่างประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจในรัสเซีย ต้องติดร่างแห่ไปด้วย ดังนั้น ไปดูกันว่ามีบริษัทไหนบ้างที่มีสถานะสำคัญในตลาดรัสเซีย

1. CoCa-Cola

CoCa-Cola จดทะเบียนในลอนดอนเพื่อจำหน่ายสินค้าใน รัสเซีย ยูเครน และส่วนใหญ่ของยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ซึ่ง รัสเซียเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุด ของบริษัทและมีพนักงานราว 7,000 คนในรัสเซีย

2. BASF

ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์สัญชาติเยอรมัน BASF (BASFY) ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งมีบริษัท Wintershall Dea เป็นเจ้าของร่วมกับกลุ่มนักลงทุน LetterOne ของ Mikhail Fridman เศรษฐีชาวรัสเซีย และเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนทางการเงินของท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ที่ถูกระงับ

3. BP

บริษัทน้ำมันของอังกฤษ BP เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย โดยถือหุ้น 19.75% ใน Rosneft บริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศ นอกจากนี้ยังถือหุ้นในโครงการน้ำมันและก๊าซอื่น ๆ อีกหลายโครงการในรัสเซีย

4. Danone

Danone ผู้ผลิตโยเกิร์ตสัญชาติฝรั่งเศส และเป็นผู้ควบคุมแบรนด์ผลิตภัณฑ์นม Prostokvanhino ของรัสเซีย ปัจจุบันมียอดขายประมาณ 6% จากประเทศรัสเซีย

5. Engie

บริษัทสาธารณูปโภคด้านก๊าซของฝรั่งเศส ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ผู้ร่วมลงทุนของท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ของ Gazprom

6. Metro

บริษัทค้าปลีกสัญชาติเยอรมัน ซึ่งมีพนักงานประมาณ 10,000 คนในรัสเซีย ปัจจุบันให้บริการลูกค้าประมาณ 2.5 ล้านคน

7. Nestle

เนสท์เล่ บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคของสวิส ปัจจุบันมี โรงงาน 6 แห่งในรัสเซีย ซึ่งรวมถึงโรงงานที่ทำขนมและเครื่องดื่ม ตามเว็บไซต์ของบริษัท ในปี 2020 ที่ผ่านมา เนสท์เล่มียอดขายจากรัสเซียประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์

8. Renault

เรโนลต์ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติฝรั่งเศสถือหุ้น 69% ในบริษัทร่วมทุน Avtovaz ของรัสเซีย ซึ่งอยู่เบื้องหลังแบรนด์รถยนต์ Lada และจำหน่ายรถยนต์ได้มากกว่า 90% ในประเทศ

9. Rolls-Royce

โรลส์-รอยซ์ ถือเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ให้กับเครื่องบิน แม้จะระบุว่าตลาดรัสเซียมีสัดส่วนรายได้ไม่ถึง 2% จากรายได้รวมทั้งหมด แต่ 20% ของการนำเข้าไททาเนียมซึ่งใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องยนต์และล้อลงจอดสำหรับเครื่องบินโดยสารระยะไกลมาจากประเทศรัสเซีย

10. Shell

บริษัทน้ำมันของเนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าของ 27.5% ของโครงการก๊าซธรรมชาติ Sakhali-2 ซึ่งมีกำลังการผลิต 10.9 ล้านตันต่อปีและดำเนินการโดย Gazprom นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 5 ผู้ร่วมทุนของ Nord Stream 2

11. Safran

บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นของฝรั่งเศส ซึ่ง มีรัสเซียเป็นซัพพลายเออร์ไทเทเนียมรายเดียวที่ใหญ่ที่สุด ของบริษัท แม้ว่าบริษัทในฝรั่งเศสจะระบุว่า รัสเซียนั้นจัดหาซัพพลายให้น้อยกว่าครึ่งของความต้องการทั้งหมด

12. TotalEnergies

บริษัทน้ำมันของฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย โดยถือหุ้น 19.4% ใน Novatek ของรัสเซีย ดอกเบี้ย 20% ในการร่วมทุน Yamal LNG, 21.6% ของ Arctic LNG 2 ถือหุ้น 20% ในแหล่งน้ำมัน Kharyaga และการถือครองต่าง ๆ ในภาคธุรกิจหมุนเวียน การกลั่น และเคมีภัณฑ์ของประเทศ

13. Uniper

โครงการสาธารณูปโภคของเยอรมันได้รับเงินลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์จาก Nord Stream 2 พร้อมด้วยโรงไฟฟ้า 5 แห่งในรัสเซียซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 11.2 กิกะวัตต์ ซึ่งให้พลังงานประมาณ 5% ของความต้องการพลังงานทั้งหมดของรัสเซีย นอกจากนี้ยัง นำเข้าก๊าซธรรมชาติของรัสเซียไปยังยุโรป

St. Petersburg, Russia – Shell Oil Truck

14. McDonald’s

แมคโดนัลด์ เครือร้านเบอร์เกอร์ได้จัดให้ประเทศรัสเซียเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงและยังคงเปิดสาขาที่นั่นตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา

15. Mondelez

มอนเดลีซ ผู้ผลิตขนม โอริโอ้ และเจ้าของ Cadbury กลายเป็นผู้ผลิตช็อกโกแลตชั้นนำในรัสเซียตั้งแต่ปี 2018

16. ExxonMobil

เอ็กซอนโมบิล ยักษ์ใหญ่ด้านน้ำมันของอเมริกามีพนักงานมากกว่า 1,000 คนในรัสเซีย และอยู่ในประเทศนี้มากว่า 25 ปี บริษัทในเครือ Exxon Neftegas Limited (ENL) ถือหุ้น 30% ใน Sakhalin-1 ซึ่งเป็นโครงการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่นอกเกาะ Sakhalin ใน Russian Far East ซึ่งดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2538

17. Toyota

โตโยต้า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกมีโรงงานในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ Camry และ Rav4 นอกจากนี้ยังมีสำนักงานขายในกรุงมอสโก มีพนักงานประมาณ 2,600 คน รวมทั้งชาวญี่ปุ่น 26 คนในสำนักงานเหล่านั้น

18. Mitsubishi

มิตซูบิชิ บริษัทจัดจำหน่ายรถยนต์ผ่านตัวแทนจำหน่าย 141 แห่งในรัสเซีย และถือหุ้นในโครงการพัฒนาก๊าซและน้ำมัน Sakhalin 2 ซึ่งจัดหาก๊าซธรรมชาติให้ญี่ปุ่นและซื้อขายถ่านหิน อะลูมิเนียม นิกเกิล ถ่านหิน เมทานอล พลาสติก และวัสดุอื่น ๆ นอกจากนี้ยังจัดหาอุปกรณ์โรงไฟฟ้าและเครื่องจักรอื่น ๆ ให้กับรัสเซียอีกด้วย

19. Japan Tobacco

JTI ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบระหว่างประเทศชั้นนำของญี่ปุ่นเจ้าของบุหรี่ Winston มีพนักงานประมาณ 4,000 คนในโรงงานที่รัสเซีย โดยในปี 2020 บริษัทได้ชำระภาษีคิดเป็น 1.4% ของงบประมาณของรัฐสหพันธรัฐรัสเซีย โดยปริมาณกำไรประมาณ 1 ใน 5 ของบริษัทมาจากเครือจักรภพแห่งรัฐอิสระรวมถึงรัสเซียและเบลารุส

20. Marubeni

เทรดดิ้งเฮาส์สัญชาติญี่ปุ่นมีสำนักงาน 4 แห่งในรัสเซีย ซึ่งขายยางล้อสำหรับอุปกรณ์ขุดและบริหารจัดการศูนย์ตรวจสุขภาพ

21. SBI Holdings

SBI Bank ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว โดยให้บริการสินเชื่อแก่บริษัทญี่ปุ่นที่กำลังขยายการดำเนินงานในรัสเซีย

Source

]]>
1375726
“เชลล์” เขย่าโครงสร้างทั่วโลก ตั้งเป้าลดคน 9,000 ตำแหน่ง ปรับตัวสู่ธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำ https://positioningmag.com/1299356 Wed, 30 Sep 2020 10:38:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299356 Royal Dutch Shell ประกาศแผนลดจำนวนตำแหน่งงานลง 7,000-9,000 ตำแหน่ง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 10% ของพนักงานที่มีขณะนี้ เนื่องจากต้องการปรับโครงสร้างไปสู่ธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำ และลดลำดับชั้นในองค์กรที่มีมากเกินไป โดยบริษัทคาดว่าการลดพนักงานจะช่วยลดต้นทุนได้ 2,000-2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2022

Royal Dutch Shell ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2020 ว่า บริษัทวางแผนลดจำนวนตำแหน่งงานทั่วโลกลง 7,000-9,000 ตำแหน่ง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 10% ของพนักงานที่มีขณะนี้ เนื่องจากต้องการปรับโครงสร้างไปสู่ธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำ

ณ สิ้นปี 2019 บริษัทมีพนักงานทั้งสิ้น 83,000 คน การลดจำนวนพนักงานลงตามแผนจะทำให้บริษัทลดต้นทุนได้ 2,000-2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2022 ทั้งนี้ มีพนักงานจำนวน 1,500 คนที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการลาออกโดยสมัครใจแล้วภายในปีนี้

การประกาศลดพนักงานของเชลล์เกิดขึ้นหลังจากเมื่อเดือนที่แล้ว บริษัทเพิ่งจะรีวิวแผนการลดต้นทุนเพื่อปรับโครงสร้างปฏิบัติงาน เตรียมตัวมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำทั้งกลุ่มพลังงานไฟฟ้าและพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่ ซึ่งการลดต้นทุนมีความสำคัญมาก เนื่องจากทั้งสองกลุ่มธุรกิจปัจจุบันทำกำไรได้ต่ำกว่าพลังงานน้ำมัน

“เราพิจารณาการปฏิบัติงานของเราอย่างใกล้ชิด และเรารู้สึกว่า ในหลายๆ จุดของบริษัท เรามีลำดับชั้นของตำแหน่งมากเกินไป” Ben van Beurden ซีอีโอของ Royal Dutch Shell ให้ความเห็นในบทสัมภาษณ์ภายใน ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของเชลล์

เชลล์มีการลงทุนพลังงานทดแทนแล้วหลายโครงการ เช่น การร่วมถือหุ้น 20% ในโครงการ Blauwwind ฟาร์มกังหันลมในทะเล ประเทศเนเธอร์แลนด์

การลดคอสต์ค่าจ้างพนักงานเป็นเม็ดเงินต้นทุนที่ลดเพิ่มอีก หลังจากก่อนหน้านี้บริษัทประกาศลดต้นทุน 3,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐไปแล้ว โดย Reuters รายงานว่า ต้นทุนที่ลดเป็นต้นทุนการบริหารจัดการและการลงทุนโครงการใหม่ที่ถูกตัดออก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจต้นน้ำ (Upstream) ซึ่งเป็นแผนกที่ใหญ่ที่สุดของเชลล์ จะมีการลดจำนวนโรงกลั่นน้ำมันลงให้น้อยกว่า 10 แห่ง จากปัจจุบันมีอยู่ 17 แห่งทั่วโลก เทียบกับเมื่อ 15 ปีก่อน เชลล์เคยมีโรงกลั่นอยู่ถึง 55 แห่ง แสดงให้เห็นเทรนด์การทำธุรกิจที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง

“หากเราต้องการจะไปให้ถึง ถ้าเราอยากจะประสบความสำเร็จในฐานะส่วนสำคัญของสังคมที่มุ่งสู่การปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ห้วงเวลานี้คือเวลาที่ต้องเร่งการเติบโต” van Beurden กล่าว

ไม่ใช่แค่เชลล์ที่ขยับ คู่แข่งในกลุ่มธุรกิจน้ำมันอย่าง BP และ Total ก็กำลังมุ่งสู่ตลาดพลังงานสีเขียวเช่นกัน โดย Bernard Looney ซีอีโอของ BP ประกาศก่อนหน้านี้ว่า บริษัทวางแผนจะลดตำแหน่งงาน 10,000 ตำแหน่ง เพื่อไปขยายธุรกิจพลังงานทดแทนและจะลดการผลิตน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติ

Source

]]>
1299356
เชลล์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำน้ำมันเกรดพรีเมี่ยม ปล่อยแคมเปญใหม่ “เชลล์ วี-เพาเวอร์ พลังที่เปลี่ยนทุกความรู้สึก” เดินหน้าจับมือพันธมิตรชั้นนำ https://positioningmag.com/1219630 Wed, 13 Mar 2019 09:55:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219630 บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ส่งแคมเปญใหม่ล่าสุด “เชลล์ วี-เพาเวอร์ พลังที่เปลี่ยนทุกความรู้สึก” ตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมพลังงานเชื้อเพลิงและน้ำมันเกรดพรีเมี่ยม รุกขยายฐานลูกค้าใหม่ ด้วยกลยุทธ์การสื่อสารกับผู้บริโภคแบบ 360 องศาผ่านช่องทาง ทั้งสื่อออนไลน์และออฟไลน์ พร้อมเดินหน้าจับมือพันธมิตรชั้นนำมุ่งตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภค ตามแนวคิด “เชลล์เติมสุขให้ทุกชีวิต” หรือ “Making Life’s Journey Better”

นางสาวอรอุทัย ณ เชียงใหม่ กรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เผยว่า “ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีน้ำมันเชื้อเพลิงระดับโลก กลยุทธ์หลักของเชลล์คือการส่งมอบ ‘พลังงานสะอาด เพิ่มประสิทธิภาพ และดีต่อสิ่งแวดล้อม’ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรม ผสานกำลังเครือข่ายพันธมิตร และ พัฒนาบุคลากร โดยเชลล์เป็นบริษัทน้ำมันรายแรกที่ปฏิวัติวงการด้วยการนำเสนอน้ำมันเกรดพรีเมี่ยมทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอล์ 95 สู่ผู้ขับขี่ชาวไทย การันตีคุณภาพล่าสุดด้วยรางวัลธุรกิจยานยนต์ยอดนิยม ด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ ประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ Thailand Automotive Quality Award (TAQA) 2018”

“ในปี พ.ศ. 2562 เชลล์ได้เตรียมกิจกรรมทางการตลาดสำหรับน้ำมันเชลล์ วี- เพาเวอร์ไว้มากมายเริ่มจากแคมเปญใหม่ ‘เชลล์ วี-เพาเวอร์ พลังที่เปลี่ยนทุกความรู้สึก’ ที่นอกจากผู้ขับขี่จะได้รับแผ่นหอมปรับอากาศ “Happy Feel” ที่มอบความสดชื่นตลอดเส้นทาง พร้อมส่วนลดการใช้บริการต่างๆ ในสถานีบริการน้ำมันเชลล์ ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็น ‘สถานีเติมสุข’ อย่างแท้จริงแล้ว เชลล์ยังได้ทุ่มงบเปิดตัวโฆษณาใหม่ของน้ำมันเชลล์ วี-เพาเวอร์ เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบ 360 องศา ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่”

น้ำมันเชลล์ วี-เพาเวอร์ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี ไดนาเฟล็กซ์ มีส่วนประกอบใกล้เคียงกับน้ำมันที่ใช้ในการแข่งรถสูตรหนึ่งของทีมสคูเดอเรีย เฟอร์รารี่ ถึง 99% โดย น้ำมันเชลล์ วี-เพาเวอร์ แก๊สโซฮอล์ 95 มีสารช่วยลดแรงเสียดทานและสารทำความสะอาด มากกว่าน้ำมันเชลล์ ฟิวเซฟ ถึง 3 เท่า ในขณะที่น้ำมันเชลล์ วี-เพาเวอร์ ดีเซล ช่วยกำจัดคราบตะกรันที่หัวฉีด ให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเผาไหม้สมบูรณ์ คืนพลังให้เครื่องยนต์ทั้งรถเก่าและรถใหม่ ช่วยลดเขม่าไอเสีย

นอกเหนือจากนั้น เชลล์ยังเดินหน้าสร้างประสบการณ์การให้บริการระดับพรีเมี่ยมเพื่อรองรับกับความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ด้วยการเปิดสถานีบริการ เชลล์ วี-เพาเวอร์ เพิ่มอีก 2 สาขาเมื่อต้นปีนี้ เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสกับประสบการณ์เหนือระดับ ที่แตกต่างจากสถานีบริการทั่วไป เน้นการบริการด้วย ‘ความรวดเร็ว สะดวก สร้างรอยยิ้ม’ โดยมีพนักงานให้บริการ 2 คนต่อรถ 1 คัน รวดเร็วกับการชำระเงินด้วยเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สาย และมอบความสะดวกให้ลูกค้าด้วยบริการสั่งอาหาร หรือเครื่องดื่มของร้านกาแฟเดลี่ คาเฟ่ จากที่รถผ่านแท็บเล็ตอีกด้วย ทั้งยังเสริมความแข็งแกร่ง ด้วยการจับมือกับพันธมิตรชั้นนำจากหลายวงการ เช่น สถาบันการเงิน ธุรกิจค้าปลีก และ ศูนย์บริการรถยนต์ รุกฐานลูกค้าใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายครบถ้วนให้กับลูกค้าเชลล์ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลการทั้งผู้บริหารและพนักงานในสถานีบริการเพื่อสร้างทีมที่มีคุณภาพ ให้มั่นใจว่าพนักงานจะสามารถส่งมอบประสบการณ์การให้บริการที่ดีเยี่ยมแก่ลูกค้าทุกคน

“ผู้ขับขี่ทั่วประเทศสามารถสัมผัสประสบการณ์การขับขี่เชลล์ วี-เพาเวอร์ ที่แรงกว่า สะอาดกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า พร้อมมีส่วนร่วมกับแคมเปญ ‘เชลล์ วี-เพาเวอร์ พลังที่เปลี่ยนทุกความรู้สึก’ ตลอดทั้งปี ได้แล้ววันนี้ ที่ สถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั่วประเทศ โดย เชลล์มั่นใจว่าในปีนี้ จะเป็นอีกหนึ่งปีที่เชลล์จะประสบความสำเร็จในตลาดน้ำมันพรีเมี่ยม” นางสาวอรอุทัย กล่าวสรุป

]]>
1219630
ทำทุกอย่าง ! อาลีบาบา กรุ๊ป บันหม่า จับมือเชลล์ ประกาศเปิดปั๊มน้ำมันแห่งอนาคตในกรุงปักกิ่ง https://positioningmag.com/1156392 Fri, 09 Feb 2018 09:34:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156392 เมื่อวันพุธที่ผ่านมา บันหม่าประกาศเปิดตัว “ปั๊มน้ำมันอัจฉริยะ” ในปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน ภายในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ พร้อมแผนขยายโมเดลนี้ต่อไปยังเมืองอื่นๆ ในประเทศจีนต่อไปในอนาคต

ปั๊มน้ำมันอัจฉริยะแห่งนี้ เกิดขึ้นภายใต้การร่วมมือระหว่างอาลีบาบา กรุ๊ป, เชลล์ และเอสเอไอซี มอเตอร์ คอร์ป (SAIC Motor Corp) หรือที่รู้จักกันในนาม บันหม่า เน็ตเวิร์ก เทคโนโลยี (Banma Network Technology) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีในปั๊มน้ำมัน ตั้งแต่การเลือกประเภทน้ำมันไปจนถึงการชำระค่าบริการ ผ่านหน้าจอทัชสกรีนของรถยนต์

ลูกค้าชำระเงินผ่านหน้าจอทัชสกรีนในรถยนต์

โดยอาลีบาบาได้นำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง หรือ อาลีบาบา AliOS (ข้อมูลเพิ่มเติม : http://bit.ly/2EoY7JE) ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์อินเตอร์เนตออฟธิงส์ (IoT) เช่น อัลกอริทึม (algorithm) ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สำหรับรถยนต์มาใช้ในการสั่งการให้ระบบทำงานอัติโนมัติ เมื่อรถยนต์เคลื่อนสู่จุดเติมน้ำมันที่กำหนดไว้

จากนั้น ระบบเฝ้าสังเกตจะนำผู้ใช้บริการเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกประเภทและปริมาณน้ำมันที่ต้องการเติม รวมถึงวิธีการชำระค่าบริการผ่านอาลีเพย์ (Alipay) หรือผ่านบัญชีสมาชิกเชลล์ นอกจากนี้ยังสามารถสั่งซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ โดยพนักงานจะนำมาส่งให้ถึงรถยนต์ โมเดลใหม่นี้สามารถลดเวลาที่ผู้บริโภคใช้ที่ปั๊มน้ำมันเฉลี่ย 10-15 นาที ถึง 50% จากรายงานของเชลล์

ผู้ใช้บริการสามารถสั่งซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อของปั๊มน้ำมันผ่านหน้าจอทัชสกรีนโดยพนักงานเชลล์จะนำมาส่งให้ถึงรถยนต์

อเล็กซ์ ซือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบันหม่า กล่าวว่า ความร่วมมือนี้กำลังสรรหาโมเดลธุรกิจสำหรับปั๊มน้ำมันที่ขับเคลื่อนด้วยค้าปลีกยุคใหม่ (New Retail) ที่จัดสรรเป็นพิเศษสำหรับรถยนต์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

รีเบคกา เฉิน รองประธานกรรมการของเชลล์ ประเทศจีน กล่าวว่า ความร่วมมือนี้เป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของเชลล์ในด้าน “นวัตกรรมประสบการณ์ดิจิทัล” ที่เชลส์ให้น้ำหนักมาตลอด นอกจากนี้ เชลล์ยังกำลังการดำเนินการเพิ่มบริการเฉพาะบุคคล และเร็วๆ นี้ สมาชิกลอยัลตี้โปรแกรมของเชลล์ที่มีรถยนต์อัจฉริยะระบบ AliOS จะสามารถสั่งการทุกอย่างได้ด้วยคลิกเดียว

ทั้งนี้ ในปี 2559 อาลีบาบา ได้เผยรถยนต์อัจฉริยะรุ่นแรก (ข้อมูลเพิ่มเติม : http://bit.ly/29qEEYR) โดยมุ่งต่อยอดอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ไปยังภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ปัจจุบัน ประเทศจีนมีรถยนต์อัจฉริยะระบบ AliOS ที่ถูกใช้งานกว่า 400,000 คัน ในขณะที่เชลล์มีปั๊มน้ำมันมากกว่า 43,000 แห่ง ในมากกว่า 80 ประเทศและภูมิภาค โดยภายในประเทศจีนมีจำนวนราว 1,300 แห่ง ถือเป็นเครือข่ายปั๊มน้ำมันนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน.

พนักงานรับใบสั่งซื้อสินค้าเมื่อลูกค้าชำระเงิน
]]>
1156392
แม่มณีบุกปั๊มน้ำมัน! เมื่อเชลล์จูบปากเอสซีบี จ่ายค่าน้ำมันด้วยคิวอาร์โค้ด https://positioningmag.com/1153103 Wed, 10 Jan 2018 02:00:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153103 บทความโดย : อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์

เดินเกมรุกนำบริการชำระเงินผ่าน คิวอาร์ โค้ด ไปให้ร้านค้าต่างๆ ใช้งานอย่างคึกคักมาแล้ว คราวนี้ เอสซีบี ถึงคิวบุกสถานีบริการน้ำมันเชลล์ รับชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลงผ่านระบบดังกล่าวเป็นครั้งแรก

จากการผนึกกำลังระหว่างเชลล์และธนาคารไทยพาณิชย์ที่ใช้เวลาปลุกปั้นโปรเจกต์นี้เพียง 2 สัปดาห์เพื่อเดินหน้าเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ปตท.จับมือกับธนาคารกสิกรไทยชำระสินค้าและบริการผ่านคิวอาร์ โค้ดในส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันมาแล้ว

เมื่อเป็นสถานีนำร่อง จึงไม่มีที่ไหนจะเหมาะเจาะกับการเปิดตัว Digital Cashless Station เท่ากับสถานีบริการน้ำมันเชลล์เลิศตระการ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน พอดี

โดย Dive-in pay Station ถูกกันให้เป็นพื้นที่สำหรับชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยคิวอาร์โค้ด สำหรับทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ต้องอยู่บนพื้นที่ปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือตามกฎกระทรวง ต้องไม่อยู่ใต้ชายคาที่ตั้งของหัวจ่าย

อรอุทัย ณ เชียงใหม่ กรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก ประจำประเทศไทย บอกว่านี่คือความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของเชลล์ในการตอบรับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ ในเรื่องความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และความรวดเร็ว 

“ปัจจุบัน transaction ของปั๊มเชลล์ราว 70-80% เป็นเงินสด แต่หากภายในกลางปี 2561 นี้ จะเพิ่มการรับชำระค่าเชื้อเพลิงด้วยคิวอาร์โค้ดได้ครอบคลุมทั้ง 520 สาขา  4 ฟอร์แมต ที่ปัจจุบันกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งจะรวมถึงการขยายระบบชำระเงินคิวอาร์ โค้ด ในส่วนของกลุ่มธุกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน ทั้งร้านสะดวกซื้อเชลล์ ซีเล็ค ร้านกาแฟเดลี่คาเฟ่ และศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเชลล์ เฮลิกส์ พลัส ไปพร้อมๆ กัน ก็คาดว่าสัดส่วนการใช้เงินสดจะลดลงเหลือประมาณ 60%”

อรอุทัยยังแจกแจงอีกว่า การชำระค่าเชื้อเพลิงด้วยคิวอาร์โค้ดนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของการจี้ ปล้น ซึ่งจัดเป็นความเสี่ยงอันดับ 3 ของสถานีบริการน้ำมันลงไปได้ โดยความเสี่ยงอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ คือ ปริมาณทราฟฟิกของลูกค้าที่ไม่คงที่ และข้อผิดพลาดที่เกิดจากการที่พนักงานเติมน้ำมันล้นถัง

แม้ในช่วงแรกของการให้บริการในสถานีบริการน้ำมันเชลล์แห่งนี้ อรอุทัยจะยอมรับว่ายังคงขลุกขลักอยู่บ้าง เพราะ Customer Journey ยังไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร เนื่องจากเมื่อเติมน้ำมันแล้ว ต้องขับรถไปชำระด้วยคิวอาร์โค้ดที่ Drive-in pay Station ที่ไม่มีทางออกโดยเฉพาะ ลูกค้าต้องถอยรถเพื่อกลับออกไปอีกทาง แต่สำหรับการให้บริการสาขาอื่นๆ ในอนาคตจะต้องราบรื่นมากกว่านี้ โดยจะพพัฒนาให้เป็นไปในรูปแบบของ Drive-through โดยสมบูรณ์ให้ได้

ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้ของเชลล์ในปี 2560 มาจากธุรกิจน้ำมัน 80% และธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน 20% ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยร้านสะดวกซื้อเชลล์ ซีเล็ค 74 สาขา (คิดเป็นสัดส่วน 14.23% ของสถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั้งหมด และปีที่ผ่านมาไม่มีการเปิดสาขาใหม่ เพราะต้องการปรับโอเปอเรชั่นสาขาที่มีอยู่แล้วทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น), ร้านกาแฟเดลี่คาเฟ่ 55 สาขา (คิดเป็นสัดส่วน 10.58% ของสถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั้งหมด) และศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเชลล์ เฮลิกส์ พลัส 350 สาขา (คิดเป็นสัดส่วน  67%  ของสถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั้งหมด)

ด้าน อภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุดปฏิบัติการ Retail Products และ Retail Payments ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เป้าหมายของธนาคารไทยพาณิชย์ คือ ต้องการบรรลุยอดให้บริการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดที่ 1,000,000 ราย ภายในสิ้นปี 2561 นี้

นับเป็นการออกโรงอย่างแข็งขันของธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของไทย เพื่อต่อกรกับบรรดาผู้ให้บริการรับชำระเงินข้ามชาติที่กำลังบุกไทยในขณะนี้ ซึ่งการจะสู้ศึกได้อย่างไม่เพลี่ยงพล้ำนั้น จะต้องหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง มีวิสัยทัศน์ และมีสปีดที่ใกล้เคียงกันอย่างเชลล์

สำหรับพันธมิตรของธนาคารไทยพาณิชย์ที่นอกเหนือไปจากสถานบริการน้ำมันนั้น ธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer ที่รับผิดชอบภาพรวมการตลาด ในฐานะรักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดได้รับการตอบรับที่ดีจากพันธมิตรธุรกิจหลายราย ทั้งในส่วนของธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ โอสถสภา และยูนิลีเวอร์ (เน้นในส่วนของ B2B โดยเฉพาะ Cash Van), ธุรกิจขนส่ง รวมถึงเชนร้านอาหารต่างๆ และขณะนี้ก็กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่อง Payment Solution ทั้งหมดกับเดอะมอลล์กรุ๊ปด้วย

“ที่ผ่านมาเราทดลองเยอะว่าจะเอาร้านค้าก่อนหรือลูกค้าก่อนดี แต่หลังจากเราเปิดตัวแม่มณี พบว่าเรามาถูกทางแล้ว คือต้องมีที่ใช้ก่อน คนถึงจะใช้ เพราะต่อให้มีคนใช้จริงๆ แต่ไม่มีร้านไหนขึ้นป้ายชัดเจน หรือมีป้ายแต่คว่ำไว้ คิวอาร์ โค้ด เพย์เมนต์ ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง”

สำหรับความเคลื่อนไหวธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันของเชลล์ จะแถลงข่าวในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งทาง POSITIONING จะเกาะติดความคืบหน้าและความเคลื่อนไหวที่คาดว่าจะเป็นก้าวสำคัญของเชลล์ในการลุยธุรกิจค้าปลีกมานำเสนอแบบเจาะลึกต่อไป โปรดติดตาม.

]]>
1153103