บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน Airbus ออกงานคอนเซ็ปต์ดีไซน์เครื่องบินปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ โดยเป็น “เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน” เป้าหมายใช้งานได้จริงปี 2035 ขอเป็นเจ้าแรกที่ผลิตเครื่องบินพลังงานไฮโดรเจนสำเร็จ
Airbus ประกาศเปิดตัวคอนเซ็ปต์เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน ZEROe แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย ได้แก่ เครื่องบินเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน เครื่องบินเครื่องยนต์เทอร์โบพร็อป และเครื่องบินแบบตัวถังกับปีกผสานเป็นชิ้นเดียวกัน โดยคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงปี 2035
ยกตัวอย่างนวัตกรรมที่จะใช้ในคอนเซ็ปต์เครื่องบินขณะนี้ เช่น เครื่องบินเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน จะจุผู้โดยสารได้ 120-200 ที่นั่ง บินได้ไกล 2,000 ไมล์ทะเล บริษัทอธิบายว่าพลังงานที่ใช้จะมาจาก “เครื่องยนต์กั
“แนวคิดเหล่านี้จะช่วยให้เราคิดค้นและพัฒนาการออกแบบและรูปแบบของเครื่องบินพาณิชย์ที่ไม่ปล่อยมลภาวะในสภาพอากาศเป็นครั้งแรกของโลก” กิลโยม โฟว์รี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Airbus กล่าว
ศักยภาพเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจน
ปัจจุบันการใช้พลังงานไฮโดรเจนในอากาศยานยังไม่เป็นที่นิยม แต่สำหรับการขนส่งทางบกเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้แล้ว แม้จะยังเป็นตลาดขนาดเล็กอยู่ ยกตัวอย่างเช่น รถประจำทางพลังงานไฮโดรเจนเริ่มทดลองใช้งานแล้วที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
หรือบริษัท Alstom ในยุโรป ได้พัฒนารถไฟชื่อ Coradia iLint เป็นรถไฟที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) เพื่อแปลงออกซิเจนและไฮโดรเจนเป็นพลังงานไฟฟ้า ตามที่บริษัทระบุ รถไฟขบวนนี้วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เดินขบวนได้เงียบ และปล่อยของเสียเพียงแค่ไอน้ำและน้ำเท่านั้น
- คู่ปรับ “Boeing – Airbus” ร่วมชะตากรรม ขาดทุนยับกว่าที่คาด ลดผลิตเครื่องบิน ปลดพนักงานเพิ่ม
- แผนใหม่ของ Uber มุ่งพลังงานสะอาด ตั้งเป้าใช้ “รถยนต์ไฟฟ้า” แบบ 100% ทั่วโลก ภายในปี 2040
ในกลุ่มอากาศยาน มีอากาศยานที่ใช้เทคโนโลยีปลอดการปล่อยคาร์บอนหรือลดการปล่อยคาร์บอนแล้วเช่นกัน ตัวอย่างเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการทดลองเครื่องบินพลังงานไฟฟ้าบินข้ามประเทศอังกฤษ และเป็นเที่ยวบินพาณิชย์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นครั้งแรกด้วย
ย้อนไปเดือนพฤษภาคม เครื่องบิน Cessna 208B Grand Caravan ขนาดเครื่องยนต์ 750 แรงม้า และเป็นเครื่องบินพลังงานไฟฟ้า ก็ได้ขึ้นบินเป็นครั้งแรกที่รัฐวอชิงตัน
ย้อนไปไกลกว่านั้น เมื่อปี 2016 มีการขึ้นบินเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Impulse 2 และบินไปรอบโลกสำเร็จโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเลย แต่เป็นการบินที่แบ่งรอบบินขึ้นลงเป็น 17 ช่วง ไม่ได้บินจบในรอบเดียว