Subscription – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 29 Jun 2023 10:29:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วิเคราะห์ธุรกิจของ Meta เมื่อ Subscription อาจเป็นโมเดลรายได้ใหม่อีกทาง หลังยอดโฆษณาผันผวน https://positioningmag.com/1436018 Thu, 29 Jun 2023 05:03:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436018 เมต้า (Meta) ผู้ให้บริการ Social Network ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Instagram เป็นอีกบริษัทที่กำลังหารายได้เพิ่มเติมอย่างมาก ซึ่งหลายครั้งได้สร้างความปวดใจให้กับเจ้าของเพจ หรือแม้แต่แบรนด์ต่างๆ เนื่องจาก Reach ของเพจต่างๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แม้ว่าจะมีความพยายามโพสต์หรือหาลูกเล่นใหม่แล้วก็ตาม

แต่ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า Meta ได้ประกาศบริการที่ให้สมาชิกนั้นจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งล่าสุดนั้นมีมาแล้ว 2 บริการ ภายใน 1 สัปดาห์เท่านั้น (แม้ว่าจะมีการประกาศมาล่วงหน้าสักพักก็ตาม)

Positioning จะวิเคราะห์โมเดลธุรกิจว่าการที่ Meta ได้เข้าสู่โมเดลสมัครสมาชิก (Subscription) เพราะอะไร

ออก Meta Verified ในไทย

เจ้าของแพลตฟอร์ม Social Media ได้ประกาศเตรียมเปิดบริการ Meta Verified ที่ประเทศไทยเร็วๆ นี้ โดยบริการดังกล่าวทำเพื่อที่จะได้รับ Reach มากขึ้น หรือแม้แต่ป้องกันการสวมรอยจากบุคคลอื่น ราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 429 บาท

Meta ยังได้ประกาศว่าเตรียมเปิดบริการ Meta Verified ซึ่งเป็นบริการยืนยันตัวเอง ซึ่งผู้ใช้งานเลือกได้ว่าจะจ่ายเงินเพื่อยืนยันตัวเองบนแพลตฟอร์ม Facebook หรือ Instagram เพื่อที่จะได้รับ Reach มากขึ้น หรือแม้แต่ป้องกันการสวมรอยจากบุคคลอื่น

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาบริษัทได้ทดลองระบบดังกล่าวในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และขยายไปยังสหรัฐอเมริกา แคนาดา เป็นต้น โดยล่าสุดบริการดังกล่าวเตรียมเปิดตัวในประเทศกลุ่มละตินอเมริกา ก่อนที่จะขยายบริการทั่วโลกหลังจากนี้

สำหรับราคาในประเทศไทยนั้น Meta ได้ประกาศว่าราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 429 บาทต่อเดือนถ้าสมัครผ่านเว็บไซต์ แต่ถ้าหากสมัครผ่านแอปพลิเคชันทั้ง Facebook และ Instagram จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย

เมื่อบริษัทหารายได้เพิ่ม

ในช่วงที่ผ่านมา Meta ได้พยายามเข็นบริการ Subscription ออกมาหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Quest+ ซึ่งเป็นบริการเสริมของแว่นตา VR ของบริษัท ที่เริ่มต้นจ่ายเงินเพียง 7.99 ดอลลาร์สหรัฐ (แต่ถ้าหากจ่ายเงินเป็นรายปีก็จะได้ส่วนลด) เพื่อที่จะได้เกมใหม่ๆ มาเล่น

ซึ่งโมเดลการหารายได้จากบริการสมัครสมาชิกเพิ่ม ยังช่วยลดผลกระทบจากรายได้โฆษณาที่ไม่แน่นอนของบริษัทด้วย โดยในช่วงปี 2021 รายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 117,929 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่ามากสุดเป็นประวัติศาสตร์ของบริษัท อย่างไรก็ดีรายได้ในปี 2022 กลับตกลงมาเหลือ 116,609 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

รายได้ที่ลดลงไปในปี 2022 ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้บริษัทต้องปรับลดพนักงานชุดใหญ่ และยังต้องปรับโครงสร้างบริหาร หรือแม้แต่การหารายได้อื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่ง Mark Zuckerberg ได้กล่าวว่าปี 2023 จะเป็นปีในการรีดประสิทธิภาพของบริษัทออกมา

บริษัทแม่ของ Facebook ล่าสุดได้ออกบริการ Meta Verified สำหรับยืนยันตัวเอง – ภาพจาก Meta

นักวิเคราะห์คาดรายได้เพิ่ม

คาดการณ์จาก Bank of America มองว่าบริการ Meta Verified จะมีผู้ใช้งานทั่วโลกประมาณ 12 ล้านรายภายในปี 2024 ทำให้สถาบันการเงินรายดังกล่าวมองว่าบริการนี้จะเพิ่มรายได้กับบริษัทมากถึง 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยบทวิเคราะห์ดังกล่าวมองว่าลูกค้าหลักของบริการดังกล่าวคือเจ้าของเพจ หรือบรรดาเจ้าของแบรนด์ต่างๆ มากกว่าที่จะคนทั่วๆ ไป เนื่องจากเพจต่างๆ หรือแบรนด์ที่ต้องการจ่ายเงินกับบริการเหล่านี้ต้องการที่จะเพิ่ม Reach ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ หรือแม้แต่การรับรู้ของแบรนด์มากกว่า

แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะคู่แข่งหลายเจ้าได้ใช้โมเดลแบบนี้ด้วย

การที่ Meta ได้ใช้โมเดล Subscription นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด ก่อนหน้านี้สำหรับการยืนยันตัวเองก่อนหน้านี้ในหลาย Social Network ถือว่าเป็นบริการฟรี สำหรับยืนยันตัวตนโดยเฉพาะผู้ที่มีชื่อเสียง หรือมีความเสี่ยงที่จะโดนปลอมตัวตนได้

โดยคู่แข่งของ Meta ไม่ว่าจะเป็น Twitter นั้นได้เปิดบริการ Verified ขึ้นมา โดยแยกเป็น Account ประเภทส่วนบุคคลที่มีราคาไม่แพง ขณะที่ Account ประเภทธุรกิจนั้นจะมีราคาแพงมากกว่า ขณะที่ Snapchat เองก็มี Snapchat+ ซึ่งมีผู้ใช้งานมากถึง 2 ล้านคน ซึ่งค่าบริการรายเดือนอยู่ที่ 3.99 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

คำถามหลังจากนี้คือจะมีผู้ใช้งานจ่ายเงินให้กับบริการดังกล่าวมากแค่ไหน

]]>
1436018
กินอาหารยุคใหม่! “ฟู้ดแพชชั่น” เปิดโมเดล Subscription จ่ายเดือนละ 600 บาท https://positioningmag.com/1298296 Tue, 22 Sep 2020 14:55:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298296 ฟู้ดแพชชั่น ฉีกกฎการตลาด! เขย่าวงการ เปิดตัว GONGANGFLIX แพ็กเกจรายเดือนแบบ Subscription ถือเป็นครั้งแรกของธุรกิจร้านอาหารในไทย จ่ายราคาเดือนละ 600 บาท รับ E-Voucher เพิ่มทุกเดือน สูงสุด 1,000 บาท เปิดตัวเฟสแรก เฉพาะสมาชิก GON Gang Club เพียง 1,000 คน เท่านั้น ทาง GON Gang LINE Official Account

ครั้งแรกในวงการร้านอาหาร 

ถือว่าเป็นสีสันในวงการร้านอาหาร เมื่อ “ฟู้ดแพชชั่น” บริษัทแม่ของ 5 แบรนด์ดัง บาร์บีคิวพลาซ่า, จุ่มแซ่บฮัท, ฌานา, สเปซ คิว และโภชา เดินเกมรุกไม่หยุด หลังปรับโฉมใหม่ GON Gang LINE Official Account

ล่าสุดปล่อยหมัดฮุกอีกระลอกเปิดตัว “GONGANGFLIX” แพ็กเกจรายเดือนแบบ Subscription ครั้งแรกของธุรกิจร้านอาหาร ที่นำข้อมูลการใช้บริการของสมาชิก มาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ Personalize ให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ร้านแบบประจำสม่ำเสมอ

บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหารฟู้ดแพชชั่น หรือ Chief Possible Marketing Officer เปิดเผยว่า

“การเปิดตัว GONGANGFLIX ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของธุรกิจอาหารในประเทศไทย ที่มาในรูปแบบ Subscription Model และเป็น Personalize Marketing หรือการตลาดแบบรู้ใจ ตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะบุคคล ในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในธุรกิจร้านอาหาร สอดคล้องกับการเดินเกมกลยุทธ์ CRM เชิงรุกของฟู้ดแพชชั่น ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความผูกพันกับทั้งแบรนด์ ในเครือฟู้ดแพชชั่น และในทุกช่องทางที่ให้บริการ ไม่เปลี่ยนใจ และอยู่กับแบรนด์ตลอดไป”

เหมาจ่าย 600 บาท

GONGANGFLIX เป็นแพ็กเกจเหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 600 บาท และระบบจะตัดเงินอัตโนมัติเท่าๆ กันทุกเดือน นาน 6 รอบชำระเงิน ทุกๆ เดือนสมาชิกจะได้รับ E-voucher ทาง GON Gang LINE Official Account

มูลค่าที่ได้รับแบ่งเป็น เดือนที่ 1, 2, 3 จะได้รับ E-voucher มูลค่า 700, 800, 900 บาท และเดือนที่ 4 – 6 ได้รับ E-voucher มูลค่า 1,000 บาทต่อเดือน สามารถใช้ได้กับทั้ง 4 แบรนด์ในเครือฟู้ดแพชชั่น ทุกเมนู ทุกสาขา เฉพาะทานที่ร้าน และซื้อกลับบ้าน

พร้อมสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ส่วนลดค่าจัดส่งอาหาร Gon Gang Delivery สมาชิกสามารถยกเลิกแพ็กเกจ ได้ก่อนการหักค่าสมาชิกในเดือนถัดไป โดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ ทั้งสิ้น

โดยในเฟสแรกของการเปิดตัว GONGANGFLIX จะเปิดให้สมัครเพียง 1,000 คนเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการส่งคำเชิญให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มก่อน ด้วยการส่ง LINE Message ทาง GON Gang LINE Official Account ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยหลังจากสมัครแล้วผู้ใช้ GONGANGFLIX จะสามารถอัปเดตสถานะยอดการใช้จ่ายได้ทางเมนู GON GANG CLUB  และสะสมคะแนนเพื่อแลกรับสิทธิพิเศษอื่นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

]]>
1298296
MUJI ร่วมสังเวียน Subscription จับตาธุรกิจเช่าโต๊ะ-เก้าอี้รายเดือนมาแรงยุค WFH https://positioningmag.com/1288405 Sat, 18 Jul 2020 01:55:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288405 Photo : muji.com/jp

ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเมื่อเจ้าพ่อสินค้ามินิมอลอย่าง MUJI ประกาศเริ่มให้บริการสมัครสมาชิกเช่าเฟอร์นิเจอร์รายเดือน เพราะนี่คือสัญญาณน่าสนใจว่าธุรกิจสมาชิกเช่าโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์อื่นอาจจะฮอตฮิตติดลมในยุคที่ผู้คนทำงานจากบ้าน (work-from-home) ซึ่งทำให้หลายคนต้องจัดบ้านใหม่เพื่อรองรับการทำงานที่บ้านมากขึ้น

ก้าวใหม่นี้สะท้อนตลาดเฟอร์นิเจอร์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดย MUJI ประกาศว่าตั้งแต่วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคมเป็นต้นไป บริษัทจะเปิดให้ผู้สนใจสมัครใช้บริการแบบเหมาจ่ายรายเดือน (ค่าธรรมเนียม 800 เยนต่อเดือน) ซึ่งจะได้รับเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งภายใน เช่น ชุดโฮมออฟฟิศ เบื้องต้นจะให้บริการผ่านร้าน MUJI จำนวนจำกัด

อีกความเปลี่ยนแปลงคือ MUJI จะเสนอบริการ “petit renovation” ซึ่งเป็นบริการวางแผนปรับเปลี่ยนห้องเพื่อช่วยจัดพื้นที่สำนักงานในบ้านขนาดเล็กโดยที่ปรับเปลี่ยนห้องเพียงเล็กน้อย โดยจะให้บริการคู่ไปกับ “lifestyle consultation” บริการให้คำปรึกษาด้านไลฟ์สไตล์ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถพูดคุยกับที่ปรึกษามืออาชีพทางออนไลน์ ซึ่งอาจเป็นการถามถึงวิธีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบ้านหรือชีวิตประจำวันของทุกคน

เช่ายาวได้ 4 ปี

นอกจากอุปกรณ์สำนักงาน MUJI เปิดให้สมาชิกเช่าเฟอร์นิเจอร์และชุดของตกแต่งสำหรับห้องนอน และห้องรับรองได้ด้วย เบื้องต้นอนุญาตให้เช่าต่อเนื่องนานถึง 4 ปี โดยสามารถชำระเงินรายเดือนหรือรายปีก็ได้ และหลังจากหมดระยะเวลาเช่า ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการคืน ต้องการซื้อ หรือขยายระยะเวลาการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นหรือไม่

แนวคิดนี้ถูกมองว่าเหมาะสมสำหรับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น เพราะอพาร์ตเมนต์ในเขตเมืองของแดนซากุระนั้นค่อนข้างคับแคบ ดังนั้นการได้เช่าเฟอร์นิเจอร์โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของอย่างเต็มที่จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันลูกค้ายังสามารถใช้โอกาสนี้ในการทดสอบว่าเฟอร์นิเจอร์ของ MUJI นั้นเหมาะสมเป็นไปตามความคาดหวังหากซื้อมาตั้งไว้ในบ้านของตัวเอง

MUJI ประเดิมเฟสแรกที่เมืองใหญ่ของญี่ปุ่น ก่อนจะขยายไปเปิดตัวที่พื้นที่อื่น น่าเสียดายที่ยังไม่มีข่าวว่าบริการสมัครสมาชิกจะเปิดตัวในตลาดอื่นของโลกหรือไม่ แต่เบื้องต้นถูกประเมินว่ามีโอกาสน้อยที่จะให้บริการโดย MUJI USA ซึ่งมีข่าวว่าบริษัทเพิ่งยื่นขอล้มละลาย และกำลังปรับโครงสร้างธุรกิจพร้อมวางแผนปิดร้านค้าที่ทำกำไรน้อยในอนาคต

ตามรอย IKEA?

การให้เช่าเฟอร์นิเจอร์เพื่อให้ลูกค้าเพิ่มความคล่องตัวและทดลองใช้สินค้าที่หลากหลายนั้นถูกมองว่าไม่ใช้แนวคิดใหม่ เพราะรายใหญ่ในวงการเฟอร์นิเจอร์อย่าง IKEA ออกมาประกาศเมื่อปีที่แล้ว ว่าจะเริ่มทดสอบบริการเช่าเฟอร์นิเจอร์ใน 30 ตลาดช่วงปี 2020 นี้

แต่การประกาศของ MUJI เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะเจาะพอดีกับกระแส WFH ที่กำลังร้อนแรงในญี่ปุ่น โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่อย่างฟูจิตสึประกาศชัดว่าจะลดพื้นที่สำนักงานลงครึ่งหนึ่ง และกระตุ้นให้พนักงานมากกว่า 80,000 คนเปลี่ยนมาทำงานจากที่บ้าน จุดนี้บริษัทจะเปลี่ยนแปลงจากการให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มาเป็นการให้เงินเดือน 5,000 เยนต่อเดือนเพื่อให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการทำงานจากที่บ้าน

ในขณะที่ MUJI กำลังจะพยายามคว้าโอกาสในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขณะนี้มีการประเมินว่าผู้รับอานิสงส์จากกระแส WFH ในญี่ปุ่น คือผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ราคาประหยัดชื่อ Nitori Holdings Co. ซึ่งสามารถดันมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น 30% ในปีนี้

สำหรับ MUJI รายงานระบุว่าต้นสังกัดอย่างบริษัท Ryohin Keikaku จำเป็นต้องดิ้นเพื่อให้มีแหล่งรายได้ใหม่ เนื่องจากร้านค้า MUJI ได้รับผลกระทบจากการปิดตัวล็อกดาวน์ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคจนหุ้นลดลง 43% ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้.


ที่มา

]]>
1288405