TCC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 27 Jan 2022 09:01:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘เครือไทย โฮลดิ้งส์’ ของกลุ่ม TCC เจ้าสัวเจริญ แจ้งเลิกกิจการ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ หลังจ่ายสินไหมโควิด 9,900 ล้าน https://positioningmag.com/1371746 Wed, 26 Jan 2022 06:00:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371746 ‘เครือไทย โฮลดิ้งส์’ ของกลุ่ม TCC เจ้าสัวเจริญ แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เลิกกิจการ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ หลังจ่ายสินไหมทดแทนประกันภัยโควิดให้อาคเนย์ฯ -ไทยประกันภัยรวมกว่า 9,900 ล้าน 

วันนี้ (26 ม.ค.65) บริษัทเครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TGH แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เกี่ยวกับมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เรื่องการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ของบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยระบุว่า

จากปัญหาสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในภาพรวม ซึ่งก่อนหน้านี้ทางเครือไทย โฮลดิ้งส์ ได้แก้ไขปัญหาด้วยการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจในช่วงปลายปี 2564 ดังนี้

🔴 ขายหุ้นบริษัทไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (กลุ่ม TCC)
🔴 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเครือไทย โฮลดิ้งส์ ได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ ไทยประกันภัย นำไปจ่ายค่าสินไหม
ทดแทนการเคลมประกันโควิด ของลูกค้าที่ถือกรมธรรม์ของทั้งไทยประกันภัย และอาคเนย์ประกันภัย เป็นจำนวน 9,900 ล้านบาท

เงินสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายใหญของบริษัท ได้นำมาชำระเป็นค่าสินไหมทดแทนจากการเคลมประกันโควิด ในส่วนของอาคเนย์ประกันภัย (ผ่านการทำสัญญารับประกันภัยต่อที่เข้าทำไว้กับไทยประกันภัย) ประมาณ 8,060 ล้านบาท ซึ่งช่วยให้อาคเนย์ประกันภัยยังสามารถคงสถานะมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินและสามารถประกอบกิจการต่อเนื่องมาได้ในช่วงที่ผ่านมา

โดย ณ วันที่ 1 มกราคม 2565 อาคเนย์ประกันภัยมีสินทรัพย์สุทธิคงเหลือกว่า 1,800 ล้านบาท และยังสามารถดำรงอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 170

อย่างไรก็ตาม จากปัญหาการกลายพันธุ์และการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน ที่ยังคงเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินและการดำรงอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) ของอาคเนย์ประกันภัยให้ลดต่ำลงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดในระยะเวลาอันใกล้นี้

อาคเนย์ประกันภัย จึงได้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อให้พิจารณามีมติ “เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย” และส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อนายทะเบียนตามกฎหมาย และโอนกิจการของอาคเนย์ประกันภัยให้แก่ บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัท ได้พิจารณาร่วมกับตัวแทนฝ่ายจัดการของอาคเนย์ประกันภัยอย่างรอบด้าน โดยมีความมุ่งหมายที่จะดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ให้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างดังเช่นกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยอื่นที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบจะไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงผู้เอาประกันตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้เอากรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ

ประกอบกับหากในกรณีที่อาคเนย์ประกันภัย ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ก็จะทำให้กองทุนประกันวินาศภัยมีภาระทางการเงิน อันเนื่องจากต้องเข้ามาช่วยเหลือแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องอันจะเป็นภาระแก่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโดยรวมอีกด้วย

นอกจากนี้ สถานะทางการเงินของอาคเนย์ประกันภัยในขณะนี้ ซึ่งยังมีสินทรัพย์สุทธิกว่า 1,800 ล้านบาทและเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) ประมาณร้อยละ 170 อาคเนย์ประกันภัยย่อมสามารถจ่ายเงินคืนผู้เอาประกันภัยได้ครบถ้วน ‘ทุกราย’ และยังมีเงินเหลือพอที่จะชำระหนี้ให้คู่ค้าทั้งหมดรวมถึงพนักงานลูกจ้างทุกคน ซึ่งความสามารถในการชำระหนี้ของอาคเนย์ประกันภัยจะลดลงหากการตัดสินใจดำเนินการในเรื่องนี้ล่าช้าออกไป

ดังนั้น การเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ‘โดยสมัครใจ’ ในขณะที่อาคเนย์ประกันภัยยังคงมีสถานะทางการเงินที่เพียงพอ และยังดำรงเงินกองทุนได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยขอให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พิจารณาให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการในเรื่องการดำเนินการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัยทุกราย

ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ อาคเนย์ประกันภัย ยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัยนั้น ๆ (ซึ่งรวมถึง กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) รวมทั้งการจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกองทุนประกันวินาศภัย

โดยอาคเนย์ประกันภัย เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ในการดำเนินการของกองทุนประกันวินาศภัยดังกล่าวจึงเป็นมาตรการที่จำเป็นและเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และจะสามารถเยียวยาผู้เอาประกันภัยและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นธรรมสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงไม่ก่อภาระเพิ่มเติมแก่กองทุนประกันวินาศภัยแต่อย่างใด

ขณะที่การดำเนินการในทางเลือกอื่นๆ เช่น การเพิ่มทุนหรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในกิจการของอาคเนย์ประกันภัยอาจจะไม่สามารถทำได้ รวมถึงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ TGH เองก็ได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินไปแล้วเกือบ 10,000 ล้านบาท เพื่อช่วยพยุงธุรกิจประกันวินาศภัยของกลุ่มบริษัท

ดังนั้นประชุมคณะกรรมการของ TGH เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 จึงได้มติเกี่ยวกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ อาคเนย์ประกันภัย ดังนี้

🔴 เห็นชอบกับแผนการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยสมัครใจและส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียนตามมาตรา 57 และ 57/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535(รวมทั้งที่การแก้ไขเพิ่มเติม)

🔴 ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้ อาคเนย์ประกันภัย โอนกิจการของ อาคเนย์ประกันภัย ให้แก่ บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากมีความเห็นว่าเมื่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยพิจารณาให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาดำเนินการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ อาคเนย์ประกันภัย ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กองทุนประกันวินาศภัยมีอยู่แล้ว ก็ควรให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการในเรื่องการดำเนินการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัยทุกรายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ อาคเนย์ประกันภัย ยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัยนั้น ๆ (ซึ่งรวมถึง กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019)

รวมทั้งการจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกองทุนประกันวินาศภัยด้วย โดยอาคเนย์ประกันภัย เป็นผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินการด้านต่างๆ แก่กองทุนประกันวินาศภัยดังกล่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เอาประกันภัย และเพื่อเป็นการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยและบุคคลที่เกี่ยวข้องในทุก ๆ ฝ่าย

ดังนั้น เครือไทย โฮลดิ้งส์ จะมอบหมายให้ผู้รับมอบฉันทะนำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ อาคเนย์ประกันภัยเพื่อลงมติเห็นชอบให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาดำเนินการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ อาคเนย์ประกันภัย ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กองทุนประกันวินาศภัยมีอยู่

การพิจารณาให้ อาคเนย์ประกันภัย ในฐานะบริษัทย่อยของ TGH เลิกประกอบกิจการเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการบริษัท ที่จะพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการไปได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ

อย่างไรก็ตาม การเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและการจัดการเกี่ยวกับภาระและกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหมดของ อาคเนย์ประกันภัย จะต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของอาคเนย์ประกันภัยซึ่งจะจัดให้มีการประชุมในวันที่ 26 มกราคม 2565 โดยหากมีความคืบหน้าเป็นประการใด บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป

(อ่านรายละเอียดฉบับเต็มที่นี่ )

โดยก่อนหน้านี้ กลุ่มบริษัทประกันฯ ในเครือไทย โฮลดิ้งส์ ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” อย่าง “บมจ.อาคเนย์ประกันภัย” และ “บมจ.ไทยประกันภัย” ได้ยื่นฟ้อง ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ฐานออกคำสั่งทางปกครอง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่องให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัทในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัยฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่ง ซึ่งยังอยู่ระหว่างรอศาลพิจารณาว่าจะประทับรับฟ้องหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท เนื่องจากออกคำสั่งนายทะเบียน ทำให้บริษัทขาดทุน เพราะยกเลิกกรมธรรม์โควิด -19 แบบ เจอ – จ่าย – จบ ไม่ได้

อ่านรายละเอียดข่าว : “บริษัทประกันฯ โควิด” วางมวย “คปภ.” ฟ้องศาลฯ ยุติ “เจอ- จ่าย-จบ

คปภ. ยังไม่อนุญาตให้อาคเนย์ประกันภัยเลิกกิจการ กำลังอยู่ระหว่างพิจารณา 

ด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ขอเรียนชี้แจงว่า ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้กรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยใดประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยให้ยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการ คปภ.) เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือผู้มีส่วนได้เสีย โดยคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา ให้บริษัทต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จก่อนที่คณะกรรมการจะอนุญาตให้เลิกกิจการ อย่างน้อยดังต่อไปนี้

(1) วิธีจัดการหรือการโอนภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีผลผูกพันอยู่

(2) วิธีการบอกกล่าวให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและผู้มีส่วนได้เสียทราบ และใช้สิทธิตามกฎหมาย

(3) การโอนหรือการขอรับเงินสำรองที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียน

(4) การจัดการทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการประกันวินาศภัยและการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท

(5) ระยะเวลาของการดำเนินการตาม (1) (2) (3) และ (4) ในกรณีที่คณะกรรมการอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และบริษัทประสงค์จะเลิกบริษัท การเลิกบริษัทให้มีผลนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและให้มีการชำระบัญชี

แม้บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ต่อคณะกรรมการ คปภ. ผ่านสำนักงาน คปภ. แล้ว แต่คณะกรรมการ คปภ. ยังไม่ได้อนุญาต ในการนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณารายละเอียดต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายก่อนเสนอต่อคณะกรรมการ คปภ. พิจารณาต่อไป

สำหรับกองทุนประกันวินาศภัยได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ในกรณีบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพเท่านั้น ตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดภารกิจของกองทุนฯ ให้ครอบคลุมถึงกรณีบริษัทประกันภัยขอเลิกประกอบธุรกิจเอง

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก โดยยืนยันว่าตอนนี้ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยังไม่สามารถปิดหรือหยุดประกอบกิจการได้ จนกว่าจะได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการจากคณะกรรมการ คปภ.

โดยสำนักงาน คปภ. ได้ตั้งทีมงานประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สายกำกับธุรกิจและการลงทุน สายตรวจสอบ สายวิเคราะห์ธุรกิจประกันภัย สายกฎหมายและคดี และสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแล้ว เพื่อเป็นการพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย และผู้มีส่วนได้เสีย

ล่าสุดวันนี้ (27 ม.ค.) ‘อาคเนย์ประกันภัย’ ส่งหนังสือชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่า ปัจจุบันบริษัทยังดำเนินธุรกิจ และให้บริการ รวมถึงความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยตามปกติ

 

]]>
1371746
“เจ้าสัวเจริญ” คัดทรัพย์สินกลุ่ม TCC ให้อีก 20 โครงการ หนุน “แอสเสท เวิรด์” ลงทุนยาวหลังเข้าตลาด https://positioningmag.com/1246113 Wed, 11 Sep 2019 23:50:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246113 “แอสเสท เวิรด์” หรือ AWC ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ราคาหุ้นละ 6 บาท จำนวน 8,000 ล้านหุ้น สัดส่วน 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยเปิดให้นักลงทุนทั่วไปจองซื้อหุ้นระหว่างวันที่ 25 – 27 ก.ย. นี้ และเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ต้นเดือน ต.ค. นี้ เพื่อระดมทุน 48,000 ล้านบาท

ดังนั้น AWC จึงกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ณ ราคา IPO รวม 1.92 แสนล้านบาท ทุบสถิติทุกบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ทรัพย์สินกลุ่มแรก 1.15 แสนล้าน      

บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ซึ่งมี TCC Group ของเจ้าสัวเจริญ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้จัดพอร์ตโฟลิโอทรัพย์สิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (Freehold) 90% ให้ AWC มี 2 กลุ่ม คือ 1. ธุรกิจโรงแรมและบริการ (Hospitality) และ 2. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ประเภทค้าปลีกและอาคารสำนักงาน

Bangkok Marriott Marquis

หลังการเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ AWC จะมีโครงการในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการรวมทั้งสิ้น 27 โครงการ จากปัจจุบันที่มีโครงการ 14 แห่ง แบ่งเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 10 แห่ง และรวมโครงการอีก 4 แห่ง ตามสัญญาซื้อขายหุ้นปี 2562 และโรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือมีแผนการพัฒนาจำนวน 13 แห่ง เป็นโรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือแผนในการพัฒนา 11 แห่ง และ โครงการอสังหาริมทรัพย์มิกซ์ยูส อีก 2 แห่ง ใน 5 ปีข้างหน้า AWC จะมีห้องพักโรงแรมรวม 8,506 ห้อง เป็นบริษัทที่จำนวนห้องพักมากที่สุดในประเทศไทย

ส่วนกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial Building) ทั้งกลุ่มอสังหาฯ เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail and Wholesale) คอมมูนิตี้ช้อปปิ้งมอลล์และคอมมูนิตี้มาร์เก็ต ภายใต้แบรนด์เกทเวย์ พันธุ์ทิพย์ และตะวันนา ปัจจุบันมีพื้นที่รวม 165,628 ตารางเมตร และในปี 2565 จะมีพื้นที่เช่าสุทธิรวม 415,481 ตารางเมตร จากโครงการทั้งหมด 11 โครงการ

Asiatique

โดยมีโครงการที่เปิดดำเนินการแล้ว 9 โครงการ รวม 1 โครงการ ที่ทำข้อบันทึกตกลงสัญญาว่าจ้างบริหารเกตเวย์ เอกมัย และเพื่อพิจารณาเข้าลงทุนในโครงการเกตเวย์ เอกมัย ปี 2562 และอีก 2 โครงการซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาและปรับปรุง และที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบความพร้อมต่างๆ พร้อมกับเป็นเจ้าของอาคารสำนักงานอีก 4 แห่ง เช่น อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ พื้นที่เช่าสุทธิรวม 270,594 ตารางเมตร

โดยมูลค่าสินทรัพย์ของ AWC ปัจจุบันอยู่ที่ 92,000 ล้านบาท หลังเข้าตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 115,000 ล้านบาท จากการลงทุนเพิ่มในอีก 12 โรงแรมที่เซ็นสัญญาไว้แล้ว

วัลลภา ไตรโสรัส

TCC ให้สิทธิอีก 20 โครงการ

วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เนื่องจาก AWC มี TCC Group ถือหุ้น 75% ทำให้ AWC มีโครงสร้างพิเศษโดยได้สิทธิในการลงทุนทรัพย์สินของกลุ่ม TCC ซึ่งจะนำแลนด์แบงก์และโครงการที่มีศักยภาพในมือ ให้สิทธิ AWC คัดเลือกไปลงทุนก่อน เพื่อให้ AWC เป็นแฟลกชิพ ที่เติบโตในระยะยาวในธุรกิจที่เน้นการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ ทั้งกลุ่มโรงแรม ช้อปปิ้ง และอาคารสำนักงาน โดยจะมี Big Development ต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ จากเอกสารนำเสนอข้อมูลการเสนอขายหุ้นสามัญของ AWC ระบุว่า สัญญาให้สิทธิระหว่าง AWC และ TCC ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ในการเข้าถึงที่ดินและอสังหาฯ จำนวนมาก ตัวอย่างทรัพย์สินตามสัญญาให้สิทธิที่มีศักยภาพในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ ที่ AWC อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ ตัวอย่างเบื้องต้นของทรัพย์สินตามสัญญาให้สิทธิมีจำนวน 20 โครงการ ใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย

  • เชียงราย 1 โครงการ ประเภทรีสอร์ท คือ เดอะ อิมพีเรียล ริเวอร์ เฮ้าส์ รีสอร์ท
  • เชียงใหม่ 5 โครงการ ประเภท เวลเนส รีสอร์ท และมิกซ์ยูส
  • กรุงเทพฯ 11 โครงการ ประเภท มิกซ์ยูส โรงแรม และค้าปลีก โครงการขนาดใหญ่คือ เวิ้งนครเกษม พื้นที่ 1.62 แสนตร.ม. นอกจากนี้ยังมีแลนด์แบงก์ที่พร้อมพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส ในทำเล ถนนบางนา กม.1, สุขุมวิท 103/1, ทำเลเจริญนคร ธุรกิจโรงแรมทำเล สุขุมวิท 22 สุขุมวิท 38 และค้าปลีกทำเล ถนนพระราม 2 เป็นต้น
  • ชลบุรี 3 โครงการ ประเภท มิกซ์ยูส ในโครงการ โรงแรมเดอะ อิมพีเรียล พัทยา, ที่ดิน 12 ไร่ ติดกับโรงแรม Grand Sole และโครงการ The Sails พัทยา

ทั้ง 20 โครงการดังกล่าวรวมพื้นที่อาคารสูงสุด ที่คาดว่าจะดำเนินการ แบ่งเป็น โรงแรม 8.55 ล้าน ตร.ม. กิจการค้าปลีก 2.6 แสน ตร.ม. และอสังหาริมทรัพย์มิกซ์ยูส 2.69 ล้าน ตร.ม. รวม 11.50 ล้าน ตร.ม.

นอกจากนี้ AWC ยังได้รับสนับสนุนจาก Ecosystem ของ TCC Group ที่มีเครือข่ายธุรกิจหลากหลายทั้งอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มอุตสาหกรรมและการค้า กลุ่มธุรกิจประกันและการเงิน กลุ่มอสังหาฯ และกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ที่จะช่วยสร้างการเติบโตและเพิ่มมูลค่าเงินทุนในระยะยาว

สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรก 2562 AWC มีรายได้ 6,442 ล้านบาท และกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน 3,114 ล้านบาท สัดส่วนรายได้จากธุรกิจโรงแรมและบริการ 52% ธุรกิจอาคารสำนักงาน 30% และค้าปลีก 18%

]]>
1246113
ส่อง “ที่สุด” มาสเตอร์แพลนมิกซ์ยูส 1.2 แสนล้าน One Bangkok ปั้นแลนด์มาร์คโลก เปิดเฟสแรกปี 2566 https://positioningmag.com/1241028 Wed, 31 Jul 2019 12:02:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241028 ทีซีซี กรุ๊ป” อาณาจักรธุรกิจของ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดีประกาศเปิดตัวบิ๊กโปรเจกต์ One Bangkok (วัน แบงค็อก) ครั้งแรกในปี 2560 ภายใต้การลงทุนของบริษัทในเครือทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย)” ร่วมทุนกับเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ถือเป็นการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่รวบรวมความเป็นที่สุดระดับประเทศ  

มิกซ์ยูสใหญ่ที่สุดในไทย

“วัน แบงค็อก” ได้เผยโฉม “มาสเตอร์แพลน” โครงการที่สร้างสถิติ “ที่สุด” ของประเทศไทย ไล่มาตั้งแต่ “ที่ดิน” ก่อสร้างโครงการบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิม หรือทำเลทองบริเวณหัวมุมถนนวิทยุตัดกับถนนพระราม 4 เนื้อที่ 104 ไร่ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ให้สิทธิ์เช่าที่ดิน 60 ปี มูลค่าการลงทุนโครงการ 1.2 แสนล้านบาท พื้นที่รวม 1.83 ล้านตร.ม.

ถือเป็นโครงการอสังหาฯ รูปแบบ “มิกซ์ยูสใหญ่ที่สุด” ในประเทศไทย วางเป้าเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของโลก

โครงการจัดสรร พื้นที่สีเขียว 50 ไร่ จากพื้นที่รวม 104 ไร่ ออกแบบเป็นพื้นที่โล่งเพื่อให้ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ พื้นที่ Civic Plaza กว่า 10,000 ตารางเมตร พื้นที่รีเทลและไลฟ์สไตล์บริเวณส่วนล่างของตึก เป็นศูนย์กลางการจัดงานแสดงระดับนานาชาติและงานเทศกาลต่างๆ

อาคารสูงที่สุดในอาเซียน

หนึ่งในอาคารของ “วัน แบงค็อก” คือ Signature Tower สูง 430 เมตร เมื่อแล้วเสร็จจะกลายเป็น 1 ใน 10 อาคารสูงที่สุดในอาเซียน และสูงสุดที่สุดในประเทศไทยแทนอาคารมหานคร ที่ครองสถิติในขณะนี้ และเป็นหนึ่งในเดสทิเนชั่นชมวิวแบบพาโนราม่าของกรุงเทพฯ

วัน แบงค็อก ถือเป็น “แลนด์มาร์ค” ครบวงจรระดับโลกแห่งใหม่ ดึงดูดบริษัทชั้นนำ นักท่องเที่ยว และคนไทยด้วยอาคารสำนักงานเกรดเอ พื้นที่รีเทลชั้นนำ โรงแรมระดับลักชัวรี่ ที่พักอาศัย และพื้นที่ศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม

พื้นที่สำนักงานเกรดเอ 5 อาคาร 5 แสนตร.ม.

ทำเลทองใจกลางเมืองแห่งนี้ วางเป้าหมายเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจแห่งใหม่ ด้วยพื้นที่เช่าสุทธิของอาคารสำนักงานเกรดเอ 5 อาคาร รวมกันกว่า 500,000 ตร.ม. รองรับบุคลากรขององค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ 500 บริษัท จำนวนกว่า 50,000 คน อาคารออกแบบตามมาตรฐาน LEED และ WELL

รีเทล 4 โซน พื้นที่ 1.8 แสนตร.ม.

สำหรับพื้นที่รีเทล 4 โซน ที่มีความแตกต่างกันและเชื่อมต่อถึงกันด้วยร้านค้าและร้านอาหารกว่า 450 ร้าน บนพื้นที่ 180,000 ตร.ม. สร้างประสบการณ์รีเทลแปลกใหม่และแตกต่าง ภายในที่แห่งเดียว ถือเป็นครั้งแรกของกรุงเทพฯ

5 โรงแรมครบทุกเซ็กเมนต์

บิ๊กโปรเจกต์ “วัน แบงค็อก” มีโรงแรม 5 แห่ง โดยทั้งหมดจะเป็น “แบรนด์ใหม่” สำหรับกรุงเทพฯ ตั้งแต่ระดับบูทีคโฮเทล โรงแรมเพื่อธุรกิจ ไปจนถึงระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ รวมกว่า 1,100 ห้อง โดยโรงแรมลักชัวรี่แห่งแรกคือ The Ritz-Carlton Bangkok เปิดให้บริการในปี 2566

สำหรับโรงแรม The Ritz-Carlton, Bangkok ใช้งบลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ชั้น 1 ถึงชั้น 25 ของอาคารสูง 50 ชั้น ความสูงโดยรวม 250 เมตร ประกอบด้วยห้องพัก 259 ห้อง, ห้องชุดสวีท 32 ห้องและห้อง Ritz-Carlton Suite 1 ห้อง

เรสซิเดนท์หรู 3 อาคาร

ส่วนที่พักอาศัยในโครงการ วัน แบงค็อก มี 3 อาคาร บริเวณทิศเหนือ เห็นวิวจากฝั่งถนนวิทยุและฝั่งสวนลุมพินีแบบพาโนรามา โดยมีอาคารที่พักอาศัยระดับอัลตร้า ลักชัวรี่ และลักชัวรี่

พื้นที่เรสซิเดนท์ โครงการแรกจะตั้งอยู่เหนือโรงแรม The Ritz-Carlton, Bangkok ประกอบด้วยห้องที่ตกแต่งอย่างหรูหราขนาด 2 – 4 ห้องนอน จำนวน 110 ห้อง พื้นที่เริ่มต้นที่ 130 ตร.ม. เปิดตัวและขายช่วงต้นปี 2563 การก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2566

เดินทางเข้าออก 6 จุด คนเข้า 2 แสนคนต่อวัน

“มาสเตอร์แพลน” การเข้าถึงและการเดินทางไปยังโครงการเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน สถานีลุมพินี ทางเข้าออกรอบโครงการถึง 6 จุด จากฝั่งถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 รวมถึงทางเชื่อมตรงกับทางด่วน ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการอนุมัติ

โดยผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT วันธรรมดาอยู่ที่ 1 ล้านคน ที่สามารถเข้ามายังโครงการ คาดการผู้เข้ามาใช้บริการในโครงการวันละ 200,000 คน

ในโครงการมีศูนย์ข้อมูล (District Command Centre) และเซ็นเซอร์กว่า 250,000 ตัว

ปณต สิริวัฒนภักดี

“วัน แบงค็อก” เสริมแกร่งทำเลพระราม 4

ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ยืนยันว่า บิ๊กโปรเจกต์ “วัน แบงค็อก” พร้อมเปิดเฟสแรก ด้วยอาคาร The Ritz-Carlton, Bangkok และเรสซิเดนท์ 110 ห้อง ในปี 2566 และทั้งโครงการวัน แบงค็อก จะสมบูรณ์ในปี 2569 ปัจจุบันยังยืนยันกำหนดการเดิมและงบลงทุนเดิมที่ 1.2 แสนล้านบาท

การเปิดตัวของวัน แบงค็อก ยังเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพย่านธุรกิจ “พระราม 4” ให้แข็งแกร่ง โดยมีโครงการของ ทีซีซี กรุ๊ป อยู่ในย่านนี้ 5 โครงการ คือ The PARQ (เดอะ ปาร์ค), อาคาร FYI Center, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, สามย่านมิตรทาวน์ และ วัน แบงค็อก

บิ๊กโปรเจกต์ “วัน แบงค็อก” นี้ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธาน ทีซีซี กรุ๊ป ได้ให้วิสัยทัศน์ไว้ว่า “คือการสร้างสรรค์สถานที่ที่ผู้คนจะตกหลุมรักและอยากมาใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ในที่แห่งนี้ ทำให้ทุกคนในกรุงเทพฯ รู้สึกว่าที่นี่ คือ ส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของกรุงเทพฯ และเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะกลายเป็นแลนด์มาร์คระดับโลกที่ยกระดับ ภาพลักษณ์ที่ดีงามของกรุงเทพฯ และประเทศไทยให้โดดเด่นเป็นสง่าบนเวทีโลก”

]]>
1241028
“แอสเสท เวิรด์” จัดทัพธุรกิจโรงแรม เจาะกลุ่ม MICE “จ่ายหนัก” ลงทุนมิกซ์ยูส “พัทยา- เอเชียทีค” https://positioningmag.com/1240912 Tue, 30 Jul 2019 13:30:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240912 หลังจัดพอร์ตโฟลิโอกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 1 ใน 5 ธุรกิจหลักของ TCC Group ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดีคัดทรัพย์สิน Prime Property และ Prime Location ย่านซีบีดี เข้ามาอยู่แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่นหรือ AWC พร้อมนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยมูลค่าธุรกิจ “แสนล้านบาท” 

สำหรับพอร์ตการลงทุนอสังหาฯ ของ AWC มี 2 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ

ธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ซึ่งเป็นพันธมิตรเชนโรงแรมระดับโลก 6 แห่ง ได้แก่ แมริออท, ฮิลตัน, อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ล กรุ๊ป, มีเลีย, บันยันทรี และโอกุระ

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail and Commercial Building) พื้นที่รวม 6 แสนตร.ม. แบ่งเป็น อสังหาฯ เพื่อประกอบกิจการค้าปลีก (Retail and Wholesale) 10 โครงการ และกลุ่มอาคารสำนักงาน 4 โครงการ

ชูห้องพักโรงแรมมากสุดเจาะกลุ่ม MICE

วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบัน AWC เป็นเจ้าของโรงแรมรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในโรงแรมระดับ Midscale ขึ้นไปจากจำนวนห้องพักทั้งหมดกว่า 8,506 ห้อง รวม 27 แห่ง โดยเปิดดำเนินการ 14 แห่ง และอีก 13 แห่งได้ตกลงเข้าซื้อตามสัญญาซื้อขายหุ้นปี 2562 ซึ่งจะทยอยเปิดบริการในช่วง 3 – 5 ปีนี้ ด้วยงบลงทุนรวม 40,000 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจโรงแรมแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

1. โรงแรมกลุ่ม MICE สร้างรายได้มากที่สุด ปี 2561 อยู่ที่ 52% ในกลุ่มนี้ คือ แมริออท มาร์คีส์ ควีนปาร์ค, แอทธินี โฮเทล, โอกุระ และแมริออท สุรวงศ์

แบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์

2. โรงแรมในเมือง (City Hotel) ในกรุงเทพฯ สัดส่วนรายได้ 16.5% เช่น เลอเมอริเดียน กรุงเทพฯ, ฮิลตัล สุขุมวิท, ดับเบิ้ลทรี ฮิลตัล สุขุมวิท, ฮอลิเดย์ อินน์ เอ็กซ์เพรส สาทร

3. รีสอร์ทระดับ Luxury นอกกรุงเทพฯ สัดส่วนรายได้ 11% เช่น บันยันทรี สมุย และวนาเบลล์ รีสอร์ท สมุย

4. โรงแรมอื่นๆ (Leisure) นอกกรุงเทพฯ สัดส่วน 20.5% เช่น แมริออท หัวหิน, แมริออท ภูเก็ต, เชอราตัน สมุย, เลอ เมอริเดียน เชียงใหม่

Okura Prestige

กลุ่มธุรกิจโรงแรมทั้ง 27 แห่งในพอร์ตของ AWC กลุ่มหลักยังเป็นโรงแรมกลุ่ม MICE เนื่องจากเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวกลุ่ม MICE ไทยเติบโต 47.6% กลยุทธ์การทำตลาดของ AWC จะใช้จุดแข็งเครือข่ายห้องพักสำหรับกลุ่ม MICE ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยรวมกว่า 4,000 ห้อง และเครือข่ายเชนบริหารโรงแรมจาก 6 พันธมิตร ดึงกลุ่ม MICE เข้ามาใช้บริการ

ประเทศไทยมีศักยภาพดึงการประชุมนานาชาติเข้ามาจัดงาน จากความพร้อมสถานที่จัดประชุมและโรงแรมที่พัก โดยตลาดกลุ่ม MICE จะมีการต้องห้องพักล่วงหน้า มีการใช้ห้องประชุม รวมทั้งบริการ F&B และระยะเวลาพักนาน ถือเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายสูง สร้างรายได้และกำไรที่ดีให้กับโรงแรม

Banyan Tree Samui

นักท่องเที่ยวต่างชาติพุ่ง 50 ล้านคนหนุนโรงแรมโต

สำหรับโรงแรมและรีสอร์ทอื่นๆ ในพอร์ตของ AWC จะเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลางถึงไฮเอนด์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง

สเตฟาน ฟานเดน อาวาเล หัวหน้าคณะกลุ่มโรงแรมบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมายังประเทศไทยกว่า 38 ล้านคน อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหาร สร้างรายได้ 9.15 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 5.6% ของ GDP ของประเทศไทย ประเมินกันว่า ปี 2030 ประเทศไทยจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มเป็น 50 ล้านคน ถือเป็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยรวมทั้ง AWC

โรงแรมส่วนใหญ่ในเครือ AWC ทำรายได้เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจโรงแรม ดัชนี RevPAR ไตรมาสแรกปีนี้ อัตราค่าห้องพักต่อวัน (ADR) ของโรงแรมที่เปิดดำเนินการทั้ง 14 แห่ง อยู่ที่ 5,279 บาท มีอัตราการเข้าพัก 83% ลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มหลัก คือ จีน 18% ญี่ปุ่น 11% สหรัฐฯ 10%

Asiatique

ลงทุนมิกซ์ยูส “พัทยา-เอเชียทีค”

แผนการลงทุนในกลุ่มธุรกิจโรงแรมนอกจากงบประมาณที่เตรียมไว้แล้ว 40,000 ล้านบาท สำหรับการลงทุน 13 โรงแรมถึงปี 2568 แล้ว แต่ละปี AWC ได้จัดสรรเงินลงทุนอีกราว 10,000 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 3 – 5 ปีนี้ เพื่อลงทุนเพิ่มเติม ทั้งการเลือกทรัพย์สินจากกลุ่ม TCC มาพัฒนาต่อ และการลงทุนโครงการใหม่ๆ ร่วมกับพาร์ตเนอร์

สำหรับบิ๊กโปรเจกต์ 2 โครงการที่อยู่ในแผนการลงทุนแล้ว ซึ่งจะใช้เงินลงทุนโครงการละ 10,000 ล้านบาท คือ โครงการมิกซ์ยูสที่พัทยา เฟสแรกพื้นที่ 20 ไร่ ซึ่งจะมีโรงแรม 2 แห่ง และมี 2 แบรนด์เข้ามาบริหาร ขนาด 1,298 ห้อง และ 500 ห้อง ในโครงการจะสร้าง Attraction เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในโครงการด้วย

อีกโปรเจกต์ คือ เอเชียทีค เริ่มที่สร้างโรงแรมขนาด 800 ห้อง และยังมีที่ดินโดยรอบเพื่อขยายโครงการในเฟสต่อไป ซึ่งจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ เอเชียทีค เป็น Iconic ของริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1240912
ผ่าดีล “อเดลฟอส” ฮุบหุ้นตลาดดอทคอม 51% แปลงอีคอมเมิร์ซเป็น “Big Data” กรุยทางทำอีเพย์เมนต์ เสริมอาณาจักร “ทีซีซี กรุ๊ป” https://positioningmag.com/1163581 Wed, 28 Mar 2018 04:32:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1163581 อาณาจักร “ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น” หรือ ทีซีซี กรุ๊ป ของราชันย์น้ำเมา “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” รู้กันว่ามีธุรกิจหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม นำโดย ไทยเบฟเวอเรจ โออิชิ เสริมสุข เอฟแอนด์เอ็น เป็นหัวหอก, อุตสาหกรรมและการค้าโดยเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (บีเจซี), ธุรกิจการเงินและประกันผ่านอาคเนย์ และอสังหาริมทรัพย์ ผ่านทีซีซี แลนด์ กรุ๊ป และกลุ่มธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

ธุรกิจดังกล่าวมี “ฐานผู้บริโภค” ทั่วประเทศจำนวนมาก หากเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ “พฤติกรรมการซื้อสินค้า” ว่าใครซื้อเมื่อไหร่ อย่างไร ซื้อที่ไหน หรือรู้ความต้องการเชิงลึก (Insight) ได้มากสุด เชื่อว่าจะทำตลาด “ชนะใจ” ผู้บริโภคได้ และ “ชนะคู่แข่ง” ไปพร้อม ๆ กัน

เพื่อสร้าง “คลังข้อมูล” หรือ กุม Big Data ผู้บริโภคไว้ในมือทั้งหมด บริษัท อเดลฟอส จำกัด บริษัทลงทุน (Holding Company) ของทีซีซี กรุ๊ป ที่ถือหุ้นโดย 2 ทายาท “ฐาปน-ปณต สิริวัฒนภักดี” รุกคืบขยายธุรกิจดิจิทัลครั้งสำคัญด้วยการเข้าซื้อกิจการ บริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด ของ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้ก่อตั้ง E-Marketplace ดังกล่าว  

จากนั้น “อเดลฟอส“ ได้ตั้งบริษัทลูก “ทีสเปซ ดิจิตอล” ขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อเข้าไปถือหุ้นในตลาด ดอท คอม 51 และ “ภาวุธ” ถือ 49% พร้อมส่ง มารุต บูรณะเศรษฐกุล” ลูกหม้อไทยเบฟเวอเรจไปนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีสเปซ ดิจิตอล จำกัด

มารุต บูรณะเศรษฐกุล

โดยบทบาทของ “ทีสเปซ ดิจิตอล” จะทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ หนุนธุรกิจที่มีแนวโน้มชัดเจนว่า “ดิจิทัล” จะเข้ามามีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค หรือ Lifestyle Driven เช่น ต่อยอดธุรกิจที่ตลาด ดอท คอมทำ และเดินหน้าลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพสร้างการเติบโตให้กับเครือ ขณะนี้สนใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่จะไม่ลงทุนเป็นลำดับขั้นการเติบโต (Seeding) แล้วมีนักลงทุนอื่นเข้าไปลงทุนร่วม แต่บริษัทจะต้องเป็น “รายเดียว” ที่ผูกกับสตาร์ทอัพนั้น ๆ โดยธุรกิจที่ให้น้ำหนักจะต้องเกี่ยวเนื่องในเครือ 

ส่วนการเข้าไปถือหุ้นในตลาด ดอท คอม บริษัทได้ปรับ Positioning ธุรกิจ “TARAD.com” ใหม่ยกกระบิ พร้อมใช้งบหลัก “ร้อยล้านบาท” เพื่อลงทุนด้านระบบรองรับการสร้างคลังเก็บ Big Data ผู้บริโภค และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือทีซีซี กรุ๊ปในอนาคต   

จากที่ผ่านมาแต่ละกลุ่มมีการแยกเก็บข้อมูลลูกค้าไว้แล้ว เช่น บิ๊กซี มีบริษัท อีวายซี (EYC) ยักษ์ใหญ่ด้านวิจัยข้อมูลชั้นนำของโลกมาวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการลูกค้าเชิงลึกให้ อาคเนย์ประกันภัย ก็เก็บข้อมูลผู้บริโภค แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้  

++“ไทยเบฟ” ต้องรู้ Insight ผู้บริโภค  

ทั้งนี้ ไทยเบฟ จะเป็นกลุ่มแรกที่ “ซีเนอร์ยี” ธุรกิจกับตลาด ดอท คอม เพราะเป็นธุรกิจที่ “ใหญ่สุด” ของกลุ่ม รายได้รวมกว่า 1.6 แสนล้านบาท ทั้ง “มารุต” ยังทำงานใกล้ชิดองค์กรและเห็นว่าบริษัทมีการขายสินค้าผ่านช่องทางขายจำนวนมากทั้งห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) ร้านสะดวกซื้อ (CVS) และร้านค้าทั่วไป (TT) เช่น

  • เหล้าขายผ่านร้านค้าทั่วไป 90% โมเดิร์นเทรด 10%
  • เบียร์ขายผ่านร้านค้าทั่วไป 70% โมเดิร์นเทรด 30%
  • เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ขายผ่านร้านค้าทั่วไป 50% และโมเดิร์นเทรด 50%

แต่บริษัทไม่เคยล้วงลึกพฤติกรรมผู้บริโภคในช่องทางร้านค้าทั่วไปได้เลย และเชื่อว่ายังไม่มีบริษัทไหนทำได้ด้วย ซึ่งยุคนี้การมีฐานข้อมูลผู้บริโภคเยอะสำคัญ จะดีกว่านั้นหากเข้าใจ Insight บริษัทจะนำเสนอสินค้าและบริการ สร้างแบรนด์ ทำตลาด ตลอดจนโปรโมชั่น “ตรงใจ” ผู้บริโภคทุกคนมากที่สุด ถึงขั้นอาจเห็นเครื่องดื่มทำมาเพื่อผู้บริโภคเฉพาะคนมากขึ้น (Customize)

“ไทยเบฟขายสินค้าผ่านร้านค้าทั่วไปเกือบแสนร้าน จากทั่วประเทศมี 4-5 แสนร้านค้า แต่เราไม่เคยรู้ข้อมูลผู้บริโภคระดับย่อย (Endless Stream)ได้เลยว่ามีพฤตกรรมการซื้อสินค้ายังไง ซื้อที่ไหน เมื่อไหร่อย่างไร หากรู้ Insight ลูกค้าเราจะส่งต่อให้แบรนด์ต่าง ๆ ในไทยเบฟใช้ประโยชน์ได้”

++รุกคืบ E-Payment เสริมบริการร้านค้า

ทีสเปซฯ ยังเตรียมขอใบอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเป็นผู้ให้บริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) และการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ตลอดจนบริการทางการเงินอื่น ๆ เพราะในการขายสินค้าผ่านร้านค้าหลักแสนร้าน การ “ชำระเงิน” เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการ “เก็บข้อมูล” พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้านั่นเอง

นอกจากนี้ ยังได้ฐานข้อมูลร้านค้าด้วย เพื่อนำเสนอบริการอื่นเสริมให้แก่ร้านค้า เพิ่มจากการขายเครื่องดื่ม เช่น บริการรับชำระค่าบริการต่าง ๆ ให้ผู้บริโภคเหมือนกับเคาน์เตอร์เซอร์วิส เป็นต้น หากทำได้เพียง 10% หรือราว 3 หมื่นร้านค้า ไทยเบฟจะมีเครือข่ายร้านค้าให้บริการทางการเงินมากกว่าร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่น อีเลฟเว่นที่มีร้านกว่า 1 หมื่นสาขาด้วย  

ปัจจุบันไทยเบฟเริ่มมีบริการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดให้ร้านค้านำไปใช้บ้างแล้ว เพื่อรับสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)

อนาคตลูกค้าไม่ต้องเข้าแค่ร้านสะดวกซื้อเท่านั้น แต่มีทางเลือกอื่นเพิ่ม เช่น ไปชำระค่าบริการต่าง ๆ ที่ร้านโชห่วยได้

โฟกัสเรียบทุกช่องทางค้าขาย รุกจ่ายเงินดิจิทัล  

เมื่อทีสเปซฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในตลาด ดอท คอม ได้พลิกโมเดลธุรกิจใหม่ ถอยทัพจากการทำ E-Commerce หรือหน้าร้านออนไลน์ เพราะแข่งเดือดจากยักษ์ใหญ่ต่างชาติเผาเงินสู้กันสุดฤทธิ์ จากนี้ไปขอลุย 6E’s ดีกว่า ดังนี้  

1. E-Commerce พลิกโมเดลจากเป็นช่องทางให้ร้านค้าทั่วไป (B2B) หลักแสนรายมาขายสินค้า ไปสู่การเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายสินค้าแบบครอบจักรวาล หรือ Universal-Commerce (U-Commerce) ผ่านช่องทางร้านค้าต่าง ๆ ทั้งเว็บไซต์ ส่งต่อร้านค้าหลักแสนร้านไปขายสินค้าในมาร์เก็ตเพลสออนไลน์ยักษ์ใหญ่อื่น ๆอย่าง Shopee 11-street เตรียมคุยกับเจดี ดอทคอม และลาซาด้าเพิ่ม บุกโซเชียลคอมเมิร์ซ เชื่อมต่อการขายสินค้าเจาะร้านค้าทั่วไป และขยายช่องทางขายในต่างประเทศอย่าง Amazon e-Bay เป็นต้น  

โดย U-Commerce จะให้บริการฟรี (Freemium) แต่จะมี “รายได้” หากร้านค้าต้องการบริการด้านขนส่ง คลังสินค้า ทำตลาดและโฆษณาอื่น ๆ

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

“ปัจจุบันช่องทางขายสินค้ามีหลากหลาย TARAD.com จะไม่ใช่ออมนิชาเนล แต่จะเป็นยูนิเวอร์แซลคอมมิร์ซ เพราะการค้าขายไม่ควรมีช่องทางใดช่องทางหนึ่ง แต่สินค้าควรไปขายที่ไหนก็ได้ เราจึงแปลงจากอีคอมเมิร์ซ เป็นยูคอมเมิร์ซ” ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง บริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด กล่าว

สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซปี 2560 มีมูลค่ากว่า 2.8 ล้านบาท โต 9.86% จากปีก่อนหน้า และตั้งแต่ปี 2557-2560 ตลาดโตมาโดยตลอด

2. E-Marketplace ยังคงเว็บไซต์ TARAD.com เพื่อเจาะผู้บริโภครายยย่อย (B2C) แต่ไม่โฟกัสถมเงินทำโปรโมชั่นจนเจ็บตัวขาดทุนหลักล้านทุกเดือนเหมือนในอดีต ปัจจุบันเว็บดังกล่าวมีฐานสมาชิกกว่า 3 ล้านราย คนเข้าเว็บกว่า 5.8 ล้านรายต่อเดือน ส่วน Thaisecondhand.com ยังขายของเหมือนเดิม

3. E-Marketing การทำตลาดและโฆษณาออนไลน์ให้ครบวงจร โดยซีนเนอร์ยีกับ “โธธโซเชียล” และ WINTER EGENCY เป็นต้น  

4. E-Payment ซึ่งตลาด ดอท คอม มี Pay Solutions ที่ให้บริการด้านชำระเงินทั้งออนไลน์และออฟไลน์ อีกทั้งยังมีใบอนุญาตประกอบการให้บริการ E-Payment 2 ใบ เพื่อขยายบริการในอนาคตด้วย

5. E-Logistics & Warehouse ใช้ประโยชน์จาก SHIPPOP และ Siam Outlet ให้บริการส่งสินค้าและคลังสินค้าได้

6. E-Knowledge มีการหารือและทำโปรเจกต์ด้านความรู้ทางธุรกิจกับกลุ่มอมรินทร์ ธุรกิจสื่อที่ “ฐาปน-ปณต” เข้าไปซื้อกิจการด้วย  

“Big Data คือหัวใจ สิ่งที่ทำทั้งหมดจะทำให้เรามีข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค (Purchasing Data) มากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น แล้วนำไปเชื่อมต่อให้ทีสเปซ และทีซีซี กรุ๊ป เพื่อทำให้ชำระเงินสะดวกสบายขึ้น”

++ทีสเปซ ควงตลาด ดอท คอม มีกำไร

แม้ทีสเปซฯ เข้ามาลงทุนในตลาด ดอท คอมไม่นาน และปรับโครงสร้างธุรกิจ ช่วยให้ผลการดำเนินงานบริษัทดีขึ้น และคาดว่าในปีนี้จะพลิกมีกำไรได้ ขณะที่เป้าหมายรายได้ปีนี้คาดว่าจะโต 200-300% จากปี 2559 มีรายได้รวมกว่า 164 ล้านบาท โตกว่า 264% มีกำไรสุทธิกว่า 101 ล้านบาท โตกว่า 282% จากปี 2558 มีรายได้รวมกว่า 45 ล้านบาท ขาดทุนกว่า 55 ล้านบาท (ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ส่วนฐานสมาชิกตั้งเป้าโต 150%

ส่วนทีสเปซฯ หลังลงทุนดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาราว 5 ปี จึงจะคืนทุนและมีโอกาสทำกำไร ซึ่งการรุกธุกิจดิจิทัลครั้งนี้ “มารุต” รวมถึงผู้บริหารของอเดลฟอส และทีซีซี กรุ๊ป ไม่ได้มองการ “ทำกำไร” เป็นตัวตั้ง เพราะวัตถุประสงค์สำคัญคือมอง “ศักยภาพ” ของธุรกิจที่จะนำไปต่อยอดและซีเนอร์ยีให้กับกลุ่มได้มากที่สุด. 

]]>
1163581
ทีซีซี แลนด์ ทุ่ม 4 พันล้าน ผุด ‘เกตเวย์ บางซื่อ’ เปิดพื้นที่ให้เช่า 400 ร้านค้า ค่าเช่า 1.2 พันบาท/ตร.ม. https://positioningmag.com/1105574 Tue, 11 Oct 2016 06:23:06 +0000 http://positioningmag.com/?p=1105574 ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ มองโอกาสศูนย์การค้าย่านบางชื่อยังขาด ทุ่มงบ 4,000 ล้านบาท พัฒนาศูนย์การค้า ‘เกตเวย์ บางซื่อ’ ตอบรับการเติบโตของคอมมูนิตี้ย่านดังกล่าวแบบครบวงจร เปิดปลายปี 2561

ณภัทร เจริญกุล
ณภัทร เจริญกุล

ณภัทร เจริญกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มไลฟ์สไตล์และไฮเวย์ กลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด ในเครือกลุ่มทีซีซีแลนด์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เริ่มพัฒนาโครงการศูนย์การค้าเกตเวย์ บางซื่อ เพื่อสร้างให้เป็นศูนย์กลางด้านบริการอย่างครบวงจร สอดรับกับแผนการขยายพื้นที่ย่านบางซื่อให้เป็น ‘ชุมชนเมืองใหญ่’ แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ

ทำไมต้องเป็นบางซื่อ

  • ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านบางซื่อมีรายได้เฉลี่ยอยู่ในอันดับต้นๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถด้านกำลังซื้อ
  • ความหลากหลายในรูปแบบของประชากรที่รวมทั้งกลุ่มวัยรุ่นเพราะมีสถานศึกษาทุกระดับจำนวนมาก คนทำงานซึ่งมีบริษัทขนาดใหญ่รวมถึงรัฐสภาแห่งใหม่
  • กลุ่มผู้อยู่อาศัยซึ่งเฉพาะคอนโดมิเนียมก็มีจำนวนมากกว่า 30,000 ยูนิตยังไม่รวมที่อยู่อาศัยประเภทอื่นๆ ทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ มองเห็นโอกาสในการเติบโตหากขยายการลงทุนมาเจาะกลุ่มเป้าหมายในย่านนี้
  • แผนการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมของภาครัฐยังเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้ย่านบางซื่อ กลายเป็นศูนย์การการสัญจรในปัจจุบันในอนาคตอันใกล้ ในขณะที่ปริมาณศูนย์การค้าในย่านนี้ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการที่หลากหลายดังที่เห็น ณ ปัจจุบัน

รูปแบบศูนย์การค้า

  • ทำเลที่ตั้ง ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าบางโพ 170 เมตร และสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน 650 เมตร ซึ่งสถานีดังกล่าวถือเป็นจุด Interchange ที่สำคัญซึ่งเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง, สายสีน้ำเงิน และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย
  • ใช้พื้นที่ 9 ไร่  
  • พื้นที่จอดรถ 1,200 คัน
  • แบ่งเป็นพื้นที่ปล่อยเช่ารวม 40,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 400 ร้านค้า รองรับทั้งกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น, กลุ่มคนทำงาน และกลุ่มผู้อยู่อาศัยในย่านนี้
  • กำหนดอัตราเช่าไว้ประมาณ 1,200 บาทต่อตารางเมตร
  • ภายในศูนย์การค้า ประกอบด้วย

โซน Urban Market ที่วางคอนเซ็ปต์และบรรยากาศให้มีกลิ่นอายความเป็นตลาด ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหวานใน Take Home, สินค้าเครื่องครัวเครื่องใช้ และสินค้าและบริการเกี่ยวกับการดำรงชีวิตพื้นฐาน

โซน Everyday Fashion ที่รวบรวมสินค้าทั้งแบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้า ชุดกีฬา รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง โดยมี ไฮไลต์ คือ Urbano Zone ที่รวมเทรนด์เมโทรแฟชั่น

โซน All About Home ซึ่งรวมสินค้าและบริการต่างๆ เกี่ยวกับการตกแต่งบ้าน ร้านหนังสือ บริการทางการเงินและไอที

โซน (F&B) เป็นแหล่งรวมร้านอาหารชื่อดัง

โซน Work & Play& Learn โซนโรงเรียนสอนพิเศษ, ติวเตอร์, Kids zone สำหรับวัยเด็กและวัยเรียน Co-working space, พื้นที่สำนักงานเช่าสำหรับวัยทำงานและ starter

  • มีบริการโรงภาพยนตร์และบริการด้านเกมส์รวมถึงฟิตเนสสำหรับคนรักสุขภาพและ Sky Garden แห่งแรกและแห่งเดียวในย่านบางซื่อ
]]>
1105574
“เอเชียทีค” ขอแปลงร่างเป็นดิสนีย์แลนด์ https://positioningmag.com/1102265 Fri, 09 Sep 2016 04:24:12 +0000 http://positioningmag.com/?p=1102265 เกือบมีอายุครบ 5 ปีแล้วสำหรับเอเชียทีค รีเทลริมน้ำของค่ายทีซีซี แลนด์ฯ ในเครือของไทยเบฟเวอเรจ ซึ่งโจทย์และความท้าทายต่อไปของเอเชียทีคไม่ได้อยู่ที่การแข่งขันในตลาดรีเทลแล้ว แต่เป็นการวางจุดยืนใหม่ให้เป็นแบรนด์ World Class ให้เป็นเดสติเนชั่นที่นักท่องเที่ยวนึกถึงเป็นอันดับแรก เหมือนกับที่ญี่ปุ่นมีดิสนีย์แลนด์

ทำให้การวางกลยุทธ์ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีการรุกตลาดนักท่องเที่ยวอย่างมาก มีการออกโรดโชว์ต่างประเทศเพื่อให้รู้จักเอเชียทีค ในปีที่ผ่านมาเน้นหนักที่ประเทศอินโดนีเซีย และยุโรป เพราะมีโอกาสเติบโตสูง พร้อมกับทำการตลาดร่วมกับสายการบินในการโปรโมตสถานที่

และโฟกัสที่ตลาดนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเอง โดยที่ไม่ได้มากับทัวร์มากขึ้น เป็นตลาดสำคัญ นักท่องเที่ยวมีอายุระหว่าง 27-42 ปี มีการใช้จ่ายจริง และมีการใช้จ่ายมากกว่าที่มากับทัวร์ 3 เท่า ตอนนี้มีสัดส่วนระหว่างทัวร์จีนกับเดินทางมาเอง 50:50 แต่มีการตั้งเป้าเป็น 60:40 ในปีหน้า

ในปัจจุบันเอเชียทีคมีสัดส่วนลูกค้าเป็นชาวไทย 40% และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 60% โดยที่ 5 ชาติอันดับแรกได้แก่ ไต้หวัน จีน เกาหลี ฮ่องกง และอินโดนีเซีย และมีแนวโน้มของชาติยุโรปเพิ่มมากขึ้น

1_asiatiquenew

มานพ คำสว่าง ผู้จัดการทั่วไป โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ บริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด เปิดเผยว่าตอนนี้เรามีนักท่องเที่ยวปีละ 12 ล้านคน ต้องการเพิ่มเป็น 24 ล้านคนใน 2 ปีให้ได้ มีการทำตลาดอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงมีแผนที่จะขยายพื้นที่ทั้งในเฟสเดิม และเพิ่มเฟส 2 เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเพิ่มด้วย เราต้องการให้เอเชียทีคเป็นรูทเส้นทางสำคัญเมื่อเขามาประเทศไทย เป็นเดสติเนชั่นที่เขานึกถึงอันดับแรก เหมือนกับดิสนีย์แลนด์

ในปีนี้มีการประกันค่าเช่าขึ้น 10-15% ปัจจุบันมีค่าเช่าเฉลี่ย 1,600 บาท/ตารางเมตร ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ 500 ล้านบาท เติบโต 8% จาก 423 ล้านบาทในปี 2558

ขยายท่าเรือ เพิ่มอีเวนต์ ดึงดูดนักท่องเที่ยว

การเดินทางด้วยเรือเป็นอีกหนึ่งกิมมิกสำคัญของเอเชียทีคไปแล้ว ทำให้มีแผนที่จะขยายท่าเรืออีก 3 ท่า จากปัจจุบันมีอยู่ 1 ท่า ใช้งบลงทุน 120-130 ล้านบาท จะเป็นท่าเรือที่ยาว 60 เมตร รองรับเรือสำราญได้พร้อมกัน และปรับพื้นที่รองรับการจอดเรือท่องเที่ยว Dinner Cruise คาดว่าจะเสร็จช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2560

2_asiatique

พร้อมทั้งสร้างแม็กเน็ตด้วยการจัดบิ๊กอีเวนต์เพื่อดึงดูด ปัจจุบันมี 4 อีเวนต์ใหญ่ ได้แก่ วันปีใหม่ วันลอยกะทง วันสงกรานต์ และปาร์ตี้ฟูลมูน มีแผนจะเพิ่มอีเวนต์บิ๊กไบค์เข้าไปเพื่อรับกับไลฟ์สไตล์มากขึ้น

3_asiatique

เพิ่มเฟส 2 ผุดเอเชียทีคต่างจังหวัด

มีการพัฒนาพื้นที่เอเชียทีคเฟส 2 เพิ่มเติม เป็นส่วนของโรงแรมท่จะมีบริษัทเข้ามาบริหาร แต่ยังไม่เปิดเผย ใช้งบลงทุน 10,000 ล้านบาท มีจำนวนห้องทั้งหมด 800 ห้อง ห้องประชุมขนาดใหญ่  3,000 ตารางเมตร ห้องจัดเลี้ยง 10,000 ตารางเมตร เป็นการปั้นเอเชียทีคให้เป็น One stop service

และยังมีแผนที่จะขยายไปต่างจังหวัด เริ่มต้นที่พัทยา และเชียงใหม่ พัทยามีพื้นที่ทั้งหมด 8 ไร่ และเชียงใหม่มีพื้นที่มากกว่า 70 ไร่ เป็นตลาดอนุสารเดิม ทั้ง 2 โครงการกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาอยู่ และมีแผนที่ดูหัวหินเพิ่มเติม

info_asiatiquenew

]]>
1102265
ทีซีซี เทคโนโลยีของ "เสี่ยเจริญ” จับมือไอทีญี่ปุ่นรุกให้บริการ “คลาวด์” https://positioningmag.com/62966 Wed, 06 Apr 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62966
เป็นอีกหนึ่งในการรุกคืบของธุรกิจในเครือข่าย “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” คราวนี้เป็นคิวของบริษัทให้บริการด้านไอที “ทีซีซี เทคโนโลยี” ที่ได้ประกาศความร่วมมือกับ อินเทอร์เน็ต อินิชิเอทีฟ เจแปน หรือไอไอเจ (IIJ) หนึ่งในผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและคลาวด์สำหรับองค์กร (Enterprise Cloud) รายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อบริษัท ลีพ โซลูชั่นส์ เอเชีย จำกัด เพื่อให้บริการคลาวด์เต็มรูปแบบในไทย หนุนไทยเป็นผู้นำตลาดคลาวด์ในเอเชียภายใน 3 ปี
 
บริษัท TCCT ทำธุรกิจให้บริการโครงสร้างพื้นฐานไอที ต้องการต่อยอดจากธุรกิจศูนย์ข้อมูลด้วยการให้บริการคลาวด์ และขยายตลาดสู่ภูมิภาค ขณะที่ ไอไอเจมีความต้องการขยายตลาดการให้บริการคลาวด์ในประเทศไทย 
 
ในการร่วมทุนครั้งนี้มีสัดส่วนการถือหุ้นระหว่าง TCCT 60% และ IIJ 40% มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 200 ล้านบาท ทั้งคู่จะนำจุดแข็งของ TCCT ด้านศูนย์ข้อมูลและ SAP Hosting ผนวกกับจุดแข็งของไอไอเจในนวัตกรรมด้านคลาวด์มาช่วยตอบโจทย์ธุรกิจ พร้อมขยายงบลงทุนรวม 700 ล้านบาท
 
ลีพ โซลูชั่นส์ เอเชีย ถูกวางเป้าหมายให้เป็นผู้นำในการให้บริการคลาวด์สำหรับองค์กร เน้นเจาะตลาดในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ราชการ และบริษัทข้ามชาติของประเทศญี่ปุ่น รวมถึงลูกค้าที่เข้ามาลงทุนจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจเอเซียน หรือ เออีซี จะพร้อมให้บริการภายในไตรมาสที่สองของปี 2559 
 
ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหารบริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด บอกว่า ทีซีซี กรุ๊ป มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันประเทศไทยให้กลายเป็นดิจิทัลเกตเวย์ของภูมิภาค เนื่องจากตลาดคลาวด์มีโอกาสทางธุรกิจสูงมาก ทั้งในไทย ภูมิภาคเอเชีย และทั่วโลก ซึ่งทีซีซีทีเองก็มีได้ลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์มาต่อเนื่อง การได้ไอไอเจซึ่งมีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มาถึง 25 ปี โดยเป็นผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์คลาวด์ และมีแพลตฟอร์มคลาวด์อยู่ใน 6 ภูมิภาคทั่วโลกจะสามารถนำโนว์ฮาว และประสบการณ์เหล่านี้ มาร่วมกันกับทีซีซีที ในการขยายธุรกิจยังประเทศต่างๆ ผ่านบริษัทลีพ โซลูชั่น เอเชีย 
 
“ที่ตั้งของประเทศไทยที่ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์หลักของภูมิภาค ทำให้ไทยกลายเป็น “ฮับ” ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกที่ดึงดูดการลงทุนมูลค่ามหาศาล รวมถึงความรู้และเทคโนโลยีจากนานาประเทศ”
 
ส่วนสาเหตุทางยักษ์ใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับทางทีซีซีทีนั้น โคอิจิ มารุยาม่า เจ้าหน้าที่บริหาร–ธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท อินเทอร์เน็ต อินนิชิเอทีฟ เจแปน (IIJ) มองว่า ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในตลาด Public Cloud ที่ใหญ่ที่สุดตลาดหนึ่งในอาเซียน และยังมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงทางด้านบริการคลาวด์สำหรับองค์กรให้เห็นอีกด้วย ด้วยปัจจัยในเชิงบวกต่างๆ จึงมาจับมือกับทีซีซี กรุ๊ป หนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีศักยภาพมากที่สุดในประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญที่จะนำบริการคลาวด์ใหม่เข้าสู่ตลาดประเทศไทย
 

]]>
62966
เดอะสตรีท มอลล์ รัชดา เกมเปิดของทีซีซี แอสเซ็ทส์ https://positioningmag.com/61915 Thu, 26 Nov 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=61915

เป็นการประเดิมธุรกิจรีเทลแรก ของทีซีซี แอสเซ็ทส์ กับเป้าหมายในการเป็นอีกขาหลักของการบุกขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กับโครงการ “เดอะสตรีท รัชดา” บนถนนรัชดาภิเษก ใช้งบลงทุน 2,300 ล้านบาท

โครงการนี้ทีซีซี แอสเซ็ทซ์ ไม่ได้ใช้ที่ดินที่มีอยู่ในมือ แต่เช่าที่ดินขนาด 16 ไร่  ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน รัชดา แต่ได้เลิกกิจการไปเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา ทีซีซี แอแอสเซ็ทส์ จึงเช่าต่อ โดย มีอายุสัญญา 30 ปี

ตัวศูนย์การค้าเป็น อาคารสูง 5 ชั้น และ 1 ชั้นใต้ มีพื้นที่ให้เช่ามีทั้งหมด30,000 ตารางเมตร รองรับจำนวนร้านค้าได้มากกว่า 500 ร้านค้า ลานด้านหน้ามีเป็นพื้นที่เปิดโล่งขนาด 4,000 ตารางเมตร เพื่อให้รองรับการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่จะมีขึ้นตลอดทั้งปี  

การเลือกปักหลักที่โซนรัชดาภิเษก เพราะทำเลในย่านนี้ถือเป็น CBD ที่กำลังเดินตามรอยเส้นสุขุมวิท สาทร สีลม เพราะมีอาคารสำนักงานเกิดขึ้นมากมาย  เป็นโอกาสธุรกิจที่ดี

 แต่คู่แข่งที่เป็นศูนย์การค้าในย่านนี้ก็มากมาย ไม่ว่าจะเป็นห้างเซ็นทรัลพระราม 9, บิ๊กซี, เทสโก้ โลตัส, เอสพลานาท

ห้างสตรีทมอลล์ จึงถูกวางคอนเซปท์ให้เน้นความเรียบง่าย  ร้านอาหาร และแฟชั่น  ส่วนใหญ่ที่มาเปิด จะไม่เน้นร้านแบรนด์ เพราะคู่แข่งก็มีอยู่แล้ว หรือถ้าดึงมาเปิดก็ไม่ง่าย ร้านส่วนใหญ่จึงเป็น ร้านค้าย่อยแนวสตรีทแฟชั่น คล้ายกับร้านสยามสแควร์ และเทอร์มินอล 21  ร้านกิ๊ฟท์ช้อป ร้านขายเครื่องสำอางค์ เน้นซื้อง่ายขายคล่อง ราคาไม่แพง ต่อรองได้

เช่นเดียวกับ โซนอาหาร ที่มีสัดส่วนถึง 40% ของพื้นที่ทั้งหมด  จะมีแบรนด์เนมที่รู้จักกันดี อย่าง เอ็มเคสุกี้  เบอร์เกอร์คิง เคเอฟซี  สตาร์บัคส์ สเวนเซ่นส์ และร้านใหม่ ติ๋มซำทิมโฮวัน  และศูนย์อาหารแนวฟู้ดสตรีท ประเภท ร้านอาหารข้างทาง ที่เป็นแนวสตรีทฟู้ด ใช้วิธีจูงใจให้มาเปิดด้วยการไม่คิดค่าเช่าคิดจากส่วนแบ่งรายได้ 20% เตรียมอุปกรณ์ให้เสร็จสรรพ เพราะมองว่า นี่คือแม่เหล็ก ที่จะให้ลูกค้ามากินได้ทุกวัน

ส่วนโซนออกกำลังกายบนชั้น 5 แทนที่จะเป็นฟิตเนสทั่วไป ก็ไปดึงเอา  Bounce Free-Jumping Revolution จากประเทศออสเตรเลีย เป็นกีฬาแนวใหม่ จัมป์บนแทมโพลีน และกิจกรรมไต่เขา มาเปิดที่ไทยเป็นแห่งแรก

 เพราะในขณะที่ศูนย์การค้า และห้างฯ ปิด 4 ทุ่ม  เวลาที่เหลืออีก 12 ชั่วโมงต่อจากนั้น  จึงเป็นโอกาสเดอะสตรีท รัชดา โดยจะมีร้านอาหารเปิด 24 ชั่วโมง เช่น ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต  ร้าน TIM Howan ,ลิตเติ้ลฮ่องกง เซเว่นอีเลฟเว่น ไปรษณีย์ไทย

เพระนอกจาก กลุ่มพนักงานออฟฟิศ คนอยู่อาศัยในย่านี้แล้วว คนกลุ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ออกช้อปกลางคืน คนทำงานฟรีแลนซ์ คนใช้ชีวิตกลางคืน ประเมินแล้วว่ามีอยู่ถึง 30% 

นี่คือ ไฮไลท์สำคัญ กับโอกาสและความท้าทาย กับการลงสู่สนาม “รีเทล”ของ ทีซีซี แอสเซ็ทส์ จะเป็นประสบการณ์สำคัญที่จะถูกต่อยอดไปเป็นโครงการอื่นๆ ต่อไปในอนาคนอันใกล้ 

รู้จัก สตรีทมอลล์

– มูลค่าโครงการ 2,300 ล้านบาท

-พื้นที่โครงการ 16 ไร่

-พื้นที่ก่อสร้าง 69,900 ตารางเมตร พื้นที่ให้เช่า 30,000 ตารางเมตร

– เน้นตกแต่งสไตล์อินดัสเทรียล ลอฟต์ และบรรยากาศแนวสตรีทไลฟ์สไตล์

 -สัดส่วนร้านค้า อาหารและเครื่องดื่ม 40% , แฟชั่นและความงาม 20% บริการ 20% กีฬา 20%

– กลุ่มเป้าหมายคนทำงานออฟฟิศ คนพักอาศัยในย่านรัชดา ห้วยขวาง นักท่องเที่ยว คนใช้ชีวิตกลางคืน

-ทราฟฟิก 15,000-20,000 คนต่อวัน

-จุดขายสำคัญเปิด 24 ชั่วโมง 

อีกจุดขายที่สำคัญ คือ การเปิด 24 ชั่วโมง

]]>
61915
กางแผน “ทีซีซี แลนด์” ทุ่มงบหมื่นล้านใน 5 ปี เตรียมผุดโปรเจคต์ “Highway” https://positioningmag.com/61895 Mon, 23 Nov 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=61895

ถึงแม้ว่าในวงการธุรกิจรีเทล “ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์” ภายใต้อณาจักรไทยเบฟเวอเรจ อาจจะเป็นน้องใหม่ที่เพิ่งมีอายุในวงการได้เพียง 4 ปีเท่านั้น ที่ปัจจุบันมี 5 แบรนด์ในเครือ ได้แก่ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์, เกตเวย์, เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์, พันธุ์ทิพย์ และบ๊อกซ์ สเปซ น้องใหม่ล่าสุด

แต่การเคลื่อนไหวมีให้เห็นอยู่ตลอด เพราะการแข่งขันใตวงการค้าปลีกที่ดุเดือดขึ้นทุกปีๆ ซึ่งในปีที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีการรีโนเวทปรับโฉมครั้งใหญ่ให้กับแบรนด์ในเครือรวมทั้งหมด 3 แบรนด์ คือ เกตเวย์ เอกมัย, เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ (เปลี่ยนจากดิจิตอล เกตเวย์) และพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ อีกทั้งยังเตรียมสร้างน้องใหม่บ๊อกซ์ สเปซ คอมมูนิตี้ทำเลย่านรัชโยธิน ที่จะได้ฤกษ์เปิดเดือนกุมภาพันธ์ปี 2559

โดยที่ในปีหน้าถือว่าเป็น Big Step ของทีซีซี ตั้งเป้าเตรียมลงทุนรวม 10,000 ล้านใน 5 ปีข้างหน้าทั้งในการลงทุนขยายสาขาของ 4 แบรนด์ รวม 14 โครงการ แบ่งเป็น เอเชียทีค 6 โครงการ งบลงทุน 3,500 ล้านบาท เกตเวย์ 2 โครงการ งบลงทุน 5,000 ล้านบาท รีโนเวทพันธุ์ทิพย์ 4 โครงการ และบ๊อกซ์ สเปซ 2 โครงการ งบลงทุน 1,500 ล้านบาท ส่วนเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ติดลิขสิทธ์ชื่อ ไม่สามารถนำไปขยายต่อได้

ทำให้พื้นที่ขายจะมีรวมกันมากกว่า 350,000 ตารางเมตร จากที่ปัจจุบันมี 150,000 ตารางเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ที่จะทำการขยายโครงการล้วนเป็นที่ดินที่เป็น Land Bank อยู่แล้วที่มีราว 300,000 ไร่ทั่วประเทศ

ณภัทร เจริญกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มรีเทล บริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด กล่าวว่า “ช่วง 4 ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้น เป็นช่วงในการสร้างแบรนด์แต่ละแบรนด์ให้แข็งแกร่งอยู่ได้ด้วยตัวเอง สั่งสมประสบการณ์ และสร้างทีม ในปีหน้าจะพร้อมเดินอย่างเต็มตัวแล้วและขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง เพราะเราก็มีพื้นที่ที่เป็น Land Bank อีกมาก แต่คงไม่คิดทำแบรนด์เพิ่มแล้ว โฟกัสที่ 5 แบรนด์นี้ เพราะถ้าแตกไลน์ไปเรื่อยๆ เราจะไม่เจอตัวตน”

ณภัทรยังฉายภาพถึงตลาดค้าปลีกในตอนนี้อีกว่าตอนนี้มีการแข่งขันที่สูงมากแบรนด์ใหญ่ก็มีการลงทุนต่อเนื่อง รวมทั้งมีแบรนด์ใหม่ๆ เข้ามาในตลาด แต่เขามองว่าโพซิชั่นของกลุ่มทีซีซีจะอยู่ในที่ที่ไม่มีใครยืน หาความแตกต่างในตลาด หรือหาช่องว่างตามความต้องการของผู้บริโภค แต่เขามองว่าเทรนด์ค้าปลีกในปีหน้ายังคงอยู่ที่ไซส์ขนาดใหญ่อยู่

แต่ในอีก 3 ปี้ข้างหน้านี้ ทีซีซีเตรียมผุดอีกหนึ่งโปรเจคต์ที่เรียกกันว่า High Way เป็นเหมือนจุดพักรถบริเวณทางหลวง แต่ยังไม่มีชื่อโครงการที่ชัดเจน โดยที่โครงการนี้จะประกอบไปด้วยร้านอาหาร จำหน่ายสินค้าโอทอป โรงแรมขนาดเล็ก ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงคิดโมเดล คาดว่าจะก่อสร้างภายในปี 2560 เริ่มต้นที่ 5 โครงการ จากนั้นค่อยขยายไปทั่วประเทศ

“โครงการนี้เกิดจากไอเดียของท่านประธานที่มองเห็นโมเดลที่จากประเทศญี่ปุ่น และตนเองก็มีที่ดีติดทางหลวงค่อนข้างเยอะ จึงนำมาพัฒนาเป็นจุดพักรถ และโมเดลแบบนี้ยังไม่มีผู้เล่นรายไหนทำอย่างจริงจัง จึงอยากขยายสาขาให้ทั่วประเทศ มีการออกแบบคอนเซ็ปต์จะเป็นสไตล์ญี่ปุ่นด้วย”

ในปีนี้ทีซีซีตั้งเป้ารายได้ 2,000 ล้านบาท และภายใน 5 ปีจะมีรายได้ 6,800 ล้านบาท  สัดส่วนรายได้มากจากพันธ์ทิพย์ 40% เอเชียทีค 30% เกตเวย์ 20% และเซ็นเตอร์ พอยท์ ออฟ สยามแสควร์ 10%

 

]]>
61895