TOA – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 22 Jun 2023 05:31:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดอาณาจักรระดับหมื่นล้านของตระกูล “ตั้งคารวคุณ” จาก STARK – สี TOA สู่ชานมไข่มุก https://positioningmag.com/1434771 Thu, 22 Jun 2023 03:12:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434771 หลังจากในช่วงที่ผ่านมา บมจ. สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) ผู้ผลิตสายไฟฟ้า ได้เป็นข่าวฮือฮาในแวดวงการลงทุนของไทยไม่น้อย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับตระกูลชื่อดังอย่าง “ตั้งคารวคุณ” ผลกระทบจาก STARK ที่ไม่สามารถแจ้งงบในปีที่ผ่านมา จนล่าสุดมีการปรับปรุงงบของบริษัทจากเดิมที่บริษัทมีกำไร กลายเป็นขาดทุนหลายพันล้านบาท สิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างผลกระทบต่อนักลงทุนไม่น้อย

แต่ผลกระทบของ STARK จะจบลงอย่างไรหลังจากนี้ยังไม่มีใครทราบ เนื่องจากเรื่องราวดังกล่าวกลายเป็นคดีความเป็นที่เรียบร้อย

แต่ในวันนี้ Positioning จะพาไปดูพอร์ตธุรกิจของตระกูล ตั้งคารวคุณ ว่ามีธุรกิจอะไรอยู่ในมือบ้างตอนนี้ ซึ่งแน่นอนว่ามีธุรกิจหลายอย่างมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท และยังจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นของไทยด้วย

สี TOA ถือเป็นธุรกิจเรือธงของตระกูลตั้งคารวคุณ – ภาพจาก Shutterstock

ธุรกิจสี

คงต้องบอกว่าธุรกิจสำคัญและเป็นหัวเรือหลักให้กับตระกูลตั้งคารวคุณ ก็คือ บมจ. ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ TOA ซึ่งสียี่ห้อดังกล่าวได้เป็นผู้เล่นสำคัญของตลาดสีทาบ้านและอาคารของไทย นอกจากนี้ยัผลิตสีและสารเคลือบผิว รวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นสำหรับผู้ใช้งานประเภทลูกค้าทั่วไป

ปัจจุบัน TOA มีมูลค่าบริษัทมากถึง 53,261 ล้านบาท และมีผู้ถือหุ้นใหญ่ก็คือตระกูลตั้งคารวคุณ ผลประกอบการในไตรมาส 1 ของปีนี้ รายได้รวมอยู่ที่ 5,704.51 ล้านบาท กำไรสุทธิอยู่ที่ 632 ล้านบาท นอกจากนี้ผลประกอบการในปี 2022 ที่ผ่านมาบริษัทยังมียอดขายแตะระดับที่ 20,000 ล้านบาทแล้วด้วย

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจสีอุตสาหกรรมและชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น TOA-Shinto หรือ TOA-Union Paint เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้เป็นการลงทุนส่วนครอบครัวของตระกูลตั้งคารวคุณผ่านทาง บริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด

เชนไดร้ท์ สำหรับกำจัดปลวก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ บมจ. เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) – ภาพจาก Shutterstock

 

กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์

นอกจากสีแล้ว อีกหนึ่งธุรกิจที่มีชื่อเสียงก็คือ บมจ. เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) หรือ SWC ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเคมีเคหะภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน อุตสาหกรรม สาธารณสุขชุมชน และเคมีเคหะภัณฑ์เพื่อการเกษตร โดยผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ เชนไดร้ท์ สำหรับกำจัดปลวก หรือแม้แต่น้ำยาล้างจานแบรนด์ทีโพล์

ปัจจุบัน เชอร์วู้ดฯ มีมูลค่า 2,539 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้รวม 443 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 14.84 ล้านบาท โดย SWC มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ของตระกูลตั้งคารวคุณ ถือหุ้นราวๆ 66%

กลุ่มธุรกิจผู้จำหน่ายรถยนต์

ตระกูลตั้งคารวคุณ เองยังมีธุรกิจผู้จำหน่ายรถยนต์ผ่านการลงทุนของบริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด หลายบริษัทไม่ว่าจะเป็น Best Autosales ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายรถยนต์แบรนด์ MG ขณะที่ ไอทีโอเอ ออโต้เซลส์ เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์แบรนด์ซูซูกิจากประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ยังมี Primus Autohaus ซึ่งถือเป็นตัวแทนจำหน่าย Mercedes-Benz อีกรายในประเทศไทย ในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมาบริษัทยังได้เป็นผู้จัดจำหน่ายแบรนด์ Mercedes-Maybach ซึ่งถือเป็นแบรนด์รถยนต์ระดับ Ultra-Luxury และแบรนด์ Mercedes-EQ ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าของทาง Mercedes

ข้อมูลในปี 2020 ที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจผู้จำหน่ายรถยนต์ของตระกูลตั้งคารวคุณนั้นทำรายได้รวมมากถึง 6,500 ล้านบาท

กิจการ Don Don Donki ในประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งการลงทุนสำคัญของ ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง

กลุ่มธุรกิจบริหารจัดการและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

อีกหนึ่งธุรกิจสำคัญของตระกูลตั้งคารวคุณ ผ่านการลงทุนของบริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ก็คือธุรกิจบริหารจัดการและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นั่นก็คือการร่วมทุนกับ Pan Pacific International Holdings เจ้าของร้านค้าชื่อดังอย่าง ดองกิ โฮเต้ ร้านดิสเคาน์สโตร์ของญี่ปุ่น ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมักจะแวะช้อปสินค้า ซึ่งมีทั้งเครื่องสำอาง เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องครัว อาหาร ฯลฯ

การร่วมทุนดังกล่าวภายใต้ TOA-PPIH และ JCE-TOA ได้ก่อกำเนิดร้าน Don Don Donki ซึ่งปัจจุบันมีหลายสาขาในไทย รวมถึงยังมีศูนย์การค้า DONKI Mall ในซอยทองหล่ออีกด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ในอดีตที่ผ่านมา ตระกูลตั้งคารวคุณ เคยดำเนินธุรกิจค้าปลีกภายใต้แบรนด์ “ซุปเปอร์เซฟ” ซึ่งก่อตั้งในช่วงปี 2014 โดยใช้โมเดลค้าปลีกรูปแบบใหม่ และมองว่าธุรกิจร้านสะดวกซื้อยังมีโอกาสเติบโตในประเทศไทยได้อีกมาก แต่ในท้ายที่สุดก็ต้องปิดตัวลงไป เนื่องจากปัญหาขาดทุน

ขณะเดียวกันตระกูลตั้งคารวคุณยังมีธุรกิจส่วนตัว อย่างเช่น The Alley ร้านชานมไข่มุกชื่อดังที่มีหลายสาขา และยังมีสาขาในต่างประเทศด้วย ซึ่งธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจของ อุณาวรรณ ตั้งคารวคุณ ได้ร่วมทุนกับ อนล ธเนศวรกุล ภายใต้บริษัท มิลลาร์รี่ จำกัด อีกด้วย

]]>
1434771
เปิด 10 เทรนด์ “สีทาบ้าน” ประจำปี 2021 จาก TOA https://positioningmag.com/1316243 Mon, 25 Jan 2021 11:16:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316243 ในแต่ละปีแบรนด์ “สีทาบ้าน” จะวิเคราะห์เทรนด์การออกแบบ รวบรวมเป็นเทรนด์สีประจำปีที่สะท้อนว่าอะไร ‘กำลังมา’ รวมถึงปีนี้ที่ TOA (ทีโอเอ) รวบรวมมุมมองจาก 10 สถาปนิกเมืองไทย ถอดรหัสเป็น 10 เทรนด์สีทาบ้านแห่งปี 2021 หรือ TOA Color Decoding Trends 2021

10 สถาปนิกชั้นนำของไทย ที่ TOA ติดต่อขอ Mood Boards สีที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับพวกเขา ได้แก่ อมตะ หลูไพบูลย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Department of ARCHITECTURE, พงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ์ และ ปานดวงใจ รุจจนเวท ผู้ก่อตั้ง Anonym, ชนะ สัมพลัง สถาปนิกผู้มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี พาร์ตเนอร์ของ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด, จีรเวช หงสกุล ผู้ก่อตั้ง บริษัท สถาปนิก ไอดิน

รวมถึง จูน เซคิโน สถาปนิกเจ้าของรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นแห่งเอเชีย 2018, กิจธเนศ ขจรรัตนเดช Interior Designer ผู้ก่อตั้ง Taste Space, มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา สถาปนิกและ Design Director แห่ง Hypothesis, PHTAA Living Design ก่อตั้งขึ้นโดย 3 นักออกแบบ คือ พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล, หฤษฎี ลีละยุวพันธ์ และ ธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ, ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง Vin Varavarn Architects และปิดท้ายที่ วสุ วิรัชศิลป์ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง VaSLab ARCHITECTURE

จากนั้นผู้เชี่ยวชาญของ TOA นำสีจาก Mood Boards ทั้งหมดมาวิเคราะห์ จนได้เป็น 10 เทรนด์ “สีทาบ้าน” ปี 2021 ซึ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่มสี คือ กลุ่ม Muted – สีโทนกลาง เรียบง่าย มักจะใช้เป็นสีพื้นฐาน และเอื้อต่อการจับคู่สีหรือผสมผสานกับวัสดุต่างๆ ได้ง่าย อีกกลุ่มสีหนึ่งคือ กลุ่ม Chroma – สีสันที่ชัดเจน จัดจ้าน แต่งแต้มชีวิตชีวา

มาดูตัวอย่างการใช้งานสีทั้งหมดจาก TOA ได้ด้านล่าง

1) SPECTACULAR WHITE สะท้อนทุกเฉด เปลี่ยนแปลงตามเวลาและอุณหภูมิแสง

2) THE BEGINNING ความอบอุ่นที่แฝงอยู่ในสรรพสิ่งรอบๆ ตัว
3) IN MY MIND หนักแน่นเยือกเย็น ประทับในความทรงจำ

4) SECRET OF BROWN เสน่ห์เหนือกาลเวลาของความลึกลับเงียบขรึม

5) BACK INTO SPACE ดูดซับทุกสี ลึกลับแต่ขับเน้นทุกรายละเอียด

6) REAPPROPRIATE GREEN การทดลองเพื่อความเปลี่ยนแปลงที่สดใหม่

7) WAKEN HEARTED เปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นและพลังในการจูงใจ

8) OPTIMISTIC BLUE ปรากฏการณ์สีกับช่วงเวลาของแสง

9) POWER OF SOUL ความคลุมเครือของเฉดสีที่ดึงดูดทุกสายตา

10) DRAMATIC GREEN จุดประกายความหวัง เปี่ยมไปด้วยพลังบวก

ใครที่กำลังแต่งบ้านน่าจะได้ไอเดียดีๆ เพิ่มจากเทรนด์สีของปีนี้ หรือสนใจอ่านแรงบันดาลใจจากสถาปนิกเพิ่มเติม ติดตามได้ที่นี่

]]>
1316243
ตลาดสีเมืองไทยเล็กไปแล้ว “ทีโอเอ” ขอโก AEC https://positioningmag.com/1219423 Tue, 12 Mar 2019 14:16:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219423 แม้ว่า “กลุ่มทีโอเอ” จะแตกไลน์ จับมือกลุ่มดองกิโฮเต้ (Don Quijote) นำอาคารสำนักงานในซอยทองหล่อ มาเปิดเป็นศูนย์การค้าดองกิ มอลล์ ทองหล่อ และดิสเคาท์สโตร์ ดองกิ จากญี่ปุ่นมาเปิดสาขาในไทย ให้ชาวไทยได้ช้อปกระจายกันไปแล้ว

แต่ในด้านธุรกิจ “สี” ของกลุ่มทีโอเอเวลานี้ ไม่ได้มองแค่ “ตลาดไทย” แต่ขอขยับขยายไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน CLMV

หากเปรียบเทียบ “จีดีพี” กลุ่มประเทศอาเซียน หลายประเทศมีแนวโน้มเติบโต “สูง” กว่าประเทศไทยที่ปี 2562 คาดการณ์อยู่ที่ 4% โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV เติบโตระดับ 7-8% อีกทั้งมีอัตราการขยายตัวของเมืองสูง ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนอุตสาหกรรมก่อสร้างและตลาดสีทาอาคาร ส่งผลให้ “ทีโอเอ” ผู้เล่นจากไทยเข้าไปช่วงชิงโอกาสจากตลาดอาเซียนที่มีประชากร 600 ล้านคน

จตุภัทร์ ตั้งคารวคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบัน ทีโอเอ เป็นผู้นำในตลาดสีทาอาคาร ในไทย มีส่วนแบ่งการตลาด 48.7% ปีที่ผ่านมามีรายได้ 16,347 ล้านบาท เติบโต 4% ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดว่าจะโต 7% จากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อชะลอตัว

“ตลาดไทยเราเป็นเบอร์หนึ่งและเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศอยู่แล้ว ปกติภาพรวมตลาดสีทาอาคารจะเติบโตในอัตราเดียวกับจีดีพี ช่วงที่ผ่านมามีตัวเลขไม่สูง ทีโอเอจึงเดินหน้านโยบายขยายตลาดอาเซียน ที่หลายประเทศจีดีพีเติบโตในอัตรา 7-8% ทำให้ตลาดสีขยายตัวในอัตราสูง และเป็นโอกาสสร้างการเติบโตของทีโอเอ”

สำหรับการทำตลาดไทยปีนี้ จะพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์กลุ่มแมส และกระตุ้นให้เกิดการทาสีซ้ำ ด้วยบริการครบวงจร เพราะตลาดหลัก 70% เป็นลูกค้าทั่วไป และอีก 30% เป็นลูกค้าโครงการ ปีนี้วางเป้าหมายรายได้เติบโต 7%

เปิด 3 โรงงานใหม่อาเซียน

ที่ผ่านมาทีโอเอได้เข้าไปตั้งโรงงานผลิตสีในกลุ่มอาเซียน ตั้งแต่ปี 2538 เริ่มที่ประเทศเวียดนาม ลาว มาเลเซีย  อินโดนีเซีย เมียนมา และกัมพูชา รวม 7 แห่ง ส่วนในประเทศไทยมีโรงงาน 3 แห่ง รวมเป็น 10 แห่ง

ปีนี้จะเปิดโรงงานผลิตสีเพิ่มอีก 3 แห่งในกลุ่มอาเซียน ไตรมาส 2 เปิดโรงงานแห่งใหม่ที่อินโดนีเซีย มีกำลังการผลิต 7.8 ล้านแกลลอน ใช้เงินลงทุน 670 ล้านบาท ไตรมาส 3 เปิดโรงงานแห่งใหม่ที่เมียนมา กำลังการผลิต 3.4 ล้านแกลลอน ใช้เงินลงทุน 312 ล้านบาท และ ไตรมาส 4 เปิดโรงงานแห่งใหม่ที่กัมพูชา กำลังการผลิต 3.3 ล้านแกลลอน ใช้เงินลงทุน 254 ล้านบาท

หลังจากโรงงานทั้ง 3 แห่งใหม่เปิดดำเนินการในปีนี้ จะทำให้กำลังการผลิตทุกโรงงานในปี 2562 เพิ่มจาก 88 ล้านแกลลอน เพิ่มเป็น 102 ล้านแกลลอน หรือเพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อน ปัจจุบันรายได้จากตลาดอาเซียนคิดเป็นสัดส่วน 14% วางเป้าหมาย 5 ปี จะเพิ่มเป็น 20-25%

อาเซียนเป็นตลาดที่อุตสาหกรรมสีทาอาคารยังเติบโตได้สูง จากการขยายตัวของพื้นที่เมืองและธุรกิจก่อสร้างและที่อยู่อาศัย

โรดแมปผู้นำตลาดสีอาเซียน

ประกรณ์ เมฆจำเริญ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา ทีโอเอ มุ่งขยายธุรกิจ สร้างการเติบโตในตลาด AEC ด้วยการรุกขยายช่องทางการจำหน่ายตลาดค้าปลีกในประเทศอาเซียน ปัจจุบันมีร้านจำหน่าย 2,484 แห่ง รวมทั้งการสร้างฐานผลิตสีในประเทศอินโดนีเซีย เมียนมา และกัมพูชา เพื่อเร่งกาลังการผลิต รองรับตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์การทำตลาดอาเซียน คือ การสร้างฐานผลิตใหม่ในตลาดที่มีโอกาสเติบโต เนื่องจากอุตสาหกรรมสีทาอาคาร เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก หากต้องนำเข้าจะมีต้นทุนค่าขนส่งสูง และไม่สามารถแข่งขันกลไกการตลาดและราคากับผู้ประกอบการที่มีฐานผลิตในประเทศได้ จะเห็นได้ว่าในอุตสาหกรรมผลิตสี แบรนด์ต่างๆ มักจะตั้งโรงงานผลิตในประเทศที่เข้าไปทำตลาด

พร้อมทั้งเร่งขยายช่องทางการจัดจาหน่ายเพิ่มขึ้น โดยการใช้จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่มสีทาอาคาร ควบคู่กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ รวมถึงการกระจายเครื่องผสมสีอัตโนมัติในประเทศต่างๆ

นอกจากนี้จะเน้น “สร้างแบรนด์” ในตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากตราสินค้า “ทีโอเอ” ที่แข็งแกร่ง ไปปรับใช้ในการขยายธุรกิจ

จากข้อมูลของ Frost & Sullivan ปี 2559 ทีโอเอมีส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์สีและสารเคลือบผิวในอาเซียน 13%

ทีโอเอวางโรดแมปก้าวสู่การเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์สีตลาดอาเซียนภายใน 5 ปีจากนี้

]]>
1219423
“ดองกี โฮเต” ดิสเคาน์สโตร์ญี่ปุ่นมาไทยแล้ว ประเดิมสาขาแรกเอกมัย คาด TOA จับมือกลุ่มทุนสิงคโปร์ ลงทุน บุกเอกมัย! https://positioningmag.com/1136391 Wed, 16 Aug 2017 18:35:53 +0000 http://positioningmag.com/?p=1136391 ภาพจากเฟซบุ๊ก “ชีวิตติดห้าง – Mall Bangkok”

พบกลุ่มสีทีโอเอ จับมือกลุ่มทุนสิงคโปร์ ดึง “ดองกี โฮเต” ดิสเคาน์สโตร์ชื่อดังจากญี่ปุ่น มาลงที่ปากซอยเอกมัย 5 พบเตรียมเปิดสาขาแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถนนออร์ชาร์ด สิงคโปร์

เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ในโซเชียลมีเดียได้มีการแชร์ภาพโปสเตอร์บริเวณไซต์งานก่อสร้าง มีข้อความว่า EKAMAI MALL PROJECT UNDER CONSTRUCTION พร้อมกับตัวการ์ตูนเพนกวินสีน้ำเงินแต่งกายด้วยชุดคนงานก่อสร้าง ระบุข้อความ “ดองกี้ โฮเต้ มาแล้วครับ พบกันปี 2018-2019 เอกมัย ซอย 5 ทะลุไปทองหล่อ in Ekamai Mall” ทำเอาเป็นที่สนใจบนโลกโซเชียลอย่างกว้างขวาง

ผู้สื่อข่าว MGR Online ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม พบว่าโครงการเอกมัยมอลล์ มีบริษัท ทีโอเอ-พีพีไอเอช จำกัด เป็นเจ้าของโครงการ โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มธุรกิจสีทาบ้านทีโอเอ (TOA) ร่วมกับกลุ่มแพน แปซิฟิก อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง (PPIHD) จากประเทศสิงคโปร์ จ้างเชนร้านดิสเคาน์สโตร์ชื่อดังจากญี่ปุ่นมาบริหาร โดยมีบริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 48 ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2559 ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท มีนายณัฏฐวุฒิ ตั้งคารวคุณ, นายไพฑูรย์ เลิศเพ็ญเมธา, นายฮิโรชิ อาเบะ และ นายริวอิจิ เซโตะ เป็นกรรมการบริษัท ลักษณะเป็นอาคารสูง 6 ชั้น และชั้นใต้ดิน 3 ชั้น พื้นที่ 28,923 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณปากซอยเอกมัย 5 เลขที่ 107 ซอยสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมีนาคม 2560 มีแผนจะแล้วเสร็จไตรมาสที่ 4 ปี 2561 โดยมีบริษัท สยาม มัลติ คอน จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง, บริษัท ซีทูเค เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นสถาปนิกงานโครงสร้าง และออกแบบงานระบบ มีบริษัท ชาร์โคล ดีไซน์ จำกัด รับงานตกแต่งภายใน มูลค่าโครงการกว่า 200 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. สำนักข่าวในประเทศสิงคโปร์ อาทิ แชนแนล นิวส์ เอเชีย หรือ สเตรท ไทมส์ ต่างก็รายงานว่า กลุ่มแพน แปซิฟิก อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง ร่วมกับ กลุ่มดองกี โฮเต จากญึ่ปุ่น ประกาศว่าจะเปิดให้บริการร้านดองกี โฮเต ดิสเคาน์สโตร์ สาขาแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประเทศสิงคโปร์ บริเวณย่านถนนออร์ชาร์ด (Orchard) ถนนสายช้อปปิ้งที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ แต่ยังไม่ระบุกำหนดการเปิดให้บริการว่าจะเป็นเมื่อใด ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ กลุ่มดองกี โฮเต ได้เข้าไปลงทุนนอกประเทศญี่ปุ่น โดยเปิดสาขาที่รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ในปี 2549 ปัจจุบันมีทั้งหมด 3 สาขา

สำหรับร้านดองกี โฮเต หรือที่ชาวญุ่ปุ่นเรียกกันติดปากว่า “ดองกี้” เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2532 หรือเมื่อ 28 ปีก่อน โดยเป็นร้านจำหน่ายสินค้าของกินของใช้ ขนมขบเคี้ยว เครื่องสำอาง และของที่ระลึกราคาถูกที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย เปิดให้บริการถึงช่วงดึก หรือบางสาขาเปิด 24 ชั่วโมง ปัจจุบันมีสาขาทั่วญี่ปุ่นมากถึง 350 แห่ง มีฐานลูกค้า 300 ล้านรายต่อปี และมียอดขายประจำปีรวม 8 แสนล้านเยน สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของร้านจะเป็นมาสคอตเป็นรูปเพนกวินสีน้ำเงินคาดด้วยหมวกสีแดง ซึ่งแต่ละสาขาจะมีการออกแบบมาสคอตให้แตกต่างกันในแต่ละเมือง รวมทั้งยังมีเพลงธีมประจำร้านอีกด้วย

ที่ผ่านมาก็มีธุรกิจค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2507 ไทยไดมารู เป็นห้างสรรพสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าราชประสงค์ จุดเด่นคือ เป็นห้างที่มีบันไดเลื่อนแห่งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปี 2527 บริษัท สยามจัสโก้ เปิดห้างสรรพสินค้าจัสโก้ สาขาแรกที่ถนนรัชดาภิเษก และขยายเรื่อยมาเป็น 14 สาขา, ปี 2532 ห้างสรรพสินค้าอิเซตันเปิดสาขาที่ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และในปี 2534 ห้างสรรพสินค้าเยาฮัน เปิดให้บริการย่านถนนรัชดาภิเษก

ห้างสรรพสินค้าสัญชาติญี่ปุ่นได้ล้มหายตายจากในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 คงเหลือเพียงแค่ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน ส่วนห้างสรรพสินค้าจัสโก้ ได้ทยอยปิดสาขา บางส่วนได้ขายให้กลุ่มทุนรายอื่น เช่น สาขารัตนาธิเบศร์ ขายให้กับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ก่อนที่จะเหลือเพียงแค่ 6 สาขา กระทั่งในปี 2550 ห้างสรรพสินค้าจัสโก้ที่ยังเหลืออยู่ ได้เปลี่ยนรูปแบบให้เป็นห้างแม็กซ์แวลูแทน โดยกลุ่มบริษัทอิออน ซึ่งเป็นบริษัทแม่จากญี่ปุ่นสนับสนุนทางการเงิน เริ่มต้นที่สาขานวมินทร์ และขยายสาขาเรื่อยมา

อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มทุนค้าปลีกจากญี่ปุ่นเข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่ใช้รูปแบบร้านราคาเดียว อาทิ ร้านไดโซะ (DAISO) ที่ร่วมทุนกับกลุ่มไดโดมอน เปิดให้บริการสาขาแรกที่สยามสแควร์เมื่อปี 2546 ตั้งราคาขายเริ่มต้นที่ 60 บาท ก่อนที่จะมีค้าปลีกแบรนด์ญี่ปุ่นเจ้าอื่นๆ มาเปิดสาขา อาทิ โคโมโนยะ (Komonoya), โตคูโตคูยะ (Tokutokuya), มินิโซ (Miniso) ล่าสุด มัทสึโมโตะ คิโยชิ (Matsumoto Kiyoshi) ร้านเพื่อสุขภาพและความงามอันดับ 1 ของญี่ปุ่น ได้ร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล เปิดสาขาในไทยแห่งแรกที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เมื่อเดือนตุลาคม 2558 


ที่มา : manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000083972

]]>
1136391