TrueID – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 30 Nov 2021 08:59:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ย้อนรอย 2 ปีมี ‘วิดีโอสตรีมมิ่ง’ กี่รายต้องโบกมือลาไป และใครที่ยังอยู่รอด https://positioningmag.com/1364461 Mon, 29 Nov 2021 12:57:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364461 แม้ว่าการระบาดของ COVID-19 จะทำให้ตลาด ‘วิดีโอสตรีมมิ่ง’ จะเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ไม่ใช่กับทุกแพลตฟอร์ม เนื่องจากการมาของผู้เล่น ‘หน้าใหม่’ แถมเป็น ‘ขาใหญ่ทุนหนา’ จนกลายเป็นตลาดที่แข่งขันสูง ผู้เล่นในระดับภูมิภาคอาจจะไม่มีกำลังต่อสู้มากพอที่จะผลิตคอนเทนต์มาดึงผู้ใช้ ดังนั้น มาย้อนดูกันว่าตลอด 2 ปีมีใครหายไป และใครที่ยังอยู่บ้าง

HOOQ

สำหรับ ‘HOOQ’ (ฮุค) เกิดจากการก่อตั้งโดย Singtel จากสิงคโปร์ ร่วมด้วย Sony Pictures และ Warner Bros. นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือกับ Hotstar ของ Disney และ Grab กับ VideoMax ของอินโดนีเซีย โดยได้เริ่มดำเนินกิจการในปี 2015

โดย HOOQ ให้บริการความบันเทิงหลายรูปแบบ มีทั้งหนัง และซีรีส์จากฮอลลีวูด รวมถึงรายการทิ้งถิ่นเพื่อหวังดึงดูดลูกค้าท้องถิ่น นอกจากนั้นก็ยังมีการผลิตเนื้อหาของตัวเองด้วย ซึ่งในช่วงนั้น Netflix เจ้าตลาดในฝั่งตะวันตกยังไม่ได้บุกตลาดเอเชียมากนัก จึงเป็นโอกาสของ HOOQ ที่จะทำตลาด และขายฐานลูกค้า ทำให้ตลอด 5 ปี ที่ผ่านมาสามารถหารายได้ถึง 80 ล้านเหรียญฯ

อย่างไรก็ตาม แม้รายได้ของ HOOQ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ค่าใช้จ่ายที่สูงมากก็ทำให้ HOOQ ขาดทุนมาตลอด โดยคาดว่าในปี 2019 ขาดทุนสะสมสูงถึง 220 ล้านเหรียญฯ ทำให้ในเดือนเมษายน 2563 HOOQ ก็ได้ประกาศผ่าน Facebook Official ว่าจะปิดให้บริการในวันที่ 30 เมษายน 2020 ปิดตำนานแพลตฟอร์มที่ให้บริการมาตลอด 5 ปี

Photo : Shutterstock

iflix

เป็นแพลตฟอร์มจากสตาร์ทอัพสัญชาติมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 โดยสามารถระดมทุนได้ทั้งสิ้น 348 ล้านเหรียญสหรัฐ และสามารถขยายบริการในกว่า 24 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบตะวันออกกลาง แม้ว่าจะมีการขยายบริการไปในหลายประเทศ แต่จำนวนผู้ใช้กลับมีไม่ถึง 25 ล้านราย

จนมีข่าวว่าในปี 2018 iflix (ไอฟลิกซ์) มีเงินสดในบัญชีเพียงแค่ 12.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ iFlix ต้องการระดมทุนและเตรียม IPO จนมาช่วงต้นปี 2020 ได้มีข่าวว่าบริษัทที่อยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ลดพนักงานประมาณ 50 คนออก ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นผลพวงมาจากปัญหาทางการเงินที่กระท่อนกระเเท่นมากว่า 2 ปี

ในที่สุด iflix ก็ได้โดนบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตของจีนอย่าง Tencent ซื้อกิจการไป พร้อมให้เหตุผลว่าเพื่อขยายการเข้าถึง WeTV แพลตฟอร์มสตรีมของตัวเองในภูมิภาค อีกทั้ง Tencent จะได้รับเนื้อหาเทคโนโลยีและทรัพยากรของ iFlix และขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่สำคัญของการเติบโต

LINE TV

รายล่าสุดสด ๆ ร้อน ๆ ก็คือ LINE TV (ไลน์ทีวี) แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งจาก LINE แพลตฟอร์มแชทอันดับ 1 ของไทย ซึ่งเปิดตัวให้บริการตั้งแต่ปี 2014 โดยเปิดให้ผู้ใช้ดูฟรี ไม่มีค่าสมาชิก ในช่วงปี 2020 LINE TV มียอดรับชมรวม 1 แสนล้านนาที มีผู้บริโภคกว่า 40 ล้านรายที่เข้าถึงแพลตฟอร์ม

โดยจุดเด่นของ LINE TV อยู่ที่คอนเทนต์ไทย โดยเฉพาะละครรีรัน และซีรีส์วาย ที่มีกว่า 40 เรื่อง อาทิ เพราะเราคู่กัน, Why R U The Series และ En of Love นอกจากนี้ยังมีการ์ตูนและอนิเมะกว่า 100 เรื่อง

อีกจุดแตกต่างของ LINE TV ในการหารายได้นั้นจะแตกต่างออกไปจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่จะเก็บค่าสมาชิก (subscription) หรือทั้ง ดูฟรีและสมัครเป็น VIP แต่รายได้ของ LINE TV มาจาก ค่าโฆษณา เป็นหลัก ดังนั้น ผู้ชมจะได้รับชมคอนเทนต์ฟรี แต่ต้องดูโฆษณาจนจบ และไม่สามารถกดข้ามได้เลย

แม้ปี 2020 LINE TV จะถือเป็นปีทองที่มีการเติบโต แต่ล่าสุด LINE TV ก็ได้ประกาศผ่านเพจ Official ว่าจะให้บริการจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 นี้เท่านั้น โดยอธิบายเพียงว่า ต้องปิดบริการเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การดำเนินการทางธุรกิจของ LINE ประเทศไทย

มีหลายคนมองว่า เนื่องจาก LINE TV ต้องซื้อคอนเทนต์จากพาร์ตเนอร์ และราคาของคอนเทนต์ก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ LINE TV มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันที่สูงมากขึ้นจากการมาของแพลตฟอร์มใหม่ ๆ

คู่แข่งระดับโลก

หากพูดถึงผู้เล่นระดับโลกที่อยู่ในไทย แน่นอนก็มี Netflix (เน็ตฟลิกซ์) ที่ยังคงรุกตลาดไทยต่อเนื่อง มีการออกออริจินอลคอนเทนต์ของไทยอย่างน้อยปีละ 2-3 เรื่อง และอีกค่ายที่เพิ่งมาปีนี้ก็คือ Disney+ Hotstar (ดีสนีย์พลัส ฮอทสตาร์) ที่มีแฟรนไชส์คอนเทนต์สุดแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็น Marvel, Star Wars, Pixar ฯลฯ และที่สำคัญคือ คอนเทนต์ส่วนใหญ่มี พากย์ไทย อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมี HBO Go แพลตฟอร์มจาก WarnerMedia โดยภาพยนตร์และซีรีส์เด่น ๆ ก็คือ DC Comics อย่าง Justice League หรือซีรีส์ชื่อดังอย่าง Games of Thrones หรือ Westworld ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในไทย แม้จะยังไม่เห็นการทำตลาดอย่างจริงจัง แต่ก็ถือว่าเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ชอบดูหนังดูซีรีส์

ทั้งนี้ 3 แพลตฟอร์มดังกล่าวให้บริการแบบ subscription หรือสมัครสมาชิกรายเดือน ไม่มีดูฟรี

คู่แข่งจากเอเชีย

ด้านแพลตฟอร์มที่เน้นคอนเทนต์จากเอเชียเป็นหลักจะมี 3 แพลตฟอร์ม โดย 2 รายมาจากจีน ได้แก่ WeTv (วีทีวี) ที่มีบริษัทแม่อย่าง Tencent โดยจะเน้นที่ซีรีส์จีนเป็นหลัก ต่อมา Iqiyi (อ้ายฉีอี้) สตรีมมิ่งตัว Top ในเครือ Baidu ส่วนอีกรายคือ Viu (วิว) แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจากฮ่องกง โดยมีจุดแข็งที่ซีรีส์เกาหลี ปัจจุบันขึ้นแท่นเบอร์ 2 ของภูมิภาค เป็นรองแค่ Disney+

โดยทั้ง 3 แพลตฟอร์มนอกจากจะเน้นคอนเทนต์เอเชียเหมือนกันแล้ว โมเดลรายได้ก็เหมือนกันคือ สามารถดูฟรีมีโฆษณาและสมัครเป็น VIP

คู่แข่งโอเปอเรเตอร์

สำหรับโอเปอเรเตอร์ของไทยมีอยู่ 2 ค่ายที่โดดเข้ามาทำแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง โดย เอไอเอส (AIS) ก็มี (เอไอเอส เพลย์) ดูฟรีไม่จำกัดค่าย ไม่ว่าจะเป็นทีวีสด ละครย้อนหลัง ภาพยนตร์ ซีรีส์ การ์ตูน คอนเสิร์ต รวมถึงออริจินอลซีรีส์ นอกจากนี้ เอไอเอสยังเป็นพันธมิตรกับ Disney+ Hotstar อีกด้วย

เช่นเดียวกับ True ID (ทรู ไอดี) เป็นแพลตฟอร์มจาก ทรู ที่สามารถดูได้ไม่จำกัด แต่จะมีจุดเด่นที่คอนเทนต์กีฬา ‘พรีเมียร์ลีก’ นอกจากนี้ ยังมีระบบ เช่าหนังใหม่ อีกด้วย

คู่แข่งสัญชาติไทย

สำหรับแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งของไทยมีอยู่ 2 แพลตฟอร์ม ได้แก่ Mono Max (โมโน แม็กซ์) และ Doonee (ดูนี่) โดยทั้ง 2 แพลตฟอร์มจะมีคอนเทนต์ที่โดดเด่นคล้าย ๆ กัน อาทิ ภาพยนตร์และซีรีส์ Hollywood โดยเฉพาะพวกซีรีส์สืบสวนสอบสวน และรายการดัง ๆ จากฝั่งอเมริกา แน่นอนว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะพากย์ไทยด้วย

คู่แข่งการ์ตูน

ต้องยอมรับว่าคอนเทนต์การ์ตูนในไทยกำลังมาแรงมาก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะกระแสของ ดาบพิฆาตอสูร แม้ว่าแพลตฟอร์มส่วนใหญ่จะมีคอนเทนต์การ์ตูนให้ชม แต่ก็มีแพลตฟอร์มที่เน้นคอนเทนต์การ์ตูนโดยเฉพาะเช่นกัน ได้แก่ Bilibil (บิลิบิลิ), Flixer (ฟลิกเซอร์) และ POPS (พ็อพส์)

 

จะเห็นว่าแค่ช่วงเวลาไม่กี่ปีตลาดสตรีมมิ่งก็มีผู้เล่นจำนวนมากตบเท้ามาให้บริการ และแต่ละแพลตฟอร์มก็มี ทุนหนากันทั้งนั้น ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกที่หลายแพลตฟอร์มจะแบกต้นทุนไม่ไหว และสุดท้ายก็ถอยทัพกลับ ก่อนที่จะเจ็บตัวไปมากกว่านี้ จากนี้ไม่รู้ว่าจะมีใครที่ต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน และจะมีใครกล้าลงมาเล่นในตลาดนี้อีกหรือไม่

]]>
1364461
อัปเดต 13 แพลตฟอร์ม ‘ดูหนัง-ซีรีส์’ สตรีมมิ่งแบบถูกลิขสิทธิ์! https://positioningmag.com/1331833 Wed, 12 May 2021 13:45:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331833 ประเทศไทยต้องมาเผชิญกับการระบาดของไวรัส COVID-19 อีกครั้ง ซึ่งถือเป็นระลอกที่ 3 ซึ่งรุนแรงกว่า 2 ครั้งก่อนหน้า ดังนั้น หลายคนก็หลีกเลี่ยงที่จะออกนอกบ้านเพื่อป้องกันตัวเอง ดังนั้น Positioning จะมาอัปเดตเหล่าแพลตฟอร์ม ‘วิดีโอสตรีมมิ่ง’ กันอีกครั้ง เผื่อใครอยากลองหาแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เพราะแพลตฟอร์มเดิมอาจจะไม่มีคอนเทนต์อะไรที่น่าดูแล้ว ดังนั้น ไปดูกันว่ามีแพลตฟอร์มไหนบ้าง

Netflix (เน็ตฟลิกซ์)

ชื่อแรกที่ใคร ๆ นึกถึงคงหนีไม่พ้น ‘Netflix’ แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในแต่ละช่วงก็จะมีซีรีส์หรือคอนเทนต์ใหม่ ๆ มาปลุกกระแสให้พูดถึงในไทยได้ตลอด ก่อนหน้านี้ก็มีซีรีส์เกาหลีอย่าง ‘Vincenzo’ และล่าสุดที่ถูกพูดถึงอย่างมากในโซเชียลฯ ก็คือ ‘เด็กใหม่ ซีซั่น 2’ ซึ่งเป็นการกลับมาของ ‘แนนโน๊ะ’ ซึ่งปัจจุบันได้ก้าวขึ้นสู่ Top 10 คอนเทนต์ยอดนิยมใน 7 ประเทศแถบเอเชียเลยทีเดียว

ปัจจุบัน แพ็กเกจของ Netflix มี 4 แบบ ได้แก่ แพ็กเกจมือถือ 99 บาทต่อเดือน, แพ็กเกจพื้นฐาน 279 บาทต่อเดือน, แพ็กเกจมาตรฐาน 349 บาทต่อเดือน, แพ็กเกจพรีเมียม 419 บาทต่อเดือน ผู้สมัครใหม่ดูฟรี 30 วันแรก

HBO Go (เอชบีโอ โก)

แพลตฟอร์มจากบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอเมริกา ‘AT&T’ ประกาศควบรวมกิจการ Warner Media โดยเพิ่งให้บริการในไทยไปหมาย ๆ เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยมีคอนเทนต์เด่น ๆ อย่าง ‘Justice league snyder cut’ ที่ลงฉายในแพลตฟอร์มวันแรกก็ทำเอาแพลตฟอร์มล่มเลยทีเดียว ซึ่งใครที่เป็นแฟนหนังของค่าย Warner Bros และแฟน DC Coomic ก็เตรียมตัวสมัครได้เลย เพราะมีหนังและซีรีส์ใหม่ ๆ จากทางค่ายให้ดูเพียบ โดยมีค่าบริการที่ 149 บาท/เดือน และสำหรับใครที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบ้าน 3BB ก็จ่ายเพิ่มแค่ 39 บาท โดยดูฟรีได้ 7 วันหลังสมัคร

Viu (วิว)

แพลตฟอร์มที่เน้นด้านคอนเทนต์เอเชียเป็นหลัก ไม่ว่าจะจากเกาหลี, ญี่ปุ่น รวมถึงละครย้อนหลังของไทย อาทิ ช่อง One31 และ GMM25 โดยจุดเด่นของ Viu อีกสิ่งที่ถูกอกถูกใจชาวไทยก็คือ ภาคเสียง ‘ภาษาถิ่น’ หากสังเกตจะเห็นว่าหลายแพลตฟอร์มจะเริ่มมีคอนเทนต์พากย์ไทย แต่สำหรับ Viu และมี ‘เสียงภาษาอีสาน’ หรือ ‘เสียงภาษาเหนือ’ เรียกได้ว่าเอาใจคนท้องถิ่นไปเลย

สำหรับใครที่เป็นสาย ‘ดูฟรี’ Viu ก็จัดให้ แต่ต้องดูโฆษณาและได้แค่ความคมชัดภาพแบบ SD แต่ถ้าอยากดูแบบ Full HD ไม่มีโฆษณาก็มีค่าสมาชิกที่ 119 บาท/เดือน 3 เดือน 315 บาท และรายปี 1,199 บาท

WeTV (วีทีวี)

แพลตฟอร์ม ‘WeTV’ ซึ่งมีเจ้าของคือ ‘เทนเซ็นต์’ บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน โดย WeTV มีจุดเด่นด้านซีรีส์จากจีนและเอเชีย โดยเฉพาะภาพยนตร์กำลังภายใน นอกจากนี้ยังร่วมกับผู้ผลิตไทยผลิต ‘ซีรีส์วาย’ ภายใต้โปรเจกต์ “ปฏิบัติการณ์หัวใจ ‘วาย’”

โดยรูปแบบการใช้บริการมีทั้งดูฟรี (มีโฆษณา) และพรีเมียม (WeTV VIP) โดยราคาสมาชิกแบบต่ออายุอัตโนมัติ รายเดือน ชำระครั้งแรกที่ 59 บาท, สมาชิกแบบต่ออายุอัตโนมัติ ราย 3 เดือน ชำระครั้งแรกที่ 159 บาท และสมาชิกแบบต่ออายุอัตโนมัติราย 1 ปี ชำระครั้งแรกที่ 599 บาท

‘iQIYI’ (อ้ายฉีอี้)

‘iQIYI’ (อ้ายฉีอี้) สตรีมมิ่งตัว Top ในเครือ Baidu ที่ได้ฉายาว่า ‘Netflix เมืองจีน’ ที่เพิ่งเหยียบเท้าเข้ามาในไทยอีกราย โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งคู่มี Position เดียวกันกับ WeTV คือ เน้นคอนเทนต์ ‘เอเชียน’ โดย iQIYI เป็นเบอร์ 1 ในตลาดจีน มีผู้ชมต่อเดือนสูงกว่า 600 ล้านคน มีผู้ใช้งานแบบสมาชิกหรือ VIP ทะลุ 100 ล้านคน โดยคอนเทนต์แม่เหล็กของ iQIYI นอกจากซีรีส์จีนแล้วก็มีรายการวาไรตี้อย่าง Youth With You ที่ได้ ‘ลิซ่า’ วง Blackpink มาทำหน้าที่เป็นเมนเทอร์ และอีกส่วนที่เป็นที่พูดถึงมากก็คือ ‘การ์ตูนญี่ปุ่น’

หน้าแรกเว็บไซต์ iq.com อีกหนึ่งช่องทางรับชมของ iQIYI

LINE TV (ไลน์ทีวี)

แพลตฟอร์มที่คนไทยน่าจะคุ้นเคยกันดี โดย LINE TV ได้นิยามตัวเองว่า ‘King of Thai Content’ เพราะปัจจุบันมีทั้งละคร ซีรีส์ ซิทคอม ภาพยนตร์ การ์ตูน รายการวาไรตี้ รวมถึง Original Content รวมมากกว่า 1,000 รายการ จากพันธมิตรกว่า 250 ราย ขณะที่ในกลุ่ม ‘ซีรีส์วาย’ ที่กำลังได้รับความนิยม LINE TV ก็ถือว่ามีจำนวนคอนเทนต์มากสุดในไทยถึง 33 เรื่อง อีกจุดเด่นก็คือ ดูฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ

AIS Play (เอไอเอส เพลย์)

แพลตฟอร์มคอนเทนต์จากโอเปอเรเตอร์ของไทยที่ให้ดูฟรีไม่จำกัดค่าย ไม่ว่าจะเป็นทีวีสด ละครย้อนหลัง ภาพยนตร์ ซีรีส์ การ์ตูน คอนเสิร์ต รวมถึงออริจินอลซีรีส์ แต่สำหรับใครที่ไม่จุใจก็สามารถสมัครบริการแบบพรีเมียม โดยจะสามารถดู 31 ช่องรายการ พร้อมหนังและการ์ตูนออนดีมานด์ รวมถึงดูคอนเทนต์ของ ‘Viu’ และ ‘bein sport’ ได้ด้วย

True ID (ทรู ไอดี)

เป็นแพลตฟอร์มจากโอเปอเรเตอร์และสามารถดูได้ไม่จำกัดค่ายเช่นกัน แต่ True ID จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจาก AIS Play ตรงที่ มีกีฬา ‘พรีเมียร์ลีก’ ให้ชม แน่นอนว่าดูฟรีเฉพาะบางคู่ และสามารถเช่าหนังพรีเมียมได้ในราคา 149 บาท หรือจะใช้ True Point เพื่อเเลกชมก็ได้ โดยหนังใหม่ใน True ID นั้นมาเร็วมาก แต่หนังฟรีก็มี รวมถึงออริจินอลคอนเทนต์ด้วย

Doonee (ดูนี่)

แพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่ให้ดูฟรี 30 วันเมื่อสมัคร แถมราคาเเพ็กเกจก็หลากหลาย ทั้งรายวัน 9 บาท รายเดือน 150 บาท และรายปี 1,500 บาท โดยคอนเทนต์ที่โดดเด่นจะเป็นภาพยนตร์และซีรีส์ Hollywood โดยเฉพาะพวกซีรีส์สืบสวนสอบสวน และรายการดัง ๆ จากฝั่งอเมริกา อย่าง hell kitchen, Master Chef และด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มคนไทย แน่นอนว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะพากย์ไทยด้วย

MONOMAX (โมโนแมกซ์)

คงไม่ต้องบอกสรรพคุณ ใครที่เป็นแฟนหนังและซีรีส์ในช่อง Mono29 ก็ตามไปดูต่อกันผ่านแพลตฟอร์มได้ ล่าสุดก็มีภาพยนตร์เรื่อง ‘007’ มาลงให้ชมครบทุกภาคด้วย แฟน ๆ ก็ตามรอได้เลย ใครสนใจก็สมัครดูได้ ให้ดูฟรี 30 วันเช่นกัน ใครติดใจก็สมัครต่อได้ในแพ็กเกจ 250 บาท/เดือน และ 2,500 บาท/ปี

Bilibil (บิลิบิลิ)

ในปีที่ผ่านมา กระแสของ ‘อนิเมะ’ หรือการ์ตูนญี่ปุ่นมาแรงมากในฝั่งบ้านเรา โดยเฉพาะ ‘Demon Slayer’ หรือ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ นอกจากนี้ก็มี My Hero Academia, Attack on Titan หรือ Jujutsu Kaisen ที่กำลังโด่งดังไม่แพ้กัน ทำให้หลายแพลตฟอร์มก็จะมีการ์ตูนเรื่องเหล่านี้อยู่เกือบทุกแพลตฟอร์ม และสำหรับ ‘Bilibili’ ก็จะเป็นแพลตฟอร์มสัญชาติจีนที่เน้นไปทางอนิเมะแบบเต็มตัว ใครที่เป็นแฟนมังงะการ์ตูนญี่ปุ่นก็โหลดมาดูได้เลย

สำหรับ Bilibili เปิดให้ดูฟรีหรือสมัคร VIP ที่จะสามารถเนื้อหาพิเศษและดูตอนใหม่ ๆ ได้ก่อนในความละเอียด 1080P โดย 1 เดือนราคา 125 บาท 3 เดือน 350 บาท และ 1 ปี 1,200 บาท

Flixer (ฟลิกเซอร์)

แพลตฟอร์มที่เน้นไปที่ ‘การ์ตูน’ เช่นกัน แต่จะไม่ได้เน้นที่อนิเมะ แต่จะเป็นการ์ตูนไลฟ์แอคชั่น อาทิ มาส์กไรเดอร์ ขบวนการเซ็นไท อุลตร้าแมน กันดั้ม โดยบริษัท ฟลิกเซอร์ จำกัด ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เป็น บริษัทดรีม เอกซ์เพรส หรือ DEX ที่เป็นผู้นำด้านลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากญี่ปุ่นในไทยมานานกว่า 18 ปี โดย Flixer สามารถดูฟรีและแบบพรีเมียมในราคา 79 บาท

POPS (พ็อพส์)

แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งจาก POPS Worldwide (ประเทศไทย) ที่เปิดตัวในเวียดนามปีที่ผ่านมา และเตรียมขยายให้ครอบคลุมทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย POPS จะคล้าย ๆ Flixer ที่เน้นคอนเทนต์การ์ตูน รวมไปถึงซีรีส์เกาหลี และมีออริจินัลคอนเทนต์ที่มีพันธมิตรเป็นเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ อย่าง บี้-เดอะสกา, ต่อ-ตอปิโด หรือทีมอีสปอร์ตระดับท็อปของไทยอย่าง เบคอน ไทม์ โดยสามารถดูฟรี

ทั้งนี้ มีอีกเเพลตฟอร์มที่หลายคนตั้งตารออย่าง Disney + ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะเข้าไทยเมื่อไหร่ แม้ว่าจะมีหน้าเว็บไซต์ภาษาไทยรองรับแล้ว รวมถึงมีราคาค่าสมาชิกที่หลุดมาคือ 219 บาทต่อเดือน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าระหว่าง COVID-19 ระลอก 3 กับ Disney + อะไรจะได้เห็นก่อนกัน

]]>
1331833
เจาะแนวคิด ‘True Media’ กับการอัพเกรด ‘True’ ให้เป็นมากกว่าบริษัท ‘Telecom’ https://positioningmag.com/1283554 Mon, 15 Jun 2020 09:10:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283554 ถ้าหากพูดถึงอีโคซิสเต็มส์ของ ‘True’ เชื่อว่าหลายคนคงจะพูดออกมาไม่หมด เพราะมีมากมายหลายขาเหลือเกิน ซึ่งแน่นอนว่าการที่ทำหลายอย่างย่อมทำให้มี ‘คู่แข่ง’ เพิ่มขึ้นมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้าน Strategic Content & Public Affairs บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กลับมองว่าในปัจจุบันนี้ หมดยุคของ ‘ไซโลบิสซิเนส’ ณ วันนี้ผู้ที่คิดแบบนี้ ได้กลายเป็น ‘เบอร์ 3’ ไปแล้ว และจากนี้ True จะไม่ใช่บริษัท Telecom แต่เป็น ‘Digital Media Company’

คุณมีแค่มือถือเท่ากับคุณ ‘อ่อนแอ’

ในอดีต หากมีบริษัทที่ทำทุกอย่างรวมกันหมด คนคงมองว่าไม่ฉลาด แต่ทำเพราะ ‘บ้าบิ่น’ เพราะต้องเข้าแข่งขันในเลเวลที่ต่าง มีคู่แข่งมากมาย รบรอบด่าน น่าจะไม่ดี แต่ปัจจุบันหมดยุคของ ‘ไซโลบิสซิเนส’ เพราะโลกกลายเป็นโลกของดิจิทัลแพลตฟอร์ม กลายเป็นว่าคุณมีแค่มือถือเท่ากับคุณ ‘อ่อนแอ’ เพราะว่าคุณไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มเต็มศักยภาพ อย่างในสหรัฐอเมริกา บริษัท AT&T ที่ควบรวมกับบริษัทเป็นบริษัท Time Warner ที่เป็นเจ้าของคอนเทนต์ระดับสุดยอดอย่างสตูดิโอ Warner Bros. ช่องหนัง HBO มี CNN ช่องข่าวอันดับ 1 รวมถึงมีสตูดิโอผลิตเกม

ดังนั้น AT&T บอกกับทุกคนว่าจากนี้ไม่ใช่บริษัท Telecom อีกต่อไป แต่เป็น New Media Company ซึ่งนั่นคือทิศทางที่ True จะต้องไป เพราะว่าเทรนด์โลกมันเป็นแบบนั้น ต่อไป True จะเป็น Media Company ที่มี Telecom โดยมี Content ที่สร้างถูกทาง วางถูกที่ จะทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่แข่งกันเรื่องโปรโมชั่นอย่างในอดีต เพราะอย่างคู่แข่งออกแพ็กเกจใหม่ พูดตรง ๆ ว่าอาทิตย์ต่อไปเราออกเหมือนกันได้เลย ดังนั้น ค่ายที่ไม่มีคอนเทนต์ชูโรง ไม่ใช่ว่าจะสร้างความแตกต่างไม่ได้ แต่มันจะมีความยากกว่าในเชิงของการสื่อสาร

อย่างแอป ทรูไอดี ทิ่เป็นแพลตฟอร์ม OTT ที่เปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการทุกเครือข่ายเข้าถึงได้ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญ เพื่อใช้สื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจศักยภาพของอินฟราฯ เป็นการใช้ Content Lead Marketing เมื่อมีประสบการณ์ในการบริโภคคอนเทนต์ เพราะคนจะรู้ว่าเน็ตเวิร์กมันดี คือ วิดีโอต้องไม่กระตุก และการที่จะใช้ค่ายไหนก็ได้ ลูกค้าจะมีจุดเริ่มต้นในการเปรียบเทียบ โดยปัจจุบัน ทรูไอดีมีการใช้งาน 60% เป็นลูกค้าทรู อีก 40% เป็นลูกค้าค่ายอื่น

เป็น ‘พันธมิตร’ ดีกว่าแข่งขัน

แม้ว่าปัจจุบันจะเห็นคู่แข่งรายใหญ่เข้าสู่ตลาด OTT จำนวนมาก แน่นอนว่าต้องมีการแย่งผู้ชม แต่สำหรับผู้ที่มี ‘Digital Platform’ จะไม่ได้มองว่าต้องไปแข่งขัน แต่มองเป็นบวก และเราสามารถเป็นพันธมิตร อย่างกล่อง ‘ทรูไอดีทีวี’ ที่เพิ่งเปิดตัวไป ก็มี ‘Netflix’ ให้ชม และใน Netflix ก็มีออริจินอลคอนเทนต์ของทรูอย่างซีรีส์ ‘Voice’ นั่นแปลว่าเขาเสริมเรา เราเสริมเขาในเชิงของบริการสำหรับผู้บริโภค และการมีเขาทำให้เราไม่ต้องลงทุนในตอนเทนต์แบบเขา แปลว่าเม็ดเงินที่เราเคยลงทุนในคอนเทนต์แบบเขา เราเปลี่ยนมาลงทุนในออริจินอลคอนเทนต์ของเราได้ และก็ขายเขาได้

ปัจจุบัน ทรูคอร์ปอเรชั่นเป็นผู้ที่ลงทุนในคอนเทนต์มากที่สุดในไทย ราว 7,000 ล้านบาท เป็นเบอร์ต้น ๆ ของไทย สิ่งที่เราลงทุนมากที่สุด คือ กีฬา เราตั้งใจเป็น king of sport และทุกกีฬาถูกออกแบบมาให้เป็นเพย์ทีวี ดังนั้นเราได้เปรียบเพราะเรามีทรูวิชั่นส์ แต่สิ่งที่เราต้องทำมากขึ้นคือ ‘เอนเตอร์เทนเมนต์’ เมื่อก่อนเราเป็นผู้ซื้อที่ใหญ่ที่สุด แต่เมื่อเราพาร์ตเนอร์กับ Netflix เราจึงไปทุ่มให้กับการสร้างออริจินอลได้ โดยที่ผ่านมาเราได้สร้างบริษัทร่วมทุน True CJ Creation เป็นบริษัทโปรดักส์ชั่นที่ในเบื้องต้นเรานำซีรีส์เขามารีเมคในแบบโลคอลไรเซชั่น อย่าง Voice และในปีนี้จะมีฟอร์มใหญ่ 6-8 เรื่อง เป็นฟอร์มใหญ่

ปั่นรวมทุกแพลตฟอร์มต่อยอดสู่ Addressable Advertising

Addressable Advertising หรือก็คือ การเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ใช้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการรับชมผ่านทีวีดิจิทัล ชมผ่านแพลตฟอร์ม OTT ซึ่งการรับรู้ถึงข้อมูลทั้งหมด จะทำให้อุตสาหกรรมโฆษณาเติบโตขึ้นหลายสิบเท่า เพราะโฆษณาท้องถิ่นมีโอกาสเข้ามาโฆษณามากขึ้น เพราะสามารถยิงเข้าสู่กลุ่มผู้บริโภคที่สนใจได้โดยตรง ไม่ต้องหว่าน ราคาต่อชิ้นถูกลง เพราะมีโฆษณามากขึ้น ดังนั้นมันจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และบริษัทเหล่านี้ได้ประโยชน์ เพราะ ROI ได้มากขึ้น คุ้มค่ามากกว่า

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจคอนเทนต์ไทยอยู่ระหว่างทาง ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปไกลพอ ยังขาดการเติบโตของดิจิทัลมีเดีย เพราะดิจิทัลทีวีมันไม่เติบโต แต่ถ้าอยู่ในจุดที่สัดส่วนทั้ง 2 เท่ากันจนเป็นออมนิมีเดีย ทุกสื่อมีความสำคัญเท่าเทียมกันและเข้าถึงผู้บริโภคในหลาย ๆ จุดของไลฟ์สไตล์ เพื่อให้รับรู้ถึง ‘พฤติกรรม’

ขณะที่ True ปัจจุบันมีเครื่องมือครบ ทั้งช่องในทีวีดิจิทัล (ช่องทรูโฟร์ยู) มีกล่องเซต-ท็อป- บ็อกซ์ (กล่องทรูไอดี ทีวี) มีเพย์ทีวี (ทรูวิชั่นส์) และแอปพลิเคชัน (ทรูไอดี) ทำให้สามารถดำเนินกลยุทธ์ Convergent คือ ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นอินฟราสตรัคเจอร์ ทำให้ทุกแพลตฟอร์มรู้ว่าผู้บริโภคเป็นใคร ใช้บริการอะไร เช่น ตอนนี้ใช้มือถือ ใช้เน็ตผ่านมือถือ ผ่านคอม ดูทีวีผ่าน OTT ดูช่องอะไร ทำให้เราได้ Big Data จากนั้นก็ยิงโฆษณาตามแต่พฤติกรรมที่ลูกค้าสนใจ ซึ่งก็คือ Addressable Advertising

ตั้งเป้าเติบโตดับเบิลทุกปี

ในปี 2019 ที่ผ่านมา ทรูวิชั่นส์มีฐานลูกค้ารวมประมาณ 4 ล้านรายและมีรายได้จากการให้บริการอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่าง TrueID มีฐานผู้ใช้บริการต่อเดือนที่เติบโตกว่าสองเท่าจากปีก่อนเป็น 24.6 ล้านราย นอกจากนี้ กล่องทรูไอดี ทีวี มียอดขายกว่า 5 แสนกล่อง ขณะที่การขายโฆษณาของเรา ณ วันนี้ ขายเป็นออมนิชาแนล หรือบันเดิลแพ็กเกจ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าการเติบโตนี้จะมาจาก ‘ดิจิทัลมีเดีย’ โดยพยายามจะ Keep การเติบโตของเทรดดิชันแนลมีเดียไว้เท่าเดิม โดยในปี 2019 ดิจิทัลมีเดียของเรามีรายได้แซงเทรดดิชันแนลมีเดียไปแล้ว ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ของโลก แปลว่า ณ วันนี้สัดส่วนของรายได้ของทรู วิชั่นส์กรุ๊ป เท่าเทียมกันกับเทรนด์ของโลก และพอไม่มีใครในอุตสาหกรรมโฟกัสในแบบเรา เรามีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถเติบโแบบดับเบิลได้ทุกปีใน 3 ปี

]]>
1283554
Update ตั้งแต่ ‘HOOQ’ ไป แพลตฟอร์มไหนยังอยู่ และอีกกี่รายที่กำลังจะมา https://positioningmag.com/1276822 Tue, 05 May 2020 06:36:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276822 ถือว่าใจหายอยู่สำหรับ ‘HOOQ’ แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งที่ทำตลาดมากว่า 5 ปีได้เลิกกิจการไปด้วยเหตุ ‘สู้ต้นทุนไม่ไหว’ ดังนั้นเราจะมา Update กันว่ายังมีผู้ให้บริการที่ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ และมีผู้เล่นอีกกี่รายที่เตรียมบุกตลาดไทย บอกได้คำเดียวเลยว่าตลาดนี้ไม่ใช่ Blue Ocean อีกต่อไปแล้ว

Netflix (เน็ตฟลิกซ์)

แพลตฟอร์มยอดฮิตของไทยและของผู้ใช้ทั่วโลก ที่เริ่มต้นมาจากธุรกิจให้เช่า DVD ผ่านทางเว็บไซต์ และแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวด้วยระบบ Movie Recommendation ช่วยแนะนำภาพยนตร์เรื่องใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า และพัฒนามาเป็น Online Streaming ในปี 2007 และต่อยอดจนมี Original Content ของตัวเองและเติบโตจนให้บริการกว่า 190 ประเทศ มีผู้ใช้กว่า 160 ล้านราย และคาดว่าปีนี้อาจทะลุ 190 ล้านราย

Viu (วิว)

หนึ่งในบริการดูหนังและซีรีส์ที่เติบโตเร็วสุดของเอเชีย ที่เริ่มให้บริการเมื่อปี 2017 โดยกลุ่มบริษัท PCCW Media (พีซีซีดับเบิลยู มีเดีย) พร้อมได้พันธมิตรเป็น 3 ช่องทีวีจากเกาหลี ได้แก่ SBS, KBS และ MBC ทำให้มีจุดเด่นด้านคอนเทนต์เกาหลีและเอเชีย ทั้งซีรีส์ ภาพยนตร์และรายการวาไรตี้ แถมมาพร้อมกับโมเดล ‘ฟรีเมียม’ ให้ ดูฟรี ไม่เสียเงิน แต่มีโฆษณาและได้แค่ความคมชัดภาพแบบ SD แต่ถ้าอยากดูแบบ Full HD ไม่มีโฆษณา สามารถสมาชิกได้ในราคา 119 บาท/เดือน โดยปีที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการกว่า 41.4 ล้านคน มียอดเข้าชมกว่า 5.7 พันล้านครั้ง จากการให้บริการใน 6 ประเทศ

WETV (วีทีวี)

หลังจากที่ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘เทนเซ็นต์’ ได้ให้บริการแพลตฟอร์ม Tencent Video ในประเทศจีน จนปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 200 ล้านคน/วัน มีออริจินอลคอนเทนต์กว่า 80 เรื่อง ก็มาถึงช่วงขยายการเติบโต โดยเปิดตัว แพลตฟอร์ม ‘WeTV’ ในไทยประเทศแรกต่อจากจีน โดย WeTV มีจุดเด่นด้านซีรีส์จากจีนและเอเชีย ที่น่าจะถูกใจคอภาพยนตร์กำลังภายใน และสาว (วาย) อย่าง ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ซึ่งรูปแบบการใช้บริการมีทั้งดูฟรีและพรีเมียม ถ้าอยากดูชัด ดูเร็ว และไม่มีโฆษณาคั่นก็จัดเลย เดือนละ 59 บาท

iFlix (ไอฟลิกซ์)

ไอฟลิกซ์เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2014 โดยเน้นเจาะตลาดเกิดใหม่เป็นหลักหรือประเทศที่กำลังพัฒนา โดยปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 28 ประเทศ นอกจากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วยังมี ประเทศอื่น ๆ อาทิ เนปาล, บังกลาเทศ, ซิมบับเว, แทนซาเนีย  โมร็อกโก และยูกันดา มีสมาชิกรวมกว่า 15 ล้านคน ในส่วนของคอนเทนต์จะเน้นความหลากหลายทั้งฝรั่ง จีน เกาหลี การ์ตูน มีหมด แถมบางคอนเทนต์ยังอัพเดตเร็วมาก ฉายจาก US ไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็มีซับไทยแล้ว ขณะที่รูปแบบการให้บริการก็มีทั้งฟรี iflixFREE และรูปแบบบริการแบบจ่ายค่าบริการสมาชิก ดูได้ไม่อั้นบน iflixVIP ในราคา 100 บาท/เดือน

LINE TV (ไลน์ทีวี)

แอปซีรีส์, ละครย้อนหลังและรายการวาไรตี้ยอดฮิตของคนไทย แถมมีออริจินอลซีรีส์ของตัวเองด้วย และที่ดีงามที่สุดคือ ดูฟรี แต่มีโฆษณานะ

ออริจินอล คอนเทนต์ ของ LINE TV ในปี 2563

AIS Play (เอไอเอส เพลย์)

แพลตฟอร์มคอนเทนต์จากโอเปอเรเตอร์ของไทยที่ให้ดูฟรีไม่จำกัดค่าย โดย AIS มี Netflix และ Viu เป็นพันธมิตร และมีคอนเทนต์ครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทีวีสด ภาพยนตร์ ซีรีส์ การ์ตูน คอนเสิร์ต รวมถึงออริจินอลซีรีส์ ‘คลับสะพานฟาย’ ที่พึ่งเปิดตัวปีนี้ แต่สำหรับใครที่อยากจะดู 10 ช่องพรีเมียม มีค่าบริการที่ 119 บาท/เดือน

True ID (ทรู ไอดี)

เป็นแพลตฟอร์มจากโอเปอเรเตอร์และสามารถดูได้ไม่จำกัดค่ายเช่นกัน แต่ True ID จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจาก AIS Play ตรงที่ มีกีฬา ‘พรีเมียร์ลีก’ ให้ชม แน่นอนว่าดูฟรีเฉพาะบางคู่ และสามารถเช่าหนังพรีเมียมได้ในราคา 149 บาท โดยหนังใหม่ใน True ID นั้นมาเร็วมาก แต่หนังฟรีก็มี รวมถึงออริจินอลคอนเทนต์ด้วย เช่น ‘Voice สัมผัสเสียงมรณะ’

Doonee (ดูนี่)

แพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่ให้ดูฟรี 30 วันเมื่อสมัคร แถมราคาเเพ็กเกจก็หลากหลาย ทั้งรายวัน 9 บาท รายเดือน 150 บาท และรายปี 1,500 บาท โดยคอนเทนต์ที่โดดเด่นจะเป็นภาพยนตร์และซีรีส์ Hollywood โดยเฉพาะพวกซีรีส์สืบสวนสอบสวน และรายการดัง ๆ จากฝั่งอเมริกา อย่าง hell kitchen, Master Chef และด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มคนไทย แน่นอนว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะพากย์ไทยด้วย

MONOMAX (โมโนแมกซ์)

คงไม่ต้องบอกสรรพคุณ ใครที่เป็นแฟนหนังและซีรีส์ในช่อง Mono29 ก็ตามไปดูต่อกันผ่านแพลตฟอร์มได้ ล่าสุดเตรียมเอาซีรีส์ “WESTWORLD Season 3” (เวสต์เวิลด์ ซีซั่น 3) มาลงด้วย แฟน ๆ ก็ตามรอได้เลย ใครสนใจก็สมัครดูได้ ให้ดูฟรี 30 วันเช่นกัน ใครติดใจก็สมัครต่อได้ในแพ็กเกจ 250 บาท/เดือน และ 2,500 บาท/ปี

Flixer (ฟลิกเซอร์)

แพลตฟอร์มที่มีจุดยืนชัดเจน ว่ารวบรวมคอนเทนต์จากญี่ปุ่น โดยเฉพาะ ‘การ์ตูน’ ไม่ว่าจะเป็นฮีโร่ มาส์กไรเดอร์ ขบวนการเซ็นไท อุลตร้าแมน กันดั้ม อีกทั้งยังมีรายการแนวพาเที่ยว พาชิม บันเทิงวาไรตี้สนุก ๆ มากมาย โดยบริษัท ฟลิกเซอร์ จำกัด ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เป็น บริษัทดรีม เอกซ์เพรส หรือ DEX ที่เป็นผู้นำด้านลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากญี่ปุ่นในไทยมานานกว่า 18 ปี โดย Flixer สามารถดูฟรีและแบบพรีเมียมในราคา 89 บาท

POPS (พ็อพส์)

แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งจาก POPS Worldwide (ประเทศไทย) ที่เปิดตัวในเวียดนามปีที่ผ่านมา และเตรียมขยายให้ครอบคลุมทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย POPS จะคล้าย ๆ Flixer ที่เน้นคอนเทนต์การ์ตูน แต่เป็นฝั่งซูเปอร์ฮีโร่อเมริกัน อาทิ ไอรอนแมน (Ironman) วูล์ฟเวอรีน (Wolverine) เอ็กซ์เมน (X-MEN) เบลด (BLADE) และออริจินัลคอนเทนต์ที่มีพันธมิตรเป็นเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ อย่าง บี้-เดอะสกา, ต่อ-ตอปิโด หรือทีมอีสปอร์ตระดับท็อปของไทยอย่าง เบคอน ไทม์ โดยสามารถดูฟรี

รายนามยักษ์ใหญ่ที่กำลังเข้ามา

จากลิสต์รายชื่อ ดูเหมือนจะมีแค่ ‘Netflix’ รายเดียวที่เป็นรายใหญ่ระดับโลก ที่เหลือเป็นผู้เล่นระดับภูมิภาคและผู้ให้บริการในไทย ขณะเดียวกัน ผู้เล่นรายใหญ่ที่ยังไม่มาไทยก็กำลังเดินหน้าทำตลาดอื่น ๆ ในโลก อาทิ Disney + ของ Disney เจ้าของแฟรนไชส์พันล้านอย่าง Marvel และ Star wars, Amazon Prime Video โดย Amazon,  Apple TV+ จาก Apple,  HBO Max เจ้าของซีรีส์สุดฮิตอย่าง Game of throne และ Hulu นอกจากนี้ยังมีรายที่ยังไม่เปิดตัวอย่าง Peacock โดย NBCUniversal และไม่ใช่แค่ฝั่งยุโรป แต่เอเชียก็ยังมีผู้เล่นรายใหญ่ ๆ อีกนอกจาก ‘เทนเซ็นต์’ ที่เปิดตัว WeTV ในไทย อาทิ iQiyi (อ้ายฉีอี้) ฉายา Netflix ของจีน โดยมีเจ้าของคือ Baidu และ YouKu โดย Alibaba

ขนาดยังมาไม่ครบ ก็ทำเอาผู้เล่นระดับภูมิภาคไปแล้ว ถ้าวันที่ผู้เล่นเหล่านี้ทำตลาดครบทุกประเทศ ผู้เล่นที่เล็กกว่าจะใช้แผนไหนเพื่อสร้างรายได้ให้อยู่รอด คงต้องรอดูกันยาว ๆ

#Netflix #Viu #HOOQ #WETV #LINETV #iFlix #Doonee #MONOMAX #Flixer #Pops #TrueID #AISPlay #Disney+ #AmazonPrimeVideo #AppleTV+ #HBOMax #Hulu  #Peacock #iQiyi #YouKu #Positioningmag

]]>
1276822
#โอตะเฟิร์สคลาส เจอกระแสตีกลับ เลือกอินฟลูเอนเซอร์ไม่อินจริง! https://positioningmag.com/1209198 Wed, 20 Feb 2019 01:57:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209198 เชื่อแล้วว่าปี 2019 อินฟลูเอนเซอร์อาจจะครองเมือง ? เพราะแค่เปิดปีมาไม่ทันไร ในโลกทวิตเตอร์ก็เกิดการจ้างอินฟลูเอนเซอร์โปรโมตแคมเปญและสินค้าไปแล้วหลายครั้ง เห็นได้จาก “#แฮชแท็ก” ที่ไหลผ่านหน้า Timeline

ภาพจาก : @hashtagintrend

#แฮชแท็ก ที่ผ่านไปเท่าที่ดูก็ปรกติเป็นไปตามกระแสที่แบรนด์ต้องการ แต่มีอยู่ #แฮชแท็กหนึ่งที่กระแสไม่ได้เป็นไปตามที่แบรนด์ต้องการและออกมาในขั้วตรงข้ามด้วยซ้ำคือ “#โอตะเฟิร์สคลาส”

#โอตะเฟิร์สคลาส ผู้ที่ว่าจ้างคือ “TrueID” โดยมีเป้าหมายเพื่อโปรโมตเลือกตั้งเซมบัตสึของ “BNK48” ที่คัดเลือกสมาชิก 16 คนจากจำนวนทั้ง 51 คนมาโปรโมตซิงเกิลที่ 6 ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้เหล่า โอตะ ได้เป็นฝ่ายเลือก จากครั้งก่อนหน้านี้ที่จะเลือกเป็นการภายใน

โดยการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 26 มกราคม 2019 ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี และมีการถ่ายทอดสดผ่าน TrueID ทาง TrueID จึงต้องการสร้างการรับรู้

การโปรโมทผ่าน Official Account Twitter ของ TrueID

เพื่อให้เกิดกระแสการรับรู้ TrueID ได้ว่าจ้างให้อินฟลูเอนเซอร์ในทวิตเตอร์ที่มีผู้ติดตามหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนหลาย Account ในทำนองของการเชียร์สมาชิก BNK48 ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา โดยคาดว่ามีเป้าหมายเพื่อสร้างกระแสการเลือกตั้งให้คึกคัก และโปรโมตถึงการถ่ายทอดสดไปในตัว

แต่อนิจาตอนแรกกระแสก็ยังคงไปในทิศทางที่ TrueID วางไว้ข้อความที่บรรดาอินฟลูเอนเซอร์ทวิตเตอร์โพสต์ขึ้น ได้รับความสนใจจนเกิดกระแสการรีทวิต และโพสต์เชียร์ตามในวงกว้าง

แต่แล้วจู่ๆ ก็มีผู้ใช้งานรายอื่นๆ ทวิตขึ้นมาแล้วติด #โอตะเฟิร์สคลาส ในทำนองที่ว่า อินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้ก่อนหน้าเคยโพสต์ในลักษณะที่ไม่ได้ชื่นชอบ BNK48 แต่ครั้งนี้มาแปลกกลับมาสร้างกระแสได้อย่างไร บางทวิตถึงขนาดพูดในทำนองที่ว่า พอได้รับการว่าจ้างก็เปลี่ยนไปทันที ซึ่งแทนที่จะเป็นกระแสแต่สุดท้ายกลับเป็นความไม่เนียนแทน

“ทำไมทรูไม่จ้างคนที่เป็นโอตะอยู่แล้วมาโปรโมต เพราะจะได้กระแสจริงๆ มากกว่า” มีผู้ใช้ทวิตเตอร์บางรายออกมาแสดงความคิดเห็น

จริงๆ แล้ว #โอตะเฟิร์สคลาส เป็นแฮชแท็กที่เกิดขึ้นจากกรณีความไม่พอใจโอตะรายหนึ่ง ซึ่งการที่ TrueID เลือกหยิบ #โอตะเฟิร์สคลาส มาเป็นแฮชแท็กโปรโมต อาจจะเกิดขึ้นจากการไม่รู้จริงๆ ว่ามีที่มาจากกระแสความไม่พอใจ หรือต้องการสื่อให้เห็นถึงความโชคดี ซึ่ง TrueID จะคัดเลือก 7 โอตะผู้โชคดีได้บัตร VIP เข้างาน ซึ่ง TrueID เองก็ได้ติดแฮชแท็ก #26นี้ทรูไอดีไลฟ์สดเลือกตั้งด้วย

เปิดข้อแนะนำใช้ “ฟลูเอนเซอร์”

กระแสที่เกิดขึ้นถือเป็นหนึ่งกรณีศึกษาให้นักการตลาดได้เป็นอย่างดี ถึงการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่ต้องเช็คย้อนหลังว่า สิ่งที่อินฟลูเอนเซอร์ทำก่อนหน้านี้จะไม่ส่งผลถึงแบรนด์ที่กำลังจ้างในทีหลัง

ชัชวาล เดชาโรจนภัทท์ กรรมการบริหารงานสื่อสารการตลาด บริษัท หลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) และอดีตผู้อำนวยการ ทีมวางแผนสื่อโฆษณาออนไลน์ Mindshare Thailand แนะนำถึงการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ ในครั้งที่เข้าร่วมงานสัมมนา Such Seed Marketing:2019 Influencer ครองเมือง ที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่า

การใช้อินฟลูเอนเซอร์สิ่งแรกเลยคือ ต้องมี วัตถุประสงค์” (Objective) ให้ชัดเจนว่าอยากให้เกิด Awareness, Engagement, Conversion หรือ Advocate หลายครั้งเอเยนซี่มักระบุในครั้งแรกอยากได้ Awareness แต่สุดท้ายแล้วกลับอยากได้ Conversion ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจจึงต้องคุยกันให้ชัดเจน เพราะบางครั้ง บรีฟ ที่เปลี่ยนทุก วินาที อาจสร้างปัญหาในภายหลังเมื่อถึงตอนทำงานและวัดผลได้

ชัชวาล เดชาโรจนภัทท์ คนที่ 2 จากขวามือ

เมื่อเลือกได้แล้วค่อยไปดูว่าอินฟลูเอนเซอร์คนไหนจะตอบโจทย์ที่ต้องการได้มากที่สุด ถ้าเลือก Awareness ก็ต้องเลือกคนที่มีผู้ติดตามเยอะๆ ใครที่มีอำนาจในการส่ง Message ไปให้ไกลมากที่สุดเท่าที่จะได้ได้ หรือหากเลือก Engagement ก็ต้องดูว่าคอนเทนต์ของใครทำได้มีคุณภาพ ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทั้ง Like, Comment และ Share

ถ้ามี Objective ชัด เลือกด้วยอะไร วัดผลด้วยอะไร ไม่มีทางเกิดเหตุการณ์ว่า ทำไมโพสต์แล้วผลไม่ได้ตามที่ต้องการ

สิ่งที่นักการตลาดต้องระวังคือ Message ที่ต้องการพุ่งไปหากลุ่มเป้าหมายหรือไม่? เคยมีกรณีที่โพสต์วิดีโอแล้วมีคนดูกว่า 10 ล้านวิว คนทำงานก็ฉลองกันยกใหญ่ถึงความสำเร็จ แต่เมื่อไปดูไส้ในแล้ว Message ที่ส่งออกไปมีเป้าหมายได้รับแค่ 100,000 เท่านั้น

นี่กลายเป็นภาพลวงตามากๆ

การวัดผลก็ให้ดูจาก Objective เป็นหลัก เช่น Engagement ก็เข้าไปดูสิ่งที่คนอ่านมาปฏิสัมพันธ์ด้วย เช่น การวัดคอนเทนต์ที่มีคุณภาพจะดูจาก คอมเมนต์ ข้างในมีอะไรบ้างซึ่งต้องไม่มองแค่จำนวน หลายครั้งนักการตลาดจ้าง  อินฟลูเอนเซอร์แล้วพบว่า Engagement ดีจังเลย

แต่สิ่งที่ต้องดูมากกว่านั้นคือคอมเมนต์อยู่ในทิศทางเดียวกันกับคอนเทนต์ที่ลงหรือไม่? สิ่งที่มักจะเจออยู่บ่อยๆ คอนเมนต์เยอะจริงแต่ข้อความไม่ได้เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์นั้นเลย เจอแต่ฝากร้านทั้งนั้น กลายเป็นคำถามว่า คอนเทนต์นั้นดีจริงๆ หรือ?

ตามปรกติแล้วยอดไลก์ 100 ครั้งจะมีคอมเมนต์ประมาณ 4 ครั้ง ในจำนวนนี้ 80% ควรจะเป็นคอมเมนต์ที่เกี่ยวกับเรื่องที่ลง ถ้าน้อยกว่านี้ถือว่าคอนเทนต์นั้นไม่ได้ผลแล้ว

และยอดแชร์ที่เกิดขึ้นใครแชร์ไปบ้าง เพราะสิ่งที่เคยเจอคลิกไปดูแล้วเจอเพจปลอมเต็มไปหมด เจอกระบวนการปั่น Reach ปั่นแชร์เป็นใครไม่รู้มาทำ ไม่ได้ตรงไปที่กลุ่มเป้าหมายจริงๆ

อีกเรื่องหนึ่งคือราคาสมเหตุสมผลหรือไม่ เพราะบางครั้งราคาที่อยู่ในมืออาจแพงเกินเหตุจากประสบการณ์ส่วนตัวของ ชัชวาล มองราคาอาจแพง 3-4 เท่าตัว ซึ่งอันนี้ไม่ใช่ความผิดของอินฟลูเอนเซอร์ บางครั้งเกิดจากการซ้อนเอเยนซี่มากกว่า 4 ต่อ แล้วเพิ่มราคาแต่ละต่อเกิน 30%

แต่ทั้งนี้ไม่มีเอเยนซี่ก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน เพราะในกระบวนการทำงานจริงบรีฟหรือโจทย์ที่ต้องการให้ทำสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา อย่างน้อย 20 ครั้ง เอเยนซี่จึงเข้ามาเป็นตัวกลางพูดคุยระหว่างแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ และช่วยประสานให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น เลยเกิดเป็นค่าใช้จ่ายขึ้นมา

ชัชวาล แนะนำว่า แบรนด์ต้องจริงใจกับผู้บริโภค ถ้าคิดจะใช้ Influencer Marketig” จงพูดแต่ความเป็นจริง เพราะการพูดความไม่จริงอาจจะเป็น “ดาบ” ที่กลับมาแทงตัวคุณได้

และถ้าแบรนด์จะใช้อินฟลูเอนเซอร์ก็ต้อง เชื่อใจ (Trust) ในตัวอินฟลูเอนเซอร์ ให้เป็นธรรมชาติของตัวเองให้มากที่สุดด้วย ถ้าแบรนด์ให้ทำอะไรที่ผิดธรรมชาติของอินฟลูเอนเซอร์คนนั้นมากๆ เช่น ให้ถือสินค้าแล้วถ่ายรูป โดยให้สินค้าเด่นที่สุด แต่รูปที่ออกมาดูแปลกกว่าที่เคยถ่าย สุดท้ายแล้วผู้บริโภคก็ไม่เชื่อ

ดังนั้นการใช้อินฟลูเอนเซอร์จึงกลายเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่วางแผนไว้.

เรื่อง : Thanatkit

]]>
1209198
ไม่พลาด ! ค่ายทรู แบรนด์ไทยรายแรก คว้า BNK48 เป็นพรีเซ็นเตอร์ https://positioningmag.com/1155659 Mon, 05 Feb 2018 09:00:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155659 นาทีนี้ฮอตสุดๆ ไม่พ้นไอดอลกรุ๊ป วง BNK48 กับเพลง “คุกกี้เสี่ยงทาย” ล่าสุด คาดค่ายทรู แบรนด์ไทยรายแรกได้เซ็นสัญญากับวง BNK48 เพื่อเป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้าในเครือทรู ที่คาดว่าจะเป็นทรูไอดี ซึ่งเตรียมเปิดตัวเป็นทางการเร็วๆ นี้

ความแรงของ BNK48 กลุ่มเกิร์ลกรุ๊ป ที่มีเด็กสาววัยรุ่นอายุตั้งแต่ 14-22 ปี จำนวน 28 คน กำลังดังเป็นพลุแตกด้วยโมเดลธุรกิจใหม่ สร้าง ”ไอดอล” ให้คนติดตาม เลือกคนที่มีเสน่ห์มาฝึกฝน และสร้างฐานแฟนคลับ ที่เรียกว่า ”โอตะ” จากจุดขายความน่ารัก ความพยายามของไอดอลเหล่านี้ ได้สร้างโมเดลหารายได้จากทั้งรูปแบบการขายสินค้า งานโชว์ตัว ออกอีเวนต์ รวมถึงงาน ”พรีเซ็นเตอร์” กำลังเป็นต้องการของสินค้า ที่ต้องการใช้เพื่อเกาะไปกับกระแส และเป็นตัวแทนเพื่อสื่อสารกับวัยรุ่น

ก่อนหน้านี้สินค้าที่ BNK48 เข้าไปร่วมกิจกรรม หรือเป็นพรีเซ็นเตอร์ด้วย จะเป็นสินค้าแบรนด์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นญี่ปุ่น เนื่องจาก BNK48 เป็นแฟรนไชส์ธุรกิจจากญี่ปุ่น บรรดาธุรกิจญี่ปุ่นที่อยู่ในไทย จึงให้ความสนใจดึงไอดอลในวงไปร่วมกิจกรรมมากมาย เช่น ลอว์สัน 108 ที่ดึง 3 ไอดอลของวง ได้แก่ ปัญ, เจน และ โมบาย มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ โปรโมตสินค้าในร้าน เพื่อเจาะฐานคนรุ่นใหม่ เพิ่มยอดขายสินค้าในร้าน

เมื่ออยู่ในช่วงพีคขนาดนี้ จึงเป็นที่สนใจของค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ของไทยสองค่ายรุมจีบ โดยคาดว่าค่ายทรูจะเป็นผู้คว้าสิทธิ์นี้มาได้ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยมูลค่าสัญญาครั้งนี้ เนื่องจากเป็นความร่วมมือในหลายส่วน

เริ่มจากร่วมกับบริษัท ทรูวิชั่นส์ ผู้ให้บริการเพย์ทีวี ในงาน Bangkok Comic con x Thailand Comic Con 2018 งานเกี่ยวกับสื่อบันเทิง ทั้งซีรีส์ เกม ของเล่นสะสม คอสเพลย์จากฮอลลีวู้ด ญี่ปุ่น และไทย จัดขึ้นในวันที่ 27-29 เมษายน ซึ่งปีนี้ ไฮไลต์อยู่ที่วง BNK48 และวง AKB48 เข้าร่วมงานและแสดงพร้อมกัน

นอกจากนี้งานนี้แล้ว ทรูยังได้ต่อยอดนำสมาชิกวง BNK48 มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ใหม่ให้ของค่ายทรูด้วย แต่ยังอยู่ระหว่างเจรจารายละเอียด

การที่ทรูกล้าทุ่มขนาดนี้ เพราะมองว่าความเป็นไอดอลของ BNK48 เหมาะสมลงตัวกับความทันสมัย ไลฟ์ไสตล์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ โดยคาดว่าน่าจะเป็นแบรนด์ ทรูไอดี (TrueID) แอปพลิเคชั่นดูหนัง ฟังเพลง ถ่ายทอดสดกีฬา ให้ดูฟรีผ่านสมาร์ทโฟน โดยเป็นทั้งโมบายแอป เว็บไซต์ และบริการ OTT ที่ค่ายทรูใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทในปีนี้ โดยนำคอนเทนต์มาจากเว็บไซต์ trueid.net กล่องทรูทีวี เพื่อเปิดให้เป็นบริการที่ใช้งานได้กับทุกเครือข่ายมือถือ แต่หากเป็นลูกค้าในเครือทรู จะได้สิทธิพิเศษมากขึ้น

กลุ่มทรูนั้นหวังแจ้งเกิดบริการนี้ เพราะต้องการ “ตรึง” ลูกค้าไม่ให้ย้ายค่าย หรือเลิกใช้บริการ และยังรองรับกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่หันมาดูหนัง ฟังเพลง ดูถ่ายทอดกีฬาผ่านมือถือ เพิ่มการใช้ดาต้าท่ามกลางการแข่งขันเปิดศึกแย่งชิงลูกค้าค่ายมือถืออย่างรุนแรง

สำหรับคู่แข่งรายสำคัญของทรูไอดี คือ เอไอเอสเพลย์ บริการ OTT ของค่ายเอไอเอส ที่พยายามชูจุดขายคอนเทนต์ที่ครอบคลุม และสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าค่ายเอไอเอสเช่นเดียวกัน โดยค่ายเอไอเอสก็มีพรีเซ็นเตอร์ชื่อดังในกลุ่มวัยรุ่น เช่น “หน้ากากจิงโจ้” – เป๊ก ผลิตโชค และ “หน้ากากทุเรียน” ทอม รูม39

ทรูไอดี มีพรีเซ็นเตอร์อยู่แล้วหลายคน ตั้งแต่ “เจ้านาย” จิณเจษฎ์ วรรธนะสิน , “เจเจ” กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม – นักแสดงวัยรุ่นชื่อดัง, “ออกแบบ” ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง นักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง ฉลาดเกมส์โกง , “ไอซ์ซึ“ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ – นายแบบไทยคนแรกที่ไปสังกัดนายแบบเกาหลี และ “มินท์” ภัทรศยา ยงรัตนมงคล นางแบบรุ่นใหม่มาแรง และล่าสุดคือวง BNK48.

]]>
1155659
ศึกสะใภ้มะโน VS สามีแห่งชาติ กลยุทธ์ชิงลูกค้าโอทีที ทรูไอดี VS เอไอเอส https://positioningmag.com/1133625 Thu, 20 Jul 2017 10:44:20 +0000 http://positioningmag.com/?p=1133625 เมื่อค่ายทรูคว้า “เจ้านาย” จินเจษฎ์ วรรธนะสิน เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับ ทรูไอดี (True ID) แอปพลิเคชั่นคอนเทนต์ผ่านเน็ตบนมือถือของค่ายทรูมูฟ เอช เพื่อสู้ศึกชิงฐานลูกค้ากับ AIS Play ที่มี “เป๊ก” ผลิตโชค อายนบุตร เป็นพรีเซ็นเตอร์

จากศึกมือถือ มาจนถึงศึก OTT งานนี้ทั้งทรู และเอไอเอส ยังต้องสู้กันชนิดไม่มีใครยอมใคร นอกจากที่ทั้งคู่จะต้องชิงดำกันในเรื่องของ “เครือข่าย” แล้ว การแข่งขันในยุค 4G ยังต้องมุ่งไปเรื่องของการใช้ “ดาต้า” โดยมี “คอนเทนต์” ทั้งวิดีโอ ภาพยนตร์ เพลง ละคร กีฬา มาเป็นแม่เหล็กเพื่อดึงดูดสร้างกระเป๋าหนัก และผลักดันให้ใช้ดาต้าเพิ่มขึ้น

ทำให้ค่ายมือถือต้องปรับกลยุทธ์ หันมาสร้างฐานลูกค้าออนไลน์ทางมือถือ ผ่านบริการคอนเทนต์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ OTT เพื่อให้สามารถรับชมคอนเทนต์ทุกประเภทผ่านมือถือ ด้วยคอนเทนต์หลากหลายสด ใหม่ มากมาย  รวมทั้ง “พรีเซ็นเตอร์” คนดังที่มีฐานแฟนคลับเหนียวแน่น มาเป็นตัวแทนของบริการ

ค่าย AIS นั้นเดินเกมบุกสร้างฐานลูกค้า OTT แบบเต็มพิกัด ทั้งคอนเทนต์ และพรีเซ็นเตอร์ โดยดึงเอา “เป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร” หน้ากากจิงโจ้ แห่งรายการ The Mask Singer ซีซั่นแรก ที่มีความดังระดับขีดสุด มีแฟนคลับ pfc ติดตามมากมาย ทั้งเหนียวแน่นและเป็นระบบ และยังถูกขนานนามว่าเป็น สามีแห่งชาติ ของบรรดาแฟนคลับที่ตั้งตัวเป็นเมีย มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ คู่กับ ทอม room 39 ให้กับบริการ AIS Play แอปบนมือถือ และกล่อง AIS PLAYBOX ด้วยการทำคลิปรายการ เพื่อสร้างการรับรู้จากฐานแฟนคลับของเป๊ก

ในส่วนของคอนเทนต์ เอไอเอสเองก็จัดหนัก ด้วยการไปคว้าช่อง HBO ที่ย้ายจากทรูวิชั่นส์มาออกอากาศผ่านช่องทาง AIS Play และ AIS Play เป็นไฮไลต์ โดย HBO นั้นมีรายการระดับแม่เหล็กที่กำลังโด่งดัง อย่าง “Game of Thrones” ซีรีส์จากอเมริกา มาเป็นจุดขายสำคัญในขณะนี้

โดยล่าสุดเอไอเอสเพิ่งแถลงเปิดตัว Game of Thrones season 7 ออกอากาศครั้งแรก 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในช่อง HBO HD บนสองช่องทางคือ ผ่านแอป AIS Play กับแพ็กเกจ Premier Full HD และบนทีวีผ่านกล่อง AIS PLAYBOX กับแพ็กเกจ Platinum Full HD ที่สำคัญ มีให้เลือกดูทั้งซับไทยและพากย์ไทย ไม่เท่านั้น ดารานักแสดงชั้นนำของไทย เช่น มาริโอ้ เมาเร่อ, บี น้ำทิพย์, ตู่ นันทิดา แก้วบัวสาย พร้อมโปรฯ พิเศษ ให้ลูกค้า AIS ดูฟรี 1 เดือนจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้

งานนี้เลยทำเอาค่ายทรูต้องเร่งลงมือปรับแอปพลิเคชั่น TrueID โฉมใหม่ สู้ศึก AIS Play จากเดิมที่กลุ่มทรูเคยมี TrueTV box ที่เป็นกล่องสำหรับการดูคอนเทนต์เหล่านี้ผ่านอินเทอร์เน็ต ให้สามารถเชื่อมต่อดูผ่านสมาร์ททีวี เช่นเดียวกับ AIS Play Box ของเอไอเอส

ขณะเดียวกันก็ใช้ความ “หลากหลาย” ของคอนเทนต์มาเป็นจุดขาย โดยนำเอาคอนเทนต์จาก “ทรูวิชั่นส์” มาใช้ เพลง หนัง กีฬา การถ่ายทอดฟุตบอล รายการข่าว ท่องเที่ยว อาหาร เกม และยังต้องสร้างไฮไลต์ด้วยการนำหนังฮอลลีวู้ดแบบชนโรง ระดับบล็อกบลัสเตอร์จำนวน 5 เรื่องต่อเดือน เพื่อสู้กับ” Game of Thrones” ของเอไอเอส

ทรู ได้ใช้ฐานลูกค้าทรูมูฟเอชมาต่อยอดให้กับบริการ TrueID เจริญ ลิ่มกังวาฬมงคล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่ม ด้านการพาณิชย์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทรูมูฟเอชได้ออกแพ็กเกจใหม่ ลูกค้าได้ดู TrueID ฟรีตลอดปี ด้วยแพ็กเกจใหม่ 4G+ FUN unlimited ราคาเริ่มต้น 699 – 1,899 บาทต่อเดือน และลูกค้าแบบเติมเงิน เปิดซิมใหม่ Super Fun ราคา 49 บาท ใช้บริกาแอปพลิเคชั่น TrueID Premium HD ฟรีนาน 12 เดือน ส่วนลูกค้ากลุ่มทรูรับสิทธิ์ใช้บริการ TrueID ฟรี 12 เดือน (3 เดือนแรกเป็น Premium HD)

สรรเสริญ สมัยสุต กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู ดิจิตอล แอนด์ มีเดีย แพลตฟอร์ม จำกัด กล่าวว่า เริ่มทำ TrueID แพลตฟอร์ม ก็เพื่อต้องการให้คนได้ดูคอนเทนต์ดีๆ ถูกลิขสิทธิ์ ในราคาไม่แพง โดยจะเปิดให้ผู้ใช้อทุกเครือข่ายสามารถโหลดดูฟรีในหนึ่งเดือนแรก

โดยจุดแข็งของ TrueID จะอยู่ที่ กีฬา โดยเฉพาะฟุตบอล มี 7 ลีก 5 ถ้วย รวมทั้งหนังใหม่ที่เพิ่งออกโรง โดยหนัง Hollywood ทั้งหมดจะถูกบรรจุในแอปนี้กว่า 3,000  เรื่อง จากทรูวิชั่นส์ และอื่นๆ จากทั้งฟรีทีวีและทีวีดาวเทียมจำนวน 87 ช่อง หากเป็นลูกค้ากลุ่มทรูจะมีสิทธิพิเศษมากขึ้น รับชมได้มากกว่าลูกค้าจากมือถือค่ายอื่นๆ และพวกสิทธิพิเศษจาก True You ให้ด้วย

นอกจากนี้ ค่ายทรูได้ไปดึงเอา เจ้านาย-จินเจษฎ์ วรรธนะสิน” หนึ่งในปรากฏการณ์ “#สะใภ้มโน” ที่เพิ่งออกซิงเกิลแรก “คนละชั้น” ในสังกัดค่ายเพลง เจมีดี (Jaymidi) ของพ่อเจ-เจตริน วรรธนะสิน เมื่อ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา จนถึงวันนี้มียอดวิวกว่า 24 ล้านรายแล้ว มาเป็น “Brand Ambasdor” คนล่าสุดให้กับ True ID เพราะมองว่าเป็นฐานแฟนของเจ้านาย กลุ่มเดียวกันกับผู้ใช้ True ID คือเป็นวัยรุ่น ที่ดูคอนเทนต์ผ่านมือถือ

โดยเจ้านายจะผลิตคอนเทนต์ เช่น มิวสิกวิดีโอ เพลง “คนละชั้น” ที่เป็นเวอร์ชั่นพิเศษ ตลอดจนความเคลื่อนไหวต่างๆ ให้กับผู้ใช้แอป True ID ได้รับชมเท่านั้น

นอกจาก “เจ้านาย” แล้ว TrueID ยังมีพรีเซ็นเตอร์ที่เป็นคนดังรุ่นใหม่อีก 4 คน เพื่อเป็นตัวแทนของไลฟ์สไตล์ของคอนเทนต์แต่ละประเภท ตั้งแต่ “เจเจ” กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม จากกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบรับชม  LIVE TV และสิทธิพิเศษ, น้องออกแบบ-ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุข นักแสดงดังจากฉลาดเกมโกง เป็นตัวแทนกลุ่มภาพยนตร์, ไอซ์ซึ-ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ ตัวแทนกลุ่มที่ชื่นชอบกีฬา และ “มิ้นท์” ภัทรศยา ยงรัตนมงคล ตัวแทนกลุ่มเพลง

เรียกว่า ทั้งเอไอเอส และทรู จึงต้องแข่งกันทั้งคอนเทนต์ และพรีเซ็นเตอร์ คนดังรุ่นใหม่ ที่มีฐานแฟนคลับจำนวนมาก เพื่อสร้างการรับรู้ และต่อยอดไปถึง “คอนเทนต์” และฐานลูกค้า ชนิดที่ไม่มีใครยอมใคร

เทียบฟอร์ม 2 สามีแห่งชาติ

“เจ้านาย” เด็กหนุ่มวัย 16 ลูกชายคนโตของนักร้องชื่อดัง “เจ” เจตริน วรรธนะสิน หนึ่งในปรากฏการณ์ “#สะใภ้มโน” จากลูกชายทั้งสามคนของพ่อเจ เป็นศิลปินนักร้องหน้าใหม่มาแรงที่สุดคนหนึ่ง ที่เพิ่งออกซิงเกิลแรก “คนละชั้น” ในสังกัดค่ายเพลง เจมีดี (Jaymidi) ของพ่อเจ ที่ได้ลูกชายคนโต เป็นนักร้องคนแรก เมื่อ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา จนถึงวันนี้มียอดวิวกว่า 24 ล้านรายแล้ว

เพลง “คนละชั้น” ซึ่งป็นเพลงแนวป๊อป R&B ยังได้ศิลปินเสียงดีเจ้าของแชมป์ The Mask Singer ซีซั่นที่ 1 “ทอม Room 39” ที่เป็นหนึ่งในพรีเซ็นเตอร์ของ AIS มาดูแลเบื้องหลังของการทำเพลงนี้

ความสำเร็จของเจ้านาย นอกจากรูปร่างหน้าตา ความหล่อเหลา ความสามารถในด้านต่างๆ ทั้งร้องเพลง ดนตรี เล่นกีฬา ที่ได้แรงหนุนมาจากพ่อเจ และแม่ปิ่น บวกกับการสั่งสมฐานแฟนคลับ จากทีมสะใภ้มโนทั้งหลาย ที่เป็นแรงเชียร์สำคัญที่ทำให้ยอดวิวพุ่งไปสู่เส้นชัย

แต่ถึงแม้ว่าจะถูกจับผิดว่าทั้งเพลง ทั้งมิวสิกวิดีโอ ช่างละม้ายคล้ายกับเพลง I’ll Show You ของ จัสติน บีเบอร์ ราวกับแกะ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถูกขนานนามว่าเป็น “จัสติ บีเบอร์เมืองไทย” เพราะนอกจากมิวสิกวิดีโอ และโมเดลการทำธุรกิจก็ใกล้เคียงกัน

ในขณะที่ “เป๊ก”ผลิตโชค” โด่งดังมาจาก หน้ากากจิงโจ้ ในรายการ The Mask Singer ซีซั่นแรก แถมยังสร้างความดังได้ต่อเนื่อง มีงานเข้ามาไม่ขาดสาย มีความปังระดับขีดสุด มีแฟนคลับ pfc ติดตามมากมาย ทั้งเหนียวแน่นและเป็นระบบ ดีกรีไม่แพ้บรรดาโอปป้า เค-ป๊อปคนดังเลย ยังถูกขนานนามว่าเป็น สามีแห่งชาติ ของบรรดาแฟนคลับที่ตั้งตัวเป็นเมีย แถมยังต่อยอดถูกเรียกให้เป็น “คุณหลวง” มีเรือนผลิตโชค จนเป็นที่มา แฮชแท็ก #เรือนต่างๆ ในทวิตเตอร์ ทุกครั้งที่ไปออกอีเวนต์ เป๊กยังสร้างปรากฏการณ์ห้างแตก คิวเดินสายคอนเสิร์ตแน่นไปจนถึงปีหน้า ล่าสุดเพิ่งออกซิงเกิลใหม่ “โทษทีเอาแต่ใจ” มียอดวิวมากกว่า 2 ล้านวิว จากการเปิดตัวไปเมื่อ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา 

ด้วยความดัง ที่มีแฟนคลับมากมายของเป๊ก ผลิตโชค ทำให้ค่ายเอไอเอสคว้าตัวไปเป็น “พรีเซ็นเตอร์” คู่กับ ทอม room 39 ให้กับบริการ AIS Play บริการ OTT  ที่เอไอเอสกำลังเร่งเครื่องอย่างหนักในการสร้างฐานลูกค้า ให้บนแอป AIS PLAY และ กล่อง AIS PLAYBOX โดยมีการผลิต “คลิป” ให้กับเอไอเอส จนถึงกับมีกระแสแฟนคลับยอมย้ายค่ายกันเลยทีเดียว

ทั้งสองคนจึงเป็นตัวแทนกลุ่มคนรุ่นใหม่ในโลกออนไลน์ ที่ต่างคนต่างมีฐานแฟนคลับเหนียวแน่น “เจ้านาย” มีคนตามไอจีอยู่ 1.3 ล้านราย  facebook 201,828 ราย แถมยังมีฐานแฟนคลับจากพ่อเจ เป็นแรงหนุนอีกจำนวนมาก

ส่วนเป๊ก มียอดคนตามไอจีอยู่ที่ 1 ล้ายราย facebook 840,634 ราย ทวิตเตอร์ 421,400 เรียกได้ว่าสูสี กินกันไม่ลงทีเดียว

]]>
1133625