UPS – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 04 Dec 2023 07:38:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยักษ์ใหญ่บริษัทขนส่งในสหรัฐฯ หลังจากนี้ไม่ใช่ UPS หรือ FedEx อีกต่อไป แต่เป็น Amazon ที่แซงหน้า 2 เจ้านี้ไปแล้ว https://positioningmag.com/1454255 Mon, 04 Dec 2023 06:33:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454255 Amazon ยักษ์ใหญ่ E-commerce ในสหรัฐอเมริกา เตรียมขึ้นเป็นผู้เล่นยักษ์ใหญ่ด้านการขนส่งพัสดุ หลังจากตัวเลขปริมาณการส่งพัสดุสินค้าในแดนมะกันแซงหน้าบริษัทขนส่งในสหรัฐฯ รายใหญ่อย่าง UPS หรือ FedEx ไปแล้ว และบริษัทยังเตรียมนำโมเดลดังกล่าวขยายออกนอกประเทศด้วย

ข้อมูลล่าสุดในปี 2022 ที่ผ่านมา Amazon ได้จัดส่งพัสดุไปแล้วในสหรัฐอเมริกามากถึง 5,200 ล้านชิ้น ทำให้ล่าสุดบริษัทมีปริมาณมีปริมาณพัสดุในสหรัฐอเมริกาแซงหน้าผู้เล่นรายสำคัญอย่าง FedEx หรือแม้แต่ UPS ไปแล้ว ซึ่ง 2 ผู้เล่นรายดังกล่าวนั้นปริมาณขนส่งพัสดุในแดนมะกันแทบไม่เติบโตด้วยซ้ำ

ปัจจุบัน Amazon มีปริมาณพัสดุในสหรัฐอเมริกาแซงหน้า FedEx ยักษ์ใหญ่ขนส่งแดนมะกันไปเมื่อปี 2020 ที่ 3,300 ล้านชิ้น ก่อนที่จะแซงหน้า UPS ยักษ์ใหญ่ขนส่งอีกรายไปในปีนี้ เนื่องจากบริษัทคาดการณ์ว่าปริมาณขนส่งพัสดุจะไม่เกินสถิติที่บริษัททำได้ที่ 5,300 ล้านชิ้น คาดว่าในปี 2023 นี้ Amazon จะมีปริมาณพัสดุขนส่งผ่านบริษัทมากถึง 5,900 ล้านชิ้น

คำถามคือ ทำไมปริมาณพัสดุของ Amazon นั้นกลับเพิ่มขึ้น คำตอบหนึ่งคือ เครือข่ายขนส่งพัสดุของ Amazon ยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นทันตาเห็นจากนโยบายของบริษัทในปี 2018 ที่ไฟเขียวให้ผู้สนใจสามารถซื้อแฟรนไชส์และนำไปตั้งสาขาส่งพัสดุตามเมืองเล็กๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาได้ด้วยเม็ดเงินแค่ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

ถ้าหากผู้เล่นรายใดมีเครือข่ายขนส่งที่ทรงประสิทธิภาพแล้ว ลูกค้าเองก็อยากใช้งานของบริษัทขนส่งนั้นเพิ่มมากขึ้น แต่สำหรับ Amazon เองแล้วนั้นมีเครือข่าย E-commerce ของตัวเอง ยิ่งเป็นปัจจัยบวกทำให้ลูกค้าทั้งผู้เล่นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่มาขายสินค้าในแพลตฟอร์มมากขึ้น

Photo : Shutterstock

ข้อมูลล่าสุด Amazon มีพนักงานที่เป็นแฟรนไชส์ขนส่งที่ขับรถส่งสินค้ามากถึง 200,000 คน ส่งผลทำให้เครือข่ายขนส่งของบริษัทมีเพิ่มมากขึ้นทันตาเห็นทันที

Brian Olsavsky ซึ่งเป็น CFO ของบริษัทกล่าวว่า การขยายโปรแกรมแฟรนไชส์ของบริษัททำให้ระยะเวลาการส่งสินค้าของบริษัทลดลง ทำให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้ไวขึ้น และยังเพิ่มกำไรให้กับบริษัทด้วย

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น Amazon เองยังเคยเป็นลูกค้ารายใหญ่ของ FedEx และ UPS มาแล้ว ก่อนที่บริษัทจะขยายเครือข่ายขนส่งเป็นของตัวเอง เนื่องจากปริมาณสินค้านั้นคุ้มค่ากับการลงทุนของบริษัทแล้ว

แม้ว่าในปีนี้คาดว่าปริมาณพัสดุในภาพรวมของสหรัฐอเมริกาจะลดน้อยลงจากเรื่องการจับจ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตช้าลง จากผลของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีสำหรับปริมาณพัสดุในสหรัฐอเมริกานั้น Amazon ยังตามหลัง USPS อยู่ (ซึ่งเทียบบริการได้กับไปรษณีย์ไทย) ซึ่ง UPS และ FedEx ได้ใช้บริการ USPS ในการส่งพัสดุ ถ้าหากเครือข่ายของบริษัทไม่มีในปลายทาง แตกต่างกับ Amazon ที่มีเครือข่ายของบริษัทอยู่ทั่วสหรัฐอเมริกาแล้ว

นอกจากนี้ถ้าหากโมเดลโปรแกรมแฟรนไชส์ของ Amazon ในสหรัฐอเมริกาได้ผลดีมากแล้ว บริษัทเตรียมนำโมเดลธุรกิจดังกล่าวมาใช้ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย ที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทอีกแห่ง

ที่มา – Fox Business, Daily Mail, Logistics Insider

]]>
1454255
นักช้อปออนไลน์ยอมสั่งซื้อสินค้าเพิ่มแลกค่าส่งฟรี ค้นหาข้อมูล “ราคา” มากที่สุด https://positioningmag.com/1241295 Sun, 04 Aug 2019 03:30:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241295 ผลการศึกษา UPS Pulse of the Online Shopper ของ “ยูพีเอส” ปี 2019 ซึ่งจัดทำเป็นปีที่ 7 ในออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และในอีก 11 ตลาด กว่า 18,000 คนทั่วโลก สำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค เพื่อตามติดแนวโน้มและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าอีคอมเมิร์ซ

การสำรวจพบว่า 90% ของผู้บริโภคทั่วโลก “ค้นหาข้อมูล” เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ก่อนสั่งซื้อ แม้ว่าข้อมูลที่ผู้ซื้อทั่วโลกค้นหามากที่สุดคือ “ราคา” แต่เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างภูมิภาคแล้ว ราคาเป็นประเด็นที่สำคัญน้อยกว่าสำหรับผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกซึ่งอยู่ที่ 74% ขณะที่ในอเมริกาและยุโรปอยู่ที่ 81% ทั้งคู่

การตรวจสอบนโยบายการ “รับคืนสินค้า” ของผู้ค้าก็เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนก่อนตัดสินใจซื้อ โดยนักช้อปออนไลน์ 42% ในเอเชียแปซิฟิกมีการตรวจสอบก่อนสั่งซื้อ ซึ่งยืนยันให้เห็นว่าผู้ค้าควรให้ความสำคัญในการแสดงข้อมูลการรับคืนที่ชัดเจนและค้นหาได้ง่าย

นอกจากนั้นผลการศึกษายังระบุว่านักช้อปอาจ “ยกเลิกคำสั่งซื้อ” หากมารู้ในภายหลังว่าผู้ค้าทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยนักช้อปในจีนถึง 77% เคยทำแบบนี้ เช่นเดียวกับในออสเตรเลียที่มี 65% และในฮ่องกงและเกาหลีใต้มี 60%

ขณะเดียวกัน นักช้อปถึง 75% ในเอเชียแปซิฟิกตั้งใจสั่งซื้อจากผู้ค้าในต่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าการช้อปปิ้งออนไลน์ เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และเมื่อการสั่งซื้อจากต่างประเทศมักจะใช้เวลาในการส่งที่นานกว่า ช่วงเวลาที่ผู้ซื้อเต็มใจที่จะรออาจขึ้นอยู่กับว่าสินค้านั้นคืออะไร

ข้อเสนอส่งฟรีกระตุ้นซื้อเพิ่ม

ผู้บริโภคชื่นชอบ “บริการส่งฟรี” เช่นเดียวกับผลการศึกษาในปีที่ผ่านๆ มา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนถึงเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้ซื้อทิ้งตะกร้าสินค้า คือ ค่าส่งที่มีราคาสูง

โดยนักช้อปในเอเชียแปซิฟิกมักพยายามทำให้ค่าส่งลดลง ซึ่ง 37% ยอมซื้อสินค้าเพิ่มเพื่อให้ได้บริการส่งฟรี และ 27% ยอมซื้อผลิตภัณฑ์อื่นที่ราคาสูงขึ้นเพื่อให้ได้บริการส่งฟรี ตัวเลขเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่านักช้อปส่วนใหญ่ยอมจ่ายเพิ่มขึ้นในการสั่งซื้อเพื่อให้ได้ค่าส่งที่ถูกลง

นโยบายรับคืนสินค้าที่ดียังเป็นสิ่งที่ดึงลูกค้าให้กลับมาใช้บริการใหม่ โดยการสำรวจพบว่ามีเพียง 5% ของนักช้อปในเอเชียแปซิฟิกที่รู้สึก “พึงพอใจอย่างมาก” ต่อขั้นตอนการคืน

สาเหตุหลักๆ ของความไม่พอใจจากประสบการณ์ในการคืนสินค้าคือ ความล่าช้าในการรับเงินคืน 32% ต้องเป็นฝ่ายจ่ายค่าส่งสินค้าคืน 31% และความล่าช้าในการรับสินค้าที่ส่งมาแทน 25%

ประสบการณ์ช้อปแย่ “หยุดซื้อ”

นักช้อปพร้อมที่จะบอกเลิกเป็นลูกค้าได้ทันที หากมีประสบการณ์เลวร้ายกับผู้ค้า โดยในเอเชียแปซิฟิก 93% ของผู้บริโภคที่ได้รับบริการแย่ๆ จะหยุดซื้อสินค้าจากผู้ค้ารายนั้น หรือลดความถี่ในการซื้อลง

การศึกษาพบว่ามีเพียง 36% ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก ที่ต้องการรับสินค้าด้วยตัวเองที่บ้าน เมื่อเทียบกับยุโรปที่มีถึง 62% ขณะที่ 19% พอใจที่จะให้สินค้ามาส่งไว้ที่หน้าบ้าน และการกำหนดวันรับสินค้าได้คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด

รัสเซล รี้ด กรรมการผู้จัดการ ยูพีเอส ประเทศไทยและเวียดนาม กล่าวว่า “อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของไทยคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2018 เป็น 13,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2025 จากปริมาณการค้าข้ามพรมแดนและการเติบโตของสินค้าที่ขายผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทยเอง”

]]>
1241295
ยุคทอง FedEx และ UPS? เมื่อชาวออนไลน์แห่คืน “ของขวัญที่ไม่ต้องการ” https://positioningmag.com/1151999 Thu, 28 Dec 2017 03:41:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151999 ต้องบอกว่าเป็นอีกแง่มุมของวงการค้าปลีกออนไลน์ที่ไม่ค่อยมีการเปิดเผยนัก สำหรับสถิติการส่งคืนสินค้าที่คลิกสั่งซื้อมาแล้วไม่ถูกใจลูกค้า ล่าสุดบริษัทจัดส่งพัสดุอย่าง FedEx ประเมินแล้วว่า สินค้ากว่า 15% ที่ถูกซื้อขายออนไลน์นั้นมีการส่งคืน คาดว่ามูลค่าสินค้าที่มีการส่งคืนเฉพาะช่วงเทศกาลหยุดยาวทั่วโลกจะแตะระดับ 9 หมื่นล้านเหรียญหรือประมาณ 2.9 ล้านล้านบาท

ร้านค้าปลีกออนไลน์วันนี้ใช้วิธีเปิดเสรีให้ลูกค้าส่งคืนสินค้าที่ไม่ถูกใจได้ตามต้องการในวันที่กำหนด ความจริงนี้ทำให้บริษัทชิปปิ้งอย่าง FedEx และ UPS ได้รับอานิสงส์จนสามารถทำเงินจากธุรกิจรับส่งคืนสินค้า e-commerce ได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลหยุดยาวปลายปี 2017

เบื้องต้น ข้อมูลจากบริษัท Optoro ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการเฉพาะทางแก่ธุรกิจจัดส่งสินค้าคืน ระบุว่าผู้บริโภคทั่วโลกจะส่งคืนสินค้ากลับสู่ผู้ค้าคิดเป็นมูลค่าสินค้าราว 9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตัวเลขนี้ถือว่าใกล้เคียงกับมูลค่าสินค้ารวมตลอดไตรมาสที่ถูกส่งคินในแต่ละปี 

จุดนี้ Optoro ย้ำว่ามูลค่ารวมของสินค้าที่ถูกส่งคืนในแต่ละปีนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคหันมาสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น

แน่นอนว่าบริษัทจัดส่งพัสดุอย่าง FedEx และ UPS ต่างพยายามครองส่วนแบ่งในธุรกิจส่งคืนสินค้าให้มากขึ้น โดยพยายามร่วมมือกับผู้ค้าที่ต้องเผชิญกับลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าภายใต้นโยบายรับคืนสินค้าแบบใจกว้างและดำเนินการง่าย

เรื่องนี้ Trevor Outman ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริษัท Shipware ที่ปรึกษาด้านบริการขนส่งสินค้า อธิบายว่า การส่งคืนสินค้านั้นถือเป็นความท้าทายหลักสำหรับผู้ค้าปลีกในวันนี้ เนื่องจากต้นทุนที่ต้องเสียให้กับการส่งคืนสินค้านั้นเพิ่มมากขึ้นตามอัตราการเติบโตของวงการ e-commerce ผลคือผู้ค้าออนไลน์กำลังเร่งพยายามลดต้นทุนการ shipping โดยแนะนำว่าหนึ่งในวิธีที่สามารถลดค่าจัดส่งสินค้าได้คือการลดพื้นที่สิ้นเปลืองในกล่อง เพราะกล่องสินค้าที่ใหญ่เกินไปจะทำให้ราคาค่าส่งเพิ่มตามไปด้วย

ด้าน Bruce Cohen หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ค้าปลีก ของบริษัทที่ปรึกษา Kurt Salmon ในเครือ Accenture ระบุว่าการเปิดให้ลูกค้าคืนสินค้ากลายเป็นเครื่องมือสำหรับการแข่งขันในวงการค้าปลีกยุคนี้ ซึ่งหากลูกค้าพบว่าการส่งคืนสินค้าของร้านใดไม่สะดวก ทุกคนก็จะเปลี่ยนไปใช้บริการร้านค้าอื่น

อย่างไรก็ตาม การสำรวจนักช็อปอเมริกันพบว่า ในขณะที่หลายคนคลิกซื้อสินค้าออนไลน์ แต่ส่วนใหญ่เลือกที่จะเดินทางไปคืนสินค้าที่ร้าน เรื่องนี้ Raj Subramaniam หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ FedEx เผยในงานประชุมนักลงทุนของบริษัทเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยประเมินว่าสินค้าราว 15% ที่มีการส่งคืน อัตราการส่งสินค้าขาไปและกลับทำให้บริษัทขนส่งอย่าง FedEx และ UPS เห็นโอกาส และเริ่มสร้างจุดให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ให้ส่งคืนสินค้าง่ายขึ้น

ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Kohl’s ที่จะเริ่มเปิดจุดรับคืนสินค้าที่โชว์รูมของบริษัท เพื่อให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าจาก Amazon มีทางคืนสินค้าได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบัน FedEx มีจุดบริการรับและส่ง (pick-up and drop-off location) สินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายสาขา รวมถึงในร้านขายยา และอีกหลายสถานที่ในย่านธุรกิจเพื่อต่อยอดธุรกิจรับคืนสินค้า สถิติล่าสุดคือ FedEx ปูพรมตั้งศูนย์บริการมากกว่า 7,500 แห่งในร้าน Walgreens รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ต Kroger และ Albertson’s บางสาขา

ขณะที่ UPS เดินเส้นทางต่างออกไปจาก FedEx โดยไม่เพียงจะหวังรายได้จากธุรกิจส่งคืนสินค้าเท่านั้น แต่ยังพยายามแทรกตัวเข้าไปในวงจรการส่งคืนสินค้าที่ถูกคืนมาเข้าสู่ช่องทางที่อาจขายต่อได้ หมากตานี้ดูดีเพราะ UPS ลุยเครือข่าย Access Point ซึ่งมีจุดให้บริการมากกว่า 27,000 สาขาในย่านธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่ร้านซักแห้งยันร้านขายฮาร์ดแวร์วัสดุก่อสร้าง

เบื้องต้น UPS ให้ข้อมูลว่าในปี 2017 ที่ผ่านมา มีพัสดุ 5.8 ล้านชิ้นถูกส่งกลับไปที่ผู้ค้าปลีกในช่วงสัปดาห์แรกของมกราคม 2017 คาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2018

ผลคือมกราคมถือว่าเป็น “peak of return” หรือช่วงเวลาที่มีการส่งคืนสินค้ามากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 51% ของการส่งคืนสินค้าทั้งหมด โดยข้อมูลจาก Optoro ชี้ว่ามีผู้บริโภคในสหรัฐฯส่วนใหญ่ยอมเสียเวลาส่งคืนของขวัญที่ไม่ต้องการช่วงหลังคริสต์มาส ทำให้การส่งคืนสินค้าช่วงวันที่ 26-31 ธันวาคมปีที่แล้ว คิดเป็น 40% ของสินค้าที่ถูกส่งคืนทั้งหมด

เทรนด์ที่ไปรษณีย์ไทยอาจเริ่มต้นศึกษาในวันนี้ คือความเข้าใจเรื่องการตั้งจุดให้บริการรับและส่งสินค้าว่าเป็นผลดีทั้งตัวธุรกิจและผู้บริโภค การตั้งศูนย์ลักษณะนี้ประหยัดต้นทุนได้ทั้งในแง่เชื้อเพลิงและแรงงาน สินค้าหลายชิ้นสามารถถูกรับไปได้จากจุดให้บริการจุดเดียว ถือว่าคุ้มค่ามากกว่าการส่งสินค้าไปกลับจากหน้าประตู door-to-door อย่างที่เป็นในเอเชีย

ความจริงนี้อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ Kerry น้องใหม่มาแรงในตลาด shipping เมืองไทยเริ่มเปิดสาขาเป็นดอกเห็ดในหลายย่านการค้าด้วย.

ที่มาcnbc.com/2017/12/26/christmas-and-holiday-gift-returns-are-great-for-fedex-and-ups.html

]]>
1151999
“เอพีซี” ชูกลยุทธ์ “กรีน มาร์เก็ตติ้ง” เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “Green UPS Pro 550” https://positioningmag.com/53422 Mon, 18 Oct 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=53422

ครั้งแรกของเมืองไทยกับนวัตกรรมประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บุกตลาดเครื่องสำรองไฟฟ้าไตรมาสสุดท้ายอย่างเต็มรูปแบบ

มร. โลว ไค ชิน (กลาง) รองประธานธุรกิจไอทีประจำประเทศไทย บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซีพีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำธุรกิจด้านพลังงานสำรองฉุกเฉินและระบบควบคุมความเย็นของเมืองไทย ชูกลยุทธ์ “กรีน มาร์เก็ตติ้ง” สานต่อแนวคิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รุกตลาดเครื่องสำรองไฟฟ้าไตรมาสสุดท้ายเต็มรูปแบบ ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ระดับไฮ-เอนด์ใหม่ “Green Back-UPS Pro 550” ครั้งแรกของเมืองไทยกับสุดยอดนวัตกรรมเครื่องสำรองไฟฟ้า ที่ได้รับการออกแบบเพื่อป้องกันปัญหาความยุ่งยากและความเสียหายของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าดับ ไฟตก ไฟกระชาก โดดเด่นด้วยหน้าจอแอลซีดีที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีอุปกรณ์ปรับกำลังไฟฟ้าอัตโนมัติ (AVR) ช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ พร้อมฟังก์ชั่นการทำงานที่ล้ำสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 30% เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโดยเฉพาะกลุ่มโฮมออฟฟิศและธุรกิจสำนักงาน ณ อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล เมื่อเร็วๆ นี้

]]>
53422
เอพีซีตั้ง “ทีเอส คู” นั่งเก้าอี้รองประธานดูแลภูมิภาคอาเซียน https://positioningmag.com/46838 Tue, 17 Mar 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46838

เมื่อเร็วๆ นี้ อเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) ในเครือของชไนเดอร์ อิเล็กทริก ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานสำรองฉุกเฉินและระบบควบคุมความเย็นแบบครบวงจรระดับโลกประกาศวันนี้ว่า บริษัทได้แต่งตั้ง คู เต็ง ซีน (ทีเอส คู) ให้นั่งตำแหน่งรองประธานประจำภูมิภาคอาเซียน

โดยภายใต้บทบาทใหม่นี้ คู เต็ง ซีน หรือ ทีเอส คู จะรับผิดชอบด้านการวางกลยุทธ์ธุรกิจในอาเซียน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเอพีซีในสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนามและประเทศไทย จะยังคงมุ่งเน้นในส่วนของลูกค้าและพันธมิตร ที่เป็นคู่ค้าทางธุรกิจเป็นหลัก คู เต็ง ซีน ยังจะเป็นผู้นำทีมในการพัฒนากระบวนการที่ให้ความสำคัญกับลูกค้า การนำเสนอโซลูชันด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพในเชิงสร้างสรรค์ในห้องศูนย์ข้อมูล และการสร้างความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชไนเดอร์ อิเล็กทริก โดยก่อนหน้านี้ คู เต็ง ซีนดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายการบริการประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกและญี่ปุ่น

ทีเอส คู ได้เข้าร่วมงานกับเอพีซีในเดือนพฤษภาคม 2549 โดยได้พกพาประสบการณ์ที่มีในแวดวงอุตสาหกรรมด้านไอทีถึง 17 ปีเต็ม และประสบการณ์อีกกว่า 10 ปีในการจัดการด้านการบริการระดับภูมิภาคทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยในครั้งแรกคู เต็ง ซีนได้นั่งเก้าอี้ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการบริการ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และต่อมาได้ก้าวขึ้นเป็นรองประธานฝ่ายการบริการประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกและญี่ปุ่น ก่อนที่จะสวมบทบาทรองประธานประจำภูมิภาคอาเซียนในเดือนตุลาคม ปี 2008 โดยตลอดอายุการทำงาน คู เต็งซีนได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการสร้าง พัฒนา และปรับปรุงธุรกิจด้านการบริการ

ทีเอส คู กล่าวว่า“ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวชไนเดอร์ อิเล็กทริก เราเปี่ยมด้วยประสบการณ์ในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรม ตั้งแต่ด้านพลังงานไปจนถึงระบบควบคุมความเย็น ตู้แร็ค และระบบรักษาความปลอดภัย และเรายังมีความแตกต่างที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งก็คือ ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรและการบริการ ซึ่งจะช่วยบริษัทต่างๆ ในการเพิ่มความพร้อมในการทำงาน และความน่าเชื่อถือในระบบไอที ด้วยการทุ่มทุนอย่างมากในการวิจัยและพัฒนาโซลูชันด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับห้องศูนย์ข้อมูล เอพีซีสามารถทำให้ลูกค้าของเราได้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทางธุรกิจและผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างแท้จริง”

“ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นผู้นำทีมในอาเซียนในการทำงานร่วมกับลูกค้าของเรา ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือ เพื่อช่วยลูกค้าของเราในการสร้างพลังงานให้มีประสิทธิภาพและมีคุณค่ามากที่สุด”ทีเอส คูกล่าวเสริม

เกี่ยวกับเอพีซี ในเครือของชไนเดอร์ อิเล็กทริก
เอพีซี ผู้นำธุรกิจและบริการด้านพลังงานสำรองฉุกเฉิน และระบบควบคุมความเย็นแบบครบวงจรระดับโลก ในเครือของชไนเดอร์ อิเล็กทริก นำเสนอผลิตภัณฑ์ชั้นนำต่างๆ ซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นคุ้มครองและป้องกันการเสียหายของข้อมูล รวมทั้งการเสียหายของฮาร์ดแวร์และการหยุดชะงักของระบบงานให้แก่ตลาดอุตสาหกรรม ศูนย์ข้อมูล องค์กร ธุรกิจตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง จนถึงผู้ใช้งานตามบ้าน ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่ง ประสบการณ์ระดับโลกและเครือข่ายทึ่ครอบคลุมมากกว่า ในบริการด้านพลังงานสำรองฉุกเฉินและระบบควบคุมความเย็นของชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เอพีซี และ เอ็มจีอี ยูพีเอส ซิสเต็มส์ ได้ผนวกกันเมื่อปี พ.ศ. 2550 เพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจและบริการด้านพลังงานสำรองฉุกเฉิน และระบบควบคุมความเย็นในเครือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยเอพีซี และเอ็มจีอี มียอดจำหน่ายทั่วโลกในปี 2551 ถึง 2.6 พันล้านยูโร (รวมรายได้จาก APC-MGE ที่ 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และมีพนักงาน 12,000 คนทั่วโลก

โซลูชั่นของเอพีซี ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า หรือ uninterruptible power supplies (UPS) ระบบทำความเย็นภายในตู้แร็ค (precision cooling units) ผลิตภัณฑ์ตู้แร็ค (racks) การบริการออกแบบวางระบบ และซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการภายในห้องศูนย์ข้อมูล รวมถึงเอพีซี InfraStruXure? โซลูชั่นที่ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการด้านอุตสาหกรรม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีพนักงาน 114,000 คนทั่วโลก ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ใน 100 ประเทศ มียอดจำหน่ายรวมทั่วโลกในปี พ.ศ. 2551 ที่ 18.3 พันล้านยูโร รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอพีซี สามารถเข้าชมได้ที่ www.apc.com

]]>
46838
เอพีซีเยี่ยมสื่อมวลชน ปูพรมคอนเซ็ปต์ “APC makes the most of your energy” https://positioningmag.com/46345 Fri, 20 Feb 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46345

ในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ของปีนี้ที่ผ่านมา ตัวแทนจากอเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) ในเครือของชไนเดอร์ อิเล็กทริก ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานสำรองฉุกเฉินและระบบควบคุมความเย็นแบบครบวงจรระดับโลก ได้เข้าเยี่ยมสวัสดีสื่อมวลชนพร้อมมอบช็อคโกแลตตัวแทนคอนเซ็ปต์ APC makes the most of your energy ในฐานะที่เอพีซีเป็นผู้ริเริ่มนำเสนอโซลูชั่นสำหรับการบริหารพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ในภาพ: คุณสมพงษ์ คัมภีริชยา (ขวามือ) ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของเอพีซี ประเทศไทย มอบช็อคโกแลตพร้อมของที่ระลึกให้กับคุณสกลกรย์ สระกวี ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร บริษัทเทลคอม เจอร์นัล จำกัด หนึ่งในสื่อมวลชนที่เอพีซีได้เข้าเยี่ยมครั้งนี้

]]>
46345
เอพีซีได้ฤกษ์เปิดตัว UPS รุ่นใหม่ MGE Galaxy 7000 https://positioningmag.com/45694 Thu, 22 Jan 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=45694

อเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) ในเครือของชไนเดอร์ อิเล็กทริก ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานสำรองฉุกเฉินและระบบควบคุมความเย็นแบบครบวงจรระดับโลก ประกาศเปิดตัว MGE Galaxy 7000? เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า (UPS) ประสิทธิภาพสูงรุ่นใหม่ ป้องกันความเสียหายทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ด้านไอทีและอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจ โดดเด่นด้วยการออกแบบระบบดิจิตัลควบคู่กับอุปกรณ์เสริมที่ครอบคลุมหลากหลาย สามารถปรับใช้งานกับ UPS รุ่นใหม่อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในดาต้า เซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ จนถึงการใช้งานด้านการผลิตและภาคอุตสาหกรรม

ในการใช้งานภายในดาต้า เซ็นเตอร์ MGE Galaxy 7000? สามารถสนองความต้องการสภาพพร้อมใช้งานทางไฟฟ้าและช่วงเวลาในการทำงานได้ในระดับสูง โดยใช้พื้นที่ติดตั้งขนาดเล็ก ส่วนในรูปแบบมาตรฐาน เครื่อง UPS รุ่นใหม่ที่ใช้งานแบบเดี่ยวเครื่องนี้สามารถรองรับโหลดไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 250 kVA ถึง 500 kVA และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้นาน 2 ชั่วโมงโดยอิสระหากไฟฟ้าหลักเกิดการขัดข้อง ด้วยขนาดที่กะทัดรัดและสามารถติดตั้งได้ทั้งแบบหันหลังเครื่องชนกันหรือแบบติดผนัง จึงทำให้ห้องเทคนิคที่ติดตั้ง MGE Galaxy 7000? มีพื้นที่เหลือสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ มากกว่าระบบ UPS แบบเดิม นอกจากนี้ ยังสามารถอัพเกรด UPS รุ่นนี้ได้เพื่อความมั่นใจได้ถึงโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมใช้งานและปลอดภัยสำหรับความต้องการใช้งานทั้งในปัจจุบันและอนาคต

มร. โลว์ ไค ชิน ผู้จัดการประจำประเทศไทย ของ เอพีซี เปิดเผยว่า MGE Galaxy 7000? มอบสมรรถนะการทำงานขั้นสูงถึง 94.5% ในโหมด double conversion (สูงสุดถึง 97% ในโหมดประหยัดพลังงาน) จึงช่วยให้ลูกค้าสามารถลดการสูญเสียพลังงานและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้อย่างดีเยี่ยม MGE Galaxy 7000? จึงเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับองค์กรที่ใส่ใจต่อโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าแบบ “อนุรักษ์พลังงาน” รวมทั้งองค์กรที่คำนึงถึงการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย

คุณลักษณะที่เป็นมาตรฐานของเครื่อง UPS รุ่นนี้ประกอบด้วยแบบโครงสร้าง UPS แบบใหม่เฉพาะ ที่ไม่ใช้หม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมกับสแททิคสวิตช์เพื่อการบำรุงรักษาในตัว รวมถึงเครื่องปรับกระแสสลับให้เป็นกระแสตรง IGBT ที่มีการแก้ไขค่าแฟกเตอร์กำลังสำหรับค่าความเพี้ยนแบบฮาร์โมนิคโดยรวมของกระแสไฟฟ้าขาเข้าที่มีค่าต่ำ นอกจากนี้ MGE Galaxy 7000? ยังมีคุณลักษณะของการเปิดเครื่องแบบ cold start และ soft start เครื่องประจุไฟฟ้าแบบ walk-in และไม่ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าสูงชั่วขณะเพื่อการใช้งานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ ส่วนชดเชยหรือทดแทนพลังงานเพื่อสำรองของระบบทำความเย็นภายในเครื่องยังช่วยสร้างเสถียรภาพของระบบในระดับสูงอีกด้วย UPS เครื่องใหม่นี้ยังสนับสนุนการทำงานแบบขนานส่วนจำเพาะสำหรับการเพิ่มความสามารถทางด้านไฟฟ้าของเครื่อง หรือสร้างส่วนที่ชดเชยหรือทดแทนพลังงานเพื่อสำรองเพิ่มเติม และสามารถรวมเข้ากับสถาปัตยกรรมที่มีสภาพพร้อมใช้งานสูงที่หลากหลายได้ โดยที่ค่าแฟกเตอร์กำลังขาออกของอุปกรณ์ที่มีค่าเท่ากับ 0.9 จะให้กำลังไฟฟ้า kW ที่พร้อมใช้งานดีกว่า เพื่อการใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบร่วมกับโหลดไอทีที่ได้รับการแก้ไขค่าแฟกเตอร์กำลังล่าสุดแล้ว

MGE Galaxy 7000? ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา หัวต่อและสวิตช์ทุกตัวจะอยู่รวมกันและสามารถหาได้ง่ายจากทางด้านหน้าของระบบ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องหาชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่แผงด้านข้างหรือด้านหลังในขณะติดตั้งหรือปฏิบัติงาน MGE Galaxy 7000? ยังได้รับการออกแบบให้พร้อมสำหรับการเชื่อมต่อเข้ากับชุดสายดินแบบมาตรฐานทุกชนิด

“คุณสมบัติเด่นโดยรวมของยูพีเอส MGE Galaxy 7000? ได้แก่ การประหยัดค่าไฟและพลังงานได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุดถึง 94.5% โดยประหยัดค่าไฟสูงสุดถึงกว่า 300,000 บาท/ปี สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนกว่า 1-2 ล้านบาท ช่วยลดมลพิษทางไฟฟ้าได้มากกว่า 30% มาพร้อมเทคโนโลยีแห่งอนาคต วงจร PFC rectifier ช่วยสร้างความต่อเนื่องให้แก่ธุรกิจได้อย่างมั่นใจเต็มร้อย Galaxy 7000 คือทุกคำตอบของทุกความต้องการ “ ผู้จัดการประจำประเทศไทย เอพีซี กล่าวเพิ่มเติม

ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าอายุการใช้งานของแบตเตอรี่จะยาวนานและพร้อมใช้งานเสมอ ระบบตรวจสอบอายุการใช้งาน
( Lifecycle Monitoring) ของเครื่อง MGE Galaxy 7000? จึงรวมเอาระบบการตรวจสอบแบตเตอรี่ที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ชนิดดิจิแบต (Digibat) ไว้ด้วย เพื่อใช้ทดสอบระดับแบตเตอรี่โดยอัตโนมัติในช่วงเวลาที่กำหนด โดยไม่จำเป็นต้องปล่อยประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ คุณลักษณะนี้จะให้การประเมินอย่างแท้จริงถึงระดับการสำรองไฟฟ้าที่มีอยู่ รวมถึงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องได้อีกทางหนึ่ง เครื่องรุ่นนี้ยังมี Cellwatch หรือ B2000 ซึ่งเป็นโปรแกรมเสริมที่จะทำการตรวจสอบแบตเตอรี่แต่ละกลุ่มแบบต่อเนื่อง และยังมีระบบเตือนล่วงหน้าให้ระวังการเกิดแบตเตอรี่ขัดข้องโดยใช้เส้นโค้งแสดงแนวโน้ม รวมทั้งการบำรุงรักษาล่วงหน้าเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่อง

ในส่วนความสามารถในการจัดการในระดับสูงสุด MGE Galaxy 7000? จะทำงานร่วมกับเครื่องมือในการจัดการจากระยะไกลของเอพีซีได้อย่างสมบูรณ์แบบ และยังสามารถตรวจสอบและควบคุมได้อย่างง่ายดายจากทุกๆ ที่บนเครือข่าย และนอกเหนือจากอีเทอร์เน็ตแล้ว UPS รุ่นนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับโพรโทคอลการสื่อสารอื่นๆ เช่น J-Bus/Mod-Bus และหน้าสัมผัสรีเลย์ ในส่วนของจอแสดงผลบนแผงด้านหน้าที่มีความชัดสูงพร้อมทั้งอินเทอร์เฟสรูปภาพคน-เครื่องจักรที่สามารถเข้าใจได้ง่าย จึงช่วยสร้างความมั่นใจว่าผู้ใช้จะสามารถจัดการ UPS ได้จากภายในตัวเครื่องด้วยความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

MGE Galaxy 7000? มีวางจำหน่ายแล้วในขณะนี้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MGE Galaxy 7000? สามารถอ่านข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.apc.com หรือที่โทรศัพท์หมายเลข 02 617 5611

เกี่ยวกับเอพีซี
เอพีซี ผู้นำธุรกิจและบริการด้านพลังงานสำรองฉุกเฉิน และระบบควบคุมความเย็นแบบครบวงจรระดับโลก ในเครือของชไนเดอร์ อิเล็กทริก นำเสนอผลิตภัณฑ์ชั้นนำต่างๆ ซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นคุ้มครองและป้องกันการเสียหายของข้อมูล รวมทั้งการเสียหายของฮาร์ดแวร์และการหยุดชะงักของระบบงานให้แก่ตลาดอุตสาหกรรม ศูนย์ข้อมูล องค์กร ธุรกิจตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง จนถึงผู้ใช้งานตามบ้าน ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่ง ประสบการณ์ระดับโลกและเครือข่ายทึ่ครอบคลุมมากกว่า ในบริการด้านพลังงานสำรองฉุกเฉินและระบบควบคุมความเย็นของชไนเดอร์ อิเล็คทริค

โซลูชั่นของเอพีซีที่ได้นำเสนอให้กับลูกค้าได้รับการออกแบบและติดตั้งภายใต้การวางแผนอย่างเป็นระบบ ด้วยประสิทธิภาพการบำรุงรักษาตลอดการใช้งานอย่างไร้ที่ติ ด้วยนวัตกรรมอันเหนือชั้นกว่า เอพีซีนับเป็นผู้นำริเริ่มนำเสนอโซลูชั่นสำหรับการบริหารพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเทคโนโลยีด้านการคุ้มครอง และป้องกันการเสียหายของข้อมูล

เอพีซี และ เอ็มจีอี ยูพีเอส ซิสเต็มส์ ได้ผนวกกันเมื่อปี พ.ศ. 2550 เพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจและบริการด้านพลังงานสำรองฉุกเฉิน และระบบควบคุมความเย็นในเครือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยเอพีซี และเอ็มจีอี มียอดจำหน่ายทั่วโลกในปีที่เดียวกัน รวมกันถึง 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (2.4 พันล้านยูโร) และมีพนักงาน 12,000 คนทั่วโลก โซลูชั่นของเอพีซี ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า (UPS) ระบบทำความเย็นภายในตู้แร็ค ผลิตภัณฑ์ตู้แร็ค การบริการออกแบบวางระบบ และซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการภายในห้องศูนย์ข้อมูล รวมถึงเอพีซี InfraStruXure? โซลูชั่นที่ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการด้านอุตสาหกรรมมากที่สุด ตั้งแต่ระบบไฟฟ้า ระบบทำความเย็น และระบบบริหารจัดการห้องศูนย์ข้อมูลไว้ด้วยกัน พนักงานจำนวน 120,000 คน ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ใน 102 ประเทศ มียอดจำหน่ายรวมทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550 สองหมื่นห้าพันล้านเหรียญสหรัฐฯ (17.3 พันล้านยูโร) รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอพีซี สามารถเข้าชมได้ที่ www.apc.com

]]>
45694
เอพีซีรุกตลาดอินโดจีนอย่างจริงจัง เน้นจัดกิจกรรมเชิงรุกชิงแชร์ยูพีเอส https://positioningmag.com/40497 Mon, 21 Apr 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=40497

เอพีซี เล็งเห็นศักยภาพตลาดประเทศเพื่อนบ้าน เผยแผนรุกตลาดอินโดจีนเต็มสูบ ทั้งพม่า ลาว และกัมพูชา โดยเน้นจัดกิจกรรมประเภทสัมมนาให้ความรู้ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ให้กับผู้แทนจำหน่าย และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คาดปีนี้มูลค่าตลาดรวมโตกว่า 100 % โดยมีปัจจัยมาจากการขยายตัวของนิคมอุตสาหกกรม และโครงการสร้างเขื่อนของประเทศเพื่อนบ้าน

นางสาว ดุษฎี ทองไทย ผู้จัดการฝ่ายช่องทางจัดจำหน่าย (อินโดจีน) เอพีซี หน่วยธุรกิจด้านการจัดการพลังงาน และระบบปรับอากาศในเครือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในขณะนี้ว่า เอพีซี ได้เตรียมแผนการบุกตลาดผลิตภัณฑ์ยูพีเอส และดาต้า เซ็นเตอร์ โซลูชั่นขนาดเล็กไปยังตลาดประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีน ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา ในปีนี้อย่างจริงจังภายหลังจากที่ได้เริ่มบุกเบิกตลาดในช่วงก่อนหน้านี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจและเติมเต็มความต้องการของลูกค้าในแถบอินโดจีนให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ เราจะใช้แผนการตลาดและยุทธวิธีต่างๆ ให้เหมาะสมกับตลาดท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งการจัดสัมมนาที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับตลาดในแถบนี้โดยเฉพาะ

สำหรับแนวทางในการขยายตลาดจะร่วมมือกับผู้แทนจำหน่าย 5 รายที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการใน 3 ประเทศอย่างใกล้ชิด โดยในลาวได้แต่งตั้งดาต้าคอมเป็นผู้ดูแลตลาด ขณะที่ในกัมพูชาได้แต่งตั้งเฟิร์ส แคมโบเดีย & ดิสทรีไบท์ และ ดีม คอมพิวเตอร์ ส่วนในพม่าได้แต่งตั้งมาเจสต้าเป็นผู้ทำตลาด โดยเน้นการจัดสัมมนาให้ความรู้ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้าแบบ 1 เฟสให้กับผู้แทนจำหน่ายของแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังได้เตรียมแผนการจัดงานสัมมนาให้ความรู้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในแต่ละประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มธนาคาร พลังงาน เทเลคอมมูนิเคชั่น และหน่วยงานราชการเป็นหลัก รวมทั้งการทุ่มงบประมาณโฆษณาและการจัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง

“เราได้เริ่มเข้าไปบุกเบิกตลาดอินโดจีนเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมาโดยได้เข้าไปแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายรายแรกในกัมพูชาคือ ดีม คอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าประเภทธนาคาร ส่วนในลาวแนวโน้มตลาดเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลได้ตั้งนิคมอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการและได้มีการสร้างเขื่อนเพื่อขายพลังงานให้กับประเทศเพื่อนบ้าน” นางสาวดุษฎี กล่าว และว่า ตลาดในแถบอินโดจีนมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะในประเทศลาว และกัมพูชา ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตในปีนี้ประมาณ 100 % ในแง่ของยอดจำหน่าย

เมื่อเร็วๆ นี้ เอพีซี ได้เชิญผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจาก 3 ประเทศ ประกอบด้วย ลาว, พม่า และกัมพูชา จำนวน 10 คนเข้ารับการอบรม ณ กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ภายใต้หัวข้อ “APC-MGE Indo-China Training” เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า รวมไปถึงดาต้า เซ็นเตอร์ภายใต้แบรนด์เอพีซี และเอ็มจีอี รวมทั้งเทคนิคการจำหน่าย ตลอดจนรายการส่งเสริมการขายต่างๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยบริษัทจะจัดงานสัมมนาในลักษณะดังกล่าวอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

เกี่ยวกับเอพีซี
เอพีซี และ เอ็มจีอี ยูพีเอส ซิสเต็มส์ ได้ผนวกกันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2007 เพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจด้านการจัดการพลังงาน และระบบปรับอากาศในเครือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยเอพีซี และเอ็มจีอี มูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (2.4 พันล้านยูโร) หน่วยธุรกิจด้านการจัดการพลังงาน และระบบปรับอากาศนำเสนอสินค้า และโซลูชั่นคุ้มครองและป้องกันการเสียหายของข้อมูล รวมทั้งการเสียหายของฮาร์ดแวร์และการหยุดชะงักของระบบไฟฟ้าให้แก่ตลาดอุตสาหกรรม องค์กร ธุรกิจตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง จนถึงผู้ใช้งานตามบ้าน

โซลูชั่นของหน่วยธุรกิจนี้ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า (UPS) ภายใต้แบรนด์เอพีซี และเอ็มจีอีระบบปรับอากาศภายในตู้แร็ค ตู้แร็ค การบริการออกแบบวางระบบ และซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการภายในห้องศูนย์ข้อมูล ทั้งนี้ ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่งระดับโลกและการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งทางด้านวิจัยและการพัฒนา พนักงานจำนวน 12,000 คนของบริษัทได้ช่วยลูกค้าให้สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติอันเกิดจากการหยุดชะงักของระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศตลอดจนรับมือกับความท้าทายของการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชไนเดอร์ อิเล็คทริคมีพนักงานประจายอยู่ในสำนักงานสาขา 190 แห่งทั่วโลกจำนวน 112,000 คน มีรายได้รวมทั้งสิ้น 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 17,300 ล้านยูโร ในปี 2007 รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอพีซี-เอ็มจีอี สามารถเข้าชมได้ที่ www.apc.com

]]>
40497
เอพีซีเปิดตัวยูพีเอสอัจฉริยะ Smart UPS® VT Units https://positioningmag.com/39488 Mon, 25 Feb 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=39488

อเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) ผู้นำธุรกิจด้านการจัดการพลังงานและระบบปรับอากาศระดับโลก ประกาศเปิดตัวยูพีเอสตระกูลใหม่ Smart-UPS VT ระบบสำรองกระแสไฟฟ้าแบบ 3 เฟส โดดเด่นด้วยประสิทธิภาพแห่งการทำงานอย่างต่อเนื่อง สามารถปรับขยายหรือลดขนาดได้ตามความเหมาะสม ช่วยให้การดำเนินธุรกิจไหลลื่นตลอดเวลา Smart-UPS VT ออกแบบเพื่อดาต้า เซ็นเตอร์ขนาดเล็ก จนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งสำนักงานสาขาของบริษัทข้ามชาติต่างๆ ตู้ชุมสาย หรือแม้แต่การใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นที่ต้องการกำลังไฟฟ้าอย่างสูง ด้วยประสิทธิภาพของ Smart-UPS VT ผู้ใช้สามารถขยายระบบการป้องกันไฟฟ้าได้สะดวกง่ายดาย แค่เชื่อมต่อการทำงานร่วมกับ Smart-UPS VT สี่ยูนิตแบบคู่ขนานก็สามารถทำงานควบคู่กันไปได้อย่างราบรื่น

เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้าในตระกูล Smart-UPS VT มาพร้อมขนาดความจุตั้งแต่ 10 ถึง 40 kVA ขนาดแรงดันไฟ 400/230V สมบูรณ์แบบด้วยระบบการป้องกันไฟฟ้าสำรองแบบรวมศูนย์ โดยใช้ระบบ Legendary Reliability? ในตระกูล Smart-UPS ของเอพีซีซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้ว ขณะที่เทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์แบบสามเฟสที่ได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานดีเยี่ยม แม้ขณะการทำงานภายใต้ภาวะการโหลดที่น้อยกว่า 30% อันเป็นรูปแบบการทำงานของเครื่องยูพีเอสในแบบคู่ขนาน นอกจากนี้ Smart-UPS VT ยังได้รับการออกแบบให้สามารถปรับระยะเวลาสำรองไฟให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อย่างง่ายดาย

“การเพิ่มขีดความสามารถของการทำงานแบบติดตั้งคู่ขนานด้วยผลิตภัณฑ์ Smart-UPS VT ของเอพีซี ผนวกกับข้อได้เปรียบด้านความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพระดับสูง เท่ากับเป็นการป้องกันไม่ให้เพิ่มจำนวนยูพีเอสมากจนเกินความจำเป็น ทั้งนี้ Smart-UPS VT เป็นยูพีเอสที่สามารถปรับใช้ บริหารจัดการ และดูแลรักษาได้ง่ายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกัน” นายบริคุณ ล้ำเลิศประเสริฐ ผู้จัดการฝ่ายขาย เอพีซี-เอ็มจีอี ประเทศไทยกล่าว

ด้วยประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน ผนวกกับความสามารถด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้า (สายไฟ หม้อแปลง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) ทำให้ยูพีเอสในตระกูล Smart-UPS VT เป็นระบบป้องกันไฟฟ้าแบบสามเฟสที่ได้รับการยอมรับว่าประหยัดต้นทุนได้สูงที่สุด ณ ปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีระบบอินพุทแบบ dual-main มีระบบ Automatic Bypass และ Maintenance Bypass เพื่อการบำรุงรักษาระบบ การจัดการแบตเตอรี่แบบอัจฉริยะ รวมทั้งการปรับปรุงค่ากำลังไฟฟ้าเข้าวงจร ที่รับประกันได้ว่าไฟฟ้าจะยังคงได้รับการสำรองไว้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ลูกค้ายังสามารถควบคุมต้นทุนการติดตั้งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้

นอกจากนี้ ยังลดเวลาในการบำรุงรักษา โดยที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เองโดยไม่ต้องปิดสวิตช์อุปกรณ์ต่อเชื่อม (hot-swappable) และยังสามารถบริหารจัดการ ตรวจสอบ และควบคุมยูพีเอสได้จากทุกที่บนเครือข่าย โดยผ่านอินเตอร์เฟส Web/SNMP ที่ง่ายและสะดวก

ชุดสำรองไฟฟ้า Smart-UPS VT แบบติดตั้งคู่ขนานกับระบบเดิมรุ่นล่าสุดมีวางจำหน่ายแล้ว สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Smart-UPS VT รวมทั้ง VT รุ่นอื่นๆ ของเอพีซี ค้นห้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.apc.com/products หรือ โทร (ฟรี) ที่ 800-877-4080

เกี่ยวกับเอพีซี
เอพีซี และ เอ็มจีอี ยูพีเอส ซิสเต็มส์ ได้ผนวกกันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2007 เพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจด้านการจัดการพลังงาน และระบบปรับอากาศในเครือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยเอพีซี และเอ็มจีอี มูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (2.4 พันล้านยูโร) หน่วยธุรกิจด้านการจัดการพลังงาน และระบบปรับอากาศนำเสนอสินค้า และโซลูชั่นคุ้มครองและป้องกันการเสียหายของข้อมูล รวมทั้งการเสียหายของฮาร์ดแวร์และการหยุดชะงักของระบบไฟฟ้าให้แก่ตลาดอุตสาหกรรม องค์กร ธุรกิจตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง จนถึงผู้ใช้งานตามบ้าน

โซลูชั่นของหน่วยธุรกิจนี้ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า (UPS) ภายใต้แบรนด์เอพีซี และเอ็มจีอีระบบปรับอากาศภายในตู้แร็ค ตู้แร็ค การบริการออกแบบวางระบบ และซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการภายในห้องศูนย์ข้อมูล ทั้งนี้ ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่งระดับโลกและการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งทางด้านวิจัยและการพัฒนา พนักงานจำนวน 12,000 คนของบริษัทได้ช่วยลูกค้าให้สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติอันเกิดจากการหยุดชะงักของระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศตลอดจนรับมือกับความท้าทายของการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชไนเดอร์ อิเล็คทริคมีพนักงานประจายอยู่ในสำนักงานสาขา 190 แห่งทั่วโลกจำนวน 112,000 คน มีรายได้รวมทั้งสิ้น 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 17,300 ล้านยูโร รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอพีซี-เอ็มจีอี สามารถเข้าชมได้ที่ www.apc.com

]]>
39488
เอพีซีเปิดตัวยูพีเอส Symmetra PX โฉมใหม่ https://positioningmag.com/38669 Tue, 08 Jan 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=38669

อเมริกัน พาวเวอร์ คอนเวอร์ชั่น คอร์ปอเรชั่น (เอพีซี) หนึ่งในธุรกิจในเครือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทางด้านการจัดการพลังงาน และระบบปรับอากาศได้ประกาศเปิดตัวเครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า (UPS) รุ่นใหม่ Symmetra? PX กำลังไฟ 160 กิโลวัตต์ สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ พร้อมอุปกรณ์เสริมปลั๊กราง (Power Distribution Unit) ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์ โดยจะให้กำลังไฟเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้สูงสุดถึง 25% พร้อมโซลูชั่นที่ใช้ตู้แร็คสำหรับจัดเก็บแบตเตอรี่/บายพาสส์/ปลั๊กราง PDU ที่สามารถประหยัดพื้นที่ได้สูงสุดถึง 63%

UPS รุ่น Symmetra PX นี้ นำเสนอได้รับการออกแบบภายใต้สถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์อย่างสมบูรณ์แบบแท้จริงที่เกิดจากการผสมผสานของโมดูลแบบ dedicate และแบบ redundant อันประกอบด้วยแหล่งจ่ายกำลังไฟ การจ่ายไฟระบบ Intelligence module แบตเตอรี่ และระบบบายพาสส์ ซึ่งทั้งหมดได้รับการประกอบ และผลิตออกมาโดยสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์นี้สามารถขจัดความสิ้นเปลือง และลดต้นทุนโดยรวมได้ ด้วยการเพิ่มความสามารถให้กับผู้ดูแลระบบไอทีในการปรับเพิ่มลดขนาดกำลังไฟ และช่วงเวลาการทำงานให้เหมาะสมตามความต้องการใช้งานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น หรือตามกำหนดของระดับความพร้อมใช้งานที่สูงขึ้น UPS รุ่น Symmetra PX นี้จะทำหน้าที่เป็นเสมือนรถไฟที่ปล่อยกำลังไฟหลักที่จะขับเคลื่อนสถาปัตยกรรม InfraStruXure? ของเอพีซีสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดกลางจนถึงขนาดเล็ก รวมถึงการจ่ายไฟให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ในแต่ละโซนด้วย

“Symmetra PX รุ่นใหม่นี้ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนพื้นที่ว่างอันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นภายในดาต้าเซ็นเตอร์ Symmetra PX มาพร้อมกำลังไฟสำรองขนาด 160 กิโลวัตต์ โดยสามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่จัดเก็บอยู่ในตู้แร็คเดียวกันสองตู้ เหมือนอย่างเช่น UPS รุ่น Symmetra PX กำลังไฟขนาด 80 กิโลวัตต์แบบที่มีอยู่ได้ให้บริการไว้” จิม ไซมอนเนลลี รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์เอ็นเตอร์ไพรซ์ ของเอพีซีกล่าว และเสริมว่า “ด้วยรูปแบบใหม่ที่มีขนาดกะทัดรัด บริษัทต่างๆ จึงสามารถลดต้นทุนเบื้องต้นและบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปรับขนาดการใช้กำลังไฟ และการผนวกรวมตู้แร็คให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน”

ทั้งนี้ UPS รุ่น Symmetra PX ซึ่งมีความสามารถด้านการจัดการในระดับสูง สามารถวิเคราะห์สถานะการทำงาน และกำหนดมาตรฐานให้กับโมดูลต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดอันเกิดจากตัวบุคคล ยังผลให้ระดบบโดยรวมมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น นอกจากนี้ ด้วยการนำเสนอคุณลักษณะหลักเดียวกันกับของ UPS ในตระกูล Symmetra PX ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการยืดขยายระบบในอนาคต และการทำงานในลักษณะ Redundancy บวกกับความหนาแน่นของกำลังไฟที่สูงขึ้นและระบบจ่ายไฟที่ใช้สถาปัตยกรรมโมดูลาร์แบบ hot-scalable จึงช่วยรับประกันถึงความพร้อมใช้งานของระบบและความทนทาน พร้อมๆ กับการลดต้นทุนโดยรวมให้กับองค์กรได้

เกี่ยวกับเอพีซี – เอ็มจีอี
เอพีซี และ เอ็มจีอี ยูพีเอส ซิสเต็มส์ ได้ผนวกกันเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจด้านการจัดการพลังงาน และระบบปรับอากาศในเครือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยเอพีซี และเอ็มจีอี มียอดจำหน่ายทั่วโลกในปีที่ผ่านมารวมกันถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (2.4 พันล้านยูโร) เอพีซี-เอ็มจีอีร่วมนำเสนอสินค้า และโซลูชั่นคุ้มครองและป้องกันการเสียหายของข้อมูล รวมทั้งการเสียหายของฮาร์ดแวร์และการหยุดชะงักของระบบไฟฟ้าให้แก่ตลาดอุตสาหกรรม องค์กร ธุรกิจตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง จนถึงผู้ใช้งานตามบ้าน

โซลูชั่นของเอพีซี-เอ็มจีอีประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า (UPS) ระบบปรับอากาศภายในตู้แร็ค ตู้แร็ค การบริการออกแบบวางระบบ และซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการภายในห้องศูนย์ข้อมูล รวมทั้งโซลูชั่นที่เป็นหนึ่งเดียวในวงการที่รวมตั้งแต่ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศและระบบบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่งระดับโลกและการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งทางด้านวิจัยและการพัฒนา พนักงานจำนวน 12,000 คนของเอพีซี-เอ็มจีอีได้ช่วยลูกค้าให้สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติอันเกิดจากการหยุดชะงักของระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศตลอดจนรับมือกับความท้าทายของการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอพีซี-เอ็มจีอี สามารถเข้าชมได้ที่ www.apc-mge.com

]]>
38669