UberEATS – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 Apr 2020 12:34:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ซานฟรานซิสโก” อุ้มร้านอาหาร สั่งห้าม “ฟู้ดเดลิเวอรี่” เก็บค่าคอมมิชชั่นเกิน 15% https://positioningmag.com/1273831 Thu, 16 Apr 2020 11:22:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273831 ประเด็นดราม่าของบรรดาฟู้ดเดลิเวอรี่ที่คิดค่าคอมมิชชั่นหรือส่วนแบ่งรายได้ (GP) จากร้านอาหารในช่วงวิกฤต COVID-19 ไม่ได้มีเเค่ในไทย โมเดลธุรกิจเเบบนี้ที่ให้บริการในต่างประเทศก็มีการคิดค่าคอมมิชชั่น 10-30% เช่นกัน จนมีการเรียกร้องให้ภาครัฐออกมาช่วงเหลือร้านอาหารต่างๆ

ล่าสุด “นครซานฟรานซิสโก” ของสหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎให้บริษัทผู้ให้บริการส่งอาหารหรือ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นจากร้านอาหารได้ “ไม่เกิน 15%” ชั่วคราว ในช่วงการแพร่ระบาดของ
COVID-19
โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย. เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการยกเลิกการใช้มาตรการฉุกเฉินในเมือง หรือจนกว่าร้านอาหารจะสามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานที่ร้านได้ตามปกติ

เงินทุกดอลลาร์ มีผลต่อความเป็นความตายของธุรกิจ 

นับเป็นมาตรการช่วยเหลือสำคัญที่จะช่วยพยุงรายได้ของร้านอาหาร ในช่วงที่ต้องปิดให้บริการเเละมีรายได้จากช่องทางเดลิเวอรี่เป็นหลัก

London Breed นายกเทศมนตรีนครซานฟรานซิสโก ระบุในเเถลงการณ์ว่า “ร้านอาหารในซานฟรานซิสโก กำลังดิ้นรนให้เปิดบริการได้ ในสถานการณ์ทางการเงินที่ยากลำบากเช่นนี้ ทุกดอลลาร์มีความสำคัญและส่งผลต่อความเป็นความตายของกิจการ ส่งผลต่อการอยู่รอดหรือการต้องเลิกจ้างพนักงานด้วย”

ปกติเเล้ว บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่อย่าง UberEats, Postmates, Grubhub เเละ DoorDash ที่ให้บริการในซานฟรานซิสโก จะเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นจากร้านอาหารราว 20%-30% ส่งผลให้ร้านอาหารได้กำไรไม่มากนัก โดยเฉพาะร้านอาหารที่เป็นผู้ประกอบการรายเล็ก

ฟู้ดเดลิเวอรี่ ช่วย “ร้านอาหาร” 

ก่อนหน้านี้ บรรดาฟู้ดเดลิเวอรี่ก็มีมาตรการออกมาช่วยเหลือร้านอาหารบ้างเเล้ว ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ยกตัวอย่างเช่น Doordash ได้ประกาศลดค่าคอมมิชชั่นลง 50% สำหรับร้านอาหารท้องถิ่นที่เป็นพันธมิตรกว่า 150,000 แห่งในสหรัฐฯ แคนาดา และออสเตรเลีย

ส่วนนโยบายของ UberEats, Doordash, Postmates และ Caviar ได้ยกเว้นค่าคอมมิชชั่นให้กับร้านอาหารเจ้าใหม่ที่เข้ามาเป็นพันธมิตร ในพื้นที่ซานฟรานซิสโก ลอสแอนเจลิส แซคราเมนโต และดีทรอยต์เป็นการชั่วคราว
แต่สำหรับร้านอาหารเดิมยังคงต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นตามปกติ

ส่วน Grubhub ได้ประกาศผ่อนผันการชำระค่าคอมมิชชั่นให้กับร้านค้าที่ได้รับการรับรองจากบริษัท เเต่ตอนนี้ยังไม่มีการยกเว้นหรือลดอัตราค่าคอมมิชชั่นให้กับร้านอาหารพันธมิตร

สมาคมร้านอาหารโกลเดนเกต คาดว่ามีร้านอาหารราว 30-40% จากทั้งหมดราว 4,000 ร้านในซานฟรานซิสโกที่ยังคงเปิดให้บริการและจัดส่งอาหารอยู่ในขณะนี้

เจ้าของบาร์แห่งหนึ่งในซานฟรานซิสโก บอกว่าเขาเชื่อว่าธุรกิจสถานบันเทิงและร้านอาหารกว่า 50% กำลังเผชิญกับภาวะ “เสี่ยงปิดกิจการ” จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ยืดเยื้อเเละรุนเเรง

ที่มา : businessinsider , Eater , sfmayor.org

 

]]>
1273831
ส่องมาตรการ ‘Uber Works’ เพื่อช่วยหางานให้ ‘ผู้ขับ’ แม้ไม่ใช่งานของบริษัทก็ตาม https://positioningmag.com/1271958 Tue, 07 Apr 2020 00:07:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271958 จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกือบทั่วโลกต้องออกมาตรการที่หลีกเลี่ยงการพบปะหรือออกไปแหล่งชุมชน ซึ่งส่งผลต่อบริการขนส่งสาธารณะ ทำให้ผู้ขับขี่ต้องดิ้นรนหางานทำ Uber เองก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่รับผลกระทบดังกล่าว ดังนั้น Uber จึงเตรียมเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่สำหรับไดรเวอร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้พวกเขาหางานทำในช่วงวิกฤตินี้ แม้ว่างานนั้นจะเป็นของ บริษัทอื่น ก็ตาม

ตั้งแต่เกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ยอดใช้งานของ Uber แพลตฟอร์ม Ride-Hearing ชื่อดังหดลงอย่างมหาศาล อย่างในเมืองซีแอตเทิลซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักยอดการใช้งานลดลงกว่า 60-70% รวมไปถึงเมืองใหญ่อื่น ๆ เช่น ซานฟรานซิสโก, ลอสแองเจลิส และนิวยอร์ก โดยคาดว่าภาพรวมยอดใช้งานของ Uber ลงถึง 50%

ส่งผลให้ Uber ได้ประกาศฟีเจอร์ใหม่ในแอปของผู้ขับ (Driver) เรียกว่า Work Hub ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สร้างรายได้จากกิจการอื่น ๆ ทั้งรับการสั่งซื้อผ่าน Uber Eats รวมถึงบริการ Uber Freight บริการจับคู่ระหว่างคนขับรถบรรทุก และบริษัทที่ต้องการให้ไปส่งสินค้า (cargo) ที่กำลังมองหาคนขับที่มีใบขับขี่เชิงพาณิชย์เพื่อช่วยในการขนส่งสินค้า

“Work Hub ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ค้นหาโอกาสใหม่ ๆ อย่างการเพิ่มขึ้นของ Uber Eats โดยเฉพาะในเมืองต่าง ๆ เช่น Seattle และ San Francisco รวมถึงการส่งของต่าง ๆ ซึ่ง 2 บริการนี้จะช่วยให้ไดรฟ์เวอร์ส่งคน สามารถหารายได้เพิ่มเติมได้”

อย่างไรก็ตาม ไม่มีงานมากพอที่จะครอบคลุมทุกไดรฟ์เวอร์ที่ต้องการหารายได้ ดังนั้นบริษัทจึงร่วมมือกับบริษัท ภายนอกหลายสิบแห่ง เพื่อช่วยเติมเต็มช่องว่าง ผ่านโครงการ Uber Works โดยบริษัททำงานร่วมกับบริษัทจัดหาพนักงานในชิคาโก ดัลลัสและไมอามีเพื่อเชื่อมต่อไดรเวอร์กับงานชั่วคราวในร้านขายของชำ, การผลิตอาหารและธุรกิจซัพพลายเชนที่ต้องการพนักงานเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงเป็นพาร์ตเนอร์กับชุดอาหารของ Kroger และ Home Chef บริษัทจัดส่งอาหารซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองชิคาโก

นอกจากนี้ Work Hub จะเปิดรับสมัครงาน โดยมีบริษัทเกือบ 15 แห่ง ที่กำลังสนใจจ้างงานในตอนนี้ อาทิ 7-Eleven, Albertsons, Dollar Tree, FedEx, Hertz, Land O’Lakes, McDonald’s, PepsiCo, UPS และ Walgreens และอื่น ๆ

Source

#Uber #Ubereats #Fooddelivery #Covid19 #Positoiningmag

]]>
1271958
Food Delivery คู่แข่งตัวฉกาจที่เข้ามาชิงยอดขายของ Domino’s Pizza ไป https://positioningmag.com/1238992 Sun, 14 Jul 2019 22:59:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238992 ในขณะที่ Food Delivery ในเมืองไทยกำลังพุ่งทะยานอย่างหวือหวา ผู้เล่นในตลาดแต่ละรายต่างประกาศตัวเลขการเติบโตอย่างคึกคัก แต่ในสหรัฐอเมริกาผู้เล่นหน้าใหม่นี้กลายเป็นโจทย์ท้าทายของ Domino’s Pizza ที่เข้ามาชิงยอดขายไป

หลายคนอาจมองว่าไม่เกี่ยวข้องกันเพราะ Domino’s Pizza เองก็มีพนักงานที่จัดส่งพิซซ่าร้อนๆ ไปถึงหน้าบ้านอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว แต่จากรายงานที่ออกโดยนักวิเคราะห์ John Glass จาก Morgan Stanley ได้ระบุว่า เหล่า Food Delivery ทั้ง UberEats, Doordash และ GrubHub ได้เข้ามาเบียดยอดขายของ Domino’s Pizza จนทำให้การเติบโตลดลง

เนื่องจากตัวแอปได้รวบรวมร้านพิซซ่าที่อยู่บริเวณข้างเคียงเข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นทางเลือกที่มากกว่าในอดีตให้กับผู้บริโภค ที่สำคัญการส่งที่นอกเหนือพื้นที่ที่จำกัดไว้ ได้เข้ามาเป็นภัยคุกคามของสาขายักษ์ใหญ่ร้านพิซซ่า 20 – 25%

Source : Facebook Domino’s Pizza

“แม้ยากที่จะประเมินได้อย่างแม่นยำว่า Food Delivery จะส่งผลกระทบต่อ Domino’s Pizza เท่าไหร่กันแน่ แต่เชื่อว่าตัวเลขที่สมเหตุสมผลคือ 1 – 2% สำหรับยอดขายในสาขาเดิมที่เปิดอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป”

อย่างไรก็ตาม Domino’s Pizza วางแผนรับมือผ่านการขยายสาขาอย่างจริงจัง ซึ่งจำนวนร้านที่เพิ่มขึ้นนี้จะทำให้ระยะเวลาการจัดส่งลดลง แม้ว่าปัจจุบันจะมีสาขาอยู่ในครึ่งหนึ่งของรัฐทั้งหมดในอเมริกา ซึ่งร้านที่มีอยู่แล้วครอบคลุมประชากรกว่า 90% ก็ตาม

ทั้งนี้นักวิเคราะห์ของ Refinitiv คาดการณ์ว่า Domino’s Pizza จะรายงานผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 โดยมีผลกำไรต่อหุ้นที่ 2.02 ดอลลาร์ รายได้ 836.9 ล้านดอลลาร์ และยอดขายสาขาเดิมเติบโต 4.81%

Source

]]>
1238992
คนไทยชอบกิน “ฟูด ดิลิเวอรี” ส่งอาหารสนั่นเมือง https://positioningmag.com/1125154 Thu, 11 May 2017 04:40:44 +0000 http://positioningmag.com/?p=1125154 ฟูด ดิลิเวอรี เป็นอีกบริการที่กำลังได้รับการจับตา เป็นผลมาจากเติบโตของอินเทอร์เน็ต และสมาร์ทโฟนที่แพร่หลายมากขึ้น ผู้บริโภคใจร้อน ชอบหาข้อมูลบนมือถือซื้อของ ยิ่งพฤติกรรมของคนในเมืองยุคนี้อาศัยอยู่คอนโด หรือในโซนที่มีการจราจรติดขัด ทำให้มองหาบริการที่ช่วยเรื่องความสะดวกสบาย ไม่ต้องออกไปเผชิญรถติดอยู่ข้างนอก ยอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อได้เวลามากขึ้น

หลักการทำงานของฟูด ดิลิเวอรี จะเรียกผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ สามารถสั่งอาหารได้ตามต้องการ และมีการคิดค่าบริการเป็นระยะทาง โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ ธุรกิจส่งอาหารโดยตรง และธุรกิจบริการส่งสินค้า แต่มีบริการรับซื้ออาหาร ตลาดตรงนี้มีการเติบโตมากขึ้นทุกปี พร้อมกับมีผู้เล่นรายใหม่ๆ มากขึ้นเช่นกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ธุรกิจดิลิเวอรีอาหารในเมืองไทยมีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท มีการเติบโตเฉลี่ย 15-20% ต่อปี

ปัจจุบันตลาดฟูด ดิลิเวอรีมีผู้เล่นหลักๆ อยู่ 5 ราย ได้แก่ Foodpanda, LINE MAN, UberEATS, Grab Bike และ Ginja แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ธุรกิจส่งอาหารโดยตรง มีรายได้จากการเก็บส่วนแบ่งค่าอาหารเป็นเปอร์เซ็นต์จากทางร้านค้า ได้แก่ Foodpanda, UberEATS และ Ginja อีกรูปแบบหนึ่งคือเป็นธุรกิจบริการส่งสินค้า แต่มีบริการ “ฝากซื้ออาหาร” เน้นรายได้จากค่าขนส่ง ได้แก่ LINE MAN และ Grab Bike

นอกจากนี้ ความแตกต่างของแต่ละราย ยังอยู่ที่พาร์ตเนอร์ร้านอาหาร ช่วงเวลาที่ให้บริการ พื้นที่ให้บริการ และราคาค่าจัดส่ง

รายที่ลงมาเล่นตลาดนี้อันดับแรกๆ ก็มีพาร์ตเนอร์เยอะหน่อย อย่างฟู้ดแพนด้าที่ปัจจุบันมีพาร์ตเนอร์กว่า 1,000 ร้านค้า ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าใหญ่ๆ อย่างเชนร้านอาหารไปจนถึงร้านอาหารชื่อดังในแต่ละพื้นที่ มีจุดแข็งด้วยพื้นที่ให้บริการเยอะทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ เชียงใหม่ ปทุมธานี สมุทรปราการ พัทยา สามารถสั่งอาหารได้หลายช่องทางทั้งแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ และโทรศัพท์ แต่ข้อจำกัดอยู่ที่ช่วงเวลาที่ให้บริการอยู่แค่ 10.00-23.00 น. เป็นเวลาเปิด-ปิดของร้านอาหารทั่วไป

สำหรับผู้เล่นที่เข้ามาภายหลังอาจจะเพิ่มร้านค้าข้างทาง หรือสตรีทฟูดเข้ามาเพื่อสร้างความแตกต่างมากขึ้น อย่าง LINE MAN และ UberEATS ส่วน Ginja มีพาร์ตเนอร์ที่เป็นร้านค้าอยู่ไม่มาก ทำให้ยังไม่ค่อยติดตลาดมากเท่าไหร่

LINE MAN จับตลาดรับฝากซื้อ

LINE MAN เป็นอีกหนึ่งในผู้เล่นน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดเมื่อปีที่ผ่านมา เริ่มต้นจากบริการเมสเซนเจอร์รับส่งของ จนแตกไลน์ออกมาเป็นบริการฟูด ดิลิเวอรี โดยใช้การผนึกกำลังกับ 2 พันธมิตรทั้ง Wongnai แพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหารทำในส่วนของคอนเทนต์ และลาล่ามูฟในการใช้มอเตอร์ไซค์ในการขนส่ง

โมเดลธุรกิจของไลน์แมนจะเป็นรูปแบบของการ “ฝากซื้อ” คิดค่าบริการสั่งซื้ออาหารจากค่าโดยสารเป็นระยะทาง เริ่มต้นที่ 55 บาท และคำนวณเพิ่มตามระยะทาง 9 บาท/กม. ปัจจุบันไลน์แมนมียอดผู้ใช้งาน 400,000 คน/เดือน มีร้านอาหารเข้าร่วมเกิน 20,000 ร้านทั่วกรุงเทพฯ

ไลน์แมนรับซื้ออาหารภายในพื้นที่กรุงเทพฯ ไม่ได้จำกัดพื้นที่การให้บริการ และไม่จำกัดระยะทาง เพราะคำนวณค่าบริการตามระยะทางอยู่แล้ว แต่จำกัดวงเงินในการฝากซื้อไม่เกิน 1,000 บาท

ไลน์แมนได้อุดจุดอ่อนในตลาดที่รายอื่นไม่มี ด้วยการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ชอบสตรีทฟูดที่เปิดกลางคืน แต่ถ้าใช้บริการช่วงนอกเวลาทำการก็แค่จ่ายค่าบริการเพิ่มเท่านั้น ตั้งแต่ 21.00 น. – 22.59 น. เก็บค่าบริการเพิ่มอีก 50 บาท และตั้งแต่ 23.00 น.- 06.00 น. เก็บค่าบริการเพิ่ม 100 บาท

ก่อลาภ สุวัชรังกูร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด LINE MAN กล่าวว่า ได้มองเห็นโอกาสของตลาดนี้มีการเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เร่งรีบ เน้นความสะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่า โดยเฉพาะในด้านอาหารการกิน มีความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จากแต่ก่อนนิยมเดินทางออกไปลองร้านดังตามที่ต่างๆ เปลี่ยนเป็นการสั่งอาหารผ่านมือถือ ทางออนไลน์มาทานที่บ้าน เพื่อเลี่ยงปัญหาการจราจร การเสียเวลาเดินทาง ที่จอดรถ หรือการรอคิว เป็นต้น

ก่อลาภ มองภาพรวมในตลาดฟูด ดิลิเวอรีว่า แข่งขันกัน 4 ด้านหลักๆ อันดับแรกคือ “ความเร็ว” คนไทยชอบบริการที่มีความรวดเร็ว ทันใจ อย่างที่สองคือ “ความสะดวกสบาย” การเข้าใช้งานบริการ การอัปเดตสถานะของบริการต้องชัดเจน ง่าย ไม่ซับซ้อน สาม “บริการที่ครอบคลุม” อยากทานร้านไหนต้องได้ทาน คนไทยใจร้อนมากขึ้น พร้อมกับต้องมีส่วนลด และโปรโมชันให้เลือกแต่ละเทศกาลตลอด สุดท้ายเป็นเรื่องของ “ราคา” ที่ต้องสมเหตุสมผล

ไลน์แมน จึงเน้น 4 ด้าน คือ

  1. ความหลากหลายของร้านอาหารที่เป็นพาร์ตเนอร์เกิน 20,000 ร้านทั่วกรุงเทพฯ ตั้งแต่ระดับภัตตาคารดังไปจนถึงร้านอาหารเด็ดข้างทางที่เป็น “สตรีทฟูด” ที่มักจะไม่มีบริการดิลิเวอรี และไลน์แมนจะให้บริการตลอด 24 ชม.
  2. เชื่อมต่อกับไลน์ ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึง เพราะคนไทยนิยมใช้ไลน์กันอยู่แล้ว รับข้อความแจ้งเตือน รวมถึงดูสถานะต่างๆ ของ LINE MAN ผ่านไลน์
  3. จัดแคมเปญ โปรโมชันร่วมกับพาร์ตเนอร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งคูปองส่วนลด, โปรโมชันซื้อ 1 แถม 1 ร่วมกับร้านอาหารต่างๆ ตามเทศกาล มีรีวิวแนะนำร้านดังใน LINE MAN Lifestyle สำหรับคนที่ยังตัดสินใจเลือกร้านไม่ได้
  4. รวบรวมบริการดิลิเวอรีหลากหลายรูปแบบมารวมอยู่ในบริการเดียว ไม่ใช่แค่บริการสั่งซื้ออาหารเท่านั้น ยังใช้บริการเมสเซนเจอร์

กลยุทธ์ต่อไปของไลน์แมน ต้องผลักดันบริการอื่นๆ เช่น บริการเมสเซนเจอร์ สั่งของสะดวกซื้อ บริการส่งพัสดุ จะมีขยายฐานผู้ใช้ใหม่ๆ ในส่วนบริการเดิมที่เป็นฟูด ดิลิเวอรีที่ติดตลาดแล้ว จะมีการปรับคอนเทนต์ และระบบให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น

ทางด้าน Wongnai แพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหาร ที่เข้ามาอยู่ในธุรกิจฟูด ดิลิเวอรีผ่านการเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกับทางไลน์แมน

ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท วงใน มีเดีย จำกัด กล่าวว่า ตลาดฟูด ดิลิเวอรีเพิ่งเกิดได้ไม่กี่ปี ก่อนหน้านี้ตลาดจะแคบ มีกลุ่มคนที่ใช้จำกัด ส่วนใหญ่เป็นคนมีฐานะ เพราะส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารใหญ่ๆ และมีค่าบริการแพงอยู่ ในขณะที่คนทั่วไปยังคุ้นเคยกับการสั่งฟาสต์ฟูดกันอยู่ แต่เมื่อมีผู้เล่นมาทำบริการมากขึ้นช่วยทำให้ตลาดใหญ่ขึ้น เปิดกว้างขึ้น ร้านอาหารมากขึ้น ค่าบริการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น อย่างฟู้ดแพนด้าที่เป็นรายเก่าอยู่ในตลาดมานานจะมีร้านอาหารเยอะ ส่วนอูเบอร์อีทส์ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ก็เริ่มมีร้านอาหารที่เป็นพาร์ตเนอร์หลายร้อยร้าน แต่ทั้งคู่จะเน้นร้านอาหารระดับกลางขึ้นไป

สำหรับวงใน มาเป็นพาร์ตเนอร์กับทางไลน์แมนในเรื่องการทำคอนเทนต์ และติดต่อร้านอาหาร เพราะเป็นจุดแข็งของวงในอยู่แล้ว ส่วนไลน์แมนจะทำเรื่องระบบ และได้ลาล่ามูฟเข้ามาเรื่องมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ขนส่ง  พันธมิตรทั้ง 3 จะมีการแบ่งสัดส่วนรายได้กัน

โมเดลธุรกิจของทางไลน์แมนจะเป็นแบบเปิด ให้ร้านอาหารร้านไหนก็ได้เข้าร่วม เน้นร้านค้าที่เป็นสตรีทฟูด หรือที่รู้จักกันดี อย่าง เจ๊โอว เจ๊กี ข้าวมันไก่ประตูน้ำ เป็นการสร้าง Use Case ใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคได้สั่งอาหารร้านไหนก็ได้ ไม่ต้องจำกัดแค่ร้านใหญ่ๆ หรือฟาสต์ฟูด ซึ่งสร้างจุดเด่นให้ตัวเอง และสร้างความแตกต่างให้ตลาดด้วย

การร่วมมือกับทางไลน์แมนเป็นการเพิ่มบริการใหม่ๆ ให้กับวงใน จากเดิมที่มีการหารายได้ทางเดียวคือจากโฆษณา แต่ครั้งนี้ได้ต่อยอดในการขยับบริการไปออฟไลน์ เพิ่มช่องทางการหารายได้ ในอนาคตวงในก็จะมีการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์มากขึ้น

ยอดมองว่า ตลาดฟูด ดิลิเวอรีจะมีโอกาสเติบได้อีกถึง 10 เท่า และเชื่อว่าในอนาคตตลาดฟูดดิลิเวอรีจะขยายไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดด้วย

UberEATS บริการเป็นเวลา

สำหรับ UberEATS  เปิดให้บริการในไทยเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เอง ปัจจุบันได้เปิดให้บริการใน 57 เมือง จาก 20 ประเทศ โดยกรุงเทพฯ เป็นเมืองลำดับที่ 5 ในเอเชีย ต่อจากสิงคโปร์ โตเกียว ฮ่องกง และไทเป

หลักการทำงานของ UberEATS ก็คือให้ผู้บริโภคสั่งอาหารจากร้านอาหารที่เป็นพันธมิตรร่วมกัน ปัจจุบันมีกว่า 100 ร้านค้า โดยที่โมเดลการหารายได้ของ UberEATS ก็เป็นการแบ่งเปอร์เซ็นต์จากทางร้านค้า ส่วนมอเตอร์ไซค์ที่เป็นผู้ส่งก็เป็นพันธมิตรเช่นเดียวกับคนขับอูเบอร์ ก็คือไม่ใช่พนักงานของบริษัท โดยที่แอปพลิเคชัน UberEATS กับ Uber จะแยกออกจากกัน

การเปิดตัวใช้งานในกรุงเทพฯ มีพื้นที่การให้บริการในการจัดส่งจำกัดอยู่ในเมืองก่อน เช่น สาทร, สีลม, ปทุมวัน, เพลินจิต, นานา, อโศก, พร้อมพงษ์, ทองหล่อ, เอกมัย, เยาวราช หลังจากนั้นมีการเพิ่มพื้นที่การให้บริการอีก ได้แก่ อารีย์, ดินแดง, รัชดา, พระราม9, คลองเตย, ห้วยขวาง, ลาดพร้าว, พระราม3, พระโขนง, เจริญกรุง, พระนคร, พระราม 4, จตุจักร และรัชโยธิน ในอนาคตจะมีขยายพื้นที่เพิ่มเติมอีก แต่ก็ยังเป็นข้อจำกัดที่ยังให้บริการไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ และช่วงเวลาเปิดให้บริการอยู่ที่ 10.00 – 22.00 น.

โมเดลแตกต่าง

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) มองว่า ผู้ให้บริการแต่ละรายจะมีโมเดลแตกต่างกัน อย่างฟู้ดแพนด้าจะหักเปอร์เซ็นต์จากค่าอาหาร 30% จะไปคล้ายๆ กับเอ็นโซโก้ในสมัยก่อน ข้อดีคือ ไม่ต้องลงทุนบริการจัดส่ง ไม่ต้องบริการลูกค้า เพิ่มโอกาสการขายได้ ดังนั้นร้านค้าที่เข้าร่วมอาจจะเป็นร้านที่ลูกค้าไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ แต่อาจไม่ใช่ทางเลือกของร้านที่ขายดีอยู่แล้ว ที่ต้องโดนหักถึง 30% แตกต่างจากจากไลน์แมนที่จะไม่หักเปอร์เซ็นต์ร้านค้า จะมีรายได้จากค่าขนส่งล้วนๆ จึงต้องมีบริการหลายประเภท คือ ฝากซื้อ ส่งพัสดุ ไม่ใช่แค่ส่งอาหารอย่างเดียว

ผศ.เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ให้ความคิดเห็นว่า กระแสของ Food Delivery เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาด้วยรูปแบบธุรกิจสตาร์ทอัป โดยสร้าง Touch Point  คือตัวแอปพลิเคชันเพื่อแก้ปัญหาให้กับลูกค้าที่ต้องการทางเลือกอื่นๆ นอกจากแบรนด์อาหารเจ้าหลักประเภทฟาสต์ฟูดที่มีบริการส่งถึงบ้านแต่ลูกค้าอาจจะรู้สึกจำเจ และยังเพิ่มโอกาสทางการขายให้กับบรรดาร้านค้ารายย่อยที่มีอาหารดีอาหารเด่นผ่านบริการส่ง ซึ่งร้านรายย่อยอาจต้องลงทุนมากสำหรับการจัดระบบในส่วนนี้ เมื่อฝั่งลูกค้าที่อยากรับประทานอาหารที่หลากหลายมาพบกับบรรดาร้านอาหารที่มีหลากหลายประเภท และมีกลไกของคนที่ทำหน้าที่ส่งอาหารซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญของธุรกิจ

]]>
1125154
มาอีกราย! UberEATS เขย่าตลาดเสิร์ฟอาหารผ่านแอพ https://positioningmag.com/1113723 Wed, 18 Jan 2017 03:12:41 +0000 http://positioningmag.com/?p=1113723 เป็นเทรนด์ที่ได้เห็นมาสักพักใหญ่แล้วสำหรับการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น โดยที่ในปีที่ผ่านมาได้มีผู้เล่นในตลาดนี้มากมายทั้ง Food panda, LINE MAN และ Grab ที่ใช้ช่องทางของเซเว่นในการส่งสินค้าในเซเว่น ในปีนี้ได้เห็นการเข้ามาทำตลาดของผู้เล่นใหม่แต่หน้าเก่าอย่าง UberEATS โดย UBER กลายเป็นแอพล่าสุดที่เข้ามาเขย่าตลาดการสั่งอาหารผ่านแอพ

UberEATS ได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่องปี 2557 ปัจจุบันได้เปิดให้บริการใน 57 เมือง จาก 20 ประเทศ ซึ่งการเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ เป็นเมืองลำดับที่ 5 ในเอเชีย ต่อจากสิงคโปร์ โตเกียว ฮ่องกง และไทเป

1_uber

หลักการทำงานของ UberEATS ก็คือให้ผู้บริโภคสั่งอาหารจากร้านอาหารที่เป็นพันธมิตรร่วมกัน ปัจจุบันมีกว่า 100 ร้านค้า จากนั้นทางร้านก็จัดอาหารเพื่อส่งตามที่อยู่ที่ระบุ โดยผู้สั่งก็จ่ายค่าอาหารตามราคา โดยที่โมเดลการหารายได้ของ UberEATS ก็เป็นการแบ่งเปอร์เซ็นต์จากทางร้านค้า ส่วนมอเตอร์ไซค์ที่เป็นผู้ส่งก็เป็นพันธมิตรเช่นเดียวกับคนขับอูเบอร์ ก็คือไม่ใช่พนักงานของบริษัท แต่ใครที่ต้องการหารายได้เพิ่มก็สามารถมาเป็นพันธมิตรได้ 

โดยที่แอพพลิเคชั่น UberEATS กับ Uber ทีเป็นขับขี่รถยนต์จะแยกออกจากกัน ต้องดาวน์โหลดแอพเพิ่มเติม ในช่วงแรกเริ่มนั้น UberEATS ยังไม่มีการเก็บค่าขนส่ง เก็บเพียงแค่ค่าอาหารเท่านั้น ในอนาคตอาจจะมีการเก็บค่าขนส่ง กำลังศึกษาอยู่ว่าจะเป็นโมเดลแบบใด จะเก็บตามระยะทาง หรือแบบอื่น ซึ่งต้องดูจากผลตอบรับช่วงนี้ก่อน

อัลเลน เพนน์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค UberEATS
อัลเลน เพนน์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก UberEATS

อัลเลน เพนน์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก UberEATS บอกว่าการสั่งอาหารทางออนไลน์เป็นสิ่งใหม่ แต่เทรนด์นี้ได้เห็นการเติบโตเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคยอมจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อแลกกับความสะดวกสบาย และยิ่งไลฟ์สไตล์คนเมืองที่มีความเร่งรีบ การสั่งอาหารผ่านแอพจึงเป็นอีกทางเลือกที่คนใช้มากขึ้น

การเปิดตัวใช้งานในกรุงเทพฯ มีพื้นที่การให้บริการจำกัดอยู่ในเมืองก่อน เช่น สาทร, สีลม, ปทุมวัน, เพลินจิต, นานา, อโศก, พร้อมพงษ์, ทองหล่อ, เอกมัย และเยาวราช ในอนาคตจะมีขยายพื้นที่เพิ่มเติมอีก

2_uber

จุดเด่นที่ทำให้ UberEATS แตกต่างกับแบรนด์อื่นในตลาดก็คือการที่ยังไม่เก็บค่าขนส่ง และมีพันธมิตรร้านค้าที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว แต่การชำระเงินต้องชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตเท่านั้น เวลาเปิดให้บริการอยู่ที่ 10.00 – 22.00 .

3_uber

]]>
1113723