Vivo – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 21 Jan 2025 01:38:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผ่าจักรวาลมือถือจีน กับเกม fake competitors หลายแบรนด์ใต้บริษัทเดียว BBK Electronics https://positioningmag.com/1507043 Mon, 20 Jan 2025 10:17:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1507043 ข่าวดราม่าเรื่องการแอบติดตั้งแอปพลิเคชันเงินกู้ในสมาร์ทโฟนแบรนด์จีน ทำให้สปอตไลท์ในโลกธุรกิจส่องไปที่แบรนด์ oppo และ realme ที่กำลังได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ความจริงคือปรากฏการณ์นี้อาจไม่ได้ทำให้บริษัทแม่สะเทือนด้วยวิกฤตมากนัก เพราะในขณะที่แบรนด์หนึ่งมีปัญหา แบรนด์อื่นก็ยังคงไปต่อได้ ซึ่งเป็นผลจากกลยุทธ์ fake competitors หรือคู่แข่งกำมะลอ ที่มีบทบาทมากในจักรวาลมือถือจีนตลอดช่วงปีที่ผ่านมา

หลายคนรู้จักแบรนด์สมาร์ทโฟนอย่าง oppo และ realme แต่บางคนอาจไม่ทราบว่าแบรนด์เหล่านี้อยู่ภายใต้บริษัทแม่เดียวกัน นั่นคือ BBK Electronics ซึ่งยังเป็นเจ้าของแบรนด์ IQOO, vivo และ oneplus อีกด้วย ที่ผ่านมา BBK Electronics ใช้กลยุทธ์การแข่งขันภายในองค์กรที่น่าสนใจ โดยหากผู้บริโภคไม่พอใจแบรนด์ oppo ก็อาจเลือกแบรนด์ vivo หรือแบรนด์แทน ทำให้ BBK Electronics สามารถรักษายอดขายได้ ไม่ว่าผู้บริโภคจะชอบแบรนด์ใดก็ตาม

แม้แบรนด์ภายใต้ BBK Electronics จะไม่สามารถแข่งขันโดยตรงกับแบรนด์ระดับพรีเมียมอย่าง Apple แต่จุดแข็งของ BBK Electronics คือการนำเสนอสมาร์ทโฟนที่มีสเปกใกล้เคียงในราคาที่จับต้องได้ ด้วยจุดยืนด้านความคุ้มค่านี้ ทำให้ BBK Electronics ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสมาร์ทโฟนชั้นนำระดับโลกได้อย่างสบาย

BBK Electronics ยักษ์ใหญ่ร่ำรวย

ในไตรมาสแรกของปี 2023 หากรวมยอดขายของ oppo, vivo และ oneplus เข้าด้วยกัน BBK Electronics จะมีส่วนแบ่งการตลาด 15% ทำให้สามารถขึ้นเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจาก Apple และ Samsung 

ความสำเร็จที่น่าประทับใจนี้ไม่มีการบอกเล่าเป็นตัวเลขยอดขาย เพราะ BBK Electronics ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยรายได้เนื่องจากเป็นบริษัทเอกชน แต่ผู้ก่อตั้งบริษัทอย่างนาย Duan Yongping นั้นมีชื่อเสียงมากเรื่องความร่ำรวยมหาศาล ซึ่งคาดว่าความร่ำรวยนี้มีมาตั้งแต่การซื้อแบรนด์ oneplus ตั้งแต่ปี 2021 

BBK Electronics

ล่าสุดมีข่าวว่านักลงทุนอย่าง Yongping ได้ลงทุนในบริษัทแม่ของ Temu (Pinduoduo) ด้วยเงิน 1.65 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย Yongping ใช้เวทีงานประชุมในสำนักวิชาการ Zhejiang University เมื่อวันอาทิตย์ 12 มกราคมที่ผ่านมา กล่าวยกย่องผู้ก่อตั้ง Temu ซึ่งลงทุนโฆษณาในงาน Super Bowl จนทำให้ Temu เป็นที่รู้จักมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทำให้ Pinduoduo สามารถช่วยให้เกษตรกรจีนขายผลผลิตได้บนฐานผู้ใช้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว Yongping จึงได้ลงทุนใน PDD ผ่านหน่วยธุรกิจ H&H International Investment ซึ่งมีการลงทุนในบริษัทอื่นๆ เช่น Apple, Alphabet, Alibaba Group Holding และ Berkshire Hathaway รวมถึงหุ้นในบริษัทชั้นนำอื่น ๆ ด้วย

การลงทุนของ Yongping แสดงถึงความเชื่อมั่นในพลังของแบรนด์ที่หลากหลาย ซึ่งที่ผ่านมา BBK Electronics ไม่ใช่แบรนด์เดียวที่ปักหลักปั้นหลายแบรนด์เพื่อสร้างจักรวาลมือถือจีนขึ้นมา แต่ยังมีบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้อย่าง Transsion ก็ใช้กลยุทธ์ลักษณะเดียวกัน โดย Transsion เป็นบริษัทแม่ของแบรนด์อย่าง TECNO, Infinix และ itel ซึ่งเป็นแบรนด์ที่เด่นมากในตลาดแอฟริกาและตะวันออกกลาง โดยในปี 2022 ทั้ง 3 แบรนด์มีส่วนแบ่งการตลาดรวมถึง 32% ทำให้เป็นผู้นำในภูมิภาคดังกล่าว

ทำไมต้องทำหลายแบรนด์?

กำไรคือเหตุผลที่ผู้เล่นในจักรวาลมือถือจีนต้องสร้างหลายแบรนด์ในร่มบริษัทเดียว ที่ผ่านมา ความท้าทายสำคัญของผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ไม่ใช่แบรนด์พรีเมียมคือการรักษาอัตรากำไรให้สูง ซึ่งแม้จะไม่มีรายงานว่า BBK Electronics มีกำไรเท่าใดจากการใช้กลยุทธ์ fake competitors แต่อย่างน้อย บริษัท Transsion ก็มีรายงานว่าสามารถทำอัตรากำไรสุทธิได้ 5%

ตัวเลข 5% ของ Transsion นั้นไม่ใช่ไก่กา เพราะยังดีกว่าบริษัทน้องเล็กอย่าง Xiaomi ที่มีการคำนวณแล้วว่าทำอัตรากำไรเพียง 1% เท่านั้น โดยเจ้าพ่อแบรนด์พรีเมียมอย่าง Apple นั้นถูกประเมินว่ามีอัตรามาร์จิ้นสูงลิ่วถึง 25% ซึ่งเป็นภาพฝันที่ทำให้ “แบรนด์ไม่พรีเมียม” เหล่านี้ต้องพยายามยกระดับตัวเองสู่ตลาดระดับบน เช่นเดียวกับที่ Samsung เคยทำสำเร็จมาแล้ว และถูกประเมินว่ามีกำไรราว 18%

แม้จะอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง ทั้ง BBK Electronics และ Transsion ต่างก็สามารถสร้างแบรนด์สมาร์ทโฟนใหม่และคว้าส่วนแบ่งการตลาดที่สำคัญได้ในเวลาอันรวดเร็ว การสร้างแบรนด์ย่อยขึ้นมาแข่งขันกันเองของ BBK Electronics ทำให้บริษัทมีสินค้าที่ครอบคลุมทุกระดับราคา เนื่องจากแต่ละแบรนด์มีกลุ่มเป้าหมายและระดับราคาที่แตกต่างกัน ทำให้ครอบคลุมผู้บริโภคทุกกลุ่ม

ในอีกด้าน แบรนด์ต่าง ๆ ของ BBK Electronics และ Transsion ยังแข่งขันกันเองเพื่อพัฒนานวัตกรรมและคุณภาพ แต่รายได้ทั้งหมดยังคงอยู่ในมือบริษัทเดียว ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถกระจายความเสี่ยงได้ เพราะหากแบรนด์หนึ่งประสบปัญหา แบรนด์อื่นก็สามารถรองรับส่วนแบ่งตลาดได้ทันที

เหรียญ 2 ด้าน fake competitors

การสร้างหลายแบรนด์ขึ้นมาแข่งกันเองทำให้ BBK Electronics ใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่ามาก ตั้งแต่การเปิดให้แบรนด์ต่าง ๆ แบ่งปันเทคโนโลยีและทรัพยากรการวิจัย ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนโดยรวมได้จากการใช้ช่องทางจัดจำหน่ายร่วมกัน ซึ่งแต่ละแบรนด์ไม่เพียงมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง แต่ยังมีอิสระในการสร้างเอกลักษณ์และกลยุทธ์การตลาดที่แตกต่างกันได้

กลยุทธ์นี้ส่งผลให้ BBK Electronics กลายเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดสมาร์ทโฟนโลก โดยส่วนแบ่งตลาดรวมของแบรนด์ในมือมีมากกว่า 15% (ข้อมูลจากไตรมาสแรกของปี 2023) ไม่เพียงเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก แต่ยังสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาดเกิดใหม่

บทเรียนที่เราได้จากกรณีศึกษาของ BBK Electronics คือการแข่งขันภายในกระเป๋าเดียวกันสามารถสร้างนวัตกรรมและการเติบโตได้ดีมาก แต่ท่ามกลางกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดและการบริหารจัดการแบรนด์ที่ดี สิ่งสำคัญคือต้องระวังด้านจริยธรรมให้มาก ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่าแอปเงินกู้ที่เป็นข่าวนั้น ก็อาจมีความเกี่ยวข้องในลักษณะกระเป๋าเงินเดียวกัน ทำให้ผู้บริโภคอาจรู้สึกว่าถูกหลอก เมื่อพบว่าแบรนด์ที่คิดว่าไม่เกี่ยวข้องกันนั้น แท้จริงเป็นเจ้าของเดียวกัน

ที่สุดแล้ว ไม่ใช่แค่จักรวาลมือถือจีน แบรนด์ใด ๆ ในทุกจักรวาล ย่อมสามารถนำกลยุทธ์ “หลายแบรนด์เจ้าของเดียว” ไปใช้ได้อย่างเสรี เพียงแต่จะต้องมีจุดยืนการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม และสร้างคุณค่าจริงให้ผู้บริโภค

Source : Growth Dragons

อ่านเพิ่มเติม

]]>
1507043
มองตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ ขาลง เซกเมนต์ ‘พรีเมียม’ คือ โอกาสเดียวสร้างการเติบโต https://positioningmag.com/1438507 Fri, 21 Jul 2023 06:06:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438507 ภาพรวมตลาด สมาร์ทโฟน ทั่วโลกหดตัวติดต่อกัน 6 ไตรมาสนับตั้งแต่ปี 2022 และสำหรับตลาดเมืองไทยก็ไม่ต่างกัน แต่จะมีปัจจัยบวกปัจจัยลบอะไร และทิศทางการแข่งขันของแต่ละแบรนด์จะเป็นอย่างไร ไปดูกัน

ค่ายมือถือเหลือ 2 รายเริ่มส่งผล

นับตั้งแต่ที่ True และ Dtac ควบรวมกันในช่วงเดือนมีนาคมจะเห็นว่า ราคาแพ็กเกจ ของทุกค่ายมีการ ปรับขึ้น โดย AIS มีการปรับราคาแพ็กเริ่มต้นจากปีก่อนมาเป็น 399 บาท จากเดิมเริ่มต้น 349 บาท ส่วนแพ็ก 499 – 599 บาทมีการลดนาทีโทรลง 50 นาที ส่วนแพ็กเกจ Unlimited ราคาเริ่มต้นยังเท่าเดิมที่ 1,199 บาท แต่มีการปรับรูปแบบการโทร จากโทรฟรีในเครือข่าย กลายเป็นคิดไปในนาทีโทรรวมแทน

True มีการ ตัดแพ็กเกจเริ่มต้น 299 บาทออก โดยจะเริ่มต้นที่ 399 บาท ส่วนแพ็กเกจ Unlimited จะอยู่ที่ 1,199 บาท โดยสิ่งที่ถูกปรับลดก็คือ จำนวนการโทรตั้งแต่ 50 – 100 นาที ส่วน Dtac ก็ปรับราคาเริ่มต้นจาก 349 บาท เป็น 399 บาท และแพ็ก Unlimited จากเริ่มต้น 1,099 บาท เป็น 1,199 บาท เท่ากับค่ายอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการปรับเพิ่ม / ลดนาทีโทรให้เทียบเท่ากับ True อย่างไรก็ตาม แม้แต่ละค่ายจะมีการปรับราคา แต่ทุกค่ายก็พยายาม ชดเชย ด้วยสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้น โดยเฉพาะฝั่งของ คอนเทนต์

ในมุมมองของผู้บริโภค การที่ค่ายมือถือพร้อมใจกับปรับราคาอาจดูไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญกับตลาดสมาร์ทโฟน แต่ ชานนท์ จิรายุกุล ประธานกรรมการอาวุโสฝ่ายบริหารออปโป้แห่งประเทศไทย มองว่า เพราะฝั่งโอเปอเรเตอร์ที่เหลือ 2 ค่าย ทำให้ลดการ subsidize ส่วนลดค่าเครื่องก็ลดลง ค่าบริการรายเดือนกลับเพิ่มขึ้น มันก็มีผลเป็นโดมิโน ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ ดังนั้น ภาพตลาดสมาร์ทโฟนจากนี้คงยังไม่ฟื้น เพราะยังไม่เห็นปัจจัยบวก

พรีเมียม โอกาสเดียวที่ยังเติบโต

จากข้อมูลของ IDC เปิดเผยว่า สภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนไทยช่วง Q1/2023 หดตัวลง 25.7% โดยมียอดจัดส่งทั้งหมดราว 3.45 ล้านเครื่อง ที่น่าสนใจคือ ยอดจัดส่งของ สมาร์ทโฟนกลุ่มเริ่มต้น (Entry-level) ที่มีราคาไม่สูงมาก มียอดลดลงมากที่สุด โดยลดลงเหลือ 51% ของตลาด เทียบกับในไตรมาสก่อน (Q4/2022) อยู่ที่ 60% และไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว (Q1/2022) ที่ 59%

กลับกัน สมาร์ทโฟนในกลุ่มพรีเมียม (ราคามากกว่า 27,000 บาท) มียอดจัดส่งเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นมาเป็น 19% เทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 11% ดังนั้น จะเห็นว่าจากเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจที่ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เพียงแค่โอเปอเรเตอร์ขึ้นราคาก็ทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย

ต่างจากกลุ่มพรีเมียมที่ยังเติบโตได้ เพราะปัญหาเศรษฐกิจไม่กระทบคนมีเงิน ทำให้ผู้บริโภคในกลุ่มนี้สามารถ เปลี่ยนมือถือบ่อยกว่า และมีแนวโน้มจะ ซื้อในราคาที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าในกลุ่มนี้มีการ แข่งขันราคาน้อย กว่ากลุ่มล่าง ดังนั้น แบรนด์มือถือก็คิดแล้วว่าจะไปหั่นราคาแข่งกันในตลาดเริ่มต้นทำไม มาจับพรีเมียมดีกว่าเพราะผู้บริโภคยอมจ่าย

ภาพจากเว็บไซต์ PhoneArena

กล้องซูม + จอพับ ฟีเจอร์ชิงชัยกลุ่มพรีเมียม

แม้จะไม่มีตัวเลขชัดเจนในกลุ่มพรีเมียมว่าแบรนด์ไหนมีส่วนแบ่งมากที่สุด แต่เชื่อว่าหลายคนน่าจะเดาได้ว่าต้องเป็น iPhone ของ Apple ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้เล่นเบอร์ 3 ในตลาดไทยมีส่วนแบ่งตลาดราว 19.4% โดยใน Q1/2023 iPhone มียอดจัดส่ง 668,400 เครื่อง เติบโตถึง +34.9% และถือเป็น แบรนด์เดียวที่ยังเติบโต

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในสมาร์ทโฟนกลุ่มพรีเมียม ผู้บริโภคมีลอยัลตี้สูง ดังนั้น การที่แบรนด์ใหม่ ๆ จะแทรกตัวเข้ามาได้ต้องมี ฟังก์ชันหรือประสิทธิภาพ ที่ดึงดูดมากพอ ซึ่งจะเห็นว่า ซัมซุง (Samsung) ที่ถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ iPhone ก็มีฟังก์ชันเด่น ๆ ที่สามารถใช้มัดใจผู้บริโภคได้ อาทิ Galaxy S23 Ultra ที่มีจุดเด่นที่ กล้องเทพ ที่มี Telephoto ซูม 3 เท่า ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล ที่ถูกใจผู้ใช้สายคอนเสิร์ต ที่เอาไว้ซูมถ่ายศิลปินได้แม้จะอยู่ไกล หรือ Galaxy Z Flip / Fold สมาร์ทโฟนจอพับ ที่จับกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน

ที่ตามมาติด ๆ ก็คือ ออปโป้ (Oppo) เบอร์ 2 ของตลาดสมาร์ทโฟนไทย โดยแบรนด์ก็ชัดเจนว่าต้องการจะ เจาะกลุ่มพรีเมียม โดยต้องการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก เลขหลักเดียวเป็น 2 หลัก โดยหลังจากที่ปล่อยให้ซัมซุงนำร่องสมาร์ทโฟนจอพับไปแล้ว ทางออปโป้จึงค่อยส่ง Find N2 Flip มาทำตลาดตาม นอกจากนี้ ออปโป้เพิ่งเปิดตัวเรือธงรุ่นล่าสุดไปเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็คือ Find X6 Pro แต่ยังไม่เข้าทำตลาดไทย โดยทางออปโป้ให้ข้อมูลว่าจะทำเข้ามาแน่ แต่รอเวลา เพราะไม่อยากให้แข่งกับ Find N2 Flip

หรือแม้แต่แบรนด์ที่ไม่ได้ทำตลาดในไทยมานานถึง 4 ปีอย่าง ออเนอร์ (Honor) ที่เปรียบเสมือนตัวแทนความยิ่งใหญ่ของ หัวเว่ย (Hauwei) ที่เคยแข็งแรงในตลาดแฟลกชิปเมืองไทย ด้วยจุดเด่นที่หลายคนน่าจะจำได้ก็คือ กล้องไลก้า ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ ออเนอร์ก็ประกาศชัดว่าจะจับกลุ่มพรีเมียมเหมือนกับที่หัวเว่ยเคยทำ โดยส่ง Honor Magic5 Pro 5G มาทำตลาด นอกจากนี้ จะมีแบรนด์อื่น ๆ ที่จับผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม เช่น สมาร์ทโฟนเกมมิ่ง ที่เน้นราคาและดีไซน์จับลูกค้าเกมมิ่งกระเป๋าหนัก ไม่ว่าจะเป็น ASUS ROG Phone 7 Ultimate

ตลาดจะยังไม่กลับไปพีค

โอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็ม วิชั่น ผู้จัดงาน Thailand Mobile Expo มองว่า ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อตลาดสมาร์ทโฟนไทยและทั่วโลก แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ สมาร์ทโฟนในปัจจุบันใกล้จะถึง จุดสูงสุดของเทคโนโลยี แต่ละแบรนด์มีเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นกล้อง สเปก ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ จูงใจผู้บริโภคได้ยากกว่าเดิม โดยภายในงาน Thailand Mobile Expo ในช่วงพีคที่ตลาดสมาร์ทโฟนกำลังมาแรง เคยมีเงินสะพัดกว่า 3,000 ล้านบาท และมีผู้เข้าชมงานกว่า 7 แสนคน แต่ปัจจุบันมีเงินสะพัดเพียง 1,200 ล้านบาท มีผู้ชมราว 4 แสนคน เท่านั้น

เช่นเดียวกันกับ ชานนท์ จิรายุกุล ที่มองว่า ตลาดจะไม่กลับไปพีคเหมือนในอดีตเนื่องจากยังไม่มีนวัตกรรมที่เจ๋งพอเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างนวัตกรรม จอพับ ก็เป็นเพียง ตัวเลือกหนึ่งของผู้บริโภคเท่านั้น

“ผมว่าทุกแบรนด์พยายามหาพยายามทำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาดึงดูดผู้บริโภค แต่เชื่อว่ามีไม่เกิน 3 แบรนด์ที่จะมีนวัตกรรมเปลี่ยนโลกได้ และมันมีเรื่องของราคาต้นทุน และตลาดที่ยังไม่มา หรือมาเร็วไป ซึ่งมันอาจทำให้มันคอมเมอร์เชียลไม่ได้ การมาเร็วเกินไปก็อาจพับเสื่อกลับด้านได้” ชานนท์ ทิ้งท้าย

]]>
1438507
‘iPhone’ ครองแชมป์สมาร์ทโฟนขายดีประจำ Q4 แม้จะเป็นไตรมาสที่ตลาดแย่สุดในรอบ 10 ปี https://positioningmag.com/1416011 Thu, 19 Jan 2023 11:38:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416011 2022 ถือเป็นปีที่ไม่ได้ดีนักสำหรับตลาด สมาร์ทโฟน ที่ดูเหมือนจะมาถึงจุดอิ่มตัวจริง ๆ แล้ว โดยช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ภาพรวมก็ติดลบถึง -17% อย่างไรก็ตาม แบรนด์ที่สามารถครองตำแหน่งแชมป์ในไตรมาสดังกล่าวได้ก็คือ iPhone ของ Apple แซงหน้า Samsung

แม้ว่าในช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว Apple จะเจอปัญหาด้านซัพพลายเชน เนื่องจาก Zero Covid ของจีน แต่ยอดจัดส่ง iPhone ก็ขึ้นเป็นที่ 1 ในตลาด โดยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดที่ 25% ตามด้วย Samsung ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 20% อย่างไรก็ตาม ภาพรวมทั้งปี 2022 ซัมซุงยังคงเป็นที่ 1 ในตลาด

ส่วนอันดับ 3 ของตลาดในไตรมาส 4 ได้แก่ Xiaomi โดยส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือ 11% เนื่องจากกำลังโดนเบอร์ 4 และ 5 ที่เป็นเพื่อนร่วมชาติอย่าง OPPO (ส่วนแบ่งตลาด 10%) และ Vivo (ส่วนแบ่งตลาด 8%) แย่งตลาดในอินเดีย

สำหรับภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาส 4 นั้นติดลบถึง -17% ขณะที่ภาพรวมทั้งปีติดลบถึง -11% โดยคาดว่ายอดจัดส่งทั่วโลกมีไม่ถึง 1.2 พันล้านเครื่อง เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง

“ผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนต้องดิ้นรนในสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจที่ยากลำบากตลอดปี 2022 ไตรมาสที่ 4 ถือเป็นผลประกอบการประจำปีและไตรมาสที่ 4 ที่แย่ที่สุดในรอบทศวรรษ” Runar Bjørhovde นักวิเคราะห์จาก Canalys Research กล่าว

สำหรับตลาดสมาร์ทโฟนปี 2023 นี้ Canalys คาดการณ์ว่า ตลาดจะเติบโตในระดับคงที่ถึงเล็กน้อย แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะค่อย ๆ ผ่อนคลายลง แต่ผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานจะจำกัดศักยภาพการเติบโตของตลาด ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลเสียต่อตลาดที่อิ่มตัวและตลาดระดับกลางถึงระดับบน

และแม้ว่าจีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศและภาคธุรกิจ แต่การกระตุ้นของรัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะแสดงผลใน 6-9 เดือนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีบางภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะเติบโตในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในจีนซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจ

Source

]]>
1416011
ยังแกร่ง! ‘Apple’ ขึ้นแท่นผู้ผลิตสมาร์ทโฟน ‘รายเดียว’ ที่เติบโตได้ใน Q1 https://positioningmag.com/1383597 Sun, 01 May 2022 03:15:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383597 Strategy Analytics, Canalys และ IDC ได้แชร์รายงานการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา แม้ว่าทั้ง 3 รายงานจะมีความแตกต่างในด้านจำนวนยอดขายสมาร์ทโฟนที่รายงาน แต่ที่เหมือนกันคือ ‘Apple’ เป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวที่มีการเติบโตในไตรมาสที่แล้ว

Apple เป็น ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่เพียงรายเดียวที่มีการจัดส่งเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสที่แล้ว ขณะที่ Samsung, Oppo, Xiaomi และอื่น ๆ พบว่ายอดจัดส่งลดลงอย่างมาก

จากข้อมูลของ Canalys ระบุว่า Apple มีการเติบโต +8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตอนนี้กินส่วนแบ่งตลาดถึง 18% ด้าน Samsung เบอร์ 1 ของตลาดมียอดจัดส่งลดลง -4% ส่วนผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Android จากจีนรายอื่น ๆ มียอดจัดส่งลดลงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น

  • Xiaomi -20%
  • Oppo -27%
  • Vivo -30%
  • ภาพรวมตลาดสมาร์ตโฟนหดตัวลง -11%

ทั้งนี้ Apple ประกาศว่า รายได้จากไตรมาสแรก (ไตรมาส 2 ตามปีปฏิทิน Apple) ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยรายรับมากกว่า 9.7 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งเหนือกว่าความคาดหมาย และเฉพาะรายได้จาก iPhone เพิ่มขึ้น 5% ทำรายได้ไป 5 หมื่นล้านดอลลาร์

โดย Tim Cook ให้เหตุผลว่า ที่ iPhone เติบโตได้ดีมาก ๆ เนื่องจาก ผู้ใช้ Android เปลี่ยนมาใช้ iPhone มากขึ้น

Source

]]>
1383597
ตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ เติบโตอีกครั้งในรอบ 4 ปี ‘ซัมซุง’ ยังคงครองตำแหน่งเบอร์ 1 https://positioningmag.com/1372536 Tue, 01 Feb 2022 08:53:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372536 ย้อนไปปี 2017 ตลาดสมาร์ทโฟนถือว่าเป็นช่วงที่ตลาดเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการจัดส่งมากที่สุดทั่วโลก หลังจากนั้นตลาดก็ไม่เติบโตอีกเลย ยิ่งมาเจอกับการระบาดของ COVID-19 ก็ยิ่งทำให้อัตราการเติบโตลดลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตึงตัวทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่สามารถซื้อโทรศัพท์ใหม่

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตลาดไม่เติบโตมานานในที่สุดตลาดก็กลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2021 แม้ว่าไตรมาสที่ 4 ของปีการจัดส่งสมาร์ทโฟนลดลง -6% ก็ตาม แต่เมื่อดูภาพรวมทั้งปีมีการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกประมาณ 1.39 พันล้านเครื่อง เติบโต +4% อย่างไรก็ตาม ในปี 2017 ที่มีการจัดส่งสูงสุดนั้นอยู่ที่ 1.56 พันล้านเครื่อง

ฮาร์มีต ซิงห์ วาเลีย นักวิเคราะห์อาวุโสของ Counterpoint Research เปิดเผยว่า ความต้องการที่ถูกอั้นไว้ตั้งแต่ปี 2020 เช่น อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา และอินเดียมีส่วนทำให้การเติบโตโดยรวมของตลาด โดยการเติบโตในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการ iPhone 12 ของ Apple ที่รองรับ 5G ยาวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสามของปี 2021

ส่วนตลาด อินเดีย เริ่มเห็นอัตราการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีราคาสูงขึ้น ความพร้อมใช้งานที่ดีขึ้น รวมถึงโปรโมชันทางด้านการเงินที่น่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับโทรศัพท์ระดับกลางถึงระดับไฮเอนด์ อย่างไรก็ตาม ยอดขายในตลาดใหญ่อย่าง จีน กลับลดลง -2% ตามข้อมูลของ Counterpoint Research

“การฟื้นตัวของตลาดอาจดีขึ้นกว่านี้ถ้าไม่ใช่เพราะปัญหาการขาดแคลนส่วนประกอบที่ส่งผลกระทบอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2021” ซิงห์ วาเลีย กล่าว

Samsung ยังคงครองตำแหน่งผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยปริมาณการจัดส่งประมาณ 271 ล้านเครื่อง เติบโต +6% เมื่อเทียบกับปี 2020 แม้ว่าโรงงานในเวียดนามจะต้องปิดตัวเพราะการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม ส่วน Apple ที่นอกจากจะมียอดขายพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในจีนเมื่อไตรมาส 4 ภาพรวมการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกก็เติบโตขึ้น +18% เป็น 237.9 ล้านเครื่อง โดยการเติบโตล้วนแต่มาจากตลาดสำคัญทั้งสิ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป และอินเดีย

“ในประเทศจีน Apple กลายเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ในไตรมาสที่ 4 ต้องขอบคุณ iPhone 13 ซึ่งส่งผลให้แซงหน้า Samsung ในฐานะสมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ของโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2021” Counterpoint Research กล่าวในรายงาน

ด้านผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากจีนอย่าง Xiaomi มีการเติบโตขึ้น +31% มียอดจัดส่งรวม 190 ล้านเครื่อง แม้ว่าปริมาณการจัดส่งจะตามหลัง Samsung และ Apple อย่างมีนัยสำคัญ แต่ Xiaomi ได้เติบโตขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับสามของโลก ส่วน OPPO และ Vivo เติบโตขึ้นเป็นเลขสองหลักในปีที่แล้ว โดยมียอดจัดส่ง 143.2 ล้านเครื่อง และ 131.3 ล้านเครื่อง ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2022 ทาง Counterpoint Research คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยังสดใส หากโลกสามารถรับมือกับการระบาดใหญ่ได้ และหากปัญหาการขาดแคลนซัพพลายเชนได้รับการแก้ไขภายในกลางปี อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และนักลงทุนบางคนคาดว่าปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกจะคงอยู่จนถึงสิ้นปีนี้หรือลากยาวจนถึงปี 2023

counterpointresearch.com / CNBC

]]>
1372536
‘Vivo’ ทุ่ม 40 ล้านผุด ‘แฟลกชิปสโตร์’ แห่งแรก พร้อมส่งสมาร์ทโฟน ‘5G’ อีก 7 รุ่นเพิ่มส่วนแบ่งตลาดเป็น 25% https://positioningmag.com/1371874 Thu, 27 Jan 2022 05:02:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371874 ทำตลาดในไทยมาแล้วถึง 8 ปีสำหรับแบรนด์สมาร์ทโฟนสัญชาติจีนอย่าง ‘วีโว่’ (Vivo) แม้จะทำตลาดมาอย่างยาวนานจนมีสาขากว่า 130 สาขา แต่กลับไม่เคยมี ‘แฟลกชิปสโตร์’ ในที่สุดแบรนด์ก็ทุ่มงบถึง 40 ล้านบาทสร้างแฟลกชิปสโตร์แห่งแรกที่สยามพารากอน พร้อมส่งสัญญาณการโหมทำตลาด 5G

เบล เฮ่อ ผู้บริหารฝ่ายขาย วีโว่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า สาเหตุที่ Vivo เปิดแฟลกชิปสโตร์ครั้งแรกแม้จะทำตลาดในไทยมา 8 แล้วก็คือ ต้องการ ‘โชว์นวัตกรรม’ ใหม่ ๆ ซึ่งสโตร์นี้จะมีการนำ ‘คอนเซ็ปต์สมาร์ทโฟน’ ที่ยังไม่วางจำหน่ายมาให้ลูกค้าได้สัมผัส พร้อมกับนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ รวมถึงให้บริการแบบพรีเมียม ทั้งนี้ สโตร์ดังกล่าวได้ออกแบบภายใต้แนวคิด ‘ความสุขของมนุษย์’ โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 3 สยามพารากอน

“เรารู้ว่าแม้การระบาดของโควิดยังไม่หมดไป แต่เรามีแผนที่จะเปิดแฟลกชิปสโตร์นานแล้ว ดังนั้นไม่ช้าก็เร็วยังไงก็ต้องเปิด เราจึงเลือกที่จะเปิด โดยหากถ้าสโตร์ได้รับการตอบรับที่ดี ในอนาคตก็มีโอกาสที่เราจะขยายไปที่อื่นต่อไป”

ในปีที่ผ่านมา Vivo มียอดขายสมาร์ทโฟนกว่า 3 ล้านเครื่อง คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 19% ของตลาดรวม โดยรวมตลอด 8 ปีมีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนของแบรนด์รวม 10 ล้านคน และในส่วนของตลาดสมาร์ทโฟน 5G แบรนด์เองมีส่วนแบ่งการตลาดที่ 19% เช่นกัน

ทั้งนี้ ในตลาดเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด Vivo มียอดจัดส่งสมาร์ทโฟน 5G สูงสุดช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ที่ผ่านมา โดยครองส่วนแบ่งของยอดจัดส่งสมาร์ตโฟน 5G ได้มากถึง 1 ใน 5 โดยมีอัตราการเติบโตของการจัดส่ง (Shipment) ต่อปีสูงถึง 215% อ้างอิงจากรายงานของบริษัทวิจัยข้อมูลตลาดชั้นนำอย่าง Strategy Analytics

“5G จะนำประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับผู้บริโภค ทั้งการใช้งานโซเชียล การเล่นเกม และการใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะยิ่งทำให้เขารู้สึกสนุกที่จะใช้งาน ผู้บริโภคก็จะยิ่งเริ่มสนใจที่จะใช้งานสมาร์ทโฟน 5G ดังนั้น 5G ถือว่ามีส่วนสำคัญในการเติบโตของตลาด”

เบล เฮ่อ ผู้บริหารฝ่ายขาย วีโว่ (ประเทศไทย)

สำหรับปีนี้ Vivo มีแผนที่จะเปิดสโตร์เพิ่มอีก 10% จากจำนวนปัจจุบันที่ 130 สาขา และรุกตลาดสมาร์ทโฟน 5G อย่างต่อเนื่อง โดยจะนำ สมาร์ทโฟน 5G เข้ามาทำตลาดอีก 7 รุ่น ครอบคลุมกลุ่ม กลาง-บน โดยจะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของสมาร์ทโฟนเพื่อตอบสนองต่อการเล่นเกม การทำงานเพื่อรับเทรนด์ Work From Home โดยภายในสิ้นปี Vivo ต้องการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟน 5G เป็น 25% ส่วนยอดขายรวมทั้งหมดตั้งเป้าไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านเครื่อง

“ภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนไทยเติบโตประมาณ 5% และตอนนี้ผู้บริโภคมีตัวเลือกเยอะมาก แต่ละแบรนด์ก็จะมีเป้าหมายผู้บริโภคแตกต่างกันไป แต่ที่เราอยู่มาได้ถึง 8 ปีเป็นเพราะเราเอาผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง พยายามนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงด้วย 5 เซ็กเมนต์ที่ครอบคลุมตั้งแต่รุ่นล่าง-บน นอกจากนี้เรายังให้ความสำคัญกับบริการหลังการขายถ้าทั้ง 2 ส่วนนี้ดียอดขายก็จะตามมา”

]]>
1371874
ไม่แถมที่ชาร์จแล้วไง! ‘iPhone’ ครองแชมป์สมาร์ทโฟนขายดีสุดในโลก ไตรมาสสุดท้ายปี 20 https://positioningmag.com/1317110 Fri, 29 Jan 2021 08:24:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317110 ปล่อยให้ ‘Samsung’ กับ ‘Huawei’ เบียดแชมป์กันมานาน ในที่สุด ‘Apple’ ก็ครองตำแหน่งแชมป์ที่มียอดขายสูงสุดในตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 จนได้

ข้อมูลจากบริษัทวิจัย ‘Canalys’ เปิดเผยว่า Apple ส่งมอบ iPhone มากกว่าที่เคยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 ที่ 81.8 ล้านเครื่อง โดยไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 ที่ถือเป็นไตรมาสแรกของ Apple นั้น ถือเป็นไตรมาสที่ Apple ทำรายได้ทะลุ 3.3 ล้านล้านบาทในไตรมาสเดียว เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เติบโตเพิ่มขึ้น 21% เลยทีเดียว

ทั้งนี้ Samsung ครองอันดับ 2 โดยมียอดการจัดส่งที่ 62 ล้านเครื่อง ลดลง 12% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามมาด้วย Xiaomi, Oppo และ Vivo ทั้งหมดได้รับส่วนแบ่งจาก Huawei โดยภาพรวมปี 2020 ทั้งปี Samsung ยังคงเป็นเบอร์ 1 ในตลาดด้วยยอดจัดส่งมากที่สุดในโลกที่ 255.7 ล้านเครื่อง ลดลง -14%

(Photo by Ceng Shou Yi/NurPhoto via Getty Images)

Apple ขึ้นมาเป็นอันดับสองมียอดจัดส่ง 201.1 ล้านเครื่อง เติบโต 5% ที่สามเป็น Huawei (รวมกับ Honor แล้ว) ซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ทำให้ส่งมอบได้ 187.7 ล้านเครื่อง ติดลบ -22%

“การเติบโตดังกล่าวเป็นเพราะ iPhone 12 เป็นที่นิยมอย่างมาก โดย Apple อยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าคู่แข่งในเรื่องของ 5G เพราะในตลาดที่พัฒนาแล้ว แบรนด์อื่น ๆ มักจะถูกมองข้ามไป อีกทั้งการไม่แถมปลั๊กไฟ ซึ่งช่วยลดน้ำหนักและขนาดกล่องทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างมาก ท่ามกลางต้นทุนการขนส่งทางอากาศที่สูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการระบาดของ COVID-19” Vincent Thielke นักวิเคราะห์ของ Canalys กล่าว

ทั้งนี้ ยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกแตะ 359.6 ล้านเครื่องในไตรมาสที่สี่ ลดลงเล็กน้อยประมาณ 2% โดยภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2020 มียอดจัดส่งทั้งสิ้น 1,332.5 ล้านเครื่อง ลดลง 10% เมื่อเทียบกับปี 2019

Source

]]>
1317110
กลับมาทวงบัลลังก์! Samsung แซง Huawei ขึ้นเป็นมือถือขายดีอันดับ 1 ของโลกอีกครั้ง https://positioningmag.com/1303761 Fri, 30 Oct 2020 05:57:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303761 Samsung กลับมาทวงแชมป์มือถือขายดีอันดับ 1 ของโลกอีกครั้งในไตรมาส 3 ปี 2020 หลังจากเสียบัลลังก์ให้ Huawei เป็นการชั่วคราวเมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ Xiaomi ยังแซง Apple ขึ้นมาอยู่อันดับ 3 แต่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะ iPhone 12 ขยับมาเปิดตัวไตรมาส 4 แทน ทำให้ Apple ไม่มียอดขายแรงๆ จากสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ดังเช่นเคย

สำนักข่าว The Verge รวบรวมข้อมูลจากบริษัทสำรวจตลาด 3 แห่ง ทั้ง IDC, Counterpoint และ Canalys พบว่า Samsung แบรนด์สมาร์ทโฟนเกาหลีกลับมาทวงคืนบัลลังก์ยอดขายอันดับ 1 อีกครั้งในไตรมาส 3 ปี 2020 โดยวัดจากจำนวนเครื่องที่ส่งมอบ หลังจากไตรมาสที่ 2 นั้นเคยถูก Huawei แซงหน้าขึ้นไปยึดแชมป์

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงไตรมาส 2 เป็นช่วงที่โรคระบาด COVID-19 ยังเล่นงานตลาดมือถือทั่วโลก ยกเว้นตลาดจีนที่เริ่มฟื้นตัวก่อนใคร ทำให้แบรนด์ Huawei ซึ่งมีตลาดหลักคือตลาดจีนได้รับอานิสงส์ ทำยอดขายในจีนดีขึ้น 12% เทียบปีต่อปี แต่เมื่อตลาดทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวตามในไตรมาส 3 ทำให้ Samsung กลับมาแข่งขันได้อีกครั้งหนึ่ง

5 อันดับสมาร์ทโฟนขายดีที่สุดในโลก ไตรมาส 3 ปี 2020 (อ้างอิง IDC)

1.Samsung ยอดขาย 80.4 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 22.7%
2.Huawei ยอดขาย 51.9 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
3.Xiaomi ยอดขาย 46.5 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 13.1%
4.Apple ยอดขาย 41.6 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 11.8%
5.Vivo ยอดขาย 31.5 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 8.9%

สมาร์ทโฟน Vivo X50 Pro 5G : แบรนด์ Vivo เป็นหนึ่งในเครือ BBK Electronics บริษัทที่กำลังทำยอดขายเติบโตผ่านการแตกสารพัดแบรนด์มือถือในเครือ

สำหรับอันดับ 5 แต่ละสำนักสำรวจระบุไม่ตรงกัน เนื่องจาก Vivo และ Oppo ทำยอดขายได้ใกล้เคียงกันมาก อย่างไรก็ตาม อันดับที่ 5-7 แน่ชัดว่าตกเป็นของแบรนด์ Vivo, Oppo และ Realme ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้เครือบริษัทเดียวกันคือ BBK Electronics จากประเทศจีน และถ้าหากรวมยอดขายของสามแบรนด์นี้ในไตรมาส 3 มือถือของ BBK จะมียอดขายแซง Huawei ขึ้นไปอยู่อันดับ 2

IDC ยังรายงานด้วยว่า ไตรมาส 3 ปีนี้พบการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของตลาดประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะ “อินเดีย” ซึ่งเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของธุรกิจสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ ประเทศอย่างบราซิล อินโดนีเซีย และรัสเซีย ก็เห็นดีมานด์ที่ดีขึ้นมาก

สวนทางกับตลาดประเทศพัฒนาแล้ว เช่น จีน ยุโรปตะวันตก และทวีปอเมริกาเหนือ ตลาดหดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2019 ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดจาก Apple เลื่อนการออก iPhone รุ่นใหม่จากไตรมาส 3 ไปเป็นไตรมาส 4 ทำให้ยอดขายในแถบนี้หดตัวลง และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Xiaomi ขึ้นไปครองอันดับ 3 ได้อย่างที่เห็น

Source: The Verge, Businesswire

]]>
1303761
Vivo ควง Mario Jok ปั้นวิดีโอ คอนเทนต์ยอดวิวสูงสุดประจำสัปดาห์ https://positioningmag.com/1258858 Fri, 27 Dec 2019 18:58:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258858 ในแต่ละสัปดาห์ Socializta ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำการตลาดในแบบอินฟลูเอนเซอร์และคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง ได้แทร็ควิดีโอทั้งหมดที่อัพโหลดเป็นจำนวนหลักแสนตัวเฉพาะในประเทศไทย ที่ทำขึ้นโดยแบรนด์และ Influencer บนออนไลน์ แพลตฟอร์มทั้งใน Youtube, Facebook และ Instagram เพื่อให้เห็นว่า 3 อันดับที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากทางฝั่งแบรนด์และ Influencer นั้น เป็นใครกันบ้างโดยวัดจากยอดวิวและไลค์ เพื่อเป็นข้อมูลให้นักการตลาดและผู้สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งต่อไป

ในรอบสัปดาห์นี้ Socializta ได้ทำ Video Listening เพื่อดูความเป็นไปของวิดีโอกว่า 105,000 ตัว ในช่วง 7 วัน ระหว่างวันที่  16-22 ธันวาคม 2562

ท็อป 3 จากฝั่งแบรนด์ ได้แก่

1. Vivo Thailand Vivo V17 ฉีกทุกกฎในทุกช็อต

2. Apple ไทย – ถ่ายด้วย iPhone 11 Pro — สงครามหิมะ

3. realme Thailandrealme month big promotion โปรโมชั่นส่งความสุขท้ายปี

และท็อป 3 จากฝั่ง Influencer ได้แก่

1. Mario Jok แม่ใช้ล้างถ้วย -​ มาริโอ้ โจ๊ก ft. รำไพ แสงทอง

2. กับข้าวกับปลาโอ Plaocooking – หมูหัน (วันหวยออก)

3. My Mate Nate – เราทำจรวด โค้กใส่เมนทอส ใหญ่ที่สุดในโลก!!

วิดีโอของแบรนด์ ที่ทำยอดวิวสูงสุดได้แก่ Vivo Thailand  มียอดวิว 6.5 ล้านวิว และ 8,874 ไลค์

Vivo พิสูจน์ให้เห็นว่าฉีกกฎในทุกช็อตคืออะไร กับคลิปโฆษณาที่ทำให้ดูตื่นตาตื่นใจและดูเพลินไปพร้อมๆ กัน กับการใส่เทคนิคพิเศษในการถ่ายทำ ด้วยการย่อส่วนคนให้ลื่นไหลไปตามต้นไม้ และภาพกับเสียงที่สอดคล้องกัน รวมถึงอารมณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการได้ปลดปล่อยตัวตน ถือเป็นโฆษณาที่สามารถยกระดับและสร้างความสนใจให้ Vivo ได้อีกหลายขั้นเลยทีเดียว

วิดีโอของ Influencer ที่ทำยอดวิวสูงสุดได้แก่ Mario Jok มียอดวิว 5.1 ล้านวิว และ 123,100 ไลค์

1 ใน Influencer ที่ฮ็อตสุดๆ ประจำปี กับท่าทางตลกๆ แบบหน้าตาย และคอนเท้นท์สุดครีเอท ดึงอารมณ์คนดูได้ประมาณว่าแค่เห็นหน้าก็ขำแล้ว งานนี้ Mario Jok แสดงความสามารถด้วยการทั้งเขียนเพลง ร้องเพลง เล่นและกำกับเอ็มวีเอง ใส่คาเรคเตอร์ของตัวเองที่มีอย่างเต็มที่ ทั้งท่าเต้นแบบฮาๆ แต่หน้านิ่ง และเนื้อเรื่องที่ดูไปขำไป เลยไม่แปลกที่จะดึงยอดวิวจากคนดูได้หลายล้าน

(ข้อมูล ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2562)

ที่มา : www.socializta.com

]]>
1258858
Vivo ควง I Roam Alone ปั้นวิดีโอคอนเทนต์ยอดวิวสูงสุดประจำสัปดาห์ https://positioningmag.com/1256128 Fri, 06 Dec 2019 10:21:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256128 ในแต่ละสัปดาห์ Socializta ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำการตลาดในแบบอินฟลูเอนเซอร์และคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง ได้แทร็ควิดีโอทั้งหมดที่อัพโหลดเป็นจำนวนหลักแสนตัวเฉพาะในประเทศไทย ที่ทำขึ้นโดยแบรนด์และ Influencer บนออนไลน์ แพลตฟอร์มทั้งใน Youtube, Facebook และ Instagram เพื่อให้เห็นว่า 3 อันดับที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากทางฝั่งแบรนด์และ Influencer นั้น เป็นใครกันบ้างโดยวัดจากยอดวิวและไลค์ เพื่อเป็นข้อมูลให้นักการตลาดและผู้สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งต่อไป

ในรอบสัปดาห์นี้ Socializta ได้ทำ Video Listening เพื่อดูความเป็นไปของวิดีโอกว่า 104,000 ตัว ในช่วง 7 วัน ระหว่างวันที่  25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2562

ท็อป 3 จากฝั่งแบรนด์ ได้แก่

1. Vivo Thailand Vivo S1 Pro Explore Your Style

2. Ford Thailand – ฟอร์ด การันตีความใส่ใจ|ให้คุณไปต่อได้ ด้วยบริการรถทดแทน

3. Krungthai Care Krungthai Travel Card บัตรแลกเงินสุดคุ้มของนักเดินทาง

และท็อป 3 จากฝั่ง Influencer ได้แก่

1. I Roam Aloneอิรัก – เดินกิน ‘ตลาดเย็น’ คนมองทั้งเมือง EP.3 | Street Food IRAQ, Sulaimaniya

2. Kaykai Salaider ไปร์ทจะกลับไทยได้ไหม? หรือจะตกเครื่อง!! (อินเดีย Ep.2)

3. Tagple – ช่อนยักษ์ หมึกสด เพิ่งตกจากทะเล | #เอิร์ธสดชื่น

วิดีโอของแบรนด์ ที่ทำยอดวิวสูงสุดได้แก่ Vivo Thailand มียอดวิว 9.4 ล้านวิว และ 15,446 ไลค์

เป็นคลิปที่ดูเท่ เฉียบ มีสไตล์ บ่งบอกถึงความหมายในการสื่อคีย์ แมสเสจ ให้  Explore Your Style ได้ดีมากๆ ทั้งดนตรีประกอบ ลูกเล่นต่างๆ ของการถ่ายทำและตัดต่อ ประกอบกับการขายคุณภาพของกล้องหน้าที่คมชัดถึง 32 ล้านพิกเซล กล้องหลัง 48 ล้านพิกเซล และความสวย เฉี่ยวของพรีเซ็นเตอร์อย่างใบเฟิร์น ยอดวิวจึงแซงหน้าทุกแบรนด์ในสัปดาห์นี้

วิดีโอของ Influencer ที่ทำยอดวิวสูงสุดได้แก่ I Roam Alone มียอดวิว 3.6 ล้านวิว และ 184,884 ไลค์

นอกจากจะเป็นบล็อกเกอร์ที่รู้จักในนามสาวสายเที่ยวที่ชอบตะลุยเดี่ยว มิ้นท์ เจ้าของเพจ I Raom Alone ยังยืนหนึ่งในด้านสายกินตัวยง คลิปนี้พาเราไปดูถนนคนเดินที่อิรัก ว่าเค้ามีอาหารอะไรให้กินบ้าง และชิมอาหารแทบทุกชนิดอย่างเมามัน ดูแล้วได้แต่ทึ่งว่าทำไมถึงได้กินเก่งขนาดนั้น เพราะมินท์สั่งของกินเกือบแทบทุกร้านที่เดินผ่าน ดูเสร็จต้องไปหาอาหารทานกันเลยทีเดียว

(ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2562)

ที่มา : www.socializta.com

]]>
1256128