WhatsApp – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Oct 2024 03:17:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เลย์ออฟอีก!  “Meta” เลิกจ้าง-โยกย้ายพนักงาน “WhatsApp” – “Instagram” เพื่อลดต้นทุน https://positioningmag.com/1495167 Sun, 20 Oct 2024 05:05:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495167 Meta (เมตา) บริษัทโซเชียลมีเดียเจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook เลิกจ้าง โยกย้ายสถานที่ทำงาน โยกย้ายตำแหน่งงาน ในกลุ่มพนักงานบริษัท Instagram, WhatsApp และ Reality Labs ที่ Meta เป็นเจ้าของ โดยยังไม่ระบุจำนวนพนักงานที่ได้รับผลกระทบแน่ชัด

โฆษกของ Meta ระบุในแถลงการณ์ว่า บริษัทฯ ทําการเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ระยะยาวและกลยุทธ์ด้านสถานที่ที่ได้วางไว้ โดยจะมีการย้ายทีมงานบางทีมไปยังสถานที่อื่น และมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานของพนักงานบางคนไปทำหน้าที่ส่วนอื่น รวมถึงการช่วยเหลือและมองหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง

ตามรายงานข่าวระบุว่า ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมจาก Meta ว่า จำนวนพนักงานที่ถูกเลิกจ้างในครั้งนี้มีจํานวนเท่าใด และ Meta ก็ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน 

โดยก่อนหน้านั้นในเดือนพฤศจิกายน ปี 2022 Meta ได้ลดจำนวนพนักงานลงประมาณ 21,000 คน เพื่อลดต้นทุนของบริษัทฯ ไปรอบหนึ่งแล้วตามที่ มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ซีอีโอบริษัทฯ เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ “ปีแห่งประสิทธิภาพ”

ทั้งนี้ ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ Meta สามารถสร้างรายได้ได้ดีกว่าความคาดหวังของตลาดโดยหุ้นของ บริษัทฯ พุ่งขึ้นมากกว่า 60% และมีการคาดการณ์ว่าในไตรมาสที่ 3 รายได้ของบริษัทฯ มีแนวโน้มเติบโตขึ้น บ่งชี้ว่าการใช้จ่ายด้านการโฆษณาแบบดิจิทัลที่แข็งแกร่งบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้

นอกจากนั้น Financial Times ยังรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Meta ได้ปลดพนักงานจำนวน 24 คนในลอสแองเจลิสออก เนื่องจากพบว่าพนักงานกลุ่มดังกล่าวมีการใช้เครดิตอาหารรายวันมูลค่า 25 ดอลลาร์ (ประมาณ 830 บาท) เพื่อซื้อของใช้ในครัวเรือน เช่น แผ่นแปะสิว แก้วไวน์ และน้ํายาซักผ้า แทนอาหาร ซึ่งการเลิกจ้างส่วนนี้ เป็นการเลิกจ้างที่แยกจากการปรับโครงสร้างทีมและทาง Meta ได้ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลดพนักงานกลุ่มดังกล่าว

ที่มา : Reuters 

 

]]>
1495167
Mark Zuckerberg คาด รายได้จาก WhatsApp และ Messenger จะเติบโตสูงหลังจากนี้ https://positioningmag.com/1409063 Sat, 19 Nov 2022 07:18:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409063 Mark Zuckerberg ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของ Meta ได้กล่าวว่ารายได้จากแพลตฟอร์มส่งข้อความอย่าง WhatsApp และ Messenger จะเติบโตสูงในระยะต่อจากนี้ ขณะเดียวกันเขาเองก็ยังมองในระยะยาวว่า Metaverse ก็ยังเป็นโอกาสของบริษัทเช่นกัน

ทาง Reuters ได้อ้างอิงจากเอกสารที่ได้มา ซึ่งหัวเรือใหญ่ของ Meta ได้กล่าวกับพนักงานเมื่อวันพฤหัสที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า “เราได้พูดถึงโอกาสมากมายในระยะยาวของ Metaverse แต่ในความเป็นจริงแล้วธุรกิจส่งข้อความกำลังจะเป็นธุรกิจหลักของบริษัทซึ่งในตอนนี้บริษัทกำลังสร้างรายได้จาก WhatsApp และ Messenger ซึ่งในตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น”

โดย Meta เพิ่งจะมีการออกฟีเจอร์ใหม่สำหรับ WhatsApp คือการที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านการแชตได้ทันที ฟีเจอร์ใหม่เหล่านี้มีการเปิดตัวในบางประเทศ เช่น บราซิล เป็นต้น ซึ่ง Mark Zuckerberg ได้กล่าวในงานเปิดตัว WhatsApp Summit ที่บราซิลว่า ฟีเจอร์ใหม่นี้จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถพูดคุย ค้นหา หรือแม้แต่ซื้อสินค้า ผ่านในแพลตฟอร์มส่งข้อความได้ตั้งแต่ต้นจนจบ

นอกจากนี้เขายังได้กล่าวถึงการที่ธุรกิจ Metaverse นั้นได้ผลาญเงินของ Meta ไปเป็นจำนวนมาก และในช่วงที่ผ่านมารายได้ของบริษัทยังลดลง ส่งผลทำให้ราคาหุ้นของ Meta ลดลงอย่างมากนั้น เขาได้ชี้ว่า ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่นั้นคือการจ้างพนักงาน รองลงมาคือค่าใช้จ่ายในการลงทุน ขณะที่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ Metaverse ถือว่าน้อยกว่ามาก

ในช่วงที่ผ่านมานั้น Meta ได้มีการปลดพนักงานไปแล้วมากถึง 11,000 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วนราวๆ 13% ของพนักงานบริษัททั้งหมด

ผู้บริหารสูงสุดของ Meta รายนี้ยังกล่าวเกี่ยวกับเรื่อง Metaverse ที่บริษัทได้ลงทุนไปว่า นี่เป็นงานที่ท้าทายที่สุด แต่เขาก็มองว่าท้ายที่สุด Metaverse นั้นจะเป็นส่วนที่มีศักยภาพมากที่สุด ถ้าหากเวลาผ่านไป

]]>
1409063
‘TikTok’ แซง ‘Facebook’ ขึ้นแท่นแอปที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1345934 Tue, 10 Aug 2021 06:10:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345934 จากการวิเคราะห์ระดับโลกที่รวบรวมโดย Nikkei พบว่า TikTok ได้แซงหน้า Facebook, Instagram, WhatsApp และแพลตฟอร์มการส่งข้อความอื่น ๆ ในฐานะ แอปโซเชียลมีเดียที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก อย่างเป็นทางการแล้ว

Facebook เคยยึดตำแหน่งแอปที่มีการดาวน์โหลดสูงสุดในโลก ส่วน TikTok เคยอยู่อันดับที่ 4 ในปี 2019 จนกระทั่งมาปี 2020 TikTok ก็แซงขึ้นเป็นเบอร์ 1 แทน ซึ่งก็ไม่ได้สร้างความเซอร์ไพรส์เท่าไหร่หากดูอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนบริษัทแม่อย่าง Bytedance กลายเป็นสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงที่สุดของโลกที่ 1.4 แสนล้านดอลลาร์

ในขณะที่ YouTube ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงตลาดวิดีโอแต่เมื่อเวลาผ่านไป วิดีโอที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันมีความยาวประมาณสิบนาทีเท่านั้น ซึ่งสั้นกว่าความบันเทิงทางทีวีหรือวิดีโอทั่วไป และผู้ที่เห็นแนวโน้มและเข้ามาเปลี่ยนเทรนด์ของวิดีโอก็คือ TikTok แอปวิดีโอสั้นประมาณ 9-15 วินาที และปัจจุบันได้เพิ่มความยาวสูงสุดเป็น 3 นาที ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ในตอนแรกคลิปที่โด่งดังของ TikTok ส่วนใหญ่เป็นคลิปตลก และรูปแบบของมันได้ขยายไปถึงคลิปเพื่อการศึกษา แฮ็กชีวิต บทเรียนการทำอาหารขนาดเล็ก และอื่น ๆ อีกมากมาย ตามรายงานของ NikkeiAsia การระบาดใหญ่ได้เพิ่มความนิยมอย่างมากให้กับ TikTok เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่เพียงแค่ติดอยู่ที่บ้าน แต่ยังเป็นเพราะศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนถูกบังคับให้ยกเลิกการแสดงและทัวร์ และตัดสินใจที่จะใช้ ไปยังแพลตฟอร์มนี้แทน

ความปังของ TikTok ได้ทำให้แพลตฟอร์มอื่น ๆ คิดจะเลียนแบบสไตล์ เช่น Instagram ที่มีฟีเจอร์ Reels หรือ YouTube ที่มีฟีเจอร์ Shorts ทั้งสองสิ่งนี้ถูกผลักดันให้เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นเพิ่มเติมควบคู่ไปกับแพลตฟอร์มหลัก ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ให้กับอินฟลูเอนเซอร์หรือผู้ใช้ทั่วไปในการโพสต์หรือเสพ

ที่น่าสนใจคือ ไม่ใช่แค่ TikTok แต่แอปวิดีโอสั้นอื่น ๆ ก็ได้รับความนิยมในเอเชีย อาทิ Snack Video แอปจาก Kuaishou ของจีน ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ในเอเชียแปซิฟิก จุดแข็งของมันคือ การช้อปปิ้งออนไลน์ โดยหลายบริษัทได้ใช้มันเพื่อเพิ่มยอดขายในช่วงการระบาดของ COVID-19

อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้ว TikTok เคยถูก โดนัลด์ ทรัมป์ ขู่ว่าจะกำจัดแอปออกจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากความเสี่ยงด้านความปลอดภัยระดับประเทศ แม้ว่าการดาวน์โหลดแอปใหม่จะถูกแบนชั่วขณะหนึ่ง แต่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนล่สุดก็ได้ลงนามในคำสั่งเพื่อเพิกถอนการแบนทั้ง Tiktok และ WeChat

ที่น่าสนใจคือ TikTok ไม่เคยพูดถึงคุณลักษณะด้านความปลอดภัยใด ๆ และหลายคนยังคงกังวลว่าข้อมูลของพวกเขาอาจถูกบุกรุก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของแอปเลย ถึงแม้ว่าแอปอื่น ๆ เช่น WhatsApp จะทำงานอย่างหนักเพื่ออยู่เหนือแพลตฟอร์มคู่แข่งในแง่ของการเข้ารหัสข้อมูลและความเป็นส่วนตัวสูงสุด ดังนั้น เห็นได้ชัดว่าหากแอปมีความบันเทิงเพียงพอที่จะทำให้ผู้บริโภคไม่มีความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว

Source

]]>
1345934
มูลค่า ‘Facebook’ ทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญ หลังศาลยกฟ้องข้อหา ‘ผูกขาด’ https://positioningmag.com/1339547 Tue, 29 Jun 2021 07:55:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339547 หลายคนคงเคยได้ยินข่าวว่า ‘เฟซบุ๊ก’ (Facebook) แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเบอร์ต้น ๆ ของโลกได้ถูกคณะกรรมการการค้าของสหรัฐฯ หรือ Federal Trade Commission (FTC) ยื่นฟ้องในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์ก เนื่องจากไล่ซื้อคู่แข่งหลายราย อีกทั้งยังมีเงื่อนไข API ที่ไม่เป็นธรรม แต่ล่าสุดศาลก็ออกมายกฟ้อง ซึ่งส่งผลให้มูลค่าบริษัทของ Facebook ทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรก

ย้อนไปช่วงปลายปี 2020 FTC ได้ฟ้อง Facebook ในข้อหาการผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์ก เนื่องจากเฟซบุ๊กมีพฤติกรรมปิดกั้นการแข่งขัน ตั้งแต่การซื้อบริษัทที่มีโอกาสมาเป็นคู่แข่งในอนาคต อาทิ WhastApp, Instagram และกำหนดเงื่อนไขใน API ว่าห้ามนำไปใช้ทำฟีเจอร์บางอย่างแข่งกับ Facebook รวมถึงห้ามใช้โปรโมตหรือเชื่อมต่อกับบริการโซเชียลอื่น ๆ

โดยในคำฟ้องดังกล่าว FTC ร่วมกับอัยการจาก 46 รัฐทั่วอเมริกา และ 2 เขตพิเศษคือ DC/Guam ร่วมกันยื่นฟ้องต่อศาลเขต DC ขอให้สั่งแยกธุรกิจ Instagram กับ WhatsApp ออกมา และให้ศาลสั่งห้าม Facebook กำหนดเงื่อนไขบีบนักพัฒนา และ Facebook ต้องยื่นขออนุมัติการซื้อกิจการในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐบาลกลางได้ยกฟ้องการร้องเรียนต่อต้านการผูกขาดของ FTC โดยผู้พิพากษา James Boasberg แห่งศาลแขวงสหรัฐฯ ประจำ District of Columbia ตัดสินว่า หน่วยงาน ล้มเหลว ในการให้หลักฐานสำหรับการอ้างว่ายักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียรายนั้นผูกขาดในตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดย FTC ไม่ได้มีข้อมูลเพียงพอที่จะสนับสนุนการยืนยันว่า Facebook ถือหุ้นเกิน 60% ของตลาดโซเชียลมีเดีย

หลังสิ้นสุดคำตัดสินหุ้นของ Facebook เพิ่มขึ้นมากกว่า 4% ดันให้มูลค่าตลาดของบริษัทให้สูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก จากที่ Facebook เริ่มเข้าตลาดหุ้นในปี 2012 โดยมีมูลค่ากิจการที่ราว 1.04 แสนล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ FTC กำลังตรวจสอบความคิดเห็นของผู้พิพากษาอย่างใกล้ชิดและกำหนดขั้นตอนต่อไป และมีความยินดีที่การตัดสินใจของวันนี้รับรู้ข้อบกพร่องในการร้องเรียนรัฐบาลฟ้อง Facebook โฆษกของหน่วยงาน Lindsay Kryzak กล่าว

ขณะที่ตัวแทนของ Ken Buck ตัวแทนพรรครีพับลิกันในคณะกรรมการตุลาการสภาผู้แทนราษฎรสภาคองเกรส ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า

“คดีของ FTC ต่อ Facebook แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการต่อต้านการผูกขาดโดยด่วน โดยจำเป็นต้องจัดหาเครื่องมือและทรัพยากรเพิ่มเติมให้กับผู้บังคับใช้การต่อต้านการผูกขาดของเรา เพื่อดำเนินการตามบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีส่วนร่วมในการต่อต้านการแข่งขัน”

Source

]]>
1339547
‘Facebook’ กวาดรายได้ไตรมาสแรก 8.19 แสนล้าน ฟันกำไร 2.97 แสนล้าน โต 94% https://positioningmag.com/1329917 Thu, 29 Apr 2021 06:23:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329917 ในช่วงสัปดาห์นี้ เหล่าบริษัท ‘เทคคอมปานี’ รายใหญ่ของโลกต่างทยอยออมารายงานผลประกอบการไตรมาสแรกประจำปี 2021 กันไป โดยที่ผ่านมาก็มี ‘Alphabet’ บริษัทแม่ของ ‘Google’ ที่มีอัตราการเติบโตถึง 34% ล่าสุด ก็ถึงคิวของ ‘Facebook’ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอันดับต้น ๆ ของโลก

โดยรายได้ในไตรมาส 1 ของ Facebook อยู่ที่ 2.61 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือกว่า 8.19 แสนล้านบาท เติบโต 48% ส่วนกำไรเติบโตถึง 94% อยู่ที่ 9.5 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 2.97 แสนล้านบาท ส่งผลให้หุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นถึง 6% โดย Facebook ระบุว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมาจากราคาโฆษณาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 30% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่จำนวนโฆษณาที่แสดงผลเพิ่มขึ้น 12%

ส่วนรายได้อื่น ๆ ของ Facebook นอกเหนือจากโฆษณา อาทิ ชุดหูฟัง, แว่น VR Oculus และ หน้าจออัจฉริยะ Portal อยู่ที่ 732 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 146% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งคิดเป็นเกือบ 3% ของรายได้ของ Facebook ในไตรมาสนี้

ในส่วนของผู้ใช้งาน Facebook ระบุว่ามีผู้ใช้ต่อวันที่ 1,878 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2020 ส่วนผู้ใช้ต่อเดือนอยู่ที่ 2,853 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2020 และเมื่อรวมผู้ใช้งานทั้งหมดทุกแพลตฟอร์ม (Facebook, Instagram, Messenger และ WhatsApp) มีผู้ใช้ 2,720 ล้านคน เพิ่มขึ้น 15% และมีผู้ใช้ต่อเดือนที่ 3,450 ล้านราย เพิ่มขึ้น 15%

Photo : Shutterstock

เดินหน้าลุยอีคอมเมิร์ซ

Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Facebook กล่าวว่า ในส่วนของฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซที่เรียกว่า Marketplace ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านคนต่อเดือน ส่วนฟีเจอร์ Shops ที่เพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อปีก่อน ก็มีผู้ใช้งานมากกว่า 250 ล้านคนต่อเดือน

ดังนั้น บริษัทจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อเชื่อมต่อกันในแต่ละแอปฯ ได้ง่ายขึ้น เช่น WhatsApp Catalogs สำหรับให้ร้านค้าอัปเดตสต๊อกสินค้า และในอนาคต Facebook ก็กำลังพัฒนาในส่วนของเทคโนโลยีการชำระเงินและการมี สกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง

“การค้ามีการเติบโตในบริการของเรามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็มีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง และต่อไปกระเป๋าเงินดิจิทัลของ Novi จะเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดใช้งานการค้าบนบริการของ Facebook มากขึ้น” Zuckerberg กล่าว

(Photo by David Ramos/Getty Images)

มั่นใจไตรมาส 2 ยังเติบโต

Facebook คาดว่าการเติบโตของรายได้ในไตรมาส 2 จะยังคงมีเสถียรภาพหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการเติบโตที่ช้าลงในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการระบาด อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าการเติบโตของรายได้ในไตรมาสที่ 3 และ 4 จะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการเติบโตอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งปีก่อนอันเป็นผลมาจากการระบาด

อย่างไรก็ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัวของระบบปฏิบัติการ iOS 14 ที่ส่งผลโดยตรงต่อการบูสต์โฆษณาเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคาดว่าจะเริ่มส่งผลกระทบในไตรมาส 2 ซึ่งบริษัทกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือ ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าเงินลงทุนในปี 2021 จะอยู่ในช่วง 19,000 ถึง 21,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ที่วางไว้ 21,000 ถึง 23,000 ล้านดอลลาร์

Source

]]>
1329917
อย่างเจ็บ! เมื่อ ‘Facebook’ ถูกเรียก ‘นักก๊อป’ มูลค่า 7.7 แสนล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1320170 Fri, 19 Feb 2021 09:59:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320170 Facebook ยังคงเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่าใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก พร้อมกับครองตลาดโฆษณาออนไลน์เช่นเดียวกับ Google แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการ ‘ก๊อปฟีเจอร์ยอดนิยม’ จากคู่แข่งมากกว่าที่มีในการสร้างฟีเจอร์และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ด้วยตัวเอง

ย้อนไป 4 ปีที่แล้ว ‘Facebook’ มักจะมีนวัตกรรมอะไรที่น่าตื่นเต้นอยู่เสมอ โดยบริษัทได้จัดตั้งแผนกฮาร์ดแวร์ใหม่ชื่อ ‘Building 8’ โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรดูแลโดยผู้บริหารจาก DARPA และประกาศว่ากำลังสร้างเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้สามารถ ‘พิมพ์ด้วยสมอง’ และ ‘ได้ยินด้วยผิวหนัง’ นอกจากนี้มีข่าวว่าจะผลิต ‘สมาร์ทโฟน’ ด้วย

ในตอนนั้นยังไม่รู้ว่าสิ่งที่คิดนั้นจะสามารถเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ แต่มันให้ความรู้สึกแปลกใหม่และแตกต่างจากสิ่งที่บริษัทเคยทำมา แต่แล้วผู้บริหาร DARPA ก็ออกจาก Facebook ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา และหนึ่งปีหลังจากนั้น Building 8 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ‘Portal’ ชื่อเดียวกับ ‘Facebook Portal’ ลำโพงอัจฉริยะที่ Facebook สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันจาก ‘Amazon’

Computer screen showing the website for social networking site, Facebook (Photo by In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images)

แทนที่จะใช้เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ใหม่ ๆ Facebook ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบจำนวนมากที่ยกมาจาก YouTube, Twitch, TikTok, LinkedIn, Pinterest และ Slack โดย Facebook ดำเนินการเกี่ยวกับแอปหาคู่ยอดนิยมเปิดตัวคู่แข่ง Craigslist และฉีกฟีเจอร์ Stories ยอดนิยมของ Snapchat ในปี 2559 ไม่นานก่อนที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะ และที่เพิ่งมีข่าวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็คือ Facebook กำลังต้องการทำฟีเจอร์แบบเดียวกับ ‘Clubhouse’ ซึ่งเป็นแอปที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้

นอกเหนือจากการก๊อปแล้ว เมื่อ Facebook ไม่สามารถเอาชนะพวกเขาได้มันก็ซื้อมันเหมือนกับที่ซื้อ ‘Instagram’ ในปี 2012 เช่นเดียวกับ ‘WhatsApp’ และ ‘Oculus’

เพราะทั้งซื้อและก๊อปฟีเจอร์ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกากล่าวหา Facebook ว่าใช้ “อำนาจการครอบงำและการผูกขาดเพื่อบดขยี้คู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่า” ตามคำพูดของ Letitia James อัยการสูงสุดแห่งนิวยอร์ก ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มในการสืบสวน Facebook

ด้วยความพยายามในการก็อปที่ต่อเนื่องทำให้เกิดคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ของ Facebook ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญของบริษัทเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม Facebook นั้นไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยีรายแรกหรือรายเดียวที่ก๊อปฟีเจอร์ แต่ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ดูเหมือนจะคัดลอก TikTok ในระดับหนึ่งรวมถึง Snapchat และ YouTube อย่างไรก็ตาม สำหรับ Facebook เองก็ยากที่จะบอกได้ว่าครั้งสุดท้ายที่ Facebook สร้างนวัตกรรมที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงคือตอนไหน

Tucker Marion รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น ที่มุ่งเน้นไปที่การเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม กล่าวว่า การก๊อปของคู่แข่งไม่ใช่กลยุทธ์ที่ไม่ดี แต่จำเป็นต้องควบคู่ไปกับการที่บริษัทดำเนินการตามแนวคิดดั้งเดิมของตนเองด้วย

เพื่อความเป็นธรรมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เป็นเรื่องยาก โดย Google ได้เผาผลาญเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในโครงการต่าง ๆ ตั้งแต่การร่วมทุนบอลลูนอินเทอร์เน็ตที่มีความทะเยอทะยานไปจนถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและมีความขยันขันแข็งมากขึ้นเกี่ยวกับการทดลอง

Facebook ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เปิดตัว News Feed ในปี 2006 หลายเดือนหลังจากที่ Twitter เปิดตัวและช่วยเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนบริโภคข้อมูลทางออนไลน์ จากนั้นการเปิดตัวโทรศัพท์ Facebook ก็ล้มเหลว การทดลองใช้โดรนส่งมอบอินเทอร์เน็ตที่บินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ก็เงียบไป และ cryptocurrency ตัวใหม่ (TBD ก็ยังมีปัญหาในช่วงแรก ๆ)

ในทางกลับกันความพยายามบางส่วนในการเลียนแบบคู่แข่งประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล Instagram Stories ซึ่งเป็นก๊อป Snapchat กลายเป็นวิธีเริ่มต้นในการสื่อสารและเชื่อมต่อสำหรับผู้คนนับล้าน รวมถึง Facebook Marketplace กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม

ที่ผ่านมา Kevin Systrom ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีต CEO ของ Instagram เคยกล่าวไว้เมื่อถูกถามเกี่ยวกับปัญหาการลอกเลียนแบบว่า “ลองนึกภาพรถคันเดียวในโลกคือ Model T ในตอนนี้มีคนประดิษฐ์รถขึ้นมาใหม่มันเจ๋งมาก แต่คุณจะโทษไหมที่บริษัทอื่น ๆ สร้างรถยนต์ที่มีล้อพวงมาลัยและแอร์และหน้าต่างเหมือนกัน คำถามคือ คุณสร้างสิ่งที่ไม่เหมือนใครได้อย่างไร?”

คงจะจริงอย่างที่ว่า เพราะผู้บริโภคทั่วไปไม่สนใจว่าใครจะนึกถึงแนวคิดนี้ก่อน พวกเขาสนใจว่าใครเป็นผู้ดำเนินการได้ดีที่สุด อย่าง Apple ไม่ได้คิดค้นสมาร์ทโฟนขึ้นมา แต่เพียงแค่สร้างเครื่องที่ดีที่สุดในเวลานั้น นั่นเป็นเหตุผลที่ Instagram Stories ทำให้ฐานผู้ใช้ทั้งหมดของ Snapchat ลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีแม้ว่า Facebook จะไม่ใช่คนที่คิดค้น และด้วยเหตุนี้ Reels ซึ่งเป็นฟีเจอร์วิดีโอรูปแบบสั้นจึงพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้รับแรงการตอบรับและแข่งขันกับอัลกอริทึมการแนะนำที่มีประสิทธิภาพของ TikTok

แม้แต่เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยสมองก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เมื่อไม่ถึงหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ Elon Musk มีแผนจะใช้สมองกับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เฟซคอมพิวเตอร์สมองอื่น ๆ มีการใช้งานมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็อดไม่ได้ที่จะหวังว่าวันหนึ่งจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ จาก Facebook และแม้จะมีนักวิจารณ์พูดถึง Facebook แบบนี้ แต่ตัวแทนของบริษัทก็ยังไม่ตอบกลับคำร้องขอความคิดเห็นในเรื่องนี้ทันที

Source

]]>
1320170
Covid-19 ดันยอดผู้ใช้ในเครือ Facebook ทะลุ 3 พันล้านราย แถมหุ้นยังพุ่ง 7% https://positioningmag.com/1290382 Fri, 31 Jul 2020 08:28:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290382 Covid-19 ถือเป็นวิกฤติในหลายองค์กร แต่ไม่ใช่กับเหล่าแพลตฟอร์มไอที ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Google และโดยเฉพาะ Facebook

เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา Facebook รายงานว่ามีผู้ใช้งานอยู่ที่เดือนละ 2.7 พันล้านรายในช่วงปลายเดือนมิถุนายน เติบโต 12% จากปีก่อน และเมื่อพิจารณาถึงแอปต่าง ๆ ของ Facebook รวมถึง Instagram และ WhatsApp บริษัทมียอดผู้ใช้ทะลุ 3 พันล้านคนเป็นครั้งแรก

ด้วยจำนวน Eyes ball ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ Facebook มีรายรับเพิ่มขึ้น 11% หรือราว 18.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสที่ 2 และหุ้นของ Facebook เติบโตมากกว่า 7% ในเวลาทำการซื้อขายวันพฤหัสบดีหลังรายงานผลประกอบการ แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะหดตัวถึง 32.9%

“ตั้งแต่ Covid-19 ระบาดมา ผู้คนใช้บริการของเราเพื่อติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวที่พวกเขาไม่สามารถอยู่ด้วยได้ และเพื่อให้ธุรกิจของพวกเขาที่ต้องย้ายมาออนไลน์ เพราะหน้าร้านต้องปิดลง ท่ามกลางช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้สำหรับผู้คนทั่วโลก บริการของเรามีความสำคัญยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาก่อน” Mark Zuckerberg CEO Facebook กล่าว”

mark zuckerberg ceo facebook

อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 เมื่อมาตรการล็อกดาวน์เริ่มผ่อนคลายลง ยอดการใช้งานอาจจะคงที่หรือลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ผลกระทบทางการเงินใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการคว่ำบาตรจากแคมเปญ #StopHateforProfit ที่บริษัทใหญ่ ๆ เช่น Hershey’s, Starbucks และ Patagonia เรียกร้องให้หยุดการโฆษณาบน Facebook เนื่องจากการคว่ำบาตรเกิดในช่วงเดือนกรกฎาคม ขณะที่ผลประกอบการไตรมาส 2 สิ้นสุดที่เดือนมิถุนายน

Source

]]>
1290382
Facebook และ WhatsApp เปิดตัว ‘ไอคอน’ และ ‘ชุดสติกเกอร์’ ใหม่ไว้ใช้สื่อสารช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1274762 Wed, 22 Apr 2020 06:43:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274762 ถือเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวของ 2 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ของโลกทั้ง Facebook ที่มีไอคอนใหม่ที่ใช้แสดงความรู้สึก ‘ห่วงใย’ และ WhatsApp ที่เปิดตัวชุดสติกเกอร์ใหม่ที่ชื่อว่า ‘Together at Home’ เพื่อสะท้อนความรู้สึกและอารมณ์ที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

ก่อนหน้าที่ Facebook จะเปิดตัว Icon ห่วงใยนั้น ได้เคยเปิดตัวสติกเกอร์ ‘อยู่บ้าน’ (Stay Home) และ ‘Thank You’ บน Instagram เพื่อแสดงความรู้สึกขอบคุณกับสิ่งที่ช่วยให้คุณสามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุข เพื่อนฝูง ครอบครัว

และไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวแห่งความสุข ความเศร้า หรืออารมณ์ใด ๆ ก็ตาม Facebook ต้องการให้ผู้คนสามารถให้กำลังใจกันได้อย่างเหมาะสมกับทุกโอกาส ผ่านการแสดงความรู้สึกต่อรูปภาพ ข่าวสาร วิดีโอ โพสต์ข้อความ หรือการสนทนาต่าง ๆ โดยเฉพาะโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ จึงได้เปิดตัวปุ่มไอคอนแสดงความรู้สึกชุดใหม่บน Facebook และ Messenger โดยได้เริ่มให้บริการบน Messenger และจะเริ่มให้บริการบน Facebook ในวันที่ 23 เมษายนเป็นต้นไป ซึ่งปุ่มแสดงความรู้สึกเหล่านี้ถูกออกแบบเพื่อการใช้งานชั่วคราว เพื่อให้ผู้คนสามารถแสดงความห่วงใยกันและกันในช่วงเวลานี้เท่านั้น

ในส่วนของ WhatsApp ที่คนไทยไม่ค่อยใช้สักเท่าไหร่ เพราะนิยมใช้ Line มากกว่า แต่ในต่างประเทศ WhatsApp ถือว่าเป็นแอปที่ได้รับความนิยมมากทีเดียว โดย WhatsApp เปิดตัวสติกเกอร์เมื่อสองปีก่อนและตั้งแต่นั้นก็ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงออกบนแพลตฟอร์มโซเชียล

ล่าสุด WhatsApp ได้ร่วมกับ World Health Organization (WHO) หรือองค์กรอนามัยโลกเปิดตัวสติกเกอร์ใหม่ที่ชื่อว่า ‘Together at Home’ เพื่อสะท้อนความรู้สึกและอารมณ์ที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีทั้งสติกเกอร์ที่แสดงให้เห็นชายคนหนึ่งที่สวมใส่ชุดนอน แล็ปท็อปที่แสดงถึงบรรทัดฐานใหม่ของการ Work From Home, การสนทนากลุ่มทางวิดีโอ, คนที่กำลังดูซีรีส์บนเตียง, สุนัขที่เตือนผู้คนให้ล้างมือ และผู้หญิงกำลังสอดแนมเพื่อนบ้านโดยใช้กล้องส่องทางไกล มีสติกเกอร์ที่ฉลองวีรบุรุษทางการแพทย์

ทั้งนี้ ชุดสติกเกอร์ Together at Home มีอยู่ใน WhatsApp และสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ปัจจุบันมีให้บริการเป็นภาษาอังกฤษและข้อความที่แปลเป็นภาษาต่าง ๆ 10 ภาษา ได้แก่ อาหรับ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ฮินดี, อินโดนีเซีย, อิตาลี, โปรตุเกส, รัสเซีย, สเปน และตุรกี

Source

]]>
1274762
หมดยุคชื่อเดี่ยว! จากนี้จะเป็น “Instagram From Facebook” และ “WhatsApp From Facebook” https://positioningmag.com/1241370 Mon, 05 Aug 2019 04:39:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241370 จากที่เคยมีภาพเป็นอิสระจากกัน วันนี้บริษัทย่อยของ Facebook กำลังจะถูกรีแบรนด์ใหม่โดยต่อท้ายคำว่า “From Facebook” เข้าไป ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นรูปธรรมนับตั้งแต่ Facebook ซื้อกิจการ Instagram ในปี 2012 และ WhatsApp ในปี 2014

การรีแบรนด์ Instagram และ WhatsApp ครั้งนี้ได้รับความสนใจจากชาวออนไลน์วงกว้าง สาเหตุเป็นเพราะทั้ง 2 แบรนด์ถูกยกให้เป็นแบรนด์ที่มีศักยภาพมากที่สุดในโลกดิจิทัล ข้อมูลเบื้องต้นถูกเปิดเผยโดยรายงานจากสำนักข่าว The Information

ฟากโฆษกหญิงของ Facebook ยืนยันแล้วว่าจะทำการเปลี่ยนชื่อแบรนด์ Instagram และ WhatsApp มาเป็น “Instagram From Facebook” และ “WhatsApp From Facebook” จริงตามรายงาน

ต้องการความชัดเจน

โฆษกหญิงของ Facebook อธิบายว่าบริษัทต้องการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นส่วนหนึ่งของ Facebook แต่ไม่ตอบความคิดเห็นในรายงานที่ฟันธงว่าการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้เป็นการลบคำสบประมาทที่ Facebook ไม่ได้รับเครดิตในความนิยมของ Instagram และ WhatsApp ที่เกิดขึ้นเลย

รายงานยังชี้ประเด็นไปถึง CEOมาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก” (Mark Zuckerberg) แห่ง Facebook ที่คนทั่วไปมักมองว่าบริษัทที่ Zuckerberg ก่อตั้งไม่ได้รับเครดิตมากพอสำหรับความนิยมของ Instagram และ WhatsApp ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจุบันแฟนคลับของแอปเหล่านี้ไม่ได้สนใจว่าใครเป็นเจ้าของ

เห็นได้ชัดจากการสำรวจ 2 ครั้งในปี 2018 ที่พบว่าคนอเมริกันมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าตัวเองเชื่อมต่อกับ Facebook ได้อย่างไร สิ่งที่สำคัญกว่าในการดึงให้ผู้ใช้แอปยังผูกโยงใช้งานเป็นประจำคือความสัมพันธ์ยาวนาน หรือความคุ้นชิน

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ เหล่าวัยรุ่นในหลายประเทศมองว่า Facebook ไม่เจ๋งและไม่น่าใช้งานอีกต่อไป แต่เลือกไปใช้งานเครือข่ายสังคมภาพอย่าง Instagram แทน

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงชื่อแบรนด์จะมีผลสะท้อนว่าความเป็นอิสระของ Instagram และ WhatsApp กำลังหมดลง ต่างจากที่ผ่านมา Facebook ปล่อยให้ผู้ก่อตั้งทั้ง 2 แอปรักษาวัฒนธรรมของตัวเองจนสาวกดูเหมือนจะพอใจกับเนื้อแท้ของแบรนด์ที่ยังเหลืออยู่ 

รวม Facebook, Instagram และ WhatsApp 

ปัจจุบันผู้ก่อตั้ง Instagram และ WhatsApp ต่างก็ลาออกจากบริษัทจนมีข่าวว่าทั้งคู่ไม่พอใจกับการเข้าไปแทรกแซงของ Facebook ซึ่งก่อนหน้านี้ Mark Zuckerberg ประกาศวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแนวคิดการรวม Facebook, Instagram และ WhatsApp เข้าด้วยกัน เพื่อมอบประสบการณ์แก่ผู้ใช้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 บริการ

คาดว่าการรีแบรนด์ครั้งนี้ถูกวางแผนมาให้เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนตามนโยบายนี้เบื้องต้นมีรายงานว่าทีมงาน Instagram ที่ทำงานเกี่ยวกับคุณสมบัติการส่งข้อความส่วนตัวโดยตรง นั้นถูกถอดออกแล้วโยนไปให้กลุ่มที่รับผิดชอบบริการ Messenger ของ Facebook แล้ว บนการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการรวมกันที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา

ปฏิกิริยาของชาวเน็ตต่อการรีแบรนด์ Instagram และ WhatsApp นั้นออกไปในเชิงเหน็บแนมมากกว่าอารมณ์ประหลาดใจ ชาวเน็ตบางรายตั้งข้อสังเกตว่า Facebook อาจกำลังพยายามหลอมรวมองค์กรของตัวเองก่อนจะถูกไฟแดงจากคณะกรรมการของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่กำลังเข้ามาตรวจสอบเพื่อต่อต้านการผูกขาด และอาจจะล้มดีลการซื้อขายบริษัท Instagram และ WhatsApp แบบย้อนหลัง

ในภาพรวมการตั้งชื่อใหม่อาจมีความสำคัญในระยะยาว เพราะท้ายที่สุดชื่อแบรนด์หรือตราสินค้าก็ยังคงมีผลกับความรู้สึกของผู้บริโภค ทำให้เป็นไปได้ว่าสาวก Instagram และ WhatsApp อาจจะให้ความสนใจกับแอป Facebook ทั้งคู่มากขึ้น

หรืออาจจะซ้ำรอยกรณีของ Microsoft ที่เคยพยายามติดแบรนด์ Windows ไว้บนบริการออนไลน์ที่ไม่สร้างชื่อ เช่น “Windows Live Search” แต่สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนมาเหลือแค่ “Bing” และกรณี “Windows Live Hotmail” ที่กลายเป็น Outlook.com ในที่สุด

Source

]]>
1241370
ผ่าไอเดีย Mark Zuckerberg ทำไมต้องรวม Messenger, WhatsApp และ Instagram https://positioningmag.com/1212159 Mon, 04 Feb 2019 11:45:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1212159 มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ค Mark Zuckerberg อธิบายที่มาของแนวคิดรวม Messenger, WhatsApp และ Instagram ซึ่งประกาศต่อสาธารณชนครั้งแรกในงานประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุด 

เวลานั้นเจ้าพ่อ Facebook ยืนยันว่าบริษัทต้องการทำให้บริการส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชั่นในเครือมีรูปแบบการทำงานที่ง่ายขึ้น จึงเกิดเป็นไอเดียรวมบริการทั้ง Messenger, WhatsApp และ Instagram ซึ่งยังต้องใช้เวลานานกว่าจะผ่านการศึกษาเพื่อหาข้อสรุป ทำให้โลกต้องรอถึงปี 2020 หรือนานกว่านั้นจึงจะได้เห็นการควบรวมนี้

รวมที่โครงสร้าง

ไอเดียการรวม Messenger, WhatsApp และ Instagram ถูกอธิบายในเบื้องต้นว่าเป็นการรวมที่โครงสร้างพื้นฐานของแอป ซึ่งเป็นในหลายส่วนที่ Zuckerberg ย้ำว่ายังมีเรื่องราวอีกมากที่เราต้องคิดให้ดีก่อนที่จะสรุปแผน

เหตุที่ทำให้ Zuckerberg ต้องการรวมโครงสร้างพื้นฐานของแอป คือ การเปลี่ยนแปลงระบบเข้ารหัสในผลิตภัณฑ์ของบริษัทมาเป็นแบบ end to end encryption by default ระบบเข้ารหัสดังกล่าวเป็นที่ชื่นชอบในระบบ WhatsApp ซึ่งผู้ใช้รู้สึกปลอดภัย เนื่องจากข้อความที่ถูกส่งจะถูกเปิดได้เฉพาะต้นทางและปลายทางเท่านั้น

Zuckerberg ย้ำว่านี่คือทิศทางที่บริษัทควรจะไป เนื่องจากโอกาสงามที่เห็นได้ชัดหากบริษัทใช้การเข้ารหัสที่ทำงานอย่างสอดคล้องกันในทุกบริการ

เจ้าพ่อ Facebook ยังตั้งข้อสังเกตว่าแนวคิดนี้จะเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติ ในการเปิดให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อความระหว่างแอป 

เปิดกว้างเพื่อยืดหยุ่น

Zuckerberg ยกตัวอย่างในประเทศที่นิยมใช้ WhatsApp เป็นหลัก ผู้ใช้ก็ควรสามารถส่งข้อความถึงผู้ขายสินค้าบน Facebook Marketplace ผ่าน WhatsApp ได้ ทำให้สะดวกสบายกว่าโดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าต้องส่งข้อความผ่าน Messenger เท่านั้น 

นอกจากนี้ Zuckerberg ยังกล่าวว่าผู้ใช้ Android กว่าสิบล้านคน ซึ่งปัจจุบันใช้ Messenger เป็นแอปหลักสำหรับส่ง SMS จะได้รับประโยชน์จากการเปิดใช้งานการเข้ารหัสแบบใหม่

อย่างไรก็ตาม Zuckerberg ยังไม่ได้แบ่งปันแนวคิดว่าแผนการรวมโครงสร้างดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อ Instagram อย่างไร จุดนี้เชื่อว่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดมากขึ้นต่อไปในอนาคต

ทันทีที่ข่าวแผนการของ Facebook ในการผสานโครงสร้างพื้นฐานหลังบ้านของ 3 แอปพลิเคชั่นนี้ถูกเผยแพร่ นักสังเกตการณ์ทั่วโลกเกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ล่าสุดที่ Zuckerberg ให้ความสำคัญเมื่อต้องการควบคุมการใช้บริการแบบเข้มงวด จุดนี้มีเสียงวิจารณ์ว่าการที่ Zuckerberg มุ่งบริหารจัดการ Instagram และ WhatsApp อย่างตั้งใจ นั้นเป็นเพราะ Facebook ต้องพึ่งพาทั้ง 2 บริษัทอย่างมากสำหรับการเติบโตในอนาคต.

ที่มา : https://sea.mashable.com/tech/2125/mark-zuckerberg-explains-why-he-wants-to-merge-messenger-wha

]]>
1212159