Workplace – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 27 Nov 2022 09:24:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลจัดอันดับเผย กัวลาลัมเปอร์ครองแชมป์เมืองที่ดีที่สุดสำหรับ Expat กรุงเทพฯ ครองอันดับ 5 https://positioningmag.com/1410125 Sun, 27 Nov 2022 07:10:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410125 เมืองหลวงของมาเลเซียติดการจัดอันดับว่าเป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับ Expat เนื่องจากค่าครองชีพรวมถึงภาษีเฉลี่ยแล้วถูกกว่าเมืองอื่นๆ ทั่วโลก ขณะที่กรุงเทพฯ นั้นติดอันดับ 5 ของการจัดอันดับนี้

ผลจัดอันดับจาก Preply ซึ่งเป็นแอปสำหรับเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ได้ชี้ว่ากัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับชาวต่างชาติที่ปักหลักทำงานในประเทศอื่น (Expat) โดยมีเมืองต่างๆ ในอาเซียนติดอันดับถึง 3 เมือง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือกรุงเทพฯ

รายงานของ Preply นั้นได้รวบรวมเมืองต่างๆ ทั่วโลกมากถึง 60 เมืองยอดฮิตที่เหล่า Expat นั้นได้ทำงาน และมีการจัดอันดับออกมาโดยใช้ปัจจัยในการย้ายถิ่นฐานไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็น ภาษี ค่าใช้จ่ายด้านที่พัก ความเร็วอินเทอร์เน็ต ความยากง่ายของภาษาท้องถิ่น ไปจนถึงเมืองดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญหรือไม่

โดยแชมป์ในปีนี้ก็คือเมืองหลวงของมาเลเซีย โดยปัจจัยสำคัญคือค่าใช้จ่ายที่ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราภาษี ราคาค่าเช่าที่พักที่ต่ำ นอกจากนี้ยังรวมถึงปัจจัยของภาษา เนื่องจากมาเลเซียใช้ภาษาอังกฤษ

ขณะที่กรุงเทพมหานครนั้น รายงานของ Preply ได้ชี้ว่าอัตราภาษีและค่าเช่าที่พักอาศัยนั้นถือว่าสูง เมื่อเทียบกับเมืองหลวงของมาเลเซีย อย่างไรก็ดีแนวโน้มในความต้องการที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติในกรุงเทพฯ ถือว่าเพิ่มมากขึ้น หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด

นอกจากนี้เมื่อเทียบกับการจัดอันดับแล้วกรุงเทพมหานครนั้นถือว่ามีราคาอาหารที่ถูก เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ที่เหลือ

สำหรับเมืองอื่นๆ ที่ติดอันดับนั้น เช่น ทบิลิซี เมืองหลวงของจอร์เจีย ดูไบ ลิสบอน ปราก มาดริด บาร์เซโลนา อาลิกันเต จากสเปน มอนทรีออล มัสกัต บราก้า รวมถึงฮานอย

]]>
1410125
ผลสำรวจเผยผู้ประกอบการในเอเชียโอเคกับ WFH แต่ยังไม่เปิดรับการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ https://positioningmag.com/1409090 Sun, 20 Nov 2022 18:30:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409090 ผลสำรวจจากผู้ประกอบการถึงเกือบ 2,200 รายจากทวีปเอเชียแปซิฟิกพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการที่จะให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน นอกจากนี้การยอมรับในการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ของผู้ประกอบการนั้นยังคงเป็นสัดส่วนที่น้อยมากอีกด้วย

สำนักข่าว Bloomberg รายงานผลสำรวจจาก Center for Creative Leadership ซึ่งสำรวจผู้ประกอบการมากถึง 2,170 รายจาก 13 ประเทศทั่วทวีปเอเชียแปซิฟิก ซึ่งสอบถามในหัวข้อ “ในระยะยาว (3-5 ปีข้างหน้า) รูปแบบการทำงานที่ต้องการหรือกำลังเกิดขึ้นในองค์กรของคุณคืออะไร”

ผลสำรวจเหล่านี้พบว่าผู้ประกอบการหลายประเทศเองต้องการให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน ขณะเดียวกันก็ยังพบว่าผู้ประกอบการส่วนน้อยที่สามารถให้พนักงานทำงานแบบรีโมตได้เต็มที่ 100% แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานก็ตาม

ผู้ประกอบการในประเทศที่ให้พนักงานสามารถทำงานได้ยืดหยุ่นมากที่สุดนั่นก็คือ สิงคโปร์ ออสเตรเลียรวมถึงนิวซีแลนด์ ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวสูงถึง 31% และ 28% ตามลำดับ และผู้ประกอบการจาก 2 ประเทศดังกล่าวยังต้องการให้พนักงานเข้าทำงานในสำนักงานเต็มรูปแบบเพียงแค่ 1% และ 8% ตามลำดับด้วย

ขณะที่ผู้ประกอบการไทยนั้นในผลสำรวจชี้ว่าความยืดหยุ่นมีแค่ 16% เท่านั้น และต้องการให้พนักงานเข้าทำงานในสำนักงานเต็มรูปที่ 16%

ในผลสำรวจยังชี้ว่าตรงข้ามกับผู้ประกอบการจากประเทศจีนกลับมีความยืดหยุ่นน้อยมากที่สุด โดยอยู่ที่ 10% เท่านั้น อย่างไรก็ดี 14% ของผู้ประกอบการจีนต้องการให้พนักงานเข้าสำนักงานแบบเต็มรูปแบบที่ 14%

นอกจากนี้ในผลสำรวจยังพบว่ามีเพียงบริษัทแค่ 2% จากผู้สอบถามทั้งหมดที่ยอมรับการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ในช่วงอนาคตข้างหน้านี้ด้วย ซึ่งทำให้เห็นว่าเทรนด์การทำงาน 4 วันอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่ผู้ประกอบการทั้งหลายจะยอมรับในเรื่องนี้

]]>
1409090
“กรวัฒน์ เจียรวนนท์” หลานธนินท์-ลูกศุภชัย พา Eko สตาร์ทอัป work chat เพิ่มสำนักงานใหญ่จากกทม. ไปลอนดอน https://positioningmag.com/1240372 Thu, 25 Jul 2019 05:09:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240372 อัปเดทความคืบหน้าล่าสุดของธุรกิจ work chat ในมือกรวัฒน์ เจียรวนนท์วันนี้หลานปู่ของธนินท์และลูกชายคนโตของศุภชัยแห่งตระกูลเจียรวนนท์ นำพาสตาร์ทอัปที่ตัวเองก่อตั้งอย่าง Eko ไปเปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ลอนดอนเรียบร้อยตั้งแต่ต้นปีนี้ ตอกย้ำเป้าหมายการเป็นบริษัทเอเชียรายแรกที่มีฐานลูกค้าใช้งานจริงทั่วโลก คาดสำนักงานใหม่จะช่วยให้ Eko บุกหนักบริการ Workplace ในเครือ Facebook และ Slack ได้ดีกว่าเดิม

จากรายงานของ Nikkei Asian Review ระบุว่า Eko ย้ายสำนักงานใหญ่จากกรุงเทพมหานครไปที่ลอนดอนตั้งแต่มกราคม 2019 เป็นการย้ายสำนักงานหลังจากที่สามารถเพิ่มทุนรอบล่าสุด 20 ล้านเหรียญสหรัฐในพฤศจิกายน 2018 ซึ่งมีกลุ่มทุนของ AirAsia และอีกหลายค่ายร่วมสนับสนุนซอฟต์แวร์สื่อสารสำหรับบริษัทอย่าง Eko

ขณะที่ในเว็บไซต์ของ Eko ยืนยันว่าสำนักงานใหญ่ที่ลอนดอนจะเป็น Global Co-HQ หรือสำนักงานใหญ่ร่วมคู่กับสำนักงานในกรุงเทพฯ โดยถัดจากลอนดอน Eko มีกำหนดจะเปิดทำการสำนักงานย่อยแห่งใหม่ที่เมืองลิสบอน โปรตุเกส หลังจากที่ปักธงในออสติน, อัมสเตอร์ดัม และเบอลินแล้ว

Photo by Rie Ishii

ขยายทีมการตลาด

แม้ว่าจะยังรักษาฐานการพัฒนาหลักไว้ที่ประเทศไทย แต่กรวัฒน์เลือกให้ Eko ตั้งศูนย์วิศวกรรมยุโรปในสำนักงานโปรตุเกสที่กำลังจะเปิดตัว ในขณะที่ Eko จะปักหลักขยายทีมการตลาดในออสติน รัฐเท็กซัส เพื่อตีตลาดสหรัฐ ทั้งหมดนี้กรวัฒน์เชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องจัดหาสถานที่ เพื่อดึงดูดและรักษาคนทำงานผู้มีความสามารถจากทั่วโลก

กรวัฒน์ยกตัวอย่างทีมงาน Eko ในกรุงเทพฯว่าประกอบด้วยพนักงานมากกว่า 20 สัญชาติ ซึ่งบางคนคิดว่ากรุงเทพคือบ้านไปแล้ว

ปัจจุบัน Eko กำลังสร้างทีมวิศวกรรมและธุรกิจที่ญี่ปุ่นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดตัวในญี่ปุ่นในปี 2020 จำนวนบุคลากรทั่วโลกของ Eko สูงเกิน 125 รายในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจาก 45 รายในช่วงต้นปี 2019 และคาดว่าจะเกิน 200 ราย ภายในสิ้นปีหน้า

ขาดทุนแต่ก็โตเร็ว

Photo by Rie Ishii

กรวัฒน์ ให้สัมภาษณ์ล่าสุดกับ Nikkei Asian Review ว่าวันนี้ Eko มีรายรับเพิ่มขึ้น 250% ต่อปี แม้จะไม่เปิดเผยตัวเลขแน่นอน แต่เปิดเผยว่าแอปของเขามี 200 องค์กรเป็นลูกค้า ท่ามกลางผู้ใช้มากกว่า 700,000 รายที่ชำระเงินให้ Eko ราคาค่าบริการ แอปพลิเคชันของ Eko สำหรับ work chat หรือการแชตเพื่อการทำงานนั้นอยู่ในช่วงราคาตั้งแต่ 1.5-3 เหรียญสหรัฐต่อผู้ใช้ต่อเดือน ตัวเลขฐานผู้ใช้ Eko ชี้ให้เห็นว่าแม้จะยังเป็นธุรกิจที่ขาดทุน แต่ก็เติบโตได้เร็วกว่ารายใหญ่อย่าง Slack เมื่อเทียบในช่วงอายุ 7 ปีเท่ากัน (ปัจจุบัน Slack มีอายุ 10 ปี)

จุดที่ Eko ถูกจับตาล่าสุดคือ Eko จะสามารถเจาะตลาด work chat ทั่วโลกในช่วงที่ตลาดกำลังบูมได้หรือไม่ เพราะการสำรวจจาก Grand View Research ของสหรัฐอเมริกาพบว่าตลาด work chat ซึ่งอยู่ในกลุ่มซอฟต์แวร์การทำงานร่วมกันของทีมงาน ที่รวมทั้งซอฟต์แวร์แชต ปฏิทินงานที่ใช้ร่วมกัน การจัดการโครงการ และการแชร์ไฟล์ จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวเป็น 16,600 ล้านเหรียญในปี 2025 จากที่มีเพียง 8,900 ล้านเหรียญในปี 2018

ที่ผ่านมา คู่แข่งหลักของ Eko อย่าง Slack บริษัท work chat สัญชาติสหรัฐอเมริกานั้นมีฐานผู้ใช้งานมากกว่า 10 ล้านคนต่อวัน จากองค์กรประมาณ 600,000 แห่ง ตัวเลขนี้รวมทั้งผู้ใช้บริการฟรีและชำระเงิน สถิติเดือนเมษายนชี้ว่า Slack มีฐานลูกค้าบริษัท ประมาณ 95,000 รายที่ชำระค่าบริการ

รายงานระบุว่าการที่ Eko เติบโตเร็วกว่า Slack เป็นผลมาจากขั้นตอนการพัฒนาที่แตกต่างกัน รายรับของ Slack เพิ่มขึ้น 66% อยู่ที่ประมาณ 135 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสกุมภาพันธ์เมษายน 2019 ลดลงจากกว่า 80% สำหรับสถิติทั้งปีที่สิ้นสุดในมกราคม Slack รายงานผลขาดทุนสุทธิ 138.9 ล้านเหรียญซึ่งเกือบไม่เปลี่ยนแปลงเลยเมื่อเทียบจากปีก่อน

ยังไม่คิดบริหาร CP

ในรายงาน กรวัฒน์ ในวัย 24 ปียังไม่เปลี่ยนแปลงความคิดว่าจะโฟกัสที่ Eko เป็นหลัก โดยแบ่งรับแบ่งสู้เรื่องความต้องการสานต่อธุรกิจของครอบครัว ด้วยการบอกว่าตัวเขาแทบไม่มีโอกาสมีทักษะและคุณสมบัติเพียงพอที่จะบริหารกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่เช่น CP Group ใน 30 ปีข้างหน้า ดังนั้นจึงไม่มีประเด็นที่กรวัฒน์จะคิดถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้

สำหรับกรวัฒน์ เจียรวนนท์ นั้นเลือกเดินตามฝันตัวเองหลังจากเดินทางไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาช่วงซัมเมอร์ปี 2008 เวลานั้นหนุ่มน้อยกรวัฒน์พัฒนาแอปพลิเคชันแชตชื่อ Eko ร่วมกับเพื่อนในหอพัก จากนั้นจึงก่อตั้งบริษัทชื่อ Eko Communication เมื่อจบระดับไฮสคูล ก็ได้เข้าร่วมบูตแคมป์จนพบกับ David Zhang และได้รับเงินสนับสนุนตั้งต้นระดับ pre-seed ในปี 2013

ปีนั้นเองที่กรวัฒน์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่สามารถเจรจากับคุณพ่อศุภชัย เจียรวนนท์ ว่าหากระดมทุนได้เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ จะยอมให้กรวัฒน์ลาออกจากมหาวิทยาลัย ในที่สุด 2 ปีถัดมา Eko ได้รับเงินทุนทะลุ 5.7 ล้านเหรียญช่วงสิงหาคม 2015 กรวัฒน์จึงหยุดเรียนที่โคลัมเบีย แล้วย้ายฐานบริษัทกลับมาที่กทม.

ถึงวันนี้ Eko ระดุมทุนมากกว่า 28.7 เหรียญสหรัฐ แตะหลัก 1 พันล้านบาทเรียบร้อย.

Source

]]>
1240372