ZEN – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 08 Mar 2023 12:47:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะกลยุทธ์ ‘เซ็น กรุ๊ป’ เมื่อการทำ “ธุรกิจร้านอาหาร” ในยุคหลังโควิด “ทำเล” ไม่สำคัญเท่า “การสื่อสาร” https://positioningmag.com/1422402 Wed, 08 Mar 2023 11:05:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422402 อย่างที่หลายคนรู้กันว่า ธุรกิจร้านอาหาร ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดในช่วงที่โควิดระบาด แต่มาปี 2022 หลายร้านก็เริ่มกลับมาสู่สภาวะปกติ เช่นเดียวกันกับ บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN เจ้าของแบรนด์ร้านอาหารชื่อดังที่คนไทยคุ้นเคยกันดีก็สามารถทำสถิติ เติบโตสูงสุดในรอบ 32 ปี และปีนี้ บริษัทก็ตั้งเป้าจะทำ New High ให้ได้อีกครั้ง

รู้จัก 5 เสาหลักเซ็น กรุ๊ป

ในปีที่ผ่านมา เซ็น กรุ๊ป มีรายได้ 3,413 ล้านบาท เติบโตกว่า 51% มีกำไร 154 ล้านบาท จากที่ปี 2564 ขาดทุน 92 ล้านบาท โดยปัจจุบัน เซ็น กรุ๊ป มีรายได้จาก 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ครอบคลุมธุรกิจร้านอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ได้แก่

  • ธุรกิจร้านอาหาร (74%)
  • ธุรกิจแฟรนไชส์ (7%)
  • ธุรกิจจัดส่งอาหารและอีคอมเมิร์ซ (6%)
  • ธุรกิจอาหารค้าปลีก (13%)
  • การลงทุนในธุรกิจใหม่ทั้งร่วมทุน (JV) หรือทำ M&A

เมืองรองน่านน้ำใหม่กำไรดี

ในส่วนของธุรกิจร้านอาหาร บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ระบุว่า เซ็น กรุ๊ป ต้องการพาแบรนด์ดาวเด่นอย่าง Zen ที่มีรายได้อันดับ 1 และ อากะ (Aka) รายได้อันดับ 2 ไปหาน่านน้ำใหม่ใน จังหวัดเธียร์ 2-3 ไม่ว่าจะเป็นในไฮเปอร์มาร์เก็ต, ห้างฯ ท้องถิ่น รวมถึงพื้นที่นอกห้างฯ

“ที่ผ่านมาเราเน้นขยายสาขาแต่ในห้างเธียร์ 1 ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งปัจจุบันน่าจะครบแล้ว เราเลยหาน่านน้ำใหม่ โดย Zen จะขยายไปที่ห้างฯ เธียร์ 2 ส่วน Aka จะเน้นไปที่ห้างเธียร์ 2-3 โดยเฉพาะในเมืองรอง”

บุญยง อธิบายว่า การขยายไปที่จังหวัดรองทำให้ ต้นทุนลดลงมีกำไรมากขึ้น เนื่องจากค่าเช่าพื้นที่ถูกกว่าครึ่ง การแข่งขันน้อยกว่า และลูกค้าสามารถ มาร้านได้บ่อยกว่า เพราะคนสะดวกเวลาไหนก็มาได้ไม่เหมือนในเมืองใหญ่ที่การจราจรติดขัด ซึ่งการเปิดร้านในกลุ่มเธียร์ 3 มองว่ายัง สามารถเปิดได้อีกในช่วง 5 ปี ในหลักร้อยสาขา

“เราเห็นห้างฯ เธียร์ 3 จะมีร้านอาหารไม่เยอะและเน้นร้านอาหารจานด่วน ดังนั้น เราจะเจอการแข่งขันที่ไม่เยอะ และจากที่เป็นแบรนด์ Mass ในกรุงเทพฯ แต่อยู่ในต่างจังหวัดเราเป็น Premium Mass ซึ่งจ่ายเพิ่มอีกนิดเขาได้ของที่ดียกระดับขึ้น ซึ่งตอนนี้กำลังซื้อของคนต่างจังหวัดยิ่งฟื้นเพราะท่องเที่ยว ทำให้เราสบายใจขึ้น เราเลยมองว่าการเติบโตจะสูงกว่าในเมือง

ทำเลไม่สำคัญเท่าการสื่อสาร

สำหรับแผนการตลาดของกลุ่มจะเน้นทั้ง มุมกว้าง (เน้นหัวเมือง-ต่างจังหวัด) และ มุมลึก เน้นเข้าหา ผู้บริโภคที่เด็กขึ้น ด้วยกลยุทธ์ Insightful Marketing ที่เกิดจากการใช้ Insight ผู้บริโภค ประกอบด้วย

  • Insightful Product : การออกแบบเมนูหรือเซตอาหารใหม่ ๆ เช่น Zen ที่สามารถให้ลูกค้า Mix 2 เมนูใน 1 เซต เพื่อจับกลุ่มคนทำงาน หรือ เขียง ที่ออกเมนู กะเพราสองรัก เนื่องจากพบว่าผู้บริโภคต้องการทานหลายเมนูแต่มีงบจำกัด
  • Insightful Promotion : การออกโปรโมชันที่โดนใจกลุ่มลูกค้า เช่น Aka ที่ต้องการขยายฐานไปยังกลุ่มวัยรุ่น จึงออกแคมเปญ “ป่ะ ทาน นักเรียน” มอบส่วนลดสำหรับนักเรียนหลังเลิกเรียน หรือ ตำมั่ว ออกโปรโมชัน “เบิ้ลเครื่อง” เพราะอินไซต์พบว่าลูกค้ามักจะขอเพิ่มส่วนผสมพิเศษอื่น ๆ ที่ตัวเองชื่นชอบ
  • Insightful Communications : เพราะการสร้าง Awareness แบบทั่วไปไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องแข่งกับ Content ที่หลากหลายในมือของผู้บริโภค ดังนั้น ต้องเรียกให้ผู้บริโภคหันมามองแบรนด์แบบเข้าอกเข้าใจตัวเขา ที่ผ่านมา Zen ได้ออกแคมเปญ “Dear Boss” ที่ชวนบอสทั่วไทยเปิดโอกาสให้ลูกน้องในออฟฟิศ ออกไปทานมื้อเที่ยงแบบมีคุณภาพที่ Zen ส่วนแบรนด์ ออน เดอะ เทเบิ้ล ก็วางแผนขยายผลต่อหลังจากเปิดตัว โต๊ะจัง พยายามปรับภาพทำไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตติ้งและคุยกับลูกค้ามากขึ้น ให้รู้สึกว่าเป็นมากกว่าร้านอาหาร

บุญยง ย้ำว่า กลยุทธ์ในการทำธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบัน ทำเล (Location) ไม่สำคัญเท่ากับ การสื่อสาร (Communication) ซึ่งมีพลังในการดึงคนมากกว่า เพราะสามารถใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการสื่อสารไม่ได้ใช้หน้าร้านเหมือนในอดีต ซึ่งบริษัทมั่นใจว่า แบรนด์ในเครือมีความแข็งแรงมากพอ ทั้งนี้ บริษัทได้วางงบตลาดไว้ที่ 100 ล้านบาท

“ตอนนี้ความสำคัญของทำเลมันลดลง บางร้านอยู่ในซอกในซอยคนยังตามไปกินได้”

โฟกัสที่แบรนด์ในมือ ยังไม่คิดเพิ่มแบรนด์ใหม่

ปัจจุบัน เซ็น กรุ๊ป มีร้านอาหารในเครือกว่า 10 แบรนด์ รวมกว่า 345 สาขา โดยในปี 2565 ขยายไป 45 สาขา ทั้งสาขาที่ลงทุนเองและแฟรนไชส์ และในปี 2565 วางเป้าขยายสาขาทั้งหมด 90 สาขา แบ่งเป็นลงทุนเองประมาณ 40 สาขา และอีก 50 สาขาเป็นแฟรนไชส์ คาดว่าใช้งบลงทุนประมาณ 300-400 ล้านบาท

ทั้งนี้ การขายแฟรนไชส์จะเน้นที่แบรนด์ร้านอาหารไทย ส่วนร้าน Zen และ Aka จะยังลงทุนเองเป็นหลัก 90% เพราะต้องอาศัยประสบการณ์ในการบริหารจัดการ ปัจจุบัน Zen มีทั้งหมด 47 สาขา มีรายได้รวม 1,000 ล้านบาท ส่วน Aka ทำรายได้ประมาณ 900 ล้านบาท มี 42 สาขา โดยในปีนี้คาดว่าจะทำรายได้ 1,500 ล้านบาท โดยจะขยายสาขาอีก 40 สาขา และในปีหน้ามั่นใจว่า Aka จะมีรายได้แซง Zen ขึ้นเป็นอันดับ 1 แบรนด์ในเครือ

สำหรับการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ บุญยง ระบุว่า ยังไม่มี เพราะยังมีความสุขกับการขยายแบรนด์ในมือ ดังนั้น จะเน้นไปที่การเพิ่มความแข็งแรงให้แบรนด์ในมือ เช่น เพิ่มรูปแบบใหม่ ๆ อย่าง Zen Box หรือ ออน เดอะ เทเบิ้ล ที่มีบาร์ขายน้ำ เป็นต้น โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดขายสาขาเดิม (Same Store) ที่ 20% จากปีก่อนที่เติบโต 30-40%

“เรายังไม่ได้มองว่าจะเพิ่มแบรนด์ใหม่ ๆ เพราะเปิดแบรนด์ใหม่ลงทุนเยอะ ดังนั้น ต้องดูให้ชัดก่อนลงทุนอีกอย่างมันเป็นเรื่องของจังหวะเวลา 2-3 ปีก่อนเป็นการเอาตัวรอด เราเลยเพิ่ม เขียง แต่ตอนนี้เราจะเน้นปรับแบรนด์เดิมให้มีโมเดลใหม่ ๆ ให้หมาะกับที่ที่จะไป โดยตั้งเป้า”

อีก 4 เสายังคงเดินหน้า

ในส่วนของ ธุรกิจอาหารค้าปลีก (13%) ซึ่งเป็นส่วนที่บริษัทได้เข้าไปควบรวมกิจการ King Marine Food ผู้นำเข้าอาหารทะเล โดยปีนี้จะนำเข้าเนื้อออสเตรเลียเพื่อมาซัพพอร์ตแบรนด์ Aka และซัพพลายให้กับร้านอาหารอื่น ๆ ในตลาด ส่วน เซ็น แอนด์ โกสุม อินเตอร์ฟู้ดส์ ที่ผลิตน้ำปลาร้าและเครื่องปรุง ในปีนี้จะเพิ่มไลน์ น้ำจิ้มแจ่ว พร้อมกับการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายและศูนย์กระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการปรับปรุงโรงงานและคลังสินค้าให้รองรับกับยอดขายที่เติบโตขึ้น

ในส่วนของ แฟรนไชส์ (7%) จะเน้นขยายไปยังประเทศ มาเลเซีย, เวียดนาม และ เกาหลีใต้ จากที่ขยายไปยังประเทศลาว, เมียนมา และกัมพูชา โดยปีนี้ตั้งเป้าขายแฟรนไชส์ในต่างประเทศให้ได้ 50 สาขา

ส่วน อีคอมเมิร์ซเดลิเวอรี่ (6%) ยังคงเป็นพันธมิตรกับทุกแพลตฟอร์ม ส่วนช่องทาง 1376 Delivery จะเน้น Big Order เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ นอกจากนี้ จะทำการขาย Voucher แก่องค์กร พร้อมกับการสร้างการรับรู้ระบบและเพิ่มยอดสมาชิก ผ่านแอปพลิเคชัน ZEN GROUP ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

ด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่วางไว้ บริษัทมั่นใจว่าจะทำนิวไฮได้อีกครั้ง โดยคาดว่าจะมีรายได้รวม 4,500 ล้านบาท เติบโต 30-40%

]]>
1422402
ZEN เตรียมนำ “น้ำปลาร้าผสมกัญชา” เติมเสน่ห์และรสชาติให้กับอาหารไทยอีสาน พร้อมขยายธุรกิจบุกตลาดรีเทล https://positioningmag.com/1365991 Thu, 09 Dec 2021 07:00:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365991

การกินถือว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของผู้คนทุกยุค ทุกสมัย การตัดสินใจเลือกเข้าร้านอาหารที่สนใจสักร้าน และจ่ายเงินให้กับอาหารที่รสชาติถูกปาก ท่ามกลางบรรยากาศภายในร้านดี ๆ ที่ทำให้ฟิลกู๊ดกับการกินอาหารในมื้อนั้นกลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว ทำให้ผู้บริโภคกลับมาสั่งเมนูเดิมอีกครั้ง

และหนึ่งในประเภทอาหารยอดนิยม อย่างอาหารไทยอีสานผู้คนชื่นชอบด้วยรสชาติที่จัดจ้าน และถูกปากได้ง่าย ชื่อของ ZEN ที่นำทัพโดยคุณเบส-ศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจแบรนด์ไทย Zen Group หรือ ZEN เป็นหนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจด้านอาหารและเครื่องปรุงรส ที่มีครัวอาหารญี่ปุ่น และครัวอาหารอีสาน ภายใต้แบรนด์ที่หลากหลาย อาทิ AKA ตำมั่ว ลาวญวน เขียง ฯลฯ

หากเราคิดอย่างเร็ว ๆ ว่า ZEN  มีกลยุทธ์ใดที่ทำให้ธุรกิจประเภทอาหารไทยอีสาน ขยายกิจการไปถึงต่างประเทศ อย่าง แบรนด์ตำมั่วที่แตกกิ่งก้านสาขา ไปยังประเทศลาว กัมพูชา และเมียนมา แบรนด์อาหารไทยอีสานของคนไทย ที่โกอินเตอร์ไปถึงในภูมิภาคเอเชีย

ล่าสุด ZEN จับมือกับบริษัทร่วมทุน เค.เอส.เอฟ ฟูดส์ โปรดักต์ หรือรู้จักกันในชื่อ “โกสุมฟาร์ม” เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรุงรสรายใหญ่จากจังหวัดมหาสารคาม ที่มีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจมายาวนาน โดยมีโปรดักต์อย่างน้ำปลาร้า ภายใต้แบรนด์ “ภา-ทอง” ที่เป็นสินค้าหลัก

ZEN ได้ต่อยอดธุรกิจอาหารไทยอีสาน ด้วยการร่วมมือกับบริษัทร่วมทุนพัฒนาที่เชี่ยวชาญเรื่องเครื่องปรุงรสน้ำปลาร้า เพื่อเติมเต็มศักยภาพการผลิต และเพิ่มโอกาสในการทำการตลาด จึงนับว่าเป็นก้าวที่สำคัญที่ ZEN จะมีฐานการผลิตน้ำปลาร้าผสมกัญชาที่ได้มาตรฐาน ซึ่งความพิเศษของน้ำปลาร้าผสมกัญชา ZEN มีความเชี่ยวชาญในเรื่องธุรกิจอาหารอยู่แล้ว การเพิ่มประสบการณ์ใหม่แห่งการชวนชิมน้ำปลาร้าผสมกัญชาแก่ผู้บริโภคจึงไม่ใช่เรื่องที่ยากนัก

เรียกได้ว่า ZEN มีครัวกลางที่รองรับการผลิตน้ำปลาร้าผสมกัญชา ที่มีความคล่องตัวและจำหน่ายเป็นโปรดักต์รีเทล จากความเชี่ยวชาญที่แต่เดิมทีมทัพผู้บริหาร ZEN ได้ผลิตเครื่องปรุงรสสินค้ารีเทลอยู่แล้ว อาทิ น้ำปลาร้า, น้ำจิ้ม, น้ำยำ, แจ่วบอง ฯลฯ

เร็ว ๆ นี้ ZEN ก็จะเปิดตัว 3 เมนูใหม่ และนำส่วนผสมของน้ำปลาร้ากัญชามาปรุงรสให้กับอาหารให้ผู้คนได้ลองชิมกัน กับเมนู “ตำแซ่บเสย” (ตำลาว) แบบนัว ๆ  ถูกปากคนชอบอาหารไทยอีสานกับเมนู “ตำคู่เสี่ยว” (ตำหมูยอกุ้งสด) และเคี้ยวมันนุ่ม ๆ กับ “ยำอุ่มลุ่ม” (ยำหมูยอคอหมูย่าง) ทุกความแซ่บ ส่งตรงจากต้นตำรับไทยอีสานแท้ กับเมนูน้ำปลาร้าตำมั่วสูตรกัญชา

ที่มาที่ไปของการนำเสิร์ฟ 3 เมนูใหม่ และเปิดตัวโปรดักต์พร้อมกันในครั้งนี้ คุณเบส-ศิรุวัฒน์ บอกกับเราว่า ได้ไปเจอแหล่งปลูกกัญชาในอีสานที่ดีที่สุดในโลก อยู่ที่จังหวัดนครพนม การไปดูไร่กัญชาในครั้งนั้นจึงเหมือนเป็นการจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ ที่คุณเบสจะนำกัญชามาใช้เป็นส่วนผสมในเมนูใหม่ โดยมีเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเหล่าราษฎร์พัฒนาฟาร์ม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เป็นผู้คัดสรร ”น้ำปลาร้าปรุงรสสูตรใบกัญชา”

ผมเติบโตมากับภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น แม่ผมเล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านเขาเอากัญชามาใส่ในส่วนผสมของอาหาร ที่คนอีสานนิยมกินกันก็คือ นำส่วนใบกัญชามาทำ มาใส่ในต้มไก่ ใส่ในน้ำปลาร้า แล้วก็ใส่ในก๋วยเตี๋ยวเนื้อ เราก็เลยอยากจะเอาเรื่องที่เป็นโนว์ฮาวของคนโบราณ ที่เขาเอากัญชาไปใส่ในน้ำปลาร้า ไม่ใช่สิ่งเสพติดเพื่อมอมเมา โดยนำกลับมาเล่าใหม่ในเชิงให้รสชาติที่นัว และทุกคน ทุกวัย กินได้” คุณเบสกล่าว

ความพิเศษของปลาร้าผสมกัญชา คุณเบสเสริมอีกว่า ZEN เปิดสาขาตำมั่วมากว่า 30 ปี ทางโรงงานโกสุมฟาร์มที่เป็นพันธมิตรของบริษัทฯ ก็ขายน้ำปลาร้ามากว่า 30 ปี จากการจับมือระหว่างเจ้าของสูตรส้มตำ กับเจ้าของสูตรน้ำปลาร้าที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็ทำให้ส่วนผสมมีสัดส่วนที่พอดี

การนำวัตถุดิบมาทำเป็นสินค้ารีเทล โดยได้ร่วมมือกับ โกสุมฟาร์ม ทำให้เราลดต้นทุนของการผลิต สร้างความหลากหลายในการผลิตสินค้ารีเทลมากขึ้น จากความเชื่อมั่นที่ ZEN มีจำนวนสาขาร้านตำมั่วกว่า 100 สาขา ที่เปิดมานานกว่า 30 ปี แล้วก็ยังมีความชำนาญเรื่องส้มตำ ดังนั้นเรื่องของการนำกัญชามาใส่ในปลาร้า เรามั่นใจว่า สามารถสู้กับคู่แข่งได้อย่างแน่นอน

คุณเบสยังขยายความให้ฟังอีกว่า ทำอย่างไรให้ผู้คนสนใจในโปรดักต์นี้ ที่กำลังจะเป็นเครื่องปรุงรสสูตรใหม่ของร้านตำมั่ว และร้านลาวญวน พอถอดมาที่วิธีการจะให้ผู้บริโภคได้ลองชิมน้ำปลาร้าผสมกัญชาในอาหาร 3 เมนูใหม่ พร้อมกับวางขายน้ำปลาร้าผสมกัญชาเป็นโปรดักต์รีเทลที่จะจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ (Line Add: @tummourofficial) ในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้

เราจะพัฒนาโปรดักต์นี้ให้เป็นสินค้ารีเทลที่เราจะค่อย ๆ สร้าง How To ว่าน้ำปลาร้าผสมกัญชาทำเมนูอะไรได้บ้าง โดยจะมีการเริ่มปล่อยคลิปไวรัล ในช่องทางสื่อสารของทางแบรนด์ ว่าน้ำปลาร้าผสมกัญชาสามารถทำแกงอ่อมได้ ทำส้มตำได้ และใส่น้ำพริกปลาร้าได้ พร้อมทั้งไม่หยุดที่จะพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์คนไทยในแง่ของคุณภาพ แล้วก็รสชาติที่ถูกปาก รวมถึงเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานที่เราเป็นผู้ประกอบการเจ้าแรกที่ได้รับ อย. คุณเบสเสริม

น้ำปลาร้าสูตรใบกัญชา จะเปิดพรีออเดอร์และเปิดตัวพร้อมกับ 3 เมนูใหม่ ที่ร้านตำมั่ว และร้านลาวญวน ทุกสาขา ในวันที่ 3 ธันวาคม 2564 นี้

ครบเครื่อง อาหารรสจัด ถนัดเรื่องตำ เป็นจุดที่การันตีฝีมือพ่อครัวอาหารไทยอีสานของ ZEN ได้อย่างแท้จริง

 รู้หรือไม่? “น้ำปลาร้าปรุงรสสูตรใบกัญชา” คัดสรรอย่างพิถีพิถันจากกัญชาพันธุ์หางกระรอก จากไร่กัญชาที่ปลูกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยฝีมือเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเหล่าราษฎร์พัฒนาฟาร์ม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

หากท่านใดสนใจน้ำปลาร้าปรุงรส สูตรใบกัญชา ขนาด 400 ml.

มีให้ลิ้มลอง พรีออเดอร์ได้แล้ววันนี้ ผ่านช่องทาง LINE: @tummourofficial

พิเศษโปรโมชั่น 4 ขวด ส่งฟรี ภายในวันที่ 3 – 12 ธันวาคม 2564 นี้เท่านั้น

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม… https://www.zengroup.co.th/

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

https://www.brandthink.me/content/zen-group/

https://www.brandage.com/article/27243/Zen-Group

https://thestandard.co/tum-mua-khiang-zen-group/

https://brandinside.asia/zen-group-jv-ksf-food/

https://www.thairath.co.th/business/market/2057225

https://ksf.tarad.com/index

]]>
1365991
รัฐทำให้เกิดคอขวด ร้านอาหารเชนใหญ่ทำเดลิเวอรี่ได้ดี บริหารค่า GP ได้ดี แต่โดนสั่งปิด https://positioningmag.com/1343643 Thu, 22 Jul 2021 03:50:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343643 1343643 ZEN แตกแบรนด์ “โต้รุ่ง” รุกโมเดล Ghost Kitchen หน้าร้านไม่มี เดลิเวอรี่ถึง 5 ทุ่ม https://positioningmag.com/1327410 Fri, 09 Apr 2021 08:33:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327410 ZEN ปล่อยหมัดเด็ดรับสงกรานต์ แบรนด์ใหม่ “โต้รุ่ง” ด้วยโมเดล Ghost Kitchen ไม่มีหน้าร้าน มีแต่ครัว เน้นบริการเดลิเวอรี่ถึง 5 ทุ่ม คอนเซ็ปต์รวมเมนูเด็ดจากร้านดังชาวพื้นบ้านหลากหลายจังหวัดในที่เดียว  

เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป หรือ ZEN เปิดตัวแบรนด์ “โต้รุ่ง” รวมเมนูซิกเนเจอร์จากร้านอาหารดังพื้นบ้านต่างจังหวัด ชูโมเดล Ghost Kitchen ไม่มีหน้าร้าน ให้บริการแบบเดลิเวอรี่ และซื้อกลับ ตั้งแต่ 08.00 – 23.00 น. นำร่องเปิดบริการสาขาแรกปากซอยอ่อนนุช 17 พร้อมเสิร์ฟความอร่อย 6 เมนูเด็ด

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN เปิดเผยว่า

“ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารริมทาง หรือ Street Food ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณการปี 2564 จะมีมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 340,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 270,000 ล้านบาท มีจำนวนร้านค้ามากกว่า 103,000 ร้านทั่วประเทศ ด้วยศักยภาพของธุรกิจร้านอาหารสตรีทฟู้ด บริษัทฯ จึงแตกโมเดลใหม่ แบรนด์โต้รุ่ง โดยรวบรวมเมนูซิกเนเจอร์ร้านอาหารดังพื้นบ้านจังหวัดต่างๆ หลากหลายสไตล์ให้บริการรูปแบบเดลิเวอรี่ และซื้อกลับ”

สำหรับแบรนด์โต้รุ่ง วางคอนเซ็ปต์เป็นร้านอาหารที่มีเฉพาะครัวโดยไม่ต้องมีหน้าร้าน (Ghost Kitchen) โดยช่วงแรกเปิดตัว 6 เมนูเด็ด ได้แก่ เมนูข้าวผัดโบราณ, ปากหม้อนครพนม, ยำปลาร้าหอมสารคาม, ไก่ทอดหาดใหญ่, ต้มเลือดหมูปทุมธานี และโจ๊กปทุมธานี ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 30 บาท

คัดสรรจากร้านอาหารสตรีทฟู้ดชื่อดัง ภายใต้ราคาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ พร้อมกับใช้เชฟที่ผ่านการอบรมสูตรอาหารลับเฉพาะกับแต่ละร้านอาหาร และเพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภคสามารถสั่งเมนูอาหารหลากสไตล์ได้ในครั้งเดียว

นำร่องเปิดสาขาแรกที่ซอยอ่อนนุช 17 และวางแผนเปิดให้บริการสาขาที่ 2 ที่ซอยสุขุมวิท 20 ในรูปแบบเดลิเวอรี่ ตั้งแต่ 08.00 – 23.00 น. โดยประเดิมต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ และรองรับความต้องการสั่งอาหารกลับไปรับประทานในช่วงวันหยุดยาว และตอบโจทย์ผู้ที่ไม่ต้องการเดินทาง

สามารถสั่งผ่านแอปพลิเคชัน Grab food, Line man, foodpanda, gojek, Robinhood หรือ โทร.02 331 1722 คาดกระตุ้นยอดขายเติบโต 15-20 %

และในเร็วๆ นี้เตรียมทดลองเปิดเมนูโต้รุ่ง ในรูปแบบนั่งรับประทานภายในร้านเขียง สาขาอาคารเกษรทาวเวอร์ เพื่อขยายสู่โมเดลการนั่งรับประทานที่ร้านในอนาคต

]]>
1327410
ZEN Group รับกระแสกัญชาฟีเวอร์ เตรียมนำร่องใส่ใบกัญชากลุ่มร้านอาหารไทย  https://positioningmag.com/1324145 Fri, 19 Mar 2021 08:08:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324145 เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป หรือ ZEN จับกระแสกัญชาฟีเวอร์ ขน 4 แบรนด์อาหารไทย “ตำมั่ว – เดอ ตำมั่ว – ลาวญวน และเขียง” เสิร์ฟอาหารไทยใส่ใบกัญชา ประเดิมร้านแรก เดอ ตำมั่ว สาขาเกษร ทาวเวอร์  เปิดตัวเมนูไก่ต้มอารมณ์ดี และยำอารมณ์ดี เจาะลูกค้าใจกลางเมืองรับกระแสกัญชาฟีเวอร์

การเปิดเมนูใหม่นี้หวังเพิ่มปริมาณลูกค้าเข้าร้านอีก 15-20% พร้อมจับมือพันธมิตรอุตสาหกรรมอาหาร วิจัย และพัฒนาน้ำปลาร้าผสมกัญชาแบรนด์ “ตำมั่ว” คาดเปิดตัวครึ่งปีหลัง ปั้นเป็นสินค้าเรือธงตัวใหม่เจาะตลาดร้านอาหารไทย และอาหารอีสาน  

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN เปิดเผยว่า

“จากกระแสกัญชาที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มในประเทศ เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาเพื่อสร้างประสบการณ์และความแปลกใหม่แก่ผู้บริโภค ล่าสุดเซ็น กรุ๊ป นำร้านอาหารไทย 4 แบรนด์หลัก ได้แก่ ‘ตำมั่ว’ และ ‘เดอ ตำมั่ว’ ร้านอาหารไทยสไตล์อีสาน ‘เขียง’ ร้านอาหารสตรีทฟู้ด และ ‘ลาวญวน’ ร้านอาหารฟิวชั่นสไตล์อีสานกับเวียดนาม เปิดตัวเมนูอาหารไทยที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ เพื่อสร้างการจดจำเซ็น กรุ๊ป เป็นผู้ประกอบการร้านอาหารรายแรก ที่เปิดตัวเมนูดังกล่าว”  

มีการเลือกเมนูอาหารที่เป็นซิกเนเจอร์ของร้านอาหารมาพัฒนาเป็นเมนูใหม่ โดยนำใบกัญชามาเป็นวัตถุดิบ และตกแต่งอาหาร ทั้งการเสิร์ฟใบกัญชารูปแบบใบสด ต้ม และทอดกรอบ โดยนำร่องที่ ร้านอาหารเดอ ตำมั่ว สาขาเกษร ทาวเวอร์ ชั้น 3 เป็นสาขาแรก เปิดตัวเมนูอาหารไทยใส่ใบกัญชาแล้ว 2 เมนู ได้แก่ ไก่ต้มอารมณ์ดี (ไก่ต้มริมโขง) และยำอารมณ์ดี (ยำผักหวานกุ้งสด)

และมีแผนขยายไปยังร้านตำมั่ว สาขา I AM Chinatown และ ปตท. เมืองทองธานี รวมถึงขยายไปยังแบรนด์ ‘เขียง’ เตรียมเปิดตัวเมนูกะเพราใบกัญชา สาขาแรก ที่เกษร ทาวเวอร์ ชั้นใต้ดิน และ เมืองทองธานี รวมถึงขยายเมนูอาหารไปสู่ร้านอาหารลาวญวนเพิ่มเติม

สำหรับการเปิดตัวเมนูอาหารผสมใบกัญชา บริษัทฯ ดำเนินการอย่างถูกต้อง โดยได้สั่งซื้อใบกัญชาจากรัฐวิสาหกิจชุมชน จ.นครพนม ซึ่งได้ขออนุญาตจัดสร้างโรงเรือนเพื่อเพาะปลูกกัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกับเจรจารับซื้อวัตถุดิบใบกัญชาจากรัฐวิสาหกิจชุมชน และแหล่งเพาะปลูกอื่นๆ เพื่อจัดเตรียมวัตถุดิบให้เพียงพอ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตเครื่องปรุงรส เพื่อร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของกัญชา นำร่องผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าผสมใบกัญชา ภายใต้แบรนด์ ‘ตำมั่ว’ ซึ่งจะดำเนินการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้อง ก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด คาดว่าจะสามารถเปิดตัวน้ำปลาร้าผสมกัญชาออกจำหน่ายได้ภายในครึ่งปีหลัง ผ่านช่องทางจำหน่ายโมเดิร์นเทรด และร้านตำมั่วทุกสาขา

]]>
1324145
ZEN บุกตลาด “บุฟเฟ่ต์” ครั้งแรกในรอบ 30 ปี ขยายฐานกลุ่มใหม่ ต้องใช้ความคุ้มค่า! https://positioningmag.com/1318813 Wed, 10 Feb 2021 10:35:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318813 ‘เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป’ หรือ ZEN รุกธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น เปิดตัว ‘ZEN Premium Buffet’ สร้างปรากฏการณ์เสิร์ฟอาหารญี่ปุ่นพรีเมียมครั้งแรกรอบ 30 ปี ให้อิ่มคุ้มมากกว่า 80 เมนู โดยมีเมนูไฮไลต์แซลมอนซาชิมิจากนอร์เวย์ แล่สดใหม่ทุกวัน

เริ่ม 11 ก.พ. – 31 มี.ค. นี้ ที่ ร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น 16 สาขา พร้อมควงกลยุทธ์ Value Promotion เริ่มต้นที่ 599 บาท สร้างความคุ้มค่าระดับพรีเมียม ขยายฐานลูกค้าคนรุ่นใหม่อายุ 20-30 ปี เพิ่มขึ้น 30% ตั้งเป้ารายได้ร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็นเติบโต 15-20%

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ปจำกัด (มหาชน) หรือ ZEN เปิดเผยว่า

“ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารในไตรมาส 1 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ที่เริ่มระบาดลดลง ขณะที่ภาครัฐได้ขยายเวลาการเปิดบริการจาก 21.00 น. มาเป็น 22.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ให้บริการลูกค้าตามปกติ บริษัทฯ จึงดำเนินการตลาดเชิงรุกร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น (ZEN Restaurant) เปิดตัวแคมเปญ ‘ZEN Premium Buffet’ เสิร์ฟอาหารญี่ปุ่นพรีเมียมบุฟเฟ่ต์ 599 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี เพื่อมุ่งสร้างประสบการณ์ความแปลกใหม่เสิร์ฟอาหารญี่ปุ่นคุณภาพพรีเมียมให้อิ่มคุ้มมากกว่า 80 เมนู เริ่ม 11 ก.พ. – 31 มี.ค. นี้ ที่ ร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น 16 สาขา” 

สำหรับไฮไลต์ของแคมเปญพรีเมียมบุฟเฟ่ต์ในครั้งนี้ ZEN Premium Buffet บริษัทฯ จะเสิร์ฟเมนูแซลมอนซาชิมิจากนอร์เวย์ แล่สดใหม่ทุกวัน กุ้งเทมปุระ, มากุโร่ซาชิมิ, แซลมอนยำไทย, แคลิฟอร์เนียมากิ, ข้าวหน้าแกงกะหรี่, คัตสึโทจิ, ไก่ทอดซอสนันบัง และอีกหลากหลายเมนูสุดพรีเมียม โดยอาหารทุกจานที่เสิร์ฟเหมือนกับการขายปกติ ใช้มาตรฐานวัตถุดิบพรีเมียมเหมือนขายในร้านทุกอย่าง

ซึ่งเป็นพรีเมียมบุฟเฟ่ต์ที่อิ่มคุ้มค่าเริ่มต้นที่ 599 บาทขึ้นไป หรือเป็น Value Promotion เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมลูกค้าที่มีความระมัดระวังการจับใช้สอย และขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มครอบครัวและวัยทำงานสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น

“พฤติกรรมของลูกค้าในยุคนี้ มีความต้องการรับประทานอาหารระดับพรีเมียม และภายใต้ราคาที่คุ้มค่า ร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น นำเสนอโปรโมชั่นแบบ Value for money ทุกสาขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกโปรโมชั่นตามกำลังซื้อ โดยนับตั้งแต่เมื่อกลางปีที่ผ่านมา จัดทำโปรโมชั่นเซตราคาย่อมเยา เริ่มต้น 99 บาท ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดี ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้านเพิ่มขึ้น 

และล่าสุด ‘ZEN Premium Buffet’ เสิร์ฟพรีเมียมบุฟเฟ่ต์ 599 บาท ซึ่งเป็น Value Promotion คาดว่าจะขยายฐานลูกค้าใหม่ที่อายุ 20-30 ปีเพิ่มขึ้น 30% ขณะที่ยอดขายเฉพาะสาขาที่ทำบุฟเฟ่ต์ เติบโต 50% ซึ่งจะผลักดันยอดขายร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็นโดยรวมเติบโต 15-20%

สำหรับปีนี้ร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น วางแผนปรับโฉมสาขาให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกแปลกใหม่ และเข้ามาใช้บริการ ได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆจากร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น ขณะเดียวกันบริษัทฯ มุ่งสร้างการเติบโตในทุกมิติ ทั้งการนั่งรับประทานอาหารภายในร้าน หรือกระทั่งที่ทำงาน บ้าน และบริการจัดเลี้ยงในงานต่างๆ  ภายใต้กลยุทธ์ Value promotion Set ขยายไปสู่การเติบโตในธุรกิจ Catering

รวมทั้งการจัดเมนูอาหารที่สอดคล้องกับช่องเดลิเวอรี่ และการสั่งซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์ โดยร่วมมือกันทำโปรโมชันกับแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ชั้นนำ ขณะเดียวกันผสานกับกลยุทธ์ On ground ให้พนักงานรับออเดอร์ในพื้นที่ใกล้เคียงสาขาและบริการจัดส่งให้กับลูกค้า มั่นใจว่ารายได้รวมของบริษัทเติบโต 20%  

]]>
1318813
“เชสเตอร์” เอาด้วย! ปั้นแบรนด์ “ตะหลิว” ร่วมวงสตรีทฟู้ด ท้าชน “เขียง-อร่อยดี” https://positioningmag.com/1299681 Thu, 01 Oct 2020 16:07:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299681 กลายเป็นเทรนด์ของเชนร้านอาหารยุคนี้ที่ต้องแตกแบรนด์ใหม่เพื่อจับในทุกๆ เซ็กเมนต์ โดยกลุ่ม “สตรีทฟู้ด” มาแรง ล่าสุด “เชสเตอร์” QSR ในเครือ CPF ได้ปั้นแบรนด์ “ตะหลิว” เริ่มเข้าฟู้ดคอร์ท พร้อมขายแฟรนไชส์ปีหน้า

ขอร่วมวงอาหารตามสั่งขึ้นห้าง

ตลาดสตรีทฟู้ดร้อนแรงขนาดนี้ มีหรือที่ “เชสเตอร์” จะพลาดขบวนในการจับตลาดนี้ด้วย แบรนด์ “ตะหลิว” นี้ จะเป็นเหมือนแบรนด์ลูกในเครือของเชสเตอร์ ต่อยอดจากจุดเด่นของแบรนด์คือข้าว และพริกน้ำปลา

ตะหลิวได้วางจุดยืนเหมือนกับแบรนด์อื่นๆ เน้นที่เมนูอาหารตามสั่ง เมนูอาหารไทยยอดนิยมอย่างข้าวผัดกะเพรา ผัดมาม่า ต้มยำ และเมนูเส้น มีราคาเริ่มต้นที่ 60 บาท

ร้านตะหลิว

เชสเตอร์ได้นำร่องเปิดร้านตะหลิวแบบเงียบๆ ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เลือกโลเคชั่นเป็นฟู้ดคอร์ทระดับพรีเมียม ได้แก่ อาคาร CP Tower 2 และโรงพยาบาลศิริราช และล่าสุดได้เปิดสาขาใหม่ที่อิมพีเรียล สำโรง เป็นโมเดลแบบร้านมีที่นั่ง

ถ้าถามถึงที่มาที่ไป “รุ่งทิพย์ พรหมชาติ” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด เล่าให้ฟังว่า

“จุดเด่นของเชสเตอร์คือ เรื่องข้าว และพริกน้ำปลา เลยมองว่าจะมาต่อยอดอย่างไรได้บ้าง อีกทั้งตลาดสตรีทฟู้ดเป็นฐานใหญ่มากของตลาดร้านอาหารในไทย คิดเป็นสัดส่วน 50% เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นร้านเล็กๆ หรือโลคอลข้างทาง แต่ก็มีลูกค้าเยอะตลอด เราเลยมาปรับรูปแบบให้ร้านแบบนี้ขึ้นห้าง ปรับเมนูให้โดดเด่น เอามาผสมกับจุดเด่นของเรา”

รุ่งทิพย์เสริมอีกว่า แผนการขยายสาขาของตะหลิวในปีนี้ยังอยู่ช่วงทดลองตลาด ดูว่าโลเคชั่นไหนเหมาะ และการตอบรับของผู้บริโภค แรกเริ่มจะเป็นบริษัทลงทุนเองก่อน มองว่าจะมี 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ ร้านเล็กๆ ในฟู้ดคอร์ท, ร้านแบบมีที่นั่ง และ Cloud Kitchen ที่เน้นเดลิเวอรี่ โดยจะใช้ครัวของเชสเตอร์เป็นหลัก

ซึ่งถ้าผลตอบรับดี จะเริ่มขยายแฟรนไชส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ในปีหน้า จะเป็นอีกหนึ่งโมเดลในการหารายได้เพิ่ม และยังช่วยขยายสาขาได้เร็วขึ้นด้วย

เชนร้านอาหารแห่ลุยสตรีทฟู้ด

เทรนด์ของสตรีทฟู้ดเริ่มเห็นมาได้ 1-2 ปีแล้ว แรกเริ่มกลุ่ม ZEN ได้นำร่องเปิดตลาดด้วยแบรนด์ “เขียง” เป็นสไตล์อาหารตามสั่งยอดนิยม ปัจจุบันได้กลายเป็นแบรนด์ดาวรุ่งของกลุ่ม มีการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นแบรนด์ที่สร้างรายได้จากช่องทางเดลิเวอรี่ได้มากอีกด้วย

ในส่วนของกลุ่ม CRG ก็ร่วมวงด้วยการเปิดตัวแบรนด์ “อร่อยดี” เช่นกัน ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 สาขา และยังเตีรยมขยายแฟรนไชส์ในเร็วๆ นี้ด้วย

เชสเตอร์เป็นแบรนด์ล่าสุดที่ไม่พลาดขบวน แม้จะมาช้า แต่ก็ยังไม่หลุดขบวนเท่าไหร่ เพราะผู้บริโภคยังตอบรับกับเซ็กเมนต์นี้ เนื่องจากเป็นอาหารจานด่วน และเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกวัน เมื่อเทียบกับเชนร้านอาหารแล้ว จะมีราคาย่อมเยากว่าด้วย

ต้องจับตาต่อไปว่า จะมีเชนร้านอาหารแบรนด์ไหน ลงมาจับตลาด แต่เชื่อว่าตลาดต้องร้อนแรงอย่างแน่นอน

]]>
1299681
ZEN อิมพอร์ต Din’s เติมพอร์ตร้านอาหารจีนจานด่วน https://positioningmag.com/1262871 Sun, 02 Feb 2020 15:43:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262871 ZEN Group อิมพอร์ตแบรนด์ Din’s ร้านอาหารสไตล์นีโอไต้หวัน หรืออาหารจีนจานด่วนเข้ามาเปิดสาขาในไทยที่สามย่านมิตรทาว์นแห่งแรก ประเดิมโมเดลมาสเตอร์แฟรนไชส์แบรนด์แรก

แบรนด์ไต้หวัน เติบโตที่ญี่ปุ่น

ตลาดร้านอาหารคึกคักตั้งแต่ต้นปี เมื่อยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่ม ZEN ได้เดินเกมเปิดแบรนด์ใหม่อย่าง Din’s เป็นร้านอาหารจีนจานด่วนสไตล์นีโอไต้หวัน หรือจะเรียกง่ายๆ ว่าเป็นแนวๆ จีนโมเดิร์น

ที่จริงแล้วร้าน Din’s เป็นแบรนด์ลูกของแบรนด์ JIN DIN ROU (จิน ดิน รู) เป็นร้านอาหารจีนแบบภัตตาคารที่มีต้นกำเนิดในประทเศไต้หวัน ส่วนแบรนด์ Din’s เป็นการขยายธุรกิจไปยังประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นการวางจุดยืนให้เป็นร้านอาหารจีนจานด่วน ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการกว่า 10 สาขาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกที่ขยายธุรกิจนอกญี่ปุ่น

จุดเริ่มต้นของการอิมพอร์ตแบรนด์ Din’s เข้ามาในไทยนั้น เกิดจากการที่ผู้บริหารทางแบรนด์ Din’s เข้ามาจีบทาง ZEN ว่าต้องการขยายธุรกิจมายังประเทศไทย จากนั้นก็คุยกันอยู่พักหนึ่งจึงได้เปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เป็นลักษณะของมาสเตอร์แฟรนไชส์

ถ้าพูดถึงเหตุผลที่นำเข้าแบรนด์นี้เข้ามา “บุญยง ตันสกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ปจำกัด (มหาชน) ได้เล่าว่า

“ตลาดอาหารจีนจานด่วนในประเทศไทยในปัจจุบันมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 2–3 หมื่นล้านบาทและคาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตลาดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารจีนแบบภัตตาคารที่มีบริการแบบ Full Restaurants มีราคาสูง แต่ยังไม่ค่อยมีร้านอาหารจานด่วนที่ราคาไม่แพงมากนัก Din’s จึงเข้ามาอุดช่องว่างในตลาด เป็นอาหารจีนแบบเฮล์ทตี้”

บุญยงเสริมอีกว่า จากข้อมูลพบว่าอาหารที่คนไทยนิยม จะมีอาหารไทย อาหารจีน และอาหารญี่ปุ่น แต่อาหารญี่ปุ่นมีการแข่งขันเยอะ มีทั้งเข้ามาเปิด และทำเอง แต่ ZEN ขาดกลุ่มอาหารจีน เป็นการขยายกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ราคาเฉลี่ย 100-150 บาทก็ทานได้แล้ว

ปั้นแฟรนไชส์แบรนด์แรก หวังได้ Know How ความเจแปนนิส

ปัจจุบันกลุ่ม ZEN มีร้านอาหารในเครือทั้งสิ้น 16 แบรนด์ครอบคลุมอาหารสไตล์ญี่ปุ่น ไทยและเวียดนาม โดยทุกแบรนด์เป็นที่ “สร้างเอง” หรือการซื้อกิจการทั้งหมด ความน่าสนใจคือแบรนด์ Din’s เป็นแบรนด์แรกที่ทางกลุ่ม ZEN ซื้อแฟรนไชส์เข้ามา

เบื้องหลังของแนวคิดนี้เรียกว่าสั้นๆ แต่ได้ใจความ นั่นก็คือซื้อแฟรนไชส์ หวังได้ Know How นั่นเอง เพราะประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องของเทคโนโลยี ระบบการจัดการต่างๆ ทำให้กลุ่ม ZEN เองก็หวังเอา Know How ต่างๆ มาปรับใช้กับธุรกิจอื่นๆ ด้วย

“เป็นครั้งแรกซื้อแฟรนไชส์มาบริหาร เพราะอยากได้ Know How จากทางญี่ปุ่น และด้วยเมนูหลักอย่างเสี่ยวหลงเปาสามารถทำให้แพร่หลายได้ และร้านนี้มีหลายฟอร์แมท สามารถนำมาพัฒนาให้เข้ากับไทยได้”

Din’s ที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีทั้งแบบคาเฟ่ อิซากายะ หรือร้านกิดื่มแบบญี่ปุ่น แบ่งตามสีทั้งสีแดง สีส้ม และสีฟ้า โดยไทยเลือกสีฟ้าเข้ามาเพื่อให้เป็นคอนเซ็ปต์ไลฟ์สไตล์กึ่งสุขภาพ อีกทั้งได้ทำให้ภาพลักษณ์ของร้านอาหารจีนเปลี่ยนไป ดูทันสมัยขึ้น ไม่ได้ยึดติดแค่สีแดงเพียงอย่างเดียว

Din’s ที่ประเทศญี่ปุ่น

เติมพอร์ตกลุ่มอาหารจีนจานด่วน

การเปิดแบรนด์ Din’s ครั้งนี้ เป็นการเสริมพอร์ตธุรกิจของกลุ่ม ZEN ให้แข็งแรงมากขึ้น จากเดิมที่มีอาหารญี่ปุ่น อาหารไทย อาหารอีสาน อาหารเวียดนาม สตรีทฟู้ด เอากลุ่มอาหารจีนจานด่วนเข้ามาเติมพอร์ตให้แน่นขึ้น

ใจความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของตลาดนี้ก็คือ ด้วยความที่เป็นอาหารจ่านด่วน ทำให้สามารถขายได้หลายรอบมากขึ้น ลูกค้าหมุนเวียนมากขึ้น จากปกติถ้านั่งทานร้านปกติใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่ในร้านนี้สามารถใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งชั่วโมง เมื่อขายได้หลายรอบมากขึ้น ก็มีรายได้เพิ่มขึ้น

สำหรับสาขาแรกที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์มีพื้นที่ 108 ตารางเมตร ใช้งบลงทุน 6 ล้านบาท ในปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 8-10 สาขา ส่วนในปีหน้าจะเริ่มขายแฟรนไชส์ และหาพันธมิตรใหม่ๆ หรือหามาสเตอร์แฟรนไชส์ในแต่ละจังหวัด

ปัจจุบันกลุ่ม ZEN มีสาขารวมมทั้งหมด 360 สาขา เป็นสาขาที่บริหารโดยแฟรนไชส์ 150 สาขา

ในปีนี้ใช้งบลงทุน 150 ล้านบาท เปิดใหม่ 40 สาขา เป็นแฟรนไชส์อีก 200 สาขา ส่วนปีที่แล้วใช้งบลงทุน 300 ล้านบาท เปิดใหม่ 101 สาขา เป็นการเปิดสาขามากที่สุดในรอบ 28 ปี

]]>
1262871
ปิดตำนานห้าง ZEN เปลี่ยนชื่อ CENTRAL@centralwOrld ปรับโฉมเพิ่มไลฟ์สไตล์ https://positioningmag.com/1255327 Thu, 28 Nov 2019 13:05:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255327 ห้างเซ็นทรัลตัดสินใจโละแบรนด์ ZEN แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น CENTRAL@centralwOrld หลังจากใช้มา 30 ปี พลิกโฉมเป็นห้างไลฟ์สไตล์ พร้อมดึงญาญ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์

ทำเลทอง ขอใช้แบรนด์แม่เซ็นทรัล

เชื่อว่าหลายคนต้องเกิดความสับสนอยู่ไม่น้อยเกี่ยวกับรูปแบบ หรือโครงการของห้างสรรพสินค้าในเครือของกลุ่มเซ็นทรัล ที่มีหลายแบรนด์ทั้งห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ZEN และโรบินสัน ถึงแม้จะมีการบริหารที่แยกส่วนกัน แต่ก็ถือว่าอยู่ชายคาของอาณาจักรเซ็นทรัลเหมือนกัน

โดยที่ห้าง ZEN เป็นหนึ่งเดียวที่อยู่ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ถือว่าอยู่ในยูนิตของห้างสรรพสินค้า หรือ Department Store รวมกับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ZEN ได้เปิดให้บริการมา 30 ปีแล้ว

แต่ปีนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งทางห้างเซ็นทรัลได้ทำการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น CENTRAL@centralwOrld มีการปรับภาพรวมทั้งหมดทั้งชื่อ แบรนดิ้ง การตกแต่งภายใน และคอนเซ็ปต์

เหตุผลที่ทางเซ็นทรัลได้เปลี่ยนชื่อนั้น ณัฐธีรา จิราธิวัฒน์ บุญศรี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ได้เล่าว่า

ด้วยความที่ ZEN อยู่ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งเป็นโลเคชั่นทองอยู่สี่แยกราชประสงค์ จึงต้องการใช้แบรนด์แม่หรือแบรนด์เซ็นทรัลมาไว้ในส่วนของห้างสรรพสินค้า จะมีการรีโนเวตใหม่ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับลูกค้า

ทุ่มพันล้าน ปรับโฉมครั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่มาช้อปปิ้ง

การปรับโฉมใหม่ครั้งนี้ห้างเซ็นทรัลได้ใช้งบลงทุน 1,000 ล้านบาท ในพื้นที่รวม 50,000 ตารางเมตร ทำการรีโนเวตใหม่ปรับคอนเซ็ปต์ให้มีไลฟ์สไตล์มากขึ้น

ห้าง ZEN มีการเติบโตสูงตลอดทุกปี แต่ครั้งนี้ได้ปรับให้เป็นไลฟ์สไตล์ขึ้น ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะ เพราะพฤติกรรมของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง การมาห้างสรรพสินค้าไม่ได้ต้องการมาช้อปปิ้งเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการมาแฮงเอาท์ มาเจอเพื่อนๆ ทานอาหาร ทำธุระต่างๆ จึงต้องอยากปรับให้เป็นไลฟ์สไตล์ ให้ลูกค้ามาใช้เวลามากที่สุด การซื้อของอย่างเดียวไม่พอ ต้องให้เป็นบ้านหลังที่สองด้วย

โดยปกติแล้วห้าง ZEN เป็นห้างสรรพสินค้าที่สร้างรายได้ติดอันดับ Top 3 ของกลุ่มเซ็นทรัล รองจากเซ็นทรัลชิดลม และเซ็นทรัลลาดพร้าว หลังจากทำการรีโนเวตแล้วมีการตั้งเป้าการเติบโตที่ 20%

โดยที่วางกลุ่มเป้าหมายเป้นคนไทย 60% และชาวต่างชาติ 40%

เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ว่าห้าง ZEN ได้เปลี่ยนชื่อเป็น CENTRAL@centralwOrld ได้มีการใช้ “ญาญ่า อุรัสยา” เป็นพรีเซ็นเตอร์ของแคมเปญนี้ เพื่อบอกว่าห้าง ZEN ได้เปลี่ยนชื่อแล้ว

]]>
1255327
เปิดแนวคิด “เขียง” สตรีทฟู้ดสายพันธุ์ใหม่ ร้านอาหารดาวรุ่งของ ZEN Group https://positioningmag.com/1249651 Sun, 13 Oct 2019 14:29:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249651 เปิดแนวคิดการปั้นแบรนด์เขียง” ร้านอาหารน้องใหม่ของ ZEN Group ที่เข้ามาเติมพอร์ตกลุ่มอาหารไทย ปรับไซส์เล็กเพื่อขยายสาขาได้ง่าย แถมลุยตลาดเดลิเวอรี่ เป้าปีนี้รายได้เกือบ 100 ล้าน

รู้จัก “เขียง” แบรนด์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จที่สุดของกลุ่ม

หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับ ZEN Group ในภาพลักษณ์ร้านอาหารญี่ปุ่นเสียส่วนใหญ่ ซึ่งได้ทำตลาดมาเกือบ 30 ปีแล้ว ในช่วงหลังได้มีการขยายตลาดไปยังร้านอาหารกลุ่มอื่นมากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ทั้งการซื้อกิจการแบรนด์ “ตำมั่ว” เพื่อเติมพอร์ตกลุ่มร้านอาหารไทยที่ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมี

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจร้านอาหารมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง มีหลายปัจจัยประกอบด้วยกันทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน มีทางเลือกมากขึ้น รวมถึงการขยายสาขาที่ไม่ได้เต็มที่เหมือนแต่ก่อน เพราะศูนย์การค้ามีการเปิดน้อยลง ทำให้แต่ละแบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์กันยกใหญ่

ZEN เองก็มีการปรับตัวครั้งใหญ่เช่นกัน การที่จะรอให้ศูนย์การค้าเปิดตัวแล้วขยายร้านอาหารเข้าไปนั้นคงไม่ทันใจ ต้องมีการปรับรูปแบบเน้นโมเดล “ไมโคร ฟอร์แมต” ใช้พื้นที่จำนวนเล็กลง เพื่อขยายสาขาได้มากขึ้น มีพื้นที่แค่ 28 – 50 ตารางเมตรก็เปิดร้านได้แล้ว

อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญของปีนี้ก็คือการเปิดแบรนด์ “เขียง” มีการเคลมว่าเป็นการเปิดแบรนด์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จที่สุด แถมยังทำให้ ZEN Group มีสีสันมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งได้เริ่มเปิดแบรนด์เขียงเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เอง แต่สามารถทำรายได้ และขยายสาขาได้ทะลุเป้า

ได้วางจุดยืนให้เขียงเป็นร้านอาหารไทยตามสั่งในราคาย่อมเยา จับกลุ่มพรีเมียมแมส ราคาเริ่มต้น 50 บาท เป็นการบุกตลาดสตรีทฟู้ดครั้งแรกด้วยเช่นกัน ได้เปิดสาขาแรกที่ปั๊มน้ำมัน ปตท. เจษฎาบดินทร์ จ.นนทบุรี จากนั้นก็เริ่มขยายในหลายๆ พื้นที่จนในปัจจุบันมีทั้งหมด 40 สาขา คาดว่าสิ้นปีจะมี 50 สาขา

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

“แบรนด์เขียงที่เกิดขึ้นได้ต้องให้เครดิตทางปั๊ม ปตท. แรกเริ่มนั้นทางปั๊ม ปตท.อยากให้ทาง ZEN ทำอาหารตามสั่งแล้วทดลองขายในปั๊มดู พอเริ่มเปิดสาขาแรกที่เจษฎาบดินทร์ แถมไม่ใช่ใน กทม.ด้วย แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดีมีฟู้ดเดลิเวอรี่เข้ามามากมาย ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากสุดเลย ไม่เคยมีแรนด์ไหนเปิดได้เร็วขยนาดนี้ เปิดเฉลี่ยเดือนละ 5 – 6 สาขา แบรนด์ตำมั่วใช้เวลา 20 ปีเปิด 100 กว่าสาขา แต่เขียงแค่ 8 เดือนเปิดได้ 40 สาขา” 

ในธุรกิจร้านอาหารมูลค่า 800,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา ZEN ได้อยู่ในกลุ่มของ Full Restaurant ที่มีมูลค่า 200,000 ล้านบาท มีทั้งกลุ่มอาหารญี่ปุ่น ปิ้งย่าง ซูชิ เวียดนาม อาหารไทย-อีสาน ครั้งนี้จึงบุกตลาดสตรีทฟู้ดที่มีมูลค่าถึง 370,000 ล้านบาท อย่างเต็มตัว

“แต่ก่อน ZEN มีแต่แบรนด์พรีเมียมเป็นร้านอาหารเต็มรูปแบบหมด ไม่มีแบรนด์ Low-end ที่ราคาไม่แพงเลย แต่วันนี้เรามีแบรนด์เขียงที่จะเป็นแบรนด์พรีเมียมแมสในราคาเข้าถึงได้แล้ว เราอยู่มา 30 ปี เรา Conservative มาตลอด ปีนี้เราต้อง Aggressive ในการขยายสาขา ทำตลาดให้มากขึ้น” 

จับจริตช่องทางเดลิเวอรี่

ปัจจุบันร้านเขียงแบ่งเป็น 6 โมเดล จับทุกกลุ่มเป้าหมาย

  1. Full model ที่อยู่ภายในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ของกลุ่ม ปตท. และอาคารพาณิชย์
  2. รูปแบบคีออส (Khiang to go)
  3. รูปแบบบริการในศูนย์อาหาร (Food Court)
  4. รูปแบบบริการภายในศูนย์การค้าชุมชน (Community Mall)
  5. รูปแบบ Fresh food / Counter bar เป็นพาร์ตเนอร์กับทาง Tesco Lotus ขยายฐานลูกค้าที่มาใช้บริการไฮเปอร์มาร์เก็ต นำร่องเปิด 4 สาขา ได้แก่ สาขาพระราม 1, พระราม 4, ศรีนครินทร์ และพัฒนาการ เป็นทำเลที่มีศักยภาพอยู่ในแหล่งชุมชน และย่านพักอาศัยที่มีประชากรหนาแน่น
  6. เขียงทอง (Premium street food) เป็นโมเดลที่ใช้วัตถุดิบพรีเมียม เช่น กุ้งล็อบสเตอร์ ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พัทยา บีช

อีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความสำเร็จให้กับแบรนด์เขียง นอกจากการขยายสาขาได้รวดเร็วแล้ว ยังเป็นเรื่องของ “เดลิเวอรี่” เขียงเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่สร้างยอดขายจากเดลิเวอรี่ได้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ทุกๆ โมเดลมีรายได้จากเดลิเวอรี่ บางสาขามีสัดส่วนถึง 50%

“หลังจากที่ได้ทดลองเปิดเขียงมาสักพักมองว่าการทำโมเดลสตรีทฟู้ดแบบนี้ก็ตอบโจท์ตลาดเดลิเวอรี่ได้ดี ทำพื้นที่ให้เล็กลง ใช้พื้นที่เฉลี่ย 50 ตารางเมตรเท่านั้น ขยายได้หลายฟอร์แมต มีการลงทุนต่ำ อย่างสาขาปั๊ม ปตท.เกษตร-นวมินทร์ มียอดขายจากเดลิเวอรี่ถึง 70% บางสาขาก็ทำสัดส่วนรายได้ 50%”

ZEN ได้พยายามบุกช่องทางเดลิเวอรี่มาสักพักใหญ่แล้ว มีการพัฒนาระบบของตัวเอง และร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ฟู้ดเดลิเวอรี่ต่างๆ ต้องบอกว่าเขียงก็ค่อนข้างที่จะได้รับความนิยมจากฟู้ดเดลิเวอรี่ เพราะมีการทำโปรโมชั่นร่วมกัน จึงสร้างการรับรู้ได้เร็ว แถมปั้นรายได้ได้มากขึ้นด้วย

“ตอนแรกไม่เชื่อในช่องทางเดลิเวอรี่เท่าไหร่ แต่พอมีแอพพลิเคชั่นฟู้ดเดลิเวอรี่เข้ามา มีการโปรโมตและทำโปรโมชั่นร่วมกัน ก็เห็นการเติบโตขึ้นเป็นเท่าตัว ในช่วง 4 – 5 เดือนที่ผ่านมามีรายได้จากเดลิเวอรี่แซงหน้าแบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นไปแล้ว ทำให้ปรับกลยุทธ์ปรับพื้นที่บริการให้น้อยลงได้”

เปิดครัวกลางรองรับเดลิเวอรี่โดยตรง

ตอนนี้บางสาขาได้มีการแยกเป็น 2 ครัวด้วยกัน เป็นครัวสำหรับรองรับลูกค้าที่มาทานในร้าน และครัวสำหรับทำออเดอร์เดลิเวอรี่โดยเฉพาะ เพื่อเป็นการจัดสรรเวลาได้ดีขึ้น ไม่ให้ลูกค้าทั้ง 2 ช่องทางรอนาน

ตอนนี้เขียงได้ผุดโมเดลที่เรียกว่า Delco ขึ้นมาใหม่ เป็นครัวกลางที่ไม่มีพื้นที่ให้บริการ แต่เป็นครัวปรุงอาหารโดยเฉพาะ มีสาขาแรกที่ศาลาแดง มีพื้นที่ 100 – 200 ตารางเมตร เพื่อรองรับออเดอร์จากเดลิเวอรี่ในโซนใจกลางเมือง เพราะโซนสุขุมวิท สาทร และสีลมมีการสั่งเดลิเวอรี่เยอะที่สุด

ในช่วงไตรมาส 4 นี้จะมีการเปิดครัวกลางอีก 2 แห่ง ต้องรอดูโลเคชั่นอีกที และในอนาคต 40 – 50% ของสาขาที่เปิดก็จะเป็นโมเดลครัวกลางแบบนี้เช่นกัน เรียกว่าเป็นการบุกตลาดเดลิเวอรี่โดยตรง

เปิดไม่ถึง 1 ปี ขยาย 40 สาขา ปั๊มรายได้เดือนละ 15 ล้าน

เขียงเปิดให้บริการได้ 8 เดือน ตอนนี้มีทั้งหมด 40 สาขา ภายในสิ้นปีน่าจะเปิดได้อีก 10 สาขา รวมทั้งหมดเป็น 50 สาขา แผนการขยายสาขาในปี 2563 ทั้งหมด 100 สาขา เป็นครัวกลาง 40 สาขา

แต่ละสาขามียอดขายเฉลี่ย 8 แสน – 1 ล้านบาท/เดือน หรือภาพรวมมีรายได้ทั้งหมด 10 – 15 ล้านบาท/เดือน ตั้งเป้าสิ้นปีมีรายได้รวม 70 ล้านบาท

บุญยง บอกว่า เป็นการเริ่มต้นที่น่าพอใจ ต่อไปเขียงจะเป็นแบรนด์ที่มีสาขามากที่สุดของกลุ่ม

สำหรับเป้าหมายภายใน 5 ปี เขียงจะต้องมี 1,000 สาขา พยายามเข้าสู่ชุมชน และต่างจังหวัดมากขึ้น ยังมองหามาสเตอร์แฟรนไชส์ไปแต่ละภาค เป็นการเจาะแต่ละจังหวัด ในอนาคตจะเน้นสาขาที่เป็นแฟรนไชส์ 80% และลงทุนเอง 20%

ปัจจุบัน ZEN Group มีแบรนด์ในเครือรวม 12 แบรนด์ ได้แก่ กลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่น 6 แบรนด์ ได้แก่ ZEN, Musha by Zen, On the Table, AKA, Sushi Cyu และ Tetsu กลุ่มร้านอาหารไทย ได้แก่ ตำมั่ว เฝอ เดอตำมั่ว ลาวญวน แจ่วฮ้อน และเขียง

มีสาขาทุกแบรนด์รวมกัน 280 สาขา ในสิ้นปีจะมี 300 สาขา (รวมเขียงแล้ว) ในอนาคตจะใช้เขียงเป็นแบรนด์สำคัญในการขยายสาขา ส่วนแบรนด์อื่นก็สรรหาโมเดลใหม่ๆ

ภาพรวมทั้งกลุ่มของ ZEN Group ตั้งเป้ามีรายได้ 3,000 ล้านบาทในปี 2562 เติบโต 10%

ส่วนภาพรวมรายได้จากเดลิเวอรี่ของทั้งกลุ่ม 15 ล้านบาท/เดือน มาจากแบรนด์เขียง 40% หรือ 5 ล้านบาท เป็นการเติบโตหลายเท่าตัวจากปีก่อนที่มีรายได้จากเดลิเวอรี่เพียงล้านบาทต่อเดือนเท่านั้น ตั้งเป้าทั้งปีมีรายได้ 100 ล้านบาท.

]]>
1249651