AWS – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 01 Feb 2024 06:19:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 AWS เจาะลูกค้า 8 อุตสาหกรรมในไทย มองเทรนด์ GenAI ถูกพัฒนาด้วยความหลากหลาย ฉลาดเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1461087 Thu, 01 Feb 2024 01:47:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461087 AWS ประเทศไทยได้แถลงแผนธุรกิจในปี 2024 โดยเจาะไปที่ลูกค้า 8 กลุ่มอุตสาหกรรมในไทย จากปัจจัยการเติบโตของตลาด Public Cloud นั้นเติบโตเฉลี่ย 18.6% ต่อปีจนถึงปี 2027 และยังรวมถึงเทรนด์การเข้ามาของ Generative AI

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ประจำ AWS ประเทศไทย ได้กล่าวถึง การทำธุรกิจในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นในปี 2015 เป็นต้นมา รวมถึงการเปิดให้บริการอื่นๆ เช่น Cloudfront ในปี 2020 และล่าสุดคือ AWS ได้เพิ่มการลงทุนใน ASEAN และมีแผนที่จะเปิดราย AWS Regions อีก 4 แห่ง ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น

โดย AWS มีแผนที่จะลงทุนในประเทศไทยมากกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 190,000 ล้านบาท ในประเทศไทยภายในระยะเวลา 15 ปี และจะมีการเปิด AWS Bangkok Region ซึ่งตอนนี้บริษัทกำลังพัฒนาโครงการดังกล่าว

Country Manager ประจำ AWS ประเทศไทย ยังกล่าวว่า AWS มาลงทุนในประเทศไทยไม่ใช่แค่ลงทุนแค่ Data Center เดียวเท่านั้น แต่ลงทุนมากกว่านั้น เนื่องจากการทำระบบ Cloud ต้องใช้หลาย Data Center ซึ่ง 1 Zone จะเท่ากับ 3-4 Data Center แต่ละประเทศนั้นจะมีไม่น้อยกว่า 3 Zone

8 อุตสาหกรรมที่ AWS ประเทศไทย มุ่งเน้นในปี 2024 ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการการเงิน ค้าปลีก ยานยนต์ ดิจิทัล พลังงาน การผลิต ด้านสุขภาพ รวมถึง TMEG (โทรคมนาคม, สื่อ, ความบันเทิง, เกม) โดย AWS ประเทศไทยจะแนะนำการใช้บริการคลาวด์ที่ช่วยกระตุ้นนวัตกรรมและสร้างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการที่มีความเฉพาะเจาะจงของภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้

วัตสัน ได้กล่าวถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่การประหยัดแค่ค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว แต่การใช้ Cloud ของกลุ่มลูกค้าใน 8 อุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะเจาะจงของลูกค้าด้วย

ขณะเดียวกัน AWS ยังมีการจัดโครงสร้างทีมในประเทศและในระดับภูมิภาค AWS และยังรวมถึงการจัดงาน AWS Summit ในไทย เพื่อที่จะรองรับการเปิดตัวของ AWS Bangkok Region หลังจากนี้ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ไปจนถึงการ Reskill เพื่อเพิ่มทักษะด้าน Cloud เนื่องจากความต้องการด้านบุคลากรที่เพิ่มสูงขึ้น

ข้อมูลจาก Semiannual Public Cloud Services Tracker โดย IDC ที่จัดทำในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023 คาดว่าตลาดบริการคลาวด์สาธารณะในประเทศไทยคาดว่าจะเติบโตถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (คิดเป็นเงินไทย 88,845 ล้านบาท) ภายในปี 2027 เติบโตเฉลี่ย 18.6% ต่อปี ทำให้ AWS ยังเชื่อว่าตลาด Cloud ในไทยยังเติบโตได้

ในส่วนของเรื่องปัญญาประดิษฐ์นั้นทีมผู้บริหารของ AWS ประเทศไทย ได้ยกคาดการณ์ปี 2024 ของ Dr. Werner Vogels ซึ่งเป็น CTO ของ Amazon โดยเขามองว่าในอีกหลายปีข้างหน้าที่กำลังจะมาถึงจะเต็มไปด้วยนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยี และช่วยในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราที่ต้องมีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น เริ่มต้นด้วย Generative AI

โดย Dr. Werner มองว่า Generative AI ในปัจจุบันยังมีความลำเอียงเล็กน้อย และยังจำกัดอยู่แต่การใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น

ซึ่ง CTO ของ Amazon มองว่า Generative AI กลายเป็นการรู้จักอย่างแพร่หลาย ขณะที่โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) จะถูกเทรนด้วยข้อมูลทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย จะมีความเข้าใจที่ละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ และความท้าทายในสังคมที่ซับซ้อน และจะมีความฉลาดเพิ่มขึ้นกว่าในปัจจุบัน

]]>
1461087
AWS Cloud คือคำตอบ…G-Able พร้อมช่วยลูกค้ายกระดับ Digital Transformation https://positioningmag.com/1453622 Thu, 30 Nov 2023 09:40:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453622  


จากสถานการณ์ Digital Disruption ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ผู้คนทั่วไปได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงชั่วข้ามคืน โดยหันมาดำเนินกิจวัตรประจำวันบนโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และการทำธุรกรรมการเงิน เป็นต้น ในส่วนของภาคธุรกิจนั้นองค์กรต่างต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในปัจจุบัน และเติบโตต่อไปในอนาคต การทำ Digital Transformation จึงเป็นเป้าหมายสูงสุดของหลายองค์กร

แม้ว่าการทำ Digital Transformation อาจจะดูไม่ยุ่งยาก เพราะมี Use Case และ Practice มากมาย แต่มีเพียงไม่กี่องค์กรที่ประสบความสำเร็จ นั่นเป็นเพราะองค์กรมักต้องเผชิญกับ Challenge หลายส่วน เช่น ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านเทคโนโลยี การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของคนในองค์กร การเข้าใจไม่ตรงกันของผู้บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ ข้อกังวลเกี่ยวความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมบุคลากร ทั้งทักษะและประสบการณ์ ในการ Adopt ใช้เทคโนโลยี

สถานการณ์เหล่านี้บ่งชี้ว่า “เทคโนโลยี” และ “ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี” คือตัวแปรสำคัญในการเตรียมความพร้อม และช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น และเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า “Cloud” คือเทคโนโลยีอันดับต้นๆ ที่ถูกใช้วางรากฐานของ Journey นี้

สิ่งที่น่าสนใจคือ ข้อมูลจาก Gartner ซึ่งได้คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายบริการ Public Cloud ของผู้ใช้ทั่วโลกในปี 2566 จะเติบโตเพิ่มขึ้น 21.7% คิดเป็นมูลค่า 597.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจาก 491 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565 และองค์กรธุรกิจในประเทศไทย จะมีปริมาณการใช้จ่ายใน Public Cloud ปี 2566 เพิ่มขึ้น 31.7% จากปี 2565 คิดเป็นมูลค่า 54.8 พันล้านบาท โดยบริการ Infrastructure-as-a-service (IaaS) คาดว่าจะเติบโตสูงสุดที่ 44.3% ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า Cloud Technology คือปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตในยุคดิจิทัลและจะเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวในอนาคต


ทำไมต้อง Cloud ของ AWS

AWS หรือ Amazon Web Services เป็นระบบ Cloud ที่ครอบคลุมและถูกนำมาใช้มากที่สุดในโลก และให้ประโยชน์กับลูกค้าได้มากที่สุด ไม่ว่าจะฟังก์ชันที่ครบครัน ตั้งแต่เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานอย่างการคำนวณ การจัดเก็บและฐานข้อมูล ไปจนถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น Machine Learning และ AI อีกทั้งยังมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูง ความยืดหยุ่นที่ตอบโจทย์เฉพาะองค์กร ราคาที่เหมาะสม รวมไปถึงมีพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ทีม Cloud ของ G-Able คือหนึ่งในทีมที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีที่สุด

เมื่อมีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์แล้ว ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยผลักดันในการใช้เทคโนโลยีนั้นเป็นอีกเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง G-Able เป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์รายแรกๆ ในประเทศไทย และเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งของ AWS มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ทีม Cloud and Data Center Modernization ของ G-Able มีความเชี่ยวชาญในการ Implement ระบบ Cloud ของ AWS โดย Cloud Engineer ทุกคนได้รับ Certification จาก AWS และมีประสบการณ์ในการให้บริการแก่องค์กรชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ รวมทั้งเข้าใจธุรกิจของลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจการเงิน ธุรกิจโทรคมนาคม และธุรกิจโลจิสติกส์

ปัจจัยทั้งหมดนี้จึงทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า G-Able สามารถให้บริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าด้วยโซลูชัน Cloud ที่ดีที่สุดจาก AWS ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษา (Consulting), วางแผน (Planning) การสร้างและการย้ายระบบงาน (Implementation & Migration) และการดูแลบริหารจัดการ (Operation) หลัง Implementation & Migration ด้วย

ที่มา – AWS Cloud Adoption Framework (AWS CAF): Overview – AWS Prescriptive Guidance (amazon.com)

โดยเราได้แบ่งขั้นตอนการทำงานดังนี้

  1. Assess: เป็นขั้นตอนการประเมินความพร้อมขององค์กร ก่อนที่จะทำ Cloud Migration การประเมินนี้อิงตาม AWS Cloud Adoption Framework และปัจจัยในการทำ Digital Transformation (ธุรกิจ ผู้คน การกำกับดูแล แพลตฟอร์ม ความปลอดภัย และการดำเนินงาน) โดยการประเมินนี้จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อน รวมถึงเสนอแผนปฏิบัติการเพื่อปิด Gap ต่างๆ ขององค์กร เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากก่อนเริ่มโครงการ
  2. Mobilize: เป็นขั้นตอนที่สร้างความสามารถพื้นฐานในองค์กรและเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับ AWS Cloud และการ Migrate ข้อมูลไปบน Cloud โดยเน้นที่การรักษาความปลอดภัย และการดำเนินการอัตโนมัติ ซึ่งประกอบไปด้วย
  • Detailed Business Case
  • Detailed Portfolio Discovery
  • Application Migration
  • Migration Governance
  • AWS Landing Zone
  • Security, Risk, and Compliance
  • Operations
  • People: Skills, Culture, Change, and Leadership
  1. Migrate & Modernize: ขั้นตอนการ Migrate หรือการโยกย้ายข้อมูลขึ้นไปบน Cloud ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เตรียมไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ รวมถึงการที่จะต้องดูแลบริหารจัดการให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องหลังจากที่ Migrate แล้ว ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน Modernize หรือ Optimize ให้เหมาะสมต่อเนื่องตลอดเวลา

งาน Operation ช่วยต่อยอดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เมื่อ Implement ระบบและ Migrate ข้อมูลต่างๆ เรียบร้อยถือว่าจบส่วนงานสำคัญในเฟสแรก แต่สิ่งที่ต้องทำระยะยาวหลังจากนี้ นั่นก็คือการทำให้ระบบยังพร้อมใช้งานและมีประสิทธิภาพ ผ่านงาน Operation ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนงานอื่น โดยทีม Managed Tech Services ของ G-Able พร้อมรับไม้ต่อดูแลในส่วนนี้ ครอบคลุมตั้งแต่ การเฝ้าระวัง (Monitoring) การแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงกระบวนการ รวมถึงแนะนำทางเลือกที่คุ้มค่า (Optimization) และการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์และมี Certification ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า เราดูแลได้ตามมาตรฐาน ทำให้บุคลากรในองค์กรไม่ต้องเสียเวลาไปกับงาน Operation หลังบ้าน และยังมีเวลาเพิ่มศักยภาพในการทำงาน พัฒนาต่อยอดธุรกิจ เพื่อพิชิตเป้าหมายขององค์กรต่อไป


ผนึกกำลังพร้อมให้บริการอย่างครบวงจร

Cloud Journey ของการทำ Digital Transformation ไม่ใช่แค่อยู่ใน Blueprint ในขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์ และไม่ได้จบที่ Cloud Migration แต่มันคือการขับเคลื่อนองคาพยพทั้ง 6 ส่วนตั้งแต่ การดำเนินงานให้เป็นไปตามกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ตั้งไว้ ความปลอดภัยของระบบและข้อมูล การดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การนำ Digital Technology มาใช้ และการดูแลหลัง Technology Adoption ไปจนถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีทั้ง Mindset และ Skill ในการทำงานในยุคดิจิทัล

ซึ่งนอกจาก G-Able จะมีกลุ่มโซลูชัน Cloud and Data center Modernization และ Managed Tech Services ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เรายังมีทั้งเซอร์วิสและโซลูชันทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีอีก 3 กลุ่มที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุน Cloud Journey ให้ตอบโจทย์ และต่อยอดธุรกิจให้ลูกค้าอย่างครบวงจรได้แก่ Cybersecurity, Data and Analytics และ Digital Business and Application และเมื่อ Tech Enabler Company ผู้ที่นำเทคโนโลยี มาช่วยให้ธุรกิจ และชีวิตของผู้คนดีขึ้นในโลกยุคดิจิทัล อย่าง G-Able หรือบริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) มาผนึกกำลังกับ AWS Cloud ผู้นำด้านการให้บริการ Cloud ชั้นนำระดับโลก ส่วนผสมสำคัญทั้ง 2 มิตินี้ก็พร้อมผลักดันให้ลูกค้าก้าวสู่ความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ซึ่งเป็นเรื่องที่ “ง่าย” และ “เป็นไปได้” สำหรับทุกองค์กร

จากซ้าย-ขวา : คุณศรุต อัศวกุล และคุณธีระพงษ์ จันทร Senior Cloud Business Development Manager, คุณมนต์ชัย วิไลพันธ์ Senior Vice President of Managed Service Operations & Assurance


G-Able คือ The Most Trusted Partner

ในฐานะที่ G-Able เป็น Tech Enabler Company เรามุ่งหวังที่จะช่วยลูกค้าทรานส์ฟอร์มองค์กร สู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ เราเปรียบลูกค้าเสมือนพาร์ทเนอร์ที่พร้อมออกเดินทางไกลไปด้วยกันจนถึงเป้าหมายแห่งความสำเร็จ

คุณขวัญฤทัย แน่นหนา Executive Vice President of Cloud Technology & Managed Tech Services บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ด้วยการทำงานแบบเชิงรุก (Proactive) ทีมโซลูชันของเราเข้าใจธุรกิจและความต้องการของลูกค้า และพร้อมนำเสนอสิ่งที่จะเติมเต็มให้แก่ลูกค้าเพราะเราเชื่อว่า “ป้องกัน” มักดีกว่า “แก้ไข” รวมทั้งแต่ละทีมมี Synergy ระหว่างกันเพื่อสอดประสานการทำงานทุกภาคส่วน และยังใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นให้กับทุก Key Stakeholders ตั้งแต่ฝ่ายปฏิบัติการไปจนถึงระดับบริหาร

ทีม G-Able มุ่งมั่นใส่ใจทุกรายละเอียดในการทำงาน และไม่หยุดที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อปรับใช้กับธุรกิจของลูกค้า ในทุกส่วนของโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมาย  Business Value ที่ลูกค้าได้รับจึงตอบโจทย์ธุรกิจ องค์กรสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากกว่าที่ลูกค้าคาดหวังไว้”

คุณขวัญฤทัย แน่นหนา Executive Vice President of Cloud Technology & Managed Tech Services บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)  

“กว่า 34 ปีที่ผ่านมา G-Able ได้พิสูจน์แล้วว่า เราอยู่เคียงข้างลูกค้าในทุกๆ การเปลี่ยนผ่าน ความสำเร็จของลูกค้า คือ Key Success ของ G-Able และเราพร้อมผลักดันให้ลูกค้าเป็นตัวจริงที่โดดเด่นในทุกอุตสาหกรรม

]]>
1453622
กาง 3 กลยุทธ์บุกตลาดคลาวด์ของ ‘AWS’ ชิงส่วนแบ่ง 4 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1386937 Sun, 29 May 2022 05:22:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386937 ตั้งแต่ทั่วโลกเจอการระบาดของ COVID-19 องค์กรธุรกิจก็ตื่นตัวเรื่องการทรานส์ฟอร์มมากขึ้น ส่งผลให้เทคโนโลยี ‘คลาวด์’ เติบโตขึ้นไปตาม ๆ กัน โดยข้อมูลจากการ์ทเนอร์ระบุว่า ตลาดคลาวด์ในไทยมีมูลค่าถึง 4 หมื่นล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมาถึง 36.6% ด้วยอัตราการเติบโตดังกล่าวทำให้ผู้ให้บริการระดับโลกอย่าง AWS หรือ Amazon Web Services ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงแผนในการรุกตลาดไทยเพื่อชิงความได้เปรียบในตลาด

แม้ว่า AWS จะให้บริการในไทยมานานถึง 6 ปี และมีการลงทุนต่อเนื่อง แต่เพราะการเติบโตของตลาดทำให้ปีนี้ AWS จะลงทุนเปิด AWS Local Zone ภายใน 24 เดือน เพื่อต่อยอดบริการด้านการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ Edge กับคลาวด์ โดยไทยจะถือเป็น 1 ใน 16 เมืองทั่วโลกที่เปิด และภายใต้การนำของ ‘วัตสัน ถิรภัทรพงศ์’ อดีตผู้บริหารซิสโก้ มาเป็นผู้จัดการประจำประเทศไทย ก็ได้เปิดเผยถึง 3 ทิศทางของ AWS ในการรุกตลาดจากนี้

เพิ่มทีมเฉพาะทางรองรับความต้องการ

เนื่องจากการเติบโตของตลาดที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่ไปจนถึง SME และสตาร์ทอัพ ดังนั้น AWS จะเพิ่มทีมที่หลากหลายมากขึ้นในไทย โดยบริษัทจะเพิ่มทั้งทีมด้านการขาย ด้านเทคนิค การบริการระดับมืออาชีพ และ solution architect รวมถึงทีม Digital Native Business (DNB) ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้ากลุ่มยูนิคอร์นที่กำลังเติบโตในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการเพิ่มทีมภาครัฐมาโดยเฉพาะ โดยได้ช่วยดูเรื่องการพัฒนาแพลตฟอร์ม ‘หมอชนะ’

เพิ่มพาร์ตเนอร์ตัวแทนจำหน่าย

ที่ผ่านมา AWS จะเน้นขายบริการต่าง ๆ ผ่านตัวแทนจำหน่ายในไทย ปัจจุบันมีเครือข่ายพาร์ตเนอร์กว่า 7,000 ราย แต่ในปีนี้ AWS จะเน้นขายตรงด้วยตัวเองมากขึ้น ควบคู่กับการเพิ่มพาร์ตเนอร์เครือข่าย ซึ่งจะเน้นไปที่กลุ่ม SME และลูกค้าในต่างจังหวัดมากขึ้น

“ที่ผ่านมา เราเจอว่าองค์กรมีปัญหาเรื่องคนที่มีไม่พอ ทำให้เขาเลือกจะใช้คลาวด์เพื่อช่วยลดภาระ เพราะไม่ต้องจัดหาคนดูแลระบบ ไม่ต้องจ้างฝ่ายไอทีไปเน้นด้านบิสซิเนสมากกว่าไปดูเรื่องเซิร์ฟเวอร์ว่ามีปัญหาหรือไม่ ส่วนที่บางองค์กรยังไม่ย้ายไปคลาวด์เพราะความเข้าใจ เราเลยต้องช่วยลูกค้าเพิ่มทักษะกับความรู้”

เตรียมลูกค้าให้ใช้คลาวด์ได้ดียิ่งขึ้น

เนื่องจากตอนนี้ลูกค้าส่วนใหญ่จะโฟกัสการใช้คลาสด์แค่ แทนที่เซิร์ฟเวอร์ หรือใช้แค่ เก็บข้อมูลเป็นหลัก หรือคิดเป็นถึง 95% เลยทีเดียว ดังนั้น AWS จะช่วยให้ลูกค้าก้าวข้ามการใช้งานแบบพื้นฐานไปสู่ขั้นต่อไปก็คือ Modernization หรือการวางแผนใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

เมื่อลูกค้าได้ใช้ระบบคลาวด์ได้ 2-3 ปี AWS จะช่วยวางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น เช่น การพัฒนาแอปบนคลาวด์ช่วยลดการใช้อินฟราสตรักเจอร์ เพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น หรือการใส่เอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่งเข้าไปขั้นเบื้องต้น และส่วนสุดท้าย ด้าน ความยั่งยืน และ Intelligent Service เช่น การใช้คลาวด์เพื่อลดการใช้พลังงานให้น้อยที่สุด หรือการพัฒนาฟีเจอร์เฉพาะเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ด้านการแพทย์ การเงิน อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

เรามองว่าการแข่งขันเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งเราก็มั่นใจว่า AWS เป็นผู้นำตลาดโดยมีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ได้ครอบคลุมที่สุด มีฐานลูกค้าครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม และมีเครือข่ายพาร์ตเนอร์ครอบคลุมหลายแสนรายทั่วโลก

]]>
1386937
Andy Jassy ไม่ธรรมดา! จากหัวหน้า AWS สู่ว่าที่ CEO คนใหม่ของ Amazon  https://positioningmag.com/1317992 Thu, 04 Feb 2021 10:37:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317992 Andy Jassy ประธานกรรมการบริหาร Amazon คือทายาทที่จะเข้ามานั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนต่อไปของ Amazon.com เป็นการแทนที่ Jeff Bezos มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งที่ครองเก้าอี้ CEO Amazon มา 25 ปีตั้งแต่ปี 2538

สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับ CEO คนใหม่มีไม่กี่เรื่อง แต่ทุกเรื่องย้ำว่า Jassy เป็นผู้บริหารที่ไม่ธรรมดา การโปรโมตให้ Jassy เป็น CEO คนที่สองในประวัติศาสตร์ 27 ปีของบริษัท ชี้ให้เห็นชัดว่าบริการ Web Services จะเป็นศูนย์กลางของอนาคต Amazon ที่จะขยายจากวงการอีคอมเมิร์ซไปปักหลักที่ยุคของการประมวลผลแบบคลาวด์อย่างเต็มตัว

ตามประวัติ Jassy อายุ 53 ปีเข้าร่วมทำงานกับ Amazon ในปี 2540 หลังจากสำเร็จการศึกษา MBA จาก Harvard Business School เวลานั้น Jassy เล่าอย่างออกรสในพอดคาสต์ของ Harvard Business School ว่าทันทีที่สอบครั้งสุดท้ายกับ HBS เสร็จในวันศุกร์แรกของเดือนพฤษภาคมปี 40 ก็ได้เริ่มงานกับ Amazon ในวันจันทร์ถัดไปพอดี 

Jassy ยอมรับว่าไม่ได้รู้ล่วงหน้ามาก่อนถึงเนื้องานที่ต้องรับผิดชอบ หรือแม้แต่ชื่อตำแหน่งที่จะได้รับ ดังนั้นการไปทำงานวันแรก จึงเป็นวันที่สำคัญสุดยอดสำหรับชาว Amazon ทุกคน

แข่งได้สวย

ปีหลังจากผ่านวันแรกของการทำงาน ในปี 2549 หนุ่ม Jassy ก่อตั้ง AWS ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการคลาวด์ของ Amazon ที่ธุรกิจหลายล้านแห่งทั่วโลกเลือกใช้งาน บริการนี้แข่งขันกับ Google Cloud ของ Alphabet Inc. และ Azure ของ Microsoft Corp. ได้อย่างถึงพริกถึงขิง

Andy Jassy ใช้เวลา 15 ปีที่ผ่านมาในการเปลี่ยน Amazon จากยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซ ให้เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ทำกำไรได้สูง สร้างและครองตลาดอินฟราสตรัคเจอร์พื้นฐานระบบคลาวด์ได้อย่างสวยงาม มีส่วนสำคัญที่ทำให้ AMazon เป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุดอันดับ 3 ของสหรัฐฯ เป็นรองก็เพียง Apple และ Microsoft 

สิ่งหนึ่งที่อธิบายความไม่ธรรมดาของ Jassy ได้ คือการเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้บริหารระดับสูงของ Bezos ที่เรียกว่าทีม S (S-team) ในฐานะที่เป็นหัวหน้า AWS ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง Jeff Bezos ได้ยกระดับ Jassy ด้วยการมอบตำแหน่งซีอีโอบริษัท AWS ให้ Jassy ในปี 2559 แถมยังกล่าวถึง Jassy ในคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ใน Washington Post ว่า “ทายาทที่ชัดเจน” หรือ clear heir apparent ของเขาเอง

มีบันทึกว่า Amazon จ่ายเงินให้ Jassy รวม 348,809 ดอลลาร์ในปี 62 ลดลงจาก 19.7 ล้านดอลลาร์ในปี 61 ซึ่งเป็นปีที่ Jassy ได้รับโบนัสเป็นหุ้นมูลค่ากว่า 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามเอกสารรายงานครั้งล่าสุด Jassy เป็นเจ้าของหุ้นประมาณ 85,000 หุ้น มูลค่ารวม 287.3 ล้านดอลลาร์ แม้จะลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงจากกว่า 100,000 หุ้นในปีที่แล้ว

เหตุผลที่ทำให้ Amazon จ่ายเงินให้ Jassy อย่างงาม คือความสำเร็จจากความสามารถในการดึงดูดธุรกิจและองค์กรทุกประเภทให้มาใช้ผลิตภัณฑ์ของ AWS โดยนำเสนอบริการสำหรับทั้งสตาร์ทอัปที่เล็กที่สุด และองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลกเช่น Apple ระหว่างที่บริหาร AWS ดาวรุ่งอย่าง Jassy ได้รับรางวัลทางธุรกิจจากหลายสำนักทั้ง Central Intelligence Agency และ Democratic National Committee และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา AWS ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าเป็นบริการที่คว้าดีลจำนวนมาก เนื่องจากบริษัทชื่อดังมากมายเช่น Pinterest, Slack, Lyft และ Snowflake ที่ต้องการขาย IPO ล้วนเปิดเผยยอดเงินการใช้จ่ายบนระบบคลาวด์ที่สูงลิ่ว

ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการที่ Jassy วางหมากให้ AWS โฟกัสไปที่การให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ และความสามารถในการประมวลผลที่ปรับแต่งได้ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ในระยะแรกมักเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดเล็กและทีมนักพัฒนารายย่อย ธุรกิจเหล่านี้เติบโตขึ้นได้โดยที่หลายคนไม่ต้องซื้อเซิร์ฟเวอร์หรืออาร์เรย์จัดเก็บข้อมูลของตัวเอง และเลือกที่จะพึ่งพา Amazon เพื่อตอบโจทย์การทำงานกับดาต้าเซ็นเตอร์หรือศูนย์ข้อมูลทั้งหมด การเริ่มต้นก่อนทำให้ AWS ได้เปรียบเมื่อคู่แข่งอย่าง Microsoft เริ่มลงทุนจริงจังกับ Azure รวมถึง Google ที่เริ่มลงทุนอย่างหนักในแพลตฟอร์มคลาวด์เช่นกัน

Jassy จึงเป็นผู้ที่สร้างสิ่งที่มีค่ามากให้ Amazon ในระดับที่ไม่มีใครมองข้ามไปได้ ในช่วงกลางปี 63 ที่ผ่านมา Amazon สามารถควบคุมตลาดบริการโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ทั่วโลก 33% มากกว่า Microsoft ที่ทำได้ 18% และ Google ที่มีอยู่ 9% ตามข้อมูลจาก Synergy Research

ล่าสุด Amazon เผยว่ารายรับของ AWS ในไตรมาสที่ 4 ปี 63 ยังเพิ่มขึ้นอีก 28% เป็น 12,700 ล้านดอลลาร์ รายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอีก 37% เป็น 3,560 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 52% ของกำไรจากการดำเนินงานทั้งหมดของ Amazon พาให้ผลกำไร Amazon เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 และยอดขายรวมรายไตรมาสเพิ่มสูงกว่า แสนล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก เป็นตัวเลขสวยงามที่เหมาะสำหรับการประกาศว่า Jassy จะเข้ามาแทนที่ Bezos

jeff-bezos

รักความยุติธรรม

ในเชิงสังคม Jassy เคยออกมาพูดในประเด็นทางสังคมเป็นครั้งคราว ที่เห็นชัดเจนคือทวีตเกี่ยวกับความจำเป็นในการรับผิดชอบของตำรวจหลังจากที่ Breonna Taylor หญิงผิวดำรายหนึ่งถูกตำรวจผิวขาวสังหารในบ้านของเธอเอง ในระหว่างการจู่โจมที่ไม่สมเหตุสมผลซึ่งเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนสิทธิ LGBTQ

สำหรับชีวิตส่วนตัว Jassy แต่งงานกับ Elana Rochelle Caplan และเป็นพ่อของลูก 2 คน ขณะเดียวกันก็ประกาศตัวเป็นแฟนกีฬาและดนตรีตัวยง ครั้งหนึ่ง Jassy เคยให้สัมภาษณ์ว่าได้คุยกับภรรยาตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มการทำงานที่ Amazon และตกลงกันว่าจะย้ายไปอยู่ชายฝั่งตะวันตกเพื่อใกล้ชิดกับครอบครัวของเธอสัก 2-3 ปีแล้วจึงจะย้ายกลับไปที่นิวยอร์ก แต่ข้อตกลงนี้ผ่านมา 23 ปีแล้วที่ Jassy ไม่เคยได้ย้ายกลับไปและไม่ได้ออกห่างจาก Amazon เลย

Jassy เล่าอย่างติดตลกตามประสาผู้บริหารที่ไม่ธรรมดาว่า ดีลนั้น “อาจจะหมดอายุลงแล้ว”.

ที่มา : 

]]>
1317992
‘Jeff Bezos’ ประกาศลงจากตำแหน่งซีอีโอ ‘Amazon’ https://positioningmag.com/1317637 Wed, 03 Feb 2021 03:37:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317637 ‘Jeff Bezos’ ซีอีโอของ Amazon และมหาเศรษฐีเบอร์ 2 ของโลก ได้ประกาศจะออกจากตำแหน่งในปลายปีนี้ โดยได้ประธานกรรมการบริหารของบริษัทอย่าง ‘Andy Jassy’ มารับช่วงต่อ ส่วน Bezos จะเปลี่ยนไปเป็นประธานบริหารของคณะกรรมการของ Amazon แทน

Jeff Bezos ได้ก่อตั้ง Amazon ในปี 1994 โดยมีจุดเริ่มต้นจาการเป็นร้านหนังสือออนไลน์ และได้กลายเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ไปจนถึงสตรีมมิ่งที่มีการเข้าถึงทั่วโลก โดย Amazon ทะลุมูลค่าตลาด 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายใต้การนำของ Bezos ในเดือนมกราคมปีที่แล้ว ขณะที่ปัจจุบัน Amazon มีมูลค่ามากกว่า 1.6 ล้านล้านดอลลาร์

บริษัทได้เตรียมแผนการสืบทอดตำแหน่งไว้อย่างเงียบ ๆ แม้ว่าผู้สังเกตการณ์คาดการณ์ว่า Jassy หรือ Jeff Wilke ซีอีโอของธุรกิจผู้บริโภคทั่วโลกของ Amazon จะเป็นผู้สืบทอดของ Bezos แต่ในเดือนสิงหาคม Amazon ประกาศว่า Wilke จะเกษียณอายุในปี 2564 ส่วน Jassy วัย 53 ปีจะเป็นซีอีโอแทนในไตรมาส 3 ปีนี้ โดย Jassy เข้าร่วมกับ Amazon ในปี 1997 และเป็นผู้นำทีมระบบคลาวด์ของ Amazon Web Services ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง AWS และคงสร้างผลกำไรของ Amazon อย่างต่อเนื่อง

“ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะประกาศว่าไตรมาสที่ 3 นี้ ผมจะเปลี่ยนไปเป็นประธานบริหารของคณะกรรมการ Amazon และ Andy Jassy จะเป็นซีอีโอ ในบทบาทประธานบริหาร ผมตั้งใจที่จะมุ่งเน้นพลังและความสนใจไปที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และการริเริ่มในช่วงแรก ๆ และ Andy เป็นที่รู้จักกันดีในบริษัทและอยู่ที่ Amazon มานานที่สุด เขาจะเป็นผู้นำที่โดดเด่นและเขามีความมั่นใจเต็มเปี่ยม และ Andy Jassy จะรับช่วงต่อในไตรมาสที่ 3” Jeff Bezos กล่าวในจดหมายถึงพนักงาน

Andy Jassy ผู้บริหารสูงสุดในส่วนธุรกิจคลาวด์ AWS

ข่าวดังกล่าวมาพร้อมกับรายงานผลประกอบการที่ Amazon ประกาศ โดยรายได้อยู่ที่ระดับ 1 แสนล้านดอลลาร์ โดย AWS ภายใต้ Jassy รายงานการเติบโตของรายได้ 28% ในไตรมาสที่สี่ รายได้จากการดำเนินงานของ Amazon ประมาณ 52% มาจาก AWS ณ เดือนตุลาคม 2020 หุ้นของ Amazon เพิ่มขึ้นประมาณ 1% ในการซื้อขายระยะยาว

Brian Olsavsky ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Amazon กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารได้รับการตัดสินใจโดยปรึกษาหารือกับคณะกรรมการบริหารของ Amazon เขากล่าวว่า Bezos จะยังคงมีส่วนร่วมอย่างมากในส่วนต่าง ๆ ของบริษัท Olsavsky กล่าวว่า Jassy เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ซึ่งจะนำชุดทักษะของตัวเองมาใช้

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในภารกิจที่ Jassy จะต้องชี้นำบริษัทให้ผ่านปัญหาการผูกขาดในช่วงเดือนตุลาคมหลังจากการสอบสวนเป็นเวลา 16 เดือนเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการแข่งขันที่บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่รวมถึง Amazon คณะอนุกรรมการฝ่ายตุลาการของสภาต่อต้านการผูกขาดได้สรุปว่า Amazon, Apple, Facebook และ Google มีอำนาจผูกขาด Amazon ยังเผชิญกับข้อร้องเรียนต่อต้านการผูกขาดในสหภาพยุโรป

ทั้งนี้ Bezos กล่าวว่า เขาจะยังคงมีส่วนร่วมในโครงการสำคัญของ Amazon แต่จะมีเวลามากขึ้นในการมุ่งเน้นไปที่ Bezos Earth Fund บริษัทยานอวกาศ Blue Origin ของเขา รวมถึงกองทุน Amazon Day 1

ผมตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ลูกค้าหลายล้านคนพึ่งพาเราสำหรับบริการของเรา และพนักงานมากกว่าหนึ่งล้านคนต้องพึ่งพาเราในการดำรงชีวิตของพวกเขา การเป็นซีอีโอของ Amazon ถือเป็นความรับผิดชอบที่ลึกซึ้งและต้องใช้เวลามาก เมื่อคุณมีความรับผิดชอบเช่นนั้นก็ยากที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นใด” Bezos กล่าวทิ้งท้าย

Source

]]>
1317637
เปิดมุม ‘Startup’ เมืองไทยที่ไม่ ‘Happy Ending’ เหมือนซีรีส์ ยิ่งยุคโควิดโอกาสรอดยิ่ง ‘น้อย’ https://positioningmag.com/1313311 Fri, 08 Jan 2021 01:04:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313311 หากพูดถึง ‘สตาร์ทอัพ’ หลายคนอาจจะไปนึกถึงซีรีส์เกาหลีที่ฮิตไปเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่สำหรับวงการสตาร์ทอัพไทยในปีที่ผ่านมาที่ต้องเจอกับ COVID-19 เลยกลายเป็นปีที่ไม่สดใสเหมือนกับซีรีส์สักเท่าไหร่ ซึ่งทาง ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ได้เชิญ 3 กูรูในวงการ ได้แก่ กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมิตี้, ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด และ ปารดา ทรัพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการ 500 Start-ups ร่วมเสวนาในหัวข้อ Building Thailand’s first Unicorn: the technology powering the nation’s startup innovation

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด

COVID-19 ทำให้ Seed เข้าถึงเงินลงทุนยากขึ้น

เริ่มต้นจาก ปารดา ทรัพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการ 500 Start-ups เล่าว่า แม้อีโคซิสเต็มส์ของไทยด้านสตาร์ทอัพจะเดินช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนจริง แต่ยังเดินอย่างแข็งแรงเพราะมีพื้นฐานที่ดี ทำให้มีสตาร์ทอัพเพียง 15% ที่ล้มหายไป ขณะที่ 60% สามารถระดมทุนได้แต่อยู่ในสภาวะ ‘ซอมบี้’ คืออยู่ได้เรื่อย ๆ ยังไม่สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ดังนั้น อาจต้องหาแนวทางในการช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าจำนวนดีลที่ลงทุนในสตาร์ทอัพมีน้อยลง โดยเฉพาะในระดับ Seed หรือเริ่มต้น เนื่องจากการเดินทางที่ยาก ทำให้นักลงทุนไม่สามารถเดินทางมทาเจอกับสตาร์ทอัพได้ จึงต้องชะลอไว้ก่อน แต่ก็ยังมีการลงทุนในรายใหญ่ ๆ ระดับซีรีส์ B-C แสดงให้เห็นว่าสตาร์ทอัพเหล่านั้นมีศักยภาพ

“การระดมทุนมันยากขึ้น VC ก็มีความกลัว เพราะปกติต้องคาดการณ์ไกล ๆ 3-5 ปีว่าจะเป็นอย่างไร แต่มี COVID-19 ทำให้ต้องกลั่นกรองมากขึ้น อย่าง 500 Start-ups จากปกติลงทุน 1 ดีล/เดือน แต่ COVID-19 มาทำให้ 6 เดือนก็ยังไม่มีซักดีล ดังนั้น นี่เป็นอีกความท้าทายของสตาร์ทอัพไทย โดยอาจต้องพึ่ง Angel Investor แทน แต่ต้องอยู่ในเทรนด์ ในตลาดที่ถูกต้อง

ยุค COVID-19 ต้องรอดด้วยตัวเอง

เนื่องจาก COVID-19 ที่ทำให้หลายดีลที่ถูกชะลอการลงทุน เพราะนักลงทุนรอดูสถานการณ์ ดังนั้น สตาร์ทอัพต้องเปลี่ยนแนวคิดจากที่ไม่เน้นทำกำไร เน้นสร้างการโตและเรสฟันด์เอาต้องพึ่งตัวเองให้ได้ ต้องทำรายได้อย่างแท้จริงเพื่ออยู่รอด ซึ่งปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ยากลำบากมากของสตาร์ทอัพ แน่นอนว่ามีทั้งธุรกิจที่โชคดีกับโชคร้าย โดยมีสตาร์ทอัพบางรายที่ต้องอยู่โหมดจำศีลหรือเลิกกิจการไป โดยเฉพาะที่ทำเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวหรือเกี่ยวกับการออกนอกบ้าน แต่ก็จะมีบางกลุ่มที่โชคดีทำให้โตเร็วขึ้น

“เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ วงการสตาร์ทอัพตอนนี้ต้องฝึกความอดทน ไม่ใช่เรื่องน่าอายหากไปทำอย่างอื่นชั่วคราวหรือปิดถาวรไปเลย เพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างธุรกิจ” ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด กล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม เพราะตอนนี้มีเครื่องมือเสริมที่ช่วยให้ทำธุรกิจง่ายขึ้น อย่าง AWS ก็มีโปรแกรม AWS Activate นำเสนอเครื่องมือ ทรัพยากร และอื่น ๆ ที่ช่วยให้เริ่มใช้งาน AWS สำหรับสตาร์ทอัพโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนั้น คนเลยมาเป็นเจ้าของธุรกิจได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องโฟกัสที่ ‘โปรดักต์’ ให้เหนือกว่าคู่แข่งได้มากที่สุด

ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด

องค์กรใหญ่แข็งแกร่งเกินไป

กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมิตี้ ยอมรับว่า อีกหนึ่งที่เป็นอุปสรรคของการเกิดสตาร์ทอัพไทยก็คือ องค์กรใหญ่ ‘แข็งแกร่ง’ เกินไป โดยที่ผ่านมามีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อปรับตัวอย่างเร็วมาก อาทิ ธนาคารที่ปรับตัวเร็วมาก จึงเป็นเรื่องยากขึ้นที่จะมีสตาร์ทอัพใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา

ขณะที่ ปารดา เสริมว่า เทรนด์ขององค์กรก็เริ่มเลือกที่จะไม่ลงทุนในสตาร์ทอัพหรือสร้างโปรแกรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพแล้ว เพราะส่วนหนึ่งเกิดจากทำแล้ว ‘ไม่ตอบโจทย์’ องค์กร ดังนั้นจึงหันมาทำยูนิตย่อยของตัวเองดีกว่า อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าองค์กรยังต้องการสตาร์ทอัพมาตอบโจทย์ดีมานด์ของเขา ดังนั้นยังมีโอกาสอีกมากที่จะเป็นพาร์ตเนอร์หรือปลั๊กอินกับองค์กรใหญ่ ๆ ได้

Dtac Accelerrate อดีตโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพของดีแทค

ติดกับดัก Mind Set จึงเป็น ‘ยูนิคอร์น’ ยาก

แน่นอนว่าสูตรการเป็น ‘ยูนิคอร์น’ หรือบริษัทที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ ยอด ระบุว่า หากพิจารณาจากยูนิคอร์นที่เกิดในภูมิภาคจะพบว่ามี 3 ปัจจัย 1. มาร์เก็ตไซส์ที่ใหญ่พอ อย่างประเทศอินโดนีเซียที่มีประชากรกว่า 270 ล้านคน ดังนั้น แค่ไซส์ของประเทศก็ทำเป็นยูนิคอร์นได้ด้วยตัวเอง 2. โมเดลเป็นแบบ B2C เนื่องจากมีจำนวนการใช้งานมากกว่า B2B แน่นอน และ 3. ต้องสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคมากพอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้งาน

“อีกหนึ่งปัญหาของสตาร์ทอัพไทยก็คือ ‘Mind Set’ ที่ไม่คิดไปไกลกว่าประเทศไทยตั้งแต่แรก ไม่เหมือนสิงคโปร์กับมาเลเซียที่คิดไประดับภูมิภาคตั้งแต่แรกเพราะประเทศเขาเล็ก ดังนั้นความสามารถในการแข่งขันของสตาร์ทอัพไทยจึงไม่สูงตั้งแต่ต้น”

ด้าน กรวัฒน์ เห็นด้วยว่าการเป็นสตาร์ทอัพที่เจาะตลาด B2B มีโอกาสเป็นยูนิคอร์นยาก เพราะมูลค่าการใช้จ่ายขององค์กรของอาเซียนน้อยกว่า ‘อังกฤษ’ ประเทศเดียวด้วยซ้ำ ดังนั้นต้องโฟกัสที่ ‘ตลาดโลก’ ไปเลย และจากที่ศึกษาการเติบโตของสตาร์ทอัพในกลุ่ม B2B ที่ประสบความสำเร็จพบว่าต้องเป็น The Best ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเลย ตัวอย่างเช่น ‘Zoom’ ที่เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แต่ประสบความสำเร็จกว่าผู้เล่นอื่น ๆ เพราะ ทำได้ดีกว่าทุกคน แม้จะนิดเดียวแต่ก็สร้างการเติบโตได้มหาศาล

ถึงเวลา Re-Think เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

กรวัฒน์ ทิ้งท้ายว่า แม้ปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่ยากของสตาร์ทอัพ แต่นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้น พยายามหาโอกาสในวิกฤตนี้ให้ได้ ดังนั้น นี่เป็นเวลาที่จะ Re Think ธุรกิจ และคำแนะนำของ ‘Mentor’ เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ สำหรับจุดเริ่มต้นการเป็นสตาร์ทอัพนั้น เพราะจะช่วยแชร์ประสบการณ์ถึงปัญหาและอุปสรรคที่เคยเจอจะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น ดังนั้น การเชื่อมกันระหว่างสตาร์ทอัพและ Mentor จึงสำคัญมาก

ด้าน ปารดาเสริมว่า ไม่อยากให้สตาร์ทอัพโฟกัสกับการเป็น ‘ยูนิคอร์น’ เพราะปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เป็นหรือไม่เป็นยูนิคอร์นก็คือ ‘เงินลงทุน’ ดังนั้น อยากให้ทำธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนมากกว่า สุดท้ายแล้วการเป็นยูนิคอร์นไม่ได้สำคัญขนาดนั้น

]]>
1313311