Banking Service – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 20 May 2024 00:05:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รายงานจาก BIS ชี้ “การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทำให้เกิดช่องโหว่ด้านการเงินเพิ่มขึ้น” จำเป็นต้องมีกฎระเบียบออกมาบรรเทาปัญหา https://positioningmag.com/1474228 Sun, 19 May 2024 13:49:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474228 ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ซึ่งปัจจุบันเปรียบได้กับหน่วยงานกำกับดูแลที่สถาบันการเงินหลายแห่งต้องรับฟังและปฎิบัติตาม ได้ออกรายงานโดยมองว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทำให้เกิดช่องโหว่ด้านการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวจะต้องมีกฎระเบียบออกมาบรรเทาปัญหา

BIS ได้ออกรายงานล่าสุดเกี่ยวกับความเสี่ยงการเงิน โดยชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการเข้ามาในโลกการเงินของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ทำให้เกิดช่องโหว่ใหม่และขยายความเสี่ยงที่มีอยู่ในระบบธนาคารซึ่งอาจจำเป็นต้องมีกฎใหม่เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว

รายงานของ BIS ชี้ว่า การเติบโตของการใช้ระบบคลาวด์ การเพิ่มขึ้นของ AI ไปจนถึงการแพร่กระจายของระบบธนาคารแบบเปิด ไปจนถึงเหล่า FinTech ได้แบ่งปันข้อมูลลูกค้ากับธนาคารต่างๆ หรือแม้แต่บริการด้านการเงินสำคัญๆ ที่สถาบันการเงินได้ใช้บริการหรือความช่วยเหลือจากบริษัทเทคโนโลยีภายนอกนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ

เทคโนโลยีข้างต้นนั้นถูกใช้โดยธนาคารหลายแห่ง ในรายงานของ BIS ยังได้ยกตัวอย่างความสนใจในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีธนาคารส่วนใหญ่ก็ดูเหมือนจะใช้เทคโนโลยีดังกล่าวด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะการบริการที่ต้องพบปะกับลูกค้าและเรื่องของการสร้างรายได้

แต่ในรายงานเองก็ชี้ว่าจำนวนธนาคารที่ใช้บริการระบบคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ไม่เพียงเท่านี้ความเสี่ยงของธุรกิจธนาคารในรายงานของ BIS ยังชี้ถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกับพันธมิตรรายใหม่ๆ นั้นทำให้เกิดช่องทางการเชื่อมต่อใหม่ๆ ไปจนถึงการเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจของธนาคาร ก็ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ เช่นกัน

เราจะเห็นว่าบริการของธนาคารหลายแห่งในช่วงที่ผ่านมามีทั้งการจับมือกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ เพื่อที่จะขยายระบบเพื่อรองรับลูกค้า ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาบริการลูกค้าท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดิอดของธุรกิจดังกล่าว ซึ่งเหล่าสถาบันการเงินเองต่างมองว่าเมื่อมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาแล้วจะสามารถช่วยลดต้นทุนทางธุรกรรมลงได้ ส่งผลต่อกำไรของสถาบันการเงินในอนาคต

รายงานของ BIS ได้ชี้ว่าหากมีเรื่องจำเป็นในเรื่องดังกล่าว ควรจะต้องมีมาตรฐานหรือคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงและช่องโหว่ในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน

]]>
1474228
ปิดดีลเรียบร้อย! UBS ประกาศซื้อกิจการ Credit Suisse มูลค่า 3,250 ล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1423852 Mon, 20 Mar 2023 02:17:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423852 หลังจากที่เกิดความวุ่นวายในระบบสถาบันการเงินในสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากราคาหุ้นของเครดิตสวิส (Credit Suisse) นั้นตกลงจนต้องทำให้ธนาคารกลางของประเทศเข้ามาช่วย ล่าสุดมีการเจรจาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาให้สถาบันการเงินคู่แข่งอย่างยูบีเอส (UBS) เข้าซื้อกิจการแล้ว

UBS ได้ประกาศว่าได้เข้าซื้อกิจการของ Credit Suisse ด้วยมูลค่า 3,250 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 110,695 ล้านบาท และถือเป็นการควบรวมกิจการธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์ครั้งแรกหลังจากวิกฤตการเงินในปี 2008 เป็นต้นมา

ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศซื้อกิจการของ Credit Suisse สถาบันการเงินรายนี้มีมูลค่ากิจการ 7,400 ล้านฟรังก์สวิส หรือคิดเป็นเงินไทย 271,852 ล้านบาท

หนึ่งในเงื่อนไขที่ทำให้ UBS เข้าซื้อกิจการของ Credit Suisse นั่นก็คือรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์รับประกันที่จะแบกรับผลขาดทุนสูงสุดถึง 9,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 330,158 ล้านบาท เนื่องจากการขาดทุนของ Credit Suisse

การควบรวมกิจการยังทำให้ UBS มีทรัพย์สินของธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้นเป็น 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และยังมีสาขาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ UBS คาดว่าดีลดังกล่าวทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนมากถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2027 ด้วย

ก่อนหน้านี้ 2 สถาบันการเงินดังกล่าวเคยมีข่าวลือว่าจะมีการควบรวมกิจการมาแล้วหลายครั้ง หลังจากที่ Credit Suisse ประสบปัญหาด้านการเงินในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา จนในท้ายที่สุดได้มีการเจรจากันในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังราคาหุ้น Credit Suisse ตกลงอย่างหนัก จากเหตุผลที่นักลงุทนไม่ให้ความไม่เชื่อมั่นในสถาบันการเงินรายดังกล่าวจนทำให้ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ต้องเข้ามาให้สภาพคล่องเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดีความน่าเศร้าของการควบรวมกิจการครั้งนี้นั้นยังทำให้มีพนักงานของ Credit Suisse อาจโดนปลดมากถึง 10,000 รายจากรายงานของสำนักข่าว Reuters

คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จได้ภายในสิ้นปี 2023 นี้ และกลายเป็นการปิดฉากสถาบันการเงินอายุมากถึง 167 ปีอย่าง Credit Suisse

]]>
1423852
KKP เปิดตัว Dime แอปการเงินและลงทุน จับลูกค้าทั่วไป มีเงินน้อยก็ลงทุนได้ https://positioningmag.com/1399005 Tue, 06 Sep 2022 10:31:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399005 กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้เปิดตัว Dime! แอปพลิเคชันที่เป็นทั้งด้านการเงิน รวมถึงการลงทุน โดยเน้นการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งผู้ที่มีเงินจำนวนไม่มากก็สามารถลงทุนได้ โดยเริ่มต้นที่ 50 บาท

บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด (KKP Dime) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้เปิดตัว Dime! (ไดม์) โดยเน้นไปที่กลุ่มคนทั่วไปให้เข้าถึงบริการด้านการเงินและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในต่างประเทศ ที่แต่เดิมนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งในระดับนึงเท่านั้น

กัมพล จันทวิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด ได้กล่าวถึง ปัญหาของคนไทยในการเข้าถึงบริการทางการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินฝากยังน้อยมาก แม้ว่าคนไทยมากกว่า 50 ล้านคนที่มีบัญชีเงินฝาก จากประชากร 70 ล้านคน ซึ่งอาจดูเหมือนสูงก็ตาม

เขายังชี้ว่าการเปิดตัว Dime! นั้นเหมือนเป็นการปิดช่องว่างด้านรายได้หรือแม้แต่ความมั่งคั่ง เนื่องจากไม่ว่าใครก็สามารถที่จะลงทุนได้ ไม่ว่าจะมีเงินมากหรือเงินน้อย

ทางด้านของ ฉัตริน ลักษณบุญส่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านผลิตภัณฑ์ ได้กล่าวว่า บริการของ Dime! พยายามที่จะแก้ปัญหาเรื่องการลงทุนของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความรู้ในการลงทุน หรือการเปิดบัญชีที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากกว่าเดิม โดยถ้าหากเปิดบัญชีแล้วก็จะสามารถใช้บริการ 3 บริการได้ทันที ได้แก่

  1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Dime! Save บัญชีเงินฝากซึ่ง Dime! ร่วมมือกับธนาคารเกียรตินาคินภัทร ไม่มีจำนวนขั้นต่ำในการเปิดบัญชี โดยลูกค้าสามารถฝากเงินหรือโอนเงินได้โดยยืดหยุ่น และไม่มีเงื่อนไขมากเหมือนบัญชีฝากประจำ
  2. บัญชีหลักทรัพย์ต่างประเทศ บัญชีนี้ทำให้การลงทุนในหุ้นต่างประเทศทำได้อย่างง่ายดาย โดยใช้เงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 50 บาทก็สามารถเป็นเจ้าของหุ้นชื่อดังในต่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม เช่น ซื้อหุ้นต่างประเทศด้วยเงินบาทได้ หรือถ้าลูกค้าอยากแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐก็สามารถแลกให้ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วันทำการ ขณะเดียวกันผู้ลงทุนยังได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นค่าคอมมิชชันเดือนละ 1 ครั้งสำหรับการซื้อหรือขายครั้งแรกของทุกเดือน สำหรับรายการซื้อขายต่อไปคิดที่ 0.15% ของมูลค่าซื้อหรือขาย  นอกจากนี้ทาง Dime! ยังชี้แจงว่าบริษัทพยายามที่จะไม่ให้มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมแอบแฝง เช่น ค่าธรรมเนียมโอนเงิน แลกเงิน หรือค่าธรรมเนียมยื่นแบบภาษี W-8BEN
  3. บัญชีกองทุนรวม ซื้อขายกองทุนรวมได้ทุก บลจ. บัญชีกองทุนรวมของ Dime! สามารถลงทุนได้ทุกที่แบบไม่จำกัดค่าย โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวได้รวบรวมกองทุนรวมในไทยมากกว่า 1,700 กองทุน จาก 21 บลจ. ภายในปี 2565 ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุน แต่ไม่มีเวลาติดตามหุ้นรายตัว และผู้ที่ต้องการซื้อกองทุนรวมเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี (เช่น SSF และ RMF)

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านผลิตภัณฑ์ของ KKP Dime ได้กล่าวว่าอยากจะให้ Dime นั้นเป็นบริการ 4F ได้แก่ Free คือสามารถเข้าถึงข้อมูลการลงทุนได้ฟรีผ่านแอป Fast คือบริการรวดเร็ว เปิดบัญชีได้ไว Frictionless คือไม่มีขั้นต่ำ ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง และ Fun ทำให้การลงทุนเป็นเรื่องสนุก

เฉลิมวุฒิ ชมะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี ได้กล่าวว่า จุดแข็งของ Dime! อีกเรื่องคือ แม้บริษัทฯ จะเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการเงิน แต่ก็มีวัฒนธรรมองค์กรและกระบวนการทำงานแบบบริษัทเทคฯ สตาร์ทอัพ และยังมีการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากทั้งในและนอกวงการการเงิน มาร่วมกันออกแบบโครงสร้างเทคโนโลยี โดยใช้สถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และวางโครงสร้างทีมให้ทำงานได้อย่างคล่องตัว ทำให้สามารถออกแบบ สร้าง และเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง

ผู้บริหารของ KKP Dime กล่าวว่าบริษัทฯ ได้วางตำแหน่งของแอปนี้ไม่ได้ผูกติดกับบริการทางการเงินของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรแต่เพียงอย่างเดียว โดยบริการของ Dime! นั้นสถาบันการเงินอื่นๆ นั้นสามารถที่จะมาหาลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มนี้ได้ ซึ่งล่าสุดทางบริษัทฯ กำลังมีการเจรจากับธนาคารหลายแห่งที่จะนำบริการเงินฝากของธนาคารต่างๆ มาอยู่บน Dime! ได้ รวมถึงหลังจากนี้อาจนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าทั่วไปเหล่านี้ เช่น ประกันชีวิต เนื่องจากกลุ่มคนทั่วไปอาจเสียโอกาสหรือรายได้ถ้าหากเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เป็นต้น

KKP Dime วางเป้าว่าจะมีผู้ใช้งาน Dime! ถึง 1 ล้านคนภายในปี 2025 

]]>
1399005
“กล้าที่จะดิสรัปตัวเองและพร้อมที่จะปรับตัวสู่อนาคต” วิธีคิดที่ทำให้เกิด Big Move ที่ขยายการเติบโตรูปแบบใหม่ๆ ของ KBank ล่าสุดยกเคแบงก์ไปไว้ในแชทของ LINE – Super App ที่มีคนไทยใช้งานกว่า 47 ล้านคน https://positioningmag.com/1306893 Mon, 30 Nov 2020 10:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306893

ธุรกิจ “ธนาคารพาณิชย์” ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อเราทุกคนอยู่ในยุคเเห่งเทคโนโลยี ทุกวันนี้เเอปพลิเคชัน “โมบายเเบงกิ้ง” กลายเป็นสิ่งที่ต้องมีติดไว้ในมือถือไปเเล้ว ทำให้ธนาคารต่างๆ กำลังเปิดศึกเเย่งฐาน “ลูกค้าออนไลน์” กันอย่างดุเดือด

แบงก์สีเขียวอย่าง ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank เป็นค่ายแรกที่ประกาศบุกทางดิจิทัลอย่างเต็มตัว ปัจจุบันเป็นผู้นำด้านดิจิทัล แบงกิ้ง ด้วยยอดผู้ใช้ K PLUS  ถึง 14 ล้านบัญชี จากฐานลูกค้าบุคคลที่มีบัญชีเงินฝากของกสิกรไทยทั้งหมดราว 16.7 ล้านบัญชี

แต่ KBank ไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ นอกจากการปรับช่องทางการให้บริการให้เป็น multi-channels ที่พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้าหลากหลายรูปแบบแล้ว KBank ยังวางยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า Open Banking ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ที่ความสำเร็จของ K PLUS เท่านั้น และ KBank จะอยู่แค่ในที่ที่เคยอยู่ไม่ได้อีกต่อไปเพราะทุกวันนี้การแข่งขันไม่ได้มีแค่ธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเองเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่ม non-bank ฟินเทคต่างๆ อีก

“ดิสรัปตัวเองดีกว่าถูกคนอื่นดิสรัป” ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เคยพูดไว้และทำให้เห็นชัดเจนถึงยุทธศาสตร์สำคัญของ KBank

ด้วยวิธีคิดและวางแผนล่วงหน้าแบบนี้ เราจึงได้เห็นความเคลื่อนไหวที่เป็น “บริการทางการเงิน” (Banking Service) รูปแบบใหม่ๆ ที่ KBank พัฒนาเพื่อไปรวมอยู่กับธุรกิจหรือบริการไหนๆ ก็ได้   มากกว่าติดยึดรูปแบบการให้บริการของธนาคารแบบเดิมๆ

ยกตัวอย่างเช่น บนแอป K PLUS ที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มของแบรนด์ดังๆ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้บริการรูปแบบใหม่ๆ บน K PLUS ที่มากกว่าการโอน เติม จ่าย เช่น ฟีเจอร์เพิ่มบัตรสมาชิก The 1 ทำให้ลูกค้าสามารถแลกพ้อยท์ระหว่างแบรนด์ได้, เปิด K+ Market ที่เป็นแหล่งรวมดีลดีๆ ให้ลูกค้าได้ใช้คะแนนสะสมบัตรเครดิตกสิกรไทยแลกซื้อสินค้า เป็นต้น

และที่น่าสนใจคือ เราจะเห็นข่าวคราวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า KBank ได้ประกาศความร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายเจ้าที่มีสินค้าและบริการที่ลูกค้าใช้เป็นประจำทุกวันรวมกว่า 50 แบรนด์ เช่น Grab, Facebook, LINE, Lazada, Shopee, Central JD FinTech, JD Central, เครือ OR, YouTrip เป็นต้น เป็นการพาตัวเองไปหาโอกาสใหม่ๆ กับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางที่ตนเองใช้เป็นประจำทุกวัน อีกทั้งยังเป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่ทำให้ธนาคารสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ และสร้างรายได้ใหม่ต่อไปในอนาคต

พัฒนา LINE BK ตอบโจทย์วันนี้ที่คนไทยกว่า 47 ล้านคนใช้ LINE ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 63 นาที

LINE เป็น Super App ระดับโลก ในประเทศไทยมีคนใช้งานกว่า 47 ล้านคนหรือคิดเป็นประมาณ 67% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย LINE เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันประจำวันที่ขาดไม่ได้ของคนไทย โดยเฉลี่ยแล้ววันละ 63 นาที

วันนี้ LINE BK เปิดให้บริการแล้ว โดยให้คำจำกัดความตัวเองว่า เป็นบริการทางการเงินแบบSocial Banking เต็มรูปแบบรายแรกของไทย เหมือนยกบริการของ KBank ให้ลูกค้าได้ใช้งานง่ายๆ ในแชท LINE

งานนี้เรียกว่า KBank สยบทุกคำทำนายที่เคยบอกว่า แบงก์ไทยจะไม่รอดถ้า Social Banking เกิดขึ้น เพราะวันนี้ KBank จัดตั้ง Social Banking ขึ้นมาเองเลย เป็นดีลระดับโลกร่วมกับ LINE Financial ตั้งบริษัท กสิกรไลน์ จำกัด เพื่อให้บริการสินเชื่อ เริ่มต้นทำงานกันมาตั้งแต่ 3 ปีก่อนและใช้เวลาพัฒนาร่วมกันจนออกมาเป็นบริการ LINE BK วางคอนเซปต์เน้นสไตล์ใกล้ชิดลูกค้าว่า “เรื่องเงินง่ายใน LINE คุณ” “ยืมเงิน LINE ง่ายกว่า”

มีข้อมูลน่าสนใจว่า ที่ผ่านมาประเทศไทย ซึ่งประชากร 69 ล้านคน เเบ่งเป็น

  • กลุ่มที่ 1 : Banked – คนไทย 37% เข้าถึงบริการธนาคาร และใช้บริการธุรกรรมการเงินอย่างเต็มรูปแบบ เช่น มีบัญชีเงินฝาก, มีบัตรเครดิต, ซื้อประกันเเละซื้อกองทุน
  • กลุ่มที่ 2 : Underbanked – คนไทย 45% มีโอกาสเข้าถึงบริการธนาคาร และบริการทางการเงินแบบ “ผิวเผิน” คือมีบัญชี แต่ยังไม่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ บริการอื่นๆ
  • กลุ่มที่ 3 : Unbanked คนไทย 18% ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน คือไม่มีบัญชีเลย

ดังนั้น วิธีการใช้งาน LINE BK จึงง่ายมาก แค่เปิดบัญชี LINE BK บน LINE แล้ว เจ้าของบัญชีสามารถ แชท โอน ยืม จ่าย อยู่ใน LINE ได้เลย รวมถึงบริการสินเชื่อที่จะช่วยปลดล็อกข้อจำกัดให้กับลูกค้ากลุ่มฟรีแลนซ์ หรือคนไม่มีรายได้ประจำสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น

ผลจากการคิดก่อน มองไกล และเริ่มก่อน ย่อมได้เปรียบ เพราะมาวันนี้ การพัฒนาร่วมกันกับบิ๊กแบรนด์ทั้งหลาย ทำให้ KBank เริ่มทยอยปล่อยบริการใหม่ๆ ที่เรียกว่าพลิกโฉมวงการการเงินออกมาเรื่อยๆ และตอกย้ำความแข็งแกร่งของ KBank

]]>
1306893