CIMB THAI – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Oct 2024 03:18:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CIMB Thai ตั้งวงเงิน 20,000 ล้าน หนุนธุรกิจ Brown Sector ‘น้ำมัน-ก๊าซ-พลังงาน’ เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ https://positioningmag.com/1495158 Sun, 20 Oct 2024 04:41:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495158 CIMB Thai ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ “Transition Finance” เจาะกลุ่มธุรกิจ “Brown Sector” 9 กลุ่มที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด เช่น น้ำมันและก๊าซ ผลิตพลังงาน เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ โดยมีการปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 30,000 ล้านบาทในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา พร้อมตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อกลุ่มนี้เพิ่มอีก 20,000 ล้านบาท ในอีก 2 ปีข้างหน้า

ปัจจุบันภาคธุรกิจต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อนกันมากขึ้น โดยมีการปรับเปลี่ยนนโยบายและกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนให้สอดคล้องกับทิศทางสังคมคาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาการใช้พลังงานฟอสซิลและพลังงานจากถ่านหินลง พร้อมทั้งหันมาสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

ขณะที่วงการธนาคารมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจต่างๆ ได้ ผ่านการให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเหล่านั้นเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ด้วยการให้นโยบาย “ดอกเบี้ย” ที่จูงใจ หนุนให้หลายธุรกิจลุกขึ้นมาจริงจังด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนกันมากขึ้น

 

9 กลุ่ม Brown Sector ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงที่สุด

อย่างไรก็ตาม จะมีบางกลุ่มธุรกิจที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (CIMB Thai) ให้ความสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง (Brown Sector industry) และไม่สามารถลดหรือควบคุมการปล่อยมลพิษได้ หลักๆ มีอยู่ด้วยกัน 9 กลุ่ม ได้แก่

1.ภาคการเกษตร
2.ภาคถ่านหิน
3.ภาคน้ำมันและก๊าซ
4.ภาคอะลูมีเนียม
5.ภาคอสังหาริมทรัพย์
6.ภาคการผลิตพลังงาน
7.ภาคซีเมนต์
8.ภาคเหล็ก และ เหล็กกล้า
9.ภาคการเดินทาง (รวมสายการบิน)

CIMB Thai Brown Sector

ในกลุ่มธุรกิจ Brown Sector นี้มีความพยายามในการเปลี่ยนผ่าน และหันมาใส่ใจการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่ทำให้บริษัทเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ธนาคารสามารถเข้ามาช่วยสนับสนุนผ่านผลิตภัณฑ์ “Transition Finance” หรือ การสนับสนุนทางการเงินให้กับธุรกิจที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ (การเงินเพื่อความยั่งยืน)

 

ตั้งวงเงิน 20,000 ล้านบาท เจาะกลุ่มธุรกิจ ‘น้ำมัน&ก๊าซ’ และ ‘พลังงาน’

เป้าหมายการส่งเสริมการเงินเพื่อความยั่งยืนนี้เป็นนโยบายในระดับภาพใหญ่ของบริษัทแม่ CIMB Group ที่มีการตั้งเป้าหมายด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนไว้ 1 แสนล้านริงกิต หรือ 7.7 แสนล้านบาท ระหว่างปี 2564-2567

ขณะที่ธนาคาร CIMB Thai มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายภาพใหญ่ด้วยการปล่อยสินเชื่อ Transition Finance ไปแล้ว 30,000 ล้านบาท ระหว่างปี 2565-2566

CIMB Thai Brown Sector

รวมถึง CIMB Thai มีการตั้งเป้าหมายในรอบ 24 เดือนข้างหน้า (ตุลาคม 2567 – กันยายน 2569) ธนาคารจะมุ่งขยายการให้ Transition Finance ให้กับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทยมากกว่า 300 บริษัท วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะคิดเป็นสัดส่วน 5% ของการปล่อยสินเชื่อพอร์ตธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคาร

นอกจากนี้ ธนาคารยังตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อสีเขียวเป็น 20% ของการปล่อยสินเชื่อพอร์ตธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคาร คิดเป็นวงเงิน 50,000 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2573

CIMB Thai Brown Sector

เจสัน ลี ผู้บริหารฝ่ายความยั่งยืน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า ธนาคารฯ ได้สนับสนุนทางการเงินให้กับธุรกิจที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ โดยเน้นในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน & ก๊าซ (Oil & Gas) เช่น โรงกลั่นน้ำมัน แท่นขุดเจาะน้ำมัน และกลุ่มธุรกิจภาคการผลิตพลังงาน (Power) อาทิ ธุรกิจโรงไฟฟ้า เพราะด้วยลักษณะของธุรกิจเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คิดเป็นประมาณ 70% ของอุตสาหกรรมทั้งหมดในไทย

ขณะนี้ธนาคารเล็งเห็นว่าภาคธุรกิจสองกลุ่มนี้มีความต้องการเงินทุนวงเงินรวมกัน 20,000 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนในทรัพยากร คน อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ที่จะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างเป็นรูปธรรม

ธนาคาร CIMB Thai พร้อมตอบสนอง Transition Finance ส่วนนี้ภายใน 24 เดือน ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan) ตราสารหนี้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน (Transition Bond) และสินเชื่อเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืน (Transition Loan) เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ (Science-based Targets) หรือเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่บริษัทต่างๆ กำหนดขึ้นเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก

 

ESG Advisory + ตราสารหนี้สีเขียว เสริมทัพการเปลี่ยนผ่าน

นอกจากความพร้อมให้การสนับสนุนด้านการเงิน ซีไอเอ็มบี ไทย ยังมี ESG Advisory ที่พร้อมให้คำแนะนำแก่กลุ่มธุรกิจเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบรรลุเป้าหมาย โดยการสนับสนุนทางการเงินในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition)

รวมถึง CIMB Thai จะมีการเสนอการจำหน่ายตราสารหนี้สีเขียว (Green bond) วงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อระดมเงินทุนสำหรับปล่อยกู้ให้โครงการสีเขียว

ทั้งนี้ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ลงนามความร่วมมือ Sustainability Linked Loan จำนวน 3,000 ล้านบาท กับ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) เมื่อปี 2566 โดยมีลักษณะสอดคล้องกับเป้าหมายของผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Performance Targets: SPTs) รวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอน Scope 1 (ทางตรง) และ Scope 2 (ทางอ้อม) ต่อปี จนได้รับรางวัล Best Sustainability Linked Loan จาก The Digital Banker: Global Finance Awards 2024

]]>
1495158
เศรษฐกิจไทย รอฟ้าหลังฝน ‘ครึ่งปีหลัง’ CIMBT คาด Q2/64 จีดีพีโต 7.8% ‘รถยนต์มือสอง’ รุ่ง https://positioningmag.com/1325007 Thu, 25 Mar 2021 10:55:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325007 ‘ซีไอเอ็มบี ไทย’ มองภาพเศรษฐกิจไทยต้นปี ‘ไม่สดใส’ คาดไตรมาสเเรกยังหดตัว -4.1% ไตรมาส 2 กลับมาบวก 7.8% จากอานิสงส์การส่งออก เเต่ต้องระวังหลายปัจจัยทั้งวัคซีน การท่องเที่ยว ปัญหาสต๊อกสินค้า การลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว ชูธุรกิจ ‘รถยนต์มือสอง-มอเตอร์ไซค์-ค้าปลีก-โรงพยาบาล’ ทยอยฟื้นตัวหลังวิกฤต 

อมรเทพ จาวะล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) มองว่าการฟื้นตัวของศรษฐกิจไทย ในช่วงไตรมาส 1 ยังไม่คต่อยสดใสนัก ด้วยผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโรโรนาระลอกใหม่ในช่วงปลายปี 2563 ทำให้ผู้คนยังระมัดระวังการใช้จ่าย กระเเสทำงานที่บ้านหรือ WorK from Home กลับมาอีกครั้งทำให้การเดินทางลดลงไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายไตรมาส 1 เริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ

CIMBT คาดว่า ตัวเลข GDP ของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสเเรก จะหดตัวที่ -4.1% ก่อนที่ในไตรมาส 2 จะกลับมาเป็นบวกได้ที่ 7.8% โดยมีปัจจัยหนุนต่างๆ ดังนี้

  • การส่งออกจะเร่งตัวมากขึ้น 

จากการที่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ กำลังอัดฉีดเศรษฐกิจด้วยงบประมาณถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะทำให้ GDP สหรัฐฯ กลับมาโตเกิน 6% เมื่อเศราบกิจดีขึ้น ก็จะมีการนำเข้าสินค้ามากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะสินค้าจากไทย อาเซียน จีน และตลาดอื่นๆ

  • คนใช้จ่ายมากขึ้น

จะเริ่มเห็นสัญญาณการใช้จ่ายที่ดีขึ้น ไตรมาส 2 โดยกลุ่มที่ฟื้นตัวเร็วกว่าเพื่อนคือกลุ่มอาหารเครื่องดื่มเเละสินค้าเล็กๆ น้อยๆ

  • การส่งเสริมจากรัฐ

คาดว่ารัฐจะออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเร่งการจับจ่าย เร่งการลงทุน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 2  

Photo : Shutterstock

วัคซีนช้ากระทบท่องเที่ยว ระวังปัญหาสต๊อกสินค้า

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่มองข้ามปัจจัยเชิงลบที่รั้งเศรษฐกิจไตรมาส 2 ให้ยังไม่สดใสถึงขั้นสุดอาทิเช่น ธุรกิจท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น จากการกระจายวัคซีนในประเทศที่เพิ่งเริ่มฉีด ทำให้นักท่องเที่ยวยังไม่กลับเข้ามามากนัก สิ่งที่ต้องติดตามต่อไปคือ มาตรการผ่อนผันเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่น่าจะเข้าช่วยได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 

“ภาพรวมวัคซีนจะเริ่มฉีดมากขึ้นไตรมาส 2 สร้างความเชื่อมั่นได้ดีขึ้น คาดการณ์เศรษฐกิจไทยที่ 2.6% ในปี 2564 ยังไม่เด่นมากนัก เพราะยังขาดการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่เมื่อเราฉีดวัคซีนได้เต็มที่ ต่างชาติกลับมามากขึ้น ก็น่าจะเป็นปัจจัยเชิงบวกให้เศรษฐกิจไทยสดใสมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3” 

Photo : Shutterstock

ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัวอยู่ แม้การส่งออกสินค้าดีขึ้น การใช้จ่ายของคนในประเทศดีขึ้น แต่ยังไม่กระจายตัวออกไปในวงกว้าง

ขณะเดียวกัน ‘สต๊อกสินค้า’ ที่ค่อนข้างสูงปลายปีที่แล้วต่อเนื่องถึงปีนี้ ยังคงเป็นปัจจัยให้เอกชนชะลอการลงทุน ชะลอซื้อเครื่องจักรใหม่ ชะลอนำเข้าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะการขาดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ที่เราหวังเรื่องการย้ายฐานเข้ามาลงทุนมากขึ้น หากการฉีดวัคซีนเริ่มแพร่หลายและเปิดรับต่างชาติเข้ามาแล้ว จะเป็นปัจจัยเชิงบวกสำหรับการลงทุนมากขึ้น    

ด้านการบริโภคสินค้าคงทน โดยเฉพาะสินค้าที่คนต้องคิดไตร่ตรองก่อนตัดสินใจซื้อ คนยังระมัดระวังอยู่ ดังนั้น การบริโภคที่กำลังฟื้นตัวแต่ยังไม่ถึงขั้นกระจายตัว โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรม ร้านอาหารที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ส่วนสินค้าคงทน สินค้าขนาดใหญ่ สินค้าเกี่ยวกับการลงทุน เช่น บ้าน รถใหม่ จะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่มากในไตรมาส 2  

ธุรกิจ ‘รถมือสอง’ ฟื้นตัวเร็ว 

อุตสาหกรรมเด่น ที่น่าจะฟื้นตัวไตรมาส 2 ได้แก่ ‘รถมือสอง’ ที่ฟื้นเร็วกว่ารถป้ายแดง เนื่องจากคนต้องประหยัด จึงมองหารถมือสองคุณภาพดีเเทน

ส่วน ‘มอเตอร์ไซค์’ จะเกี่ยวข้องกับราคาสินค้าภาคเกษตร รายได้ภาคเกษตร ปีนี้แม้ยังเผชิญปัญหาภัยแล้งอยู่ แต่ปัญหาภัยแรงไม่รุนเรงเท่าปีที่แล้ว กำลังซื้อภาคเกษตรที่ดีขึ้น คนจะหันไปซื้อมอเตอร์ไซค์มากขึ้นนั่นเอง

ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับค้าปลีกค้าส่ง น่าจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นตามกำลังซื้อที่ดีขึ้น รวมไปถึงอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ คอมพิวเตอร์ส่วนประกอบ บรรจุภัณฑ์-พลาสติก รวมไปถึงธุรกิจโรงพยาบาล ที่มีฐานลูกค้าเป็นคนไข้ในประเทศ ส่วนคนไข้ต่างประเทศคาดว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นได้ในไตรมาส 3

Photo : Shutterstock

ค่าเงินบาท ‘ดีกว่าที่คาด’ 

ส่วนทิศทาง ‘ค่าเงินบาท’ นั้นประเมินว่าจะอ่อนค่าลง หลังจากสหรัฐฯ กังวลเรื่องเงินเฟ้อหลังทุ่มอัดฉีดงบประมาณ จึงจะนำไปสู่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ที่สูงขึ้น มีผลให้การคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะตามมา คนเลยกังวลเงินจึงไหลกลับไปสหรัฐฯ มากขึ้น ทำให้ดอลลาร์แข็งค่า เเละเงินบาทอ่อนค่า

“ในไตรมาสที่ 2 การอ่อนค่าน่าจะชะลอลง และน่าจะเป็นปัจจัยที่ดีสำหรับการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ส่งออก” 

ด้านนโยบายการเงิน ประเมินว่าธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงดอกเบี้ยที่ 0.50% ตลอดทั้งปี โดยเลือกใช้นโยบายการเงินอื่น นอกเหนือจากดอกเบี้ย การอัดฉีดเเละเงินช่วยเหลือ SMEs การเร่งเร่งปรับโครงสร้างหนี้ต่างๆ ของครัวเรือน

“เราอาจเห็นมาตรการจ้างงานหรือสนับสนุนการสร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น”

 

]]>
1325007