CPram – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 Feb 2021 12:58:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ซีพีเเรม’ ลงสนาม Plant-Based ส่ง ‘ข้าวกล่อง’ พร้อมทานเข้าสะดวกซื้อ ราคาเริ่ม 39 บาท https://positioningmag.com/1319986 Thu, 18 Feb 2021 11:10:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319986 ยุคนี้ใครๆ ก็ต้องจับเทรนด์อาหารเเห่งอนาคต ล่าสุดเจ้าใหญ่อย่างซีพีเเรมเปิดตัวเเบรนด์ใหม่ ‘VG for Love’ อาหารเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช ’Plant Based Diet’ เเบบพร้อมทาน ประเดิม 10 เมนูเเรก ตั้งเป้าปั๊มยอดขายเเตะ 1,000 ล้านภายในปี 2566 เชื่อตลาดไทยเปิดใจรับ หวัง 3-5 ปี มีสัดส่วนทำรายได้ให้บริษัทถึง 20% ย้ำเเผนอาหารผสม ‘กัญชง-กัญชา’ ตอนนี้ยังอยู่ในการศึกษาความเป็นไปได้

สินค้าแบรนด์เนื้อมังสวิรัติเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากกระเเส ‘รักษ์โลกเเละรักสุขภาพ’ ของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคอาหารที่ทำมาจากพืช มากกว่าการบริโภคเนื้อสัตว์จริงๆ เพราะเห็นว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ มีการปล่อยคาร์บอนที่เป็นภัยต่อการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

ยักษ์ใหญ่ลงเล่นตลาด ‘Plant-Based’ ไทย 

วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ในเครือบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สังคมไทยและทั่วโลกมีแนวโน้มการบริโภคอาหารที่ตอบโจทย์สุขภาพ พร้อมกับร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็น ‘โอกาสตลาด’ ของบริษัทที่จะพัฒนาสินค้าใหม่ออกมาให้ตรงความต้องการของผู้บริโภค ซึ่ง Plant Based ก็เป็นอาหารทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เเละบริษัทก็มีความพร้อมทั้งด้านโรงงาน วัตถุดิบ จึงสามารถขยายการลงทุนได้ง่าย

วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด

สำหรับเเบรนด์ ‘VG for Love’ มีที่มาของชื่อจาก ทั้ง 4 ความรัก คือ รักสุขภาพ รักชีวิตสัตว์  รักสิ่งแวดล้อม และรักโลก วางจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยเเล้วในแม็คโคร , ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (ตอนนี้ขายทางออนไลน์ก่อน ช่วงปลายเดือนหน้าถึงจะวางในสาขา) , ร้านค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งจะขยายจุดจำหน่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศเร็ว นี้ (รวมถึงโลตัสด้วย)

สินค้าของ ‘VG for Love’ เเบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ หมายเลข 1 อาหารเจ , หมายเลข 2 อาหารวีแกน , หมายเลข 3 อาหารมังสวิรัติกับนม, หมายเลข 4 อาหารมังสวิรัติกับไข่ และ หมายเลข 5 อาหารมังสวิรัติกับนม และ ไข่ 

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หลักๆ คือคนทุกเพศทุกวัยที่บริโภคพืชเป็นหลัก เเละกลุ่มที่บริโภคพืชเป็นบางมื้อ เช่นเลือกทาน Plant Based ราว 2-3 มื้อต่อสัปดาห์

เมนู ’Plant Based Diet’ ของซีพีเเรมที่วางขายในเเม็คโคร

สำหรับเมนูเปิดตัว จะปล่อย ’10 เมนู’ ออกมาทดลองตลาดเเละจะมีเมนูอื่นๆ เพิ่มเข้ามาตลอดปี โดยผู้บริหารซีพีเเรม บอกถึงเหตุผลการเปิดตัวด้วย 10 เมนูว่า “คิดเหมือนเราเปิดร้านข้าวเเกง ที่ต้องมีอาหารหลากหลาย ให้ลูกค้ามีทางเลือก จากนั้นเราจะดูว่าเมนูเเบบไหนขายดี ก็จะนำมาต่อยอดต่อไป”  

ส่วนเหตุผลในการเลือกเปิดตัวท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจนั้น เพราะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเเล้ว อีกทั้งยังเป็นการช่วยเเบ่งเบาภาระผู้บริโภค เเละการเลือกเปิดตัวในเดือน ‘กุมภาพันธ์’ ก็เพราะเป็นเดือนเเห่งความรักที่สอดคล้องกับชื่อเเบรนด์ ‘VG for Love’ ด้วย 

สำหรับ 10 เมนูเเรก จะเน้นเป็นอาหารที่คนไทยชื่นชอบเเละทานได้ในชีวิตประจำวัน เหมือนเมนูอาหารตามสั่งทั่วไป  ได้เเก่

  • ข้าวกะเพราหมูพีบี
  • ข้าวกะเพราหมูพีบีไข่ดาว
  • ข้าวคะน้าหมูกรอบพีบี
  • ข้าวผัดกะเพราขี้เมาเห็ดออรินจิพีบี
  • ข้าวผัดเเกงเขียวหวานไก่พีบี
  • ข้าวผัดเห็ดออรินจิพีบี
  • ข้าวลาบหมูพีบี
  • บะหมี่เเห้งปลาเส้นทอดพีบี
  • สปาเก็ตตี้ขี้เมาเห็นออรินจิพีบี
  • สปาเก็ตตี้พอร์คบอลพีบี

การที่ ‘ซีพีแรม’ วางขายข้าวกล่อง ’Plant Based Diet’ เเบบพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อเจ้าเเรกในไทย ด้วยราคา 39-45 บาท ถือว่าเป็น ‘ข้อได้เปรียบทางราคา’ ที่จะช่วยให้ขยายฐานลูกค้าในตลาดเเมสได้ง่ายขึ้น เพราะปกติเเล้วอาหาร Plant Based มักจะมีราคาสูงเเละหาทานได้ยากกว่า

เมื่อถามว่า บริษัทมีเเผนจะออกผลิตภัณฑ์ที่ผสม ‘กัญชง-กัญชา’ ตามที่ผู้ผลิตอาหารเจ้าใหญ่ในไทยหลายรายประกาศลงเล่นตลาดนี้หรือไม่ ได้คำตอบว่า ตอนนี้ยังอยู่ในการศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาข้อกฎหมายต่างๆ อยู่ 

ผู้บริหารซีพีเเรมประกาศว่า เป้าหมายยอดขายในปี 2564 ตั้งเป้าไว้ที่ 120 ล้านบาท จากนั้นปี 2565 จะเติบโตหลายเท่าเป็น 500 ล้านบาท เเละในปี 2566 เชื่อว่ายอดขายเมนู ’Plant Based Diet’ จะเเตะถึง 1,000 ล้านบาทได้ 

เเม้ดูเหมือนว่าตัวเลขเป้ายอดขายจะดูสูงมากเมื่อเทียบกับการเปิดตลาดใหม่ เเต่ ‘ซีพีเเรม’ ยืนยันว่า คนไทยจะเปิดใจรับอย่างเเน่นอน เเละหวังว่าภายใน 3-5 ปีนี้ ’Plant Based Diet’ จะมีสัดส่วนที่ทำรายได้ถึง 20% ของพอร์ตสินค้าทั้งหมด (ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทมีรายได้รวมราว 2 หมื่นล้านบาท ก็จะเป็นสินค้า Plant Based ถึง 4,000 ล้านบาท เป็นต้น)

สำหรับตลาด Plant-Based Food ในประเทศไทย เริ่มมีเชนร้านอาหารนำเนื้อทำจากพืชมาปรุงเป็นเมนูหลัก เช่น Sizzler ในเครือไมเนอร์ หรือร้านฌานาในเครือฟู้ดแพชชั่น รวมถึงมีนำเข้าจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งด้วย

จากข้อมูลของ NRF ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของไทย ระบุว่า ตลาดเนื้อที่ทำจากพืชปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารรูปแบบนี้มากขึ้น

การลงสนามในตลาด Plant-Base Food ของบริษัทยักษ์ใหญ่ใน “เครือซีพี” ครั้งนี้ จึงน่าจับตาไม่น้อย 

ในปี 2563 ซีพีเเรมทำรายได้ 19,373 ล้านบาท เเบ่งเป็นการจำหน่ายใน 7-Eleven ถึง 95% , ไม่ใช่ 7-Eleven ราว 3% เเละส่งออก 2% มีการพัฒนาสินค้าใหม่มากกว่า 338 รายการ

ในปี 2564 บริษัทตั้งเป้าไว้ว่า จะทำรายได้ 21,310 ล้านบาท เเบ่งเป็นการจำหน่ายใน 7-Eleven ถึง 94% , ไม่ใช่ 7-Eleven ราว 4% เเละส่งออก 2% เเละมีเป้าหมายการขยายตลาดเพิ่มขึ้น 10%

“เรามองว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก จากผลกระทบของ COVID-19 จะยังคงมีต่อเนื่อง แต่จะคลี่คลายลงบ้างตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป” 

โดยโครงการเมนูอิ่มคุ้ม” จะยังคงเป็นกลยุทธ์หลักของซีพีแรมเเละจะเพิ่มขึ้นอีก 50% นอกจากนี้ยังมีเเผนจะสร้าง ‘โรงงานเบเกอรี่แห่งใหม่’ ที่จังหวัดชลบุรี ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท มีกำลังผลิต 1.2 ล้านชิ้นต่อวัน ซึ่งโรงงานใหม่แห่งนี้ จะสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้กลางปี 2565 นับเป็นโรงงาน
เบเกอรี่แห่งที่
6 หรือโรงงานแห่งที่ 16 ของซีพีแรม โดยมองว่าตลาดเบเกอรี่ในไทยยังมีช่องว่างโอกาสให้เติบโตได้อีกมาก 

 

]]>
1319986
บทบาท “ซีพีแรม” กับความมั่นคงทางอาหารของไทย ไม่ใช่แค่ผู้ใช้วัตถุดิบ แต่รักษาสมดุล ทั้งซัพพลายเชน https://positioningmag.com/1288961 Tue, 04 Aug 2020 10:00:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288961

“ซีพีแรม” บริษัทผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปในเครือซีพี โดยผลิตภัณฑ์ที่เราคุ้นเคยกันดีมักจะได้เห็นการจัดจำหน่ายผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เช่น ข้าวกล่อง ข้าวปั้นโอนิกิริ เบเกอรี่เลอแปง ซาลาเปา ขนมจีบ เบื้องหลังอาหารเหล่านี้มีซีพีแรมเป็นฐานผลิต สามารถสร้างยอดขายต่อปี ในปริมาณเพียงพอสำหรับเลี้ยงประชากร 5.4 แสนคนรับประทานได้ครบ 3 มื้อตลอด 365 วัน

ปริมาณการผลิตอาหารปีละ 140 ล้านกิโลกรัม (ข้อมูลปี 2562) ออกสู่ตลาดภายใต้แบรนด์ต่างๆ ข้างต้นของ “ซีพีแรม” ไม่ใช่แค่ปริมาณที่มากเท่านั้น แต่ตลอดทั้งซัพพลายเชนยังมีองค์ประกอบหลายชนิดด้วย ถ้าเรามองดูสินค้าแต่ละชิ้นของซีพีแรม เราจะเห็นทั้งวัตถุดิบต้นน้ำอย่างเนื้อหมู เนื้อไก่ ผัก ข้าว และสิ่งที่เราอาจจะนึกไม่ถึงอย่างวัตถุดิบกลางน้ำ เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา จนถึงวัตถุดิบปลายน้ำอย่างแพ็กเกจจิ้งและระบบขนส่งสู่ร้านค้า

เมื่อบริษัทต้องใช้วัตถุดิบมากทั้งในแง่ปริมาณและชนิดสินค้า ซีพีแรมในฐานะผู้ใช้วัตถุดิบรายใหญ่จึงออกนโยบายที่ให้ความสำคัญกับ “ความมั่นคงทางอาหาร” (Food Security) ของประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัตถุดิบอาหารตลอดห่วงโซ่อุปทานจะสามารถผลิตได้อย่างเพียงพอและยั่งยืนสำหรับคนไทย รวมถึงมีความปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ มีคุณค่าทางโภชนาการ

รากฐานการรักษาความมั่นคงทางอาหารของซีพีแรมเป็นอย่างไร นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ได้นิยามการขับเคลื่อนธุรกิจของซีพีแรมในปัจจุบันคือ การทำธุรกิจที่มีความดีคู่กับความเก่งเป็นเนื้อเดียวกัน อันจะนำไปสู่การรักษาความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ เพราะต้องการรักษาความยั่งยืนให้กับซัพพลายเชน ดูแลไปถึงต้นทางของการผลิตวัตถุดิบด้วย มิใช่เป็นผู้ใช้วัตถุดิบเท่านั้น ซึ่งจะทำให้คนไทยมีอาหารเพียงพอในระยะยาว

“ที่ปรึกษาของเราในซีพี ออลล์คือ อาจารย์ประสิทธิ์ ตันสุวรรณ ท่านกล่าวถึงโมเดลของเนื้อโกเบ คือเวลาเราทานเนื้อแดงเฉยๆ ก็ไม่อร่อย ทานไขมันเฉยๆ ก็ไม่อร่อย แต่เนื้อโกเบที่สอดแทรกไขมันในเนื้อแดงนั้นอร่อยมาก เนื้อโกเบยังมีหลายเกรด ที่เป็นระดับพรีเมียมจริงๆ จะมีไขมันแทรกในเนื้อแดงแบบเป็นเนื้อเดียวกัน แทบจะแยกไม่ออก ดังนั้นความดีคู่ความเก่งของเราต้องทำทุกลมหายใจให้เป็นเนื้อเดียวกัน” วิเศษกล่าว

ความมั่นคงทางอาหาร หนึ่งในเสาหลัก FOOD 3S ของซีพีแรม

นิยาม “ความดี” คู่กับ “ความเก่ง” ของซีพีแรมถูกถอดออกมาเป็นนโยบายสำหรับปฏิบัติ คือ FOOD 3S ได้แก่ Food Safety (ความปลอดภัยทางอาหาร) หมายถึงการผลิตอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ เหมือนกับเป็น “อาหารฝีมือแม่”, Food Security (ความมั่นคงทางอาหาร) ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือการดูแลแหล่งผลิตอาหารให้มีเพียงพอ และสุดท้าย Food Sustainability (ความยั่งยืนทางอาหาร) เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ใช้ในการผลิตอาหาร เช่น ทรัพยากรดิน น้ำ และอากาศ

จะเห็นได้ว่า เรื่อง Food Security (ความมั่นคงทางอาหาร) เป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของนโยบายซีพีแรม และเป็นประเด็นที่มีความท้าทายสูง เพราะถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเกษตรและปศุสัตว์ได้ดีกว่าอีกหลายประเทศในโลก แต่ใช่ว่าทรัพยากรเหล่านี้จะไม่หมดไปหากไม่ดูแลรักษา หรือไม่มีความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

วิเศษยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า เฉพาะซีพีแรมเองมีการใช้เนื้อหมู 9 ล้านกิโลกรัมต่อปี ใช้เนื้อไก่สด 4 ล้านกิโลกรัมต่อปี ใช้ข้าวสาร (รวมทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่) 20 ล้านกิโลกรัมต่อปี ใช้ผักสด 9.5 ล้านกิโลกรัมต่อปี ใช้ไข่ไก่ 220 ล้านฟองต่อปี ด้วยปริมาณมากเช่นนี้ทำให้ซีพีแรม มีความร่วมมือกับทั้งห่วงโซ่อุปทานการผลิต เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบอาหารจะยังมีความมั่นคงเพียงพอต่อการผลิตให้กับคนทั้งประเทศ

ยกตัวอย่างโครงการหนึ่งที่ซีพีแรมดาเนินมาต่อเนื่องหลายปีคือ โครงการปูม้ายั่งยืน คู่ทะเลไทย เป็นโครงการร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำลูกปูม้า (young crab) ที่ศูนย์วิจัยฯ เพาะพันธุ์กลับคืนสู่ทะเลไทย เพื่อให้ลูกปูเหล่านี้เจริญเติบโตเป็นแหล่งอาหารต่อไป เพราะถ้าหากไม่มีการเพาะพันธุ์และนำปูกลับคืนทะเล อาจทำให้ปูม้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีวิธีเพาะเลี้ยงปูม้าตั้งแต่เกิดจนโตเต็มวัยได้ ต้องทำการประมงจากทะเลเท่านั้น

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญกับความมั่นคงทางอาหารเช่นกันคือผู้บริโภคปลายทาง เมื่อต้นทางการผลิต มีการสนับสนุนให้ผลิตได้เพียงพอแล้ว ฝั่งผู้บริโภคเองซีพีแรมก็มีโครงการช่วยรณรงค์ให้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรแต่พอดีด้วย เช่น การจัดกิจกรรม “คนรุ่นใหม่ ไร้ Food Waste” ให้นักเรียนนักศึกษา ส่งประกวดคลิปวิดีโอที่สื่อสารถึงเรื่องความสูญเปล่าทางอาหาร (Food Waste) สร้างจิตสำนึก ให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความสูญเปล่าของอาหาร

เพิ่มสินค้าตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์คนไทย

วิเศษกล่าวต่อว่า การสร้างความปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืนทางอาหาร (FOOD 3S) คือ รากฐานที่แข็งแรงสู่การขยายกำลังผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ตามเป้าหมายเพิ่มยอดขายปีละ 10% อย่างต่อเนื่อง

ในอนาคต ซีพีแรมจะขยายไปสู่การส่งสินค้าอาหารกึ่งปรุงสำเร็จให้กับร้านอาหารหรือภัตตาคาร ไปจนถึงอาหารเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารเด็ก อาหารสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวซึ่งต้องการดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษอย่างเช่น เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง

โดยซีพีแรมมีการลงทุนปีละ 1% ของยอดขาย (ประมาณ 150-200 ล้านบาท) สำหรับงานวิจัยและพัฒนาอาหารแบบใหม่ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้อาหารของซีพีแรมไปสู่คนไทยได้อย่างหลากหลายกว่าที่เคย

“ทั้งนี้ ไม่ว่าสิ่งที่จะทำหรือเป้าหมายของเรา เป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำเพียงลำพัง เงินจำนวน 1% จะใช้กับการวิจัยเพื่อหาเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่เฉพาะซีพีแรม แต่รวมถึงเทคโนโลยีสำหรับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของซีพีแรมในห่วงโซ่อุปทานของเราทั้งหมด” วิเศษกล่าวปิดท้าย

]]>
1288961