DHL – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 27 Dec 2024 14:37:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตา ‘สงครามราคา’ ตลาดโลจิสติกส์จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ หลัง ‘ไปรษณีย์ไทย’ เตรียมปรับค่าส่งพื้นฐานระยะ 2 เริ่ม 1 ม.ค. 2568 https://positioningmag.com/1505217 Fri, 27 Dec 2024 09:42:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1505217 ย้อนไปช่วงที่ COVID-19 ระบาด ช่วงปี 2020-2022 ถือเป็นช่วงที่ อีคอมเมิร์ซ เติบโตอย่างก้าวกระโดด และอีกธุรกิจที่เติบโตตามก็คือ โลจิสติกส์ ที่แข่งขันกันดุเดือด ไม่สนใจ ต้นทุน ที่พุ่งขึ้นจากราคาน้ำมัน และที่น่าสนใจคือ สงครามราคาจะกลับมาอีกไหม หลังจากที่พี่ใหญ่เบอร์ 1 อย่าง ไปรษณีย์ไทย ถึงเวลาปรับอัตราค่าบริการระยะที่ 2 ในปีหน้านี้

ย้อนรอยไปรษณีย์ ขึ้นราคาในรอบ 18 ปี

หากใครยังจำกันได้ ช่วงปี 2022 เป็นช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเท่าตัว เมื่อเทียบกับราคาในปี 2020 ที่ COVID-19 ระบาดใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เล่นรายแรกที่ขยับปรับขึ้นราคาก็คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ที่ได้ขอปรับอัตราค่าบริการเป็น ครั้งแรกในรอบ 18 ปี

แน่นอนว่าที่สาเหตุของไปรษณีย์ไทยต้องปรับราคาเป็นเพราะ ต้นทุน ที่เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ประกอบกับการมาของคู่แข่งรายใหม่ ๆ ที่ตบเท้าเข้ามาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้นับตั้งแต่ปี 2021 ไปรษณีย์ไทยก็ประสบปัญหา ขาดทุน โดย 

  • ปี 2021 รายได้ 21,226 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1,730 ล้านบาท
  • ปี 2022 รายได้ 19,546 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 3,018 ล้านบาท

ฉวยโอกาสดัมพ์ราคา

หลังจากที่พี่ใหญ่ของตลาดต้องปรับราคา แม้จะไม่ใช่ราคาที่ปรับสูงมาก โดยมีการปรับราคาเพิ่มเติมตามแต่ละน้ำหนัก เช่น จาก 10-20 กรัม 3 บาทก็ปรับเป็น 5 บาท, น้ำหนัก 20-100 กรัม จาก 5 บาทเป็น 10 บาท เป็นต้น แต่คู่แข่งก็ไม่ปล่อยโอกาสนี้ไป โดยถือโอกาส ดัมพ์ราคา ออกโปรโมชั่น เพื่อแย่งมาร์เก็ตแชร์จากเบอร์ 1 ทันที

อย่างเช่น Kerry หรือ KEX ปัจจุบัน ที่นับตั้งแต่ไปรษณีย์ประกาศขึ้นราคา ก็ทำการออกโปรโมชั่นเปิดราคาใหม่เริ่มต้นเพียง 15 บาท ต่ำกว่า J&T ที่เริ่มต้น 19 บาท ส่วน Flash Express ก็ลดราคาลง 10% สำหรับการส่งพัสดุที่มีขนาด 1 กิโลกรัม หรือความยาว x กว้าง x สูง ไม่เกิน 40 เซนติเมตร

จับตาจะเกิดสงครามราคาอีกหรือไม่?

จะเห็นว่าในช่วงที่ไปรษณีย์ไทยปรับราคา ทำให้บรรดาคู่แข่งต่างชิงโอกาสลดราคาเพื่อแย่งลูกค้า ดังนั้น คงต้องรอดูว่าการ ปรับอัตราค่าบริการช่วงที่ 2 ที่จะเริ่ม 1 ม.ค. 2025 นี้ บรรดาคู่แข่งในตลาดจะทำโปรโมชั่นเพื่อมาแข่งขันหรือไม่ โดยปัจจุบันอัตราค่าบริการเริ่มต้นของผู้ให้บริการแต่ละราย ดังนี้

  • KEX : กรุงเทพฯ ปริมณฑล เริ่มต้น 30 ต่างจังหวัดเริ่มต้น 50 บาท
  • Flash Express : กรุงเทพฯ ปริมณฑล เริ่มต้น 25 ต่างจังหวัดเริ่มต้น 35 บาท
  • DHL : กรุงเทพฯ ปริมณฑล เริ่มต้น 23 ต่างจังหวัดเริ่มต้น 28 บาท
  • J&T : กรุงเทพฯ ปริมณฑล เริ่มต้น 24 ต่างจังหวัดเริ่มต้น 26 บาท
  • Ninja Van : กรุงเทพฯ ปริมณฑล เริ่มต้น 23 ต่างจังหวัดเริ่มต้น 30 บาท
  • Best Express : เริ่มต้น 40 บาททุกพื้นที่

สำหรับไปรษณีย์ไทยที่จะปรับอัตราค่าบริการระยะที่ 2 ได้แก่ จดหมายประเภทซอง จดหมายประเภทหีบห่อ จดหมายประเภทซองลงทะเบียน จดหมายประเภทหีบห่อลงทะเบียน ของตีพิมพ์ ไปรษณียบัตร และพัสดุไปรษณีย์จดหมายลงทะเบียนแบบซอง ดังนี้

หรือคุณภาพสำคัญกว่าราคา?

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าการแข่งขันในช่วงที่ผ่านมาของตลาดโลจิกสติกส์ จะไม่ค่อยเห็น สงครามราคา ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้เล่นรายยังคง ขาดทุน ต่อเนื่องทุกปี อาทิ

  • Kerry ปี 2023 มีรายได้ 11,470.3 ล้านบาท ขาดทุน 3,880.6 ล้านบาท 
  • Flash Express ปี 2023 มีรายได้ 20,093 ล้านบาท ขาดทุน 559 ล้านบาท
  • J&T ปี 2023 มีรายได้ 18,511 ล้านบาท ขาดทุน 7,093 ล้านบาท

ดังนั้น หากจะ หั่นราคา ก็อาจจะต้องไปหาทาง ลดต้นทุน ในภาคส่วนอื่น ๆ ซึ่งก็อาจไม่ส่งผลกระทบต่อ คุณภาพการทำงาน โดย แหล่งข่าวในแวดวงโลจิสติกส์ มองว่า แผนกที่มักจะได้รับผลกระทบจากการลดต้นทุนก็คือ พนักงานขนส่ง ที่อาจจะมีการ จ้างน้อยลง หรือ ลดผลตอบแทน จนนำไปสู่เหตุการณ์ คลังแตก

ซึ่งปัญหาคลังแตก ถือเป็นอีกประเด็นที่ผู้ให้บริการหลายรายเริ่มกังวล เพราะต่อให้ทำราคาได้ดี แต่หากลูกค้ารู้สึก ไม่ไว้วางใจ เพราะกังวลว่าพัสดุจะตกหล่น ก็อาจจะยอม จ่ายแพงกว่า เพื่อซื้อความสบายใจ ส่งผลให้ผู้เล่นหลายรายหันมาเน้นที่เรื่องของความเชื่อมั่นโดยเฉพาะ ไปรษณีย์

iPost บริการจุดส่งไปรษณีย์ (ภาพจากไปรษณีย์ไทย)

นับตั้งแต่ไปรษณีย์ไทยปรับราคา ทำให้กลยุทธ์ของบริษัทก็หันไปเน้นที่ คุณภาพ เพื่อสร้างแบรนด์ ทำให้บริษัทกลับมามีกำไรอีกครั้ง หลังจากขาดทุนต่อเนื่อง 2 ปี โดยในปี 2566 รายได้รวม 20,934.47 ล้านบาท เติบโต +7.40% มีกำไร 78.54 ล้านบาท โดยรายได้จาก ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ที่มีสัดส่วนรายได้สูงสุดเติบโต +19.35% 

ขณะที่รายได้ 9 เดือนแรกของปี 2024 มีรายได้รวม 15,858.67 ล้านบาท มีกำไร 31 ล้านบาท โดยธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์เติบโต +3.34% และ ระดับความเชื่อมั่นแบรนด์ สูงถึง 91.87% และยังคงครองตำแหน่งเบอร์ 1 ของตลาด โดย

  • ไปรษณีย์ไทย : มีส่วนแบ่งการตลาด 23.5%
  • KEX : มีส่วนแบ่งการตลาด 20.1%
  • Flash Express : มีส่วนแบ่งการตลาด 17.4%
  • DHL Express : มีส่วนแบ่งการตลาด 16.5%
  • J&T Express : มีส่วนแบ่งการตลาด 13.9%

ทั้งนี้ SHIPPOP ผู้ให้บริการออนไลน์เชื่อมโยงระบบขนส่ง ประเมินว่า ตลาดโลจิสติกส์ปีนี้จะมีมูลค่า 1.07 แสนล้านบาท เติบโต +12% ซึ่งก็คงต้องรอดูว่าจะมีผู้เล่นคนไหนจะยอมลดราคาเพื่อจะแย่งชิงลูกค้าเหมือนที่ไปรษณีย์ขึ้นราคาระยะแรกเมื่อปี 2022 หรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่าการตัดสินใจของผู้บริโภคในปัจจุบันนี้ แค่ราคาอาจไม่พอ แต่เป็นเรื่องของความเชื่อมั่นด้วย

]]>
1505217
CEO ของ DHL กังวลสถานการณ์ในทะเลแดงส่อเค้ารุนแรงเพิ่ม อาจส่งผลต่อการขนส่งสินค้ามายังทวีปเอเชีย https://positioningmag.com/1459390 Thu, 18 Jan 2024 08:44:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459390 Tobias Meyer ซึ่งเป็น CEO ของ DHL บริษัทขนส่งพัสดุรายใหญ่จากเยอรมนี ได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในทะเลแดงส่อเค้ารุนแรงเพิ่ม อาจส่งผลต่อการขนส่งสินค้ามายังทวีปเอเชียภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเกิดจากจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์

Tobias Meyer ซึ่งเป็น CEO ของ DHL บริษัทขนส่งพัสดุรายใหญ่จากเยอรมนี ได้ให้สัมภาษณ์กับ Fox Business ถึงความกังวลของเขาเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลแดงส่อเค้ารุนแรงเพิ่ม หลังจากที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ได้ประกาศโจมตีกลุ่มติดอาวุธฮูตี ซึ่งอาจกระทบต่อการขนส่งสินค้าได้

เขากล่าวว่า “จำนวนตู้คอนเทนเนอร์กำลังจะขาดแคลนในทวีปเอเชียในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า” และปัญหาดังกล่าวบริษัทกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด แม้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่ร้ายแรงเท่าในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดที่ทำให้การขนส่งทางเรือหยุดชะงัก

สถานการณ์ในทะเลแดงนั้นเริ่มย่ำแย่ลง เนื่องจากกลุ่มฮูตีโจมตีเรือสินค้า โดยต้องการตอบโต้ต่อกรณีที่อิสราเอลโจมตีฉนวนกาซา และทางกลุ่มยังออกมาเตือนว่าจะโจมตีเรือสินค้าทุกลำที่เดินทางผ่านเส้นทางทะเลแดงและต้องการเทียบท่าในประเทศอิสราเอล โดยไม่สนใจว่าเป็นเรือชาติใด

ผลดังกล่าวทำให้เรือขนส่งสินค้าหลายลำเลิกใช้เส้นทางทะเลแดง และรอดูท่าทีว่าสถานการณ์จะผ่อนคลายลงหรือไม่

ต่อมาได้มีการจัดตั้งปฏิบัติการ Prosperity Guardian นำโดยสหรัฐอเมริกา และพันธมิตร เช่น สหราชอาณาจักร บาห์เรน แคนาดา นอร์เวย์ อิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน ฯลฯ จะวางกำลังคุ้มกันบริษัทเดินเรือที่ขนส่งสินค้าระหว่างทะเลแดงจนถึงคลองสุเอซเพื่อความปลอดภัย

อย่างไรก็ดีกลุ่มติดอาวุธฮูตีกลับยังมีการโจมตีเรือสินค้า และเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนทำให้ท้ายที่สุด สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ได้ประกาศโจมตีกลุ่มดังกล่าว โดยให้เหตุผลเพื่อที่จะทำให้กลุ่มฮูตีไม่สามารถโจมตีเรือสินค้าได้อีก

CEO ของ DHL ยังได้กล่าวเสริมว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้เรือเดินทางกลับทวีปเอเชียไม่ตรงเวลา ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งในอนาคต

โดยสถานการณ์ในทะเลแดงส่อเค้ารุนแรงนั้นส่งผลทำให้เรือขนสินค้า หรือตู้คอนเทนเนอร์ จะต้องเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกาแทน ซึ่งใช้เวลาเพิ่มอีกราวๆ 2 สัปดาห์ ส่งผลทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มมากขึ้น และยังรวมถึงต้นทุนจากการทำประกันภัยทางเรือนั้นเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

]]>
1459390
DHL ลุยขนส่ง “ทางถนน” ทดแทนทางเรือ-เครื่องบิน ตั้งเป้าลดคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 https://positioningmag.com/1347437 Wed, 18 Aug 2021 06:26:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347437 ยักษ์ขนส่ง DHL เปิดภารกิจ “Mission 2050” ตั้งเป้าลดคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยจะหันมาเน้นใช้การขนส่ง “ทางถนน” สนับสนุนร่วมกับการขนส่งทางเรือและเครื่องบินให้มากที่สุด รองรับอนาคตเปลี่ยนมาใช้รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า-ไฮโดรเจน ชี้เป็น “จุดตรงกลาง” ระหว่างเรือและเครื่องบิน เร็วกว่าเรือ ถูกกว่าเครื่องบิน ติดตามสินค้าง่าย ยืดหยุ่นในการเปลี่ยนเส้นทาง

อี-คอมเมิร์ซที่เติบโตขึ้นทุกมุมโลก ส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์เติบโตตามไปด้วย “ด๊อยช์โพสต์ ดีเอชแอลกรุ๊ป” หรือ DHL ขนส่งรายใหญ่จากเยอรมนีจึงวางเป้าหมายภารกิจ “Mission 2050” ลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050

ในภารกิจนี้ เป้าหมาย ‘ครึ่งทาง’ ในปี 2025 ของ DHL ต้องการจะลดการปล่อยคาร์บอนลง 50% เมื่อเทียบกับปี 2007 โดยจะเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 80,000 คันในระยะแรก และต้องการผลักดันโซลูชันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มีสัดส่วน 50% ของยอดขายบริษัท

 

ใช้ขนส่งทางถนน “จุดตรงกลาง” ของโลจิสติกส์

“เคลวิน เหลียง” ซีอีโอ ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียแปซิฟิก, “โทมัส ทีเบอร์” ซีอีโอ ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ “บรูโน่ เซลโมนี่” รองประธาน การขนส่งทางถนนและขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน 85% ของการขนส่งสินค้าอี-คอมเมิร์ซ ใช้ระบบขนส่งทางเรือ ราง และรถ มีเพียง 15% ที่ใช้การขนส่งทางเครื่องบิน

เมื่อ DHL ต้องการมุ่งตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อม “บรูโน่” ระบุว่า การขนส่งทางถนนคือ “จุดตรงกลาง” ที่เหมาะสม เพราะการส่งทางถนนลดคาร์บอนได้ง่ายกว่าทางเครื่องบิน ปัจจุบันการใช้รถประหยัดน้ำมันกว่าเครื่องบินอยู่แล้ว และเทคโนโลยีอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าหรือไฮโดรเจนจะยิ่งทำให้ปล่อยคาร์บอนน้อยลง

ขณะเดียวกันยังทำราคาได้ถูกกว่าเครื่องบิน แม้ว่าจะแพงกว่าการขนส่งทางเรือประมาณ 30% (ขึ้นอยู่กับจุดส่งสินค้าและจุดหมายปลายทางด้วย) แต่การขนส่งทำได้เร็วกว่า รวมถึงมีความผันผวนเรื่องราคาน้อยกว่า ดังที่ลูกค้าน่าจะพบประสบการณ์ราคาขนส่งทางเรือและทางอากาศผันผวนสูงมาแล้วเมื่อปี 2020 จึงมองว่าการใช้ขนส่งทางถนนมาสนับสนุนจะเป็นหนทางที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ DHL มีการทดสอบการใช้ขนส่งทางถนนสนับสนุนการขนส่งทางอากาศ (air-road shipment) จากจาการ์ตาไปยังกรุงเทพฯ ผ่านทางสิงคโปร์ เทียบกับการขนส่งทางเครื่องบินแบบบินตรงจาการ์ตา-กรุงเทพฯ พบว่าลดการปล่อยคาร์บอนได้ 50% และลดต้นทุนได้ 35%

นอกจากนี้ DHL ยังนำเสนอว่าการขนส่งทางถนนมีความปลอดภัยและยืดหยุ่นกว่า เนื่องจากสามารถใช้ GPS ติดตามสินค้าได้ตลอดเวลา รวมถึงเปลี่ยนเส้นทางได้ง่ายกว่าหากเส้นทางประจำเกิดเหตุขัดข้อง โดยปัจจุบันบริษัทมีแพลตฟอร์ม myDHLi ไว้ให้ลูกค้าติดตาม Tracking สินค้าได้แบบเรียลไทม์

 

ความร่วมมือในภูมิภาค ผ่านด่านศุลกากรเร็วขึ้น

สำหรับความท้าทายหลักนอกจากโครงสร้างพื้นฐานคือตัวถนนแล้ว การขนส่งด้วยรถจะต้องผ่านพิธีการศุลกากรหลายประเทศ ซึ่งจุดนี้ “โทมัส” ให้ข้อมูลว่าความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงประเทศจีนมีความก้าวหน้าอย่างมากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีข้อตกลงระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน (ACTS) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ช่วยสนับสนุนให้การขนส่งทางถนนรวดเร็วและราบรื่น และบริษัท DHL จะมุ่งเน้นลดเวลาการทำพิธีการศุลกากรให้ได้มากที่สุด

(ที่มา: DHL)

ปัจจุบันบริษัทเล็งเห็นว่าเส้นทางขนส่งทางถนนระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับประเทศจีนมีความสำคัญมาก และเส้นทางอนาคตที่เล็งเห็นศักยภาพคือการขนส่งทางถนนระหว่างจีนกับภูมิภาคยุโรป ทั้งนี้ เฉพาะประเทศกลุ่มอาเซียน DHL คาดว่าจะมีการขนส่งทางถนนเพิ่มขึ้น 8% ช่วงปี 2020-2025

 

พร้อมใช้เทคโนโลยี “ยานยนต์ไฟฟ้า”

สำหรับอนาคตการใช้รถบรรทุกและรถกระบะไฟฟ้า “เคลวิน” กล่าวว่า อาจต้องรอเวลาอีกสักพักกว่าที่เทคโนโลยีแบตเตอรีจะรองรับได้ เนื่องจากการใช้รถบรรทุกสินค้าจะแตกต่างจากรถยนต์ส่วนบุคคล แบตเตอรีจะต้องรองรับได้ทั้งน้ำหนักขนส่งผนวกกับระยะทางไกล แต่เมื่อใดก็ตามที่เทคโนโลยีมีความสามารถเพียงพอ DHL จะนำมาใช้งานทันที

ขณะที่การใช้เทคโนโลยีรถบรรทุกขับเคลื่อนอัตโนมัติ ปัจจุบันเริ่มทดลองใช้แล้วในเยอรมนี เนื่องจากทางด่วนหรือ ‘ออโตบาห์น’ ของเยอรมนีมีโครงสร้างพื้นฐาน สัญญาณและป้ายจราจรที่รองรับการใช้รถอัตโนมัติแล้ว ส่วนการนำไปใช้ในประเทศอื่นหรือภูมิภาคอื่นจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศนั้นๆ พร้อมรองรับแล้วหรือไม่

DHL มองว่า อี-คอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโตต่อเนื่อง 70% ภายในปี 2070 แม้ว่าสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายแต่ผู้บริโภคจะยังนิยมสั่งสินค้าออนไลน์อยู่ ทำให้การลงทุนเพื่อตอบสนองเป็นทิศทางที่ถูกต้อง

]]>
1347437
‘DHL’ ประเมินช่วง ‘เทศกาล’ อาจะดันยอดส่งของข้ามประเทศโต 50% https://positioningmag.com/1307904 Thu, 26 Nov 2020 15:23:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307904 ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ยอดขายของออนไลน์ทั่วโลกก็เพิ่มสูงขึ้น สำหรับประเทศไทยเองคาดว่าอีคอมเมิร์ซจะเติบโตถึง 35% มีมูลค่าสูงถึง 2.2 แสนล้านบาท และแม้ว่าในบางประเทศจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ หรือบางประเทศที่กำลังระบาดหนัก แต่แนวโน้มการช้อปออนไลน์จะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงช่วงเทศกาลช้อปปิ้งที่กำลังใกล้เข้ามา เช่น Black Friday, Cyber Monday, 12.12, เทศกาลคริสต์มาส จนถึงตรุษจีนปีหน้า

เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน

เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน ระบุว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ระหว่างประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้น 21% ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดย 85% ของผู้คนทั่วโลกใช้เวลาช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ 45% ของคนรุ่นมิลเลนเนียล (Millennial) ยังคงช้อปออนไลน์อย่างต่อเนื่องถึงแม้จะเป็นช่วงหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ยอดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก และเรากำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเทศกาลปลายปีซึ่งจะมีความต้องการใช้บริการขนส่งสูงขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคต้องการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลมากขึ้นหลังจากที่ต้องเก็บตัวอยู่บ้านมานานในช่วงแพร่ระบาด ประสบการณ์การช้อปปิ้งของผู้บริโภคในปีนี้จึงเปลี่ยนไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบทั้งธุรกิจค้าปลีก B2C และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ B2B ที่ต้องปรับตัวสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มตัว”

และเพื่อให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นไปอย่างราบรื่น ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสเองได้เสริมความแข็งแกร่งในการให้บริการ โดยระหว่างปี 2020 – 2022 บริษัทได้ลงทุน 690 ล้านยูโร เพื่อสร้างและขยายศูนย์บริการ ฮับและเกต์เวย์ในการดำเนินงานในตลาดที่สำคัญ เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และเกาหลีใต้ อีกทั้งยังลงทุนมูลค่ากว่า 60 ล้านยูโร เสริมเครือข่ายทางอากาศของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ยังซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้าโบอิ้ง 777F แบบ Wide Body จำนวน 6 ลำ เพื่อเพิ่มเที่ยวบินระหว่างทวีปได้มากขึ้น 3,000 เที่ยวต่อปี

ปัจจุบัน ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส มีเครื่องบินขนส่ง 260 ลำทั่วโลก ครอบคลุมสนามบินกว่า 500 แห่ง โดยมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้ลูกค้ากว่า 2.7 ล้านราย คิดเป็นการขนส่งประเภทขนส่งด่วนภายในเวลาที่กำหนด (Time Definite) จำนวน 262 ล้านชิ้นต่อปี ครอบคลุม 220 ประเทศทั่วโลก

]]>
1307904
8 แนวทางช่วย ‘ร้านออนไลน์’ สร้างความ ‘มั่นใจ’ ให้ลูกค้าในช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1275170 Fri, 24 Apr 2020 07:28:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275170 จากสถานการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาด ส่งผลให้การขนส่งโดยเฉพาะสินค้าระหว่างประเทศต้องหยุดชะงักลง ลูกค้าเองก็ย่อมมีความกังวลต่อการจัดส่งสินค้า และหากนักช้อปออนไลน์มีความกังวลก็มักจะชะลอการสั่งซื้อหรือเปลี่ยนไปอุดหนุนร้านค้าอื่นแทน ดังนั้นร้านค้าออนไลน์ต้องทำให้ลูกค้ามั่นใจว่า ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ ธุรกิจและการให้บริการของคุณยังคงดำเนินการอย่างเป็นปกติ ดังนั้นนี่คือ 8 แนวทางเพื่อช่วยให้ร้านค้าออนไลน์ดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วงสถานการณ์นี้

1.แจ้งรายละเอียดที่สำคัญบนหน้าโฮมเพจ

หน้าโฮมเพจหรือปักหมุดบนเฟซบุ๊กเพจของร้านควรมีรายละเอียดครบทุกขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า ตั้งแต่กดยืนยัน ดำเนินการ บริการส่งสินค้าช่วงสถานการณ์ COVID-19 หลายร้านมีแท็บข้อมูลในการแจ้งโปรโมชั่นการตลาดต่าง ๆ เช่น ส่งสินค้าฟรีเมื่อซื้อสินค้าครบ 2,000 บาทขึ้นไป, เวลาให้บริการลูกค้าตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 1 ทุ่ม, ยินดีรับคืนสินค้าภายใน 90 วัน ฯลฯ

ควรมีแท็บสำหรับติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจลูกค้าในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และอาจเลือกใช้คำที่เหมาะสม อาทิ “เราอยู่เคียงข้างคุณเสมอ” “สินค้าทุกชิ้นปลอดภัยด้วยกระบวนการส่งที่ปลอดภัย”

LONDON, UNITED KINGDOM – 2019/12/26: Home page of Harrods is seen on a computer as online Boxing Day sales starts. (Photo by Dinendra Haria/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

2.บอกข้อมูลที่ครบถ้วน

บ่อยครั้งที่ผู้เยี่ยมชมเพจพุ่งสายตาไปที่แท็บประเภทของสินค้า หรือเพจที่ให้รายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ ดังนั้น คุณสามารถนำรูปภาพผลิตภัณฑ์หรือใส่ข้อความเพิ่มใกล้ปุ่มสั่งซื้อ หรือแจ้งกำหนดการส่งของแก่ลูกค้าพร้อมข้อความสั้น ๆ และได้ใจความ เช่น “ส่งสินค้าตามปกติในช่วง COVID-19” เพื่อย้ำว่ากระบวนการสั่งซื้อยังเป็นไปตามปกติ

3.แจ้งข้อมูลการส่งสินค้าผ่าน Shopping Cart

ใช้โอกาสนี้ในการ สื่อสารกับลูกค้าผ่าน Shopping Cart ว่าร้านมีบริษัทขนส่งเพื่อจัดส่งสินค้าช่วง COVID-19 ได้ทันทีในพื้นที่ที่อยู่ในเขตให้บริการ และถ้าสินค้าจัดส่งช้ากว่ากำหนด คุณควรแจ้งให้ลูกค้าทราบอย่างตรงไปตรงมาเช่นกัน เพราะปกติบริษัทขนส่งจะแจ้งเวลาจัดส่งสินค้า พื้นที่ที่จัดส่งสินค้าบนหน้าโฮมเพจหรือทาง eDM ซึ่งร้านควรให้ความสำคัญและติดตามข้อมูลอัพเดตจากบริษัทขนส่งอย่างใกล้ชิด และอัพเดตข้อมูลเหล่านั้นในร้านออนไลน์ของคุณเพื่อให้ลูกค้าคุณได้รับข้อมูลที่ตรงกัน

4.สร้าง Meta tag ข้อความบนเสิร์ชเอนจิ้น Google

กูเกิลเสิร์ชเป็นอีกช่องทางที่ดึงผู้สนใจให้เข้ามาเยี่ยมชมร้านค้าออนไลน์ ดังนั้น ถ้าเพิ่มข้อความใน Meta Tag ที่โชว์ในหน้าค้นหาของกูเกิล เช่น “พร้อมส่งช่วง COVID-19” วิธีนี้จะช่วยเพิ่มทราฟฟิกให้กับร้านออนไลน์ได้ เพราะผลลัพธ์การค้นหาสามารถตอบคำถามที่ลูกค้าส่วนใหญ่อยากรู้ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ

5.สร้าง FAQ หรือคำถามที่พบบ่อย

ในสถานการณ์แบบนี้ย่อมมีคำถามมากมายจากลูกค้า ดังนั้นควรรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่หน้า FAQ

6.แจ้งข้อมูลการติดต่อ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าสามารถติดต่อร้านได้จากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะทางโทรศัพท์หรือโซเชียลมีเดีย หลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ทำให้ลูกค้าสับสนในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เพราะจะเป็นการทำลายความไว้วางใจของลูกค้า

7.สื่อสารลูกค้าผ่าน eDM หรือ E-Newsletter

เมื่ออัพเดตข้อมูลในร้านค้าออนไลน์และช่องทางการติดต่อต่าง ๆ แล้ว ควรทำการตลาดผ่าน eDM หรือ E-Newsletter เพราะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยอัพเดตข้อมูลอื่น ๆ ให้ลูกค้าปัจจุบันทราบว่าแบรนด์มีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง เช่น คุณสามารถอ้างอิงคำถามที่ทางร้านได้รับบ่อย ๆ ในช่วงโควิด-19 แสดงรูปภาพพนักงานที่กำลังทำงานในคลังสินค้า ข้อความรีวิวจากลูกค้าที่มีความรู้สึกดีกับการให้บริการของคุณ แชร์ข้อมูลการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วและตรงเวลา ฯลฯ

8.ใช้โซเชียลมีเดียสร้างภาพจำให้แบรนด์หรือร้านค้า

ไม่ว่าร้านจะโพสต์รูปคลังสินค้าบนอินสตาแกรม ลงคลิปทีมงานที่กำลังตอบคำถามลูกค้าในเฟซบุ๊ก สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าที่มีต่อร้านของคุณ และความน่าเชื่อถือก็เป็นสิ่งที่ลูกค้าของคุณกำลังมองหาในช่วงเวลาแบบนี้ด้วย

Beautiful asian woman blogger is showing how to make up and use cosmetics. In front of the camera to recording vlog video live streaming at home.Business online influencer on social media concept.

ทั้งนี้ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ได้รวบรวม 6 สินค้าที่นิยมส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลร่างกาย ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารแห้ง ผลไม้แปรรูป และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน รวมถึงเอกสารที่สำคัญที่จำเป็นต้องส่งถึงมือผู้รับในต่างประเทศ

]]>
1275170