EV Car – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 20 Aug 2021 11:07:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 GPSC บนเส้นทางผู้นำด้านแบตเตอรี่และโซลูชั่นจัดการพลังงานครบวงจร https://positioningmag.com/1346319 Fri, 20 Aug 2021 10:00:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346319


GPSC บนเส้นทางผู้นำด้านแบตเตอรี่และโซลูชั่นจัดการพลังงานครบวงจร เปิดโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน G-Cell ด้วยเทคโนโลยี SemiSolid แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถผลิตแบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงานและสามารถใช้กับ EV Car พร้อมเป้าหมายสู่การเป็นผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาค และมีระบบ Ecosystem ที่มีประสิทธิภาพ

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่าแนวโน้มในการใช้แบตเตอรี่จะเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าในอนาคต จากการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นการเปลี่ยนมาใช้ EV Car ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว และการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีพลังงานที่ว่านี้ แบตเตอรี่จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยการลดโลกร้อนได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

“เราเชื่อว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่สำคัญคือแบตเตอรี่ ที่จะเป็นจิ๊กซอร์ให้มีการใช้ EV Car เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายได้ จึงเป็นที่มาของการลงทุนและเปิดตัวโรงงานต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยี SemiSolid เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายวรวัฒน์ กล่าว

เทคโนโลยี SemiSolid จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพและสร้าง Ecosystem ให้กับอุตสาหกรรม EV เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้ประเทศไทย เป็นแหล่งผลิต EV Car และเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคได้ โดยสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ 30:30 เป้าหมายสำคัญคือต้องการใช้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิต EV Car การที่จะเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคได้จะต้องมี Ecosystem ที่พร้อมและมีประสิทธิภาพที่จะนำมาประกอบรถยนต์

ห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ หรือ Experience Center

นางรสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC กล่าวว่า

GPSC ได้สร้างห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ หรือ Experience Center ขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวแบตเตอรี่เพื่อให้ประชาชนที่สนใจ รวมทั้งเด็กและเยาวชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ และเป็นความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่ว่าสามารถนำมาใช้ในชีวิตได้อย่างไรบ้าง

ภายใน Experience Center ประกอบด้วย

Battery Story ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของแบตเตอรี่จากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ถูกพัฒนามาค่อนข้างมาก จนมาถึงยุค LIthuim-ion, Lithuim Sulphur และยุค Technology Solid

GPSC ได้นำเอาเทคโนโลยี SemiSolid ซึ่งเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เป็น Process Innovation ที่ได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นเทคโนโลยีของบริษัทสตาร์อัพ 24M Technologies, Inc. หรือ 24M จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย GPSC ได้รับลิขสิทธิ์และจัดจำหน่ายในประเทศและภูมิภาค โดยในเบื้องต้นจะผลิตแบตเตอรี่ป้อนให้กับ กลุ่ม ปตท. และพร้อมที่จะขยายกำลังการผลิตตามความต้องการของตลาดไปสู่ระดับการเชื่อมโยงการซื้อขายในภูมิภาค

“GPSC อยู่ระหว่างศึกษา เทคโนโลยีอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น Lithium Sulphur เมื่อ Product Innovation ทำได้สำเร็จ ก็สามารถนำมาใช้ใน Process นี้ได้ด้วย เราต้องการให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการคือมีขนาดเล็ก และ เบา” นางรสยากล่าว

เชื่อว่า SemiSolid ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ 24M จะทำให้กระบวนการผลิตสั้นลงและประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น และสามารถนำวัตถุดิบที่ไม่จำเป็นออกไป การออกแบบช่วยป้องกันการผสมกันของวัตถุ โดยแบ่งเป็น Unit ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกัน

ดังนั้นเทคโนโลยีที่นำมาใช้จะทำให้ G-Cell มีความปลอดภัย และน่าจะ Recycle ได้ง่ายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ในอนาคตที่กำลังมุ่งไปสู่โลกสีเขียวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

ส่วนของความน่าเชื่อถือ (Reliability) หรือการต่อเชื่อม Chain และการให้บริการกับทางกลุ่ม ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เป็นแบรนด์ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับกับลูกค้า

Casting & Converting

เป็นส่วนที่อธิบายกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ โดยเริ่มต้นจาก Foil Cutting เป็นลำดับแรก หลังจากนั้นทำการ Coating ตัวต่อตัว เพื่อลดการปนเปื้อน

ต่อมาเป็นขั้นตอน Combining & Sealing เพิ่มความปลอดภัยของ Unit Cell จากนั้นเป็นขั้นตอน Pouch Cell Assembly ทำ Stacking & Packing และการนำไปบ่มในห้อง Aging Room บ่มเพาะจนมีความมั่นใจว่าสินค้ามีความปลอดภัย โดยมี Robot ควบคุมดูแลภายในห้อง จากนั้น Stack และเก็บข้อมูลของแบตเตอรี่ และคอย Monitor

Line up process

ในส่วนนี้ จะเป็นการนำเสนอระบบกักเก็บพลังงาน หรือEnergy Storage System (ESS) ขนาดใหญ่ จะอยู่ในหมวดของ Large ESS หรือผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ G-Box (CI) และ G-BOX (CI MAX) สำหรับเชิงพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System) การใช้แบตเตอรี่ G-Cell ในรถสามล้อไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ 80 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เครื่องยนต์เงียบ ไม่มีมลภาวะ

“สำหรับการติดตั้งแท่นชาร์จแบตเตอรี่ เป็นความตั้งใจของ ปตท. ที่ต้องการให้มีการติดตั้งแท่นชาร์จทั่วประเทศ ทุกสถานีน้ำมันที่มีความเป็นไปได้ ตลอดจนจุดสำคัญต่างๆ เช่น บนคอนโดมีเนียม” นายวรวัฒน์กล่าว


]]>
1346319
“ไบเดน” ตั้งเป้าปี 2030 รถใหม่ในสหรัฐฯ 50% ต้องเป็น “รถยนต์ไฟฟ้า” https://positioningmag.com/1345513 Fri, 06 Aug 2021 06:53:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345513 มุ่งสู่พลังงานสะอาด! “โจ ไบเดน” ประกาศเป้าหมายปี 2030 ผลักดันให้รถยนต์ใหม่ในสหรัฐฯ 50% เป็นยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงจะออกนโยบายกำกับมาตรฐานการปล่อยมลพิษของรถยนต์และรถบรรทุก เพื่อแก้ไขต้นเหตุปัญหาโลกร้อนที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา

ทำเนียบขาวเปิดการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2021 ถึงแนวนโยบายการแก้ไขปัญหาโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยมลพิษของยานพาหนะ โดยประธานาธิบดี “โจ ไบเดน” เตรียมเซ็นคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อกำหนดให้รถยนต์และรถบรรทุกที่ออกขายใหม่อย่างน้อย 50% ต้องเป็นยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2030

ณ ทำเนียบขาวพร้อมด้วยสักขีพยานคือกลุ่มผู้ประกอบการผลิตรถยนต์และกลุ่มสหภาพแรงงาน ไบเดนได้ประกาศอนาคตของอุตสาหกรรมรถยนต์ว่าจะต้องเป็น “ยานยนต์ไฟฟ้าและไม่มีทางหวนกลับ”

“คำถามก็คือ เราจะเป็นผู้นำหรือผู้ตามในการแข่งขันสู่อนาคต” ประธานาธิบดีไบเดนกล่าว “เราเคยเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านนี้และเราสามารถกลับเป็นผู้นำได้อีกครั้ง แต่เราจะต้องเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ส่วนอื่นของโลกได้เดินหน้าไปก่อนเราแล้ว เราจะต้องตามให้ทัน”

โจ ไบเดน ระหว่างแถงนโยบายรถยนต์ไฟฟ้า 2030

นอกจากเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) และ กระทรวงคมนาคมแห่งสหรัฐฯ ยังกำหนดมาตรฐานใหม่ด้านการเผาไหม้เชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ทั้งหมดด้วย เป็นการขันน็อตมาตรฐานการปล่อยมลพิษให้แน่นขึ้นหลังจากหละหลวมไปในยุคของ “โดนัลด์ ทรัมป์” โดยตั้งแต่ปี 2023 รถยนต์ใหม่จะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง 10% เทียบกับปีก่อนหน้า และจะต้องปล่อยลดลงอีก 5% ต่อปีไปจนถึงปี 2026

นโยบายนี้เกิดขึ้นจากการพูดคุยระหว่างรัฐบาลไบเดนกับกลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์นานหลายเดือน โดยทำเนียบขาวหวังว่าจะเข้าคู่ลงล็อกพอดีกับกฎหมายใหม่ที่จะออกมาเพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า งบประมาณใหม่นี้จะนำมาใช้ยกระดับจุดชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วสหรัฐฯ

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า บนไฮเวย์ระหว่างเมืองลอสแอนเจลิสกับลาสเวกัส (Photo : Shutterstock)

รัฐบาลไบเดนระบุว่านโยบายเหล่านี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 2 พันล้านตัน และประหยัดการใช้น้ำมันไป 2 แสนล้านตัน รวมถึงประหยัดค่าเชื้อเพลิงของคนขับทุกคนได้อีกหลายร้อยดอลลาร์

ปัจจุบันรถอีวีมีสัดส่วนไม่ถึง 2% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในสหรัฐฯ ปี 2020 เพราะคนอเมริกันส่วนใหญ่ยังนิยมรถ SUV ขนาดใหญ่ที่กินน้ำมันสูง

อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้ากำลังทำยอดขายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และบรรดาผู้ผลิตต่างแข่งขันกันออกรถอีวีรุ่นใหม่กันอย่างต่อเนื่อง พร้อมตั้งเป้าลุยตลาดอีวี เช่น Ford เพิ่งออกรถอีวีรุ่นใหม่ F-150 ซึ่งต่อมากลายเป็นรถยนต์ที่ขายดีที่สุดของอเมริกานับตั้งแต่ทศวรรษ 1980s

Ford F-150 Lightning

Ford, GM และ Stellantis ยังมีแถลงการณ์ร่วมกันด้วยว่า ภายในปี 2030 บริษัทตั้งเป้าทำให้ 40-50% ของยอดขายรวมของบริษัทมาจากรถยนต์ไฟฟ้า แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุอีกว่า เป้าหมายนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลกลางมีแรงจูงใจให้ประชาชนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จไฟฟ้า และสนับสนุนงบการวิจัยและพัฒนา

ขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมบางส่วนมองว่านโยบายของไบเดนยังคงช้าเกินไป “เราเสียเวลาดำเนินการด้านภาวะโลกร้อนไป 4 ปีแล้วในยุคโดนัลด์ ทรัมป์ และเราไม่สามารถจะเสียเวลามากไปกว่านี้ได้อีก” เบคคา เอลลิสัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านนโยบายที่ Evergreen Action กล่าว “เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการต่อต้านภาวะโลกร้อนของเรา และการสร้างอนาคตที่มีมลพิษร้ายน้อยลง รวมถึงสร้างงานดีๆ มากขึ้น ประธานาธิบดีไบเดนควรจะออกนโยบายที่เร่งหนทางไปสู่การใช้รถอีวีที่เร็วกว่านี้”

ไบเดนเคยวางเป้าหมายให้อเมริกา “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์” ภายในปี 2050 เป็นเป้าหมายที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเมริกาหยุดขายรถยนต์ใช้น้ำมันภายในปี 2035 การตั้งเป้า “50%” ของไบเดนจึงถูกวิจารณ์จากกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมว่าเป็นเป้าที่ต่ำเกินไป

Source

]]>
1345513
ส่องผลวิจัย ‘คนไทย’ สนใจใช้ ‘รถ EV’ แค่ไหน? https://positioningmag.com/1318644 Tue, 09 Feb 2021 12:24:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318644 1318644 เช็กลิสต์ 6 ข้อ ก่อนตัดสินใจซื้อ “รถยนต์ไฟฟ้า” New Normal บนท้องถนนในอีกไม่ช้า https://positioningmag.com/1286625 Mon, 06 Jul 2020 14:12:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286625 เทรนด์ Eco-Friendly หรือ เทรนด์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลายเป็นกระแสหลักของโลกที่สอดแทรกอยู่ในทุกวงการเลยก็ว่าได้ ไม่เว้นแม้แต่ในวงการตลาดรถยนต์ ที่ตอนนี้รถยนต์พลังงานทางเลือกอย่างรถยนต์ไฟฟ้า EV” (Electric Vehicle) กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานั้น มีรถยนต์ไฟฟ้าวางจำหน่ายในบ้านเราจำนวนไม่น้อย

ทำให้หลายคนที่กำลังอยากจะเปลี่ยนรถใหม่และมีความสนใจอยากจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า อาจมีข้อสงสัยและคำถามมากมายอยู่ในหัว วันนี้ TSE จึงได้รวบรวมเรื่องที่ควรรู้ก่อนจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจาก อาจารย์ ดร.สนันตน์เขม อิชโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ (AUTO-TU) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา มาช่วยไขข้อสงสัย

เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยแท้จริง

รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ 1. รถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) 2. รถยนต์ไฟฟ้าแบบขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อีเพาเวอร์ (E-POWER TECHNOLOGY) และ 3. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด HYBRID ELECTRIC VEHICLE (HEV)

แต่ใน 3 ประเภทนี้มีแค่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) เท่านั้น ที่ใช้เพียงพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว 100% โดยไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ตอบโจทย์ในเรื่องการลดใช้น้ำมัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ซึ่งหลักการทำงานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) ใช้เพียงแค่พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเท่านั้น เมื่อแบตเตอรี่หมดก็สามารถชาร์จไฟได้ ทำให้เป็นที่จับตามองของตลาดโลกเป็นอย่างมาก

ประหยัดค่าเชื้อเพลิงรถได้มากกว่า 3 เท่า

แม้รถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในระยะยาว รถยนต์ไฟฟ้านับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว เพราะค่าซ่อมบำรุง และค่าพลังงานไฟฟ้านั้นมีราคาถูกกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยน้ำมันนั้นมีราคาผันผวนตามตลาดโลก ส่วนค่าไฟฟ้านั้นค่อนข้างคงที่

โดยจะเสียค่าไฟครั้งละ 90-150 บาท/การชาร์จหนึ่งครั้ง หรือประมาณ 0.60 – 1 บาท/กิโลเมตร เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 บาท/กิโลเมตร ทำให้สามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงรถไปได้มากกว่า 2-3 เท่า

ในส่วนของเครื่องยนต์นั้น รถยนต์ธรรมดาแบบใช้น้ำมันจะมีความเสื่อมของเครื่องยนต์มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้า เพราะรถยนต์ไฟฟ้ามีส่วนประกอบน้อยกว่า และไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ทำให้ไม่ค่อยมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องยนต์เหมือนรถยนต์ทั่วไป

แต่สิ่งที่ต้องระวังคือความเสียหายที่ตัวแบตเตอรี่ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่แพงที่สุดชิ้นหนึ่งของรถยนต์ไฟฟ้า ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 372,000 – 558,000 บาท/คัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแบตเตอรี่มีความทนทานและมีอายุการใช้งานสูง จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยง่าย

มีระบบตัดไฟเมื่อแบตเพียงพอ หมดกังวลหากชาร์จแบตทิ้งไว้

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าแบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญและมีราคาสูง ทำให้หลายคนมีความกังวลและส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ซึ่งแบตเตอรี่และมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้านั้น มีการออกแบบระบบให้ถูกใช้ซ้ำๆ แม้จะมีการชาร์จบ่อยครั้ง ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ แถมยังมีระบบที่ช่วยตัดไฟเมื่อระดับไฟฟ้าในแบตเตอรี่เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว

แต่ทั้งนี้ แบตเตอรี่ก็สามารถเสื่อมสภาพตามการใช้งานได้ โดยทั่วไปมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-8 ปี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและระยะทางเป็นตัวกำหนด เช่น “Nissan LEAF” มีการรับประกันอายุของ แบตเตอรี่เอาไว้ที่ 8 ปี หรือ 160,000 กิโลเมตร ส่วนด้าน “MG ZS EV” มีการรับประกันอายุของแบตเตอรี่เอาไว้ที่ 8 ปี หรือ 180,000 กิโลเมตร ซึ่งอายุการใช้งานแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่ากับอายุการใช้งานของรถยนต์ทั่วไปเลยก็ว่าได้

เข้าถึงการชาร์จไฟหลากรูปแบบ

ปัจจุบันการชาร์จไฟของรถยนต์มี 3 แบบ คือ Quick Charger การชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) โดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า) จ่ายไฟเข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ใช้เวลาการชาร์จ 40-60 นาที ซึ่งเป็นวิธีการชาร์จไฟที่เร็วที่สุด ใช้ได้กับหัวชาร์จ CHAdeMo นิยมใช้ในแถบเอเชีย และหัวชาร์จ CCS นิยมใช้ในยุโรป และอเมริกา Normal Charger แบบเครื่องชาร์จ Wall Box เป็นการชาร์จด้วยไฟกระแสไฟฟ้าสลับ (AC Charging) ส่วนใหญ่จะเห็นกันในรูปแบบของตู้ชาร์จติดผนังตามห้างสรรพสินค้า หรือโรงแรม

ระยะเวลาในการชาร์จอาจมากถึง 4-9 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ และสเปกรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่น และ Normal Charger แบบต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง เหมาะสำหรับคนที่ต้องการชาร์จไฟที่บ้าน เพราะใช้เวลาชาร์จนานที่สุดเฉลี่ยที่ 12-15 ชั่วโมง โดยมิเตอร์ไฟของบ้านต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 15(45)A และเต้ารับไฟในบ้านต้องได้รับการติดตั้งใหม่ ให้เป็นเต้ารับเฉพาะสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ควรติดตั้งระบบตัดไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็มหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ปัจจุบันบริษัทเอกชนหลายแห่งมีการนำตัวชาร์จนี้เข้ามาจำหน่ายและพร้อมให้บริการติดตั้งตามบ้านแล้ว

มีหลากแบรนด์ดัง หลายสัญชาติให้เลือกใช้

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเริ่มคึกคักอย่างต่อเนื่อง เพราะหลายแบรนด์ต่างเข้ามาตีตลาดทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น การตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสักคันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนเป็นหลัก เช่น FOMM One รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติญี่ปุ่น ขนาด 4 ที่นั่ง แบตเตอรี่ความจุ 11.8 kWh วิ่งได้ไกล 160 กม./ชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้ง เต็ม 1 ครั้ง สำหรับหัวชาร์จจะมีเฉพาะแค่ AC Type2 MG ZS EV รถอเนกประสงค์พลังงานไฟฟ้า ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า PMSM 150 แรงม้า แรงบิด 350 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ความจุ 44.5 kWh วิ่งได้ไกลถึง 337 กม./ชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้ง สําหรับหัวชาร์จสามารถรองรับ AC Type2

CCS2 Hyundai IONIQ EV รถยนต์ไฟฟ้าสมรรถนะสูง โดยสูงสุดถึง 204 แรงม้า แรงบิด 395 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ ความจุ 28 kWh วิ่งได้ไกลถึง 280 กม./ชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้ง สำหรับหัวชาร์จสามารถรองรับ AC Type2 และ CCS2 ฯลฯ

หากต้องเดินทางไกลต้องแม่นวางแผน

ในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยมเท่าในต่างประเทศ เนื่องจากทัศนคติของคนทั่วไปยังมีความกังวลและไม่เข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างแท้จริง อีกทั้งอาจเป็นเพราะราคาที่สูงเกินไป เมื่อเทียบกับสมรรถนะและความสะดวกสบายที่ได้รับ เนื่องจากการชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้งจะสามารถวิ่งได้ระยะทางประมาณ 300-400 กม. เท่านั้น จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในเมือง แต่ผู้ที่ต้องเดินทางระยะไกลนั้นอาจต้องวางแผนให้ดี เพราะสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังมีจำนวนไม่มากพอ ทำให้ไม่สามารถรองรับการใช้งานอย่างทั่วถึง ความพร้อมการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจึงเรียกได้ว่ายังอยู่ในระดับเริ่มต้นเท่านั้น

นอกจากนี้ การสนับสนุนหรือการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นยังมีน้อยมาก ทำให้ผู้ผลิตและผู้ซื้อมองไม่เห็นประโยชน์ในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่มีมาตรการส่งเสริมและให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างชัดเจน เช่น การยกเว้นภาษี มีเลนพิเศษ ไม่เสียค่าที่จอดรถ ฯลฯ อย่างไรก็ดี ในอนาคตกระแสการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะมาแน่นอน ไม่ใช่แค่ต่างประเทศ แต่ประเทศไทยเองก็จะถูกกดดันให้ต้องเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้ ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่พร้อมก็ตาม

Source

]]>
1286625