Food Panda – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 13 Dec 2022 11:10:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Bloomberg รายงาน LINE MAN สนใจซื้อกิจการของ Foodpanda มูลค่าราวๆ 3,500 ล้านบาท https://positioningmag.com/1412246 Tue, 13 Dec 2022 09:07:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412246 LINE MAN Wongnai สนใจซื้อกิจการของ Foodpanda มูลค่าราวๆ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 3,500 ล้านบาท โดยบริษัทแม่ของ Foodpanda นั้นต้องการจะออกจากธุรกิจในประเทศที่ไม่ได้เป็นผู้นำธุรกิจส่งอาหาร อย่างไรก็ดี ดีลดังกล่าวยังไม่มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า LINE MAN Wongnai บริการส่งอาหาร เตรียมซื้อกิจการของ Foodpanda ด้วยมูลค่าราวๆ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 3,500 ล้านบาท และบริษัทยังมีแผนที่จะเข้า IPO ในตลาดหุ้นภายในช่วง 2-3 ปีหลังจากนี้

สาเหตุสำคัญก็คือบริษัทแม่ของ Foodpanda อย่าง Delivery Hero นั้นต้องการที่จะทำกำไรให้ได้ภายในปี 2023 จึงทำให้บริษัทต้องขายกิจการในประเทศที่ไม่ใช่ผู้นำตลาดในอาเซียนออกไป ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาบริษัทประสบปัญหาราคาหุ้นตกลงอย่างมาก

ปัจจุบัน Delivery Hero นั้นเป็นผู้นำธุรกิจส่งอาหารในมาเลเซียและฟิลิปปินส์

ขณะที่ LINE MAN Wongnai เพิ่งจะได้ระดมทุนมากถึง 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 10,000 ล้านบาท นำโดย GIC กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์ และบริษัท LINE Corporation นอกจากนี้ยังรวมถึงนักลงทุนรายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น BRV Capital Management บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR Bualuang Ventures และ Taiwan Mobile ร่วมลงทุนด้วยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีราคาในการซื้อขายของกิจการนั้นเป็นเพียงแค่ราคาที่คาดไว้ขั้นต้นเท่านั้น และยังไม่มีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจากทั้ง LINE MAN Wongnai และ Delivery Hero แต่อย่างใด 

Note: อัพเดต 18:19 แก้ไขคำผิด

]]>
1412246
“ฟู้ดแพนด้า” ฉีกสงครามฟู้ดเดลิเวอรี่ ปั้น “แพนด้ามาร์ท” ลุย Grocery โมเดล Quick Commerce https://positioningmag.com/1297533 Thu, 17 Sep 2020 09:28:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297533 ฟู้ดแพนด้าลุยฟีเจอร์แพนด้ามาร์ทรับส่งสินค้าอุปโภคบริโภค โมเดล Quick Commerce ที่จะสร้างจุดเปลี่ยนในตลาด การันตีการส่งภายใน 20 นาที นำร่องเปิด 7 โลเคชั่นใน กทม. ฉีกแนวจากสงครามฟู้ดเดลิเวอรี่

ลุย Grocery เต็มตัว ปั้นแพนด้ามาร์ท คุมสต็อกเอง

ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ร้อนแรงในไทย พร้อมกับการแข่งขันอันดุเดือด กลายเป็นตลาด Red Ocean สุดแดงเดือด ผู้เล่นหลายรายอัดโปรโมชันเพื่อดึงลูกค้ากันอย่างถล่มทลาย พร้อมกับการแตกบริการอื่นๆ เพื่อก้าวสู่ความเป็นซูเปอร์แอป

ฟู้ดแพนด้า เป็นผู้เล่นรายแรกๆ ที่ทำตลาดในไทยตั้งแต่ปี 2012 เพียงแต่ในช่วงนั้นตลาดเดลิเวอรี่ไม่ได้บูมเหมือนอย่างช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ฟู้ดแพนด้าไม่ได้เป็นเจ้าตลาด ปัจจุบันได้เคลมว่ามีร้านอาหารในมือรวม 90,000 ร้านค้า และมีการให้บริการเกือบครบทั้ง 77 จังหวัดแล้ว คาดว่าในเดือนตุลาคมจะครบทั่วประเทศไทย

แม้ผู้เล่นจะเข้ามาทำตลาดมากขึ้น แต่ฟู้ดแพนด้ายังคงวางจุดยืนที่อาหารเหมือนกับชื่อ แต่เพิ่มเป็น Food and More Deliver ทำให้ปัจจุบันมีบริการส่งอาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภค ยังไม่แตกไปบริการอื่นๆ อย่างส่งพัสดุ หรือส่งคน อย่างผู้เล่นรายอื่น

ล่าสุดฟู้ดแพนด้าได้ปั้นบริการแพนด้ามาร์ท (pandamart)” เพื่อรุกตลาด Grocery หรือสินค้าอุปโภคบริโภคแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งโมเดลนี้ได้ต่อยอดความสำเร็จจากประเทศสิงคโปร์ที่ได้เปิดให้บริการมาเกือบ 1 ปี มีการเติบโต 20-25 เท่า ได้มาปรับใช้ในประเทศไทย

เทรนด์ Quick Commerce มาแรง

ฟู้ดแพนด้าเปิดแพนด้ามาร์ทสาขาแรกที่ซอยลาดพร้าว 116 (Omni Business) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีพื้นที่รวม 400-500 ตารางเมตร ใช้งบลงทุน 3-4 ล้านบาท มีพนักงานที่สาขา 7-10 คน ที่สาขานี้มีแพนด้าคิทเช่น (panda kitchen)” รวมด้วย เป็นเสมือนครัวกลางที่รวมร้านอาหารให้สาขาขายข้ามเขตได้

ความสำคัญของแพนด้ามาร์ทคือ ฟู้ดแพนด้าได้สร้างโกดังสินค้าเอง บริหารจัดการเอง เก็บดาต้าสินค้ายอดนิยม ตอนนี้มีสินค้ารวม 2,700 รายการ มีการดีลซื้อสินค้ากับซัพพลายเออร์ทำให้ได้ราคาที่ถูกกว่าร้านค้าปลีกอื่นๆ

รวมถึงเป็นการต่อยอดโมเดล Quick Commerce การซื้อของออนไลน์ไม่ใช่แค่สะดวก แต่ต้องรวดเร็ว ตอนนี้แพนด้ามาร์ทการันตีการจัดส่งสินค้าภายใน 20 นาที

โทมัส บูซัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ฟู้ดแพนด้า (ประเทศไทย) จำกัด

โทมัส บูซัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ฟู้ดแพนด้า (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า

แพนด้ามาร์ทเปิดที่แรกที่ประเทศสิงคโปร์ ได้รับการตอบรับอย่างดี ยิ่งในวิกฤตการณ์ COVID-19  มองเห็นโอกาสว่าในไทยมีการใช้บริหารธุรกิจ Quick Commerce จำนวนมาก คาดว่าจะได้รับการตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ

ฟีเจอร์แพนด้ามาร์ทจะอยู่ในส่วนหนึ่งของเมนู Shops บนแอปพลิเคชัน โดยจะแบ่งบริการเป็น 2 ส่วน ในส่วนของแพนด้ามาร์ท ซื้อสินค้าภายในโกดังของฟู้ดแพนด้าเอง และในส่วนของร้านค้าปลีกอื่นๆ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต แต่ละสโตร์จะมีพนักงานของฟู้ดแพนด้าประจำอยู่ 1 คน ถ้ามีออเดอร์เข้ามาก็จะเป็นคนหยิบสินค้าเพื่อจัดส่งให้กับคนขับ

จับตลาดคนซื้อของหน้าปากซอย

ทางด้านจักรินทร์ สะสินินผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการแพนด้ามาร์ท บริษัท ฟู้ดแพนด้า (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงอินไซต์ของโมเดลนี้ว่า

จุดแข็งของฟู้ดแพนด้าคือ การส่งอาหารมาตลอด ส่งอาหารรวดเร็ว แต่ตอนนี้มีไรเดอร์ (คนขับ) มากขึ้น ลูกค้ามีความต้องการมากขึ้น เลยมาทำตลาด Grocery ยิ่งตอนนี้พฤติกรรมลูกค้าอยากได้สินค้าเร็วขึ้น ต้องขยายบริการมาตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ตลาดอีคอมเมิร์ซเน้นความไว ความสะดวกอยู่แล้ว ต้องพัฒนาตัวเองมากขึ้น ให้ลูกค้าไม่ต้องรอ ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปซื้อของเอง

การการันตีเวลาในการส่ง 20 นาทีนั้น จักรินทร์บอกว่าจริงๆ แล้วอาจจะใช้เวลาเฉลี่ย 15 นาทีด้วยซ้ำ เมื่อไรเดอร์รับออเดอร์ ส่งออเดอร์มาทางแพนด้ามาร์ท ใช้เลาหยิบของแค่ 2 นาทีก็สามารถจัดส่งได้แล้ว

บริการนี้ต้องการจับกลุ่มวันรุ่น หนุ่มสาว หรือผู้สูงอายุ หรือพฤติกรรม Last Minute ที่สินค้าหมดกะทันหัน ให้เขาเลือกสั่งสินค้าโดยไม่ต้องออกไปซื้อเอง ไม่ต้องเดินไปซื้อที่หน้าปากซอย แต่เราบริการส่งให้

นำร่อง 7 แห่งใน กทม.

ปัจจุบันแพนด้ามาร์ทมีทั้งหมด 7 เขตพื้นที่ใน กทม. ได้แก่ ลาดพร้าว, วัฒนา, สาทร, สุทธิสาร, งามวงศ์วาน, บางนา และธนบุรี หลักในการเลือกเปิดนั้นจะดูจากสถานที่ตั้ง จำนวนประชากร และจำนวนการสั่งของคนละแวกนั้น โดยมีการตั้งเป้าขยายในครอบคลุม 30 แห่งทั่วประเทศ เน้นที่ กทม. และหัวเมืองสำคัญก่อน

หลังจากที่ได้ทดลองเปิดตั้งแต่เดือนมิถุนายน พบว่ามีจำนวนการสั่งเฉลี่ย 400 ออเดอร์/สาขา/วัน มียอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 300 บาท/บิล ซึ่งเป็นการใช้จ่ายสูงกว่าบริการส่งอาหาร สินค้ายอดนิยม ได้แก่ เครื่องดื่ม ขนม น้ำแข็ง สินค้า Personal Care ช่วงเวลาที่ใช้บริการมากที่สุดเป็นช่วงเที่ยง กับ 17.00-22.00 .

เบื้องต้นทางฟู้ดแพนด้าใจป้ำ เปิดให้ผู้บริโภคได้ลองใช้งาน ถ้าสั่งซื้อสินค้าขั้นต่ำ 50 บาท ก็ไม่เสียค่าส่ง ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ โดยตอนนี้ยังไม่มีกำหนดว่าหมดเขตเมื่อไหร่

ถ้าถามว่าแล้วอย่างนี้จะมีกำไรหรือ? เพราะไม่มีรายได้จากค่าส่ง จักรินทร์บอกว่า การที่คุมสต็อกได้ คุมไรเดอร์ได้ก็ทำให้อยู่ได้

ปั้นเป็นอีกโมเดลสร้างรายได้

โดยปกติแล้วตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่จะพึงพิงรายได้จากค่า GP จากร้านค้า ค่าโฆษณา และค่าส่งจากลูกค้า แต่ด้วยการแข่งขันอันหนักหน่วง ทำให้ต้องเน้นไปที่การเก็บค่า GP กับร้านค้า

ปัจจุบันฟู้ดแพนด้ามีโมเดลหารายได้ 2 ส่วน 1. Commission การเก็บค่าคอมมิชชั่นจากร้านค้าต่างๆ และ 2. Retail Business การเป็นพาร์ตเนอร์กับผู้เล่นค้าปลีกกับการใช้บริการสินค้าอุปโภคบริโภค

pandamart

ซึ่งในอนาคตแพนด้ามาร์ทอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโมเดล Retail Business ที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการเก็บค่าคอมมิชชั่นก็เป็นได้

ตอนนี้ฟู้ดแพนด้ามีคนขับ หรือไรเดอร์รวม 90,000 คนทั่วประเทศ มีหลักการบริหาร แบ่งโซนเป็นของตัวเองชัดเจน ทำให้แต่ละคนวิ่งไม่ไกลเกินไป ไม่ต้องแย่งงานกัน ได้ค่ารอบเยอะ วิ่งได้ถี่ขึ้น ไรเดอร์สามารถเลือกโซนเองได้ คุมให้วิ่งไม่เกิน 5 กิโลเมตร ทำให้ไรเดอร์ก็แฮปปี้ในการรับงาน

เรียก่าการลุยโมเดล Grocery อาจจะเป็นอีกหนึ่งน่านน้ำที่เหล่าฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องขยายเพื่อขยายฐานลูกค้ามากขึ้นอีกทั้งต้องหนีจากการแข่งขันอันดุเดือดได้ด้วย

]]>
1297533
เชนร้านอาหารพร้อมใจไม่คิดค่าส่งเดลิเวอรี่! ผู้ส่งเน้นมาตรการ Contactless ลดการสัมผัส https://positioningmag.com/1269331 Mon, 23 Mar 2020 14:00:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269331 ร้านอาหารแบรนด์ดังพร้อมใจงดค่าส่งเดลิเวอรี่ เพื่อฝ่าวิกฤต COVID-19 ไปด้วยกัน โดยส่วนใหญ่มีการสั่งขั้นต่ำ 100-200 บาท มีการจัดส่งฟรี พร้อมกับแนะนำการชำระเงินแบบ Cashless ป้องกันการสัมผัสเงิน

งดค่าส่งผ่านเดลิเวอรี่

จากมาตรการกึ่งๆ ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ ทำให้ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าต้องปิดให้บริการชั่วคราว ส่วนร้านอาหารต้องปรับรูปแบบเป็นแบบซื้อกลับบ้าน หรือเดลิเวอรี่เท่านั้น เพื่อป้องกันการรวมตัวกันของคนกลุ่มใหญ่

นี่คือวิกฤตครั้งใหญ่ที่คนไทยต้องเผชิญด้วยกัน!

กลายเป็นการปรับตัวของทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ทางร้านเองก็ลูกค้าหาย รายได้หดแน่นอน เพราะไม่มีลูกค้าทานในร้าน ต้องซื้อกลับบ้านอย่างเดียว ผู้บริโภคเองก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น

หลังจากที่เกิดการล็อกดาวน์ปิดห้าง ปิดศูนย์การค้า แน่นอนว่าร้านอาหารของแบรนด์ใหญ่ๆ ย่อมอยู่ในศูนย์การค้า แม้จะไม่ได้มีมาตรการว่าต้องปิดให้บริการ แต่ก็เป้นการให้ปรับรูปแบบเป็นซื้อกลับบ้าน และเดลิเวอรี่เท่านั้น

หลายแบรนด์ หลายเชนร้านอาหารดังๆ ก็ต่างพร้อมใจในการปรับตัวครั้งนี้ พร้อมกับลุยบริการเดลิเวอรี่กันอย่างเต็มที่ ซึ่งบางแบรนด์ถึงกับออกนโยบายไม่คิดค่าส่งเดลิเวอรี่ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้บริโภคสั่งอาหารทาที่บ้าน และเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เครือที่เห็นชัดสุดก็คือ “ไมเนอร์ฟู้ด” ที่ผนึกร้านอาหารในเครืออย่าง เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, เบอร์เกอร์ คิง, ซิซซ์เล่อร์, สเวนเซ่นส์, แดรี่ ควีน และเดอะ คอฟฟี่ คลับสามารถสั่งอาหารได้โดยไม่เสียค่าจัดส่ง เพียงแค่มีขั้นต่ำ 100 บาท โดยสั่งผ่านช่องทาง www.1112delivery.com หรือแอปพลิเคชัน 1112Delivery (ยกเว้นบอนชอนที่ต้องเสียค่าส่ง เพราะยังไม่อยู่ในแอปพลิเคชัน)

ทางด้าน “แมคโดนัลด์” เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดก็ขอร่วมมาตรการไม่คิดค่าจัดส่งอาหาร เพียงแค่มีการสั่งขั้นต่ำ 200 บาท และชำระเงินผ่านช่องทางบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้ Cashless ลดการสัมผัสเงินสดโดยตรง

MK Restaurants ก็งดค่าบริการจัดส่งด้วยเช่นกัน เมื่อสั่งอาหารขั้นต่ำ 150 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เฉพาะพื้นที่ให้บริการ สามารถสั่งได้ผ่านช่องทาง www.mk1642.com, Call center 1642 และHotline 02-2485555

ส่วน CRG หรือเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป มีเปิดให้บริการเดลิเวอรี่ในทุกแบรนด์ร้านอาหารทั้งผ่านคอลเซ็นเตอร์ 1312 และผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่

แต่แบรนด์ “อร่อยดี” เป็นแบรนด์ร้านอาหารสตรีทฟู้ดน้องใหม่ ได้เปิดให้บริการแบบซื้อกลับ และบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่มีค่าจัดส่ง

สำหรับเชนร้านอาหารอื่นๆ ยังคงเปิดให้บริการเดลิเวอรี่อย่างเช่น “โออิชิ กรุ๊ป” เปิดให้บริการทั้งในช่องทางคอลเซ็นเตอร์ และเว็บไซต์ รวมทั้งกับพันธมิตรฟู้ดเดลิเวอรี่

ผู้ส่งใช้มาตรการ Contactless ลดการสัมผัสโดยตรง

ในส่วนของผู้ให้บริการเดลิเวอรี่ ก็มีการปรับตัว ออกมาตรการเพื่อรองรับการแพ่รระบาดของ COVID-19 เช่นกัน โดยที่บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ต่างใช้มาตรการ Contactless Delivery เพื่อลดการสัมผัสโดยตรง

ได้เห็น Grab และ KFC ได้นำร่องบริการนี้ก่อนใครเพื่อน เพื่อป้องกันความปลอดภัยของทั้งตัวผู้ส่ง และผู้สั่งอาหารเองก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งหมด

พร้อมแนะนำชำระเงินผ่านช่องทาง Cashless หรือบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือ GrabPay เพื่อลดความเสี่ยงการสัมผัสเชื้อโรคโดยเงินสด

ล่าสุดทาง LINE MAN ได้เพิ่มฟีเจอร์ Contactless ให้ลูกค้าได้เลือกเพื่อลดการสัมผัสติดต่อระหว่างพนักงานขับและลูกค้า พร้อมด้วยฟีเจอร์ Self Pick-up ให้สามารถเลือกสั่งอาหารผ่านแอปฯ และไปรับเองที่ร้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งระบบจะทยอยขึ้นให้บริการภายในเดือนเมษายนนี้

ส่วน KERRY Express ได้เปิดบริการรับส่งสินค้าแบบ Door to Door ลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ประกอบการและลูกค้าทั่วไป เป็นบริการจัดการไปรับสินค้าถึงหน้าบ้าน

ช้อปปิ้งออนไลน์ก็ส่งฟรี

ในส่วนของห้างสรรพสินค้าก็ไม่น้อยหน้า แม้จะมีการปิดทำการในช่องทางออฟไลน์ แต่ชอ่งทางออนไลน์ยังเดินหน้าต่อ โดยกลุ่ม CRC หรือเซ็นทรัล รีเทล ได้ผุดการช้อปปิ้งออนไลน์ให้คึกคักมากขึ้น

ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เปิดบริการ “เซ็นทรัล แอท ยัวร์ โฮม” เปิดให้ชอป 3 ช่องทาง ได้แก่ www.central.co.th, ผู้ช่วยส่วนตัวผ่านไลน์ @CentralOfficial (10.00-21.00 น.) และผ่านโทรศัพท์ 0-2793-7555 (09.00-21.00 น.) และประกาศ “ส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำ” ถึงวันที่ 30 เม.ย. 2563 เปิดให้ชอปผ่านหน้าจอตลอด 24 ชั่วโมง

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เปิดให้ช้อป 2 ช่องทาง ได้แก่ www.robinson.co.th และผู้ช่วยช้อปส่วนตัวผ่านไลน์ @robinson (10.30-20.00 น.)

ยังรวมไปถึงทุกธุรกิจในเครือเซ็นทรัล รีเทล ได้แก่ เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป (CMG), ซูเปอร์สปอร์ต, เพาเวอร์บาย, ไทวัสดุ, บ้านแอนด์บียอนด์, วีฟิกซ์ รวมทั้งท็อปส์ออนไลน์

จะเห็นว่าในวิกฤตต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา แต่ทางด้านผู้ประกอบการก็มีการปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สุดท้ายแล้วถ้าทุกคนร่วมมือกัน ป้องกันตัวเองให้มาที่สุด ประเทศไทยจะฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ด้วยดี

]]>
1269331