FTC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 18 Jun 2024 12:01:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รัฐบาลสหรัฐฯ ฟ้อง Adobe ในข้อหาเอาเปรียบผู้บริโภค บีบให้สมัครสมาชิกบริการรายปี ถ้ายกเลิกโดนชาร์จค่าธรรมเนียมแสนแพง https://positioningmag.com/1478546 Tue, 18 Jun 2024 10:08:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478546 คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ ได้ยื่นฟ้อง Adobe บริษัทซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบชื่อดัง จากเรื่องการปกปิดในเรื่องการคิดค่าธรรมเนียม และมีการซ่อนรายละเอียดไว้ โดยถ้าหากลูกค้ายกเลิกการสมัครเป็นสมาชิกจะถูกหักค่าธรรมเนียมที่แสนแพง ทำให้ผู้บริโภคต้องทนใช้งานบริการเป็นระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ดีบริษัทได้เตรียมตัวสู้คดีดังกล่าว

คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FTC) ได้ยื่นฟ้อง Adobe บริษัทซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบชื่อดัง จากเรื่องการปกปิดในเรื่องการคิดค่าธรรมเนียม และมีการซ่อนรายละเอียดไว้ ถ้าหากลูกค้าต้องการยกเลิกบริการล่วงหน้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก โดยบริษัทนั้นเตรียมตัวที่จะต่อสู้ในคดีดังกล่าวถึงที่สุด

ในเอกสารของ FTC ที่เผยแพร่กับสื่อได้ชี้ว่า Adobe ล้มเหลวในการเปิดเผยข้อกำหนดแก่ลูกค้า มีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมถ้าหากมีการยกเลิกสมาชิกก่อนกำหนด ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวผู้ใช้งานไม่ได้สังเกตเห็นได้ง่าย รวมถึงกระบวนการในการยกเลิกสมาชิกที่ถือว่ายุ่งยากรวมถึงบริษัทยังปฏิเสธที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนื่องจากจะส่งผลเสียต่องบการเงินของบริษัท

สำหรับค่าใช้จ่ายในการยกเลิกสมาชิกที่ FTC กล่าวถึงคือ Adobe จะมีการหักค่าใช้จ่าย 50% ของค่าสมาชิกในแต่ละเดือนที่เหลือ

Samuel Levine ผู้อำนวยการของ FTC ได้กล่าวว่า ชาวอเมริกันรู้สึกเบื่อหน่ายกับการที่บริษัทต่างๆ ซ่อนเงื่อนไขต่างๆ ระหว่างการสมัครสมาชิก แล้วพยายามกีดขวางไม่ให้ผู้ใช้งานยกเลิกสมาชิก และ Adobe ได้พยายามให้ลูกค้าเป็นสมาชิกตลอดทั้งปีด้วยค่าธรรมเนียมยกเลิกก่อนกำหนด และยังไม่ให้ลูกค้าสามารถยกเลิกการเป็นสมาชิกอย่างง่ายดาย

แนวทางในการฟ้องร้อง Adobe นั้น FTC ได้ใช้แนวทางเดียวกับการฟ้องร้องเช่นเดียวกับกรณีของ Amazon ที่ให้สมาชิกสมัครใช้งาน Amazon Prime แต่สร้างเงื่อนไขทำให้การยกเลิกสมาชิกเป็นไปอย่างยากลำบาก

ในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ หรือ FTC ได้พยายามเข้ามาควบคุมดูแลบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐฯ ซึ่งกรณีล่าสุดที่บริษัทเทคโนโลยีได้ถูกสอบสวนคือกรณีการผูกขาดเทคโนโลยี AI

ขณะเดียวกัน Adobe เองก็ถือว่าถูกหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามาสอดส่องอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการซื้อบริษัทซอฟต์แวร์อย่าง Figma มูลค่า 20,000 ล้านเหรียญ ก่อนที่จะมีการยกเลิกดีลดังกล่าว เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลมองว่าบริษัทมีโอกาสที่จะผูกขาดมากขึ้น

อย่างไรก็ดี Dana Rao ที่ปรึกษาทั่วไปของ Adobe ได้โต้แย้งข้อเรียกร้องดังกล่าวและกล่าวว่าจะสู้คดีดังกล่าวจนถึงที่สุด โดยกล่าวว่า บริษัทมีความโปร่งใสกับข้อกำหนดและเงื่อนไขของข้อตกลงการสมัครสมาชิกของเรา และมีกระบวนการยกเลิกสมาชิกที่เรียบง่าย”

ที่มาBBC, The Verge

]]>
1478546
ญี่ปุ่นเตรียมสืบสวน Google ว่าละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดบริการค้นหาข้อมูลหรือไม่ https://positioningmag.com/1449000 Mon, 23 Oct 2023 13:29:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449000 หน่วยงานกำกับดูแลทางด้านการค้าของญี่ปุ่นเตรียมสืบสวนว่า Google ละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือไม่ หลังจากที่ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีจากสหรัฐฯ ได้คืนรายได้ส่วนหนึ่งให้กับผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Android โดยมีเงื่อนไขว่าไม่ติดตั้งบริการค้นหาข้อมูลของคู่แข่งรายอื่น การสืบสวนดังกล่าวตามรอยหน่วยงานในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

คณะกรรมาธิการการค้าที่เป็นธรรมของญี่ปุ่นได้ประกาศว่าได้เริ่มสอบสวน Google เพื่อสืบว่าบริษัทเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริการายดังกล่าวได้ละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดในบริการค้นหาหรือไม่ โดยหน่วยงานกำกับดูแลทางด้านการค้าของญี่ปุ่นได้เดินตามรอยหน่วยงานในยุโรปและประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ

หน่วยงานกำกับดูแลทางด้านการค้าของญี่ปุ่น ได้กำลังสอบสวนว่า Google ได้คืนรายได้ส่วนหนึ่งให้กับผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Android โดยมีเงื่อนไขว่าจะไม่ติดตั้งบริการค้นหาของคู่แข่งรายอื่น นอกจากนี้ยังรวมถึงมีการตั้งค่าให้ Google Search เป็นค่าเริ่มต้นของบริการ

ปัจจุบันบริการค้นหาข้อมูล Google ได้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดราว ๆ 90%

ขณะเดียวกันหน่วยงานดังกล่าวยังเตรียมพิจารณากรณีที่ Google ให้ผู้ผลิตโทรศัพท์ Android ติดตั้งแอปพลิเคชัน Google Search และ Google Chrome ผ่านแอปพลิเคชัน Google Play ของบริษัท

ในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลในยุโรปและประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ฯลฯ พยายามที่จะสืบสวน Google ว่ามีความพยายามที่จะผูกขาดในบริการค้นหา หรือแม้แต่ในฝั่งของยุโรปที่มีความพยายามจะลดการผูกขาดโดยแก้กฎหมายให้ผู้เล่นรายอื่น ๆ เข้ามาแข่งขันได้สูสี หรือทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์มากขึ้น

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการค้าที่เป็นธรรมของเกาหลีใต้ ได้ปรับ Google บริษัทเป็นจำนวน 42,100 ล้านวอน หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 1,100 ล้านบาท เนื่องจากขวางไม่ให้ผู้พัฒนาปล่อยเกมมือถือบนแพลตฟอร์มคู่แข่งของเกาหลีที่ชื่อว่า One Store มาแล้ว

อย่างไรก็ดีคณะกรรมาธิการการค้าที่เป็นธรรมของญี่ปุ่น ได้ยืนยันว่า Google ยังไม่มีกิจกรรมที่ผิดกฎหมายใด ๆ ณ เวลานี้ ขณะที่ทางฝั่งของ Google เองได้กล่าวว่าจะให้ความร่วมมือกับทางหน่วยงานของญี่ปุ่นในการสอบสวนประเด็นดังกล่าว

ที่มา – Reuters, Manichi

]]>
1449000
FTC สหรัฐฯ ขวางดีล Microsoft ซื้อกิจการ Activision Blizzard ชี้ผูกขาดอุตสาหกรรมเกม https://positioningmag.com/1411972 Sat, 10 Dec 2022 09:23:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411972 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการค้าของสหรัฐอเมริกา (FTC) ได้ฟ้องบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ในการเข้าซื้อกิจการของบริษัทเกม Activision Blizzard ซึ่งดีลดังกล่าวมีมูลค่ามากถึง 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการฟ้องดังกล่าวเพื่อต้องการจะหยุดไม่ให้มีการซื้อกิจการดังกล่าว

ผลโหวตของคณะกรรมการ FTC นั้นมีมติเอกฉันท์ถึง 3 ต่อ 1 เสียงให้ดำเนินการฟ้อง Microsoft เพื่อที่จะขวางไม่ให้มีดีลการซื้อกิจการ Activision Blizzard หลังจากดีลดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา และทาง FTC ได้พิจารณาดีลดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ โดยความเห็นของ FTC มองว่าการเข้าซื้อกิจการนั้นถือผิดกฎหมาย และสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคเป็นวงกว้าง

เหตุผลที่ทำให้ FTC ต้องออกมาขวางดีลดังกล่าวนี้เนื่องจากมองว่า Microsoft นั้นมีธุรกิจเกมและเครื่องเกมคอนโซล Xbox ถ้าหากการซื้อกิจการของ Activision Blizzard จะส่งผลทำให้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสามารถสร้างความได้เปรียบบนแพลตฟอร์มตัวเอง และยังอาจกระทบกับผู้เล่นเกมหลายล้านคนทั่วโลก

นอกจากนี้หน่วยงานกำกับดูแลรายนี้ยังได้ยกพฤติกรรมของ Microsoft หลังซื้อกิจการบริษัทเกม ZeniMax ซึ่งเป็นเจ้าของเกม Starfield และ Redfall ในช่วงปี 2021 ว่าบริษัทได้ให้เกมนั้นมีวางขายแค่บนแพลตฟอร์ม Xbox รวมถึงบน PC เท่านั้น ซึ่งถือสร้างความได้เปรียบให้กับ Microsoft และบริษัทอาจทำพฤติกรรมดังกล่าวได้อีก

อย่างไรก็ดี Brad Smith ผู้บริหารของ Microsoft มองว่าดีลดังกล่าวจะถือว่าสร้างการแข่งขันต่อวงการเกมและเป็นประโยชน์ต่อผู้เล่นเกมเสียด้วยซ้ำ และพร้อมที่จะให้รายละเอียดกับทาง FTC ในเรื่องดังกล่าว รวมถึงบริษัทพร้อมสู้ในการฟ้องร้องครั้งนี้

สำหรับเกมที่สร้างชื่อเสียงของ Activision Blizzard เช่น Call of Duty หรือแม้แต่ Candy Crush ไปจนถึงเกมซีรีส์เกมอย่าง StarCraft รวมถึง Warcraft และถ้าหากดีลดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริงแล้วจะทำให้ Microsoft นั้นกลายเป็นบริษัทเกมรายใหญ่อันดับ 3 ในรายได้ตามหลัง Tencent จากจีน รวมถึง Sony จากญี่ปุ่น

ที่มา – Fox 8, ABC News

]]>
1411972
ส่อง 107 ดีลซื้อกิจการของ ‘3 บิ๊กเทคคอมปานี’ ตลอดปี 2021 ที่เย้ยกฎหมายการ ‘ผูกขาดตลาด’ https://positioningmag.com/1371296 Mon, 24 Jan 2022 08:05:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371296 หากไม่ใช่ดีลใหญ่จริง ๆ หลายคนคงจะไม่รู้ว่า 3 บิ๊กเทคคอมปานีระดับโลกอย่าง Amazon, Microsoft และ Alphabet ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทในปี 2021 รวมกันถึง 107 ดีลเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ สหรัฐฯ เองก็กำลังพยายามควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการ ‘ผูกขาดตลาด’

ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย Dealogic พบว่าในปี 2021 Alphabet บริษัทแม่ของ Google ได้เข้าซื้อกิจการไป 22 ดีล รวมมูลค่า 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน Microsoft ปิดไป 56 ดีล รวมมูลค่า 2.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Amazon ปิดที่ 29 ดีล รวมมูลค่า 1.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวนับเฉพาะมูลค่าของ ข้อตกลงที่เปิดเผยต่อสาธารณะเท่านั้น

จากปริมาณดีลการเข้าซื้อกิจการของทั้ง 3 บริษัทถือว่ามี จำนวนมากที่สุดในรอบ 10 ปี ในขณะที่ปี 2022 นี้ก็เริ่มเห็นความเคลื่อนไหวใหญ่จาก Microsoft ที่เตรียมซื้อ Activision Blizzard บริษัทผู้ผลิตวิดีโอเกมชื่อดังอย่าง Call of Duty, World of Warcraft และ Candy Crush ในมูลค่า 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากจำนวนดีลดังกล่าวกำลังแสดงให้เห็นว่า เหล่าบริษัทใหญ่ไม่ได้เกรงกลัวการปราบปรามการผูกขาดที่จะเกิดขึ้น หรือก็คือพวกเขาไม่เชื่อว่าหน่วยงานกำกับดูแลจะสามารถดำเนินคดีในศาลหรือปิดกั้นการเข้าซื้อกิจการได้

อย่างไรก็ตาม Lina Khan ประธานคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ (Federal Trade Commission : FTC) ที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2021 ได้กล่าวว่า “หน่วยงานของเธอต้องการบังคับใช้นโยบายต่อต้านการผูกขาดอย่างจริงจัง” โดยที่ผ่านมาเธอได้ยื่นคำร้องแก้ไขต่อ Facebook แล้ว โดยอ้างว่าการเข้าซื้อกิจการ Instagram และ WhatsApp มีส่วนทำให้สถานะปัจจุบันของบริษัทนั้นผูกขาดเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media)

จนถึงตอนนี้ FTC ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ Khan นั้นใช้กลยุทธ์ในการยับยั้งการเข้าซื้อกิจการของบริษัท โดยหนึ่งในการดำเนินการดังกล่าวคือ FTC จะดำเนินการตรวจสอบข้อตกลงของดีลต่อไป แม้ว่าจะเลยระยะเวลาตามกฎหมายก็ตาม โดย FTC จะส่งจดหมายเตือนว่า ธุรกิจสามารถควบรวมกิจการได้โดยยอมรับความเสี่ยง เพราะ FTC อาจยื่นฟ้องในภายหลังเพื่อให้เลิกทำธุรกรรมได้

Lina Khan ประธานคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ ภาพจาก Reuters

อย่างไรก็ตาม องค์กรดังกล่าวกำลังเจอกับความท้าทายด้านเวลาเพื่อให้ทันกับการควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และสิ่งที่ยังมองไม่เห็นคือ หน่วยงานเต็มใจที่จะทำการต่อต้านการผูกขาดได้แค่ไหน เพราะด้วยงบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน

“การต่อสู้กับ Big Tech ต้องใช้ความกล้าหาญ เพราะบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่มีทรัพยากรมหาศาล และพวกเขาไม่อายที่จะปรับใช้ทรัพยากรเหล่านั้น เรากำลังแสดงบริษัทเหล่านี้ว่าเจ้าหน้าที่จะไม่ถอยเพียงเพราะแค่บริษัทเหล่านี้พยายามข่มขู่เรา” Lina Khan กล่าว

ที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่มักจ่ายเงินให้ทนายความหลายสิบคน ทั้งภายในและนอกที่ปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับโอกาสในการอนุมัติข้อตกลงเข้าซื้อกิจการไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Amazon, Meta (Facebook), Alphabet และ Apple ซึ่งบริษัททั้งหมดมีมูลค่ารวมเกือบ 9.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน

ทั้งนี้ การออกมาปราบปรามการผูกขาดจากบริษัทใหญ่มาจากนโยบายของ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน โดยที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลการต่อต้านการผูกขาดที่เขาเลือกได้มีการฟ้องร้องการเข้าซื้อกิจการของ Simon & Schuster สำนักพิมพ์คู่แข่งของ Penguin Random House ในเดือนพฤศจิกายน และ FTC ก็ได้ฟ้องการเข้าซื้อกิจการ Arm ผู้ให้บริการออกแบบชิปในสหราชอาณาจักรมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ของ Nvidia ในเดือนธันวาคม

Source

]]>
1371296