Home Isolation – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 27 Aug 2021 11:42:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 COVID-19 ระบาดหนัก ภาครัฐเปิด Home Isolation “อสังหาฯ” ดูแล “ลูกบ้าน” กันอย่างไร? https://positioningmag.com/1348878 Fri, 27 Aug 2021 09:16:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348878 ประเทศไทยเผชิญการระบาดโรค COVID-19 รอบที่หนักที่สุดที่เคยเกิดขึ้น จนภาครัฐต้องปรับระบบให้มี “Home Isolation” สำหรับผู้ติดเชื้อระดับสีเขียว เมื่อมีการดูแลผู้ติดเชื้อภายใน “บ้าน” บริษัทผู้พัฒนาอสังหาฯ และนิติบุคคล มีมาตรการช่วยเหลือลูกบ้านอย่างไร เพื่อผ่านพ้นวิกฤตนี้ได้อย่างปลอดภัย

หลายคนที่เคยมีเหตุต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ไม่ว่าจะเพื่อดูอาการหรือยืนยันติดเชื้อแล้ว น่าจะทราบดีว่าการกักตัว 14 วันหรือจนกว่าจะหายป่วยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้กักตัวมักประสบความลำบากทั้งด้านอาหาร ยา อุปกรณ์การแพทย์ ไปจนถึงด้านจิตใจ หลายคน ‘จิตตก’ และเป็นกังวลอย่างมาก

เมื่อการกักตัวเกิดขึ้นในบ้าน ยิ่งภาครัฐอนุญาตให้จัดระบบ Home Isolation ก็ยิ่งมีผู้กักตัวมากยิ่งขึ้น ไปดูกันว่าภาคธุรกิจอสังหาฯ และบริหารจัดการอาคาร (นิติบุคคล) มีมาตรการใดแล้วบ้างเพื่อช่วยให้ลูกบ้านใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย

1.บริการส่งอาหาร-ของใช้ถึงหน้าห้อง

พื้นฐานแรกสุดของคนกักตัวคือความกังวลด้านอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่กักตัวใน “คอนโดมิเนียม” เพราะแม้ว่าปัจจุบันจะมีบริการเดลิเวอรี่ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งอาหารปรุงสุก ของสด ของแห้ง น้ำดื่ม แต่ถ้าอาศัยอยู่ในคอนโดฯ กฎระเบียบของทุกตึกจะไม่อนุญาตให้พนักงานส่งสินค้าขึ้นไปส่งถึงหน้าห้องชุด

ดังนั้น นิติบุคคลหลายแห่งจึงต้องมีมาตรการพิเศษช่วยเหลือผู้ที่กักตัวในห้องพัก โดยเจ้าหน้าที่โครงการจะผลัดเวรขึ้นไปส่งอาหารหรือของใช้ที่ลูกบ้านสั่งซื้อออนไลน์ให้ถึงหน้าห้อง อำนวยความสะดวกให้ลูกบ้านใช้ชีวิตในห้องได้

 

2.มอบชุด Health Kit ดูแลสุขภาพ

บริษัทอสังหาฯ หรือนิติบุคคลบางแห่งมีการจัดซื้อมอบชุดดูแลสุขภาพให้ลูกบ้านเป็นพิเศษ เช่น MQDC กับ พรีโม (ในเครือออริจิ้น) มีนโยบายคล้ายกันคือ มอบชุดดูแลตนเองประกอบด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ปรอทวัดไข้ และยาจำเป็น ให้กับลูกบ้านที่กักตัว หรือ เสนาฯ มอบยาฟ้าทะลายโจรให้ลูกบ้านทั้งหมดบ้านละ 1 ขวด เป็นต้น ขณะที่ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ (ในเครือแสนสิริ) มีการปลูกฟ้าทะลายโจรและกระชายในโครงการ 230 แห่งเพื่อเตรียมไว้สำหรับแปรรูปแจกลูกบ้าน

แม้ว่าการเข้าระบบ Home Isolation ของภาครัฐ จะมีการจัดส่งยา เครื่องวัดออกซิเจน เครื่องวัดไข้ และอาหาร 3 มื้อให้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว มีข้อร้องเรียนไม่น้อยว่าการจัดส่งของภาครัฐล่าช้า ดังนั้น การเตรียมชุดสุขภาพของเอกชนเพื่อดูแลลูกบ้านของตัวเองก่อนจึงช่วยเหลือได้มาก

 

3.หน่วยงานติดตามสุขภาพ

อีกหนึ่งประเด็นที่ลูกบ้านผู้ติดเชื้อกังวลคือ หากสภาวะผู้ป่วยเริ่มขยับจากระดับสีเขียวเป็นสีเหลืองซึ่งทำให้ต้องเข้าระบบหาเตียงในโรงพยาบาลจะทำอย่างไร โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยอาศัยอยู่คนเดียวและไม่มีผู้ช่วยติดต่อประสานงานให้

ประเด็นนี้นิติบุคคลหลายแห่งจะทำหน้าที่พิเศษช่วยเหลือลูกบ้าน ช่วยประสานงานถามไถ่อาการ ไปจนถึงช่วยหาเตียง เช่น LPP (บริษัทในเครือ LPN) หรือ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ มีนโยบายช่วยติดต่อประสานหาเตียงอีกแรงหนึ่งหากลูกบ้านขยับเป็นผู้ป่วยสีเหลือง หรือ พรีโม มีทีม Origin Health Buddy เป็นทีมฉุกเฉินพร้อมช่วยเหลือลูกบ้านที่ติดเชื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

4.ดูแลจิตใจ

อีกเรื่องที่หลายคนอาจลืมนึกถึงคือการดูแล “จิตใจ” ของผู้ป่วย ประเด็นนี้ MQDC มีตัวอย่างการสร้างมาตรการรองรับคือ แนะนำให้ลูกบ้านใช้แอปพลิเคชัน OOCA (อูก้า) ซึ่งสามารถขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงบริษัทจะมีชุด Hobby Kit ให้ผู้ป่วยกักตัวด้วย สำหรับหากิจกรรมทำในบ้านแก้เครียด เช่น ชุดปลูกต้นไม้ DIY

 

5.จัดการสุขภาวะภายในอาคาร

นอกจากตัวผู้ป่วยเองแล้ว อสังหาฯ ยังต้องจัดการการอยู่ร่วมกันให้มีสุขภาวะที่ดี โดยหลายแห่งมีมาตรการเพิ่มเติม เช่น มั่นคงเคหะการ เพิ่มถังขยะสีแดงสำหรับขยะติดเชื้อและรณรงค์ให้ลูกบ้านใช้ถุงขยะสีแดงแยกขยะติดเชื้อเพื่อความปลอดภัย บางแห่งมีการกำหนดให้ผู้ป่วยที่อาจจะต้องส่งตัวเข้าพบแพทย์ขึ้นลงลิฟต์เฉพาะที่กำหนด และมีการพ่นฆ่าเชื้อโถงทางเดินและลิฟต์หลังผู้ป่วยใช้งาน สร้างสุขภาวะที่ดีและทำให้ลูกบ้านทั้งหมดสบายใจในการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ

]]>
1348878
7 องค์กรเอกชนผนึกกำลัง! เปิด “รพ.สนามแสงแห่งใจ” เพื่อรับผู้ป่วย 450 เตียง ดีเดย์ 9 สิงหาคม https://positioningmag.com/1345915 Tue, 10 Aug 2021 10:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345915

7 องค์กรยักษ์ใหญ่ภาคเอกชน ร่วมใจผนึกกำลังกันเนรมิต “โรงพยาบาลสนามแสงแห่งใจ” ขนาด 450 เตียง เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับสีเขียว และสีเหลือง ย่านบางนาตราด หวังจุดประกายความหวังให้ประเทศไทย ฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน


“แสงแห่งใจ” สว่างจากใจผู้ให้ แสงความหวังของผู้รับ

ตั้งแต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระลอกที่ 3 ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน โดยได้สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในแง่ของระบบสาธารณสุข และเศรษฐกิจ มียอดการติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงระดับหมื่นรายต่อวัน ทำให้ได้เห็นการร่วมแรงร่วมใจของประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ในการระดมสรรพกำลังทั้งบริจาคสิ่งของ อาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงการสร้าง “โรงพยาบาลสนาม” สำหรับรองรับผู้ป่วยในระดับที่อาการไม่รุนแรงมาก หรือระดับสีเขียว และสีเหลือง เพื่อแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลใหญ่ๆ

ล่าสุด 7 องค์กรชั้นนำของประเทศ ได้แก่ โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์, MQDC, อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค, ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล และมูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์, มูลนิธิพุทธรักษา ได้ผนึกกำลังกันเนรมิตโรงพยาบาลสนาม “แสงแห่งใจ” ขนาด 450 เตียง ซอยวัดคลองปลัดเปรียง ถนนบางนาตราด กม.5 รองรับผู้ป่วยระดับสีเขียว และสีเหลือง

ทั้งนี้ยังมีพันธมิตร และผู้สนับสนุนกว่า 30 องค์กร อาทิเช่น มูลนิธิเอสซีจี (SCG) ได้ให้การสนับสนุนเตียงกระดาษจำนวน 600 เตียง และยังมีอุปกรณ์ก่อสร้างอื่นๆ ส่วนทาง CP และ MK ให้การสนับสนุนด้านอาหารผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงทาง TRUE ที่ได้จัด WIFI เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ในระหว่างการรักษาพยาบาล

ส่วนที่มาของชื่อ “แสงแห่งใจ” นั้น เปรียบเสมือน “แสง” ที่มาช่วยให้ความสว่างออกมาจากใจ สื่อถึงแสงสว่างที่ออกมาจากใจของผู้ให้ และแสงสว่างที่เป็นเสมือนความหวังในใจของผู้ที่ทุกข์ใจ ที่ต้องการความช่วยเหลือ การร่วมมมือกันครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการร่วมแรงร่วมกันกันคนละเล็กละน้อย แต่เป็นการจุดประกายความหวังให้ประเทศไทยในการฝ่าวิกฤตได้

วิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ตัวแทนกลุ่มองค์กรผู้ก่อตั้ง “โรงพยาบาลสนามแสงแห่งใจ” กล่าวว่า

“ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 ในรอบที่ 3 นี้ มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ประชาชนเองก็มีการติดเชื้อในระดับหลายหมื่นคนต่อวัน ภาคเอกชนจึงได้ร่วมกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขนาด 450 เตียง ขึ้นมาพร้อมรับผู้ป่วยระดับสีเขียว และสีเหลือง โดยใช้ชื่อว่า “โรงพยาบาลแสงแห่งใจ” เกิดจากแนวคิดที่ว่า พวกเราทุกคน ต้องช่วยกัน จุดแสงสว่าง คนละเล็กคนละน้อย เพื่อจุดประกายความหวังให้ประเทศไทย เดินก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เราจึงตั้งชื่อโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า “แสงแห่งใจ” เพื่อสะท้อนถึงความตั้งใจ ของผู้ก่อตั้งทั้ง 7 องค์กร ที่อยากเสริมสร้างวัฒนธรรมดีๆ ให้คนไทยทุกภาคส่วน ร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งสื่อถึงแสงสว่างที่ออกมาจากใจของผู้ให้ และ แสงสว่างที่เป็นเสมือนความหวังในใจของผู้ที่ทุกข์ใจ” 

 

ก่อนหน้านี้ยังได้จัดตั้งโครงการ “ศูนย์รวมปันสุข” เพื่อช่วยเหลือร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากการที่ไม่สามารถเปิดร้านได้ตามปกติ รวมถึงชุมชนที่ขาดแคลนอาหาร เมื่อถึงจุดที่ มีโรงพยาบาลสนาม จึงได้รวมศูนย์ปันสุขเข้ามาอยู่ภายใต้โครงการโรงพยาบาลสนาม ซึ่งจะยังคงเดินหน้า ช่วยเหลือต่อไปตามเจตนารมย์และเพิ่มการจัดอาหารให้ผู้ป่วยทุกมื้อตลอดระยะเวลา 4 เดือน

ทางด้าน นพ.อธิวัฒน์ น้อยประสิทธิ์ Chief Performance Coach, Risk and Quality Officer บริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ในฐานะผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามแสงแห่งใจ กล่าวว่า

“แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยยังมีระดับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทีมแพทย์ก็รู้สึกมีกำลังใจในการบริหารงาน เพราะได้รับมอบน้ำใจจากเพื่อนๆ ในวงการธุรกิจที่ช่วยกันสนับสนุนการดำเนินงานหาสถานที่เพื่อให้โรงพยาบาลได้มีโอกาสที่จะรักษาผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น ผมทราบดีว่า ในท่ามกลางที่เราหลายคนอาจรู้สึกหมดหวังไม่เห็นหนทางที่จะออกจากปัญหาโรคระบาดเช่นนี้ การเปิดโรงพยาบาลสนามแสงแห่งใจนี้ นับว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะเป็นทั้งที่รักษาตัว และเป็นจุดที่ได้สื่อสารไปยังผู้ป่วยและครอบครัว ให้รู้สึกมีความหวังเพราะการอยู่ด้วยความหวัง และ กำลังใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วย รวมถึงสภาพจิตใจของคนในครอบครัวผู้ป่วยที่ต่างก็รอความหวังว่าญาติมิตรของเขามีโอกาสที่จะหายป่วย เมื่อรักษาตัวในโรงพยาบาลสนามแห่งนี้

เพียบพร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์

การให้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสนามแสงแห่งใจ จะมีทีมแพทย์เฉพาะทางและพยาบาลจากกลุ่มโรงพยาบาลพิษณุเวช ได้แก่ รพ.พิษณุเวช พิษณุโลก, รพ.พิษณุเวช พิจิตร และ รพ.พิษณุเวช อุตรดิตถ์ ซึ่งอยู่ในในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ให้การดูแล

ซึ่งที่รพ.สนามใช้บุคลากรทางการแพทย์ที่คอยดูแลทั้งหมดกว่า 50 ชีวิต มีห้องฉุกเฉิน รวมทั้ง Oxygen High flow Pipeline จำนวนมากถึง 76 เตียง เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะเป็นสีเหลือง-แดง ที่พร้อมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาลสนาม และมีเตียงผู้ป่วยวิกฤตที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ห่างเพียง 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไม่ถึง 10 นาที

ดีเดย์เปิดทำการวันที่ 9 ส.ค.

โดยทางโรงพยาบาลได้ทำ Work Flow ให้มีความสะดวก รวดเร็ว ในการที่จะติดต่อประสานกับผู้ป่วย โดยกระบวนการคือ การลงทะเบียนจะเปิดรับลงทะเบียนในวันที่ 7 สิงหาคม เป็นต้นไป ผ่าน 2 ช่วงทาง เว็บไซต์ และคอลเซ็นเตอร์เท่านั้น และเปิดให้เข้ามารักษาตัวเป็นวันแรกที่โรงพยาบาลในวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564

เมื่อลงทะเบียนแล้ว ข้อมูลผู้ป่วยจะถูกส่งเข้าไปที่ Assessment Center เพื่อประเมินอาการ โดยหากเข้าข่าย Home Isolation ทางโรงพยาบาลจะรับเข้าเป็นผู้อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาล ตามกระบวนการของ Home Isolationหากเข้าข่ายที่จะรับเข้าโรงพยาบาลสนามได้ จะมีทีมงานประสานในการรับการส่งตัวผู้ป่วย เพื่อเช็คอินเข้าโรงพยาบาลสนาม หรือส่งต่อฮอสปิเทล แต่หากมีอาการที่ค่อนข้างหนัก จะพิจารณารับเข้าก็รับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือส่งต่อโรงพยาบาลเครือข่าย

  • หลักการพิจารณาการจะใช้เรียงตามลำดับผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาตามระบบ โดยจะต้องแนบผลการตรวจมาด้วย โดยเมื่อเปิดแล้วโรงพยาบาลคาดว่า รับผู้ป่วยได้เต็มภายใน 4- 5 วันแรก และจากนั้นจะมีการหมุนเวียนตามจำนวนผู้ป่วยที่ได้กลับบ้าน นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลสนามนี้ได้นำหุ่นยนต์ปิ่นโต มาช่วยในการบริการและใช้ Application ไข่ต้ม แคร์ (Kaitomm Care) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย และเพิ่มความปลอดภัยของบุคคลากรทางการแพทย์อีกด้วย

    บริการในโรงพยาบาลสนาม

    1. การบริการทางการแพทย์

    – มีพยาบาลดูแล 24 ชั่วโมง โดยใช้ระบบ telemedicine tablet “ไข่ต้ม ฮอสพิทอล” (KaitommHospital) ที่พัฒนาโดยบริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น ในการสื่อสารกับผู้ป่วย

    – นำเทคโนโลยี ในด้านเครื่องปรับอากาศ all fresh air ไม่มีการหมุนเวียนอากาศซ้ำ

    – ใช้ “หุ่นยนต์ปิ่นโต” ที่ร่วมพัฒนาโดยบริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น ส่งอาหาร เครื่องดื่ม และยา มาช่วยเหลือในงานแพทย์และพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงในการทำงานของเจ้าหน้าที่

    – มีอุปกรณ์ยังชีพ มอบให้กับผู้ป่วยทุกท่าน เพื่ออำนวยความสะดวก ให้กับผู้ป่วยเมื่อเวลาผู้ป่วยเข้ามาเช็คอินและตลอดเวลาที่อยู่ที่โรงพยาบาลสนาม

    2. ศูนย์รวมปันสุข จัดอาหาร 3 มื้อให้กับผู้ป่วย

    – มีการจัดอาหาร 3 มื้อให้กับผู้ป่วย และแพทย์พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมี MK และ CP เป็นพันธมิตรหลักด้านอาหาร

    – มีอาหาร และของว่างระหว่างวัน ให้กับผู้ป่วย

3. การดูแลรักษาความปลอดภัย

– ใช้ระบบ CCTV และระบบ Security คอยดูแลความปลอดภัยภายในโรงพยาบาลสนาม ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

– ได้รับการสนับสนุนในด้านการดูแลความปลอดภัยจากหน่วยงานราชการในพื้นที่

4. อื่น ๆ

– Internet และ Wifi สนับสนุนจาก True ให้ผู้ป่วยได้ใช้ได้ฟรี เพื่อที่ให้ผู้ป่วยได้ลดความเครียด

– มีพื้นที่สันทนาการ ที่จะมีโทรทัศน์โดยได้รับ Content Support มาจาก True Vision รวมไปถึง Code พิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถดาวน์โหลด Application และดูจากมือถือของตัวเองได้

ผู้ป่วยสามารถลงทะเบียนเพื่อรับการประเมินเข้าโรงพยาบาลสนาม สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ

เว็บไซต์ http://www.โรงพยาบาลสนามแสงแห่งใจ.com และโทร 02-116-7888

เชื่อว่า “แสงแห่งใจ” ในครั้งนี้ จะเป็นแสงสว่างแห่งความหวัง ที่จะช่วยนำพาประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

]]>
1345915