ig – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 26 Oct 2023 04:18:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 งานเข้า ‘Meta’ หลังทนาย 42 คนยื่นฟ้องข้อหาออกแบบอัลกอริทึมที่ทำให้ “เยาวชนเสพติด” การใช้งาน https://positioningmag.com/1449277 Wed, 25 Oct 2023 11:37:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449277 แม้จะมีข้อมูลว่า Facebook อาจไม่ได้เป็นที่นิยมของ วัยรุ่น แต่ไม่ใช่กับ Instagram เพราะถือว่ายังคงเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมของวัยรุ่น อย่างไรก็ตาม ด้วยจุดนี้เองทำให้กลุ่มทนาย 42 คน ร่วมกันฟ้องร้อง Meta ว่าทำให้ วัยรุ่นเสพติดการใช้ Facebook และ IG

ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของ Meta อยู่ที่ 3.88 พันล้านคน/เดือน หรือคิดเป็นประชากร ครึ่งโลก ที่ใช้งาน แน่นอนว่ากลุ่ม วัยรุ่น ก็ต้องรวมอยู่ในจำนวนดังกล่าวแน่นอน ส่งผลให้ กลุ่มทนายทั่วไป 42 คน ฟ้อง Meta โดยอ้างว่า ฟีเจอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของ Facebook และ Instagram นั้น ดึงดูดและมุ่งเป้าไปที่เด็กและวัยรุ่น

ส่งผลให้ขณะนี้ Meta กำลังเผชิญกับการฟ้องร้องหลายคดีเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวในหลายเขต โดยอัยการสูงสุดจาก 33 รัฐ ได้ยื่นฟ้อง Meta ซึ่งคดีดังกล่าวถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐที่มีลำดับความสำคัญในการปกป้องเด็กและวัยรุ่นจากอันตรายทางออนไลน์

โดยกลุ่มทนายระบุว่า Meta ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ Facebook และ Instagram เพื่อให้วัยรุ่นใช้งานได้นานขึ้นและกลับมาซ้ำหลายครั้ง ผ่านการออกแบบอัลกอริทึม การแจ้งเตือนมากมาย ส่งผลให้เกิดการเลื่อนฟีดแพลตฟอร์มอย่างไม่สิ้นสุด นอกจากนี้ กลุ่มทนายยังรวมฟีเจอร์ที่มองว่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นผ่านการเปรียบเทียบทางสังคมหรือส่งเสริมความผิดปกติของร่างกาย เช่น “การถูกใจ” ​​หรือฟิลเตอร์รูปภาพ

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มพันธมิตรอัยการสูงสุดของรัฐได้ร่วมมือกันเพื่อติดตาม Meta แต่ในปี 2020 มีรัฐจำนวน 48 รัฐได้ฟ้องร้องบริษัทในเรื่อง การต่อต้านการผูกขาด นอกจากนี้ รัฐบาลกลางยังกล่าวหาว่า Meta ละเมิดพระราชบัญญัติคุ้มครองความเป็นส่วนตัวออนไลน์ของเด็ก หรือ COPPA โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง โดยรัฐต่าง ๆ กำลังหาทางยุติสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นอันตรายของ Meta เช่นเดียวกับบทลงโทษและการชดใช้ค่าเสียหาย

“Meta ตระหนักดีถึงผลกระทบด้านลบที่การออกแบบอาจมีต่อผู้ใช้รุ่นเยาว์” ทนายความ กล่าว

ที่ผ่านมา เคยมีการรั่วไหลของเอกสารภายในของบริษัท ที่เปิดเผยการวิจัยภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนเกี่ยวกับ ผลกระทบของ Instagram ที่มีต่อวัยรุ่น โดยพบว่า “เด็กสาววัยรุ่น 32% รู้สึกแย่เกี่ยวกับร่างกายของตนเอง โดย Instagram ยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกแย่ลง” 

สื่อแฉ ‘Facebook’ ศึกษาผลด้านลบของ ‘Instagram’ ต่อวัยรุ่นกว่า 3 ปีแต่ไม่เปิดเผย

ทั้งนี้ จากการสำรวจของ Pew Research Center ระบุว่า วัยรุ่นจำนวนมากเลิกใช้งาน Facebook แต่ Instagram ยังคงได้รับความนิยมในสหรัฐฯ โดยวัยรุ่นที่ใช้ Instagram ในสหรัฐฯ มีประมาณ 22 ล้านคน/วัน

Source

]]>
1449277
Meta ฆ่าไม่ตาย! ฟันรายได้ Q2 ทะลุ 3 หมื่นล้านโต 11% ผู้ใช้รวมกันกว่า 3.88 พันล้าน/เดือน https://positioningmag.com/1439201 Thu, 27 Jul 2023 04:43:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439201 ดูเหมือนขาลงของ Meta จะหมดไปแล้ว เพราะล่าสุด หุ้นของบริษัทพุ่งขึ้นเกือบ 7% ในการซื้อขายระยะยาวในวันพุธหลังจากผลประกอบการดีกว่าที่คาดไว้ โดยกลับมาเติบโตได้ 2 หลัก ขณะที่จำนวนผู้ใช้งาน Facebook ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

สำหรับรายได้ของ Meta ใน Q2/2023 อยู่ที่ 31,999 ล้านดอลลาร์ เติบโต 11% มีกำไรสุทธิ 7,788 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม รายได้ในส่วนของ Reality Labs ซึ่งเป็นส่วนของการพัฒนา Metaverse อยู่ที่ 276 ล้านดอลลาร์ ลดลง 39% ซึ่งอาจไม่น่าแปลกใจ เพราะที่ผ่านมาส่วนในการพัฒนาด้าน Metaverse นั้นขาดทุนมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว

ด้านจำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของตระกูล Meta ทั้งหมด ได้แก่ Facebook, WhatsApp, Instagram, Messenger และ Threads มีผู้ใช้งานรวมกันกว่า 3.88 พันล้านคนต่อเดือน หรือ เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก โดยเฉพาะแพลตฟอร์ม Facebook มีผู้ใช้งานมากกว่า 3 พันล้านคนต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์ม Facebook ที่ดูจะเสื่อมความนิยมในกลุ่มวัยรุ่น แต่ปัจจุบันแพลตฟอร์มนี้ก็ยังห่างไกลจากความตาย จากที่จำนวนผู้ใช้รายวันลดลงทุกไตรมาสนับตั้งแต่ Q4/2021 แต่ใน Q2/2023 จำนวนผู้ใช้ที่ใช้งานรายวันก็เติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 2.037 พันล้านคนต่อวัน เป็น 2.064 พันล้านคนต่อวัน

ที่น่าสนใจคือ การเติบโตดังกล่าวอาจถูกขับเคลื่อนโดย Reels ซึ่งเป็นฟีเจอร์วิดีโอสั้นเหมือนกับของ TikTok ที่ Meta พยายามผลักดันอย่างหนักทั่วทั้งในแพลตฟอร์ม Instagram และ Facebook โดย Mark Zuckerberg CEO ของ Meta เปิดเผยว่า Reels มีการใช้ถึง 2 แสนล้านครั้งต่อวัน

ด้านแพลตฟอร์มใหม่ถอดด้ามอย่าง Threads ก็มีผู้ใช้ถึง 100 ล้านคนภายใน 5 วัน และ ผู้ใช้ราว 10 ล้านคนเข้ามาใช้งานทุกวัน ซึ่ง Mark Zuckerberg มองว่าตัวเลขดังกล่าวค่อนข้างน่าประทับใจ

ในส่วนของต้นทุนและค่าใช้จ่ายของ Meta ใน Q2/2023 ทั้งหมดอยู่ที่ 2.221 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนจำนวนพนักงานในปัจจุบันอยู่ที่ 71,469 คน ลดลง 14% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา หุ้นของ Meta เติบโตขึ้นกว่า 160%

TechCrunch/CNBC

]]>
1439201
ผู้บริหาร ‘Instagram’ ยืนยันต้องไป ‘วิดีโอสั้น’ และจะไม่ยกเลิกฟีเจอร์ ‘แนะนำโพสต์’ จากผู้ที่ ‘ไม่ได้ติดตาม’ https://positioningmag.com/1394171 Wed, 27 Jul 2022 07:19:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394171 หลังมีคำวิจารณ์จากเซเลบอย่าง Kylie Jenner และ Kim Kardashian รวมถึงกระแสการเรียกร้องจากชาวโซเชียลทั่วโลกที่ต้องการให้แพลตฟอร์ม Instagram (อินสตาแกรม) กลับมาเป็นอย่างที่เคยเป็น ไม่ใช่พยายามเป็น TikTok ล่าสุด Adam Mosseri หัวหน้า Instagram แชร์วิดีโอบน Twitter เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพื่ออธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงล่าสุดในแพลตฟอร์ม

สืบเนื่องจากที่ Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Meta ซึ่งเป็นเจ้าของ Facebook และ Instagram ได้พยายามจะเน้นไปที่คอนเทนต์ประเภท วิดีโอสั้น ซึ่งเป็นตลาดที่ TikTok ครองตลาด ทำให้ผู้ใช้หลายคนไม่โอเคกับการเปลี่ยนแปลงนี้ และเริ่มมีการเรียกร้องให้ Instagram กลับไปเน้นที่รูปภาพและมองเห็นโพสต์ของเพื่อนมากขึ้น ซึ่งโพสต์ดังกล่าวก็มียอดไลก์มากกว่า 1.6 ล้านไลก์ และส่งผลให้มีผู้ลงนามในคำร้องเกือบ 140,000 ราย

ทางด้าน Adam Mosseri หัวหน้า Instagram ก็ได้ออกมายอมรับผ่านวิดีโอส่วนตัวว่า เขารู้ว่า Instagram มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย และแพลตฟอร์มจะยังคงเน้นที่รูปภาพต่อไป แต่ยังไงแพลตฟอร์ม Instagram ก็จะเน้นไปที่วิดีโอมากขึ้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้คนชื่นชอบ แชร์ และบริโภคบนแพลตฟอร์ม

Mosseri กล่าวต่ออีกว่า เขาเคยได้ยินข้อกังวลมากมายเกี่ยวกับคำแนะนำโพสต์ที่ปรากฏในฟีดของผู้ใช้จากบัญชีที่พวกเขาไม่ได้ติดตาม ซึ่งเขาได้ชี้แจงว่า คำแนะนำมีขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้นพบเนื้อหาใหม่ และเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพและสำคัญที่สุดในการช่วยให้ผู้สร้างเข้าถึงผู้คนมากขึ้น และหากผู้ใช้ไม่สนใจโพสต์เหล่านี้ พวกเขาสามารถปิดหรือปิดเสียงแนะนำทั้งหมดได้นานถึงหนึ่งเดือน

Adam Mosseri อัดวิดีโอชี้แจงประเด็น Instagram พยายามเป็น TikTok

สำหรับการเปลี่ยนแปลงของ Instagram ที่ทำให้หลายคนไม่พอใจเนื่องจากแพลตฟอร์มเน้นที่วิดีโอมากเกินไป จากเดิมที่เป็นแพลตฟอร์มไว้ลงรูป นอกจากนี้ แพลตฟอร์มกำลัง ปลี่ยนวิดีโอโพสต์ให้กลายเป็น Reels รูปแบบการนำเสนอวิดีโอแบบใหม่ของทางบริษัททั้งหมดอีกด้วย และอีกสิ่งที่หลายคนไม่ชอบใจก็คือ การแนะนำโพสต์จากคนที่ไม่ได้ติดตาม

ขณะที่ Facebook เองก็มีการปรับหน้าตาฟีดใหม่ โดยจะมีทั้ง Home ที่จะแสดงโพสต์เหมือนเดิม และ Feed ที่จะแสดงโพสต์ล่าสุด โดยผู้ใช้สามารถได้ว่าจะให้โชว์โพสต์จากหมวดไหน อาทิ เพื่อน, กลุ่ม และเพจ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเห็นโพสต์ล่าสุดที่ต้องการได้โดยไม่โดนรบกวนจากโพสต์อื่น ๆ

ทั้งนี้ Meta กำลังจะรายงานผลประกอบการเร็ว ๆ นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่ารายรับรายไตรมาสจะลดลงเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบเป็นรายปี

Source

]]>
1394171
‘Instagram’ กำลังทดสอบระบบเอไอ ‘สแกนหน้า’ เช็กอายุเพื่อสกัดเยาวชนแอบโกง https://positioningmag.com/1390079 Sun, 26 Jun 2022 07:05:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390079 Instagram หนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของ Meta กำลังทดสอบวิธีใหม่ ๆ ในการตรวจสอบอายุของผู้ใช้งาน โดยหนึ่งในนั้นคือ การใช้ระบบเอไอปัญญาประดิษฐ์สแกนใบหน้าเพื่อคำนวณอายุผู้ใช้งาน

ที่ผ่านมา Meta บริษัทเจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram ยังคงเผชิญกับคำถามเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบของแพลตฟอร์มต่อกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Instagram ทำให้ ล่าสุด บริษัทกำลังพัฒนาเอไอในการตรวจจับใบหน้าเพื่อยืนยันอายุ ในกรณีที่กลุ่มผู้ใช้ Instagram อายุต่ำกว่า 18 ปี พยายามแก้ไขวันเกิดของตัวเองบนแพลตฟอร์ม

โดยในทางเทคนิคแล้วผู้ใช้งาน Instagram ต้องอายุอย่างน้อย 13 ปีขึ้นไป เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ แต่บางคนก็หลีกเลี่ยงได้ด้วยการโกหกเรื่องอายุหรือใช้วันเดือนปีเกิดพ่อแม่ ส่วนวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี จะมีข้อจำกัดเพิ่มเติมในบัญชีของตน เช่น ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เป็นเพื่อนกันบนแพลตฟอร์มจะไม่สามารถส่งข้อความถึงพวกเขาได้ จนกว่าจะมีอายุครบ 18 ปี

“เรากำลังให้ทางเลือกแก่ผู้คนในการยืนยันอายุและดูว่าสิ่งใดดีที่สุด” Erica Finkle ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลข้อมูลและนโยบายสาธารณะของ Meta กล่าว

หากต้องการใช้ตัวเลือกการสแกนใบหน้า ผู้ใช้ต้องอัปโหลดวิดีโอเซลฟี่ จากนั้นวิดีโอดังกล่าวจะถูกส่งไปยัง Yoti ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพในลอนดอนที่ใช้คุณสมบัติใบหน้าของผู้คนในการประมาณอายุของพวกเขา Finkle กล่าวว่า Meta ยังไม่ได้พยายามระบุตัวตนเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีโดยใช้เทคโนโลยีนี้ เนื่องจากไม่ได้เก็บข้อมูลในกลุ่มอายุนั้น ซึ่งจำเป็นสำหรับการฝึกระบบเอไออย่างเหมาะสม แต่ถ้า Yoti ทำนายว่าผู้ใช้รายใดอายุน้อยเกินไปสำหรับ Instagram พวกเขาจะถูกขอให้พิสูจน์อายุหรือลบบัญชีออก

“ไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้งานข้อมูลใบหน้า เพราะรูปภาพจะถูกลบออกทันทีเมื่อระบบทำเสร็จแล้ว” Julie Dawson หัวหน้าฝ่ายนโยบายและหน่วยงานกำกับดูแลของ Yoti กล่าว

Yoti เป็นหนึ่งในบริษัทไบโอเมตริกซ์หลายแห่งที่ใช้ประโยชน์จากการผลักดันในสหราชอาณาจักรและยุโรปสำหรับเทคโนโลยีการตรวจสอบอายุที่เข้มงวดยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ เข้าถึงภาพลามกอนาจาร แอปหาคู่ และเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ สำหรับผู้ใหญ่ ที่ผ่านมา Yoti ทำงานร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่หลายแห่งในสหราชอาณาจักรเรื่องกล้องสแกนใบหน้าที่เคาน์เตอร์ชำระเงินด้วยตัวเอง นอกจากนี้ บริษัทยังได้เริ่มตรวจสอบอายุของผู้ใช้แอปห้องวิดีโอคอลในฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาในปี 2019 โดยหน่วยงานของสหรัฐฯ พบว่า เทคโนโลยีการจดจำใบหน้ามักทำงานได้ไม่เสถียร เนื่องจากมีเรื่องเชื้อชาติ เพศ หรืออายุของบุคคล ทำให้เกิดอัตราความผิดพลาดที่สูงขึ้นสำหรับผู้ที่อายุน้อยที่สุดและอายุมากที่สุด ยังไม่มีเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์ใบหน้าโดยประมาณอายุ แต่ผลการวิเคราะห์ที่เผยแพร่โดย Yoti เองเผยให้เห็นถึงแนวโน้มที่คล้ายกัน โดยมีอัตราความผิดพลาดสูงขึ้นเล็กน้อยสำหรับผู้หญิงและผู้ที่มีโทนผิวสีเข้ม

]]>
1390079
เอาให้เต็มที่! ‘Facebook’ อนุญาตให้โพสต์ข้อความ ‘แช่ง’ ปูตินได้เพื่อเป็นการตอบโต้ https://positioningmag.com/1377242 Fri, 11 Mar 2022 11:35:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377242 Meta บริษัทแม่ของโซเชียลเน็ตเวิร์ก Facebook และ Instagram ได้มีแผนที่จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานในบางประเทศ สามารถโพสต์ข้อความที่ เรียกร้องให้ใช้ความรุนแรงต่อทหารรัสเซีย รวมถึงผู้นำอย่าง วลาดิมีร์ ปูติน มีเพื่อตอบโต้การบุกรุกประเทศยูเครน

“ผลจากการรุกรานของรัสเซียในยูเครน เราได้ให้การอนุญาตชั่วคราวให้ผู้ใช้งานสามารถแสดงออกทางการเมือง โดยเฉพาะการแสดงออกด้านความรุนแรง เช่น ผู้รุกรานชาวรัสเซียไปตายซะ (death to the Russian invaders) ซึ่งตามปกติแล้วจะเป็นการละเมิดกฎของเรา” แอนดี้ สโตน โฆษกของ Meta แอนดี้ สโตน กล่าวในแถลงการณ์

นอกจากนี้ Facebook ยังอนุญาตให้โพสต์ ‘แช่ง’ ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน รวมไปถึง ประธานาธิบดีเบลารุส อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ได้ในบางประเทศ อาทิ อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, เอสโตเนีย, จอร์เจีย, ฮังการี, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, โปแลนด์, โรมาเนีย, สโลวาเกีย รวมทั้งรัสเซียและยูเครนด้วย

อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นข้อความเรียกร้องการก่อความรุนแรงต่อพลเรือนรัสเซีย ทางแพลตฟอร์มจะไม่อนุญาตให้เผยแพร่

ทั้งนี้ การตัดสินใจดังกล่าวนี้เกิดขึ้นไม่กี่วัน หลังจากที่ รัสเซียบล็อกการเข้าถึง Facebook และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ อาทิ BBC, Deutsche Welle, Twitter, Apple และ Google App Store พร้อมระบุสาเหตุว่า แพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้เลือกปฏิบัติต่อสื่อและแหล่งข้อมูลของรัสเซีย

อย่างไรก็ตาม Nick Clegg ประธาน Meta กล่าวว่า บริษัทกำลัง “ทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อกู้คืนบริการของเราในรัสเซีย”

Source

]]>
1377242
สรุปภาพรวม ‘สายเที่ยว’ ของชาว ‘Instagram’ พบ ‘คาเฟ่และธรรมชาติ’ หมุดหมายหลักที่อยากไป https://positioningmag.com/1366679 Tue, 14 Dec 2021 08:47:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366679 เข้าสู่ช่วงท้ายของปี 2564 ธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมต่างก็เริ่มกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่บรรเทาลง โดยเฉพาะ การท่องเที่ยว ที่เริ่มฟื้นตัว โดย ไวซ์ไซท์ ได้สรุปข้อมูลภาพรวมสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยผ่าน “INDUSTRY INSIGHT บทวิเคราะห์พฤติกรรมนักเดินทางชาวไทยบน Instagram” โดยนำเสนอพฤติกรรม, โปรไฟล์, และความสนใจของกลุ่มคนที่ชอบท่องเที่ยวบนช่องทาง Instagram ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านข้อความ (social voice analysis) และรูปภาพ (image labeling)

10 เดือนผ่านไป คนบ่นอยากเที่ยวมากที่สุด

ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา คนไทยบ่นออกมามากถึง 600,000 ครั้ง โดยความเบื่อระลอกแรกเกิดขึ้นเมื่อล็อกดาวน์ประเทศ และระลอกสองจากเหตุการณ์ทางการเมือง โดยกิจกรรมที่อยากทำมากที่สุดคือ เที่ยว ตามมาด้วยอยาก กิน, ช้อปปิ้ง, ออกกำลังกาย และดูหนัง

โดยจะเห็นว่าช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นชาวโซเชียลระบายออกมาผ่านแฮชแท็ก #เที่ยวทิพย์ หรือหาวิธีเติมเต็มจิตใจแบบอื่นด้วยการพักผ่อนเท่าที่ทำได้อย่าง Staycation การพักผ่อนใกล้บ้าน หรือเปลี่ยน Workation ด้วยการทำงานไปเที่ยวไป

ทั้งนี้ ปี 2564 ชาวโซเชียลคุยเรื่องเที่ยวมากกว่า 120,000 ข้อความต่อวัน ซึ่งเดือนกันยายนคือจุดเริ่มต้นในการฟื้นตัวของสถานการณ์ท่องเที่ยวในโซเชียลมีเดีย

Instagram เติบโตสูงสุด

เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นแล้ว นับว่า Instagram มีแนวโน้มเติบโตสูงสุด โดยจากปี 2563 จนถึงเดือนกันยายน เติบโตขึ้น +216% แม้จะมีช่วงลดลงบ้างเมื่อสถานการณ์ COVID-19 เริ่มไม่สู้ดี แต่เมื่อการท่องเที่ยวไทยเริ่มกลับมาบูมอีกครั้งจากการเปิดประเทศ ชาวไอจีก็พร้อมตอบสนองทำให้การพูดคุยเรื่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในเดือนกันยายน 2564 เป็นต้นไป

แน่นอนว่า Instagram เป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมในการลงรูปถ่าย เพื่อความสวยงาม ชาวไอจีถนัดในการหามุมสวยจากสถานที่ต่าง ๆ จนทำให้ทุกสถานที่ดูพิเศษ ทั้งจากเทคนิคการถ่ายภาพ การจัดมุม กล้องที่ดี หรือภาพสวย ๆ จากศิลปินและคนดังในโลกออนไลน์ ยิ่งดึงดูดให้คนคล้อยตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทั้งสวยงามน่าดึงดูด และมีอิทธิพลมากพอที่จะให้คนไปตามรอย

เชียงใหม่ครองแชมป์ จังหวัดที่ถูกพูดถึงมากที่สุด

3 เดือนก่อนเปิดประเทศ (เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน) จังหวัดที่ชาวไอจีพูดถึงมาก ที่สุดคือ เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี นครราชสีมา และน่าน พวกเขาบ่นคิดถึงเชียงใหม่ ลงแคปชั่นอยากไปทะเล หรือลงรูปคาเฟ่บนเขา โดยภาพและเรื่องเก่า ๆ ถูกนำมาเล่าซ้ำในรูปแบบใหม่ เช่น เล่าถึงประสบการณ์ความสุขในอดีต หรือหยิบภาพวิว ธรรมชาติมาเป็นกำลังใจในการทำงาน #ธรรมชาติบำบัด

เมื่อเปิดประเทศนำร่องในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เกือบทุกจังหวัดจึงเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน ชาวไอจีพูดถึง เชียงใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ขณะที่ เชียงรายและน่านเพิ่มขึ้น 3 เท่า หลังจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน หลายสถานที่ท่องเที่ยวเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยว จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เหล่า Part Time Traveler เตรียมออกเดินทางอีกครั้ง

ผู้หญิงโพสต์เรื่องเที่ยวมากที่สุด

คนที่โพสต์เรื่องเที่ยวส่วนใหญ่คือ ผู้หญิง โดยเฉพาะคนที่อายุ 18-24 ปี (33%) และ 25-34 ปี (32%) โดยผู้หญิงมีแนวโน้มโพสต์รูปภาพ ได้ตลอดทั้งวัน ต่างจากผู้ชายที่อาจโพสต์เป็นบางช่วงเวลา เช่นตอนเช้าหรือตอนเย็นไปเลย

  • กลุ่มวัยเรียน ในช่วงอายุน้อยกว่า 24 ปี ถือเป็นกลุ่มใหญ่สุดในสายท่องเที่ยวบน Instagram พบว่ามักเดินทางท่องเที่ยวเน้นธรรมชาติ และคาเฟ่
  • กลุ่มวัยทำงาน ในช่วงอายุ 25-34 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (79%) มีแนวโน้มท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ให้ความสนใจกับเมนูอาหารมากกว่าการถ่ายภาพในคาเฟ่
  • กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ในช่วงอายุมากกว่า 35 ปี มีแนวโน้มชอบไปวัดมากกว่ากลุ่มอื่น และสถานที่ไปอาจไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม

คาเฟ่และธรรมชาติจุดหมายท่องเที่ยว

คาเฟ่ ได้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยว และการไปคาเฟ่ ไม่ได้มีเพียงเพื่อลิ้มรสชา กาแฟ หากแต่เป็นการเสพบรรยากาศร้าน การไปคาเฟ่คือ ไลฟ์สไตล์สาย Cafe Hopping แสดงความเป็นตัวเองออกมาผ่านรูปถ่ายและแฮชแท็ก #cafehopping โดยคาเฟ่เป็นที่เที่ยวยอดนิยมของชาวไอจีมานานแล้ว รองจากทะเล และเป็นหนึ่งในจุด Check in และจุดหมายปลายทางเมื่อไปเยือนจังหวัดต่าง ๆ โดยจังหวัดยอดนิยมที่คนพูดถึงคู่กับคาเฟ่ ได้แก่ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, น่าน, พัทยา และ เขาใหญ่

เพราะทุกคนต้องการพักผ่อน และการหลบออกจากความวุ่นวายมา พึ่งธรรมชาติคือสิ่งที่หลายคนเลือกเพื่อบำบัดความเหนื่อยหน่าย โดยจะเห็นได้จาก #ธรรมชาติบำบัด ที่เติบโตขึ้นกว่า 3 เท่า หลังจากเปิดประเทศเดือนตุลาคม รวมถึง ทะเล ภูเขา เดินป่า แค้มปิ้ง ที่เติบโตขึ้นเช่นเดียวกัน

และจากการวิเคราะห์รูปภาพ 40,000 รูปที่ถูกโพสต์บน Instagram ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน พบว่า 68% เป็นภาพถ่ายธรรมชาติมีส่วนประกอบของต้นไม้ และ 53% เป็นภาพถ่ายคน

]]>
1366679
ธุรกิจเลือกใช้ ‘โซเชียล’ อย่างไร ในยุคที่คนใช้เวลาแต่ละแอป ‘สั้นลง’ https://positioningmag.com/1334561 Mon, 31 May 2021 09:37:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334561 ในช่วงวิกฤต COVID-19 แบบนี้ ไม่ใช่แค่ประชาชนทั่วไปที่อยากได้ ‘วัคซีน’ เพื่อมาช่วยลดโอกาสหรือลดความรุนแรงของการติดเชื้อ แต่ ‘ธุรกิจ’ ก็ต้องการวัคซีนเพื่อให้อยู่รอดด้วยเช่นกัน ปัญชรี สิทธิเสนี Managing Partner MediaDonuts Thailand ก็ได้ออกมาแนะนำแนวคิดการมัดใจผู้บริโภคในยุคที่มีสื่อโซเชียลใหม่ ๆ มาทำให้เวลาใช้งานเริ่มสั้นลง

คนใช้โซเชียลแอปวนแค่ 5 แอป

มีหลายแพลตฟอร์มที่เกิดก่อนช่วง COVID-19 แต่กลับมาได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงการระบาด อาทิ TikTok, Twitter ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความว่างที่ทำให้ผู้บริโภคได้ลองใช้ และพร้อมที่จะเลือกเล่นสื่อที่ตรงกับความต้องการที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าวิธีการแสดงออกของผู้บริโภคเปลี่ยนไปไม่เหมือนช่องทางเดิม ๆ

แน่นอนว่าในมือถือคนมีหลากหลายแอปมาก แต่ในชีวิตประจำวันมีการใช้งานโซเชียลหรือเมสเซนเจอร์แอปรวมกว่า 5 แอป/วัน กระโดดไปกระโดดมา เนื่องจากแต่ละการใช้งานมีวัตถุประสงค์ต่างกัน เช่น หาข่าวสารบน Facebook ใช้ Twitter พูดคุยกับเพื่อน ๆ ในคอมมูนิตี้ เป็นต้น แต่เพราะมีแพลตฟอร์มมากขึ้นการใช้งานแต่ละแอปสั้นลง ดังนั้น แบรนด์ต้องเปลี่ยนแนวทางสื่อสาร อะไรยาว ๆ อาจไม่ใช่คำตอบอีกแล้ว

“ตอนนี้พฤติกรรมในการเสพสื่อเปลี่ยนไป ผู้บริโภคคนเดิม แต่พฤติกรรมในการใช้แต่ละสื่อเปลี่ยนไป อยู่บน Twitter เขาอาจเป็นคนที่มีตัวตนแบบหนึ่ง อยู่บน TikTok เขาก็มีวิธีเสพสื่ออีกแบบ ดังนั้น แบรนด์ก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดหากอยากสื่อสารกับผู้บริโภค”

เปลี่ยนแพลตฟอร์ม การสื่อสารต้องเปลี่ยน

นักการตลาดเมื่อเห็นสื่อที่เปลี่ยนไป ก็ควรจะเข้าไปในสื่อใหม่ด้วยเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นยุคหลังโควิดอาจจะอยู่ยาก เพราะผู้บริโภคใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ปัญหาคือ นักการตลาดอาจจะยังไม่รู้จะใช้งานอย่างไร ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงและใช้สื่อเดิม หรือไม่ก็ใช้แนวคิดเดิมในการทำการตลาด

นักการตลาดควรใช้งานทุกแพลตฟอร์ม เพราะทุกแพลตฟอร์มมีความสำคัญเหมือนกัน แต่ต้อง สื่อสาร ให้แตกต่างกัน เพราะแต่ละแพลตฟอร์มผู้บริโภคมีจุดประสงค์ในการใช้งานต่างกัน ดังนั้น ความครีเอทีฟเป็นเรื่องสำคัญ ควรนำครีเอทีฟเดียวกันมาใช้กับทุกแพลตฟอร์ม

อีกสิ่งสำคัญคือ จุดยืนที่ชัดเจน เพราะ 71% ของกลุ่มตัวอย่างเลือกซื้อกับแบรนด์ที่มีจุดยืนที่ชัดเจนมากกว่าคู่แข่ง จะเห็นว่ามีหลายครั้งที่แบรนด์ใช้ Real Time Marketing แล้ว ปัง ซึ่งแปลว่าไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ ดังนั้น หากกระแสที่เกิดไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแบรนด์เลยก็ไม่ควรเกาะกระแส แต่ถ้าพลาดก็ควรออกมายอมรับ แสดงความจริงใจ และขอโทษ ดังนั้น แบรนด์ยุคนี้ต้องทำให้ถูกต้อง ตรงประเด็น โปร่งใส จริงใจ

Bangkok, Thailand – January 29, 2019 : woman using iPhone of show display app Social media screen. The phone is a daily necessity

“นักการตลาดชอบคิดว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีฟีเจอร์อะไรใหม่ แต่นักการตลาดต้องคิดย้อนกลับว่าทำไมคนถึงชอบ ทำไมคนถึงใช้ และตอนนี้คนเขาสนใจอะไรได้ไม่นาน ดังนั้น อย่าเลือกที่แพลตฟอร์ม ให้ดูกลุ่มเป้าหมาย คนชอบอะไรที่สั้น ๆ ซึ่งนี่คือความยาก ดังนั้น ต้องคิดเยอะ ๆ และตัวชี้วัดเดิมอย่าง ไลก์ แชร์ คอมเมนต์ ใช้วัดไม่ได้แต่ต้องดูว่าแต่ละคนรู้สึกอย่างไร หาตัวชี้วัดอะไรที่มากกว่าแดชบอร์ด”

สรุป สถิติการใช้งานแต่ละแพลตฟอร์ม

Facebook : มีผู้ใช้งาน 2.7 พันล้านคน มีสัดส่วนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุ 25–34 ปีเยอะที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่ม 18-24 ปี มีการคลิกหรือกดดูโฆษณามากถึง 18 ครั้งต่อเดือน

Instagram : มีผู้ใช้ทั้งหมด 132.8 ล้านแอคเคานต์ 62% ล็อกอินเข้ามาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง/วัน ใช้งานเฉลี่ย 30 นาที/วัน ช่วงอายุที่ใช้งาน Instagram มากที่สุดคือ 25–34 ปี และ 18-24 ปี # ที่ใช้เยอะที่สุดใน Instagram คือ love รองลงมาคือ instagood และ fashion

Twitter : มีผู้ใช้ 353 ล้านคน กลุ่มอายุ 25–49 ปีใหญ่ที่สุด มีสัดส่วนผู้หญิงมากถึง 78% ทวีตที่มีวิดีโอจะได้ยอด Engagement มากขึ้นถึง 10 เท่า ระยะเวลาในการใช้งานเกือบ 11 นาที/วัน

TikTok : มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้ประจำ คือ Gen X  กลุ่ม BabyBoomer ชาวไทย ประมาณ 52% ใช้ TikTok ระยะเวลาในการใช้งานต่อวัน : 52 นาที

สรุป Purpose & Connectedness คือ แนวคิดใหม่ที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์ที่แบรนด์ถอยกลับมาหนึ่งก้าวก่อนเลือกสื่อออนไลน์ เพื่อทำความเข้าใจกับ Audience ว่าพวกเขาต้องการอะไรจากแต่ละแพลตฟอร์ม และแบรนด์จะทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีความสนใจร่วมกับแบรนด์ผ่านคอนเทนต์ต่าง ๆ อย่างไร สุดท้าย การเลือกสื่อออนไลน์ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่ให้เลือกว่าเทคโนโลยีที่เข้ากับแบรนด์และกลุ่มผู้บริโภค อย่าใช้เพราะแค่กระแสของแพลตฟอร์มนั้น ๆ

]]>
1334561
เจาะลึกจุดแข็ง ‘Social Commerce’ แค่ไถจอก็เสียทรัพย์ ไม่ต้องง้อโปร 11.11 https://positioningmag.com/1305388 Tue, 10 Nov 2020 13:09:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305388 ‘Priceza’ แพลตฟอร์มเทียบราคาสินค้าบนออนไลน์คาดการณ์ว่าจากปัจจัยหนุนของ COVID-19 คาดว่าจะทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตถึง 35% มีมูลค่า 220,000 ล้านบาท และหนึ่งในช่องทางการขายของออนไลน์ที่เติบโตอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ‘Social Media’ ซึ่งคนที่ต้องกังวลที่สุดไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นเหล่า ‘e-Marketplace’ อย่าง ‘Lazada’ ‘Shopee’ นี่แหละ

Social กินพื้นที่อีคอมเมิร์ซเกือบครึ่ง

LINE ได้เปิดเผยว่าในช่วง COVID-19 ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยจำนวน 83% ช้อปปิ้งออนไลน์ และการช้อปผ่าน Social Commerce คิดเป็น 62% ของภาพรวมอีคอมเมิร์ซเลย ขณะที่ข้อมูลจาก Priceza ระบุว่าสัดส่วนของ Social Commerce ในปี 2019 มีสัดส่วนที่ 38% ส่วนข้อมูลจาก ETDA ยังพบว่าช่องทางขายที่ผู้ขายนิยมใช้มากที่สุดคือ Facebook Fanpage 64.0% รองลงมาคือ Shopee 43.1% LINE 39.5% Instagram 26.6% และ Lazada 24.8%

จะเห็นว่าผู้ขายเลือกใช้ Social Media เป็นช่องทางการขายของมากกว่าใช้ e-Marketplace ซึ่งปัจจัยที่สำคัญคือ ความ ‘ง่าย’ เพราะแค่เปิดเพจก็ขายของได้ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีฟีเจอร์ ‘ไลฟ์’ ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ โดยข้อมูลจาก ‘Shoplus’ ระบุว่าการไลฟ์ขายของในไทยเติบโตขึ้นถึง 173% สูงที่สุดในทวีปเอเชียเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีการตั้ง ‘กลุ่ม’ เพื่อไว้ขายของที่ฮิตกันอย่างมากในช่วงล็อกดาวน์

แม้ข้อมูลสัดส่วนของ Social Commerce ของแต่ละสำนักจะแตกต่างกัน แต่หากมองดี ๆ จะเห็นว่ามีความน่ากลัวไม่น้อย เพราะต้องอย่าลืมว่า Social Commerce นั้นไม่ใช่พื้นที่ขายของเหมือน e-Marketplace แต่กลับเกือบชิงพื้นที่ครึ่งหนึ่งของการขายไปแล้ว

เกิดจาก Social จบที่ Social

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ Social Commerce ได้รับความนิยมนั้นก็เพราะ “คนไทยเกิดจาก Social” พอเริ่มมีสมาร์ทโฟนก็ต้องเล่น Social ซึ่งนั่นทำให้คนไทย ‘คุ้นชิน’ กับการใช้งานมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ โดย ETDA ได้เปิดเผยสถิติของการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยในปี 2562 ซึ่งระบุว่าใช้เวลา 91.2% ใช้ไปกับ Social Media ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter และ LINE เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลให้ 57% ของผู้ใช้งานค้นพบแบรนด์ใหม่ ๆ ผ่าน Social Media

อย่าง ‘Instagram’ เองก็ได้แชร์ข้อมูลว่าผู้ใช้งาน IG ในแต่ละเดือนมีกว่า 1 พันล้านคน และ 90% ของผู้ใช้งานเหล่านี้กดติดตามบัญชีธุรกิจอย่างน้อย 1 บัญชี และมีผู้ใช้งานราว 130 ล้านคนที่กดดูแท็กรายละเอียดสินค้าในทุก ๆ เดือน แถม IG ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าช่วงสิ้นปีถึง 76% และ 51% ของนักช้อปค้นหาไอเดียเพื่อช่วยในการตัดสินใจผ่าน IG Story อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ความคุ้นเคยกับ Social แต่เพราะพฤติกรรมที่คนไทยชอบพูดคุย สอบถาม และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ว่าจะทักไปสอบถามรายละเอียดสินค้าหรืออย่าง ‘ขอลด’ ‘ขอของแถม’ ก็เป็นธรรมชาติของคนไทย ดังนั้นนี่จึงเป็นจุดแข็งของ Social Commerce ไทย โดย ‘Facebook’ เคยเปิดเผยข้อมูลว่า 40% ชอบทักแชทเพื่อซื้อของ ซึ่งสูงกว่าอเมริกาถึง 8 เท่า ขณะที่ LINE ระบุว่าการแชทมีโอกาสปิดการขายได้ 45% ส่วนโอกาสจบการขายของ Online Marketplace อยู่ที่ 3%

แพลตฟอร์ม ‘รุก’ มากขึ้น

ต้องยอมรับว่าการขายสินค้าบน Social ไม่ใช่ความตั้งใจของผู้สร้างแพลตฟอร์มแน่ ๆ แต่เพราะ ‘ผู้ใช้’ ต่างหากที่มาปรับใช้กันเอง อย่างการไลฟ์ขายของ ไทยเองก็เป็นผู้นำเทรนด์นี้จน Facebook เองยังงง หรือแม้แต่การใช้ Story ในการอัปเดตโปรโมชันรวมถึงความเคลื่อนไหวของแบรนด์ แต่ด้วยเทรนด์ที่มาทางนี้ เหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ จึงต้องทำฟีเจอร์เพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกให้มากยิ่งขึ้น

อย่าง ‘Instagram Shopping’ ฟีเจอร์ที่จะช่วยให้ร้านสามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยร้านค้าสามารถติดแท็กรายละเอียดสินค้า (Shopping Tags) บนหน้าฟีด ไอจีสตอรี่ และไอจีทีวี เพื่อให้ลูกค้าทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ในส่วนผู้ใช้เองสามารถค้นหาสินค้าผ่านปุ่มร้านค้า (Shop) ในหน้าสำรวจ (Explore) ได้เลย หรือในส่วนของ  ‘LINE’ เองก็มีแพลตฟอร์ม ‘LINE Shopping’ ที่จะรวบรวม ‘LINE MyShop’ หรือร้านค้าที่อยู่บน LINE เอาไว้ให้ผู้ใช้งานซื้อของได้ง่ายยิ่งขึ้น

จะเห็นว่าแต่ละแพลตฟอร์มพยายามที่จะทำให้ร้านค้าบนแพลตฟอร์มของตนปิดการขายได้บนแพลตฟอร์ม ไม่ต้องกระโดดข้ามไปซื้อของที่แพลตฟอร์มอื่น ๆ อีก

อุปสรรคใหญ่ ‘ความน่าเชื่อถือ’

ด้วยความ ‘ง่าย’ ในการใช้งานนี่แหละ ถือเป็นปัญหาใหญ่ของแพลตฟอร์ม เพราะมิจฉาชีพมักจะแฝงตัวเข้ามานคราบของร้านค้า หรือบางร้านอาจจะขายสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งลูกค้าก็ทำได้เพียงเรียกร้องความรับผิดชอบจากร้านเท่านั้น ขณะที่เหล่า e-marketplace เองมีระบบป้องกันชัดเจน โดยทำหน้าที่ ‘ตัวกลาง’ ในการพักเงิน โดยต้องรอลูกค้ายืนยันว่าได้รับและตรวจสอบสภาพสินค้าจริง ก่อนจะทำการโอนเงินให้ร้านค้าอีกที ซึ่งส่วนนี้เป็นข้อดีที่ทำให้ผู้ใช้งานสบายใจหายห่วง

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่เรื่องของความน่าเชื่อถือ แต่ ‘โปรโมชัน’ ที่มาร์เก็ตเพลสเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นยอดขายของร้านค้า ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ดึงดูดผู้บริโภค แต่ด้วยความที่โปรแรงไม่ได้มีทุกวัน ดังนั้น ทาง e-Marketplace จึงต้องเพิ่มความน่าสนใจต่าง ๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้ให้อยู่กับแพลตฟอร์ม ให้ ‘นานที่สุด’ ไม่ว่าจะ ‘ไลฟ์’ หรือการนำ ‘เกม’ เข้ามาเล่นเพื่อรับส่วนลดต่าง ๆ

คงต้องรอดูกันยาว ๆ ว่าสงครามนี้จะมีผู้ชนะหรือไม่ หรือต่างฝ่ายต่างเป็นหนามยอกอกของกันและกันในสังเวียนอีคอมเมิร์ซนี้ ส่วนผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ก็รอช้อปผ่านโปร 11.11 แล้วก็รอ cf ของในไลฟ์อีกที เผื่อไถฟีดไปเจอของถูกใจ

]]>
1305388
‘รัฐบาลบังกลาเทศ’ ใช้ ‘Net Idol’ สร้างแคมเปญบน IG เพื่อลดการระบาดของโควิด-19 https://positioningmag.com/1273003 Mon, 13 Apr 2020 12:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273003 หลังจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ย้ำว่าคนเจน ‘มิลเลนเนียม’ จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยหยุดการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ส่งผลให้หน่วยงานการตลาดที่มีอิทธิพลในสหรัฐอเมริกากำลังเปลี่ยนโฟกัสไปยังแคมเปญที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19

บริษัท ตัวแทนด้านการตลาด Influencers Marketing ในลอสแองเจลิสชื่อ ‘Xomad’ ที่ปกติจะใช้เทคโนโลยีในการจับคู่ผู้มีอิทธิพลกับแบรนด์ที่ต้องการเริ่มต้นแคมเปญเพื่อผลักดันการมีส่วนร่วมและการซื้อ แต่ทุกวันนี้เมื่อมีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกถึง 1.3 ล้านคน บริษัทเลยเปลี่ยนจากการช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ กระจายข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดทั่วโลกแทน

ที่มา : Twitter / Wongmjane

Rob Perry ซีอีโอของ Xomad เดินทางไปทำธุรกิจที่บังกลาเทศเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่าน พร้อมทั้งสร้าง ‘สภาผู้มีอิทธิพล’ (The Social Leader Council) แม้ตอนแรกเขาไม่ได้คาดหวังว่าการสร้างสภาดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับไวรัสโควิด-19 แต่ Xomad ได้ร่วมกับรัฐบาลและเหล่า Influencers ในท้องถิ่นเพื่อสร้างแคมเปญหยุดการระบาด โดยช่วงต้นเดือนเมษายนมี Influencers กว่า 200 คน และจะเพิ่มสมาชิกเป็น 5,000 คนในอนาคต

“บทบาทหลักของคณะมนตรีเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ คือ การทำหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต้องเผยแพร่ ส่วนเหล่า Influencers ต้องช่วยแจ้งให้รัฐบาลทราบถึงความกังวล ความเข้าใจผิด หรือข่าวปลอมที่เผยแพร่ต่อสาธารณะด้วย”

ที่มา : Pixaba / StockSnap

เบื้องต้น รัฐวางแผนที่จะใช้ผู้มีอิทธิพลซึ่งมีผู้ติดตามระหว่าง 5,000 ถึง 250,000 คนในการใช้อิทธิพลเพื่อกระจายการรับรู้เพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งนี้ ความร่วมมือที่ได้รับทุนจาก National Bank Limited ซึ่งเป็นธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในบังกลาเทศ

“เนื่องจากบังกลาเทศเป็นประเทศที่ค่อนข้างใหม่สำหรับการใช้อิทธิพลหรือการบอกต่อด้วยปากต่อปาก มันแสดงให้เห็นว่าอะไรเป็นไปได้เมื่อมีการนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น”

ทั้งนี้ ผู้ที่มีผู้ติดตามน้อยกว่า 100,000 คนจะทำงานได้ดีที่สุด เพราะมัน Real และเจ๋งกว่าการจ้างดาราดัง เพราะด้วยการใช้ชีวิตที่น่าเชื่อถือและการมีสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ติดตามของพวกเขา พวกเขามีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ติดตามและระดับการมีส่วนร่วมที่ดีขึ้น

ซึ่งนับตั้งแต่เปิดตัวกลุ่มผู้มีอิทธิพลในบังกลาเทศ ปัจจุบันสามารถเข้าถึงผู้คนกว่า 7 ล้านคน โดยมีผู้ชมกว่า 15 ล้านคนทั่ว Instagram และ Facebook แคมเปญนี้เข้าถึงผู้คนในกว่า 300 เมืองและเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ

Source

]]>
1273003