ไมเคิล มันเฟรด สไตลเบิล ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แรบบิท แคร์ จำกัด เปิดเผยถึงตลาดประกันภัยนั้นมียอดเติบโตแบบทบต้นตั้งแต่ปี 2019-2021 เฉลี่ยที่ 3.8% ขณะที่ปี 2022 ที่ผ่านมานั้นเติบโต 4.3%
ขณะที่ช่องทางจำหน่ายกรมธรรม์นั้นมาจาก Broker ประกันภัยสัดส่วนมากถึง 70% แล้ว จากเดิมในปี 2018 ที่มีสัดส่วนเพียงแค่ 59% เท่านั้น โดยภาพรวมระยะยาว ไมเคิลมองว่าจะมีการควบรวมกิจการของ Broker เข้าด้วยกัน เนื่องจากต้นทุนในการทำธุรกิจที่มากขึ้น
ในปี 2022 ผู้บริหารสูงสุดของ Rabbit Care ได้กล่าวว่า ผลประกอบการในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา แรบบิท แคร์บรรลุเป้าหมายเบี้ยประกันกว่า 3,000 ล้านบาท ขณะที่รายได้คอมมิชชั่นจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินเติบโตขึ้น 144% ทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หลังจากการเปิดตัว CareOS ซึ่งเป็นการพัฒนาเครื่องมือเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต เมื่อปีที่ผ่านมา
สำหรับกลยุทธ์ของ Rabbit Care ในปีนี้ ไมเคิล ได้กล่าวถึง ตลาดสินเชื่อในประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงขึ้น แม้ว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อการอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ส่งผลทำให้ในปีที่ผ่านมายอดสินเชื่อเติบโตแค่ 3% เท่านั้น ลดลงจากปี 2021 ที่เติบโตถึง 4.6%
ขณะเดียวกันเขายังชี้ว่าความต้องการของบริโภคต้องการจะหาสินเชื่อที่เหมาะสมกับตัวเอง จึงทำให้บริษัทมองเห็นช่องทางดังกล่าว
ปัจจัยดังกล่าว ทำให้ในปีนี้ทาง Rabbit Care ได้ขยายบริการสู่ตลาดสินเชื่อส่วนบุคคล โดยมีการเปรียบเทียบสินเชื่อระหว่างสถาบันการเงินต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการจับมือกับพาร์ตเนอร์รายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง KTC หรือแม้แต่ KBJ Capital ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง Jaymart และ KB Kookmin Card จากประเทศเกาหลีใต้ เพื่อที่จะเจาะตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น
ไมเคิลยังกล่าวว่าคนไทย 15 ถึง 20 ล้านคนยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ ซึ่งเป็นโอกาสของบริษัท
นฝั่งของประกันภัยนั้น บริษัทจับมือกับพาร์ตเนอร์เตรียมที่จะออกประกันภัยรถยนต์แบบรายครั้ง (Pay Per Use) ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ไม่ได้ใช้รถยนต์บ่อยๆ แต่ต้องการประกันภัยที่ครอบคลุม
ปัจจุบัน Rabbit Care มีผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น ประกัน ฯลฯ รวมถึงผลิตภัณฑ์สินเชื่อ 16 ผลิตภัณฑ์ โดยในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย จาก 10 พาร์ตเนอร์ชั้นนำ ทั้งที่เป็นสถาบันการเงิน (Bank) และผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร (Non-bank)
เป้าหมายสำหรับปีนี้นั้น Rabbit Care มีการตั้งเป้าเบี้ยประกันรวมของทุกผลิตภัณฑ์ไว้ที่ 4,500 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้รายได้โดยรวมเติบโตจากปี 2022 มากถึง 50% ขณะที่ฝั่งของสินเชื่อคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อ 1,500 ล้านบาทผ่านแพลตฟอร์มของบริษัท
]]>สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยศูนย์ Center of InsurTech, Thailand (CIT) จัดงานแถลงข่าวการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย หรือ OIC InsurTech Award 2020 ภายใต้โจทย์ “InsurTech – Breaking Through The New Insurance Possibility พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่” ณ ห้องประชุม ชั้น 2 สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ทั้งนี้เพื่อสร้างและส่งเสริมความรู้พื้นฐานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมประกันภัยให้แก่กลุ่มนิสิต/นักศึกษา บุคลากรในวงการประกันภัย บุคลากรในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Firm) กลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยี (Tech Startup) และประชาชนทั่วไป ที่มีความสนใจและนำความรู้ไปพัฒนานวัตกรรมอุตสาหกรรมประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ เข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เหมาะสมกับยุค New Normal ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้มุ่งเน้นการสร้างเสริมความรู้ในรูปแบบออนไลน์และส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดนวัตกรรมด้านการประกันภัย ด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ๆ ในการเข้าถึงการประกันภัย ของประชาชนและให้ความรู้ด้านการประกันภัยผ่านเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดงานการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย หรือ OIC InsurTech Award 2020 ภายใต้โจทย์ “InsurTech – Breaking Through The New Insurance Possibility พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่” โดยกล่าวว่า อุตสาหกรรมประกันภัยเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และทำให้เกิด สิ่งที่เรียกว่า “เทคโนโลยีการประกันภัย” (Insurance Technology ) เป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้คนไทยเข้าใจและเข้าถึงเรื่องประกันภัยมากขึ้น สำนักงาน คปภ. โดยศูนย์ Center of InsurTech, Thailand จึงได้จัดการประกวดชิงรางวัลนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัยขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “InsurTech – Breaking Through The New Insurance Possibility พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่” โดยเห็นได้จากในช่วงของการระบาดไวรัสโควิด 19 ทำให้เห็นถึงความหวาดกลัว การตื่นตัว การเฝ้าระวังต่อการแพร่ระบาดของโรค โควิด 19 ส่งผลทำให้ประชากรไทยเกิดความตระหนักรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น และมองหาเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการประกันภัยโควิด จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ ที่มีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจซื้อกรมธรรม์ผ่านช่องทางดิจิทัลสูงถึงกว่า 9 ล้านกรมธรรม์ ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ดังนั้นสำนักงานคปภ.จึงส่งเสริมช่องทางการขายและวิธีการการขายผ่านทางออนไลน์และดิจิทัลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยได้ริเริ่มรูปแบบการประกันภัยในรูปแบบ Digital Face to face ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งเรื่องของการส่ง Email SMS ซึ่งเดิมทีอาจใช้กันอยู่แล้ว แต่สำหรับในยุค New Normal นั้นจะเป็นรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น อาทิ การใช้โซเชียลแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Line call หรือ VDO เป็นต้น ในอนาคตยุค 5G ที่จะมาถึงก็จะช่วยให้พัฒนาต่อยอดงานบริการด้านประกันภัยให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการนำส่งกรมธรรม์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การจ่ายค่าสินไหมทดแทน และการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน
ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นนั้น แม้จะเป็นวิกฤต แต่ถ้ามองในแง่บวกก็ถือเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมประกันภัยในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านประกันภัยมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมประกันภัยในขณะเดียวกันโครงการนี้ฯ ก็จะเป็นประโยชน์กับกลุ่มนิสิต/นักศึกษา บุคลากรในวงการประกันภัย บุคลากรในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Firm) กลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยี (Tech Startup) และประชาชนทั่วไป ในการนำความรู้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสนับสนุนต่อยอดองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมประกันภัย นอกจากนี้ยังเป็นการขยายเครือข่ายผู้ที่มีความสนใจ ตลอดจนผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน InsurTech อีกด้วย
สำหรับการเข้าร่วมประกวดในโครงการนี้ฯ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทนิสิต นักศึกษา และประเภทประชาชนทั่วไป โดยผู้สนใจสามารถสมัครเข้าประกวดเป็นทีม มีสมาชิกจำนวนไม่เกิน 2-4 คนต่อทีม สมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2563 เวลา 23.59 น. โดยผู้สมัครต้องดาวน์โหลด Template ในส่วนของการส่งผลงานประกวดนั้นนำเสนอในรูปแบบ Business Model Canvas ได้ที่ Link : https://url.oic.or.th/award2020/bizcanvas โดยใส่รายละเอียดหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาธุรกิจประกันกันภัย รวมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้โจทย์ “พุ่งทะลุสู่ทุกความเป็นไปได้กับโลกประกันภัยยุคใหม่” บันทึกเป็นไฟล์ PDF (ขนาดไฟล์ไม่เกิน 20 MB) โดยตั้งชื่อไฟล์ว่า “ผลงานสมัครเข้าร่วม OIC InsurTech Award 2020 – ชื่อทีม” พร้อมกรอกใบสมัครและอัพโหลดไฟล์ Business Model Canvas ได้ที่ Link : https://url.oic.or.th/award2020/regis โดยผู้สมัครสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรูปแบบออนไลน์ 4 หลักสูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียนเพื่อพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมงานแข่งขัน OIC InsurTech Award 2020 สามารถเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรูปแบบออนไลน์ได้ที่ : https://url.oic.or.th/award2020/start ทั้งนี้ จะมีการคัดเลือกทีมที่สมัครให้เหลือ 70 ทีม เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ จากนั้นจะมีการคัดเลือกรอบที่ 2 จาก 70 ทีม ให้เหลือ 30 ทีม และจะให้ 30 ทีม เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์แบบเข้มข้นและเจาะลึก เพื่อพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 10 ทีมสุดท้าย ซึ่งจะมีสิทธิมานำเสนอผลงานเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกในรอบชิงชนะเลิศ ที่งานประกาศรางวัล OIC InsurTech Award 2020 ที่อาคารศูนย์ CIT โดยรางวัลที่จะได้รับแต่ละประเภทแบ่งเป็น รางวัลที่ 1 เป็นเงินรางวัล 70,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รางวัลที่ 2 เป็นเงินรางวัล 50,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รางวันที่ 3 เป็นเงินรางวัล 30,000 บาท จำนวน 1 รางวัล และรางวัลชมเชย เป็นเงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 2 รางวัล ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (CIT) E-mail : [email protected] โทรศัพท์ 080-900-2820
]]>