Jitta Wealth – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 31 Oct 2024 04:36:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คู่มือลงทุน ETF เปิดประตูสู่หุ้นโลก (ตอนที่ 3) https://positioningmag.com/1496388 Wed, 30 Oct 2024 07:38:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1496388

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

ตอนที่ผ่านๆ มาผมได้ฉายภาพคุณสมบัติของ ETF (Exchange Traded Fund) หลักการลงทุนและประเภทของ ETF ที่มีหลากหลายและแตกต่างกันออกไป รวมไปถึงชี้เป้าวิธีการศึกษาหาข้อมูล ETF

เพราะ ETF เป็นเครื่องมือการลงทุนที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีจำนวนกองเปิดใหม่ที่มากขึ้นทุกๆ ปี และหลายๆ ETF มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน เช่น ETF ที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีนับร้อยนับพัน ใช้ดัชนีอ้างอิงที่แตกต่างกัน แต่ก็มี ETF หลายสิบหลายร้อยกองที่ใช้ดัชนีอ้างอิงเดียวกัน และมีนโยบายลงทุนเหมือนกัน แต่ผลตอบแทนและความผันผวนของ ETF ไม่เท่ากัน

แล้วคุณจะเลือก ETF ที่น่าลงทุนที่สุดได้อย่างไร หากคุณยังมีความรู้ความเข้าใจไม่มากพอ…

บทความนี้ ผมจะพาคุณไปส่องวิธีการเลือก ETF ที่น่าลงทุนที่สุด ซึ่งไม่มีเกณฑ์อะไรยากและซับซ้อน ขอเพียงคุณทำความเข้าใจอย่างรอบด้าน

เมื่ออ่านบทความนี้จบ คุณจะสามารถใช้วิธีการเพื่อนำมาเปรียบเทียบและคัดเลือก ETF ที่อยู่กลุ่มหรือประเภทเดียวกัน เพื่อเฟ้นหา ETF ตรงใจคุณมากที่สุด

วิธีการคัดเลือก ETF ที่น่าลงทุน

แต่ละคนมีความต้องการ ระดับความเสี่ยง และเป้าหมายการลงทุนที่แตกต่างกัน ก่อนจะคัดเลือก ETF เพื่อมาจัดพอร์ตลงทุน คุณควรรู้จักตัวเองก่อนว่า คุณสามารถและเต็มใจรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน

หากคุณรับความเสี่ยงได้ต่ำ และไม่ต้องการขาดทุน หรือได้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก คุณควรเลือก ETF ที่ลงทุนในตราสารหนี้ รวมไปถึงพันธบัตรรัฐบาล หรือ Bond ETF ที่สำคัญ คือ ตราสารหนี้และพันธบัตรควรมีความน่าเชื่อถือสูง อยู่ในกลุ่มระดับลงทุนได้ (Investment Grade) ผ่านการจัดอันดับ Credit Rating จาก Fitch S&P และ Moody’s หมายถึง ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำนั่นเอง โดยให้น้ำหนักการลงทุนตั้งแต่ 80-100% ในพอร์ต

หากคุณรับความเสี่ยงได้ปานกลาง และต้องการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น เงินลงทุนบางส่วนลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างหุ้นได้ คุณสามารถเลือก Bond ETF ผสมกับ ETF ที่ลงทุนในหุ้น (Equity ETF) สัดส่วนผสมกันระหว่าง 40-60% ในพอร์ต ถ้าไม่ต้องการความผันผวนสูง คุณเลือก ETF ที่ลงทุนในตลาดหุ้น (Stock Market ETF) เพื่อกระจายความเสี่ยงในหลายๆ กลุ่มอุตสาหกรรม

หากคุณรับความเสี่ยงได้สูง และต้องการได้รับผลตอบแทนที่สูง จากมูลค่าสินทรัพย์ที่เติบโต รวมทั้งยินดีรับความผันผวนขาลงระยะสั้น คุณสามารถเลือก Equity ETF ในสัดส่วนได้ตั้งแต่ 80-100% โดยจะเป็น Stock Market ETF หรือ ETF ที่ลงทุนในรายอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ (Sector ETF) หรือ ETF ที่ลงทุนในธีมธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตระยะยาว (Thematic ETF) รวมไปถึงเลือก ETF ที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity ETF) หากรับความเสี่ยงได้สูงมาก หรือกระจายความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยใน Bond ETF เพื่อบรรเทาความผันผวนในช่วงขาลงของตลาดหุ้นได้

เมื่อคุณรู้จักระดับความสามารถ (Ability) และความเต็มใจ (Willingness) ในการรับความเสี่ยงจากการลงทุน ต่อมาคือ วิธีการเฟ้นหา ETF เพื่อมาจัดพอร์ตลงทุน ตามความเสี่ยงและผลตอบแทนคาดหวัง

ยิ่งคุณเจอ ETF หลายๆ กองที่ลงทุนในสินทรัพย์หรือมีนโยบายลงทุนเหมือนกัน จะเฟ้นหา ETF ไหนมาจัดพอร์ตดี คุณสามารถคัดเลือก ETF ที่น่าลงทุนที่สุด โดยพิจารณาจาก 4 เกณฑ์ ดังนี้

เกณฑ์ที่ 1 มูลค่า AUM ที่สูง

ETF ที่มีความแข็งแกร่งและมีความน่าเชื่อถือ นอกเหนือจากพิจารณาที่บริษัทจัดการลงทุนแล้ว มูลค่า AUM (Assets Under Management) หรือมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (หรือ Net Asset) มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ยิ่งมากยิ่งดี เพราะมูลค่า AUM ที่สูงมากพอ สะท้อนว่า โอกาสที่ ETF จะบริหารกองหรือสร้างผลตอบแทนเติบโตมีสูง เพราะมีกระแสเงินทุนมากพอที่จะลงทุนตามนโยบายที่กำหนดไว้ โดยคุณสามารถนำ ETF ประเภทเดียวกัน จัดอันดับมูลค่า AUM สูงที่สุด แล้วมาเปรียบเทียบกันได้

เกณฑ์ที่ 2 ค่า Total Expense Ratio ที่ต่ำ

ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของ ETF เป็นอีกเกณฑ์ที่มีสำคัญ ยิ่งถ้าคุณสนใจ Passive ETF เน้นให้ผลตอบแทนล้อไปกับดัชนีอ้างอิง ผู้จัดการกองทุนทำเพียงแค่ลงทุนตามดัชนี ไม่ต้องปรับพอร์ตบ่อย ค่า Total Expense Ratio จะไม่สูงอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ไม่ปรับขึ้นกัน เพราะต้องแข่งขันกับ ETF ประเภทเดียวกันด้วย

แต่ถ้าเป็น Active ETF เน้นให้ผลตอบแทนชนะดัชนีอ้างอิง ผู้จัดการกองทุนต้องคอยติดตามภาวะตลาดและปรับพอร์ตตลอดเวลา ค่า Total Expense Ratio จะสูงกว่า

เหตุผลคือ ค่า Total Expense Ratio ที่สูงจะมีส่งผลต่อผลตอบแทนที่ ETF นั้นทำได้ ผลตอบแทนอาจจะน้อยกว่าดัชนีอ้างอิงหรือไม่สามารถชนะดัชนีอ้างอิงได้ โดยคุณสามารถนำ ETF ประเภทเดียวกัน จัดอันดับมูลค่า AUM สูงที่สุด เพิ่มส่วนค่า Total Expense Ratio เพิ่มเติม แล้วเลือก ETF ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด

เกณฑ์ที่ 3 ค่า Tracking Error ที่ต่ำ

ค่า Tracking Error สามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของ ETF และผู้จัดการกองทุนได้ว่า ผลตอบแทนที่ทำได้ในแต่ละเดือน ไตรมาส และปี ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงหรือไม่ เหมือนเป็นค่าความคลาดเคลื่อน ETF ที่มีค่า Tracking Error ต่ำ ย่อมดีกว่า ETF ที่มีค่า Tracking Error สูงอย่างแน่นอน

ค่า Tracking Error นี้จะใช้วัด Passive ETF เพราะมีหลักการให้ผลตอบแทนล้อไปกับดัชนีอ้างอิง แต่จะใช้วัด Active ETF ไม่ได้ ค่าความคลาดเคลื่อนจะสูงอยู่แล้ว เพราะมุ่งทำผลตอบแทนให้ชนะดัชนีอ้างอิง

หากคุณต้องการให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงมากที่สุด นอกจาก 2 เกณฑ์แรกแล้ว ค่า Tracking Error ของ ETF ควรต่ำด้วยเช่นกัน

เกณฑ์ที่ 4 ค่าความเสี่ยงต่างๆ

ปกติแล้ว ETF จะทำ Fact Sheet (แผ่นข้อมูล) ที่จะระบุข้อมูลส่วนสรุปของ ETF นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายลงทุน ดัชนีอ้างอิง ค่า Total Expense Ratio ผลตอบแทน และบริษัทที่ลงทุน รวมไปถึงแสดงค่าสถิติอื่นๆ ที่ระบุถึงความเสี่ยง ความผันผวน รวมไปถึงค่าผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่คุณสามารถพิจารณาได้

ค่าแรก คือ Standard Deviation (SD หรือ Volatility) เป็นค่าสถิติตัวแรกที่วัดความผันผวนของ ETF ค่ายิ่งสูง หมายถึงความผันผวนสูง ยิ่งต่ำ หมายถึงความผันผวนต่ำ มักจะเอามาคำนวณต่อในค่าสถิติอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยง (หรือความผันผวน)

นอกจากนี้ยังมีค่า Sharpe Ratio ใช้วัดความสามารถในการบริหาร ETF และดูผลตอบแทนต่อความเสี่ยง ควรมีค่ามากกว่า 1 หมายถึงทำผลตอบแทนได้มากกว่าความเสี่ยงนั่นเอง คุณจะได้รู้ว่า ความเสี่ยงนั้นคุ้มค่ากับผลตอบแทนที่คาดหวังหรือไม่ โดยทั่วไป Passive ETF เปรียบเทียบค่า Sharpe Ratio ก็เพียงพอแล้ว

ส่วนค่า Sortino Ratio ที่ใช้เฉพาะความผันผวนขาลงมาคำนวณ วัดความสามารถในการบริหาร ETF เหมือนกัน โดยดูผลตอบแทนต่อความเสี่ยง ค่ายิ่งสูง ยิ่งดี แต่มักใช้วัดประสิทธิภาพของ Active ETF ที่มุ่งเน้นให้ผลตอบแทนชนะดัชนีอ้างอิง

โดยปกติคุณสามารถดูค่า SD ค่า Sharpe Ratio และค่า Sortino Ratio ครบในที่เดียวได้จาก Morningstar เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่เฟ้นหาข้อมูลพื้นฐานของ ETF โดยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

หากคุณต้องการรู้จัก ETF นั้นมากขึ้นไปอีก ลองเข้าไปอ่าน 10 หุ้นแรกที่ ETF นั้นลงทุน ว่าตรงตามเป้าหมายของคุณหรือไม่ โดยเฉพาะ Thematic ETF ที่ไม่มีกฎตายตัวในการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตลงทุน วัดแค่ว่า เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจตามธีมที่ ETF กำหนดนโยบายไว้

นี่คือ 4 เกณฑ์วิธีการคัดเลือก ETF อย่างง่ายๆ เพื่อคุณสามารถมั่นใจได้ว่า ETF ที่เฟ้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ มาแล้วนั้น เป็น ETF ที่น่าลงทุนที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการพิจาณาจากมูลค่า AUM ค่า Total Expense Ratio ค่า Tracking Error และค่าความเสี่ยงต่างๆ และเริ่มต้นจัดพอร์ตลงทุนได้อย่างสบายใจ เพราะคุณรู้จัก ETF นั้นอย่างรอบด้าน

เมื่อคุณเข้าใจถึงวิธีการคัดเลือก ETF และเริ่มสนใจอยากหาโอกาส ‘ลงทุนต่างประเทศ’ ด้วย ETF  ผมได้รวบรวมช่องทางลงทุนให้คุณแล้ว

โอกาส ‘ลงทุนต่างประเทศ’ ด้วย ETF

เทรนด์การลงทุนปัจจุบัน นักลงทุนไทยหลายคนเริ่มสนใจจัดพอร์ตลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงและเห็นโอกาสเติบโต เพราะ ETF ต่างประเทศมีรูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย และบางกองลงทุนในธีมธุรกิจที่ไม่มีในไทย

ในสายตาหลายๆ คน พอพูดถึง ‘ลงทุนต่างประเทศ’ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก และต้องใช้เงินลงทุนเยอะ หากจะลงทุนด้วยตัวเอง ทำให้นักลงทุนหลายคนถอดใจที่จะเริ่มต้น

จริงๆ แล้ว โอกาสลงทุนต่างประเทศไม่ยากอย่างที่คิด และด้วยเทคโนโลยีช่วยให้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่สูงมาก โดยเฉพาะลงทุนผ่าน ETF อีกทั้งยังได้กระจายความเสี่ยงลงทุนในอุตสาหกรรมและธีมธุรกิจที่น่าสนใจ ด้วย ETF เพียงกองเดียว

นอกจากนี้ ETF เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก มีความหลากหลายในแง่ของสินทรัพย์ อุตสาหกรรม และธีมธุรกิจต่างๆ จึงดีงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาอย่างมหาศาลจากนักลงทุนทั่วโลก

ผมได้รวบรวมวิธีการ ‘ลงทุนต่างประเทศ’ ด้วย ETF ทั้งทางตรงและทางอ้อม มาให้คุณลองพิจารณาดู พร้อมทั้งจำแนกข้อดีและข้อด้อย เพื่อให้คุณเข้าใจและตัดสินใจเลือกช่องทางลงทุนที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด 3 วิธีด้วยกัน

วิธีที่ 1 ลงทุนผ่านกองทุนรวม

กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund – FIF) เป็นทางเลือกแรกของการลงทุน ETF ต่างประเทศ เพราะเข้าถึงง่ายที่สุด ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก และซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ

ปัจจุบัน FIF เปิดกองใหม่ๆ มีทางเลือกให้กับคุณเยอะมาก โดยเลือกลงทุนผ่านกองทุนต่างประเทศ และ ETF หลากหลายประเภท โดยเป็นการลงทุนทางอ้อม มี 2 รูปแบบ คือ Feeder Fund (ลงทุนกองเดียว) และ Fund of Funds (ลงทุนหลายกอง)

อย่างไรก็ตาม FIF ไม่ได้จำกัดเฉพาะการลงทุนในรูปแบบกองทุน และ ETF เท่านั้น แต่สามารถไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินต่างประเทศอื่นๆ ได้ เช่น จัดพอร์ตลงทุนตราสารหนี้และหุ้นโดยตรง ดังนั้นคุณควรอ่านศึกษานโยบายการลงทุนของ FIF นั้นๆ ให้เข้าใจก่อนที่จะลงทุน

จุดเด่น

  • ใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก เพื่อซื้อหน่วยลงทุน
  • เปิดบัญชีลงทุนง่าย
  • ผู้จัดการกองทุนบริหารมูลค่าทรัพย์สินและผลตอบแทนตามนโยบายกองทุน

จุดด้อย

  • ค่าธรรมเนียมสูง ทั้งเก็บจากกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน
  • ผู้จัดการกองทุนสามารถเปลี่ยนกองทุนหรือ ETF ต้นทางได้

วิธีที่ 2 ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์

ปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ในไทยหลายแห่ง ให้บริการเปิดบัญชีเพื่อไปลงทุนในหุ้นและกองทุนต่างประเทศโดยตรงได้ และมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้ และเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับนักลงทุนที่มีเงินลงทุนเริ่มต้นสูง เพราะบางบล. อาจจะมีเงื่อนไขค่าธรรมเนียมซื้อขายขั้นต่ำ คุณจะต้องมีเงินมากพอ เพื่อให้คุ้มกับค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย

นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น การโอนเงินไปและกลับจากต่างประเทศ หากคุณจะใช้บริการบล. ไทย ควรศึกษาอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินของประเทศที่ไปลงทุนด้วย

ด้วยการพัฒนาระบบออนไลน์ต่างๆ คุณยังสามารถเปิดบัญชีผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศด้วยตัวเอง แต่คุณควรจะทำความเข้าใจเงื่อนไขเงินลงทุนขั้นต่ำและค่าธรรมเนียมด้วยเช่นเดียวกัน

จุดเด่น

  • เข้าถึงการลงทุนโดยตรงและเป็นเจ้าของสินทรัพย์
  • เปิดบัญชีลงทุนง่าย ทั้งบล. ไทยและโบรกเกอร์ต่างประเทศ
  • มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวก

จุดด้อย

  • ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นสูง เพื่อให้คุ้มกับค่าธรรมเนียม
  • ค่าธรรมเนียมสูง มีขั้นต่ำ และมีต้นทุนการโอนเงินไปและกลับจากต่างประเทศ
  • ใช้เวลาในการโอนเงินและแปลงสกุลเงิน

วิธีที่ 3 ลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล

กองทุนส่วนบุคคลเป็นอีกทางเลือกที่ให้คุณลงทุนต่างประเทศผ่านหุ้นและ ETF โดยตรง โดยเปิดบัญชีผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)

บริการกองทุนส่วนบุคคลมีหลากหลายขึ้นอยู่กับบลจ. โดยจัดพอร์ตลงทุนและเลือกสินทรัพย์ให้ตามระดับความเสี่ยงของคุณ หรือวางรูปแบบกองทุนส่วนบุคคลไว้ให้คุณเลือก หลายๆ บลจ. อาจจะมีเงื่อนไขบริหารเงินลงทุนสูงมาก เช่น 5 ล้านขึ้นไป หรือ 10 ล้านขึ้นไป

แต่ด้วยเทคโนโลยีและการพัฒนาแพลตฟอร์มลงทุนทำให้บริการกองทุนส่วนบุคคลในปัจจุบัน ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากก็สามารถลงทุนใน ETF โดยตรง อย่างเช่น Jitta Wealth ที่นักลงทุนสามารถเริ่มต้นที่ 10,000 บาท และเพิ่มทุนครั้งละ 1,000 บาท

บริการกองทุนส่วนบุคคลจะมีค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมโอนเงินไปและกลับจากต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่คุณควรศึกษาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน

จุดเด่น

  • เข้าถึงการลงทุนโดยตรงและเป็นเจ้าของสินทรัพย์
  • เปิดบัญชีลงทุนง่ายผ่านบลจ. ไทย
  • บลจ. บริการพอร์ตลงทุนให้ และมีผู้รับฝากทรัพย์สิน
  • มีค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม ไม่กระทบต่อผลตอบแทน
  • บางบลจ. มีระบบดิจิทัลรองรับ เช่น AI คัดเลือกสินทรัพย์

จุดด้อย

  • บางบลจ. อาจจะมีเงื่อนไขด้านเงินลงทุนเริ่มต้นที่สูงมาก
  • อาจจะมีสินทรัพย์ เช่น หุ้นและ ETF ให้เลือกไม่มาก
  • ใช้เวลาในการโอนเงินและแปลงสกุลเงิน
  • อาจจะมีเงื่อนไขค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สินขั้นต่ำ

นี่คือ 3 ทางเลือกที่คุณจะสามารถคว้าโอกาส ‘ลงทุนต่างประเทศ’ ง่ายๆ ด้วย ETF ซึ่งไม่ยากอย่างที่คิดผมหวังว่า ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับ ETF ทั้ง 2 ตอน จะทำให้คุณรู้จักเครื่องมือการลงทุนอย่าง ETF มากยิ่งขึ้น และเห็นโอกาสสร้างพอร์ตลงทุนที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว

มูลค่าเงินลงทุนใน ETF ทั่วโลกมากกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2563 เป็นเครื่องการันตีชั้นดีว่า ETF เป็นที่นิยมของนักลงทุนทั่วโลก…แล้วคุณล่ะ เริ่มต้นสร้างพอร์ตลงทุน ETF ทั่วโลกแล้วหรือยัง

]]>
1496388
คู่มือลงทุน ETF เปิดประตูสู่หุ้นโลก (ตอนที่ 2) https://positioningmag.com/1488911 Thu, 05 Sep 2024 08:52:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488911

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

ในตอนที่แล้ว ผมได้เกริ่นถึง กองทุนดัชนี และประเภทของกองทุน ETF และประเภทสินทรัพย์ที่ ETF ลงทุนไปแล้ว คุณน่าจะพอเห็นภาพว่าทุกวันนี้ นักลงทุนอย่างเราไม่ได้ถูกจำกัดสินทรัพย์ลงทุนไว้เพียงหุ้นหรือตราสารหนี้เท่านั้น  เราสามารถเลือกลงทุนในธุรกิจต่างๆ ได้ผ่านกองทุน ETF ที่มีให้เลือกอย่างหลากหลายทีเดียว

และทุกวันนี้ก็เกิดเทรนด์ใหม่ขึ้นมาที่คุณๆ อาจจะเคยได้ยินผ่านๆ หูมาบ้าง อย่าง การลงทุนในธีมธุรกิจ (Thematic Investment) ใน ETF เรียกว่า Thematic ETF ที่ถือได้ว่า เป็นเครื่องมือการลงทุนในธีมธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว โดยเป็นการเติบโตในรูปแบบ Structural Trend ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตหรือการดำเนินธุรกิจในอนาคตข้างหน้า

ธีมของธุรกิจใหม่ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจปัจจุบันและส่อแววว่าจะเฉิดฉายต่อไปในอนาคตได้ ยกตัวอย่าง เช่น บทบาทของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่แทรกซึมเข้ามา เพิ่มความสะดวกสบายในการซื้อของ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปซูเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างสรรพสินค้า จึงทำให้เกิดธีมอีคอมเมิร์ซเพื่อลงทุนในรูปแบบ ETF หากจำกันได้ในช่วงที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤติ Covid-19 ในช่วงแรกของการแพร่ระบาด ผู้คนออกไปไหนไม่ได้ การซื้อของออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจึงเติบโตสูงมากในปี 2563 ส่งผลให้บริษัทที่ให้บริการอีคอมเมิร์ซ หรือ ETF อย่าง ProShares Online Retail ETF (ONLN) เติบโตสูงถึง +111.37% ในปีเดียวกัน

ธุรกิจคลาวด์ (Cloud Computing) กลายเป็น Thematic ETF เช่นเดียวกัน และได้รับอานิสงส์จากวิกฤต Covid-19 ที่ทำให้ผู้คนและองค์กรทั่วโลกหันมาลงทุนกับระบบคลาวด์ เพื่อใช้ในการทำงานจากที่บ้าน เก็บไฟล์งานต่างๆ ที่ดึงออกมาใช้ได้ตลอดเวลา ขอเพียงมีอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงความบันเทิงในบ้าน เช่น ดูภาพยนตร์ ดูซีรีส์ และฟังเพลง ในปี 2563 ETF อย่าง WisdomTree Cloud Computing Fund (WCLD) เติบโตสูงถึง +109.71%

แต่การเติบโตแบบ Structural Trend ไม่ได้วัดที่ผลตอบแทนปีใดปีหนึ่งเท่านั้น เป็นมุมมองและความเชื่อมั่นในธีมธุรกิจนั้น ที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว ที่ว่ากันเป็น 10-20 ปี คุณอาจจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า คุณยังจะใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่อไปหรือไม่ หรือแพลตฟอร์มคลาวด์มีความจำเป็นในชีวิตและการทำงานของคุณหรือเปล่า

รวมไปถึงธีมธุรกิจอื่นๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น ฟินเทค เกมและอีสปอร์ต หุ่นยนต์และ AI จีโนมิกส์ หรือพลังงานสะอาด ถ้ามองภาพระยะยาว…ธีมธุรกิจเหล่านี้จะมีศักยภาพเติบโตหรือเข้ามามีอิทธิพลกับผู้คนทั่วโลกหรือไม่

นี่คือความเป็น ‘เมกะเทรนด์’ ของธีมธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต  บริษัทจัดทำดัชนีอ้างอิงต่างเล็งเห็นถึง  เทรนด์การลงทุนใน Thematic ETF จึงรวบรวมบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องกับธีมนั้นๆ และจัดทำดัชนีอ้างอิงขึ้นมา โดยแต่ละบริษัทจัดการลงทุนสามารถออกแบบนโยบายได้ทั้ง Passive ETF หรือ Active ETF

คุณสามารถเลือกสร้างพอร์ตให้เติบโตไปตามอุตสาหกรรมหรือธีมธุรกิจที่เลือก พร้อมทั้งกระจายความเสี่ยงในหุ้นหลายสิบหลายร้อยบริษัทผ่าน ETF กองเดียว

อย่างไรก็ตามการลงทุนใน ETF รายกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธีมธุรกิจ ราคาและผลตอบแทนจะมีความผันผวนมากกว่า ETF ตลาดหุ้นที่มีกรอบการลงทุนกว้างกว่าและลงทุนในหุ้นหลากหลายอุตสาหกรรม ดังนั้นคุณควรศึกษาสินทรัพย์แต่ละอุตสาหกรรมก่อนจะลงทุน เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของแต่ละอุตสาหกรรมหรือธีมธุรกิจ และมั่นใจในศักยภาพเติบโต พร้อมรับมือกับความผันผวนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ตัวอย่าง ETF ที่ลงทุนในรายกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ และธีมธุรกิจ

ETF นโยบาย
iShares Global Healthcare ETF (IXJ) มากกว่า 100 บริษัททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรม Healthcare
Global X FinTech ETF (FINX) มากกว่า 50 บริษัทที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี Fintech ทั่วโลก
ETFMG Alternative Harvest ETF (MJ) มากกว่า 40 บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและแปรรูปกัญชา
Global X Video Games & E-sports ETF (HERO) มากกว่า 40 บริษัทที่เกี่ยวข้องกับวงการเกมและจัดการแข่งขันอีสปอร์ต

 

ETF อีกประเภทที่ออกแบบมา เพื่อคว้าโอกาสลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ น้ำมันดิบ เงิน หรือสินค้าการเกษตรต่างๆ เรียกว่า Commodity ETF ซึ่งจะมีนโยบายการลงทุนที่แคบกว่า ETF ประเภทอื่นๆ  เนื่องจากลงทุนเจาะจงไปที่สินค้าโภคภัณฑ์ตัวนั้นๆ ราคาและผลตอบแทนจึงมีความผันผวนสูงมาก เป็นไปตามวงรอบเศรษฐกิจ ตามอุปสงค์อุปทาน หากมีข่าวสารเชิงลบ ที่จะส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง

ยกตัวอย่างการลงทุนในทองคำ ราคาจะมีความเคลื่อนไหวไปตามวงรอบวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง จนธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ราคาทองคำจะอยู่ไต่ระดับเป็นขาขึ้น ไปจนถึงช่วงเศรษฐกิจเริ่มถดถอย เงินเฟ้อไม่เร่งตัว ธนาคารกลางเริ่มลดดอกเบี้ย ราคาทองคำอาจจะทำนิวไฮได้ในช่วงนี้ เพราะนักลงทุนทั่วโลกจะหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีในช่วงที่ตลาดการเงินการลงทุนผันผวน ที่เรียกว่า Safe Heaven

ดังนั้นคุณควรทำความเข้าใจและหาความรู้ในสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงรับมือกับความเสี่ยงด้านราคา การปรับพอร์ตใน Commodity ETF ตามรอบวงจรเศรษฐกิจมีความสำคัญมาก หากคาดการณ์ว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีโอกาสเร่งตัวในอนาคต ค่อยปรับพอร์ตให้น้ำหนักการลงทุนใน Commodity ETF มากขึ้น แล้วลดสัดส่วนในพอร์ตเมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มปรับตัวลดลง

Commodity ETF จะรวบรวมและคัดสรรบริษัทชื่อดังที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ที่ ETF นั้นลงทุน และเป็น Passive ETF ที่ให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงมากที่สุด

ตัวอย่าง ETF ที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์

ETF นโยบาย
SPDR Gold Shares (GLD) กองทุน ETF ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีชื่อเสียงที่สุดในโลกด้วย
United States Oil Fund LP (USO) กองทุน ETF น้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถือครองน้ำมันหลายชนิด ครอบคลุมน้ำมันทั่วโลก
Invesco DB Agriculture Fund (DBA) สินค้าการเกษตรแบบคลอบคลุม ซึ่งรวบรวมหลายประเภท เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าวสาลี และทุกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

 

จะเห็นได้ว่า การลงทุนใน Commodity ETF จะมีความแตกต่างกันในสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนั้น ราคาและผลตอบแทน จะมีความผันผวนและความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน ในช่วงราคาน้ำมันขาลง ราคาทองอาจจะเป็นขาขึ้นได้ แต่ก็มีส่วนที่เหมือนกัน คือ เป็น Passive ETF สร้างผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนีอ้างอิง ขึ้นอยู่กับคุณว่า จะเลือกลงทุนและเชื่อมั่นในสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทไหน

นอกจากนี้ยังมี ETF ที่ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เพื่อตอบสนองความต้องการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป เช่น ETF เงินตราต่างประเทศ และ ETF คริปโทเคอร์เรนซี

อ่านมาจนถึงตอนนี้คุณอาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า ‘มีวิธีในการคัดเลือก ETF ต่างประเทศเพื่อลงทุนอย่างไร’ หรือ ‘ถ้าอยากจะลงทุนใน ETF ต่างประเทศโดยตรงสามารถทำยังไงได้บ้าง’ ซึ่งในตอนต่อไป ผมจะพาคุณไปลงลึกถึงวิธีการเลือก ETF และโอกาสลงทุนต่างประเทศ และเมื่ออ่านจนจบ คุณจะตัดสินใจได้ว่า เลือกลงทุน ETF ต่างประเทศอย่างไรให้ตรงจริตของคุณ

]]>
1488911
คู่มือลงทุน ETF เปิดประตูสู่หุ้นโลก (ตอนที่ 1) https://positioningmag.com/1484702 Thu, 01 Aug 2024 10:46:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1484702

บทความโดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

ภาวะการลงทุนในประเทศที่ไม่ได้เอื้อต่อจิตใจของนักลงทุนยามนี้ ทำให้เชื่อว่าหลายต่อหลายคนกำลังมองหาการลงทุนใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุนกำลังใจในการลงทุนให้รู้สึกอุ่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะการออกไปลงทุนต่างประเทศ แต่ก็อาจจะยังมีความลังเลและไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี วันนี้ผมมีเครื่องมือการลงทุนที่จะมาช่วยเพิ่มทางเลือกให้คุณได้ลองเปิดใจ และอาจจะกลายเป็นติดใจได้ไม่ยาก

เครื่องมือทางการลงทุนยอดนิยม ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก คือ ‘กองทุนดัชนี’ ที่ผมจะพาไปทำความรู้จักบทเรียนแรกๆ หรือจะเรียกว่าเป็น ETF 101 ก็ว่าได้นะครับ

กองทุนดัชนี คือ สินทรัพย์ทางการเงินในรูปแบบกองทุน มีนโยบายบริหารกองทุนแบบ Passive ที่ให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนีอ้างอิง เช่น S&P500 DJIA NASDAQ100 ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ หรือ CSI300 ของตลาดหุ้นจีน หรือ NIKKEI225 ของตลาดหุ้นญี่ปุ่น หรือ SET50 ตลาดหุ้นไทย โดยมาในรูปแบบของกองทุนรวม (Mutual Fund) หรือ ETF (Exchange Traded Fund)

กองทุนดัชนีเป็นการลงทุนระยะยาว เนื่องจากเป็น Passive Fund ผลตอบแทนล้อไปกับดัชนีอ้างอิง เมื่อดัชนีปรับตัวขึ้น ผลตอบแทนก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อดัชนีปรับลดลง ผลตอบแทนก็จะลดลง เป็นเรื่องปกติของตลาดหุ้น มีทั้งขาขึ้นและขาลง

ถ้าคุณลงทุนอย่างมีวินัย หมั่นเพิ่มทุนสม่ำเสมอในกองทุนดัชนี พอร์ตระยะยาว…จะมีผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นอย่างยั่งยืน เพราะเงินในพอร์ตทำงานได้อย่างเต็มที่ ผลตอบแทนสูงในช่วงขาขึ้น มักชดเชยการขาดทุนช่วงขาลงได้

Invesco บริษัทจัดการลงทุน ทำวิจัยออกมาว่า ในช่วงพฤศจิกายน 2511 ถึงธันวาคม 2563 ช่วงดัชนี S&P500 เป็นขาขึ้นต่อเนื่องนานที่สุดอยู่ที่ 1,764 วัน หรือประมาณ 58 เดือน ขณะที่ช่วงดัชนีขาลงนานที่สุดอยู่ที่ 349 วัน หรือประมาณ 11-12 เดือน ส่วนผลตอบแทนสูงสุดช่วงขาขึ้นอยู่ที่ +180.04% ช่วงขาลงอยู่ที่ -36.34%

หากลงทุนนานถึง 30 ปี ผลตอบแทนของดัชนี S&P500 จะอยู่ที่ 10.7% ต่อปี…นี่คือ ความมหัศจรรย์ของการลงทุนแบบ Passive ในตลาดหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว

ทำไมการลงทุนใน ETF ถึงน่าสนใจ

ETF หรือ Exchange Traded Fund กองทุนรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดหุ้น โดยไม่ต้องเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หรือบริษัทจัดการลงทุน

ปัจจุบัน ETF ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก เพราะเป็นเครื่องมือการลงทุนที่เปิดทางให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงสินทรัพย์การลงทุนได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตราสารหนี้และหุ้นในระดับประเทศ ภูมิภาค และทั่วโลก

ETF

นอกจากนี้ยังมี ETF หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม หุ้นธีมธุรกิจ และสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งยังขยายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโทเคอร์เรนซี

จุดเริ่มต้นของ ETF มีนโยบายลงทุนแบบ Passive ตามดัชนีอ้างอิง เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด เหมือนกับกองทุนรวมดัชนี แต่แทนที่จะประกาศราคาซื้อขายตอนสิ้นวันเหมือนกองทุนรวม นักลงทุนสามารถซื้อขาย ETF ได้ในตลาดหุ้น…เสมือนซื้อขายหุ้นนั่นเอง

ดังนั้นความน่าสนใจของ ETF คือ ซื้อง่ายขายคล่องบนกระดานหุ้น เพราะเป็นการผสมผสานคุณสมบัติของหุ้นและกองทุนรวมเข้าด้วยกัน

ปัจจุบัน ETF ขยายรูปแบบการลงทุนนอกเหนือจาก Passive ETF มาเป็น Active ETF รวมไปถึงหลักการลงทุนและนโยบายที่หลากหลายมากขึ้น บทความนี้ ผมจะพาคุณได้ไปทำความรู้จักกับ ETF ในหลากหลายแง่มุม

ข้อแตกต่างระหว่าง Passive ETF และ Active ETF

อย่างที่ได้อธิบายไปแล้ว Passive ETF มีนโยบายลงทุนให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนีอ้างอิงที่ ETF กองนั้นระบุไว้ใน Fact Sheet (แผ่นข้อมูล) ปัจจุบันมีดัชนีอ้างอิงหลายร้อยหลายพัน ไม่ว่าจะเป็นดัชนีผลตอบแทนตราสารหนี้และดัชนีตลาดหุ้นในระดับประเทศ ภูมิภาค และทั่วโลก นอกจากนี้หลายๆ สถาบันการเงินยังออกดัชนีหุ้นรายอุตสาหกรรม ดัชนีหุ้นธีมการลงทุน และดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์

หากคุณเลือกลงทุนใน Passive ETF คุณต้องมั่นใจว่า ตลาดการเงินการลงทุนและดัชนีอ้างอิงมีประสิทธิภาพที่จะสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว และความเสี่ยง คือ ตลาดหุ้นเป็นช่วงขาลง ผลตอบแทนจะน้อยลงตามกัน คุณทำเพียงเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ หรือ DCA (Dollar Cost Averaging) แล้วปล่อยให้เงินทำงาน สร้างมูลค่าให้เติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ตามดัชนีอ้างอิง

Passive ETF จะมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย (Total Expense Ratio) ที่ต่ำมาก เพราะผู้จัดการกองทุนจะลงทุนตามดัชนีอ้างอิง ไม่ต้องติดตามดูกราฟราคาสินทรัพย์และปรับพอร์ตตลอดเวลา โดยคุณสามารถตรวจสอบได้ว่า Passive ETF ที่สนใจมี Total Expense Ratio เท่าไร ลงทุนอยู่ในสินทรัพย์อะไรบ้าง

ตัวอย่าง Passive ETF

  • Vanguard Total Stock Market ETF (VTI) อ้างอิงจากดัชนี CRSP US Total Market Index ที่รวมหุ้นทุกขนาดมาร์เก็ตแคปในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
  • ThaiDex SET50 Exchange Traded (TDEX) อ้างอิงจากดัชนี SET50 ที่รวมหุ้น 50 ตัวแรกตามขนาดมาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นไทย
  • VanEck Vectors Vietnam ETF (VNM) อ้างอิงจากดัชนี MVIS Vietnam Index ที่ลงทุนประมาณ 30 บริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปอย่างน้อย 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่อยู่ในตลาดหุ้นเวียดนาม และตลาดหุ้นอื่นๆ ที่มีรายได้หลักมาจากเวียดนาม

ในปี 2563 มูลค่า AUM (Assets Under Management) ของ ETF ทั่วโลกอยู่ที่ 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างที่ได้เกริ่นมาแล้วว่า ETF เป็นเครื่องมือการลงทุนที่มีวิวัฒนาการมาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ได้เป็น Passive ETF เพียงอย่างเดียว แต่มี Active ETF เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนทั่วโลก

ETF

สำหรับ Active ETF มีนโยบายลงทุนให้ผลตอบแทนชนะดัชนีอ้างอิง ดังนั้นผู้จัดการกองทุนจะจัดพอร์ตตามนโยบายที่ได้ระบุไว้ใน Fact Sheet หากคุณเลือก ETF ประเภทนี้ คุณต้องมีแนวคิดที่ว่า ตลาดการเงินการลงทุนและดัชนีอ้างอิงไม่มีประสิทธิภาพ จึงต้องเลือกเครื่องมือการลงทุนที่จะทำผลตอบแทนชนะดัชนีอ้างอิง และความเสี่ยง คือ โอกาสที่ Active ETF จะมีผลตอบแทนแพ้ดัชนีอ้างอิง ซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

เหมือนกับกองทุนรวมแบบ Active Fund (การบริหารจัดการเชิงรุก) ส่งผลให้ Active ETF จะมี Total Expense Ratio ที่สูงกว่า เพราะผู้จัดการกองทุนต้องติดตามสินทรัพย์ที่ลงทุนและปรับพอร์ต ETF ตลอดเวลา รวมไปถึงการซื้อขายสินทรัพย์ถี่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิง

ตัวอย่าง Active ETF

  • ARK Innovation ETF (ARKK) เป็น ETF ที่เน้นลงทุนบริษัทนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาดิสรัปรูปแบบธุรกิจเดิม และมีโอกาสขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจในอนาคต เช่น เทคโนโลยี AI เทคโนโลยี DNA เทคโนโลยีคลาวด์ และฟินเทค
  • ARK Genomic Revolution ETF (ARKG) เป็น ETF ที่เน้นลงทุนในธุรกิจด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ที่พัฒนาการรักษาให้ลึกลงไปในระดับพันธุกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคร้ายแรงหรือโรคที่รักษายาก
  • First Trust Preferred Securities & Income ETF (FPE) เป็น ETF ที่เน้นลงทุนในหุ้นหุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นกู้แปลงสภาพกว่า 80% เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงในความผันผวนที่ต่ำ และรายได้ที่มั่นคงให้กับนักลงทุน

รูปแบบการลงทุนของ Passive ETF และ Active ETF จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งเรื่องนโยบายการลงทุน ผลตอบแทนที่คาดหวัง การบริหารจัดการพอร์ต และค่าธรรมเนียม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจกับ Active ETF เช่นเดียวกัน ด้วยมูลค่า AUM ทั่วโลกในสัดส่วน 2.9% อยู่ที่ 303,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สิ้นปี 2563

ในความแตกต่างนี้ อยู่ที่ตัวคุณ ว่ามีเป้าหมายใช้เครื่องมือการลงทุนรูปแบบไหน ที่ตรงกับความต้องการและจริตการลงทุนของคุณ หากต้องการลงทุน Passive ETF เพื่อเติบโตในระยะยาวไปตามดัชนีอ้างอิงด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำ หากต้องการลงทุน Active ETF เพื่อผลตอบแทนชนะดัชนี ด้วยค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น

ประเภทสินทรัพย์ที่ ETF ลงทุน

ปัจจุบันมี ETF อยู่เกือบ 8,000 กองทั่วโลก กลายเป็นเครื่องมือการลงทุนของนักลงทุนทั่วโลก มีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้ามาลงทุนเรื่อยๆ เพราะเปรียบเสมือนหุ้นบนกระดานซื้อขาย และได้กระจายความเสี่ยงเพียงลงทุนแค่ ETF กองเดียว ทำให้สินทรัพย์ที่ ETF มีมากมายหลายประเภท ที่เป็นทางเลือกให้กับคุณ

ผมได้รวบรวมสินทรัพย์ยอดนิยมที่ ETF เข้าไปลงทุนมากที่สุดได้แก่ หุ้นและตราสารหนี้ ทำให้มูลค่า AUM ของสินทรัพย์ทั้ง 2 ตัวมีขนาดใหญ่มาก ETF จึงมีความแข็งแกร่งในแง่ของโอกาสเข้าถึงสินทรัพย์ที่หลากหลาย และจัดพอร์ตลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีมากที่สุด จึงมีโอกาสเติบโตได้ดีในระยะยาว

ตัวอย่าง ETF ที่ลงทุนในตลาดหุ้น

ETF

นโยบาย

Vanguard Total Stock Market ETF (VTI)

หุ้นทั้งหมดในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา

Vanguard FTSE Developed Markets ETF (VEA)

หุ้นทั้งหมดในตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

Vanguard FTSE Emerging Markets ETF (VWO)

หุ้นทั้งหมดในตลาดหุ้นประเทศกำลังพัฒนา

ตัวอย่าง ETF ที่ลงทุนในตราสารหนี้

ETF

นโยบาย

iShares Core U.S. Aggregate Bond ETF (AGG)

พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้บริษัทเอกชนคุณภาพดีของสหรัฐฯ

iShares iBoxx $ Investment Grade Corporate Bond ETF (LQD)

หุ้นกู้บริษัทเอกชนคุณภาพดีของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ยังมี ETF ที่ลงทุนในรายกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ที่เรียกว่า Sector ETF เพื่อเปิดโอกาสลงทุนในหุ้นรายกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ บางช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นขาลงหรือเกิดวิกฤต จะมีบางอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบน้อยหรือไม่เจอผลกระทบเลย จึงยังมีผลตอบแทนที่ดีกว่า

ETF

Sector ETF มีนโยบายลงทุนได้ทั้ง Passive และ Active ขึ้นอยู่กับบริษัทจัดการลงทุน โดยจะใช้ดัชนีอ้างอิงและตะกร้าหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจตามเกณฑ์ Global Industry Classification Standard (GICS) จัดทำโดยบริษัทจัดทำดัชนีตลาดอย่าง MSCI และ S&P แบ่งเป็น 4 ลำดับชั้นจากยอดสู่ฐานของสามเหลี่ยม ได้แก่

  • 11 Sectors (ภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ)
  • 24 Industry Groups (กลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ)
  • 68 Industries (อุตสาหกรรมหรือธุรกิจ)
  • 157 Sub-industries (อุตสาหกรรมหรือธุรกิจย่อย)

ยกตัวอย่างภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ เช่น พลังงาน (Energy) สินค้าจำเป็น (Consumer Staples) การเงิน (Financials) หรือบริการสุขภาพ (Healthcare)

จริงๆ แล้ว ทุกวันนี้มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ที่คุณสามารถเข้าไปเลือกลงทุนได้ผ่าน ETF ซึ่งในครั้งหน้า ผมจะมาเล่าให้ฟังต่อถึงธุรกิจที่น่าสนใจ และเป็นเมกะเทรนด์ของโลก ผมหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นทางเลือกสำหรับมือใหม่ที่ต้องการออกไปลงทุนต่างประเทศ ได้ศึกษาและพิจารณาโอกาสใหม่ๆ ที่จะให้พอร์ตของคุณเติบโตได้ยั่งยืนไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรก็ตาม   

]]>
1484702
อารมณ์-ค่าธรรมเนียม ต้นทุนลงทุนที่ไม่ควรมองข้าม https://positioningmag.com/1481143 Thu, 04 Jul 2024 03:47:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481143

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

“The Greatest Enemies of Equity investors are Expenses and Emotions”
“ศัตรูที่ยิ่งใหญ่ของนักลงทุนในหุ้น ก็คือค่าใช้จ่ายและอารมณ์”
วลีของปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไอดอลนักลงทุนสายเน้นคุณค่าหรือ VI ของใครหลายคนเคยว่าไว้

คุณเองอาจจะคิดว่าในการลงทุนมีแค่ ไม่ ‘กำไร’ ก็ ‘ขาดทุน’ เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเบื้องหลังกว่าจะทำให้คุณมีกำไรหรือขาดทุนมีอยู่มากมาย

“ค่าใช้จ่าย” และ “อารมณ์” คือ 2 สาเหตุหลัก มีส่วนสำคัญให้นักลงทุนทำผลตอบแทนได้แย่ลงกว่าเดิม บางคนอาจขาดทุนหนักจนหมดตัวจากตลาดหุ้นได้ด้วยซ้ำ

เรามาเริ่มกันที่เรื่องใกล้ตัวอย่างเรื่องอารมณ์กันก่อนนะครับ

อารมณ์ VS การลงทุน

หากคุณลงทุนด้วยตัวเอง ย่อมรู้ว่าการเป็นนักลงทุนคุณภาพต้องใช้ทักษะวิเคราะห์เชิงเหตุและผลสูงมาก ทั้งสภาพเศรษฐกิจ พื้นฐานธุรกิจ วิเคราะห์เชิงตัวเลข วิเคราะห์เชิงคุณภาพ การคาดการณ์ความน่าจะเป็นในอนาคต และอื่นๆ การจะเป็นนักลงทุนที่ดีจึงต้องติดตามข่าวสารและข้อมูลการลงทุนในหุ้นที่เราลงทุนอยู่อย่างใกล้ชิด

ยิ่งใกล้ชิดข้อมูลอาจจะยิ่งได้เปรียบ เมื่อก่อนอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่ในโลกที่ข้อมูลกำลังล้นโลก ไม่ต่างจากขยะจากครัวเรือน เราจะแยกแยะอย่างไรว่า เรื่องไหนจริงหรือเรื่องไหน ‘ปั่น’

แม้ว่าคนที่มีทักษะในการวิเคราะห์หุ้นมากกว่า ก็จะสามารถลงทุนได้ผลตอบแทนดีกว่า แต่เรื่องทักษะ แค่มีความเพียรก็ไล่ตามกันทันได้ แต่สติเท่านั้นที่จะช่วยให้คุณมองทะลุตลาดที่ขมุกขมัวไปได้  ซึ่งเราก็ได้เห็นกันแล้วว่าการใช้อารมณ์ในการลงทุน ยังคงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อมีข่าวที่สร้าง Panic ให้นักลงทุนจนตลาดเหวี่ยงขึ้นลงจนยากจะทำใจว่าขาลงจะสิ้นสุดที่เท่าไร

มาดูกันครับนักลงทุนที่ซื้อขายหุ้นตาม “อารมณ์” อย่างเดียวโดยไม่มีการวิเคราะห์ใดๆ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ข้อผิดพลาดของการลงทุนโดยใช้ “อารมณ์”

  • ซื้อหุ้นตามข่าว ตามเพื่อนบอก โดยไม่เคยรู้จักธุรกิจจริงๆ
  • กระจายความเสี่ยงไม่เป็น ทำให้พอร์ตขาดทุนหนัก
  • หุ้นกำไรนิดหน่อยขาย หุ้นขาดทุนเยอะๆ ยังเก็บไว้
  • หุ้นที่กำไร กำไรนิดเดียว หุ้นที่ขาดทุน ขาดทุนหนักมาก
  • ไม่กล้าลงทุนตอนหุ้นดีๆ ราคาลดลงมา เพราะกลัวราคาจะลงมาอีก
  • รอซื้อหุ้นตอนราคาสูงๆ แล้ว เพราะกลัวจะขึ้นไปอีก
  • และอื่นๆ

ข้อผิดพลาดเหล่านี้เอง ที่ส่งผลให้ผลตอบแทนของนักลงทุนกลุ่มนี้ ได้ผลตอยแทนต่ำกว่าตลาด หรือบางคนอาจขาดทุนหมดตัวจากตลาดหุ้นได้เลยครับ

ถ้าลองประมาณตัวเลขแบบง่ายๆ ในมุมมองของผมเอง ก็จะขอแบ่งนักลงทุนออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน หรือ 25% ตามทักษะการลงทุน โดยกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่มีทักษะการลงทุนสูงสุด และ กลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มที่ใช้อารมณ์ในการลงทุนมากสุด ผลตอบแทนของแต่ละกลุ่มจะเป็นดังต่อไปนี้

  • กลุ่มที่ 1 : ทำผลตอบแทนได้ 12% – 20% ต่อปี
  • กลุ่มที่ 2 : ทำผลตอบแทนได้ 6% – 12% ต่อปี
  • กลุ่มที่ 3 : ทำผลตอบแทนได้ 0% – 6% ต่อปี
  • กลุ่มที่ 4 : ขาดทุน

กลุ่มที่ 1 ที่ใช้ช่วงผลตอบแทนเป็น 12% – 20% เพราะคือ กลุ่มที่ชนะตลาดหุ้นไทยได้ เลยต้องมีผลตอบแทนมากกว่า 11.87% และให้สูงสุดที่ 20% ต่อปี เทียบเท่ากับสถิติที่ปู่ Warren Buffett ทำได้ครับ (ต้องเป็นคนที่ลงทุนเก่งมากๆ เลยทีเดียว ถึงจะทำได้เท่ากับคุณปู่ครับ)

ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าคุณไม่ได้มีทักษะการลงทุนที่ยอดเยี่ยมจริงๆ การพยายามเข้ามาซื้อขายหุ้นด้วยตนเอง มากๆ คือความเสี่ยงอย่างที่สุด เพราะจะมีคนที่ลงทุนได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาดหุ้นอยู่แค่ 25% เท่านั้น อีก 75% ทำผลตอบแทนได้แย่กว่าการนั่งอยู่เฉยๆ และลงทุนทั้งตลาดเสียอีกครับ

ถัดจากเรื่องอารมณ์ ผมจะพาไปดูเรื่องค่าใช้จ่ายกันบ้างครับ

ค่าใช้จ่าย VS การลงทุน

เพราะในการลงทุนต้องมี “ต้นทุน” แฝงอยู่ด้วยเสมอ นั้นก็คือ ค่าคอมมิชชั่นที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทหลักทรัพย์ทุกครั้งที่ทำการซื้อขายหุ้น โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 0.25% ของมูลค่าการซื้อหรือขายแต่ละครั้ง

ดังนั้นถ้าในแต่ละปี มีการซื้อขายหุ้น 4 รอบ (8 ครั้ง) ก็จะต้องเสีย ค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายหุ้นราวๆ 2% แล้วครับ ถ้าคุณทำผลตอบแทนได้แค่ 12% ต่อปี พอหักค่าคอมมิชชั่นตรงนี้ไปแล้ว ผลตอบแทนก็จะเหลือแค่ 10% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งทำให้ผลตอบแทนน้อยกว่าตลาดหุ้นทันทีครับ

หลายๆ คนที่มีการเก็งกำไรกันมากๆ อาจจะซื้อขายหุ้นกันปีนึงอย่างต่ำเป็น 10 รอบ คิดเป็นค่าคอมมิชชั่นราวๆ 5% เลยทีเดียว เท่ากับว่าถ้าซื้อขายบ่อยขนาดนี้ ต้องทำผลตอบแทนได้ประมาณ 17% ต่อปี ก่อนหักค่าคอมมิชชั่นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสุทธิชนะตลาดหุ้น ที่ 12% ต่อปี

เมื่อรวมเรื่อง “ค่าใช้จ่าย” เข้าไปด้วย นักลงทุนกลุ่มที่ 1 ที่ทำผลตอบแทนได้ 12% – 20% ต่อปี จำนวน 50 คนนั้น หักกับค่าคอมมิชชั่นเหล่านี้ไปแล้ว ก็จะเหลือแค่ประมาณ 20 คน ที่สามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาดหุ้นครับ

ทีนี้คุณลองนึกภาพตามผมนะครับ ในขณะที่เรากำลังเก็งกำไร เราต้องลงทุนอยู่บน  ‘อารมณ์’ และ ‘ค่าใช้จ่าย’ ยิ่งซื้อขายบ่อย ต้นทุนเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วยเสมอ

สุดท้ายแล้วนักลงทุนที่เลือกวิถีการเก็งกำไรก็จะยิ่งมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจนในที่สุดก็ขาดทุน  เทียบกับ การถือครองหุ้นอยู่เฉยๆ ตามหลักการลงทุนที่ถูกต้อง ยังจะสามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่าคนที่พยายามจะซื้อขายหุ้นกันไปมา

ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้จัดการกองทุนมืออาชีพด้วยครับ เพราะผู้จัดการกองทุนเอง ก็ไม่สามารถหลีกหนีหลักการเรื่องอารมณ์ และค่าใช้จ่ายได้ครับ หากนักลงทุนสายเก็งกำไรมีผู้จัดการกองทุนที่พยายามแข่งขันกันทำผลตอบแทน จึงต้องซื้อๆ ขายๆ หุ้นกันเอง สุดท้ายแล้ว สถิติก็จะออกมาแบบเดียวกันครับ หรืออาจจะแย่กว่าด้วยซ้ำ เพราะกองทุนจะมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเพิ่มขึ้นมาด้วยอีกส่วนนึงครับ

แล้วยิ่งกองทุนมีค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ยิ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนที่แตกต่างกันด้วยครับ

ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นนะครับ

สมมติว่าคุณลงทุนเริ่มต้น 10,000 บาท ผ่านไปประมาณ 50 ปี เทียบกัน 2 พอร์ตที่มีค่าธรรมเนียมที่ต่างกัน พอร์ตแรกหากเอามูลค่าทรัพย์สินสุทธิหักค่าธรรมเนียม 0.5% ต่อปี มูลค่าของพอร์ตสุทธิจะอยู่ที่ 1,859,487.30 บาท แต่มูลค่าของพอร์ตที่ 2 ที่ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1.5% ต่อปีจะมีมูลค่าสุทธิของพอร์ตอยู่ที่ 1,165,333.93 บาท

และยิ่งระยะเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ ค่าธรรมเนียมก็จะมีผลกับผลตอบแทนมากขึ้นเท่านั้น

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว​ เชื่อว่าคุณคงกำลังฝึกที่จะตัดอารมณ์ออกจากการลงทุน ผมแนะนำว่าให้ตั้งกฏเหล็กให้กับตัวเอง ที่นิยมใช้กันเช่นการตั้งตัวเลขไว้ที่ 10% หากราคาหุ้นขึ้นถึงระดับดังกล่าว ก็ให้ขายออกเสีย แล้วไม่ต้องไปสนใจราคาหลังจากนั้นครับ หรือหากยังทำไม่ได้ก็ให้ AI ลงทุนให้ครับ เพราะ AI ไร้อารมณ์​เสมอครับ ให้ AI คอยเลือกธุรกิจที่ดีและปล่อยให้เงินลงทุนเติบโตไปตามการเติบโตของธุรกิจและปันผล มีการกระจายความเสี่ยง และการปรับพอร์ตอย่างเป็นระบบตามหลักการให้เรียบร้อย สะดวกสบายกว่าเยอะครับ

ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมนั้น หากคุณเลือกที่จะเป็นนักลงทุนระยะยาว แทนการเก็งกำไร ก็อาจจะลดต้นทุนส่วนนี้ไปได้ หรือหากเป็นกองทุนที่มีค่าบริหารจัดการ คุณควรเลือกกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมต่ำไว้ก่อน เช่นกองทุนดัชนี หรือลงทุนกับ Jitta Wealth เองก็คิดค่าบริหารจัดการที่ต่ำมากเพียง 0.5% เท่านั้นครับ

การลงทุนในตลาดหุ้นสามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่าการลงทุนในทรัพย์สินอื่นๆ อยู่แล้ว ขอเพียงแค่อดทนกับความผันผวนระยะสั้นและถือครองการลงทุนไปได้เรื่อย ในทางกลับกันการเก็งกำไรในตลาดหุ้น เป็นเกมศูนย์ (Zero Sum Game) ​​ถ้ามีคนนึงขายหุ้น ก็ต้องมีคนนึงซื้อหุ้น และเมื่อมีคนนึงได้กำไร อีกคนก็ต้องขาดทุนเสมอครับ

ดังนั้นหากคุณสามารถตัด “ค่าใช้จ่าย” และ “อารมณ์” ออกไปได้จากการลงทุนได้มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะทำผล    ตอบแทนระยะยาวได้เหนือกว่านักลงทุนคนอื่นๆ ไปก็มีสูงมากขึ้นเท่านั้นครับ

]]>
1481143
ให้ AI นำทางบนถนนสายการลงทุน https://positioningmag.com/1477404 Tue, 11 Jun 2024 03:25:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477404

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

กระแสการใช้ AI ในทุกวันนี้กระเทือนไปหลายอุตสาหกรรม มนุษย์ทำงานเองก็ยังรู้สึกหวั่นๆ เมื่อไรจะถูก AI มาแทนที่ หลายคนอาจรู้สึกเช่นนั้น แต่ผมในฐานะที่ใช้ AI ทำงานในการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้ามาตลอด 12 ปี อยากแนะนำให้ทุกท่านใจเย็น มอง AI อย่างสร้างสรร และใช้ประโยชน์จาก AI ให้ได้มากที่สุด และทุกวันนี้เทคโนโลยีก็พัฒนา AI ให้พวกเราทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริงมากขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการโต้ตอบกับ AI ในหัวข้อต่างๆ ที่เราสนใจ หรือจะใช้วาดรูป สร้างคลิปวิดีโอทำพรีเซนเทชั่นก็สุดล้ำ และที่ง่ายคือทุกอย่างทำได้บนมือถือของเราเองครับ

ผมกล้าพูดได้ว่า ทุกวันนี้ AI ฉลาดขึ้นมาก คำตอบที่เรามักจะได้กลับมาจาก AI แชตบอต มีความลึกขึ้นมาก ผมได้ทดลองตั้งคำถามกับ Copilot ที่ทาง​ไมโครซอฟท์เพิ่ง เปิดตัวแชตบอต​ AI สำหรับทำงานด้านการเงินโดยเฉพาะเมื่อไม่นานมานี้ ผมลองตั้งคำถามเกี่ยวกับการลงทุนแบบ​ DCA ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่นักลงทุนนิยมใช้กันด้วยการทยอยๆ ซื้อสินทรัพย์ที่เลือกไว้ด้วยจำนวนเงินเท่ากัน เป็นระยะๆ ข้อดีก็คือ ช่วยสร้างวินัยในการออมและลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาหุ้นทำให้ไม่ต้องพยายามจับจังหวะตลาด

ผมได้ทดลองพิมพ์คำถามเข้าไปว่า ‘DCA ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการลงทุนหุ้นจริงๆ หรอ?’

และนี่คือคำตอบที่ผมได้รับครับ

Copilot :

การลงทุนแบบ Dollar-Cost Averaging (DCA/ เป็นกลยุทธ์ที่นิยมใช้ในการลงทุนหุ้นโดยการทยอยซื้อสินทรัพย์ที่เลือกไว้ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันในช่วงเวลาที่กำหนด

1. ข้อดีของ DCA คือช่วยสร้างวินัยในการออมและลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาหุ้น ทำให้นักลงทุนไม่ต้องพยายามจับจังหวะตลาด

2. อย่างไรก็ตาม, DCA อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนเสมอไป เพราะมันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาการลงทุน, ความสามารถในการรับความสี่ยง, และเป้าหมายการลงทุนของแต่ละบุคคล

3. สำหรับบางคนที่ต้องการผลตอบแทนสูงสุด และสามารถรับความเสี่ยงได้, การลงทุนแบบเลือกจังหวะ (timing the market) อาจเหมาะสมกว่า แต่สำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นคง และมีวินัยในการออม, DCA อาจเป็นทางเลือกที่ดี

ในท้ายที่สุด, การเลือกวิธีการลงทุนควรพิจารณาจากสถานการณ์ส่วนบุคคลและคำปรึกษาจากที่ปรึกษาทางการเงินที่มีความรู้ และประสบการณ์เพื่อวางแผนการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

เป็นอย่างไรครับคำตอบที่ได้ ค่อนข้างชัดเจนนะครับว่าหากคุณเป็นนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคงแล้ว DCA คือคำตอบที่ดี

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งในการใช้ AI ที่รู้เรื่องการเงิน รู้จักและเข้าในเรื่องของการ DCA ส่วนคุณในฐานะนักลงทุนจำเป็นต้องรู้ตัวเองว่า คุณเป็นนักลงทุนแบบไหน นี่คือสิ่งที่ AI ยังตอบไม่ได้ เพราะยังเรีนนรู้ไปไม่ถึงจิตใจของคุณในเวลานี้ แต่อนาคตไม่แน่นะครับ หาก AI ได้เห็นพฤติกรรมการลงทุนของคุณบ่อยขึ้นเรื่อยๆ

ที่ผมกล้าพูดเช่นนี้เพราะในโลกการลงทุน ผมได้มีการใช้ AI กับการลงทุนมาเป็นเวลานานมากแล้วครับกองทุนระดับโลกหลายแห่งก็ได้นำ AI มาใช้บริหารพอร์ตลงทุน ไม่ว่าจะเป็น JPMorgan Chase & Co, Morgan Stanley, Vanguard Group, Deutsche Bank AG, ING Groep NV, Fidelity และ Wealthfront ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 บริษัทจัดการลงทุนที่นำ AI มาใช้บริหารจัดการพอร์ตลงทุนมากที่สุดนั่นเอง

และปัจจุบัน 70% ของปริมาณการซื้อขายหุ้นในตลาดสหรัฐฯ มาจาก AI ทั้งการใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์และมนุษย์เป็นผู้ตัดสินใจลงทุน และการใช้ AI ทำการซื้อขายหุ้นเองแบบเบ็ดเสร็จ และนับวัน AI จะฉลาดมากขึ้นจากข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป บวกกับการเรียนรู้สภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลานั้น

ผมขอยกตัวอย่าง Jitta Intel ซึ่งเป็น AI ของ Jitta ทำงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อตั้งจิตตะเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ทำการประมวลผลข้อมูลกว่า 1,000 ล้านชุดข้อมูลต่อวันเพื่อวิเคราะห์หุ้นทั่วโลกกว่า 48,000 หุ้น ครอบคลุมหุ้น 90% ทั่วโลก เพื่อหาหุ้นที่น่าลงทุนที่สุดของแต่ละตลาด (Jitta Ranking) ตามหลักการลงทุนเน้นคุณค่า (Value Investing: VI) ที่ใช้ศาสตร์ของ ‘Quant VI’ ช่วยคัดหุ้นดีราคาถูก สร้างผลตอบแทนชนะตลาดได้ในระยะยาว

และต่อมาก็ได้เพิ่มศักยภาพของ AI ด้วยการนำมาพัฒนาเทคโนโลยีการลงทุนอัตโนมัติ (Automated Investing) ให้กับลูกค้า Jitta Wealth ช่วยในการบริหารจัดการพอร์ตลงทุนส่วนบุคคลให้กับนักลงทุนกว่า 68,000 พอร์ต ในทุกๆ มิติการลงทุน ​ทั้งการบริหารความเสี่ยง การจัดสินทรัพย์ให้กระจายทั่วโลก รวมถึงการปรับพอร์ตรายบุคคลอัตโนมัติอีกด้วย

ข้อดีอย่างนึงของการบริหารพอร์ตด้วย AI นอกจากการประมวลผลจาก Big Data ในระยะเวลาอันสั้นแล้ว สิ่งที่ AI เหนือกว่ามนุษย์ชนิดที่เลียนแบบไม่ได้เลยคือเรื่องของ ‘อารมณ์’ ครับ เพราะ AI ไม่มีอารมรณ์ ทุกครั้งที่ตลาดได้รับข่าวบางอย่างจนเกิด Panic นักลงทุนมักเทขายหุ้นออกมาเพราะความกลัว โดยไม่ได้สนใจว่านั่นคือหุ้นพื้นฐานดีหรือไม่ ​และนั่นก็จะเป็นโอกาสสำหรับ AI โดยเฉพาะ AI ของ Jitta Wealth ที่ยังถูกตั้งโปรแกรมให้ค้นหา ‘หุ้นดีราคาถูก’ เพื่อเข้าลงทุน AI ไม่ได้รู้สึกกลัวไปตามภาวะตลาดนะครับ

และสิ่งนึงที่พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของ AI คือเรื่องของผลตอบแทนที่ AI สามารถบริหารพอร์ตได้ดีกว่าหลายๆ กองทุนที่ใช้คนในการบริหาร เช่น Jitta Ranking หุ้นเวียดนาม ในช่วง 4 ปีเศษที่ผ่านมาสร้างผลตอบแทน 140.27% เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มกองทุนหุ้นเวียดนาม

AI ที่ผ่านการเรียนรู้และบททดสอบในแต่ละวิกฤติทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง​มันพัฒนาตัวเองไปเรื่อย ผมเองในฐานะผู้ใช้ AI ก็ต้องไม่หยุดนิ่งเช่นกัน การเรียนรู้ระหว่างผมและ AI ดำเนินไปพร้อมๆ กัน ขณะเดียวกัน เราก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้อย่าง AI Predictive Analytics ที่เป็นการนำฐานข้อมูลในอดีตมาวิเคราะห์ในทุกมิติ สร้างโมเดลการลงทุน เพื่อค้นหาตลาดที่น่าลงทุน และมีศักยภาพที่จะสร้างผลกำไรดีที่สุดในอนาคต ช่วยให้การลงทุนมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และสร้างผลตอบแทนได้ดีมากขึ้น

หากถาม AI ว่าในเวลานี้ ตลาดหุ้นใดที่กำลังน่าสนใจ Jitta Intel ซึ่งเป็น AI ที่ Jitta ฝึกฝนมาตลอด 12 ปี จะประมวลผลจากหุ้นทั่วโลก บวกกับพฤติกรรมการลงทุนเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในมิติต่างๆ และยังได้ผ่านการทดสอบภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา เราพบว่าอัตราส่วนหุ้นถูกแพงในตลาดต่างๆ ทั่วโลก มีนัยต่อผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาว ซึ่งคำถตอบที่ Jitta Intel พบในเวลานี้ ชี้ไปที่ตลาดหุ้นจีน-ฮ่องกง เป็นตลาดที่มีจำนวนหุ้นดีราคาถูกมากที่สุด หรือมีมากกว่าหุ้นดีที่ราคาแพง จึงบอกได้ว่าเป็นตลาดที่น่าลงทุนและมีโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้มากที่สุด

นี่คือความล้ำหน้าของ AI ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ซื้อขายตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไปเท่านั้น แต่ยังสามารถนำข้อมูลในอดีตมาคาดการณ์อนาคตให้เราลงทุนได้เสียด้วย แน่นอนครับ AI เพื่อการลงทุนยังได้รับการพัฒนาต่อไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินและการลงทุนในมิติต่างๆ ช่วยให้นักลงทุนเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น ตรงตามรูปแบบการลงทุนเฉพาะบุคคล ความเสี่ยงและ Lifestyle ของแต่ละบุคคล ซึ่งผมเชื่อว่าจะช่วยให้การลงทุนเป็นเรื่องง่ายและออกแบบได้เฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น

ทุกวันนี้คนที่ไม่เคยออกไปลงทุนต่างประเทศได้ ก็กลายเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น ด้วยเงินลงทุนที่ไม่ต้องสูงมากเหมือนในอดีตแล้ว แต่ในอีกมุมหนึ่ง เราก็ยังพบว่ามีคนอีกกลุ่มที่สนใจลงทุน แต่ยังติดอุปสรรคหลายๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือเรื่องของวินัยทางการเงินที่ไม่สามารถเก็บออมจนมีเงินเริ่มต้นเพียงพอที่จะลงทุนได้ และรู้สึกว่าการลงทุนเป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงได้ ผมถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะเรื่องของการลงทุนเป็นพื้นฐานสำคัญหนึ่งในการใช้ชีวิต และเป็นพื้นฐานที่จะพาไปสู่โอกาสใหม่ๆ ในชีวิต ซึ่ง AI ก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มาช่วยออกแบบวิธีการเก็บออมให้เป็นเรื่องง่าย ใครจะรู้เงินเล็กๆ น้อยๆ ของคุณอาจสร้างมูลค่ามหาศาลได้ในอีกไม่นานนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาปลดล็อกอุปสรรคต่างๆ ให้คุณได้เข้าถึงการลงทุนด้วยวิธีที่คุณเอง อาจจะคาดไม่ถึงก็ได้นะครับ

แล้วคุณจะมีความสุขเมื่อเห็นเม็ดเงินที่งอกเงยและผลตอบแทนเติบโตสวยงามได้ด้วยเทคโนโลยี AI

]]>
1477404
Jitta Wealth ชูโมเดล AI วิเคราะห์ข้อมูลประเทศไหนน่าลงทุน มองหุ้นจีน-ฮ่องกงราคาถูกน่าสนใจ https://positioningmag.com/1472692 Wed, 08 May 2024 17:28:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472692 จิตตะ เวลธ์ (Jitta Wealth) มองถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้สร้างแรงกระเพื่อมในหลายมิติ ซึ่งรวมถึงด้านการลงทุนด้วย ล่าสุดบริษัทได้มีการนำข้อมูลในหลายมิติมาเพื่อวิเคราะห์ถึงการลงทุนว่าประเทศไหนเหมาะสมในการลงทุน เพื่อที่จะเพิ่มผลตอบแทน หรือแม้แต่ลดความเสี่ยงให้กับลูกค้า

ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ได้กล่าวถึงว่าบริษัทได้พัฒนา Jitta Intel อัลกอริทึม AI เพื่อการลงทุนของจิตตะมาตลอดช่วง 12 ปีที่ผ่านมา มีการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลกว่า 1,000 ล้านชุดข้อมูลต่อวัน วิเคราะห์หุ้นกว่า 48,000 หุ้น ครอบคลุมหุ้น 90% ทั่วโลก เพื่อหาหุ้นที่น่าลงทุนที่สุดของแต่ละตลาด (Jitta Ranking) ตามหลักการลงทุนเน้นคุณค่า (VI)

เขาได้กล่าวเสริมในเรื่องดังกล่าวว่า การเข้ามาของเทคโนโลยี AI ในส่วนของธุรกิจการเงินการลงทุน ได้เข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์การลงทุนทั่วโลก เพิ่มศักยภาพและโอกาสการลงทุนให้กับนักลงทุน ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ฉลาดยิ่งขึ้น ในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกว่ามนุษย์หลายเท่า

นอกจากนี้เขายังมองว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการลงทุนยังช่วยไม่ให้เกิดความอคติในการลงทุน หรือแม้แต่ความกลัวเวลาตลาดเกิดผันผวนขึ้นมา เนื่องจากเทคโนโลยีจะช่วยในเรื่องดังกล่าวแทน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Jitta Wealth ได้กล่าวว่าล่าสุด ได้มีการนำโมเดล AI ที่สามารถจะทำนาย (Jitta Market Prediction) ในตลาดหุ้นที่มีพื้นฐานดี และโมเดลดังกล่าวยังมองว่าตลาดไหนจะทำผลตอบแทนได้ดี ช่วยให้การลงทุนมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และสร้างผลตอบแทนได้ดีมากขึ้น

เขายังกล่าวว่า ถ้านำโมเดลดังกล่าวมาใช้จะให้ผลตอบแทนดีมาก ถ้าหากเจอตลาดหุ้นดีๆ ซึ่งในอนาคต ตราวุทธิ์ กล่าวว่าตัวโมเดล AI ดังกล่าวสามารถทายได้ว่าปีไหนไม่ต้องลงทุนเลยก็ได้ เพื่อเน้นความปลอดภัยของพอร์ตลงทุน หรือแม้แต่จะหาสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนได้อีกทาง

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Jitta Wealth ยังได้กล่าวว่า ถ้าหากนำข้อมูลด้านการลงทุนมาวิเคราะห์แล้วจะพบว่าหุ้นจีน กับหุ้นฮ่องกง ยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากหุ้นที่มีมูลค่าถูกนั้นยังมีจำนวนมาก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ อย่างเช่น ไทย เป็นต้น

ปัจจุบันลูกค้าที่ใช้บริการของ Jitta Wealth ในส่วนกองทุนส่วนบุคคลนั้นมีมากกว่า 68,000 พอร์ต มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการอยู่ที่ 15,000 ล้านบาท

สำหรับผลตอบแทนของ Jitta Ranking สามารถเอาชนะผลตอบแทนของกองทุนส่วนมากในไทย โดย Jitta Ranking หุ้นเวียดนาม สร้างผลตอบแทน 140.27% เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มกองทุนหุ้นเวียดนาม Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ ก็สร้างผลตอบแทนได้ถึง 77.47% เป็นอันดับ 3 จากกองทุนหุ้นสหรัฐฯ 28 กองทุน เป็นต้น

ลูกค้าที่ต้องการที่จะลงทุนกับ Jitta Wealth นั้นมีเงินเริ่มลงทุนเพียงแค่ 10,000 บาทก็สามารถใช้บริการได้ ตราวุทธิ์ยังมองว่าการทำธุรกิจนั้นเหมือนกับการวิ่งมาราธอน ถ้าหากผลิตภัณฑ์นั้นดีคนก็จะสนใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบริษัทได้พัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา

]]>
1472692
3 ปี ปั้นล้านแรกให้แตกได้ ด้วยขุมพลังแห่งผลตอบแทนทบต้น https://positioningmag.com/1471554 Tue, 30 Apr 2024 04:05:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471554

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาส Live Investor Exclusive ให้ลูกค้าของ Jitta Wealth ฟัง เพื่ออัปเดตโอกาสการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือ VI ในปี 2567 ที่พวกเรายังมองว่ามีอยู่เสมอ เพราะที่ผ่านมาผมมักได้รับคำถามมาเสมอว่าตลาดหุ้นทั่วโลกตอนนี้มีตลาดไหนที่ดี ที่ไหนน่าลงทุนอยู่บ้าง ผมขอสรุปไว้สั้นๆ ว่าในเวลานี้โอกาสลงทุนของเหล่า VI ยังมีหลายตลาดที่น่าสนใจ เช่น จีนหรือฮ่องกง

แต่วันนี้ผมขออนุญาตไม่ขยายความมากนะครับ หากคุณสนใจ สามารถไปย้อนดู Live ในช่องทาง Facebook และ Youtube ของ Jitta Wealth ดูได้ เพราะสิ่งที่ผมตั้งใจจะนำมาเล่าให้ฟังวันนี้ไม่ใช่เนื้อหาส่วนนี้ครับ

เรื่องที่ผมอยากจะแชร์วันนี้ คือการอยากหยิบยกประเด็นตอนหนึ่งที่ผมได้พูดไปในวันนั้นขึ้นมา ซึ่งผมว่าน่าจะตรงใจใครหลายๆ คนอยู่ นั่นก็คือการสร้างล้านแรกให้ได้ภายใน 3 ปี

ใช่แล้วครับวันนี้ผมมีเคล็ด(ไม่)ลับ ปั้นพอร์ตเงินล้าน ที่พิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง ในเวลาแค่ 3 ปี!

คุณอาจจะบอกว่าผมพูดเกินจริง!

ก็อาจจะใช่ครับ แต่เชื่อสิครับว่าคุณทำได้ เพราะนี่คือหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่คุณเองก็สามารถไปถึงได้…จะเป็นยังไงมาดูกันได้เลยครับ

Forex trade market concept with digital indicators, graphs, financial diagram at night Kuala Lumpur city background. Double exposure

คุณคงคุ้นเคยกับชื่อของ Albert Einstein นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลก แต่​สิ่งหนึ่งที่น้อยคนจะรู้คือ Einstein ได้ยก ‘ผลตอบแทนทบต้น’ ​เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลกครับ

แล้วเราจะใช้สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลกนี้มาสร้างล้านแรกได้อย่างไรหรอครับ ตามผมมาเลยครับ วันนี้ผมมีตัวอย่างที่จะทำให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

เริ่มด้วยพอร์ตตัวอย่างของผมนั่นเอง!

พอร์ตที่ว่าก็คือ Global ETF ที่เป็นนโยบายการลงทุนแบบเน้นกระจายความเสี่ยงที่จัดพอร์ตลงทุนในหุ้นคุณภาพดีทั่วโลกผ่าน ETF ชั้นนำให้แบบอัตโนมัติ ​เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่ค่อยมีเวลาติดตามตลาด ไม่อยากมานั่งเลือกประเทศ เลือกตลาดหุ้นให้วุ่นวาย แต่ต้องการโอกาสการลงทุนแบบ VI

ต้องออกตัวก่อนว่าพอร์ตนี้ผมตั้งใจที่จะเก็บไว้เป็นเงินทุนให้ลูก ก็จะค่อยๆ เก็บสะสมไปยาวๆ โดยวิธีการลงทุนใน Global ETF จนได้ล้านใน 3 ปีนั้น ผมเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน 100,000 บาท และ DCA อย่างสม่ำเสมอทุกเดือนจากแรกๆ 10,000 บาทต่อเดือน และต่อมาก็ขยับเพิ่มเป็น 20,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาลงทุนตั้งแต่ 31 สิงหาคม 2563 – 3 เมษายน 2567

ระหว่างนั้นก็ไม่ต้องทำอะไร​ แค่ปล่อยให้มหัศจรรย์ผลตอบแทนทบต้นทำงานต่อไปเรื่อยๆ ก็ได้ครบ 1 ล้านบาท หรือมีผลตอบแทนรวม +53.83% (Money-weighted Return)

นี่แหละครับพลังแห่งการ DCA ที่สร้าง ‘ผลตอบแทนทบต้น’ ที่คุณเองก็สามารถปั้นเงินล้านได้เหมือนกันครับ

คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นที่ 100,000 บาทเหมือนผม สามารถลงทุนแบบเบาๆ ได้ครับ แต่นั่นก็ต้องยอมแลกกับระยะเวลา เพราะจำนวนเงินที่จะ DCA เข้าพอร์ตในแต่ละเดือนที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อระยะเวลาพิชิตเป้าหมาย ซึ่งจริงๆ แล้ววิธีการปั้นเงินล้านแรกมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ รายได้ต่อเดือน สไตล์การ DCA หรือระยะเวลาที่อยากพิชิตเป้าหมายของแต่ละคน

ผมอาจจะเป็นตัวอย่างที่ฮาร์ดคอร์เกินไป คุณอย่าเพิ่งถอดใจครับ เพราะผมยังมีตัวอย่างมาให้คุณได้ลองพิจารณาและเลือกว่า สายไหนที่เหมาะกับคุณ โดยผมได้ตั้งสมมติฐานให้ทุกคนเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน 10,000 บาทเท่ากันใน Global ETF แผนเติบโตที่มีผลตอบแทนคาดหวังอยู่ที่ 8% ต่อปี แล้ว DCA ทุกๆ เดือนด้วยจำนวนเงินที่ต่างกัน และหักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการ 0.5% เรียบร้อยแล้ว

Photo : Shutterstock

ตัวอย่างที่ 1 เงินล้านแรกสำหรับสายชิล

  • นางชิลใจ สายชิลๆ เน้นค่อยๆ DCA เดือนละ 2,000 บาท ใช้ระยะเวลาในการปั้นพอร์ตล้านแรกที่ 19 ปี

ถ้าเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุ 20 ตอนอายุ 39 ก็จะมีเงินล้านแรกพอดี และพอมีล้านแรกแล้วล้านต่อไปก็ไม่ยากแล้ว

ตัวอย่างนี้เหมาะกับคนค่อยๆ เก็บ หรือมีภาระค่าใช้จ่าย เป็นการลงทุนแบบชิลๆ อาศัยวินัยในการลงทุนปั้นพอร์ตเงินล้าน

ตัวอย่างที่ 2 เงินล้านแรกสำหรับสายสบายใจ

  • นางสบายใจ DCA เดือนละ 3,000 บาท เพิ่มเงิน DCA มากกว่านางชิลใจมาแค่ 1,000 บาทเท่านั้น แต่ย่นระยะเวลาปั้นเงินล้านได้ถึง 4 ปี รวมใช้เวลาแค่ 15 ปี

ถ้าเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุ 20 ปี นางสบายใจจะมีเงินล้านแรกตั้งแต่อายุ 35 ปีเท่านั้น ฉะนั้น หากอยากเร่งฝีเท้าขึ้นสักหน่อย สำหรับสายสบายใจตัวอย่างนี้เหมาะกับคนค่อยๆ เก็บ หรือมีภาระค่าใช้จ่าย แต่ต้องการลงทุนมากกว่านางชิลใจเล็กน้อย ก็สามารถเร่งความเร็วในการปั้นเงินล้านแรกได้แล้ว​

ตัวอย่างที่ 3 เงินล้านแรกสำหรับสายมุ่งมั่น

  • นายวินัย มุ่งมั่นในการมีเงินล้านให้ได้ช่วงอายุ 30 ปี จึงเลือก DCA เดือนละ 5,000 บาท

ถ้านายวินัยเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่อายุ 20 ปี ความฝันของนายวินัยก็จะเป็นจริงได้ตอนอายุ 31 ปี หรือใช้เวลาปั้นพอร์ตเงินล้านเพียง 11 ปีเท่านั้น

สำหรับนักลงทุนที่อยากเปลี่ยนจากเดินเร็ว เป็นวิ่งเร็ว ก็ดูนายวินัยเป็นตัวอย่างก็ได้ครับ แต่ต้องจัดสรรตัวเองหน่อยนะครับ เพราะตัวอย่างนี้เหมาะกับคนที่อาจจะไม่ค่อยมีภาระค่าใช้จ่าย หรือมีรายได้หลายทาง ทำให้มีเงินเหลือเก็บต่อเดือนเยอะกว่าคนอื่นๆ สักหน่อย ความมุ่งมั่นในช่วง 10 ปีนิดๆ นี้ก็สามารถพิชิตเงินล้านได้

ตัวอย่างที่ 4 เงินล้านแรกสำหรับสายเร่งรัด

  • นายเติบโต ที่เริ่มต้นลงทุนตอนอายุ 45 ปี และอยากมีเงินล้านก่อนเกษียณ จึงเลือก DCA เดือนละ 14,000 บาท
Photo : Shutterstock

สำหรับคนที่อยากเร่งเวลาปั้นเงินล้านให้ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ต้องดูตัวอย่างจากนายเติบโตที่จะมีเงินล้านใน 5 ปี และเงินล้านนั้นก็จะเติบโตได้อีกเยอะในช่วง 10 ปีก่อนเกษียณ

ตัวอย่างของนายเติบโตใช้ได้กับคนที่อยากเร่งให้ตัวเองมีเงินล้านเร็วๆ ภายใน 5 ปี ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ เยอะ หรือมีรายได้หลายทาง มีรายได้เพียงพอให้ DCA เดือนละ 14,000 บาท

หรือคนที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุนตอนอายุเยอะขึ้นมาหน่อย ในช่วงที่เงินเดือนมากกว่าตอนทำงานแรกๆ แล้วอยากเร่งให้พอร์ตเติบโตก่อนเกษียณ

นี่คือตัวอย่างการปั้นเงินล้านแรกง่ายๆ สบายใจ แต่ไม่ว่าจะเป็น 19 ปี 15 ปี 11 ปี หรือ 5 ปี หรือแม้กระทั่งพอร์ตของผมที่ใช้เวลา 3 ปี ตัวอย่างเหล่านี้มาจากผลตอบแทนคาดหวังของ Global ETF แผนเติบโตที่ 8%

ซึ่งในความเป็นจริงผลตอบแทนในแต่ละปีก็อาจจะสูงกว่า 8% ก็ได้ เช่นในปี 2566 ที่ผ่านมาผลตอบแทนเฉลี่ยของ Global ETF แผนเติบโตก็สูงถึง 15.37% เลยทีเดียว

ทั้งหมดนี้ คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนเงิน DCA ตามเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือตามภาระค่าใช้จ่ายที่ลดลงก็ได้ ก็จะย่นระยะเวลาปั้นเงินล้านลงได้เช่นกัน และถ้าคุณถึงล้านแล้วยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ก็ลงทุนต่อจากหลักล้าน ก็กลายเป็นสิบล้านได้เช่นกันครับ ด้วยพลังของผลตอบแทนทบต้นที่ช่วยให้เงินของคุณเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ

ที่สำคัญมากกว่าผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ ยังมีเรื่องของการกระจายความเสี่ยง จัดสรรสินทรัพย์อย่างดี ทำให้พอร์ตของคุณไม่ผันผวนมากเกินไป เป็นการเก็บเงินล้านแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป และสบายใจ

ให้โลกรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร…มาจากไหน ก็ปั้นเงินล้านแบบ VI ระดับโลกได้ ด้วยหลักการที่ดี และวินัยของเราเอง!

ผมเชื่อว่าทุกคนสามารถพิชิตเป้าหมายได้แค่เริ่มเลย และมีวินัย ที่เหลือก็ปล่อยให้สิ่งมหัศจรรย์ของผลตอบแทนทบต้นช่วยปั้นพอร์ตของคุณให้โต​ ส่วนคุณก็แค่คอยดูเงินพอกพูนไปสู่เป้าหมายอย่างสบายใจ
มาปั้นพอร์ตเงินล้านแล้วเติบโตไปด้วยกันนะครับ

]]>
1471554
3 เทคนิคสร้างวินัยการออม สร้างพอร์ตให้โตได้ด้วย​ DCA ​ https://positioningmag.com/1468014 Thu, 28 Mar 2024 03:49:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468014

โดยตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

นักลงทุนระดับโลกอย่างปู่ Warren Buffett ได้กล่าวเอาไว้ว่า
“Successful investing takes time, discipline and patience.”
เป็นคำสอนนักลงทุนทั่วโลกอย่างง่ายๆ ว่าสิ่งที่จะทำให้การลงทุนของคุณประสบความสำเร็จ พอร์ตเติบโตได้นั่นก็คือ เวลา วินัย และความอดทน ​

กลยุทธ์การลงทุนที่มีองค์ประกอบครบทั้ง เวลา วินัยและความอดทน ทั้ง 3 สิ่งนี้รวมอยู่ในเรื่องของ Dollar cost Average (DCA) หรือการลงทุนแบบถั่วเฉลี่ยอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

ดังนั้นหากจะพูดว่ากลยุทธ์การ DCA หรือเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอในสินทรัพย์ที่ดีเป็นหนทางแห่งความสำเร็จในโลกการลงทุนก็คงจะไม่ผิดเพี้ยนมากนัก

การ DCA ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าช่วยสร้างผลตอบแทนให้ดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องจับจังหวะ​

และยังเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก!

จนบางครั้งอาจจะชี้ชะตาว่าพอร์ตจะกำไรหรือขาดทุนได้เลย

แต่ผมเชื่อว่ายังมีนักลงทุนหน้าใหม่ที่กำลังละล้าละลัง ไม่กล้าที่จะเริ่มต้นลงทุน เพราะคิดว่าเงินทุนที่มีในมือจะน้อยเกินกว่าจะใช้สร้างกำไรได้

ผมอยากบอกตรงนี้เลยครับว่า คุณไม่จำเป็นต้องพะวงอะไรให้มากมายเลยครับ เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ที่ดียิ่งเริ่มเร็ว ก็ยิ่งทำให้การลงทุนระยะยาวของคุณค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แต่มีประสิทธิภาพได้

Photo : Shutterstock

ยิ่งในปัจจุบันการลงทุนเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและรวดเร็วขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องรอเก็บเงินจนได้ก้อนใหญ่ มีเงินเพียงไม่กี่บาทก็สามารถเริ่มต้นลงทุนได้แล้ว และยิ่งหากคุณสร้างวินัยให้กับตัวเองด้วยการออมเงิน DCA ได้อย่างสม่ำเสมอจะยิ่งเห็นหนทางแห่งความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้าเลยครับ

หากคุณยังรู้สึกว่าการ DCA ทำได้ยาก หรือคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ DCA กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น​อยู่

วันนี้ผมมี 3 เทคนิคง่ายๆ  ที่จะช่วยให้ DCA กลายเป็นเรื่องง่าย​ คุณสามารถเริ่มต้นออมเงินหรือ DCA ได้อย่างสม่ำเสมอ ทำอย่างไรตามไปดูกันได้เลยครับ

1. ทำงบรายรับ-รายจ่ายประจำเดือน

อาจจะฟังดูน่าเบื่อเพราะเป็นวิธีที่ถูกพูดถึงบ่อยๆ แต่ถ้าคุณทำได้คุณจะเข้าใจว่ามันสำคัญมากแค่ไหน

คุณไม่จำเป็นต้องมองหาสมุดบัญชีมาเริ่มต้นการบันทึกให้ดูยุ่งยากเลยครับ เมื่อคิดจะเริ่มแล้ว เพียงแค่หยิบมือถือที่คุณติดมืออยู่ขึ้นมาแล้วเริ่มการจดรายรับรายจ่ายของคุณใส่ในแอปโน๊ตธรรมดาๆ หรือจะเป็นแอปสำหรับรายรับรายจ่ายที่จะช่วยให้คุณบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างสะดวกขึ้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ ครับ

เพราะไม่ว่าจะจดที่ไหนก็ไม่สำคัญเท่ากับ ‘จด’ จริงๆ แค่คุณเริ่มทำแบบนี้สัก 2-3 เดือนคุณก็จะพอเห็นภาพชัดเจนขึ้นแล้วว่า ‘คุณหมดเงินไปกับอะไรบ้าง’

แน่นอนว่าถึงตอนนั้นมันจะช่วยให้คุณสามารถเลือกว่ารายการไหนที่ไม่จำเป็น ตัดได้ หรือตัดไม่ได้ แล้วเอางบส่วนนั้นมาใส่เป็นรายการ DCA เติมเข้าพอร์ตรายเดือนได้บ้าง

ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีนะครับ เพราะวิธีนี้จะทำให้คุณเห็นภาพมากขึ้นว่า คุณสามารถ DCA ได้เดือนละเท่าไหร่ ถ้าอยากเพิ่มจำนวนเงินจะทำอย่างไรได้บ้าง

Photo : Shutterstock

2. จ่ายแค่ไหน ออมเท่านั้น

ถ้ามีคนมาบอกว่า ‘คุณจะมีเงินออมมากขึ้น ถ้าคุณใช้มากขึ้น’ ฟังแล้วคุณอาจจะคิดว่า มันช่างย้อนแย้งจัง จะเป็นไปได้อย่างไร

แต่อย่าลืมว่าการใช้จ่าย ได้ช้อปปิ้งในสิ่งที่ชอบ ถือเป็นความสุขในชีวิตครับ

ดังนั้นคุณอาจจะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

แต่ใช้วิธีช้อปที่ช้อบชอบบบ มาช่วยออมเงินแทน

วิธีการก็คือ คุณต้องตั้งกฏให้กับตัวคุณเอง ‘ซื้อเท่าไหร่ ก็ออมเท่าที่ใช้ไป’

นอกจากจะเก็บเงินได้แล้ว คุณก็จะไตร่ตรองมากขึ้นก่อนช้อป และเมื่อมีเงินเก็บ คุณก็สามารถแบ่งเงินนั้นไป DCA ต่อได้บ่อยขึ้นด้วย

หรือคุณอาจจะตั้งกฏที่เบาลงไปหน่อยว่า ถ้าเดือนนี้ใช้เงินเกิน 5,000 บาท จะต้องโอนเงินเข้าพอร์ต 1,000 บาท ถ้าใช้เงินเกิน 10,000 บาท จะโอนเงินเข้าพอร์ต 5,000 บาท

พอร์ตของคุณก็จะงอกเงยขึ้นได้ด้วยเงินเพิ่มทุนเหล่านี้

นอกจากจะเก็บเงินได้แล้ว คุณก็จะไตร่ตรองมากขึ้นก่อนช้อป และเมื่อมีเงินเก็บ คุณก็สามารถแบ่งเงินนั้นไป DCA ต่อได้บ่อยขึ้น มากขึ้นแบบไม่รู้สึกผิดกับการใช้จ่ายครับ

Photo : Shutterstock

3. เก็บเงินตามสูตร 50/30/20

เทคนิคสุดท้ายของวันนี้ อาจจะเป็นสูตรที่ดูคุ้นตา แต่คุณต้องรู้ไว้ว่าหนทางการออมเงินที่เวิร์กที่สุดสำหรับหลายๆ คนคือ ‘ออมก่อนใช้’

การแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ เป็นเรื่องสำคัญมาก! สูตร 50/30/20 ก็เป็นหนึ่งในสูตรแบ่งเงินยอดฮิต

ง่ายๆ เลยครับ เมื่อเงินรายได้ของคุณเข้าบัญชีมา คุณก็แค่จัดแบ่งออกเป็นก้อนๆ ประมาณนี้

  • 50% สำหรับสิ่งที่จำเป็น (Need)
  • 30% สำหรับสิ่งที่ต้องการ (Want)
  • 20% สำหรับเก็บออม

และส่วนนี้ 20% นี้จะเป็นส่วนที่เราจะแบ่งสัดส่วนมันอีกทีก็ได้ว่า จะ DCA สำหรับพอร์ตลงทุนเท่าไหร่ และเหลือไว้เท่าไหร่สำหรับเป็นเงินเก็บฉุกเฉิน

ซึ่งสัดส่วนเหล่านี้ เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้นครับ คุณเองก็สามารถออกแบบตัวเลขในแต่ละส่วนของคุณได้ตามความเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ที่ต้องการ

แต่อย่าลืมว่าเมื่อได้สัดส่วนที่จะเอามา DCA แล้ว ทุกครั้งที่มีเงินเดือนหรือรายรับเข้ามาก็แบ่งเงินให้ชัดเจนก่อนนำไปใช้ หรือหากกลัวลืมผมเทคนิคง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองได้ อย่างเช่นการตั้งค่า DCA ในวันที่เงินเดือนออกก็สะดวกดี

ทุกวันนี้ก็มีหลายแอปการเงินที่ได้นำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยนักลงทุนให้สามารถเลือกตั้งค่า DCA ไว้แล้ว เช่นเดียวกับแอปของ Jitta Wealth ที่ได้พัฒนาฟีเจอร์การ DCA เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า สามารถออมก่อนใช้ ช่วยให้คุณลงทุนอย่างมีวินัยและสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

]]>
1468014
3 ทริคควรรู้ ก่อนเริ่มต้นลงทุน https://positioningmag.com/1465189 Tue, 05 Mar 2024 16:41:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465189

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO จาก Jitta Wealth

ในโลกที่หมุนเร็วอย่างทุกวันนี้ การเข้าถึงเรื่องของการเงินการลงทุนแทบไม่มีอุปสรรคใดมาขวางได้ ผมเชื่อว่าผู้บริโภคหลายคนก็มีความสนใจและมองหาโอกาสลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีหรือที่เรียกว่า ‘ให้เงินทำงาน’

และแม้ว่าจะมีแอปพลิเคชันใหม่ๆ ออกมามากมายให้เลือกลงทุน แต่หลายคนก็ยังจดๆ จ้องๆ เพราะยังมีความรู้สึกลังเล กล้าๆ กลัวๆ ไม่แน่ใจว่าจะลงทุนอะไร อย่างไรดี สินทรัพย์ใด จะเหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรารับได้จริงๆ หรือลงทุนเมื่อไร ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

ก็ไม่แปลกนะครับขึ้นชื่อว่าการลงทุน เราทุกคนอยากเห็นผลตอบแทนจากเงินที่นำไปลงทุน มากกว่าความเสียหายหรือเงินที่ลงทุนไปสูญเปล่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเราเองมีความพร้อมแค่ไหน และควรเอาเงินส่วนไหนมาลงทุนให้เหมาะสมและไม่เสี่ยงมากเกินไป เพื่อไม่ให้กระทบกับความมั่นคงในชีวิตการเงิน รวมไปถึงความมั่นคงของครอบครัวในอนาคต

วันนี้ผมอยากชวนทุกท่านมาเช็คความพร้อมก่อนการลงทุนกันด้วยวิธีง่ายๆ ลองทำความเข้าใจดูก่อนได้ครับ

Photo : Shutterstock

ข้อที่ 1: อย่าเพิ่งเริ่มลงทุน ถ้ายังออมเงินไม่เป็น

ในชีวิตของเราแทบทุกคน ย่อมจะมีเหตุการณ์หนึ่งที่ทุกคนจะต้องเจอเหมือนกัน คือเมื่อวันหนึ่งวันนั้นมาถึง วันที่พวกเราจะต้องเลิกทำงาน หรือที่เรียกว่าเกษียณอายุนั่นเอง บั้นปลายชีวิตแต่ละคนแตกต่างกันไปแน่นอนครับ เพราะความรู้และการเตรียมความพร้อมที่แตกต่างกัน

บางคนเตรียมตัวดี มีเงินเก็บไว้ใช้ก็ไม่ลำบาก แต่บางคนกลับไม่มีเลย ผมเชื่อว่าอย่างหลังเนี่ย หลายคนกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง จริงไหมครับ ผมไม่อยากเห็นคุณเอาแต่กลัวนะครับ ก่อนอื่น​ก่อนจะเริ่มต้นลงทุน ผมอยากให้คุณลองจัดระเบียบการเงินให้เป็นก่อน

เริ่มที่การดูแลกระแสเงินสด (cashflow)ให้เป็นบวกก่อนนะครับ

กระแสเงินสดหรือจะเรียกว่าสภาพคล่องที่มาในรูปแบบของเงินเก็บก่อนนะครับ เพราะถ้าคุณเริ่มต้นจากกระแสเงินสดติดลบ​ สภาพคล่องตึงตัว การลงทุนนั้นจะกลายเป็นการพนันทันที เพราะเราจะลงทุนด้วยความรู้สึกว่าอยากได้กำไรเร็วๆ กำไรเยอะๆ โดยไม่สนปัจจัยอื่นๆ เลย

แล้วคุณจะต้องทำอย่างไรให้มีเงินเก็บ…

คำตอบเดียวคือ ‘เก็บ’ สร้างวินัยให้กับการออมเงินเท่านั้นครับ

อาจจะตั้งระบบตัดจ่ายอัตโนมัติเช่น 10% ของรายได้ ไปเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากดิจิทัลดอกเบี้ยสูง หรือฝากประจำก็ได้ หรือแบ่งเงินเป็นสัดส่วนตั้งแต่ต้นเมื่อมีรายได้เข้ามา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ‘ขอแค่ให้เริ่ม‘ เท่านั้นครับ หลักการนี้คือเรื่องของ ‘วินัย’ ที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออมเงินหรือการลงทุนก็ต้องใช้หลักการนี้เช่นเดียวกัน

Photo : Shutterstock

ข้อที่ 2:  อย่าเพิ่งลงทุนถ้ายังไม่มี ‘ความรู้’

เพราะว่าความรู้ (Education) เป็นตัวเร่งให้เราได้รู้จักตัวเอง วางเป้าหมายปลายทาง และเรียนรู้เครื่องมือที่จะพาไปถึงเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและไม่หลงทาง ยิ่งถ้าหากคุณสามารถทำความเข้าใจธรรมชาติของเครื่องมือ คุณก็จะลงทุนได้แบบไม่ต้องกังวล

เหมือนอย่างตลาดหุ้น ในระยะสั้นย่อมมีความผันผวน เหวี่ยงขึ้น เหวี่ยงลงเป็นระยะ แต่เมื่อคุณถอยออกมามองภาพใหญ่ มองระยะยาวจะเห็นได้ว่า ตลาดหุ้นมักจะเป็นขาขึ้นมากกว่าขาลงเสมอๆ

แต่อย่าเป็นเด็กเรียนมากไปนะครับ บางคนมีความเชื่อว่า ก่อนจะลงทุนได้ก็ต้องมีความรู้เรื่องธุรกิจก่อน ถึงจะเริ่มต้นลงทุนได้ แต่ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมดก็เริ่มต้นได้ครับ เพราะถ้าต้องรู้ทั้งหมด คุณก็จะไม่มีวันได้ลงทุนอย่างแน่นอน ค่อยๆ ลงทุนไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้น่าจะดีกว่าครับ

ข้อที่ 3: มองการลงทุนให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

ลงทุนทั้งที ต้องรู้สึกเป็นหุ้นส่วน มองว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นหรือธุรกิจนั้นๆ ให้คิดว่าคุณจะทำอย่างไรให้ธุรกิจที่เราลงทุนเติบโต มีรายได้ดี สร้างกำไรให้กับคุณ และอะไรส่งผลกระทบกับธุรกิจของคุณบ้าง มากกว่าการหวังแค่เสี่ยงโชค แบบซื้อหุ้นแล้วจะอธิษฐานให้ธุรกิจเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ

ก่อนจะเลือกลงทุนในสักบริษัทคุณจะต้องเข้าใจ 4 สิ่งนี้ด้วยกัน

  1. มีความรู้พื้นฐานด้านการเงินพอที่จะอ่านงบการเงินเป็น
  2. รู้จักสินค้าและโมเดลธุรกิจของบริษัทที่เราลงทุน
  3. เข้าใจความเสี่ยงของบริษัท
  4. รู้จักปัจจัยภายนอกทั้งการเมือง เศรษฐกิจ หรือสภาพสังคมไว้บ้าง
Property investment and mortgage financial concept.

ซึ่งเดี๋ยวนี้ ยิ่งมีเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้การลงทุนนั้นง่ายกว่าเดิม อย่างเช่นงบการเงินย้อนหลัง ที่คุณสามารถดูได้บนเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีให้เลือกมากมาย และบางแห่งสามารถเปิดดูได้ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถืออย่างของ Jitta.com เองก็มีข่าวสารข้อมูลของบริษัททั่วโลกให้คุณเข้ามาดูได้อย่าง real-time ช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมากขึ้นและสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

เท่านี้คุณก็มีพื้นฐาน​ความรู้และเครื่องไม้เครื่องมือเพียงพอที่จะเลือกได้แล้วว่าคุณจะลงทุนในกิจการของบริษัทใดบ้าง ซึ่งหลังจากเลือกและลงทุนไปแล้ว สิ่งต่อไปที่คุณต้องมีคือ ‘วินัย’ ลงทุนไปเรื่อยๆ ไม่เดาตลาดหุ้น และต้องทบทวนและปรับพอร์ตให้เป็นระบบ

‍‍สุดท้ายแล้ว เวลาที่ดีที่สุดในการลงทุนก็คือ ‘วันนี้’ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนจะสายเกินไป เพราะฤกษ์ดีคือเลิกรอนะครับ ส่วนความกลัว ผมบอกได้เลยว่ามันกำจัดง่ายมาก ด้วยการลงมือทำและเรียนรู้ไปกับมันด้วยสติครับ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขและประสบความสำเร็จในโลกการลงทุนนะครับ

]]>
1465189
3 ทริก ตั้งเป้าหมายการลงทุน https://positioningmag.com/1461542 Mon, 05 Feb 2024 06:30:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461542

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

ในทุกๆ ครั้ง ก่อนที่คุณจะขับรถ หรือเริ่มออกเดินทางไปที่ไหนสักแห่ง หรือลงมือทำอะไรสักอย่าง การที่คุณรู้ว่าคุณจะมุ่งหน้าไปที่ไหน หรือทำสิ่งๆ นั้นไปเพื่ออะไร เป็นเรื่องที่สำคัญจริงไหมครับ

เส้นทางของการลงทุนก็เช่นเดียวกัน

เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ นอกจากจะเซตเป้าหมายชีวิตแล้ว คุณควรเริ่มกำหนดเป้าหมายการลงทุนไปด้วยพร้อมกัน

วันนี้ผมอยากจะพาคุณมาเรียนรู้เรื่องการกำหนดเป้าหมายการลงทุนของตัวเองก่อนจะเริ่มต้นลงทุน เพื่อให้คุณรู้ว่าควรเตรียมตัวยังไง วางกลยุทธ์แบบไหน เพื่อพิชิตเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะการมีเป้าหมายนั้นสำคัญ

​การกำหนดเป้าหมายจะช่วยให้จิตใจคุณเข้มแข็งขึ้น เพราะคุณจะสามารถเตรียมใจว่าจะต้องเจอกับอะไรบ้างที่รออยู่ข้างหน้า และวางกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อพิชิตเป้าหมายนั้น เมื่อคุณได้เตรียมตัวเตรียมใจและมีความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างทางแล้ว แม้ในบางครั้งที่คุณอาจจะรู้สึกท้อบ้าง แต่การมองไปที่เป้าหมายและเห็นว่าเราเดินมาไกลแล้ว หรือยิ่งกว่านั้นคือรู้ว่าใกล้จะถึงเส้นชัย มันก็จะช่วยให้คุณมีแรงฮึดสู้ได้ไม่น้อยเลย     ​

การลงทุนก็เช่นกันครับ หากคุณตั้งเป้าหมายไว้ที่การลงทุนระยะยาว คุณก็จะสามารถเตรียมใจรับมือกับความผันผวนในระยะสั้นได้ พร้อมทั้งเตรียมตัวโดยการเดินหน้า DCA เพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนรับมือความผันผวนที่เกิดขึ้น และมุ่งหน้าสู่เป้าหมายต่อไป

ดังนั้นก่อนจะเริ่มลงทุน เรามาลองตั้งเป้าหมายกันก่อนครับ

การกำหนดเป้าหมายด้วยความเสี่ยง

ผมแนะนำให้คุณเริ่มต้นจากสำรวจระดับความเสี่ยงที่ตัวเองรับไหวก่อน

เพราะหากคุณกำหนดเป้าหมายไปเลยโดยที่ไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงแบบไหนรออยู่ เมื่อคุณลงทุนได้สักระยะ แล้วต้องเจอกับความเสี่ยงที่สูงเกินกว่าคุณจะรับมือได้ อาจทำให้คุณต้องยอมแพ้และล้มเลิกการลงทุนนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น หากคุณรู้ว่าตัวเองสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ก็สามารถตั้งเป้าหมายบนระดับความเสี่ยงที่รับได้ เพื่อจะได้มองหาเส้นทางหรือกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม​และไปถึงได้จริง อาทิเช่น

หากคุณรับความเสี่ยงได้น้อย ก็ลองตั้งเป้าผลตอบแทน 2-5% แล้วลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยๆ อย่างตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร ก็จะทำให้คุณอุ่นใจและไม่เครียดเกินไป

แต่หากคุณคิดว่าคุณสามารถรับความเสี่ยงได้ปานกลาง ก็สามารถตั้งเป้าผลตอบแทนระดับกลางๆ 5-8% และสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงขึ้นอย่างการลงทุนในกองทุนรวม ที่มีทั้งหุ้น และตราสารหนี้

หากคุณอายุยังน้อยหรือใจถึงมากพอที่จะรับความเสี่ยงได้สูง ผมแนะนำให้ลองตั้งเป้าผลตอบแทนได้มากกว่า 8%  และเลือกสินทรัพย์เสี่ยงได้เต็มที่มากขึ้น อย่างลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นต่างๆ

กำหนดเป้าหมายด้วยระยะเวลา

อีกวิธีในการกำหนดเป้าหมายคือนำเรื่องของ ‘เวลา’ มาเป็นเกณฑ์ กล่าวคือคุณต้องสำรวจตัวเองว่าต้องการลงทุนเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ จากนั้นจึงตั้งเป้าหมายให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่คุณสามารถทำได้

เช่นหากคุณต้องการลงทุนระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1 ปี คุณอาจต้องกลับมามองถึงข้อจำกัดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาการสร้างผลตอบแทนของสินทรัพย์นั้นๆ ที่จำกัด รวมถึงความเสี่ยง และค่าธรรมเนียมที่อาจเพิ่มขึ้น

เช่นต้องการลงทุนระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี แต่ไม่อยากรับความเสี่ยงที่สูง ก็อาจคิดมากหน่อยว่าใน 1 ปีนั้นสินทรัพย์ที่เราลงทุนต้องไม่ผันผวนมากนัก ก็ต้องลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น

หรือหากสามารถรับความเสี่ยงได้ก็อาจลงทุนในหุ้นกลุ่มเติบโตที่มีความผันผวนของราคาสูง ซึ่งก็มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นสูงเช่นกัน

หากมีเวลาลงทุนระยะกลาง 1-3 ปี ก็จะมีสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนได้หลากหลายมากขึ้น ความเสี่ยงต่ำกว่าระยะสั้น มีระยะเวลาสร้างผลตอบแทนมากขึ้น แต่ก็ต้องวางแผนให้รัดกุมเช่นกัน

แต่ถ้าคุณหนักแน่นพอ ควรเลือกการลงทุนที่มีเป้าหมายระยะยาว 5 ปีขึ้นไป เพราะจะความเสี่ยงต่ำลง และมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น สามารถปล่อยให้สินทรัพย์ค่อยๆ สร้างผลตอบแทน แต่อย่างว่านะครับ ระหว่างทางจะมีข่าวสารต่างๆ มากระทบจิตใจได้บ้าง ดังนั้นนักลงทุนที่เลือกเส้นทางนี้ต้องมีความหนักแน่นมากทีเดียว

กำหนดเป้าหมายด้วยวัตถุประสงค์การใช้เงิน

การลงทุนเพื่อเป้าหมายอะไรสักอย่าง จะทำให้คุณสามารถมองหาการลงทุนที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านระยะเวลา หรือความเสี่ยง รวมทั้งสามารถกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้สามารถไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้เป้าหมายนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่คุณสามารถทำได้จริงบนระยะเวลาที่มี ดังนั้นสำรวจและถามใจตัวเองไปเลยครับว่าลงทุนครั้งนี้มีไปเพื่ออะไร และคุณจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ บนการลงทุนแบบไหนเพื่อบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ลงทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูก

แน่นอนว่าคุณต้องการรูปแบบการลงทุนที่ค่อนข้างมั่นคงพอที่จะส่งลูกเรียนได้ระยะยาว ก็ต้องมองการลงทุนที่ความเสี่ยงน้อยลงมาหน่อย บนระยะเวลาที่จะต้องใช้เงินก้อนนั้น หรือลงทุนเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ

นอกจากเรื่องระยะเวลาและความเสี่ยง อาจต้องเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ (DCA) เพื่อให้พอร์ตเติบโตได้ไวขึ้น เพื่อให้เงินต้นค่อยๆ เติบโต เพียงพอสำหรับอนาคต เมื่อถึงวันที่เราไม่มีรายได้ใหม่เข้ามาเติมพอร์ต

ที่สำคัญต้องกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน และไม่ล้มเลิกกลางคัน หรือเข้าๆ ออกๆ จากตลาด

แต่ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายแบบใด แต่เป้าหมายต้องมีความเป็นไปได้ สอดคล้องกับความเป็นจริงและดูสมเหตุสมผล พร้อมกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เพื่อให้นักลงทุนสามารถจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมายได้

เมื่อได้เป้าหมายแล้วเราถึงจะมองหากลยุทธ์ที่เหมาะสม เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมเงินให้พร้อม

และในระหว่างที่ก้าวเดินไปสู่เป้าหมาย อย่าลืมทบทวนตัวเอง ว่าเรายังคงเดินอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องอยู่เสมอ

มองเป้าหมายเป็นเส้นชัย เก็บเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างทาง เพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่ท้าทายยิ่งขึ้นต่อไป

มีเป้าหมายแล้ว กลยุทธ์พร้อม ใจพร้อม คุณทำได้!

ปี 2567 นี้ตั้งเป้าอะไรไว้ และตอนนี้คุณมาได้ไกลแค่ไหน อย่าลืมมาแชร์กันนะครับ

]]>
1461542