Kuaishou – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 05 Feb 2021 08:13:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Kuaishou คู่แข่ง TikTok เปิด IPO ที่ฮ่องกง มูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบ 200% ระดมทุนได้ 5.32 พันล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1318091 Fri, 05 Feb 2021 07:22:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318091 ไคว่โส่ว (Kuaishou) แพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้น อันดับหนึ่งของประเทศจีน เปิดตัวครั้งแรกในฮ่องกง มูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบ 200% รายงานข่าวกล่าวว่า ไคว่โส่ว ระดมทุนได้ 41.28 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (5.32 พันล้านดอลลาร์) จากการเสนอขายครั้งแรก (IPO) หลังจากกำหนดราคาหุ้นที่ 115 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อหุ้น ซึ่งอยู่ในอันดับต้น ๆ ของช่วงที่คาดไว้ โดยมีราคาเปิดที่ 338 ดอลลาร์ฮ่องกง

ก่อนหน้านี้ สื่อรายงานว่าแผนออกหุ้นของ Kuaishou ประมาณ 365 ล้านหุ้น มีราคาระหว่าง 105-115 ดอลลาร์ฮ่องกง (13.55-14.84 ดอลลาร์สหรัฐ) หลายคนมองว่าการระดมทุนนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 5.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ และทางนักลงทุนสัมพันธ์ของ Kuaishou ระบุว่าอาจจะมีการออกหุ้นเพิ่มเพื่อระดมทุนให้กับบริษัท ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มเป็น 6.2 พันล้านเหรียญ ทำให้ Kuaishou ขึ้นแท่นการระดมทุนสูงที่สุดในรอบ 1 ปีตั้งแต่มีโรคระบาด COVID-19

ธุรกิจหลักของ Kuaishou คือแอปวิดีโอสั้นๆ และสร้างรายได้จากผู้ใช้ที่ซื้อของขวัญเสมือนจริงเพื่อมอบให้กับสตรีมเมอร์ที่พวกเขาชื่นชอบ นอกจากนี้ยังผลักดันไปสู่พื้นที่ใหม่ๆ เช่น อีคอมเมิร์ซ

บริษัทฯ กล่าวว่าการเสนอขายหุ้น IPO มีการจองซื้อมากเกินไปโดยมีความต้องการสูง หากใช้ตัวเลือกที่เรียกว่า “overallotment option” ซึ่งทำให้ธนาคารเพื่อการลงทุนสามารถออกหุ้นได้มากขึ้น Kuaishou จะสามารถระดมทุนได้มากกว่า 6 พันล้านดอลลาร์

สำหรับนักลงทุนหลักสิบราย ที่ลงทุนใน IPO ของ Kuaishou นี้ ได้แก่ Capital Group, BlackRock และ Fidelity

(Photo by VCG/VCG via Getty Images)

การเปิดตัวในฮ่องกงครั้งนี้ จะเป็นการทดสอบสภาพการลงทุนของกิจการเทคโนโลยีของจีน ในยามที่ปักกิ่งได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่การต่อต้านการผูกขาดไปจนถึงการปกป้องข้อมูล ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ออกกฎเกี่ยวกับการสตรีมมิงแบบสดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อไคว่โส่ว

การเสนอขายหุ้น IPO ตลาดรอง ของเหล่าบริษัทเทคโนโลยีระดับสูงยังเป็นอีกหนึ่งชัยชนะของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ด้วยสามารถดึงดูดบริษัทเทคโนโลยี ทั้งบริษัทจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ รวมถึงอาลีบาบาและ JD.com ด้วย

นอกจากนี้ CNBC ยังรายงานว่า Bilibili บริษัทวิดีโอของจีนที่จดทะเบียนใน NASDAQ (แนสแด็ก) ได้ยื่นขอเสนอขายหุ้นตลาดรอง (Secondary Listing) ในฮ่องกงด้วย

Kuaishou เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในจีนจากคู่แข่ง เช่น Douyin (โต่วอิน) หรือ TikTok เวอร์ชันภาษาจีนที่ ไบท์แดนซ์ เป็นเจ้าของรวมถึงแอปฯ ส่งข้อความวีแชท ของเทนเซนต์

Source

]]>
1318091
รู้จัก ‘Kuaishou’ คู่แข่ง TikTok กำลังขึ้นแท่น IPO มูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เกิด COVID-19 https://positioningmag.com/1317102 Fri, 29 Jan 2021 11:51:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317102 หากพูดถึงแอปวิดีโอสั้น ใคร ๆ ก็คงจะคิดถึง ‘TikTok’ มาเป็นอันดับแรกแน่นอน และหลายคนคงไม่รู้จัก ‘Kuaishou’ (ไคว่โฉ่ว) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นเหมือนกับ TikTok แถมยังเคยเข้ามาทำตลาดในไทยชื่อ ‘Klip’ ในช่วงปี 2018 (แล้วก็หายไปเรียบร้อยแล้ว)

โดย Kuaishou นั้นถือเป็นคู่แข่งเบอร์ต้น ๆ ของ TikTok หรือ Douyin ในประเทศจีนเลยทีเดียว และสิ่งที่น่าสนใจคือ Kuaishou เตรียมเปิด IPO ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ โดยหลายคนคาดว่าจะเป็น IPO แรกที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกในรอบ 1 ปีที่เกิด COVID-19 มา

รู้จัก Kuaishou

Kuaishou ถือเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นเหมือนกับ TikTok ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน โดยผู้ใช้หลักจะเป็นคนจีนทางตอนเหนือเน้นไปที่ผู้ใช้ในแถบชนบท โดยผู้ใช้หลักอายุเฉลี่ย 25-34 ปี เป็นหญิง-ชายเฉลี่ยเท่า ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ให้ความสนใจในตัวบุคคลเป็นหลัก ดังนั้น เวลาไลฟ์จะมีผู้ชมที่ติดตามมาชมเยอะกว่า ขณะที่เนื้อหาวิดีโอส่วนมากเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน มีความหลากหลายสูง

(Photo by VCG/VCG via Getty Images)

ในปี 2017 Kuaishou เคยขึ้นอันดับ 1 แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นในจีนแซงหน้า Meipai และ Miaopai โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2020 Kuaishou มีผู้ใช้งานแอปฯ 262.4 ล้านคนต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2019 ที่มีผู้ใช้ 165.2 คนต่อวัน ส่วนยอดผู้ใช้จ่ายรายเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 59.9 ล้านคนจาก 48.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ใช้งานจะเติบโต แต่บริษัทกลับขาดทุนในช่วง 9 เดือนแรกถึง 7.24 พันล้านหยวนเนื่องจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดพุ่งสูงขึ้น

สำหรับเจ้าของ Kuaishou นั้นถือเป็น Top 5 เศรษฐีวัยรุ่นของจีน โดย ชาง อีเซียว ปัจจุบันอายุ 36 ปี เขาเริ่มเข้าสู่วงการเทคโนโลยีจากการเป็นวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในบริษัท HP จากนั้นก็กลับมาอยู่ที่จีนและทำงานให้กับบริษัทเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Renren ก่อนที่จะมาทำแอปฯ Kuaishou ของตัวเอง

IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่การระบาด

ที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนคือ Tencent ผู้พัฒนา WeChat ก็ได้ประกาศทุ่มเงินทุนเป็นมูลค่ามากกว่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ เป้าหมายเพื่อพัฒนาและขยายให้ Kuaishou ไปรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงเพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ เข้าไปมากขึ้น โดยช่วงปี 2018 Kuaishou ก็ได้เริ่มทำตลาดในต่างประเทศ เปลี่ยนชื่อเป็น Klip โดยเจาะตลาดเกาหลี รัสเซีย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ล่าสุด Kuaishou เตรียมจะระดมทุนในวันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ โดยมีแผนจะออกหุ้นประมาณ 365 ล้านหุ้นโดยมีราคาระหว่าง 105-115 ดอลลาร์ฮ่องกง (13.55-14.84 ดอลลาร์สหรัฐ) หลายคนมองว่าการระดมทุนนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 5.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ และทางนักลงทุนสัมพันธ์ของ Kuaishou ระบุว่าอาจจะมีการออกหุ้นเพิ่มเพื่อระดมทุนให้กับบริษัท ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มเป็น 6.2 พันล้านเหรียญ ถ้ามีความต้องการมากจริง ๆ ซึ่งนั่นจะทำให้ Kuaishou ขึ้นแท่นการระดมทุนสูงที่สุดในรอบ 1 ปีตั้งแต่มี COVID-19

(Photo credit should read Costfoto/Barcroft Media via Getty Images)

อย่างไรก็ตาม การระดมทุนที่สูงสุดในฮ่องกงยังเป็นของ China Tower Corp ผู้เป็นเจ้าของเสาโทรคมนาคมทั่วประเทศจีนที่ระดมทุนได้ 7.4 พันล้านเหรียญไปในเดือนสิงหาคม ปี 2018 และในแง่ของบริษัทดิจิทัลเทคโนโลยี Uber Technologies นับเป็นที่ 1 โดยระดมทุนไปได้ 8.1 พันล้านเหรียญ

SCMP / CNN / CNBC

]]>
1317102
ส่องการแข่งขัน ‘อีคอมเมิร์ซจีน’ เมื่อเจ้าตลาดกำลังโดนท้าทายจาก ‘แพลตฟอร์มไลฟ์สด’ https://positioningmag.com/1298451 Wed, 23 Sep 2020 12:12:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298451 แม้ความร้อนแรงของชาวจีนในการช้อปปิ้งออนไลน์ลดลงในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ยังคงเผชิญกับความท้าทายมากมายจากการพยายามกระตุ้นการบริโภคที่บ้าน ที่ผ่านมารัฐบาลจีนพยายามผลักดันการบริโภคภายในประเทศ เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเติบโตของประเทศแทนที่จะพึ่งพาการส่งออก แต่การเเข่งขันของอีคอมเมิร์ซจีนไม่ได้ทวีความรุนเเรงลงตามเศรษฐกิจเลยเเม้เเต่น้อย

เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในปีนี้ได้เร่งการเติบโตการช้อปปิ้งออนไลน์ในจีน โดยส่วนแบ่งของอีคอมเมิร์ซเมื่อเทียบกับยอดค้าปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 5 เป็น 1 ใน 4 ในปีนี้ และจากการเติบโตดังกล่าว ส่งผลให้ผู้นำตลาดอย่าง ‘Alibaba’ และ ‘JD.com’ กลับต้องเผชิญกับความท้าทายจาก ‘Kuaishou’ แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นและไลฟ์สตรีมมิ่งที่มียอดสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มแตะ 500 ล้านหยวนในเดือนสิงหาคม และอ้างว่าอยู่ในอันดับ 4 ตามหลังแพลตฟอร์ม Taobao และ Tmall ของ Alibaba, JD และ Pinduoduo

ส่วน Douyin หรือ TikTok เวอร์ชันภาษาจีนก็ถือเป็นแอปวิดีโอสั้นและไลฟ์สตรีมมิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ได้เปิดเผยว่า ครีเอเตอร์กว่า 22 ล้านคนสร้างรายได้มากกว่า 41,700 ล้านหยวน บนแพลตฟอร์มในจีนในปีที่ผ่านมา และในเดือนสิงหาคม Douyin อ้างว่ามีผู้ใช้งาน 600 ล้านคนต่อวัน

นอกจากนี้ ผู้คนจำนวนมากยังใช้ WeChat สำหรับการช้อปปิ้งผ่านโปรแกรมมินิในแอปฯ ซึ่งมีผู้ใช้งานมากกว่า 400 ล้านคนต่อวัน บริษัทกล่าวว่าปริมาณสินค้าที่ซื้อผ่านโปรแกรมขนาดเล็กเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคมจากปีที่แล้ว ขณะที่ในปีที่ผ่านมา มีปริมาณธุรกรรมผ่าน WeChat สูงถึง 800,000 ล้านหยวน

“ผู้ขายที่พึ่งพาการขายทางออนไลน์อย่างเดียว มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกบังคับให้ออกจากตลาด โดยเฉพาะผู้ขายสินค้าที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ใช้วิธีการแบบ Omni Channel โดยเน้นที่การสร้างความภักดีของผู้บริโภคจะมีความยั่งยืนมากขึ้นในระยะยาว” Imogen Page-Jarrett นักวิเคราะห์การวิจัยของ The Economist Intelligence Unit (EIU) กล่าว

อย่างไรก็ตาม เพราะความไม่แน่นอนเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตและการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่จีนต้องเผชิญ โดย EIU คาดการณ์ว่าตลาดงานในปีนี้จะแย่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 และยอดค้าปลีกโดยรวมจะหดตัว 4.7% โดยในเดือนมกราคมถึงสิงหาคมยอดค้าปลีกลดลง 8.6% จากปีที่แล้วเหลือ 23.8 ล้านล้านหยวน

แม้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายอดค้าปลีกในจีนสามารถเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งการเติบโตเชิงบวกครั้งแรกในปี 2020 ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่กำไรส่วนใหญ่มาจากรถยนต์ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้น 11.8% หากไม่รวมหมวดหมู่นี้ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัว 0.6%

“ด้วยความเครียดจากการว่างงาน ดังนั้นการฟื้นตัวของการบริโภคโดยรวมในไตรมาส 4 จะเติบโตมากนัก”

อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูล Wind Information พบว่ายอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการทางออนไลน์เพิ่มขึ้น 13.3% ในเดือนสิงหาคม แต่เติบโตช้ากว่าเดือนกรกฎาคมที่เติบโต 18.8% และลดลงจาก 19% ในเดือนมิถุนายน

“การสูญเสียงานการลดรายได้และการใช้ประโยชน์ที่สูงขึ้นอาจทำให้เกิดจุดอ่อนใหม่ในอุปสงค์ภายในประเทศ”

Source

]]>
1298451