Laxman Narasimhan – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Sep 2022 12:48:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Starbucks ตั้งซีอีโอคนใหม่ “Laxman Narasimhan” ดึงตัวจากบริษัท Reckitt ยักษ์อุปโภคบริโภค https://positioningmag.com/1398648 Fri, 02 Sep 2022 06:12:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398648 ในที่สุดก็หาคนที่ใช่ได้! Starbucks ประกาศแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ “Laxman Narasimhan” ที่ดึงตัวมาจาก Reckitt Benckiser เขาจะขึ้นกุมบังเหียนแทน Howard Schultz ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ โดยนับว่าเป็นการขึ้นสู่ตำแหน่งท่ามกลางความท้าทาย จากการล็อกดาวน์อยู่เรื่อยๆ ในตลาดประเทศจีน และกระแสก่อตั้งสหภาพแรงงานในสหรัฐฯ

Laxman Narasimhan จะขึ้นมารับตำแหน่งซีอีโอคนใหม่ของ Starbucks ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2022 ตามแถลงการณ์ของบริษัทเมื่อวานนี้ (1 กันยายน 2022) โดยเขาย้ายมาจากตำแหน่งหัวเรือของ Reckitt Benckiser ยักษ์อุปโภคบริโภค เจ้าของแบรนด์ เช่น ถุงยาง Durex, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด Dettol, ยาอม Strepsils ฯลฯ

นั่นทำให้ Narasimhan จะย้ายงานแบบข้ามประเทศ เพราะ Reckitt นั้นมีสำนักงานใหญ่อยู่ในลอนดอน ส่วน Starbucks ตั้งอยู่ในซีแอตเทิล

Starbucks ซีอีโอใหม่
Laxman Narasimhan ซีอีโอใหม่ของ Starbucks (Photo: Reckitt Benckiser)

ขณะที่ Howard Schultz ซีอีโอปัจจุบันก็จะยังนั่งตำแหน่งซีอีโอชั่วคราวต่อไปก่อนจนถึงเมษายน 2023 เพื่อช่วยเหลือและถ่ายงานให้ Narasimhan ได้อย่างราบรื่น หลังจากนั้น Narasimhan จะเป็นซีอีโอเต็มตัวและเข้าร่วมในคณะกรรมการบริหาร

สำหรับ Schultz นั้นนับได้ว่าเป็นเหมือน ‘หน้าตา’ ของบริษัท Starbucks มานาน เพราะเขาเข้าออกบริษัทนี้ถึงสามรอบ รอบแรกเข้ามารับตำแหน่งระหว่างปี 1986-2000 (รวม 14 ปี) รอบสองมาเป็นซีอีโอช่วงปี 2008-2017 (รวม 9 ปี) และรอบสามคือเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ เมื่อ Kevin Johnson ซีอีโอเก่าเกษียณอายุ และบริษัทยังหาใครไม่ได้ Schultz จึงกลับมาดูแลชั่วคราวไปก่อน

 

รับเผือกร้อนธุรกิจร้านกาแฟ

การมารับตำแหน่งของ Narasimhan ถือว่าอยู่ในช่วงเวลาแห่งความท้าทาย เพราะธุรกิจของ Starbucks กระท่อนกระแท่นมาตั้งแต่เผชิญโรคระบาด COVID-19 และขณะนี้ก็ยังมีปัญหากับตลาดจีนซึ่งมีการล็อกดาวน์อยู่เป็นระยะๆ โดยที่ตลาดจีนนั้นเป็นแหล่งรายได้อันดับสองรองจากสหรัฐฯ

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2022 บริษัทเปิดเผยว่าในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา บริษัทปิดร้านที่บริษัทเป็นผู้บริหารเองในสหรัฐฯ ไปแล้ว 424 สาขา หรือคิดเป็น 5% ของทั้งหมด แต่ก็มีการเปิดใหม่ทดแทน 449 สาขา ทำให้ในสหรัฐฯ ยังมีร้านอยู่ประมาณ 9,000 สาขา

(Photo : Shutterstock)

ในประเทศบ้านเกิดเอง Starbucks ก็กำลังเจอกับกระแสการก่อตั้งสหภาพแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทมีความพยายามที่จะสกัดการก่อตั้งมาตลอด และทำให้ภาพลักษณ์การเป็น ‘บริษัทหัวก้าวหน้า’ ที่คอยดูแลความเป็นอยู่ให้พนักงานต้องสูญเสียไป

Narasimhan ชาวอินเดียนอเมริกันวัย 55 ปีจะต้องรับมือกับปัญหาเหล่านี้ทันทีที่บินเข้ามารับตำแหน่งในซีแอตเทิลเดือนหน้า

ประวัติของ Narasimhan นั้นมีความหลากหลาย เขาเคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของหลายบริษัท เช่น PepsiCo, McKinsey & Company ด้านประวัติการศึกษา เขาจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเครื่องยนต์จาก Savitribai Phule Pune University ในอินเดีย จากนั้นจบปริญญาโทสองใบ ใบแรกด้านศิลปะศาสตร์ เยอรมนีศึกษาที่ University of Pennsylvania ต่อด้วยโท MBA ด้านการเงินที่ University of Pennsylvania เช่นกัน

Starbucks

ในแถลงการณ์แต่งตั้งซีอีโอ Mellody Hobson กรรมการอิสระของ Starbucks มองว่าประสบการณ์ของ Narasimhan นั้นจะเป็นแรงขับเคลื่อน “การทรานสฟอร์มด้านกลยุทธ์ของธุรกิจที่ต้องบริการลูกค้าทั่วโลก”

“ความเข้าใจของเขาต่อวัฒนธรรมและคุณค่าของบริษัทเรา รวมกับความเชี่ยวชาญของเขาในการสร้างแบรนด์ ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม และผู้นำในงานปฏิบัติการ จะเป็นผู้สร้างความแตกต่างในตำแหน่งทางการตลาดของ Starbucks ในอีก 50 ปีข้างหน้า และสร้างคุณค่าให้ผู้ถือหุ้นของเราทุกคน” Hobson กล่าว

ราคาหุ้นของ Starbucks ไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนักหลังการประกาศตั้ง Narasimhan แต่ฝั่งหุ้นของ Reckitt นั้นลดต่ำลงทันทีที่แจ้งข่าว

Source

]]>
1398648