live – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 23 Feb 2022 07:33:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วงการ ‘ไลฟ์สด’ เเข่งดุ เเบรนด์ ‘Big Player’ ชิงลูกค้า เจ้าเล็กหาจุดขายเอนเตอร์เทนคนดู https://positioningmag.com/1374658 Tue, 22 Feb 2022 12:20:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374658 วงการขายของบนสื่อออนไลน์ในไทยบูมไม่หยุด เเม่ค้าพ่อค้าเเบรนด์เล็กเเบรนด์ใหญ่กระโจนชิงเค้กกันต่อเนื่อง เเจ้งเกิดเซเลบไลฟ์สดกันถ้วนหน้า ขนสินค้าสารพัดสิ่งมาเอนเตอร์เทนคนดู

เมื่อเร็วๆ นี้ เกิดประเด็นฮือฮาเมื่อมีคนสังเกตเห็นว่า พี่บิ๊กร้านค้าสะดวกซื้ออย่างเซเว่น อีเลฟเว่นภายใต้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ได้ลงสนามเเข่งไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊ก 7-Eleven Thailand ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 7 ล้านคน ขายสินค้าต่างๆ ทั้งอาหารเครื่องดื่ม ของอุปโภคบริโภค น้ำหอม เสื้อผ้าไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าเเละต้นไม้ อัดโปรโมชันดึงดูดลูกค้าขั้นสุด แถมบริการส่งฟรีถึงบ้านหากซื้อสินค้าตามเงื่อนไข

หลายคนมองว่า ปกติตลาดขายของไลฟ์สดก็มีการเเข่งขันที่สูงอยู่เเล้ว เมื่อมี Big Player เข้ามาก็ยิ่งดุเดือดยิ่งขึ้นไปอีก ท่ามกลางกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังอ่อนเเอ วิกฤตโรคระบาดยังดำเนินต่อเนื่อง

เเบรนด์ใหญ่ลงเเข่งไลฟ์สด ชูความน่าเชื่อถือ 

ย้อนกลับไปในช่วงต้นปี 2564 เพจ 7-Eleven Thailand ก็มีการจับกระเเสอีคอมเมิร์ซอย่างต่อเนื่อง เเต่จะเป็นในรูปแบบขายของออนไลน์ ที่เน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านการเชิญดาราหรือคนในวงการบันเทิงที่มีชื่อเสียงมาร่วมเป็นเเขกในไลฟ์มากกว่า ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีพอสมควร เฉลี่ยยอดวิวอยู่ที่หลักหมื่นวิว

ต่อมาในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เพจ 7-Eleven Thailand เริ่มมีการปรับเปลี่ยนสไตล์เเละลีลาในการไลฟ์ขายของ เป็น #AllOnlineLive หันมาใช้ผู้ดำเนินรายการเพียงคนเดียว เปลี่ยนรูปแบบการคอนเฟิร์มสินค้าด้วยรหัสเลขต่างๆ มีหน้าจอการเเสดงผลคล้ายคลึงกับไลฟ์สดของเเม่ค้าชื่อดังหลายเจ้า พร้อมการลดเเลกเเจกเเถมที่มากขึ้น

ไม่ใช่เพียงเซเว่น อีเลฟเว่นเท่านั้น ปัจจุบันเเบรนด์ใหญ่ๆ ก็นำจับกลยุทธ์ไลฟ์สดขายสินค้ามาเป็นหนึ่งในอาวุธสำคัญในการทำตลาดช่วงโควิด-19 ซึ่งได้ผลทั้งในเเง่ยอดขายเเละการสร้าง Brand Awareness

ยกตัวอย่าง เช่น B2S Thailand ศูนย์รวมสินค้าไลฟ์สไตล์ ซึ่งเป็นเเบรนด์มีผู้ติดตามในเฟซบุ๊กราว 4.3 เเสนคน ก็มีการเปิดไลฟ์สดขายของอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเป็นของชิ้นเล็กๆ กุ๊กกิ๊ก ยิ่งขายดีเป็นพิเศษ เจาะตลาดกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นที่ใช้เวลาอยู่ในสื่อโซเชียล เเละจับกลุ่มลูกค้าวัยทำงานด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับ Work From Home ทั้งเก้าอี้ ชั้นวางของ ปากกาเเละสมุดจดต่างๆ ไปจนถึงชุดตรวจโควิด ATK

ต่อมากับร้านค้ากีฬารายใหญ่สุดในไทยอย่าง Supersports ที่มีผู้ติดตามเพจกว่า 1.7 ล้านคน ก็รุกตลาดขายออนไลน์อย่างจริงจัง โดยเน้นการโชว์วิธีใช้สินค้าให้ผู้ชมเข้าถึงได้ นำเสนออุปกรณ์เพื่อการออกกำลังกายที่บ้านเเละจัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษกับเเบรนด์ดัง พร้อมกิจกรรมร่วมสนุกต่าง ๆ

โดยจุดเด่นของเเบรนด์ใหญ่ที่ทำการขายของผ่านไลฟ์สดก็คือ ความน่าเชื่อถือเเละการมีสินค้าที่ครบครัน ตรงกับความต้องการของลูกค้า

เซเลบไลฟ์สด มาพร้อมพลังเเฟนคลับ 

ฝั่งเเม่ค้าออนไลน์ ระดับ #เซเลบ ที่มาเเรงสุดๆ ก็ต้องยกให้ พิมรี่พายขายทุกอย่าง ที่สร้างกระเเสบนพื้นที่สื่อได้ตลอด ทั้งประเด็นดราม่าเเละการเปิดตัวสินค้าต่างๆ โดยปัจจุบันมีผู้ติดตามในเฟซบุ๊กมากถึง 7.4 ล้านคน

ตามมาด้วย กะฟา เเห่งเพจ MakeeShop จากเมืองยะลา ที่มียอดผู้ติดตาม 2.4 ล้านคน กับลีลาการขายเเบบใกล้ชิดลูกค้าด้วยวลีที่รักของกะฟา โชว์การทดลองใช้สินค้า พร้อมความสนุกสนานจากเสียงเชียร์ของทีมงาน

ขณะเดียวกัน ยังมีนักเเสดงชื่อดังอย่าง ยุ้ย จีรนันท์ มะโนแจ่ม ที่ขยับมาเอาดีด้านวิถีขายออนไลน์ เคยกวาดรายได้ 3 ชั่วโมง 3 ล้านบาท บนเพจ ซุปตาร์ออนไลน์ by ยุ้ย จีรนันท์ ที่มียอดติดตาม 1.6  ล้านไลค์ เน้นขายกระเป๋า เสื้อผ้า ของกินต่างๆ ด้วยสไตล์นางเอก พูดเพราะ ฟังเพลิน ทำให้ลูกค้าติดใจไปตามๆ กัน เเละบางวันก็จะมีเพื่อนนักแสดงมาร่วมไลฟ์ด้วย ยิ่งช่วยดึงยอดคนดูเเละเเฟนคลับให้เพิ่มขึ้นไปอีก

เจ้าเล็ก หาจุดขายชิงคนดู 

นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการรายย่อยตัวเล็กๆ ที่ปั้นเเบรนด์ประสบความสำเร็จ โดยเริ่มต้นจากการไลฟ์สดอย่างเปี๊ยะทะลักบางแสนที่ เจริศา นุตสถาปนา นักศึกษาวัย 22 ปี ได้เริ่มไลฟ์ขายสินค้าในกลุ่มเพื่อนๆ รอบตัว จนขยายไปในวงกว้างมากขึ้น

เเละการแนะนำขนมเปี๊ยะผ่านช่องทาง ‘TikTok’ ก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้มีออเดอร์เข้ามากขึ้น จนเคยมีออเดอร์เข้ามาต่อเดือนถึง 3 ล้านบาท ปัจจุบันได้ขยายไลน์การผลิตมากขึ้น มีตัวแทนจำหน่ายในหลายจังหวัดทั่วประเทศ

โดยยอดขายผ่านการไลฟ์สดทางโซเชียล คิดเป็น 70% ลูกค้าส่วนใหญ่มาจาก TikTok เเละเฟซบุ๊ก ส่วนด้านออฟไลน์เปิดขายหน้าร้านเพียงแห่งเดียวที่บางแสน มียอดขายคิดเป็น 30%

อ่านต่อเปี๊ยะทะลัก บางแสนเปี๊ยะลาวาชื่อดังโลกออนไลน์ ยอดขายเดือนละ 3 ล้านบาท 

อีกหนึ่งดาว TikTok ที่ชูการเอนเตอร์เทนลูกค้ามาต่อยอดการขายได้เป็นอย่างดี ก็คือ ก๊อตจิบิวตี้ สองแม่ค้าออนไลน์สายเต้น จากเพจเสื้อผ้าแฟชั่น by Polyyclothes ที่มุ่งสร้างความสุขให้ลูกค้าตามคอนเซปต์เต้นแรงก่อนขายพร้อมนำเสนอเสื้อผ้าแฟชั่นตัดเย็บเองได้อย่างน่าสนใจ

เรียกได้ว่าตลาดไลฟ์สดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยต้นทุนการตลาดที่ต่ำ ไม่ต้องมีสาขาหน้าร้านก็ทำได้ เเถมยังมีจุดเด่นในด้านการนำเสนอสินค้าได้หลายตัว สร้างการรับรู้ว่าถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของเเบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก พร้อมส่งเเรงกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อสินค้าภายในเวลาที่รวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีระบบไลฟ์สดสำเร็จรูปที่เข้ามาเจาะตลาดพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ด้วย เพิ่มความสะดวกในการเริ่มธุรกิจมากขึ้น

เหล่านี้ ดึงดูดให้เเบรนด์ใหญ่ที่ได้เปรียบในด้านความน่าเชื่อถือ เซเลบดาราที่มีชื่อเสียงเข้ามาทำตลาดนี้มากขึ้น ฝั่งผู้ประกอบการรายย่อยก็ต้องงัดจุดเด่นของตัวเองออกมาสู้ สร้างความเป็นกันเองให้กับลูกค้า อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องยึดถือก็คือความจริงใจซึ่งจะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้เรื่อยๆ ไม่ใช่ลูกค้ามาลองซื้อครั้งเดียวเเล้วจบ เเต่เป็นการรักษายอดขายให้ได้ในระยะยาว ท่ามกลางการเเข่งขันสูงมากๆ

]]>
1374658
How To ปรับตัวฉบับ ‘สุทธิชัย หยุ่น’ กับการเป็น ‘Content Creator’ ได้ในทุกยุค https://positioningmag.com/1294688 Mon, 31 Aug 2020 07:37:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294688 วงการสื่อหรือนักสื่อสารมวลชน ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีก่อนใครเพื่อน และไม่ใช่ทุกคนที่สามารถปรับตัวจนอยู่รอดมาได้ทุกครั้ง แต่ไม่ใช่กับ ‘สุทธิชัย หยุ่น’ เพราะขนาด ‘TikTok’ แพลตฟอร์มวัยรุ่นจ๋า เขาก็ยังสามารถนำมาเล่าข่าวได้ ดังนั้น ไปเจาะลึกแนวคิดของคุณสุทธิชัย ที่มาเปิดเผยบนเวที iCreatorConference2020 กัน ว่าทำไมถึงสามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทุกยุคทุสมัยเเบบนี้

อย่า กลัว ที่จะปรับตัว

ความอยากรู้อยากเห็นเป็นหัวใจสำคัญ และต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะเทคโนโลยีเรียนรู้ได้ ดังนั้น ต้องหมั่นติดตามและเปลี่ยนแปลง โดยในช่วงแรกที่ทำหนังสือพิมพ์ การทำข่าวต้องไปสัมภาษณ์เอง ต้องแกะเทปเอง ไม่ได้เป็น MP3 แบบในทุกวันนี้ หากเทปมีปัญหาก็ต้องอาศัยความจำตัวเอง ต่อมาส่งข่าวผ่านทางโทรศัพท์ ถ้าอยู่ข้างนอกก็ต้องอาศัยตู้โทรศัพท์สาธารณะบ้าง ซึ่งยุ่งยากมาก จนมาถึงยุค ‘Social Media’ ที่เปรียบดัง “ของขวัญจากพระเจ้า”

อย่าง Twitter ที่ทำให้สามารถส่งข่าวได้ทันที ซึ่งทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในช่วงที่เคยแนะนำ Twitter ให้กับเพื่อนนักข่าวมาลองใช้ 99% ไม่เอาด้วย เพราะเห็นว่ามันส่งได้ 140 ตัวอักษร เขามองว่ามันสั้นเกินไปที่จะส่งข่าว บอกว่ายุ่งยากที่ต้องทวิตหลาย ๆ ครั้งเพื่อมารวม ดังนั้น ที่หลาย ๆ สื่อไม่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะกลัวที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ

หลายคนอาจจะไม่กล้าเปลี่ยนตัวเอง ไม่กล้าลองใช้ ซึ่งต้องเปลี่ยนความคิด ถ้ามีเครื่องมือใหม่ ๆ ต้องลองก่อน ถ้าไม่เวิร์ก ก็พอ แล้วก็ไปทำอย่างอื่น ยิ่งตอนนี้การเปลี่ยนผ่านเกิดไวขึ้น ถ้าไม่รีบปรับตอนนี้ อนาคตจะยิ่งยาก เพราะทุกวันนี้มีมือถือก็ทำได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งถ่ายทอดสด ไม่จำเป็นต้องลงทุนเป็นล้านเหมือนอดีต”

สูตรตายตัวไม่มี

Social Media ไม่ว่าจะ Facebook, Instagram หรือ Twitter ทุกแพลตฟอร์มเหมือนจัตุรัสกลางเมือง คือ มีคนอยู่แล้ว ไม่เหมือนเว็บไซต์ที่ต้องเรียกคนเข้ามาดู ดังนั้น เมื่อตลาดทมีคนอยู่แล้ว โจทย์คือ ต้องทำให้คนสนใจ ไม่ว่าจะตลาดเล็ก ตลาดใหญ่ ตลาดคนรุ่นใหม่ ก็ต้องเสียบตัวเอง เอาข่าวที่เหมาะสมกับความสนใจของเขาไปนำเสนอ ถ้าที่นั่นมีคน ผมจะเข้าไปให้ได้

อย่าง TikTok ที่มีแต่คนบอกว่า ไม่มีทางเอาข่าวเข้าไปได้ เพราะมันเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอขนาดสั้นเพียง 1 นาที แต่ผมบอกว่า ไม่จริง ผมต้องหาทุกวิถีทางที่จะเข้าไปอยู่ในทุก ๆ แพลตฟอร์มที่เป็นข่าวให้ได้ ดังนั้น ผมจึงเริ่มฝึกฝนปรับตัวเพื่อให้เข้ากับเงื่อนไข ต้องฝึกฝนการเล่าเรื่องให้สั้นลงให้ได้ใน 1 นาที

ตั้งแต่วันที่มี Facebook ผมก็เริ่ม Live โดยที่คนดูบ้างไม่ดูบ้าง แต่สิ่งที่ผมรู้คือ เนื้อหาที่คนสนใจอยากดู หาจากที่อื่นไม่ได้ต้องมาที่นี่ จากนั้นก็ค่อย ๆ สร้างไปทำผิดทำถูกเรียนรู้ไป เพราะว่าในโลก Social นั้นไม่มีสูตรตายตัว มีใครบอกว่าทำอย่างนี้สิถึงจะสำเร็จ ไม่จริง อย่าไปฟังใคร แต่อาจจะเริ่มจากสิ่งที่ชอบก่อนและพัฒนาไป ที่สำคัญต้องทำทุกวัน”

การเล่าเรื่อง หัวใจสำคัญที่ไม่เคยเปลี่ยน

ในความเป็นจริงแล้ว ทุกยุคทุกสมัยมีความสนุก ถ้ามี Passion กับมัน และเนื้อหาความสำคัญของการจับประเด็น ความสำคัญของการเล่าเรื่องไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงวันนี้ ดังนั้น คนอยากรู้อยากเห็นอะไร ไปแสวงหาสิ่งนั้นเพื่อจะเล่าขานต่อไปยังคนที่เราเชื่อว่า เขาก็อยากจะรู้

“หัวใจของมันจะไม่เคยเปลี่ยนแปลงก็คือ การที่เรามีเรื่องที่จะเล่า เล่าอย่างแม่นยำ เล่าอย่างถูกต้อง เล่าอย่างน่าสนใจและสามารถ Inspire คนอื่น นั่นคือคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการที่เราจะเป็น Content Creator ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหน

]]>
1294688
‘LINE’ เผย 3 กลยุทธ์ ‘Growth Strategy’ แบบยั่งยืนในยุค ‘New Normal’ https://positioningmag.com/1286467 Fri, 03 Jul 2020 12:29:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286467 ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังจากที่เกิดวิกฤติ Covid-19 ทำให้แบรนด์ทั้งเล็ก-กลาง-ใหญ่ ต้องปรับกลยุทธ์เข้าสู่ดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ ศรีสุภาคย์ อารีวณิชกุล ผู้อำนวยการธุรกิจองค์กร LINE ประเทศไทย ได้ออกมาแนะนำ 3 กลยุทธ์สำคัญแบบ ‘Growth Strategy’ เพื่อให้แบรนด์เดินหน้าสู่การทำธุรกิจออนไลน์อย่างยั่งยืนแม้จะหมดช่วงวิกฤติ Covid-19

ศรีสุภาคย์ อารีวณิชกุล ผู้อำนวยการธุรกิจองค์กร LINE ประเทศไทย

1.วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

พฤติกรรมของผู้บริโภคบนโลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเสมอ การสื่อสาร 1 ข้อความสู่ลูกค้าทั้งหมด ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ส่งผลให้แบรนด์ต้องทำการบ้านหนักกว่าเดิม ดังนั้น การเก็บข้อมูลและศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ละคน แต่ละกลุ่ม (Segmentation) ให้มากขึ้น อย่างวิ่งตามเทรนด์ แต่สร้างเทรนด์ให้ผู้บริโภค (Set trend to each segmentation) โดยอาจจับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก่อน แล้วจึงต่อยอดขยายสู่กลุ่มอื่น อีกทั้งต้องสื่อสารสู่ผู้บริโภคให้แตกต่างกันเพื่อดึงดูดให้เกิดการมีส่วนร่วม ที่นำไปสู่การปิดการขายที่เหมาะสมกับคนแต่ละกลุ่ม (Personalization)

2.สื่อสารอย่างสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้แบรนด์สร้างความแตกต่างในโลกออนไลน์ ด้วยการสร้างเรื่องราวและรูปแบบการเล่าเรื่องของสินค้าหรือตัวแบรนด์ให้โดดเด่น สร้างสรรค์ ไม่ซ้ำใคร พยายามสร้างการสื่อสารตัวตนของแบรนด์ สินค้าด้วยรูปแบบใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์กว่าเดิม ผ่านเครื่องมือใหม่ ๆ

“ที่ผ่านมามีแบรนด์อย่าง LION ได้ออกแบบเงื่อนไขในการรับสติกเกอร์ด้วยการให้ผู้บริโภคตอบแบบสอบถาม นำมาสู่ข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ที่แบรนด์สามารถนำไปต่อยอดเพื่อวิเคราะห์การสื่อสารและแคมเปญการตลาดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างในการประยุกต์ใช้สติกเกอร์”

3.สร้างประสบการณ์ใหม่บนโซเชียลคอมเมิร์ซ 

การปรับตัวของแบรนด์ใหญ่บนโซเชียลคอมเมิร์ซไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่บนโซเชียลคอมเมิร์ซให้ผู้บริโภครู้สึกประทับใจ แบรนด์ที่ปรับตัวและริเริ่มก่อน จะได้รับความสนใจและมีตัวตนบนโลกดิจิทัลในฐานะของ ‘ผู้บุกเบิก’ หรือ ‘ผู้ปฏิวัติวงการ’ อาทิ การใช้ ‘Live’ เข้ามาสร้างประสบการณ์ใหม่

“ไม่เพียงแค่ผู้ค้ารายย่อยหรือ SME ที่เลือกใช้ LIVE ในการขายของ แบรนด์ใหญ่เริ่มหันมาใช้ LIVE เพื่อปิดการขาย หรือสร้างประสบการณ์สินค้าในรูปแบบใหม่ ต่างจากเดิมที่ใช้เพื่อสร้างการรับรู้ อย่าง Homepro กับ Big C ก็มีการใช้ LIVE บน LINE OA”

ปัญหาใหญ่ Go Digital ไม่ได้ เพราะโครงสร้างองค์กร

เพราะการวางกลยุทธ์ออนไลน์และโครงสร้างองค์กรในบางองค์กรอาจไม่เอื้อที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการจะไปออนไลน์หรือดิจิทัลจึงไม่สามารถทำได้ทันที อย่างไรก็ตาม การเติบโตของแบรนด์ที่ทรานส์ฟอร์มมาดิจิทัล โดยเฉพาะการใช้งานแพลตฟอร์ม LINE คงไม่ลดลงมาก เเม้วิกฤติ Covid-19 ในไทยจะดีขึ้น เนื่องจากการใช้งานดิจิทัลเป็น New Normal ของผู้บริโภค แม้ว่าช่องทางออฟไลน์จะเริ่มกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม แต่ผู้บริโภคคงไม่กลับไปใช้แต่ออฟไลน์ แต่จะใช้งานควบคู่กับออนไลน์

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีธุรกิจไทยที่ใช้งาน LINE OA แล้วเกิน 4 ล้านบัญชี โดย 3 กลุ่มธุรกิจที่มีการสื่อสารผ่าน LINE OA สูงสุด คือ กลุ่มค้าปลีก การเงินการธนาคาร และโทรคมนาคม ขณะที่ช่วงล็อกดาวน์จะพบว่ากลุ่มธุรกิจยานยนต์ องค์กรภาครัฐ เติบโตถึง 50-60% ตามมาด้วยธุรกิจค้าปลีกกับ อาหารและเครื่องดื่มที่เน้นการเดลิเวอรี่โตขึ้น 31% ขณะที่การใช้ LINE บน Desktop เติบโตมากขึ้นถึง 264% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ LINE จึงสร้างพื้นที่โฆษณาที่เรียกว่Smart Channel’ บน Desktop

“พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วช่วงล็อกดาวน์ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งนัก แต่เมื่อผู้บริโภคคุ้นเคยกับความปกติใหม่หรือ New Normal แล้วก็ยากที่จะกลับไปเป็นแบบเดิมอีก แบรนด์ที่กล้าเปลี่ยนและเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่วันนี้”

]]>
1286467
ส่องกลยุทธ์ห้าง ‘InTime’ ของจีน ที่ฟื้นยอดขายเกือบ 100% ด้วย ‘ไลฟ์สด’ https://positioningmag.com/1281125 Fri, 29 May 2020 06:34:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281125 ‘InTime’ หนึ่งในผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ซึ่งเจ้าของก็คือ Alibaba ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซ ซึ่งห้าง InTime ก็เหมือนกับห้างทั่วโลกที่ต้องปิดตัวลงในช่วงไวรัส COVID-19 ระบาด ซึ่งทางห้างก็ได้หันมาขายของออนไลน์เหมือนหลาย ๆ ห้าง แต่ที่ต่างไปก็คือ InTime เลือกที่จะใช้ ‘Live Streaming’ ในการขายของ แทนที่จะขายผ่านเว็บไซต์เหมือนห้างอื่น ๆ

In time Lotte department store in Beijing at night. (Photo by: Education Images/Universal Images Group via Getty Images)

ส่วนใหญ่การไลฟ์ขายของเรามักจะเห็นกับร้านค้ารายเล็ก หรือ SME ซะมากกว่า เราจะไม่ค่อยเห็นห้างใหญ่มาไลฟ์ขายของ แต่จากขายผ่านเว็บไซต์ไปเลย แต่กับห้าง ‘InTime’ นั้นไม่ใช่ เพราะห้างเลือกที่จะไลฟ์ขายของด้วย ซึ่งการไลฟ์ขายของนั้น สามารถเพิ่มยอดขายจากฝั่งออนไลน์จนมีสัดส่วนถึง 20% จากเดิมที่มสัดส่วนเป็นเลขหลักเดียวในปี 2562

Chen Xiaodong CEO ของ InTime กล่าวว่า จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ห้างทั้ง 65 สาขาต้องปิดตัวหลายสัปดาห์ แต่หลังจากคลายล็อกดาวน์ ยอดขายในเดือนพฤษภาคมเกือบฟื้นตัวเต็มที่ในระดับเดียวกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่ายอดลูกค้าที่เข้ามาในห้างจะอยู่ในระดับ 70% จากช่วงเวลาปกติ ซึ่งการผลักดันระบบดิจิทัลของบริษัท ช่วยให้สามารถรักษายอดขายได้ในระดับเดิม

Chen Xiaodong CEO of Intime

โดย InTime มีแอปชื่อ Miaojie ที่ผู้คนสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ โดยจะจัดส่งให้กับลูกค้าผ่านเครือข่ายโลจิสติกส์ของอาลีบาบา นอกจากนี้ InTime ยังเพิ่มสินค้าขึ้นใน ‘bandwagon’ แอปอีคอมเมิร์ซที่เป็นรูปแบบ Live Steaming ของจีน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม

“ยอดขายเกือบ 20% ในปีนี้มาจากออนไลน์ จากเดิมที่ปี 2562 มีตัวเลขหลักเดียว และคาดว่ายอดขายออนไลน์จะเพิ่มขึ้น 50% ในปีหน้า ซึ่งการไลฟ์สดอาจนิยมในช่วง COVID-19 แต่ในเวลาปกติ เราก็ควรให้ความสำคัญกับเครื่องมือประเภทนี้ด้วย เพราะบริการแบบดั้งเดิมในห้างสรรพสินค้าสามารถให้บริการได้เพียงคนเดียวหรือสองคน แต่ไลฟ์สด สามารถรับใช้คนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน และยังช่วยกระตุ้นผู้ซื้อได้ดีอีกด้วย”

ในปีนี้ บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มเซคชันการถ่ายทอดสดจาก 100 เป็น 200 ครั้งในปีนี้ โดยใช้พนักงานขายจากร้านค้าเพื่อนำเสนอวิดีโอ โดยจะเผยแพร่ไปยัง Taobao Live ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการถ่ายทอดสดโดยอาลีบาบา นอกจากนี้ InTime ยังวางแผนที่จะขยายสาขาของห้าง โดยอาจเปิดถึง 8 ห้าง/ปี ในทางตรงกันข้าม ผู้ค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา เช่น L Brands ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Victoria Secret และ J.C. Penney ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก COVID-19 จึงตัดสินใจปิดร้านค้า

ไม่ใช่แค่อาลีบาบา แต่บริษัทอื่นกำลังเดินหน้าไปสู่เทรนด์ไลฟ์สตรีมมิ่ง เช่น JD.com ซึ่งเป็นคู่แข่งของอาลีบาบาในประเทศจีน ก็ได้ประกาศความร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Kuaishou ซึ่งเป็นแอปวิดีโอสั้น ๆ (คล้าย ๆ TikTok) โดยผู้ใช้แอปนั้นจะสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทาง JD โดยไม่ต้องออกจากแอป Kuaishou

Source

]]>
1281125
เจาะลึก ‘Facebook Group’ ทำไมถึงควรเป็นช่องทางแรกที่ใช้ ‘Go Online’ ในช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1274039 Fri, 17 Apr 2020 12:58:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274039 ในช่วงวิกฤติ COVID-19 นี้ กูรูหลายคนพยายามที่จะบอกว่า ‘โอกาส’ ที่จะช่วยพยุงธุรกิจมีแต่ต้อง ‘Go Online’ เท่านั้น แต่จะ Go ยังไง เพราะสร้างเพจมาคนก็ยังไม่รู้จัก ดังนั้นลองมาทำความรู้จักกับ ‘Facebook Group’ ที่ตอนนี้เป็นกระแสอย่างหนัก เนื่องจากหลายมหาวิทยาลัยเริ่มมีการตั้งกลุ่มบน Facebook เพื่อให้บัณฑิตและนิสิตมา ‘ฝากร้าน’ ขนาดที่เหล่าเซเลบคนดังยังมาลงขายกับเขาด้วย ดังนั้น มาดูกัน ทำไม Facebook Group ถึงเป็นกระแสและเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์

หาลูกค้าที่ตรงเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว

ในปี 2019 Facebook มีการใช้งาน 57 ล้านคน/เดือน แต่ด้วยความที่ Facebook Group เป็นเหมือน Community ที่ย่อยลงมาอีกของ Facebook ซึ่งจะรวบรวมคนที่มีความสนใจ ความชอบ หรืองานอดิเรกที่เหมือน ๆ กันมาไว้รวมกัน ซึ่งแปลว่า หากเรามีสินค้าที่เป็นที่ตรงตามความสนใจของ Community นั้น ๆ ร้านก็จะได้ลูกค้าจำนวนมหาศาลดีกว่าไปเปิดเพจแบบหว่านแหซะอีก เพราะแม้ว่า 57% ของคนไทยจะพบแบรนด์ใหม่ผ่านโซเชียล แต่ปัจจุบัน page ถูกลดการมองเห็นลง

เพราะ Group เป็นชุมชน อัตราการมองเห็นจึงมากกว่าเพจ

ด้วยความที่ Facebook ปรับอัลกอริทึมใหม่ให้ผู้ใช้มองเห็น ‘โฆษณา’ ลดลง เพื่อให้ความสำคัญกับเพื่อน ครอบครัวมากขึ้น ซึ่งรวมถึง Facebook Group ดังนั้น ผู้ใช้งานจะเห็นโพสต์ในกลุ่มบนฟีดข่าวมากกว่าเพจ โดยปัจจุบัน Facebook Group มีจำนวนผู้ใช้กว่า 1.4 พันล้านคน ในกลุ่มทั้งหมด 10 ล้านกลุ่ม ทั่วโลก และบางกลุ่มมีสมาชิกถึงหลักล้านคน

ไม่ใช่แค่ขายของ แต่ใช้ทดลองตลาดและโฆษณาได้

เมื่อเราเจอกลุ่มที่มีความสนใจตรงกับสินค้าเราแล้ว เราอาจจะไปโพสต์ขายของ เพื่อทดสอบตลาดได้ว่าสินค้ามีคนสนใจแค่ไหน และราคาเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงทำกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ได้อีกด้วย จากนั้นจะโปรโมตเพจหรือร้านออนไลน์ในแพลตฟอร์มไหน ๆ ก็ทำได้ ซึ่งดีกว่าการเปิดเพจแล้วเสียค่าโฆษณาเพื่อให้คนเห็นเสียอีก เมื่อเพจมีความแข็งแรงและน่าเชื่อถือแล้ว จากนี้ก็สามารถหารายได้ทั้งในกลุ่มที่มีกลุ่มลูกค้าเดิมและได้ลูกค้าใหม่จากเพจอีกด้วย

ฝากร้านหมวดของใช้

ใช้เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ

และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายหรือทำตลาด ผู้ใช้ควรศึกษาพฤติกรรมสมาชิก เช่น ช่วงเวลาที่มีการใช้งาน เทรนด์สินค้าที่มาแรง เทคนิคการขาย รวมถึงเครื่องมือไหนที่ใช้งานได้ อาทิ ไลฟ์, โพล เป็นต้น อย่างการไลฟ์เป็นอะไรที่มาแรงมาก แต่การไลฟ์แบบเดิม ๆ ยอดอาจจะตก ดังนั้นต้องรีเฟรชตัวเองตลอดเวลา ต้องสร้างคาแร็กเตอร์ มีการวางแผนล่วงหน้า เนื้อหาในการไลฟ์ต้องน่าสนใจ พยายามทักทายผู้ชม เพื่อให้มีอารมณ์ความรู้สึกร่วม และมีโปรโมชั่น กระตุ้นให้เขาซื้อ

หากใครที่อยากจะเริ่มขายของออนไลน์ แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน Facebook Group น่าจะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด อาจจะลองสร้างเพจและค้นหากลุ่มที่ตรงกับสินค้าของเราแล้วโพสต์ขายดูสักครั้ง เพื่อทำความรู้จักกับสมาชิกในกลุ่มและศึกษาตลาด พฤติกรรม ความต้องการ ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ก่อนที่จะขยับขยายกลุ่มลูกค้าออกมานอกกลุ่ม ซึ่งการขายของในกลุ่มนั้นไม่มีค่าใช้จ่าย เหมาะมากสำหรับมือใหม่ต้องการขายสินค้าโดยที่ไม่ต้องมีต้นทุน

]]>
1274039