ส่องการแข่งขัน ‘อีคอมเมิร์ซจีน’ เมื่อเจ้าตลาดกำลังโดนท้าทายจาก ‘แพลตฟอร์มไลฟ์สด’

(Photo : Getty Images)

แม้ความร้อนแรงของชาวจีนในการช้อปปิ้งออนไลน์ลดลงในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ยังคงเผชิญกับความท้าทายมากมายจากการพยายามกระตุ้นการบริโภคที่บ้าน ที่ผ่านมารัฐบาลจีนพยายามผลักดันการบริโภคภายในประเทศ เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเติบโตของประเทศแทนที่จะพึ่งพาการส่งออก แต่การเเข่งขันของอีคอมเมิร์ซจีนไม่ได้ทวีความรุนเเรงลงตามเศรษฐกิจเลยเเม้เเต่น้อย

เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในปีนี้ได้เร่งการเติบโตการช้อปปิ้งออนไลน์ในจีน โดยส่วนแบ่งของอีคอมเมิร์ซเมื่อเทียบกับยอดค้าปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 5 เป็น 1 ใน 4 ในปีนี้ และจากการเติบโตดังกล่าว ส่งผลให้ผู้นำตลาดอย่าง ‘Alibaba’ และ ‘JD.com’ กลับต้องเผชิญกับความท้าทายจาก ‘Kuaishou’ แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นและไลฟ์สตรีมมิ่งที่มียอดสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มแตะ 500 ล้านหยวนในเดือนสิงหาคม และอ้างว่าอยู่ในอันดับ 4 ตามหลังแพลตฟอร์ม Taobao และ Tmall ของ Alibaba, JD และ Pinduoduo

ส่วน Douyin หรือ TikTok เวอร์ชันภาษาจีนก็ถือเป็นแอปวิดีโอสั้นและไลฟ์สตรีมมิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ได้เปิดเผยว่า ครีเอเตอร์กว่า 22 ล้านคนสร้างรายได้มากกว่า 41,700 ล้านหยวน บนแพลตฟอร์มในจีนในปีที่ผ่านมา และในเดือนสิงหาคม Douyin อ้างว่ามีผู้ใช้งาน 600 ล้านคนต่อวัน

นอกจากนี้ ผู้คนจำนวนมากยังใช้ WeChat สำหรับการช้อปปิ้งผ่านโปรแกรมมินิในแอปฯ ซึ่งมีผู้ใช้งานมากกว่า 400 ล้านคนต่อวัน บริษัทกล่าวว่าปริมาณสินค้าที่ซื้อผ่านโปรแกรมขนาดเล็กเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคมจากปีที่แล้ว ขณะที่ในปีที่ผ่านมา มีปริมาณธุรกรรมผ่าน WeChat สูงถึง 800,000 ล้านหยวน

“ผู้ขายที่พึ่งพาการขายทางออนไลน์อย่างเดียว มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกบังคับให้ออกจากตลาด โดยเฉพาะผู้ขายสินค้าที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ใช้วิธีการแบบ Omni Channel โดยเน้นที่การสร้างความภักดีของผู้บริโภคจะมีความยั่งยืนมากขึ้นในระยะยาว” Imogen Page-Jarrett นักวิเคราะห์การวิจัยของ The Economist Intelligence Unit (EIU) กล่าว

อย่างไรก็ตาม เพราะความไม่แน่นอนเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตและการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่จีนต้องเผชิญ โดย EIU คาดการณ์ว่าตลาดงานในปีนี้จะแย่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 และยอดค้าปลีกโดยรวมจะหดตัว 4.7% โดยในเดือนมกราคมถึงสิงหาคมยอดค้าปลีกลดลง 8.6% จากปีที่แล้วเหลือ 23.8 ล้านล้านหยวน

แม้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายอดค้าปลีกในจีนสามารถเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งการเติบโตเชิงบวกครั้งแรกในปี 2020 ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่กำไรส่วนใหญ่มาจากรถยนต์ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้น 11.8% หากไม่รวมหมวดหมู่นี้ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัว 0.6%

“ด้วยความเครียดจากการว่างงาน ดังนั้นการฟื้นตัวของการบริโภคโดยรวมในไตรมาส 4 จะเติบโตมากนัก”

อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูล Wind Information พบว่ายอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการทางออนไลน์เพิ่มขึ้น 13.3% ในเดือนสิงหาคม แต่เติบโตช้ากว่าเดือนกรกฎาคมที่เติบโต 18.8% และลดลงจาก 19% ในเดือนมิถุนายน

“การสูญเสียงานการลดรายได้และการใช้ประโยชน์ที่สูงขึ้นอาจทำให้เกิดจุดอ่อนใหม่ในอุปสงค์ภายในประเทศ”

Source