Machine Learning – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 10 Jun 2022 05:11:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รำคาญใช่ไหม? Chrome จะบล็อกคำขอส่ง “แจ้งเตือน” จากเว็บไซต์ที่เราไม่สนใจอัตโนมัติ https://positioningmag.com/1388370 Fri, 10 Jun 2022 04:43:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388370 Google อัปเดตฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยใหม่ใน Chrome ใช้เทคโนโลยี “แมชชีน เลิร์นนิ่ง” บล็อกคำขอส่ง “แจ้งเตือน” (notifications) จากเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ไม่สนใจ เพื่อลดความรำคาญ และลดโอกาสฟิชชิ่ง/ส่งมัลแวร์จากมิจฉาชีพ

เวอร์ชันใหม่ของ Chrome จะมีการนำเทคโนโลยี “แมชชีน เลิร์นนิ่ง” เข้ามาใช้งาน และเป้าหมายแรกคือการบล็อกคำขอส่ง “แจ้งเตือน” (notifications) จากเว็บไซต์ต่างๆ เพราะดูจะเกิดโทษมากกว่าประโยชน์ของผู้ใช้งาน

ถึงแม้ว่าเว็บไซต์บางส่วนโดยเฉพาะเว็บไซต์ข่าว จะมีการส่งแจ้งเตือนที่มีประโยชน์เพื่ออัปเดตข่าวที่น่าสนใจ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นแจ้งเตือนที่น่ารำคาญ และผู้ใช้มักจะหงุดหงิดใจตั้งแต่มี pop-up ขึ้นมาเพื่อขอส่งแจ้งเตือนแล้วด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ ยังมีมิจฉาชีพบางส่วนที่อาศัยแจ้งเตือนเหล่านี้เป็นตัวส่งมัลแวร์ให้ดาวน์โหลด หรือส่งหน้าไซต์สำหรับฟิชชิ่งข้อมูล หากผู้ใช้เผลอกดเข้าไปก็อาจมีอันตรายได้

“ในทางหนึ่ง การแจ้งเตือนจากเว็บไซต์สามารถช่วยอัปเดตข่าวสารที่คุณสนใจได้ แต่ในอีกทางหนึ่ง การขออนุญาตแจ้งเตือนเหล่านี้เป็นการสร้างความรำคาญ” บล็อกโพสต์ชี้แจงจาก Google ระบุ

แมชชีน เลิร์นนิ่งของบริษัทจะมาช่วยกลั่นกรองว่าการแจ้งเตือนจากเว็บไซต์ประเภทไหนที่ผู้ใช้รายนั้นน่าจะไม่สนใจ และจะบล็อกให้อัตโนมัติ ทั้งหมดนี้จะเป็นการเก็บข้อมูลที่ตัวเครื่องของผู้ใช้ ทำให้ไม่มีการส่งดาต้าไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ของ Google

Google Chrome
แมชชีน เลิร์นนิ่งช่วยให้ Google Chrome บล็อกแจ้งเตือนที่น่าจะเป็นอันตรายได้มากขึ้น 2.5 เท่า

ไม่เพียงแต่แจ้งเตือนที่น่ารำคาญ ก่อนหน้านี้ไม่นาน Google ก็ใช้แมชชีน เลิร์นนิ่งในฟีเจอร์ ‘Safe Browsing’ มาแล้ว โดยเทคโนโลยีนี้ทำให้ Chrome สามารถตรวจจับเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายและการฟิชชิ่งได้มากขึ้น 2.5 เท่า และจะมีการ ‘alert’ หรือบล็อกให้ผู้ใช้ทราบ

Google ยังจะใช้แมชชีน เลิร์นนิ่งช่วยให้ผู้ใช้ใช้งาน Chrome ได้สะดวกขึ้น ตัวอย่างเช่น การปรับแต่ง toolbar ด้านบนให้มีปุ่มที่คุณต้องใช้ในแต่ละช่วงเวลาของวัน หากช่วงเช้าแมชชีนพบว่าคุณมักจะแชร์ลิงก์ต่างๆ บ่อยครั้ง toolbar ก็จะปรากฏปุ่มแชร์ให้กดได้สะดวก พอตกบ่ายเมื่อแมชชีนเรียนรู้พฤติกรรมว่าคุณมักจะใช้ฟังก์ชันคำสั่งเสียง ก็จะมีปุ่มคำสั่งเสียงขึ้นมาอัตโนมัติ

ตัวอย่างการเพิ่มปุ่มอัตโนมัติตามพฤติกรรมผู้ใช้งาน

“เป้าหมายของเราคือการสร้างเบราว์เซอร์ที่ช่วยเหลือผู้ใช้ได้ดีอย่างต่อเนื่องและจริงใจ และเราตื่นเต้นมากกับความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีแมชชีน เลิร์นนิ่ง” Google อธิบาย

Source

]]>
1388370
กรณีศึกษา DTAC กับการยิงโฆษณาสุดต๊าช แบบ Hyper Personalized Ads บน LINE TODAY https://positioningmag.com/1368185 Wed, 22 Dec 2021 10:00:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368185

การตลาด การขายสินค้า ย่อมมาคู่กับการ “โฆษณา” เพียงแต่ว่าการโฆษณาในรูปแบบเดิมๆ ย่อมไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนี้แล้ว หลายคนไม่สนใจโฆษณา แต่ฟังจากคนรอบข้าง หรือ Influencer แทน ซึ่งผู้บริโภคมีตัวเลือกในการรับสื่อที่หลากหลาย

ทำให้นักการตลาดต้องเผชิญกับความท้าทายในการสร้างแบรนด์มากขึ้น การสร้างโฆษณาพร้อมกับคีย์แมสเสจปังๆ ให้ไวรัลติดหูกันทั่วเมืองคงไม่ง่ายเหมือนกับในอดีตแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีช่องทางเลือกมากขึ้นทั้งโฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อนอกบ้าน หรือสื่อออนไลน์ แต่ยุคนี้ก็มีเครื่องมือต่างๆ เช่น โปรแกรมบล็อคแอด หรือปุ่มกด Skip ads ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงโฆษณาได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ นักการตลาด หรือคนในแวดวงโฆษณาต่างต้องเปลี่ยนวิธีสร้างสรรค์โฆษณากันใหม่ เพราะวิธีแบบเดิมๆ ไม่ได้ผลอีกต่อไป ต้องอาศัยแพลตฟอร์ม และเครื่องมือดิจิทัลที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้การเข้าถึงผู้บริโภคอีกทั้งยังไม่สามารถทำสื่อแบบเหวี่ยงแห เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคเฉพาะบุคคลมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า Hyper Personalized Ads เพราะแต่ละคนมีความชื่นชอบ ความสนใจที่แตกต่างกัน


Hyper Personalized Ads โฆษณายุคใหม่ต้องเข้าถึงเฉพาะบุคคล

เทรนด์ของโฆษณายุคใหม่เริ่มฉายแสงไปที่การทำตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะบุคคลมากขึ้น เพราะการทำโฆษณาที่จับระดับแมส หรือคนกลุ่มใหญ่ คนที่ไม่สนใจอาจจะเกิดการรำคาญใจได้ ผู้บริโภคยุคใหม่จึงคาดหวังที่จะให้แบรนด์ตอบโจทย์แบบเฉพาะบุคคล (Personalization) มากกว่า

Hyper-Personalized Advertising จึงเกิดขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ด้วยการเชื่อมโยง “ความคิดสร้างสรรค์” เข้ากับ “เทคโนโลยี” ผ่าน Big Data ที่ผสานกับการใช้ Machine Learning และ AI เพื่อพัฒนาเป็นคอนเทนต์เจาะลึกผู้บริโภคเป็นรายบุคคล หรือการส่งต่อข้อมูลสื่อต่างๆ เฉพาะเจาะจงให้ตรงกับบุคลิก และรูปแบบการใช้งานของผู้บริโภครายนั้นๆ

อาทิ นำเสนอสินค้า และบริการ โปรโมชั่นหรือสิทธิประโยชน์สอดคล้องกับโลเคชันที่ลูกค้ากำลังจะไป หรือไปบ่อย หรือกำลังอยู่ในขณะนั้น (Geo-location) หรือในจังหวะที่ลูกค้าอยู่กับสิ่งๆ นั้นพอดี (Real-time Moment) รวมทั้งการจับข้อมูลได้จาก Digital Footprint เช่น เสิร์ช หรือคลิกดูสินค้า (Recommendation System) เป็นต้น

แต่การจะไปถึงเป้าหมายนั้น ไม่อาจทำงานแยกส่วนกันได้ เพราะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่าง งานครีเอทีฟของแบรนด์ และแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่พร้อมจะเป็นช่องทางให้เข้าถึงลูกค้าได้ถูกที่ถูกเวลาอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง และเพื่อให้เห็นภาพแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์ Hyper Personalization แล้วประสบความสำเร็จได้จริง ก็ต้องยกกรณีศึกษาของโฆษณาสุดเวิร์คในแบบ DTAC ที่เชื่อมโยงคอนเทนต์สุดว้าวเข้ากับแพลตฟอร์ม LINE เพื่อสร้าง Conversion และ Engagement


กรณีศึกษา DTAC เลือกสื่อที่ใช่บน LINE TODAY

DTAC หนึ่งในผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทย เลือกที่จะใช้ช่องทางการเข้าถึงลูกค้าผ่าน LINE โดยเฉพาะบน LINE TODAY ช่องทางที่มีศักยภาพสูงในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก และมีระบบด้านโฆษณาที่สามารถสร้างสรรค์ให้มีความหลากหลาย

เมื่อมาดูศักยภาพของ LINE TODAY เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุดในตอนนี้ ด้วยจุดเด่นในการเป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร และคอนเทนต์ที่โดนใจคนไทย ด้วยยอดวิวเติบโตเกิน 50% ในทุกเดือนอย่างต่อเนื่องผู้ใช้งานเกินครึ่งเป็นกลุ่มคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล

และยังมีสถิติที่น่าสนใจว่า มากกว่า 99% ของผู้ใช้ LINE TODAY มองเห็น หรือรับรู้โฆษณาของแบรนด์ต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้นกว่า50% ของกลุ่มดังกล่าวมีการคลิกชมโฆษณาด้วย ชี้ให้เห็นว่า LINE TODAY เป็นพื้นที่ศักยภาพอย่างยิ่งของแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนเมือง


แคมเปญสายมูบน “ดูดวง”

DTAC ได้ทำแคมเปญใหญ่ “เบอร์มงคลเฉพาะคุณ” เลือกนำเสนอสื่อโฆษณาผ่านแท็บ “ดูดวง” ใน LINE TODAY ที่นอกจากจะมีคอนเทนต์ด้านดวง โชคลาภต่างๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมร่วมกับผู้อ่านมากมายที่แฝงอยู่ในแท็บดังกล่าว ทั้งกิจกรรมเซียมซีจากวัดดังภาคต่างๆ หมุนวงล้อเช็คดวง หรือแม้กระทั่งลูกเล่นไอคอน “กระบอกเซียมซี” ให้คลิกเพื่อเขย่า เป็นต้น

โดยสำรวจจาก LINE พบว่ากว่า 95% ของผู้ใช้งาน LINE TODAY จะเข้าชมคอนเทนต์ในแท็บ “ดูดวง” เฉลี่ยอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ผู้ใช้งานประจำที่ชอบอ่านเรื่องดวงมีอัตราการเข้าชมคอนเทนต์ในส่วนนี้เกือบทุกวัน และมีจำนวนการใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปี 2020

โดยพบว่ายอดวิวในแท็บนี้ในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนสูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการมาถึง 254% ในขณะที่จำนวนผู้ใช้งานโดยรวมของ LINE TODAY ก็เพิ่มขึ้นสูงถึงกว่า 247% ตามไปด้วย จึงถือเป็นพื้นที่ใหม่มาแรงสำหรับนักการตลาด ที่แบรนด์ใหญ่อย่าง DTAC นำมาประยุกต์ใช้เพื่อนำเสนอสื่อโฆษณาให้เข้าถึงลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผสานเซียมซี คู่กับเบอร์มงคล

คนไทยเป็นสายมูเตลูมาช้านาน และมีความสนใจด้านนี้อย่างมาก จึงได้เห็นไอเท็มสายมูเกิดขึ้นมากมาย รวมไปถึง “เบอร์มงคล” ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ส่งที่น่าสนใจในแคมเปญนี้ก็คือ DTAC ไม่ได้วางแค่แบนเนอร์โฆษณาเพียงอย่างเดียว แต่ยังใส่ความครีเอทีฟ เชื่อมโยงกับฟีเจอร์ “เซียมซี” ของดูดวงเข้าไป เพื่อเชื่อมไปยังเบอร์มงคลของตนเองในที่สุด เรียกว่าเป็นการโฆษณาที่ถูกที่ ถูกเวลา

ก่อนหน้านี้ LINE ได้พัฒนาฟีเจอร์ “เซียมซี” ในแท็บ “ดูดวง” ภายใต้ LINE TODAY นอกจากจะตอบโจทย์ผู้บริโภคสายมูที่ชอบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังผสมผสานเทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูล และจับคู่คอนเทนต์กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

เมื่อเจาะลึกถึงการทำงาน Hyper Personalized Ads ในแท็บดูดวงบน LINE TODAY ของ DTAC มีการออกแบบคอนเทนต์ขึ้นใหม่เพื่อเจาะรายบุคคลผ่านกิจกรรม “เซียมซีขอพร” ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องงานการเงิน ความรัก และเรื่องทั่วไป

โดยทุกความสนใจของผู้บริโภค ที่นำเสนอผ่านคีย์เวิร์ดสำคัญใน “คำทำนายในใบเซียมซี” นั้น ไม่ว่าดวงจะเป็นแบบไหน DTAC ก็พร้อมนำเสนอตัวเลขที่จะทำให้ชีวิตกลุ่มเป้าหมายดีขึ้น เช่น ในใบเซียมซีที่ 23 เขียนว่า “ค้าขายก็มีผลดี” ก็จะมีแบนเนอร์เบอร์มงคลเฉพาะคุณ “หยิบจับอะไรก็ได้เงินได้ทอง” ขึ้นมา เป็นต้น

ที่ผ่านมา DTAC ได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการจับคู่บริการกับโปรไฟล์ของผู้ใช้งาน เช่น เบอร์มงคล สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ หรือเปลี่ยนงาน เบอร์เสริมชีวิตคู่ สำหรับผู้ที่เข้าดูดวงความรัก เป็นต้น โดยโฆษณาจะขึ้นมาในจังหวะที่ถูกต้อง ตรงใจผู้ใช้งาน ทำให้โฆษณาได้รับความสนใจมากขึ้น โดย DTAC ได้ทำชิ้นงานโฆษณามากถึง 50 แบบ เพื่อให้สัมพันธ์กับโปรไฟล์ของผู้ใช้งานมากที่สุด


สะท้อนด้วยผลลัพธ์สุดปัง

สำหรับดัชนีชี้วัดความสำเร็จจากกลยุทธ์ Hyper-Personalized advertising และการใช้เครื่องมือนี้อย่างจริงจัง ส่งผลให้ผลลัพธ์ของแคมเปญโฆษณาของ DTAC ในแท็บดูดวงบน LINE TODAY เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากตัวเลขเฉลี่ยปกติ และมีอัตราการคลิกโฆษณาอยู่ที่ 0.48% ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยที่ 0.10% เลยทีเดียว

ทั้งนี้ กรณีศึกษาของ DTAC ที่ใช้กลยุทธ์ Hyper Personalization บนแพลตฟอร์ม LINE นอกจากจะสามารถสร้าง Conversion และ Engagement ให้เห็นผลลัพธ์ชัดเจน และประสบความสำเร็จแล้ว ยังสามารถยืนยันว่า การส่งแมสเสจไปยังผู้บริโภคที่สนใจในสิ่งๆ นั้นอยู่แล้ว และในจังหวะ หรือช่วงเวลาที่ใช่ ช่วยกระตุ้นผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง และทำให้แบรนด์เข้าไปนั่งอยู่ในใจลูกค้าได้จริงๆ ขณะเดียวกันก็ยังสะท้อนผลดีต่อแบรนด์ นับเป็นการสร้างประสบการณ์เชิงบวกให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

]]>
1368185
เจาะ 4 วิธีรับมือเทรนด์ไอทีปี 2021 เมื่อองค์กรต้องเจอ ‘ดับเบิล ดิสรัปชั่น’ https://positioningmag.com/1309887 Wed, 09 Dec 2020 13:35:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309887 เรื่องของ ‘Digital Disruption’ เป็นอะไรที่พูดกันมานานในไทย แต่หลายองค์กรยังไม่ตื่นตัวมากนักจนได้มาเจอกับ ‘COVID-19’ ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของปี 2020 ที่ทำให้องค์กรต้องเจอ ‘Double Disruption’ จนต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานอย่างมหาศาลไม่ว่าจะการ Work from Home ด้วย Video Conference, การเติบโตของ e-Commerce, การหันไปดูสตรีมมิ่ง, Food Delivery ที่กลายเป็นนิวนอร์มอล และการใช้โมบายเพย์เมนต์ที่ใช้มากขึ้น เนื่องจากมีมาตรการของภาครัฐเป็นส่วนสำคัญทำให้คนคุ้นเคย อาทิ โครงการคนละครึ่ง และจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะไม่ใช่แค่ชั่วคราว ดังนั้น ถึงเวลาที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะกลายเป็นพฤติกรรมถาวรของผู้บริโภคแม้ไม่มี COVID-19

9 แนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญปี 2021

ในปี 2020 นี้การ์ทเนอร์ได้ระบุถึง 9 แนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญในปีหน้า 2021 โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่

1. People Centricity คนเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง โดยเทคโนโลยีที่ต้องทำมาปรับใช้ได้แก่

  • Internet of Behaviors : ข้อมูลของผู้คนจะถูกเก็บไปอย่างมหาศาลเพื่อวิเคราะห์ ทำให้เขาวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าได้ลึกขึ้น
  • Total Experience Strategy : การรวบรวมประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งจากลูกค้า (Customer Experience), พนักงาน (Employee Experience) และผู้ใช้ (User Experience) นำมาเพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น
  • Privacy-Enhancing Computation : การใช้เทคโนโลยีเพื่อนำข้อมูลส่วนบุคคลไปประมวลผลได้อย่างปลอดภัย

2. Location Independence การทำงานหรือเรียนได้จากทุกที่

  • Distributed Cloud : การที่ผู้ให้บริการ Public Cloud กระจายการติดตั้งระบบ Cloud ไว้ในหลาย ๆ แห่งใกล้องค์กร
  • Any Where Operations : รูปแบบของธุรกิจที่จะให้บริการลูกค้าจากที่ใดก็ได้ และพนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
  • Cybersecurity Mesh : ต้องขยายความปลอดภัยให้ครอบคลุมได้ทุกที่ ต้องยืดหยุ่นไม่ได้ป้องกันแค่องค์กรตัวเอง

3. Resilient Delivery ธุรกิจต้องปรับให้คล่องตัว โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

  • Intelligent Composable Business : ธุรกิจต่าง ๆ จะปรับตัวอยู่ตลอดเวลาในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปจึงจำเป็นต้องมีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ดีขึ้นและสามารถที่จะเสริมข้อมูลเหล่านั้นให้เห็นในเชิงลึกได้
  • AI Engineering : การทำเอไอให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาสินค้าบริการและการทำงานต่าง ๆ
  • Hyperautomation : ต้องทำให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ทั้งทางด้านธุรกิจและไอที่เป็นระบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

4 แนวทางปรับตัวของธุรกิจ

1. ปรับสถาปัตยกรรมไอทีจากรวมศูนย์เป็นแบบกระจาย เน้นการใช้ Public Cloud และมุ่งไปสู่ Distributed Cloud, การออกแบบเรื่องของ Microservices และ DevSecOp ระบบความปลอดภัยทางไอทีแบบกระจาย

2. ทำเรื่อง Bigdata การทำกลยุทธ์ด้าน Big Data เริ่มจากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าผ่าน Mobile Apps, IoT, CRM และ Social Media โดยธุรกิจต้องเน้นการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า

3. ทำด้าน AI การทำกลยุทธ์ด้าน AI ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ด้าน AI มีการฝังระบบไปในสินค้าและบริการเน้นการทำงานต่าง ๆ ที่เป็น Automation และต้องทำ AI เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบไอทีตั้งแต่เริ่มต้น ต้องมีทีมทำโดยเฉพาะ

4. ทำกลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การทำกลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นศูนย์กลางต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาให้บริการลูกค้าและการทำงานของพนักงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการที่สามารถทำงานและให้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์

“ตอนนี้ลูกค้าไม่เดินมาหาเราแล้ว เราจะปรับอย่างไรเพื่อให้บริการลูกค้าที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ดังนั้น สิ่งที่ควรเร่งปรับอย่างแรกเลยคือ กลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นศูนย์กลางเป็นสิ่งสำคัญสุด” รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) กล่าว

ปี 2025 47% ของแรงงานเป็นหุ่น

ในปี 2020 มีสัดส่วนในการใช้หุ่นยนต์ในการทำงานที่ 33% แต่ในปี 2025 คาดว่าสัดส่วนจะเพิ่มเป็น 47% อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่างานหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่คนเกือบครึ่งหรือประมาณ 85 ล้านตำแหน่ง เช่น พนักงานคีย์ข้อมูล, เลขานุการ, คนลงบัญชี หรืองานทั่วไปต่าง ๆ แต่ก็มีความต้องการแรงงานใหม่ ๆ ถึง 97 ล้านตำแหน่ง เช่น Data Analysis, AI และ Machine Learning Specialists, Big Data Specialists หรืองานด้านไอทีอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานที่มีอยู่จำเป็นต้องการปรับทักษะใหม่ (Re-skill) และคนที่ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม 40% ต้องเพิ่มทักษะ (Up-skill)

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเองถือเป็นประเทศที่ปรับตัวใช้ดิจิทัลได้เร็ว แต่ปัญหาคือยังพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติพอสมควร นอกจากนี้เรื่องกฎหมาย กฎระเบียบยังเป็นหนึ่งในอุปสรรคในการทรานส์ฟอร์มพอสมควร ขณะที่วัฒนธรรมการทำงานยังยึดกับรูปแบบเดิม ๆ และสุดท้าย คน ถ้าหาทักษะแรงงานที่ดีขึ้น ประเทศไทยก็จะแข่งกับต่างชาติได้สบาย ๆ

“จะมีหรือไม่มี COVID-19 รอบ 2 แต่องค์กรต้องเตรียมปรับตัวตั้งแต่ต้น เพราะตอนนี้ลูกค้าไม่เหมือนเดิมแล้ว ต่อให้พ้น COVID-19 หรือจะมีอะไรใหม่ ๆ ดังนั้นเราต้องพร้อมรับมือตลอดเวลา”

]]>
1309887