nielsen – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 Apr 2020 18:53:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะลึก 4 พฤติกรรมที่จะกลายเป็น ‘New Normal’ ของผู้บริโภคหลังจบ COVID-19 https://positioningmag.com/1273586 Wed, 15 Apr 2020 12:11:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273586 จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ GDP ทั่วโลกติดลบ โดยประเทศไทยจากที่เคยเติบโต 2.4% คาดว่าปีนี้จะ -5.3% ซึ่งเป็นผลจากทั้ง COVID-19 รวมถึงปัญหาภัยแล้ง หนี้ภาคครัวเรือน และช่องว่างทางฐานะ และแม้ว่าภาพรวมจะน่าเป็นห่วง แต่ โอกาส ก็ยังพอมีเมื่อดูจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อาทิ การช้อปออนไลน์ที่มากขึ้น สั่งอาหารออนไลน์มากขึ้น โดย Nielsen ได้วิเคราะห์ถึง 4 พฤติกรรมที่จะกลายเป็น New Normal หลังจบ COVID-19 ที่ผู้ประกอบการควรเตรียมพร้อมเพื่อปรับตัว

คุ้นชินกับดิจิทัล

สถานการณ์นี้จะช่วยให้คนคุ้นชินกับเทคโนโลยี เมื่อผู้บริโภคคุ้นชินกับการใช้ดิจิทัล ส่งผลให้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นเร็วมาก ดังนั้นนี่เป็นโอกาสที่จะได้แนะนำหรือให้ลูกค้าได้เทสต์สินค้าโดยไม่ต้องใช้พนักงาน (personal touch) แต่ใช้เทคโนโลยีอย่าง AR/VR แทน เช่น ใช้แอปลองแต่งหน้าหรือลองชุด โดย 61% ของผู้บริโภคทั่วโลกใช้เทคโนโลยี AR/VR เพื่อซื้อสินค้า นอกจากนี้ผู้บริโภคชอบโหลดแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

 

ใส่ใจในคุณภาพมากขึ้นและหันมาใช้ Local Brand

63% ของผู้บริโภคใส่ใจเรื่องคุณภาพสินค้ามากขึ้น แปลว่าต่อไป price sensitivity จะต่ำลง ดังนั้น อนาคตแบรนด์ที่จะทำแบรนดิ้งในแง่ efficiency นอกจากนี้ราว 70% ของผู้บริโภคในเอเชียและไทยหันมาใช้สินค้า Local Brand โดยเฉพาะสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง เนื่องจากผู้บริโภคกังวลที่จะซื้อสินค้านำเข้า เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะผ่านอะไรมาบ้าง อีกทั้งผู้ผลิต Local ยังตอบสนองความต้องการได้ดีกว่า ดังนั้นตอนนี้เป็นโอกาสของแบรนด์ Local นี่จึงเป็นช่วงที่ต้อง Push

ไม่อยากสั่งบ่อย ใช้ Subscription แทน

ในส่วนสินค้าที่ใช้ประจำ การจะต้องคอยมาสั่งบ่อย ๆ คงจะขี้เกียจ ดังนั้นรูปแบบการ Auto Subscription หรือส่งสินค้าในทุก ๆ เดือนหรือสัปดาห์ตามแต่จะกำหนด ซึ่งนอกจากจะช่วยให้แบรนด์มีรายได้คงที่แล้ว ยังเป็นการเตรียมพร้อมแบรนด์ให้รับมือกับการมาของ IoT เพราะในอนาคต IoT จะสั่งสินค้าแทนมนุษย์ ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

Social Media กลายเป็น สื่อหลัก

จากสถานการณ์ของ COVID-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคเช็คข่าวเฉลี่ย 12 ครั้ง/สัปดาห์ Social และ Chat App กลายเป็นที่รับข่าวสาร โดยตอนนี้คนใช้สื่อเยอะมาก ทั้งออนไลน์ออฟไลน์ ทั้งรายการข่าวและความบันเทิง ดังนั้นช่วงนี้เป็นจังหวะที่จะได้โฟกัสกับคนดูมากขึ้น นี่เป็นช่วงที่ต้อง Push ให้หนักขึ้น แต่ต้องมี Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้นด้วยทั้งในเชิงคอนเทนต์และช่องทาง ขณะที่ Social media กำลังจะเป็น Main Stream หรือสื่อหลักที่คนรับข่าวจาก Social มากว่าสื่อปกติ อย่างประเทศจีนการเสพข่าวใน Social กลายเป็น Main Stream ไปแล้ว โดยไทยเอง 86% เสพข่าวจาก Social รองลงมาเป็นทีวี 79%

“ในอันตรายก็มีโอกาส แต่เราจะเลือกที่จะ Lock Down หรือว่าจะไปต่อ ดังนั้น อยากจะย้ำว่าโอกาสต่าง ๆ ยังมีอยู่ในตลาด อย่าปล่อยให้ตลาดมันชะงักไป เพราะตลาดไทยก็ถือว่าใหญ่”

ออนไลน์ต้องเป็นกลยุทธ์หลัก

ผู้ประกอบการจะต้องไปออนไลน์ ต้องใช้ ‘Social Media’ ให้เป็นกลยุทธ์หลัก เพราะสุดท้ายแล้วนี่จะเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวผู้บริโภค รวมถึงใครที่ขายออนไลน์อยู่แล้วอาจจะต้องลองขยายพื้นที่ให้บริการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการขาย ทั้งนี้อาจต้องคำนึงถึงขีดความสามารถของโลจิสติกส์ด้วย

“นี่เป็นจุดตั้งต้นไปสู่ New Normal ทั้งการบริโภคและเสพสื่อ ถ้าไม่เริ่มปรับตัวตั้งแต่ตอนนี้แล้วไปจับตลาดในวันที่มันกลายเป็นพฤติกรรมถาวรไปแล้ว แบรนด์จะไม่รู้รากเง่า ไม่เข้าใจพฤติกรรมว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ทำให้เราไม่สามารถดีไซน์ประสบการณ์ที่เข้ากับเขาได้ ดังนั้น นี่คือช่วงเวลานี้ที่ดีที่สุดที่ทุกคนจะต้องปรับตัว อย่ารอให้การเปลี่ยนแปลงจบแล้วทำ เพราะการเปลี่ยนแปลงจะไม่กลับมาอีก

]]>
1273586
เป็นเรื่อง! ช่อง 3 แอนะล็อกเจอโจทย์ใหญ่อีกแล้ว นีลเส็น เตรียมเลิกวัดเรตติ้ง https://positioningmag.com/1178978 Tue, 17 Jul 2018 00:00:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1178978 ปัญหาการไม่สามารถยุติการออกอากาศช่อง 3 แอนะล็อก ตามเงื่อนไขของ กสทช. (อ่านประกอบ : ช่อง 3 กระอัก! กสทช.สั่งยกเลิกออกอากาศคู่ขนาน มีผล 17 ก.ค.) กำลังเป็น “เงื่อนปม” ให้กับช่อง 3 อีกครั้ง

เมื่อนีลเส็น บริษัททำหน้าที่วัดเรตติ้ง กำลังเตรียมยกเลิกการเก็บเรตติ้งผู้ชมระบบแอนะล็อกทั้งหมด หลังจากเหลือเพียงช่อง 3 แอนะล็อกเพียงช่องเดียวที่ยังคงต้องออกอากาศต่อไปจนถึงปี 2563 ตามเงื่อนไขสัมปทานที่ทำไว้กับ อสมท

แหล่งข่าวในวงการทีวีดิจิทัล บอกว่า นีลเส็นได้แจ้งทีวีดิจิทัลว่า จะเลิกทำการเก็บข้อมูลคนดูทีวีที่รับชมผ่านระบบแอนะล็อกภายในวันที่ 16 กรกฏาคมนี้ ซึ่งเป็นวันที่ช่อง 9 และ NBT ปิดระบบแอนะล็อกอย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะเหลือช่อง 3 เพียงช่องเดียวก็ตาม เนื่องจากฐานข้อมูลพบว่าตัวเลขคนดูแอนะล็อกเหลืออยู่น้อยมากแล้ว อีกทั้งเป็นนโยบายของบริษัทแม่ที่ต้องการปรับให้ระบบการวัดเรตติ้งในของทีวีดิจิทัลทั้งหมดเท่านั้น

ทั้งนี้มีการประมาณการกันว่า มีจำนวนคนดูแอนะล็อกในประเทศไทยอยู่ประมาณ 1 ล้านคน แต่เป็นกลุ่มผู้ชมของช่อง 3 ประมาณ 3 แสนคน เมื่อเทียบกับจำนวนกลุ่มตัวอย่างของนีลเส็นทั้งหมดประมาณ 2,500 ครัวเรือน ทั่วประเทศ มีกลุ่มผู้ชมผ่านระบบแอนะล็อกไม่ถึง 0.5% ของทั้งหมด เป็นเหตุผลทำให้นีลเส็นต้องปิดระบบการวัดแอนะล็อก

แต่การยกเลิกวัดผลระบบแอนะล็อก ยังเป็นจังหวะเดียวกับสัญญาการซื้อเรตติ้งระหว่างกลุ่มช่อง 3 และนีลเส็นสิ้นสุดลงพอดี ซึ่งนีลเส็นได้ขอขึ้นค่าจัดทำเรตติ้งเพิ่มขึ้น 10% ทำให้ช่อง 3 จึงยื่นเงื่อนไขว่า จะต่อสัญญากับนีลเส็น ก็ต่อเมื่อยังคงวัดเรตติ้งช่อง 3 แอนะล็อกต่อไป จนกว่าสัญญาสัมปทานของช่อง 3 แอนะล็อก กับ อสมท จะสิ้นสุดลงในปี 2563

นีลเส็นมองว่า เป็นไปได้ยากที่จะวัดผลต่อ เพราะฐานคนดูลดลงมาก จึงทำให้ทั้งคู่หาข้อยุติไม่ได้

รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า ระหว่างที่สัญญายังไม่ได้ต่อ นีลเส็นจึงหยุดการส่งข้อมูลเรตติ้งให้กับกลุ่มช่อง 3 ทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองจะมีการเจรจากันอีกครั้งในสัปดาห์หน้านี้ หากไม่สำเร็จ นีลเส็นก็จะหยุดการเผยแพร่เรตติ้งของกลุ่มช่อง 3 ทั้งหมดให้กับสมาชิกทุกรายต่อไป

ทางด้าน สินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการธุรกิจมีเดียนีลเส็น ประเทศไทย เวียดนาม และพม่า กล่าวถึงกรณีนี้ว่า หลังจากทีวีดิจิทัลออกอากาศในปี 2559 คนดูทีวีแอนะล็อกก็ต้องลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องมีการโอนถ่ายคนดู จากระบบแอนะล็อกไปสู่ทีวีดิจิทัล ในต่างประเทศก็เป็นแบบเดียวกัน

สำหรับในไทย คนดูทีวีดิจิทัลผ่านกล่องทีวีดิทัล (DTT) และผ่านจานดาวเทียมเป็นหลัก เพราะแพลตฟอรมเหล่านี้ เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎ must carry ของ กสทช. ต้องนำช่องทีวีดิจิทัลมาออกอากาศ ทำให้การวัดผลจึงมุ่งไปที่คนดูเหล่านี้ ซึ่งเวลานี้ครอบคลุมคนดูเกิน 90% ในขณะที่ช่องแอนะล็อกไม่เข้าหลักเกณฑ์ must carry จึงดูไม่ได้ ยิ่งเมื่อเหลือเพียงช่อง 3 แอนะล็อกเพียงช่องเดียว จำนวนคนดูก็ยิ่งลดลงจนวัดผลไม่ได้

“ช่อง 3 มองว่า ถึงแม้จะเหลือช่อง 3 ที่ยังเป็นแอนะล็อกเพียงช่องเดียว ซึ่งมีฐานคนดูอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว การวัดผลจะต้องประเมินจากฐานคนดูของทุกช่อง ยิ่งฐานคนดูทีวีดิจิทัลและดูผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ก็ยิ่งไปถ่วงให้คนดูช่อง 3 แอนะล็อกลดลงจนแทบวัดผลไม่ได้”

จากผลสำรวจคนดูทั่วประเทศ ที่นีลเส็นได้จัดทำขึ้นเมื่อ 3-4 เดือนที่แล้ว ผลสำรวจพบว่า เหลือคนดูช่องแอะนาล็อกอยู่ประมาณแค่ 5% เพราะคนไปดูทีวีดิจทัลเพิ่มขึ้น เพราะมีความหลากหลาย โดยเฉพาะยิ่งในช่วงที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ก็ยิ่งผลักดันให้ต้องขวนขวายดูช่องทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น

นีลเส็นได้ชี้แจงให้ช่อง 3 ไปแล้วว่า แอนะล็อกน้อยลงทุกวันตามธรรมชาติ ไม่ใช่ว่า เหลือเพียงแค่ช่อง 3 แล้ว แต่ช่อง 3 เขาก็มีเหตุผล เพราะเขาไม่สามารถยุติแอนะล็อกได้

ดังนั้น นีลเส็นจึงได้สำรวจคนดูทั่วประเทศผ่านกลุ่มตัวอย่าง 10,000 ชุด เพื่อสำรวจภาพรวมพฤติกรรมการรับชมทีวีของคนไทยโดยละเอียด ครอบคลุมทั้งจำนวนประชากร จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รูปแบบของการดูทีวี ดูผ่านทีวีปกติ หรือดูผ่านอินเทอร์เน็ต ผ่านอุปกรณ์อะไร โทรศัพท์มือถือ เครื่องพีซี หรือโน๊ตบุ๊ก ซึ่งจะใช้เวลา 6-8 สัปดาห์ จากนั้นจึงจะสรุปผลผลอีกทีว่าเหลือคนดูช่องแอนะล็อกอยู่มากน้อยแค่ไหน จะนำมาใช้ในการพิจารณาอีกครั้งว่า จะยุติระบบแอนาล็อกหรือไม่.


อ่านข่าวต่อเนื่อง

]]>
1178978
นีลเส็น ดีเดย์เปิดใช้วัดเรตติ้งคนดูแบบทุกจอ “มัลติสกรีน” แล้ว เริ่ม 1 ส.ค. https://positioningmag.com/1134215 Wed, 26 Jul 2017 11:00:17 +0000 http://positioningmag.com/?p=1134215 หลังจากรอกันมาพักใหญ่ ในที่สุด นีลเส็น ประเทศไทย ก็ได้ประกาศเปิดใช้งาน “บริการข้อมูลการวัดเรตติ้งแบบมัลติสกรีน หรือ Digital Content Ratings” ซึ่งเป็นการวัดผลผู้ชมผ่านจอต่างๆ ให้กับลูกค้าทีวี เอเจนซี่ และเจ้าของสินค้า ในไทย เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม  2560 เป็นต้นไป

การวัดผลด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Digital Content Ratings หรือ DCR ของนีลเส็น จะทำการวัดเรตติ้งผู้ชมในจอต่างๆ ทั้ง วิดีโอ, เว็บไซต์ และวิทยุ แบบรายวัน โดยมีจุดสำคัญคือมี มาตรวัด” ที่สามารถใช้ควบคู่กับเรตติ้งทีวีได้

นีลเส็น ระบุว่า นับจากวันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้นไป ลูกค้าของนีลเส็น ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าของสื่อ เอเจนซี่ และเจ้าของสินค้า จะสามารถเข้าถึงรายงานการเปรียบเทียบข้อมูลของพฤติกรรมการรับชมดิจิตอลคอนเทนต์ของผู้บริโภคผ่านทางเดสก์ท็อป แล็ปท็อป, สมาร์ทโฟน (แอปและบราวเซอร์), แท็บเล็ต (แอปและบราวเซอร์) และสมาร์ท ทีวี ซึ่งสามารถรายงานข้อมูลผู้ชมแบบรายวัน ครอบคลุม เพศ และวัยของผู้ชม จึงช่วยให้ได้ข้อมูลภาพรวมของการรับชมสื่อของผู้บริโภคได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยให้เข้าใจถึงพฤติกรรมการรับชมดิจิตอลคอนเทนต์ในทุกๆ จอ ทำให้สามารถวางกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ รายการ เว็บไซต์ และวิทยุ 

สินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการธุรกิจมีเดียนีลเส็น ประเทศไทยเวียดนาม และพม่า กล่าวว่า “การเปิดบริการ Digital Content Ratings ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญมากอีกก้าวหนึ่งของนีลเส็น ที่พิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อการพัฒนาการวัดให้กับอุตสาหกรรมในส่วนของออนไลน์ ซึ่งเชื่อถือได้ และเป็นข้อมูลจากองค์กรอิสระที่มีความคงที่ สม่ำเสมอในการส่งมอบ เป็นมาตรฐานสากล

การให้บริการการวัด Digital Content Ratings ของนีลเส็นนั้นได้ใช้กรรมวิธีในการวัดรูปแบบเดียวกับการวัด Digital Ad Ratings (บริการวัดผลโฆษณาออนไลน์) ของนีลเส็น ซึ่งมีการใช้งานกว่า 25 ประเทศทั่วโลก ดังนั้นการเปิดตัวการให้บริการทั้งสองรูปแบบ ประกอบด้วย Digital Content Ratings และ Digital Ad Ratings จะทำให้ลูกค้าสามารถได้รับข้อมูลที่ละเอียด เจาะลึก ซึ่งทำให้สามารถที่จะวางแผนทั้งในส่วนของคอนเทนต์และการวัดประสิทธิภาพของโฆษณาได้ดียิ่งขึ้น

3 ช่องทีวี-เคเอฟซี ขานรับ

สำหรับผลตอบรับของสถานีโทรทัศน์ โดย ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี บริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ระบุถึงผู้ชมของเวิร์คพอยท์ ที่มีการรับชมคอนเทนต์ผ่านมัลติสกรีนทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นเวิร์คพ้อยท์เองก็ต้องการทราบว่าผู้ชมกำลังดูอะไรอยู่และใช้อุปกรณ์ใดบ้าง เครื่องมือของ DCR นี้ช่วยให้มีทัศนวิสัยที่ดีขึ้นและได้รับข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นกว่าที่เคยมีมา และเมื่อผู้ชมบนดิจิตอลของเติบโตขึ้น เครื่องมือนี้จะช่วยให้เราสามารถทำการตัดสินใจทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้นเพื่อเข้าถึงผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จิตสุภา วัชรพล เจ้าหน้าที่บริหารสายงานกลยุทธ์และการตลาด สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี มองว่า DCR สามารถนำมาใช้พัฒนาคอนเทนต์ทีวีให้ขยายกลุ่มเป้าหมายสู่แพลตฟอร์มออนไลน์

พลากร สมสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือช่อง 7 กล่าวว่า “จากข้อมูลที่ได้ ด้วยการวัดผลของ Digital Content Rating นั้น ทำให้ช่อง 7 ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนจากทุกแพลตฟอร์มและทุกช่องทาง นอกเหนือจากการวัดเรตติ้งทางทีวี ซึ่งทำให้เรามั่นใจว่าคนดูไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางการรับชมเท่านั้น

ทางด้าน อัฮูล ซัวฮาน รองประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด – เคเอฟซี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การพัฒนาเมตริกในการวัดเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งระบบการวัดของอุตสาหกรรมในปัจจุบันนี้ยังมีช่องว่างอยู่มาก หนึ่งในช่องว่างที่ใหญ่มากคือการที่ตอนนี้เรายังไม่มีอะไรที่สามารถวัดข้ามแพลตฟอร์มได้ แพลตฟอร์มแต่ละแพลตฟอร์มมีเมตริกของตัวเองที่แตกต่างกัน เหมือนเป็นกำแพงกั้นไว้

เมื่อมาลองดูที่ผู้บริโภค จะรู้เลยว่าเราจำเป็นต้องวัดข้ามแพลตฟอร์ม เพราะฉะนั้นนี่คือโอกาสที่สำคัญมากอย่างแรก

โอกาสที่สองคือ หากสามารถใช้ benchmark และมีเมตริกในการวัดที่เหมือนกับออฟไลน์ เพราะว่าเราจะไม่สามารถตัดสินใจว่าเราจะเอาเม็ดเงินไปวางไว้ที่ไหนหากเราไม่มีเมตริกในการวัดแบบเดียวกัน

“คุณต้องวัดแอปเปิลกับแอปเปิล ไม่ใช่แอปเปิลกับส้ม ดังนั้นการวัดที่ใช้เมตริกเดียวกันระหว่างออฟไลน์และออนไลน์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและ  ROI ได้” อัลฮูล กล่าว 

]]>
1134215
มาแล้ว ! นีลเส็นเปิดตัวเครื่องมือวัดเรตติ้งออนไลน์ในไทย https://positioningmag.com/1120889 Thu, 30 Mar 2017 04:09:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=1120889 หลังจากรอคอยกันมาพักใหญ่ ในที่สุดนีลเส็นได้ปล่อยเครื่องมือวัดเรตติ้งออนไลน์ในไทย เป็นประเทศแรกในเอเชีย หลังจากเปิดตัวครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ระบุใช้คู่กับเรตติ้งทีวี รองรับทุกแพลตฟอร์ม เดสก์ท็อป แท็บเล็ต มือถือ และ สมาร์ทโฟน ทั้งดูสด ดูย้อนหลัง

นีลเส็น (ประเทศไทย) ประกาศเปิดตัวการให้บริการ Digital Content Ratings หรือ การวัดเรตติ้งออนไลน์แบบมัลติสกรีน ซึ่งมีผู้ประกอบกิจการต่างๆ ในเมืองไทยได้ใช้บริการแล้ว ก่อนที่จะเปิดให้บริการแก่อุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการในไม่อีกกี่เดือนข้างหน้านี้ เพื่อช่วยให้เข้าใจในพฤติกรรมการรับชมสื่อของผู้ชมบนแพลตฟอร์มดิจิตอลได้ดีมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ Digital Content Ratings ของนีลเส็นจะวัด digital content ต่างๆ บนออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการดูสด หรือดูย้อนหลังผ่านเว็บเบราว์เซอร์ และ App มือถือ โดยข้อมูลจะรายงานผลการวัดในอุปกรณ์และแพลตฟอร์มหลักทั้งหมด ด้วยมาตรวัดที่สามารถนำมาเทียบกับเรตติ้งทีวีได้

Digital Content Ratings ถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาการวัดเรตติ้งของนีลเส็น เพื่อทำให้การวัดแบบ Total Audience หรือการวัดผู้ชมทั้งหมดในทุกแพลตฟอร์มอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมในการตรวจวัดจากหน่วยงานอิสระ และครอบคลุมแบบมัลติสกรีน

นีลเส็นใช้ข้อมูลของฐานประชากรในประเทศไทยทั้งหมด (census) ที่ได้รับจากหน่วยงานชั้นนำภายนอก (3rd party data provider ) ร่วมกับข้อมูลที่ติดแท็กจากชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) ของนีลเส็นถือได้ว่า Digital Content Ratings คือนวัตกรรมใหม่ของการวัดเรตติ้งบนโลกออนไลน์

สินธุ์ เภตรารัตน์, กรรมการผู้จัดการธุรกิจมีเดียนีลเส็น (ประเทศไทย) กล่าวว่า “สัดส่วนการใช้เวลาในการรับชมสื่อดิจิตอลของผู้บริโภคในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นดูสดหรือดูย้อนหลัง ผ่านทางโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตนั้นมีอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก Digital Ecosystem ทำให้ปริมาณผู้ใช้สื่อติบโตขึ้น เนื่องจากการเข้าถึงเนื้อหา (คอนเทนต์) ทั้งในช่องทางที่มีอยู่แล้ว รวมถึงช่องทางใหม่ๆ สะดวกขึ้นและมีความพร้อมมากขึ้น”

ดังนั้นการส่งมอบการวัดแบบมัลติสกรีน ซึ่งครอบคลุมทุกอุปกรณ์และแพลตฟอร์ม นำเสนอเมตริกเดียวกันที่เทียบเคียงได้กับเรตติ้งทีวี จะทำให้เจ้าของสื่อ เอเจนซี่ และเจ้าของสินค้า ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าใจในประสิทธิภาพของเนื้อหาของตนได้อย่างเต็มที่ และช่วยให้นำเสนอ ตั้งราคา และวางแผนกลยุทธ์ในการลงสื่อที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของเนื้อหาด้วย

นี่คือก้าวต่อไปของการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการวัดบนระบบออนไลน์ในอุตสาหกรรมมีเดียอย่างแท้จริง

  • เจ้าของสื่อ สามารถทราบถึงประสิทธิภาพของรายการของตัวเอง และเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เข้าถึงแพลตฟอร์ม รวมถึงสามารถสร้างรายได้บนโลกออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น
  • เจ้าของสินค้าและเอเจนซี่ สามารถใช้เพื่อทำการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับชมสื่อดิจิตอลแบบมัลติสกรีนบนทุกแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการวางแผนสื่อ และการตอบสนองต่อพฤติกรรมการบริโภคสื่อที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคในยุคดิจิตอ

Digital Content Ratings ของนีลเส็น ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้ระบบเดียวกับการวัด Digital Ad Ratings (บริการวัดผลโฆษณาออนไลน์) ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมกว่า 25 ประเทศทั่วโลก

ด้วยความสามารถในการวัดทั้งดิจิตอลคอนเทนต์และโฆษณาออนไลน์ ทำให้เจ้าของสื่อ เอเจนซี่ และเจ้าของสินค้าในประเทศไทย มีข้อมูลเชิงลึกที่ละเอียดขึ้น สามารถวางแผนทั้งในด้านเนื้อหาและการวัดประสิทธิภาพโฆษณาออนไลน์ได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อเพื่อผลักดันผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับแคมเปญการตลาดของตน

การปล่อยเครื่องมือวัดเรตติ้งออนไลน์ในไทยครั้งนี้เพื่อรับกับกระแสกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาเสพสื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งการดูสดและดูย้อนหลัง ส่งผลให้สื่อต่างๆ ก็หันมาผลิตเนื้อหาบนแพลคฟอร์มออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ ทีวีช่องต่างๆ  รวมทั้งคอนเทนต์ครีเอเตอร์ต่างๆ ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิตอลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปี 2559 ที่เม็ดเงินโฆษณา 9,477 ล้านบาท และคาดว่าจะแตะหมื่นล้านในปี 2560

]]>
1120889
นีลเส็นเพิ่มเครื่องมือวัดผล รู้เพศ-อายุ ใน Digital Ad Ratings https://positioningmag.com/1098871 Tue, 02 Aug 2016 10:12:07 +0000 http://positioningmag.com/?p=1098871 เมื่ออุตสาหกรรมโฆษณาได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล การวัดผลของแคมเปญต่างๆ ก็ได้เปลี่ยนไป จากผลลัพธ์ของทั้งแคมเปญ เป็นการวัดจากจำนวนครั้งที่มีการเข้าถึง หรือจำนวนครั้งที่ถูกแสดง จึงเกิดการวัดผลโฆษณาแบบเจาะลึกมากขึ้น

ล่าสุดทาง นีลเส็น ประกาศเปิดตัวการวัดแบบ Viewability (การเห็นจริงของโฆษณาดิจิทัล) โดยแสดงผลตามประชากรศาสตร์ (demographic) จากผู้ให้บริการที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ ภายใต้บริการวัดแคมเปญโฆษณา Nielsen Digital Ad Ratings โดยการวัด Viewability นี้สามารถแสดงผลแบ่งตามกลุ่มอายุและเพศ ซึ่งสามารถใช้ได้สำหรับทั้ง computer display และ video impression โดยเปิดให้ใช้ในตลาดที่มีการให้บริการ Digital Ad Ratings ของนีลเส็นทั้งหมด ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน

นีลเส็น ระบุว่า บริการนี้ลูกค้าสามารถเลือกผู้ให้บริการ viewability ที่ต้องการเองได้ เพื่อช่วยลูกค้าในการปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด

สินธุ์ เภตรารัตน์, กรรมการผู้จัดการธุรกิจมีเดียนีลเส็น (ประเทศไทย) กล่าวว่า “คำถามที่เกิดขึ้นตลอดเวลาคือ ลงโฆษณาบนออนไลน์แล้วมีคนเห็นจริงรึเปล่า ลงโฆษณาบนดิจิทัลแล้วเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่ นีลเส็นจึงมีการให้บริการที่เข้ามาช่วยทำให้ผลลัพธ์ของประสิทธิภาพในการลงโฆษณาดิจิทัลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะสามารถยืนยันได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียวว่ามีคนเห็นโฆษณาของเราและมีส่วนร่วมด้วยจริง ยิ่งกว่านั้นยังสามารถแยะเพศและอายุได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการวัดที่ช่วยยืนยันกับทางเจ้าของสินค้าและเอเจนซี่ว่าข้อความที่พวกเขาต้องการสื่อออกไปนั้นได้ถูกส่งไปยังกลุ่มคนที่ถูกต้องจริงๆ”

การวัดแบบ Viewable Impression

  • แบ่งกลุ่มตามอายุและเพศจะเอื้ออำนวยให้ลูกค้าสามารถวิเคราะห์ และประเมินประสิทธิภาพของแคมเปญได้ดียิ่งขึ้น
  • การวัด GRPs (Gross Rating Points) และเปอร์เซ็นต์ที่แคมเปญโฆษณาออนไลน์บนเว็บไซต์นั้นได้ถูกรับชมโดยกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง (on-target rates) ตามเว็บไซต์ที่ลงและตำแหน่งที่ลง ทำให้ผู้ใช้หรือผู้รับข้อมูลดังกล่าวได้ข้อมูลเชิงลึกที่ดียิ่งขึ้น
  • ตรวจสอบและบริหารประสิทธิภาพของแคมเปญว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นตรงตามเป้าหมายหรือไม่ และเพื่อการวางแผนงานต่อไปในอนาคต
]]>
1098871
“นีลเส็น” ผนึก “โธธ โซเชียล” เติมจิ๊กซอว์ “วิจัยบนโลกออนไลน์” https://positioningmag.com/1098231 Wed, 27 Jul 2016 02:21:43 +0000 http://positioningmag.com/?p=1098231 นีลเส็น ประเทศไทย จับมือครั้งประวัติศาสตร์กับโธธ โซเชียล เจ้าพ่อด้านดาต้าโซเชียลมีเดีย เปิดบริการใหม่ Nielsen Zocial Listening ในการนำข้อมูลเชิงลึกบนโลกออนไลน์ มาทำวิจัยเจาะเนื้อหาในแต่ละอุตสาหกรรม ประเดิมธุรกิจกลุ่มประกันภัย หวังเสริมให้ลูกค้าเดิม และต่อยอดลูกค้าใหม่

ปกติเราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นนีลเส็นจับมือกับพันธมิตรรายอื่นเสียเท่าไหร่ แต่ด้วยการแข่งขันของบริษัทวิจัยทั้งในเรื่องการตลาดและเรื่องเรตติ้งที่ทวีความดุเดือดมากขึ้นในปีนี้ ทำให้นีลเส็นเองก็ต้องปรับตัวปรับกลยุทธ์พอสมควร

ซึ่งแต่เดิมนีลเส็นมีความถนัดในการทำวิจัยบนโลกออฟไลน์มาโดยตลอด ทั้งวัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ และการทำวิจัยด้านการตลาดให้กับแบรนด์สินค้า กลายเป็นว่าสิ่งที่นีลเส็นต้องการเข้ามาเติมเต็มในบริษัทก็คือการวิจัยบนโลกออนไลน์ ช่องทางสำคัญก็คือโซเชียลมีเดีย เป็นช่องทางที่นีลเส็นต้องการทำตลาดตรงนี้เพิ่มเติม หลังจากที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้ว

จึงเป็นที่มาสำคัญของดีลประวัติศาสตร์ในการร่วมมือกับโธธ โซเชียลผู้ให้บริการข้อมูลเชิงลึกบนโซเชียลมีเดีย เพื่อในการแปลงดาต้าต่างๆ เหล่านั้นมาต่อยอดเป็นงานวิจัยแบบเจาะลึกเนื้อหาในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ประเดิมงานวิจัยแรกด้วยกลุ่มธุรกิจประกันภัย และประกันชีวิต ทางนีลเส็นให้เหตุผลว่าเพราะธุรกิจมีความน่าสนใจเพราะยังเป็ธุรกิจเด็กมากในไทย ในขณะที่ในต่างประเทศเป็นธุรกิจใหญ่โต จึงหวังให้ลูกค้าได้ใช้ข้อมูลจากงานวิจัยไปต่อยอดในธุรกิจ และที่สำคัญคือสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ธุรกิจนี้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุค่อนข้างมาก

สิ่งที่ทั้งคู่จะได้รับซึ่งกันและกันก็คือทางนีลเส็นจะได้ข้อมูลเชิงลึกบนโซเชียลมีเดีย เพื่อในการต่อยอดธุรกิจไปยังการทำวิจัยบนโลกออนไลน์ ส่วนทางโธธ โซเชียลเองก็จะได้ฐานลุกค้าเพิ่มเติมจากลูกค้าของทางนีลเส็น ที่อาจจะแปลงเปลี่ยนมาเป็นลุกค้าของโธธ โซเชียลในอนาคต และในดีลนี้มีโมเดลทางธุรกิจก็คือแบ่งสัดส่วนรายได้กัน

1_nielsen

กระบวนการเก็บข้อมูลของ Nielsen Zocial Listening ก็คือ มีการเก็บข้อมูลบนโซเชียลมีเดียผ่าน 6 ช่องทางที่เปิดข้อมูลสาธานณะ ได้แก่ เฟซบุ๊กเพจ 266,380 เพจ, ทวิตเตอร์ 1.19 ล้านแอคเคาต์, อินสตาแกรม 3.5 แสนแอคเคาต์, เว็บไซต์ 26 เว็บ, บล็อก 1.14 แสนเว็บ และเว็บข่าว 840 เว็บ จากนั้นก็มากรงข้อมูลให้เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจที่ต้องการทำวิจัย จากนั้นก็ส่งข้อมูลให้ทางนีลเส็นทำการวิจัยต่อ

2_nielsen

สมวลี ลิป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย กล่าวว่าจริงๆ ก่อนหน้านี้เราเคยมีเครื่องการทำวิจัยบนโซเชียลมีเดีย เป็นเครื่องมือจากทางอเมริกา แต่ว่าไม่ได้มีการใช้งานมานานมากแล้ว เพราะไม่ได้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ ส่วนใหญ่เราทำวิจัยแต่โลกออฟไลน์ แต่ในปัจจุบันเราต้องการเสริมธุรกิจทางด้านนี้เพราะด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่บนโลกออนไลน์ จึงจับมือกับทางโธธ โซเชียลให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยตรงเป็นคนทำดีกว่า ถือเป็นการผนึกกำลังซึ่งกันและกัน

ความสำคัญของการทำวิจัยร่วมกันในครั้งนี้ก็คือเป็นบริการเสริมสำหรับลูกค้าเก่าของนีลเส็นอยู่แล้ว และเป็นโอกาสในการหาลูกค้าใหม่เพิ่มเติม จากการมีบริการเพิ่มขึ้น ในอนาคตวางแผนที่จะทำงานวิจัย Nielsen Zocial Listening ราว 5-6 ชิ้น/ปี

]]>
1098231
ไม่เลิกนะ! นีลเส็น ยันเดินหน้าต่อ บริการวัดเรตติ้งรายการบนมือถือเปิดตัว สิ้นปี ’59 https://positioningmag.com/1093519 Thu, 02 Jun 2016 11:00:04 +0000 http://positioningmag.com/?p=1093519 การออกมาเปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับบริการวัดเรตติ้ง เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจสำคัญที่ต้องทำต่อเนื่อง

นีลเส็นระบุว่า หลังจากเริ่มใช้ผลการวัดเรตติ้ง ที่ได้จากการเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างจาก 2,200 ครัวเรือนเป็น 2,400 ครัวเรือน ได้ถูกใช้ในการวัดผลและถูกใช้ทางธุรกิจอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ส่งผลให้ การวัดทางด้านสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลลงลึกในส่วนของประชากรศาสตร์ (demographic) มีความแม่นย้ำขึ้น และยังสามารถวิเคราะห์เรตติ้งของรายการบางรายการที่ก่อนหน้านี้มีหน่วยตัวอย่างไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ได้

5Nelsen

“นีลเส็นได้เพิ่มกลุ่มตัวอย่างตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับลูกค้าและอุตสาหกรรม โดยในปี 2017 เราจะมีการเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็น 3000 ครัวเรือน” สินธุ์ เภตรารัตน์, กรรมการผู้จัดการธุรกิจมีเดียนีลเส็น (ประเทศไทย) 

สินธุ์ ยังบอกด้วยว่า ได้มีคำถามเกิดขึ้นมาว่าทางนีลเส็นจะยังมีการดำเนินธุรกิจต่อในปีหน้าหรือไม่ จึงขอย้ำว่านีลเส็นจะยังคงดำเนินการต่อไปทั้งในรูปแบบของการวัดเรตติ้งทีวีและออนไลน์ และจะพัฒนาการวัดต่อเนื่องเพื่อสร้างมาตรฐานการวัดที่แม่นยำ และมอบความสม่ำเสมอในการวัดผลทางกลยุทธ์ให้กับลูกค้า

ขยายวัดผลโฆษณาออนไลน์ไปอีก 8 ประเทศ

นอกเหนือจากการวัดเรตติ้งทีวีแล้ว นีลเส็นได้มีความคืบหน้าในการพัฒนาเซอร์วิสวัดเรตติ้งโฆษณาออนไลน์ (Digital Ad Ratings)ที่มีการใช้บริการจากเจ้าของสินค้าทั้งในและต่างประเทศหลากหลายราย   โดยนีลเส็นได้มีการประกาศแผนการขยายเซอร์วิสวัดเรตติ้งโฆษณาออนไลน์สู่ตลาดใหม่อีก 8 แห่งทั่วโลก ประกอบด้วย โปแลนด์, ตุรกี, ฮ่องกง, ไต้หวัน, แอฟริกาใต้, เปอร์โตริโก, ไอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์

เพิ่มวัดเรตติ้งโฆษณาออนไลน์บนมือถือในไทย

นีลเส็น ยังได้เพิ่มการวัดผลจากมือถือใน 8 ประเทศ ที่มีบริการวัดผลโฆษณาออนไลน์อยู่แล้วประกอบด้วยประเทศ ไทย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ , อินเดีย, เม็กซิโก และญี่ปุ่น

การขยายตลาดของเซอร์วิสวัดเรตติ้งโฆษณาออนไลน์นี้จะทำให้นีลเส็นสามารถเห็นภาพรวมของแคมเปญบนดิจิทัลทั้งหมดข้ามแพลตฟอร์มต่างๆ โดยตั้งแต่มีการเปิดตัวการให้บริการนี้ในปี 2011 ส่งผลให้ Digital Ad Ratings ได้กลายเป็นมาตรฐาน (currency) ในการวัดเรตติ้งแคมเปญโฆษณาพร้อมตัวชี้วัดที่เป็นสกุลเดียวกันที่สามารถนำมาเทียบได้กับเรตติ้งโทรทัศน์ในอุตสาหกรรมทั่วโลก

“นีลเส็นมุ่งเน้นในการวัดผลแบบโททอล ออเดียนซ์ (การสำรวจเรตติ้งของผู้บริโภคจากการบริโภคสื่อทุกประเภท) ซึ่งเป็นการวัดทั้งเนื้อหารายการและโฆษณา ที่ได้ถูกใช้งานแพร่หลายไปในหลายประเทศ เชื่อได้ว่าบริการวัดเรตติ้งโฆษณาออนไลน์ พร้อมกับการวัดผลจากมือถือนี้ ถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญต่อการเติบโตของงบโฆษณา ในตลาดเหล่านี้” Steve Hasker, Global President และ Chief Operating Officer, นีลเส็น กล่าว

เปิดให้บริการวัดเรตติ้งรายการบนมือถือสิ้นปี ’59

นีลเส็น ยังระบุด้วยว่า ในฐานะที่เป็นผู้ที่นำเอาเซอร์วิสวัดเรตติ้งโฆษณาออนไลน์มาใช้ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ นีลเส็นจะยังคงพัฒนาต่อไปในเรื่องของการวัดการเข้าถึง (Reach) และความถี่ในการชม (Frequency) ข้าม device ต่างๆ รวมถึงการวัดเรตติ้งในแอปพลิเคชั่น และการส่งมอบรายงานที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพที่สูงสุด

นีลเส็นได้มีการพัฒนาและเตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวในส่วนของเซอร์วิสการวัดเรตติ้งรายการออนไลน์ (Digital Content Ratings) ที่มีการชมรายการจากมือถือในปลายปีนี้ โดยเชื่อว่าการวัดเรตติ้งที่ครอบคลุมรายการบนออนไลน์และทีวีโดยใช้มาตราการตรวจวัดในสกุล (currency) เดียวกันนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวัดผล ช่วยให้นักโฆษณาและเจ้าของสื่อเข้าใจภาพรวมของพฤติกรรมผู้ชมรายการอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ นีลเส็น ยังย้ำด้วยว่า การเป็นหน่วยงานตรวจวัดอิสระ ที่ได้รับการยอมรับ และใช้งานอย่างแพร่หลายจากทั้งหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน มากว่า 30 ปีและกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ได้สร้างมาตรฐานในการวัดและได้รับการยอมรับจาก Media Rating Council ในประเทศอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือของบริษัทวิจัยผู้วัดข้อมูล

ตัวอย่าง Digital Ad Ratings Output

1Nelsen 2Nelsen 3Nelsen 4Nelsen

]]>
1093519
Nielsen ซื้อกิจการ INFORMATE รองรับสมาร์ทโฟน โต https://positioningmag.com/62800 Fri, 18 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62800
เพื่อเข้าถึงพฤติกรรมมือถือของผู้บริโภค และตอบโจทย์การบริโภคสื่อของผู้บริโภค ในรูปแบบของ Total Audience ให้มากขึ้น นีลเส็นได้ประกาศการเข้าซื้อกิจการของ Informate Mobile Intelligence เพื่อนำมาใช้วัดผลด้านพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภค ในตลาดหลักๆ ทั่วโลก
 
นีลเส็น และ Informate Mobile Intelligence ได้มีการทำงานร่วมกันมาเกือบครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ในการวัดผลจากสมาร์ทโฟนมาใช้ให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ 
 
การร่วมมือกับนีลเส็นในครั้งนี้ Informate ขยายฐานลูกค้าสู่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มีเดีย โทรคมนาคม อีคอมเมิร์ซ และสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนนีลเส็นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการวัดในส่วนของมือถือ ในตลาดสำคัญ ๆ ทั่วยุโรป, เอเชียแปซิฟิก, ละตินอเมริกาและแอฟริกา
 
ทำไมต้องเป็น Informate
 
-ทำให้นีลเส็นสามารถวัดผู้ชมทั้งหมด (Total Audience Measurement) ในตลาดที่กำลังพัฒนาเช่นเดียวกับตลาดต่างประเทศ – เพื่อวัดว่าผู้ชมนั้นมีการบริโภคสื่อที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร
 
-รองรับความต้องการจากเจ้าของสื่อทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ 
 
-ความต้องการในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้ชมที่บริโภคสื่อในทุกๆ หน้าจอ เพื่อช่วยในการวางแผนและสร้างรายได้จากการตัดสินใจ 
 
– นักโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ และเอเจนซี่ สามารถะเห็นความชัดเจนว่ามีใครเห็นโฆษณาของพวกเขาบ้าง เพื่อผลักดันประสิทธิภาพในการวางแผน
 
-การซื้อสื่อ การเข้าซื้อกิจการจะช่วยรวมความสามารถและความแข็งแกร่งของนีลเส็นและ Informate เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆ ได้ทันท่วงทียิ่งขึ้น
 
-การวัดผล จะช่วยให้การจับภาพข้อมูลการใช้งานบนหน้าจอมือถือแบบเชิงลึกทั้งแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน รองรับทั้ง iOS และ Android โดยผ่านการ opt-in ของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้สมาร์ทโฟนนั้นมีความแม่นยำมากขึ้น 
 
-แอปที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Informate จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ในการวัด ที่จะช่วยให้เราเข้าใจว่าผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับโทรศัพท์มือถือของพวกเขาอย่างไร และเข้าใจในความหลากหลายของเนื้อหา ที่ถูกบริโภคโดยกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันออกไป
 
ตอบโจทย์ผู้ใช้ในไทย
 
สมวลี ลิมป์รัชตามร Country Leader บริษัท นีลเส็นประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยนั้น อัตราการถือครองสมาร์ทโฟนอยู่ที่ 50% ของเจ้าของมือถือทั้งหมด และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การควบกิจการกับ Informate จะยิ่งช่วยให้นักโฆษณา เอเจนซี่ และเจ้าของสื่อ สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อและการตลาดได้ดีขึ้นและเร็วขึ้นในพื้นที่ของการวัดบนมือถือ” 
 

]]>
62800
นีลเส็น สู้ศึกวัดเรตติ้ง เตรียมเพิ่มกลุ่มตัวอย่าง เป็น 3 พันครัวเรือน สิ้นปี '59 https://positioningmag.com/62740 Fri, 11 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62740
]]>
62740
ใครจะอยู่ใครจะไป ? ศึกชิงบัลลังก์ วิจัยเรตติ้ง นีลเส็น VS สมาคมมีเดียฯ https://positioningmag.com/60725 Thu, 18 Jun 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=60725

จับตาให้ดี !… ศึกชิงบัลลังก์ ชิงผู้วิจัยเรตติ้งรายใหม่ กำลังเดินหน้าไปอย่างเข้มข้น เมื่อสมาคมมีเดียฯ MAAT เตรียมประกาศผลคัดเลือกผู้ชนะคัดเลือกผู้วิจัยเรตติ้งรายใหม่มาแทนที่รายเดิม ด้าน “นีลเส็น” กำลังเดินเกมใหม่ ลบจุดอ่อน สร้างจุดขายใหม่ หวังยึดที่มั่นในมือไว้ให้นานที่สุด

ต้องจับตากันแบบไม่กะพริบ เมื่อธุรกิจการวัดเรตติ้งคนดูทีวีเคยอยู่ในมือ “นีลเส็น” แต่รายเดียวมายาวนานกว่า 25 ปี กำลังมาถึงจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการโฆษณา

เมื่อ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย หรือ MAAT ภายใต้การนำของ วรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ ได้เปิดประมูลคัดเลือกบริษัทวัดเรตติ้ง โดยได้จัดตั้ง Media Research Bureau หรือ MRB มาเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมดูแล และกำกับผลงานวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมสื่อ

สมาชิกของ MRB ประกอบไปด้วย สถานีโทรทัศน์ มีเดียเอเยนซี่ สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สมาคมผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม สมาคมดิจิตอลทีวี

โดย MRB จะเป็นเจ้าของผลงานการวิจัย และเป็นคู่สัญญากับบริษัทวัดเรตติ้ง ซึ่งจะแตกต่างจากปัจจุบันที่ผู้ประกอบการต่างคนต่างควักเงินซื้อเรตติ้งจากนีลเส็น เช่น เจ้าของสถานีโทรทัศน์จะได้เฉพาะผลวิจัยเรตติ้งคนดูของช่องของตัวเอง หากต้องการผลวิจัยช่องของคู่แข่งต้องจ่ายงินเพิ่ม

ในขณะที่วิธีการประมูลโดยผ่านการกำกับดูแลของ MRB สมาชิกฯจะได้รับผลวิจัยเหมือนกันทั้งของช่องตัวเองและของคู่แข่งในตลาด ยิ่งสมาชิกลงขันเยอะราคาจะยิ่งต่ำลง และที่สำคัญเรตติ้งที่ได้จะต้องถูกต้องแม่นยำมากขึ้นและสอดคล้องกับพฤติกรรมการรับสื่อที่เปลี่ยนไป 

ผลปรากฏว่า มีผู้ยื่นข้อเสนอมาประมูล 3 ราย คือ 1 จีเอฟเค จากเยอรมัน 2. กันตาร์มีเดีย จากอังกฤษ และ3.วิดีโอรีเสิร์ช จากญี่ปุ่น ไม่มีรายชื่อของนีลเส็นเข้าร่วม

ความคืบหน้าล่าสุด วรรณี บอกว่า อยู่ระหว่างสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ที่ทั้ง 3 รายยื่นข้อเสนอมา โดยจะตัดสินและประกาศผลการคัดเลือกในกลางเดือนกรกฎาคมนี้

วรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ ยืนยันว่า การที่สมาคมฯ ต้องออกมาจัดระเบียบการวัดเรตติ้ง เพื่อให้ได้ผลวิจัยที่ถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือมากที่สุด สะท้อนความเป็นจริง รองรับกับจำนวนทีวีที่เพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคยุคนี้ได้เปลี่ยนไป เช่น แทนที่จะดูจากทีวี ก็เปลี่ยนดูสื่อจากหลายจอ Multi Screen  สมาร์ทโฟน พีซี โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต

ดังนั้น โจทย์สำคัญที่สมาคมฯให้น้ำหนักมากเป็นพิเศษ คือ การกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีจำนวนมากพอ สอดคล้องกับจำนวนประชากร รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้วัดเรตติ้งต้องรองรับกับพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคจากหลายจอ

“อย่างที่รู้ว่า ที่ผ่านมา เรามีปัญหาเรื่องของผลวิจัยไม่สะท้อนความเป็นจริง อย่างตัวเลขยอดซื้อสื่อโฆษณาของทีวีดิจิตอลว่ามีมูลค่าหลายพันล้าน แต่เป็นยอดของราคาตั้งขาย red card  ไม่ใช่ตัวเลขจริง สูงกว่าความเป็นจริงถึง 60-70% คนที่เขาไม่รู้ หรือดูไม่เป็นเอาไปใช้ก็ผิดพลาด หรือยอดโฆษณาออนไลน์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงเยอะมาก เพราะวัดเว็บไซต์แค่ 10 เว็บ นี่คือสิ่งที่สมาคมฯ ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนไป”วรรณี สะท้อนปัญหา

การลุกขึ้นมาเป็นเจ้าภาพในการประมูลครั้งนี้ วรรณีบอกว่า สมาคมฯ ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร แต่เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสื่อได้ “ข้อมูลที่ดีขึ้น ราคาถูกลง” โดยผู้ได้รับคัดเลือกจะเซ็นสัญญา 5 ปี

ส่วนจะสำเร็จหรือไม่นั้น วรรณี บอกว่า ต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของสมาชิกฯ  หากร่วมลงขันมาก เมื่อหารเฉลี่ยออกมาราคาจะยิ่งถูกลง

ในกรณีของ “นีลเส็น” ไม่ได้เสนอตัวเข้ามาประมูล จากที่ได้มีการพูดคุยกัน ทางนีลเส็นให้เหตุผลเพียงแค่ว่า บริษัทแม่ในต่างประเทศอนุมัติให้ไม่ทัน

ส่วนการที่ “นีลเส็น” จะทำวิจัยเรตติ้งต่อไป วรรณี บอกว่า เป็นสิทธิของนีลเส็น ส่วนผู้ประกอบการหรือช่องสถานีจะซื้อผลวิจัยจากทางนีลเส็นก็ได้ แต่สมาคมฯ จะไม่รับรองผลการวิจัยของนีลเส็น และในทางปฏิบัติแล้ว ผู้วัดเรตติ้งก็ควรมีรายเดียว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

วรรณีเองก็มั่นใจว่า จากการเดินสายพูดคุยกับสมาชิกทั้งที่เป็นสื่อทีวี มีเดียเอเยนซี่ และลูกค้ารายใหญ่ เชื่อว่าไม่เกิดการ “แตกแถว” ต้องร่วมกันใช้บริการวัดเรตติ้งจากรายใหม่ที่สมาคมฯ คัดเลือกมา

“จากที่เราเดินสายพูดคุยกับผู้ประกอบการต่างๆ สถานีโทรทัศน์ มายด์แชร์ และยูนิลีเวอร์ ทุกรายก็เป็นสมาชิกในสมาคมมีเดียฯ และบอกชัดเจนว่าจะให้การร่วมมือสนับสนุนให้มีบริษัทวัดเรตติ้งรายใหม่เกิดขึ้นตามที่สมาคมมีเดียฯ เสนอมา” วรรณี ยืนยัน

ดังนั้น เมื่อเวลาการประกาศผลการคัดเลือกผู้วัดเรตติ้งกำลังใกล้เข้ามา ทางด้าน “นีลเส็น” จึงใส่เกียร์เดินหน้าเต็มที่ เพื่อรับมือกับ “คู่แข่ง” รายใหม่ แถมยังเป็นคู่แข่งที่ได้การรับรองจาก “สมาคมมีเดียฯ” ที่เป็นการรวมพลังระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย

นีลเส็น จึงต้องออกมาเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์ และความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกมาเปิดเผยถึง ผลการวิจัยพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของคนไทย กับสื่อมวลชน เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี 

เมื่อเร็วๆ นี้ นีลเส็นได้เปิดเผยถึงการร่วมมือกับ “มายด์แชร์” และยูนิลีเวอร์ ได้ร่วมกันเปิดตัวเครื่องมือวัดเรตติ้งทีวีและออนไลน์ควบคู่กันเป็นครั้งแรกในเอเชีย เพื่อรองรับพฤติกรรมการบริโภคสื่อจอคู่ หรือ Dual Screens กำลังเป็นเทรนด์สำคัญ โดยได้นำแคมเปญของยูนิลีเวอร์กว่า 100 แคมเปญ มาวัดผล เพื่อให้การวางแผนสื่อมีความแม่นยำมากขึ้น

รวมทั้งความเคลื่อนไหวล่าสุดของนีลเส็น ได้ออกมาประกาศ ขยายสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างในการวัดเรตติ้งคนดูทีวี โดยการเพิ่มอีก 400 ครัวเรือน จากเดิมที่มีอยู่ 1,800 ครัวเรือน ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง 6,900 คน เพิ่มเป็น 2,200 ครัวเรือน ครอบคลุม 7,700 คน เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป

ในจำนวน 400 ครัวเรือนที่เพิ่มเข้าใหม่ จะมาจากช่องทางกล่องทีวีดิจิตอล 200 ครัวเรือน และทีวีดาวเทียม 200 ครัวเรือน เพื่อรองรับทีวีดิจิตอลที่ปัจจุบันมี 24 ช่อง และทีวีดาวเทียมเองก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมาเติบโต 7% 

นอกจากนี้ในปี 2559 จะเพิ่มกลุ่มตัวอย่างอีก 200 ครัวเรือน เป็น 2,400 ครัวเรือน หรือครอบคลุม 8,400 คน

“จะช่วยให้การวัดเรตติ้งมีความแม่นยำมากขึ้น ลดความผิดพลาดได้ 10% แต่จะไม่มีผลต่อการเพิ่มของเรตติ้ง นอกจากนี้บางรายการที่ไม่สามารถวัดค่าเรตติ้งได้เพราะค่าต่ำกว่ามาตรฐาน แต่เมื่อมีกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้น อายส์บอลล์จะเพิ่มขึ้น ทำให้บางรายการก็มีตัวเลขเรตติ้งขึ้นมาได้” สินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการธุรกิจมีเดียนีลเส็น (ประเทศไทย) บอก

 

นอกจากนี้ นีลเส็นยังได้เตรียมพัฒนาเครื่องมือการวัดเรตติ้งแบบมัลติสกรีน ทั้งในโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน และเว็บเบราวเซอร์ เพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมเสพสื่อที่หลากหลายมากขึ้น

สินธุ์ บอกว่า ในช่วงแรกยังเป็นการทดลองแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตก่อน ผ่านกลุ่มตัวอย่าง 1,500 คน โดยวัดผลจากช่องทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันของสถานีโทรทัศน์ คาดว่ามีการเปิดให้บริการจริงช่วงปี 2559 จะเพิ่มกลุ่มตัวอย่างเป็น 3,000 คน และเพิ่มข่องทางของแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์

ถ้าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้จริง ในปีหน้าจะได้เห็นนีลเส็นมีกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งหมด 11,400 คน แบ่งเป็นแพลตฟอร์มทีวี 8,400 คน (จากที่นีลเส็นจะเพิ่มเป็น 2,400 ครัวเรือนในปีหน้า) และจากแพลตฟอร์มมัลติสกรีนอีก 3,000 คน

สะท้อนชัดเจนว่า งานนี้ นีลเส็นไม่ยอมถอยแน่ เพราะครองตลาดมาถึง 25 ปี มีฐานลูกค้ามากมายที่ใช้บริการของนีลเส็นมานาน โดยเฉพาะผู้ซื้อสื่อโฆษณารายใหญ่อย่างยูนิลีเวอร์ และมายด์แชร์ มีเดียเอเยนซี่คู่ใจ และสถานีโทรทัศน์อันดับต้นๆ ที่นีลเส็นต้องยึดให้มั่น เพราะประเมินแล้วว่า โอกาสที่จะเปลี่ยนใจไปใช้บริการวัดเรตติ้ง คงไม่ใช่เรื่องจะทำได้ง่ายนัก  และหากได้รายใหญ่ใช้ จะมีผลให้รายอื่นๆ ในตลาดไม่เปลี่ยนใจ

งานนี้ นีลเส็นเองต้องยอม “กำจัดจุดอ่อน” ของตัวเอง ด้วยการพัฒนาเครื่องมือการวิจัยให้รองรับกับสื่อดิจิตอล การเสพสื่อหลายจอ และเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ตามเสียงสะท้อนของผู้ประกอบการ ที่มองว่าผลการวิจัยของนีลเส็นยังขาดความน่าเชื่อถือ เช่น จำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยไป เครื่องมือในการสำรวจยังไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อที่เปลี่ยนไป  เป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่นีลเส็นพิสูจน์ได้ว่า เครื่องมือชิ้นใหม่ของนีลเส็น สามารถต่อกรกับคู่แข่งที่ได้รับคัดเลือกและรับรองจากสมาคมฯ

ดร.องอาจ สิงห์ลำพอง กรรมการผู้อำนวยการสายงานสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ทีวีดิจิตอล บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผู้ประกอบการเองก็ได้ลงขันไปกับทางสมาคมแล้ว ตกเฉลี่ยปีละ 7 หลัก ก็ต้องเลือกใช้ตามที่สมาคมมีเดียฯ คัดเลือกมา ถ้าเราใช้สองบริษัท แล้วผลออกมาไม่ตรงกัน ทำให้เขาดความน่าเชื่อถือ แต่ก็อยู่ที่ผลงานของบริษัทใหม่ด้วยว่าจะมีการวัดผลได้แม่นยำอย่างไร สมเหตุสมผลหรือไม่ และต้องทำได้ดีกว่านีลเส็นเจ้าเดิม”

สิ่งที่อาจจะเกิดต่อจากนี้ไปก็คือ สถานีโทรทัศน์ ที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอาจจะไม่เต็มใจซื้อเรตติ้งจากรายใหม่มากนัก เพราะกลัวผลสำรวจเรตติ้งจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็จะได้รับผลกระทบกับรายได้โฆษณา ในขณะที่ผู้เล่นทีวีดิจิตอลรายใหม่นั้น เต็มใจที่จะจ่าย เพื่อให้ได้การวัดผลที่แม่นยำยิ่งกว่าเดิม

ไม่ว่าผลของการชิงไหวชิงพริบระหว่างนีลเส็น และสมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ กับการพลิกหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ ชิงบังลังก์ผู้วัดเรตติ้ง จากนีลเส็นมาตลอด 25 ปี ให้เปลี่ยนมาอยู่ในมือของผู้วัดรายใหม่ ภายใต้การกำกับสมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ จะออกมาอย่างไร…แต่ที่แน่ๆ การเปลี่ยนแปลงธุรกิจวัดเรตติ้งได้เกิดขึ้นแล้ว

]]>
60725